ญาณ ๒๐๐ ที่ปรากฎ กับผู้เจริญ อานาปานสติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยอดคะน้า, 19 กันยายน 2011.

  1. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>มหาวรรค อานาปาณกถา</CENTER>[๓๖๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ ญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณในโวทาน ๑๓ ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒ ญาณด้วยสามารถสมาธิ ๒๔ ญาณด้วยสามารถวิปัสสนา ๗๒ นิพพิทาญาณ ๘ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ นิพพิทาปฏิ-*ปัสสัทธิญาณ ๘ ญาณในวิมุติสุข ๒๑ ฯ

    [๓๖๓] ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ เป็นไฉน ฯ กามฉันทะเป็นอันตรายแก่สมาธิ เนกขัมมะเป็นอุปการะแก่สมาธิพยาบาทเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความไม่พยาบาทเป็นอุปการะแก่สมาธิ ถีนมิทธะเป็นอันตรายแก่สมาธิ อาโลกสัญญาเป็นอุปการะแก่สมาธิ อุทธัจจะเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอุปการะแก่สมาธิ วิจิกิจฉาเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความกำหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สมาธิ อวิชชาเป็นอันตรายแก่สมาธิญาณเป็นอุปการะแก่สมาธิ อรติเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปราโมทย์เป็นอุปการะแก่สมาธิ อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงเป็นอันตรายแก่สมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมเป็นอุปการะ ๘ เหล่านี้ จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ ย่อมดำรงอยู่ในความเป็นธรรมอย่างเดียวและย่อมหมดจดจากนิวรณ์ ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านี้ ฯ

    [๓๖๔] ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ฯ เนกขัมมะ ความไม่พยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน ความกำหนดธรรม ญาณ ความปราโมทย์ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอย่างเดียว(แต่ละอย่าง) ฯ นิวรณ์นั้นเป็นไฉน กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉา อวิชชา อรติ อกุศลธรรมทั้งปวง เป็นนิวรณ์ (แต่ละอย่าง) ฯ

    [๓๖๕] คำว่า นีวรณา ความว่า ชื่อว่านิวรณ์เพราะอรรถว่ากระไรชื่อว่านิวรณ์เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ฯ

    ธรรมเครื่องนำออกเป็นไฉน เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยเนกขัมมะนั้น
    กามฉันทะเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
    และบุคคลไม่รู้จักเนกขัมมะอันเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกกามฉันทะนั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้นกามฉันทะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

    ความไม่พยาบาทเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยความไม่พยาบาทนั้น
    ความพยาบาทเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
    และบุคคลไม่รู้จักความไม่พยาบาทอันเป็นธรรมเครื่องนำออก
    ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกความพยาบาทนั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น พยาบาทจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

    อาโลกสัญญาเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยอาโลกสัญญานั้น
    ถีนมิทธะเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
    และบุคคลย่อมไม่รู้จักอาโลกสัญญาอันเป็นธรรมเครื่องนำออก
    ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกถีนมิทธะนั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น ถีนมิทธะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

    ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยไม่ฟุ้งซ่านนั้น
    อุทธัจจะเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
    และบุคคลย่อมไม่รู้จักความไม่ฟุ้งซ่านอันเป็นธรรมเครื่องนำออก
    ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้นอุทธัจจะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
    การกำหนดธรรมเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยการกำหนดธรรมนั้น

    วิจิกิจฉาเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
    และบุคคลย่อมไม่รู้จักการกำหนดธรรมอันเป็นเครื่องนำออก
    ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    เพราะเป็นผู้ถูกวิจิกิจฉานั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น วิจิกิจฉาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
    ญาณเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยญาณนั้น

    อวิชชาเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
    และบุคคลย่อมไม่รู้จักญาณอันเป็นธรรมเครื่องนำออก
    ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชานั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น อวิชชาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

    ความปราโมทย์เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยความปราโมทย์นั้น
    อรติเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
    และบุคคลย่อมไม่รู้จักความปราโมทย์อันเป็นธรรมเครื่องนำออก
    ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    เพราะเป็นผู้ถูกอรตินั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น
    อรติจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกกุศลธรรม

    แม้ทั้งปวงก็เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยกุศลธรรมเหล่านั้น
    อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงก็เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
    และบุคคลย่อมไม่รู้จักกุศลธรรมอันเป็นธรรมเครื่องนำออก
    ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
    ก็แลเมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านี้
    เจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖
    ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะย่อมมีได้ ฯ

    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2011
  2. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    [๓๖๖] อุปกิเลส ๑๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้น ฯ
    เมื่อบุคคลใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก
    จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อบุคคลใช้สติ
    ไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า จิตถึงความฟุ้งซ่านใน
    ภายนอก ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปรารถนา ความพอใจลมหายใจ
    ออก การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปรารถนา ความ
    พอใจลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ ความหลง
    ในการได้ลมหายใจเข้า แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจออกเข้าครอบงำ ย่อมเป็น
    อันตรายแก่สมาธิ ความหลงในการได้ลมหายใจออก แห่งบุคคลผู้ถูกลมหาย
    ใจเข้าครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
    สติที่ไปตามลมหายใจออก ที่ไปตามลมหายใจเข้า ที่ฟุ้งซ่าน
    ในภายใน ที่ฟุ้งซ่านในภายนอก ความปรารถนาลมหายใจออก
    และความปรารถนาลมหายใจเข้า อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็น
    อันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุปกิเลส
    เหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้
    หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความ
    เชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ
    [๓๖๗] เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจ
    ออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิต
    กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต
    จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึง
    ถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระ
    โยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตราย
    แก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
    นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
    เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก เมื่อ
    คำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึง
    ถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลม
    หายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ
    ออก ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ
    เข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก อุปกิเลส ๖ ประการ
    นี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุป-
    *กิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็น
    เครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์
    ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ
    จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตราย
    แก่สมาธิ จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่
    สมาธิ จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่
    ถือจัด ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่รู้เกินไป ตก
    ไปข้างฝ่ายความกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่ไม่รู้ ตกไปข้างฝ่าย
    พยาบาท ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
    [๓๖๘] จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ จิตที่
    หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้ ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส
    ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา-
    ปาณสติ อุปกิเลสเหล่านั้นย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความ
    ดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล ฯ
    [๓๖๙] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด
    แห่งลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
    จิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายใน เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่าม
    กลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและ
    ดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายนอก กายและจิตย่อมมีความปรารภ
    หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจออก
    เพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน
    เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจเข้า เพราะความเที่ยวไปด้วย
    ตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารถนา หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่
    พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจเข้า
    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจร
    ผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจออก กายและจิต
    ย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำ
    นึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ
    หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออก
    กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
    ความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กาย
    และจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระ-
    *โยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมมีความ
    ปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจ
    ออก กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหว
    และดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่ง
    อยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
    จิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายความฟุ้งซ่าน กายและจิตย่อมมีความ
    ปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหวังถึงอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง
    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ ตกไป
    ข้างฝ่ายเกียจคร้าน กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
    จิตถือตัว ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและ
    ดิ้นรน เพราะจิตรู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด กายและจิตย่อมมีความปรารภ
    หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ฯ
    ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปาณสติ กายและจิตของผู้นั้น
    ย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปาณสติดี
    กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล ฯ
    ก็และเมื่อพระโยคาวจร ผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญ
    สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ
    ย่อมมีได้ อุปกิเลส ๑๘ เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น ฯ
    [๓๗๐] ญาณในโวทาน ๑๓ เป็นไฉน ฯ
    จิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่านพระโยคาวจรเว้นจิต
    นั้นเสีย ย่อมตั้งมั่นจิตนั้นไว้ในฐานหนึ่ง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วย
    อาการอย่างนี้ จิตจำนงหวังอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง พระโยคาวจร
    เว้นจิตนั้นเสีย น้อมจิตนั้นไปในฐานะนั้นแล จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้
    ด้วยอาการอย่างนี้ จิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายความเกียจคร้าน พระโยคาวจร
    ประคองจิตนั้นไว้แล้ว ละความเกียจคร้าน จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วย
    อาการอย่างนี้ จิตถือจัด ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้นเสีย
    แล้วละอุทธัจจะ จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตรู้เกินไป
    ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด พระโยคาวจรผู้รู้ทันจิตนั้น ละความกำหนัดเสีย จิต
    ย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายความ
    พยาบาท พระโยคาวจรเป็นผู้รู้ทันจิตนั้น ละความพยาบาทเสีย จิตย่อมไม่ถึง
    ความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตบริสุทธิ์ด้วยฐานะ ๖ ประการนี้ ย่อม
    ขาวผ่อง ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว ฯ
    [๓๗๑] ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ฯ
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ความเป็น
    ธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความ
    ปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ของบุคคลผู้น้อม
    ใจไปในจาคะทั้งหลาย ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต
    ของบุคคลผู้หมั่นประกอบในอธิจิตทั้งหลาย ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความ
    ปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย และความ
    เป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย จิตที่
    ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียวในฐานะ ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาวิสุทธิ
    ผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และถึงความร่าเริงด้วยญาณ ฯ
    [๓๗๒] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลาง
    ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ฯ
    [๓๗๓] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะ
    แห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด จิตแล่นไปใน
    สมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑ จิตดำเนิน
    ไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตอันหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมถ-
    *นิมิตเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่ง
    ปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึง
    กล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
    ลักษณะ ฯ
    [๓๗๔] ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่ง
    ท่ามกลางเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๓ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไป
    สู่สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิต
    หมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉย ๑ จิตมีความปรากฏใน
    ความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑ ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่ง
    ปฐมฌาน ลักษณะแห่งปฐมฌาน ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
    [๓๗๕] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    ปฐมฌานนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอัน
    เดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรม
    ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความ
    ร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่ง
    ที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงาม
    ในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึง ความเป็นไป ๓ ประการ
    มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิต
    ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๗๖] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
    ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป
    ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๗๗] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุด แห่งตติยฌาน ฯลฯ
    จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม อย่าง ๓ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ
    ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยปีติ สุข ... และถึงพร้อมด้วย
    ปัญญา ฯ
    [๓๗๘] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ
    จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๗๙] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอากาสา-
    *นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
    เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มี
    ความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
    พร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๘๐] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอนิจจา-
    *นุปัสนา ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง อย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการ ถึงพร้อมด้วยวิจาร ... และถึง
    พร้อมด้วยปัญญา ฯ
    อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุกขานุปัสนา อนัตตา-
    *นุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา
    ขยานุปัสนา วยานุปัสนา วิปริณามานุปัสนา อนิมิตตานุปัสนา อัปปณิหิตา-
    *นุปัสนา สุญญตานุปัสนา อธิปัญญา ธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสสนะ
    อาทีนวานุปัสนา ปฏิสังขานุปัสนา วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค
    สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ฯลฯ
    [๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
    ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่ง
    เบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่ง
    เบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปใน
    สมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็น
    เบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
    ลักษณะ ฯ
    [๓๘๒] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
    แห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๔ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่
    สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิต
    หมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ ๑ จิตมีความปรากฏใน
    ความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรค
    เป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
    [๓๘๓] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด
    เท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    อรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
    อันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรม
    ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความ
    ร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
    แห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรม
    มีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ
    มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
    พร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
    เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม
    อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ
    รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ
    [๓๘๔] ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรม
    ไม่ปรากฏ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ
    และบรรลุผลวิเศษอย่างไร ฯ
    เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ บุรุษเอาเลื่อยเลื่อย
    ต้นไม้นั้น สติของบุรุษย่อมเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งฟันเลื่อยซึ่งถูกที่ต้นไม้
    บุรุษนั้นไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปไม่ปรากฏ
    ก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุผลวิเศษ
    ความเนื่องกันเป็นนิมิต เหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ ลมอัสสาส-
    *ปัสสาสะ เหมือนฟันเลื่อย ภิกษุนั่งตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปาก
    ไม่ได้ใส่ใจถึงลมอัสสาสปัสสาสะออกหรือเข้าลมอัสสาสปัสสาสะออกหรือเข้าจะ
    ไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุถึงผล
    วิเศษ เหมือนบุรุษตั้งสติไว้ด้วยสามารถฟันเลื่อยอันถูกที่ต้นไม้ เขาไม่ได้ใส่ใจ
    ถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏ
    เป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ ฉะนั้น ฯ
    [๓๘๕] ประธานเป็นไฉน แม้กาย แม้จิตของภิกษุผู้ปรารภความเพียร
    ย่อมควรแก่การงาน นี้เป็นประธาน ประโยคเป็นไฉน ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
    ย่อมละอุปกิเลสได้ วิตกย่อมสงบไป นี้เป็นประโยค ผลวิเศษเป็นไฉน ภิกษุผู้
    ปรารภความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมถึงความพินาศไป นี้เป็นผลวิเศษ
    ก็ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้ และธรรม
    ๓ ประการนี้ไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ปรากฏเป็นประธาน
    ยังประโยคให้สำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ ฯ
    [๓๘๖] ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้ว
    ตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อม
    ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก
    ฉะนั้น ฯ
    ลมอัสสาสะชื่อว่าอานะ ไม่ใช่ลมปัสสาสะ ลมปัสสาสะชื่ออปานะ
    ไม่ใช่ลมอัสสาสะ สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถลมอัสสาสปัสสาสะ ย่อมปรากฏ
    แก่บุคคลผู้หายใจออกและผู้หายใจเข้า ฯ
    คำว่า ปริปุณฺณา ความว่า บริบูรณ์ ด้วยอรรถว่า ถือเอารอบ ด้วย
    อรรถว่ารวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า สุภาวิตา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
    ทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย
    มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรม
    ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วย
    อรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ อรรถแห่งภาวนา ๔ ประการนี้ เป็นอรรถอันภิกษุนั้นทำให้
    เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว ฯ
    คำว่า ยานีกตา ความว่า ภิกษุนั้นจำนงหวังในธรรมใดๆ ย่อมเป็นผู้ถึง
    ความชำนาญ ถึงกำลัง ถึงความแกล้วกล้า ในธรรมนั้นๆ ธรรมเหล่านั้นของ
    ภิกษุนั้น เป็นธรรมเนื่องด้วยความคำนึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ
    เนื่องด้วยจิตตุปบาท เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นดังยาน ฯ
    คำว่า วตฺถุกตา ความว่า จิตย่อมมั่นคงดีในวัตถุใดๆ สติย่อมปรากฏดี
    ในวัตถุนั้นๆ ก็หรือว่าสติย่อมปรากฏดีในวัตถุใดๆ จิตย่อมมั่นคงดีในวัตถุนั้นๆ
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าทำให้เป็นที่ตั้ง ฯ
    คำว่า อนุฏฺฐิตา ความว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใดๆ สติก็หมุนไปตาม
    (คุมอยู่) ด้วยอาการนั้นๆ ก็หรือว่าสติหมุนไปด้วยอาการใดๆ จิตก็น้อม
    ไปด้วยอาการนั้นๆ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป ฯ
    คำว่า ปริจิตา ความว่า อบรม ด้วยอรรถว่าถือเอารอบ ด้วยอรรถว่า
    รวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชำนะอกุศลธรรม
    อันลามกได้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อบรม ฯ
    คำว่า สุสมารทฺธา ความว่า ธรรม ๔ อย่างภิกษุปรารภดีแล้ว คือ
    ปรารภดีด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วย
    อรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียร
    อันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลาย
    มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ เพราะเพิกถอนกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่ธรรมนั้น ๑ ฯ
    คำว่า สุสม ความว่า ความเสมอก็มี ความเสมอดีก็มี ความเสมอ
    เป็นไฉน กุศลทั้งหลายอันไม่มีโทษ เกิดในธรรมนั้นเป็นฝักใฝ่แห่งความตรัสรู้
    นี้เป็นความเสมอ ความเสมอดีเป็นไฉน ความดับอารมณ์แห่งธรรมเหล่านั้น
    เป็นนิพพาน นี้เป็นความเสมอดี ก็ความเสมอและความเสมอดีนี้ดังนี้ ภิกษุนั้น
    รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ความเพียร
    ภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่น ไม่หลงลืม กายสงบปรารภแล้ว
    จิตเป็นสมาธิมีอารมณ์เดียว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปรารภแล้วเสมอดี ฯ
    คำว่า อนปุพฺพํ ปริจิตา ความว่า ภิกษุนั้นอบรมอานาปานสติข้างต้นๆ
    ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรม
    อานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ก็อบรมอานาปานสติ
    ข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น
    ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วย
    สามารถลมหายใจเข้าสั้น ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรม
    อานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
    ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถ
    ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ
    ตามลำดับ อานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ แม้ทั้งปวงอาศัยกันภิกษุนั้นอบรมแล้ว และอบรม
    ตามลำดับแล้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวอบรมแล้วตามลำดับ ฯ
    คำว่า ยถา ความว่า อรรถแห่งยถาศัพท์มี ๑๐ คือ ความฝึกตน ๑
    ความสงบตน ๑ ความยังตนให้ปรินิพพาน ๑ ความรู้ยิ่ง ๑ ความกำหนดรู้ ๑
    ความละ ๑ ความเจริญ ๑ ความทำให้แจ้ง ๑ ความตรัสรู้สัจจะ ๑ ความยังตน
    ให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ๑ ฯ
    คำว่า พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดเป็นสยัมภูไม่มีอาจารย์
    ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายเองในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้สดับมาแต่กาลก่อน ทรง
    บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้นและทรงถึงความเป็นผู้มีความเป็นผู้มีความ
    ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย ฯ
    คำว่า พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าพุทธะเพราะ
    อรรถว่ากระไร ฯ
    พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าพุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย
    เพราะอรรถว่า ทรงสอนให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เพราะความเป็นพระสัพพัญญู เพราะ
    ความที่พระองค์ทรงเห็นธรรมทั้งปวง เพราะความที่พระองค์มีเนยยบทไม่เป็น
    อย่างอื่น เพราะความเป็นผู้มีพระสติไพบูลย์ เพราะนับว่าพระองค์สิ้นอาสวะ เพราะ
    นับว่าพระองค์ไม่มีอุปกิเลส เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะ
    อรรถว่า ทรงปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากโมหะ
    โดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า พระองค์ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า
    พระองค์เสด็จไปแล้วสู่หนทางที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว เพราะอรรถว่า ตรัสรู้
    อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณพระองค์เดียว เพราะทรงกำจัดเสียซึ่งความไม่มีปัญญา
    เพราะทรงได้ซึ่งพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ ฯ
    พระนามว่า พุทฺโธ นี้ พระมารดา พระบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิง
    น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณะ พราหมณ์ เทวดา มิได้
    แต่งตั้งให้เลย พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม พระนามที่เกิดใน
    ที่สุดแห่งอรหัตผล แห่งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้แล้ว พระนามว่า พุทฺโธ นี้
    เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้สัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้
    โพธิพฤกษ์ ฯ
    คำว่า ทรงแสดงแล้ว ความว่า ความฝึกตน มียถาศัพท์เป็นอรรถ
    เหมือนบุคคลเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ฝึกตนแล้ว พระพุทธเจ้า
    ทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ความสงบตน ... ความยังตนให้ปรินิพพาน ฯลฯ
    ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ มียถาศัพท์เป็นอรรถ เหมือนบุคคลเป็น
    คฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธแล้ว
    พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ฯ
    คำว่า โลโก ได้แก่ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วปัตติภวโลก
    วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งปวง
    ตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร ฯลฯ โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ ฯ
    คำว่า ย่อมให้สว่างไสว ความว่า ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว
    แจ่มใส เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งความฝึกตน ความสงบตน ความยังตน
    ให้ปรินิพพาน ฯลฯ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ซึ่งมียถาศัพท์
    เป็นอรรถทุกประการ ฯ
    คำว่า เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ความว่า กิเลสเหมือนหมอก
    อริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทเทพบุตร ภิกษุพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้ว
    ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสวเปล่งปลั่ง และไพโรจน์ เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก
    พ้นจากควันและธุลีในแผ่นดิน พ้นจากฝ่ามือราหู ยังโอกาสโลกให้สว่างไสว
    เปล่งปลั่ง และไพโรจน์ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เหมือนพระจันทร์
    พ้นแล้วจากหมอก ญาณในโวทาน ๑๓ ประการนี้ ฯ

    <CENTER>จบภาณวาร
    </CENTER>
     
  3. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    [๓๘๗] ญาณในความทำสติ ๓๒ เป็นไฉน ฯ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติหายใจออก
    เป็นผู้มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจออก
    สั้นก็รู้ว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจ
    เข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับ
    กายสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
    จักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
    จักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
    จักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า ย่อม
    ศึกษาว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า ระงับจิตสังขารหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักทำจิตให้บันเทิง
    หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตไว้หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตไว้
    หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต
    หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า
    จักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความคลาย
    กำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความดับหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณา
    เห็นความดับหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ฯ
    [๓๘๘] คำว่า อิธ ความว่า ในทิฐินี้ ในความควรนี้ ในความ
    ชอบใจนี้ ในเขตนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ใน
    พรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ในธรรมวินัยนี้ ฯ
    คำว่า ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุเป็นกัลยาณปุถุชนก็ตาม เป็นพระเสขะก็ตาม
    เป็นพระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบก็ตาม ฯ
    คำว่า อรญฺญํ ความว่า สถานที่ทุกแห่งนอกเสาเขื่อนไป สถานที่นั้น
    เป็นป่า ฯ
    คำว่า รุกฺขมูลํ ความว่า อาสนะของภิกษุซึ่งจัดไว้ที่โคนไม้นั้น คือ
    เตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้
    หรือเครื่องลาดทำด้วยฟาง ภิกษุ เดิน ยืน นั่ง หรือนอนที่อาสนะนั้น ฯ
    คำว่า สุญฺ ความว่า เป็นสถานที่ไม่เกลื่อนกล่นด้วยใครๆ
    เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ฯ
    คำว่า อาคารํ คือ วิหาร โรงมีหลังคาครึ่งหนึ่ง ปราสาท
    เรือนโล้น ถ้ำ ฯ
    คำว่า นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา ความว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง คือ กายเป็นกายอันภิกษุนั้นตั้งวางไว้ตรง ฯ
    ศัพท์ว่า ปริ ในคำว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺเปตฺวา มีความกำหนดถือ
    เอาเป็นอรรถ ศัพท์ว่า มุขํ มีความนำออกเป็นอรรถ ศัพท์ว่า สติ มีความเข้า
    ไปตั้งไว้เป็นอรรถ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า ฯ
    [๓๘๙] คำว่า เป็นผู้มีสติหายใจออก ความว่า ภิกษุอบรมสติโดย
    อาการ ๓๒ คือ ภิกษุเป็นผู้ตั้งสติมั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
    ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
    เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่น เพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถลม
    หายใจเข้ายาว ... เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
    ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น ... เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่น เพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์
    เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสติ
    นั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่
    ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ... เป็นผู้ตั้ง
    สติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้
    พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ... เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมี
    อารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจ
    ออกชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯ
    [๓๙๐] ภิกษุเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
    ก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว อย่างไร ฯ
    ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจ
    เข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจออก หายใจเข้ายาว ย่อม
    หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหาย
    ใจออกหายใจเข้ายาว หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจ
    ออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อ
    หายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว
    เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออก
    บ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุเมื่อหายใจ
    ออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ หายใจออกบ้าง หายใจเข้า
    บ้างในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถ ความ
    ปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น
    ด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจออก
    หายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกบ้าง
    หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียด
    กว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับ
    ยาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจออกหายใจเข้ายาว อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ กาย
    คือ ลมหายใจออกลมหายใจเข้ายาวด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ สติเป็น
    อนุปัสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุ
    พิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า
    สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ
    [๓๙๑] คำว่า อนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างไร ฯ
    พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง พิจารณาโดย
    ความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาโดยความเป็นสุข พิจารณาโดยความเป็นอนัตตา
    ไม่พิจารณาโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด
    ไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณา
    โดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ย่อม
    ละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อ
    เบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้
    ราคะดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณา
    กายนั้นอย่างนี้ ฯ
    [๓๙๒] ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรม
    ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
    อันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลาย
    ไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่า
    เป็นที่เสพ ๑ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ
    ออกลมหายใจเข้ายาว เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึง
    ความดับไป สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
    วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯ
    [๓๙๓] เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
    ดับ อย่างไร ฯ
    ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อม
    ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะ
    ตัณหาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะกรรมเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึง
    เกิด แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิด ความเกิดแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความ
    เกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
    ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความ
    ไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความ
    เป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความ
    เป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความว่างเปล่าย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่
    แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
    ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ความดับไปแห่งเวทนาย่อม
    ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับเวทนาจึงดับ เพราะตัณหา
    ดับเวทนาจึงดับ เพราะกรรมดับเวทนาจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ แม้
    เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะความแปรปรวน ความดับไปแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ
    ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไป
    ตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้ ฯ
    [๓๙๔] สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
    ดับ อย่างไร ฯ
    ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อม
    ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดสัญญาจึงเกิด ... ความ
    เกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างนี้ ฯ
    ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความ
    ไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ ... ความเข้าไปตั้งอยู่แห่ง
    สัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
    ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ความดับไปแห่งสัญญาย่อม
    ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับสัญญาจึงดับ ... ความ
    ดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้ง
    อยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้ ฯ
    [๓๙๕] วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับ
    ไป อย่างไร ฯ
    ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อม
    ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดวิตกจึงเกิด เพราะ
    ตัณหาเกิดวิตกจึงเกิด เพราะกรรมเกิดวิตกจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะ
    ความเกิด ความเกิดขึ้นแห่งวิตกก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏ
    อย่างนี้ ฯ
    ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความไม่
    เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
    ทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
    อนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความว่างเปล่าย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่ง
    วิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
    ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏ
    ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับวิตกจึงดับ เพราะตัณหาดับวิตกจึง
    ดับ เพราะกรรมดับวิตกจึงดับ เพราะสัญญาดับวิตกจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็น
    ลักษณะความแปรปรวน ความดับไปแห่งวิตกก็ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งวิตก
    ย่อมปรากฏอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
    ดับไป อย่างนี้ ฯ
    [๓๙๖] บุคคลรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลม
    หายใจออกลมหายใจเข้ายาว ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้จักโคจรและ
    แทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯลฯ ย่อมให้ธรรมทั้งหลายประชุมกัน
    รู้จักโคจรและแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    คำว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อมยัง
    อินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงอย่างไร ฯ
    บุคคลย่อมยังสัทธินทรีย์ ให้ประชุม ลงด้วย ความน้อมใจเชื่อ ยังวิริยินทรีย์
    ให้ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยังสตินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้
    ยังสมาธินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังปัญญินทรีย์ให้ประชุมลงด้วย
    ความเห็น บุคคลนี้ยังอินทรีย์เหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
    คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งธรรมนั้นว่าเป็นโคจรแห่ง
    ธรรมนั้น รู้จักโคจรแห่งธรรมนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น บุคคล ความรู้
    ปัญญา ฯ
    คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็น
    ความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ ฯ
    คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอัน
    ไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอัน
    ประเสริฐเป็นประโยชน์ ฯ
    คำว่า แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทงตลอด
    ความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิตผ่องแผ้ว
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๓๙๗] คำว่า ย่อมให้พละทั้งหลายประชุมลง ความว่า ย่อมให้พละ
    ทั้งหลายประชุมลงอย่างไร ฯ
    บุคคลย่อม ยังสัทธาพละให้ประชุมลง ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความไม่
    มีศรัทธา ยังวิริยพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ยัง
    สมาธิพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ยังปัญญาพละให้
    ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา บุคคลนี้ย่อมยังพละเหล่านี้ให้ประชุม
    ลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังพละทั้งหลายให้
    ประชุมลง ฯ
    คำว่า รู้จักโคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอด
    ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๓๙๘] คำว่า ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุม ความว่า บุคคล
    ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงได้อย่างไร ฯ
    บุคคลย่อมยังสติสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังธรรม
    วิจยสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความเลือกเฟ้น ยังวิริยสัมโพชฌงค์ให้ประชุม
    ลงด้วยความประคองไว้ ยังปีติสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความแผ่ซ่านไป ยัง
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความสงบ ยังสมาธิสัมโพชฌงค์ให้ประชุม
    ลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความวางเฉย
    บุคคลนี้ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงในอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึง
    กล่าวว่า ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
    คำว่า รู้โคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรม
    อันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๓๙๙] คำว่า ย่อมยังมรรคให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อมยังมรรค
    ให้ประชุมลงอย่างไร ฯ
    บุคคลย่อมยังสัมมาทิฐิให้ประชุมลงด้วยความเห็น ยังสัมมาสังกัปปะให้
    ประชุมลงด้วยความดำริ ยังสัมมาวาจาให้ประชุมลงด้วยความแน่นอน ยังสัมมา-
    *กัมมันตะให้ประชุมลงด้วยความที่เกิดขึ้นดี ยังสัมมาอาชีวะให้ประชุมลงด้วยความ
    ผ่องแผ้ว ยังสัมมาวายามะให้ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยังสัมมาสติให้
    ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังสัมมาสมาธิให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน
    บุคคลนี้ย่อมยังมรรคนี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า
    ย่อมยังมรรคให้ประชุมลง ฯ
    คำว่า รู้จักโคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอด
    ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๔๐๐] คำว่า ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อม
    ยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง อย่างไร ฯ
    บุคคลย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่ ยังพละ
    ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหว ยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วย
    ความเป็นธรรมเครื่องนำออก ยังมรรคให้ประชุมลงด้วยความเป็นเหตุ ยัง
    สติปัฏฐานให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังสัมมัปปธานให้ประชุมลงด้วยความ
    เริ่มตั้ง ยังอิทธิบาทให้ประชุมลงด้วยความให้สำเร็จ ยังสัจจะให้ประชุมลงด้วยความ
    ถ่องแท้ ยังสมถะให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วย
    ความพิจารณาเห็น ยังสมถะและวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วยความมีกิจเป็นอันเดียว
    กัน ยังธรรมเป็นคู่กันให้ประชุมลงด้วยความไม่ล่วงเกินกัน ยังสีลวิสุทธิให้
    ประชุมลงด้วยความสำรวม ยังจิตวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังทิฐิ-
    *วิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความเห็น ยังวิโมกข์ให้ประชุมลงด้วยความหลุดพ้น ยัง
    วิชชาให้ประชุมลงด้วยความแทงตลอด ยังวิมุตติให้ประชุมลงด้วยความสละรอบ
    ยังญาณในความสิ้นไปให้ประชุมลงด้วยความตัดขาด ยังญาณในความไม่เกิดขึ้น
    ให้ประชุมลงด้วยความเห็นเฉพาะ ยังฉันทะให้ประชุมลงด้วยความเป็นมูลเหตุ
    ยังมนสิการให้ประชุมลงด้วยความเป็นสมุฏฐาน ยังผัสสะให้ประชุมลงด้วยความ
    ประสบ ยังเวทนาให้ประชุมลงด้วยความรู้สึก ยังสมาธิให้ประชุมลงด้วยความ
    เป็นประธาน ยังสติให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่ ยังสติสัมปชัญญะให้
    ประชุมลงด้วยความเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น ยังวิมุตติให้ประชุมลงด้วยความเป็นสาระ
    ยังนิพพานอันหยั่งลงในอมตะให้ประชุมลงด้วยความเป็นที่สุด บุคคลนี้ย่อมยังธรรม
    เหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังธรรม
    ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
    คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งธรรมนั้นว่าเป็นโคจรแห่ง
    ธรรมนั้น รู้จักโคจรแห่งธรรมนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น บุคคล ความรู้
    ปัญญา ฯ
    คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็น
    ความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ ฯ
    คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอัน
    ไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอัน
    ประเสริฐเป็นประโยชน์ ฯ
    คำว่า แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทงตลอด
    ความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิตผ่องแผ้ว
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๔๐๑] บุคคลเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า
    สั้นก็รู้ว่า หายใจเข้าสั้น อย่างไร ฯ
    บุคคลเมื่อหายใจออกสั้น ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออกหายใจ
    เข้าสั้น ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย ฉันทะย่อม
    เกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้น หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะ
    ที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อม
    หายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วย
    สามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออกหายใจ
    เข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างใน
    ขณะนับได้นิดหน่อย ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้หายใจออกหายใจเข้า
    ละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้
    นิดหน่อย เมื่อหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อม
    หายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วย
    สามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออก
    หายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกบ้าง
    หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้า
    สั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างใน
    ขณะที่นับได้นิดหน่อย ย่อมหลีกไปจากลมอัสสาสะปัสสาสะสั้น อุเบกขาย่อม
    ตั้งอยู่ กาย คือ ลมหายใจออกหายใจเข้าสั้นด้วยอาการ ๙ เหล่านี้ปรากฏ สติ
    เป็นอนุปัสนาญาณ กายปรากฏ มิใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคล
    พิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า
    สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณากายในกาย ฯ
    [๔๐๒] คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า บุคคลย่อมพิจารณากายนั้น
    อย่างไร ฯลฯ พิจารณากายนั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนาในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น เวทนา
    ย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคลรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
    ลมหายใจออกลมหายใจเข้าสั้น ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯลฯ
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และย่อมแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็น
    ประโยชน์ ฯ
    [๔๐๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าอย่างไร ฯ
    กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑ นามกาย
    เป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนาม
    กายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย รูปกายเป็นไฉน มหาภูต
    รูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ นิมิตร และท่านกล่าวว่า
    กายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ
    [๔๐๔] กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร ฯ
    เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ
    ออกยาว สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
    เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติ
    ย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิต
    มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น ... เมื่อรู้ความที่จิตมี
    อารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ... เมื่อคำนึงถึง
    กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ ... เมื่อเห็น ... เมื่อพิจารณา ... เมื่ออธิษฐานจิต ...
    เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ... เมื่อประคองความเพียร ... เมื่อตั้งสติไว้มั่น ...
    เมื่อตั้งจิตมั่น ... เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ... เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ...
    เมื่อละธรรมที่ควรละ ... เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ... เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควร
    ทำให้แจ้ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ กาย
    คือ ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออกหายใจเข้าปรากฏ สติเป็น
    อนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคล
    ย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ
    [๔๐๕] คำว่า ย่อมพิจารณา ฯลฯ สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็น
    ผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า จิตวิสุทธิ ด้วยอรรถว่า
    ไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าเห็นความระวังในสีลวิสุทธินั้นเป็นอธิสีลสิกขา
    ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตวิสุทธินั้นเป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฐิวิสุทธินั้นเป็น
    อธิปัญญาสิกขา บุคคลคำนึงถึงสิกขา ๓ ประการนี้ศึกษาอยู่ รู้ศึกษา เห็นศึกษา
    พิจารณาศึกษา อธิษฐานศึกษา น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาศึกษา ประคองความ
    เพียรศึกษา ดำรงสติไว้มั่นศึกษา ตั้งจิตมั่นศึกษา รู้ชัดด้วยปัญญาศึกษา รู้ยิ่ง
    ธรรมที่ควรรู้ยิ่งศึกษา กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ศึกษา ละธรรมที่ควรละ
    ศึกษา เจริญธรรมที่ควรเจริญศึกษา ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งศึกษา
    เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกองลม
    ทั้งปวงหายใจออกหายใจเข้า เวทนาย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ความที่จิต
    มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจ
    ออกหายใจเข้า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึง
    กล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๔๐๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า
    จักระงับกายสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    กายสังขารเป็นไฉน ลมหายใจออกยาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้
    เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้
    เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น
    ศึกษาอยู่ ลมหายใจออกสั้น ลมหายใจเข้าสั้น ลมที่บุคคลรู้แจ้งกองลมทั้งปวง
    หายใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร บุคคล
    ระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น ศึกษาอยู่ ความอ่อนไป ความน้อมไป
    ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลง
    แห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกาย
    สังขารหายใจออก ศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ความไม่อ่อนไป
    ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความ
    ไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลง แห่งกาย มีอยู่เพราะกายสังขารเห็น
    ปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจออก ศึกษา
    อยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจเข้า ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคล
    ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขาร
    หายใจเข้า เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ไม่
    ปรากฏ อานาปาณสติก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ไม่ปรากฏ และบัณฑิต
    ทั้งหลายแม้จะเข้าแม้จะออกสมาบัตินั้นก็หามิได้ ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลศึกษา
    อยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปาณ
    สติก็ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและย่อม
    ออกสมาบัตินั้น ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาลเสียงดังย่อม
    เป็นไปก่อนตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง เมื่อเสียงดัง
    ค่อยลง ต่อมาเสียงค่อยก็เป็นไปภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่ง
    เสียงค่อย และเมื่อเสียงค่อยดับลง ต่อมาจิตย่อมเป็นไปในภายหลัง แม้เพราะ
    นิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ ข้อนี้ก็เหมือนกันฉะนั้น ลมหายใจออกและลม
    หายใจเข้าที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึกทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลม
    หายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ เมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ
    เบาลง ต่อมาลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด ย่อมเป็นไปในภายหลัง
    ตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่
    ละเอียด และเมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียดเบาลงอีก ต่อมาจิตย่อม
    ไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง แม้เพราะความที่นิมิตแห่งลมหายใจออกลมหายใจ
    เข้าที่ละเอียดเป็นอารมณ์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะ
    ปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิต
    ทั้งหลายย่อมเข้าและออกสมาบัตินั้นๆ กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขาร
    หายใจออกหายใจเข้าปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ
    สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณ
    นั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกาย
    ในกาย ฯ
    [๔๐๗] คำว่า พิจารณา ความว่า บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นอย่างไร ฯลฯ
    ย่อมพิจารณากายนั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    สีลวิสุทธิด้วยอรรถว่า ความเป็นผู้ระงับ กายสังขารระวังลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
    จิตตวิสุทธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิด้วยอรรถว่าเห็น ความระวังในศีล
    วิสุทธินั้น เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธินั้น เป็นอธิจิตตสิกขา
    ความเห็นในทิฐิวิสุทธินั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา บุคคลเมื่อคำนึงถึงสิกขา
    ๓ ประการนี้ศึกษาอยู่ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งศึกษาอยู่ เมื่อ
    รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
    หายใจออกหายใจเข้า เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์
    เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออกหายใจเข้า
    ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์อนุปัสสนาญาณ [ญาณในการ
    พิจารณา] ๘ อุปัฏฐานานุสสติ [อนุสสติที่ปรากฏ] ๘ และสัตตันติกวัตถุ
    [เรื่องอันมีมาในพระสูตร] ในการพิจารณากายในกาย ๔ ฯ

    <CENTER>จบภาณวาร
    </CENTER>
     
  4. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    [๔๐๘] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมศึกษาว่า
    จักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    ปีติเป็นไฉน เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
    ลมหายใจออกยาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์
    เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
    ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น
    ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก
    ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกาย
    สังขารหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ปีติและ
    ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์ คือ ความเบิกบาน ความบันเทิง
    ความหรรษา ความรื่นเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ปีตินี้ย่อมปรากฏ
    เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว
    สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิต
    มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น
    ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว
    ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น
    ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง
    กายทั้งปวงหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ด้วย
    สามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า สติย่อมตั้งมั่น ปีติย่อมปรากฏด้วย
    สตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อคำนึงถึง ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ ... เมื่อเห็น
    เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร
    เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อจิตตั้งมั่น เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้
    ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรม
    ที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นย่อมปรากฏ เวทนาด้วย
    สามารถความเป็นผู้รู้แจ้งปีติหายใจออกหายใจเข้าอย่างนี้นั้นปรากฏ สติเป็น
    อนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
    บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
    กล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯ
    คำว่า พิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อม
    พิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความรู้แจ้งปีติระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ
    เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งปีติหายใจ
    ออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุ
    นั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๔๐๙] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมศึกษาว่า
    จักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    สุข ในคำว่า สุขํ มี ๒ คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑ ฯ
    กายิกสุขเป็นไฉน ความสำราญทางกาย ความสุขที่ได้เสวยทางกาย
    สุขเวทนาซึ่งเป็นความสำราญเกิดแก่กายสัมผัสนี้เป็นกายิกสุข ฯ
    เจตสิกสุขเป็นไฉน ความสุขทางจิต ความสุขที่ได้เสวยเป็นความ
    สำราญเกิดแต่เจโตสัมผัส สุขเวทนาซึ่งเป็นความสำราญเกิดแต่เจโตสัมผัส
    นี้เป็นเจตสิกสุข ฯ
    สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
    ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น
    ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ
    เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ
    เมื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏ สุขเหล่านั้น
    ย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
    เวทนา ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ
    สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติ
    ด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯ
    คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนาอย่างไร ย่อมพิจารณา
    โดยความไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่ารู้แจ้งสุขระงับลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความ
    ที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออก
    หายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุ
    นั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นอรรถ ฯ
    [๔๑๐] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า
    จักรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    จิตตสังขารเป็นไฉน สัญญาและเวทนาด้วยสามารถลมหายใจออกยาว
    เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร สัญญาและเวทนาด้วย
    สามารถลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร
    ฯลฯ สัญญาและเวทนาด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออก ด้วยสามารถ
    ความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้า เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตต-
    *สังขาร นี้เป็นจิตตสังขาร ฯ
    จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างไร ฯ
    เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว
    สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้
    ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อม
    ตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้
    แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ จิตตสังขารเหล่านั้น
    ย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
    เวทนา ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออกหายใจเข้า
    ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
    เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะ
    เหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ พิจารณาเวทนาในเวทนา
    ทั้งหลาย ฯ
    คำว่า พิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างไร ย่อมพิจารณา
    โดยความไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่ารู้แจ้งจิตตสังขารระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ
    เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตตสังขาร
    หายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๔๑๑] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษา
    ว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    จิตตสังขารเป็นไฉน สัญญาและเวทนา ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว
    เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตเป็นจิตตสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับ
    สงบจิตตสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ สัญญาและเวทนา ด้วยสามารถลมหายใจเข้า
    ยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร บุคคลระงับ คือ
    ดับ สงบจิตตสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ สัญญาและเวทนาด้วยสามารถความเป็นผู้รู้
    แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก
    เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับ
    สงบจิตตสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ เวทนา ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตตสังขาร
    หายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่
    สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วย
    ญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณา
    เวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯ
    คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างไร ฯลฯ
    ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้ระงับจิตตสังขาร ระวังลมหายใจออกลมหายใจ
    เข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้
    ระงับจิตตสังขารหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลรู้อยู่ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลาย
    ให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบ
    เป็นประโยชน์ อนุปัสสนาญาณ (ญาณในการพิจารณา) ๘ อุปัฏฐานานุสสติ
    (อนุสสติที่ปรากฏ) ๘ สุตตันติกวัตถุ (เรื่องอันมีมาในพระสูตร) ในการพิจารณา
    เวทนาในเวทนา ๔ ฯ

    <CENTER>จบภาณวาร
    </CENTER> [๔๑๒] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จัก
    รู้แจ้งจิตหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    จิตนั้นเป็นไฉน วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว จิต คือ
    มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
    มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว
    ฯลฯ ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจออก จิต คือ มนะ
    มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น นี้เป็นจิต ฯ
    จิตปรากฏอย่างไร เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
    สามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วย
    ญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้า
    ยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำ
    ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตนั้นย่อมปรากฏ จิตนั้นย่อมปรากฏอย่างนี้
    วิญญาณจิต ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง จิตหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ
    สติเป็นอนุปัสสนาญาณ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
    บุคคลย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าว
    ว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต ฯ
    คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อม
    พิจารณาจิตอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความรู้แจ้งจิตระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อ
    รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก
    หายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๔๑๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักให้จิตเบิกบานหายใจออก ย่อมศึกษาว่า
    จักให้จิตเบิกบานหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    ก็ความเบิกบานแห่งจิตเป็นไฉน เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
    ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความเบิกบาน
    ความบันเทิง ความหรรษา ความร่าเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ฯลฯ
    เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ความ
    เบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความเบิกบาน ความบันเทิง ความหรรษา ความร่าเริง
    แห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
    สามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจเข้า
    ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความเบิกบาน ความบันเทิง ความหรรษา
    ความร่าเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ นี้เป็นความเบิกบานแห่งจิต
    วิญญาณจิต ด้วยสามารถความเป็นผู้ยังจิตให้เบิกบานหายใจออกหายใจเข้าปรากฏ
    สติเป็นอนุปัสนาญาณ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
    บุคคลย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
    กล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต ฯ
    คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อม
    พิจารณาจิตนั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    สีลวิสุทธิ ด้วยสามารถความเป็นผู้ยังจิตให้เบิกบานระวังลมหายใจออกลมหายใจ
    เข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ยัง
    จิตให้เบิกบานหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้
    ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็น
    ประโยชน์ ฯ
    [๔๑๔] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จัก
    ตั้งจิตมั่นหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
    ลมหายใจออกยาว เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
    ลมหายใจเข้ายาว เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
    ความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นหายใจออก เป็นสมาธิ ความตั้งอยู่ ความตั้งอยู่ดี ความ
    ตั้งมั่น ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความมีใจไม่กวัดแกว่ง
    ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ วิญญาณจิตด้วยสามารถความ
    เป็นผู้ตั้งจิตมั่นหายใจออกหายใจเข้านี้ ปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ จิตปรากฏ
    ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น
    ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การ
    พิจารณาจิตในจิต ฯ
    คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อม
    พิจารณาจิตนั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ
    เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นหายใจเข้า
    ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึง
    กล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๔๑๕] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จัก
    เปลื้องจิตหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตจากราคะหายใจออก จักเปลื้องจิตจาก
    ราคะหายใจเข้า จักเปลื้องจิตจากโทสะหายใจออก จักเปลื้องจิตจากโทสะหายใจ
    เข้า จักเปลื้องจิตจากโมหะหายใจออก จักเปลื้องจิตจากโมหะหายใจเข้า ฯลฯ
    จักเปลื้องจิตจากมานะ จักเปลื้องจิตจากทิฐิ จักเปลื้องจิตจากวิจิกิจฉา จักเปลื้อง
    จิตจากถีนมิทธะ จักเปลื้องจิตจากอุทธัจจะ จักเปลื้องจิตจากความไม่ละอายบาป
    จักเปลื้องจิตจากความไม่สะดุ้งกลัวบาปหายใจออก จักเปลื้องจิตจากความไม่สะดุ้ง
    กลัวบาปหายใจเข้า วิญญาณจิต ด้วยสามารถความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออกหาย
    ใจเข้า ปรากฏ ฯลฯ
    คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อม
    พิจารณาจิตนั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๒ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้เปลื้องจิตระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ
    เมื่อรู้ความที่มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจ
    ออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะ
    เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นอรรถ อนุปัสนา
    ญาณ ๔ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุในการพิจารณาจิตในจิต ๔ ฯ
    [๔๑๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออก ย่อม
    ศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    คำว่า อนิจฺจํ ความว่า อะไรไม่เที่ยง เบญจขันธ์ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง
    เพราะอรรถว่ากระไรไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าเกิดขึ้นและเสื่อมไป ฯ
    บุคคลเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อ
    เห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้น
    และความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร ฯ
    บุคคลเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ฯลฯ
    เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ นี้
    บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จัก
    พิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงใน
    เวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ หายใจ
    ออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในชราและมรณะหายใจเข้า ธรรม
    ทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ
    สติเป็นอนุปัสนาญาณ ธรรมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
    บุคคลพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
    กล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ฯ
    คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ
    ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยง ระวังลมหายใจออกหาย
    ใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้
    พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์
    ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมี
    ความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๔๑๗] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    บุคคลเห็นโทษในรูปแล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความคลายกำหนัดในรูป
    น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลาย
    กำหนัดในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดในรูป
    หายใจเข้า บุคคลเห็นโทษในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ใน
    จักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็นผู้เกิดฉันทะในความคลายกำหนัดในชราและ
    มรณะ และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดในชราและ
    มรณะหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดในชราและมรณะ
    หายใจเข้า ธรรมทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความคลายกำหนัดหายใจ
    ออกหายใจเข้า ปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ ธรรมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
    ปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วย
    ญาณนั้น เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานา คือ การพิจารณาธรรม
    ในธรรมทั้งหลาย ฯ
    คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ
    ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณาความคลายกำหนัดระวังลมหายใจออก
    ลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้
    พิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์
    ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความ
    สงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๔๑๘] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับหายใจออก ย่อมศึกษา
    ว่า จักพิจารณาความดับหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    บุคคลเห็นโทษในรูปแล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความดับในรูป น้อมใจไป
    ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในรูปหายใจ
    ออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในรูปหายใจเข้า เห็นโทษในเวทนา ใน
    สัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะแล้ว เป็นผู้
    เกิดฉันทะในความดับในชราและมรณะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นดี
    ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จัก
    พิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจเข้า ฯ
    [๔๑๙] โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร อวิชชาย่อมดับด้วยอาการ
    เท่าไร โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการ ๕ อวิชชาย่อมดับด้วยอาการ ๘ ฯ
    โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน โทษในอวิชชาย่อมมีด้วย
    อรรถว่าไม่เที่ยง ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์ ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นอนัตตา ๑ ด้วย
    อรรถว่าเป็นเหตุให้เดือดร้อน ๑ ด้วยอรรถว่าแปรปรวน ๑ โทษในอวิชชาย่อมมี
    ด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ
    อวิชชาย่อมดับไปด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน อวิชชาย่อมดับด้วยนิทาน
    ดับ ๑ ด้วยสมุทัยดับ ๑ ด้วยชาติดับ ๑ ด้วยอาหารดับ ๑ ด้วยเหตุดับ ๑
    ด้วยปัจจัยดับ ๑ ด้วยญาณเกิดขึ้น ๑ ด้วยนิโรธปรากฏ ๑ อวิชชาย่อมดับ
    ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ ฯ
    บุคคลเห็นโทษในอวิชชาด้วยอาการ ๕ เหล่านี้แล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะใน
    ความดับแห่งอวิชชาด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่น
    ดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับแห่งอวิชชาหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จัก
    พิจารณาความดับแห่งอวิชชาหายใจเข้า ฯ
    [๔๒๐] โทษในสังขารย่อมมีด้วยอาการเท่าไร สังขารย่อมดับด้วยอาการ
    เท่าไร ฯลฯ โทษในวิญญาณย่อมมีด้วยอาการเท่าไร วิญญาณย่อมดับด้วยอาการเท่าไร
    โทษในนามรูปย่อมมีด้วยอาการเท่าไร นามรูปย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในสฬา-
    *ยตนะย่อมมีด้วยอาการเท่าไร สฬายตนะย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในผัสสะย่อม
    มีด้วยอาการเท่าไรผัสสะย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในเวทนาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร
    เวทนาย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในตัณหาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ตัณหาย่อมดับ
    ด้วยอาการเท่าไร โทษในอุปาทานย่อมมีด้วยอาการเท่าไร อุปาทานย่อมดับด้วยอาการ
    เท่าไร โทษในภพย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ภพย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษใน
    ชาติย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ชาติย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในชราและมรณะ
    ย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ชราและมรณะย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในชราและ
    มรณะย่อมมีด้วยอาการ ๕ ชราและมรณะย่อมดับด้วยอาการ ๘ ฯ
    โทษในชราและมรณะย่อมมีด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน โทษในชราและ
    มรณะย่อมมีด้วยอรรถว่าไม่เที่ยง ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์ ๑ ด้วยอรรถว่าเป็น
    อนัตตา ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุให้เดือดร้อน ๑ ด้วยอรรถว่าแปรปรวน ๑ โทษ
    ในชราและมรณะย่อมมีด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ
    ชราและมรณะย่อมดับด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน ชราและมรณะย่อมดับ
    ด้วยนิทานดับ ๑ ด้วยสมุทัยดับ ๑ ด้วยชาติดับ ๑ ด้วยภพดับ ๑ ด้วยเหตุดับ ๑
    ด้วยปัจจัยดับ ๑ ด้วยญาณเกิดขึ้น ๑ ด้วยนิโรธปรากฏ ๑ ชรามรณะย่อมดับด้วย
    อาการ ๘ เหล่านี้ ฯ
    บุคคลเห็นโทษด้วยชราและมรณะในอาการ ๕ เหล่านี้แล้ว เป็นผู้เกิด
    ฉันทะในความดับแห่งชราและมรณะด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ น้อมใจไปด้วยศรัทธา
    และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจเข้า ธรรมทั้งหลาย
    ด้วยสามารถ ความเป็นผู้พิจารณาความดับหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ สติ
    เป็นอนุปัสนาญาณ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติ
    ด้วย บุคคลย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้
    นั้นท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ฯ
    คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ
    ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่า เป็นที่เสพ สีล-
    *วิสุทธิ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความดับ ระวังลมหายใจออกลมหายใจ
    เข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้
    พิจารณาความดับหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์
    ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมี
    ความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
    [๔๒๑] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนหายใจออก ย่อม
    ศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    ความสละคืนมี ๒ อย่าง คือ ความสละคืนด้วยการบริจาค ๑ ความ
    สละคืนด้วยความแล่นไป ๑ จิต (คิด) สละรูป เพราะฉะนั้นจึงเป็นความสละ
    คืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานอันเป็นที่ดับรูป เพราะฉะนั้น
    จึงเป็นความสละคืนด้วยการแล่นไป บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละ
    คืนในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในรูปหายใจเข้า จิต
    (คิด) สละเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ เพราะ
    ฉะนั้นจึงเป็นความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานอันเป็นที่ดับชรา
    และมรณะ เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยการแล่นไป บุคคลย่อมศึกษาว่า
    จักพิจารณาความสละคืนในชราและมรณะ หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณา
    ความสละคืนในชราและมรณะ หายใจเข้า ธรรมทั้งหลาย ด้วยสามารถความเป็น
    ผู้พิจารณาความสละคืนหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ
    ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อม
    พิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ฯ
    คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ย่อม
    พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือ
    มั่น เมื่อพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน
    ย่อมละความถือมั่นได้ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยอรรถว่า ธรรม
    ทั้งหลายอันเกิดในภาวนานั้น ไม่ล่วงเกินกัน ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณา ความสละคืนระวังลมหายใจออกลม
    หายใจเข้า จิตวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าเห็น
    ความสำรวมในสีลวิสุทธินั้น เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตวิสุทธินั้น
    เป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฐิวิสุทธินั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา บุคคลเมื่อคำนึง
    ถึงสิกขา ๓ ประการนี้ศึกษาอยู่ เมื่อรู้ ศึกษาอยู่ ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์
    เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนหายใจออกหายใจ
    เข้า เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯลฯ เมื่อรู้
    ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความสละคืน
    หายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงย่อมรู้
    จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ย่อมยังพละทั้งหลาย
    ให้ประชุมลง ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลง ย่อมยังมรรคให้ประชุมลง ย่อม
    ยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ย่อมรู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบ
    เป็นประโยชน์ ฯ
    คำว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า ย่อมยังอินทรีย์
    ทั้งหลายให้ประชุมลงอย่างไร ฯ
    ย่อมยังสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อให้ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุ
    นั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ อนุปัสนา
    ญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ในการพิจารณาธรรมในธรรม
    ทั้งหลาย ๔ ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒ นี้ ฯ
    [๔๒๒] ญาณด้วยสามารถแห่งสมาธิ ๒๔ เป็นไฉน ฯ
    ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว
    เป็นสมาธิ ความที่จริงมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว
    เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้
    เปลื้องจิตหายใจออกหายใจเข้า เป็นสมาธิ ญาณด้วยสามารถของสมาธิ ๒๔
    เหล่านี้ ฯ
    ญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา ๗๒ เป็นไฉน ฯ
    วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจออกยาว โดยความเป็นของไม่เที่ยง
    วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นทุกข์ วิปัสสนาด้วย
    อรรถว่าพิจารณาลมหายใจออกยาว โดยความเป็นอนัตตา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
    พิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นของไม่เที่ยง วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณา
    ลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นทุกข์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้า
    ยาว โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าความเป็นผู้เปลื้องจิตพิจารณา
    ลมหายใจออก โดยความเป็นของไม่เที่ยง วิปัสสนาด้วยอรรถว่าความเป็นผู้เปลื้อง
    จิตพิจารณาลมหายใจเข้า โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย
    ความเป็นอนัตตา ญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา ๗๒ เหล่านี้ ฯ
    นิพพิทาญาณ ๘ เป็นไฉน ญาณชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่อง
    ให้บุคคลผู้พิจารณาหายใจออก โดยความเป็นของไม่เที่ยง รู้เห็นตามความเป็นจริง
    เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาลมหายใจเข้า โดยความเป็นของไม่เที่ยง
    รู้เห็นตามความเป็นจริง ฯลฯ ญาณชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้
    บุคคลพิจารณาความสละคืนลมหายใจออก รู้เห็นตามความเป็นจริง เพราะอรรถว่า
    เป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาความสละคืนลมหายใจเข้า รู้เห็นตามความเป็นจริง
    นิพพิทาญาณ ๘ เหล่านี้ ฯ
    นิพพิทานุโลมญาณ ๗ เป็นไฉน ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจ
    ออกโดยความเป็นไม่เที่ยง ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลม
    ญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจเข้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง ปรากฏ
    โดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ ฯลฯ ปัญญาในความเป็นผู้
    พิจารณาความสละคืนลมหายใจออกปรากฏ โดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิ-
    *ทานุโลมญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนลมหายใจเข้าปรากฏโดย
    ความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ เหล่านี้ ฯ
    นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ เป็นไฉน ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลม
    หายใจออกโดยความเป็นของไม่เที่ยง พิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็นนิพพิทา
    ปฏิปัสสัทธิญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจเข้าโดยความเป็นของ
    ไม่เที่ยง พิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็นนิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ฯลฯ นิพ
    พิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ เหล่านี้ ฯ
    ญาณในวิมุติสุข ๒๑ เป็นไฉน ญาณในวิมุติสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะละ เพราะ
    ตัดขาดซึ่งสักกายทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ... เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งวิจิกิจฉา
    ด้วยโสดาปัตติมรรค ... เพราะละเพราะตัดขาดซึ่งสีลัพพตปรามาส ทิฐานุสัย วิจิ
    กิจฉานุสัย ด้วยโสดาปัตติมรรค ... เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งกามราคสังโยชน์
    ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค ...
    เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิ
    ฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ด้วยอนาคามิมรรค ญาณในวิมุติสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะ
    ละ เพราะตัดขาดซึ่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุจธัจจะ อวิชชา มานานุสัย
    ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ด้วยอรหันตมรรค ญาณในวิมุติสุข ๒๑ เหล่านี้
    เมื่อบุคคลเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ เหล่า
    นี้อันสัมปยุตด้วยสมาธิ ย่อมเกิดขึ้น ฯ

    <CENTER>จบอานาปานกถา ฯ
    </CENTER>
     
  5. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค</BIG> <CENTER class=D>๓. อานาปาณกถา</CENTER></CENTER>
    <CENTER> อานาปานสติกถา ในมหาวรรค
    ๑. อรรถกถาคณนวาร </CENTER> บัดนี้ ถึงลำดับที่จะพรรณนาความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่ง<WBR>อานา<WBR>ปาน<WBR>สติ<WBR>กถา<WBR>ที่<WBR>ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ไว้ในลำดับแห่ง<WBR>ทิฏฐิ<WBR>กถา.
    จริงอยู่ อานาปานสติกถานี้เป็นสมาธิภาวนาอันทำได้ง่ายเพื่อตรัสรู้ตามความเป็นจริง แห่งโทษของทิฏฐิที่กล่าวไว้ดีแล้วในทิฏฐิกถา แห่งจิตบริสุทธิ์ด้วยดีด้วยการชำระมลทินแห่งมิจฉาทิฏฐิ.
    อนึ่ง ในสมาธิภาวนาทั้งปวง อานาปานสติกถานี้ ท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งทิฏฐิกถาว่าเป็นสมาธิภาวนาและเป็นประธาน เพราะตรัสรู้ตามความเป็นจริง แห่งจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธินี้ ณ โพธิมูลของพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งปวง.
    พึงทราบวินิจฉัยในอานาปานสติกถานั้นดังต่อไปนี้.
    บทว่า โสฬสวตฺถุกํ อานาปานสฺสติสมาธึ ภาวยโต สมาธิกานิ เทฺว ญาณสตานิ อุปฺปชฺชนฺติ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น เป็นการยกขึ้นแสดงจำนวนญาณ.
    บทมีอาทิว่า อฏฐ ปริปนเถ ญาณานิ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ เป็นการชี้แจงจำนวนญาณ.
    บทต้นว่า กตมานิ อฏฺฐ ปริปนฺเถ ญาณานิ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ เป็นไฉน.
    บทสุดท้ายว่า อิมานิ เอกวีสติ วิมุตติสุเข ญาณานิ ญาณในวิมุตติสุข ๒๑ เหล่านี้เป็นการชี้แจงความพิสดารของญาณทั้งปวง.
    พึงทราบการกำหนดบาลีก่อนอย่างนี้ว่า บทมีอาทิว่า โสฬสวตฺถุกํ อานาปานสฺสติสมาธึ ภาวยโต เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ เป็นบทสรุปในที่สุด.
    พึงทราบวินิจฉัยในการยกแสดงจำนวน ในการนับจำนวนว่า อานาปานสติสมาธิมีวัตถุ ๑๖ ก่อนดังต่อไปนี้.
    ชื่อว่า โสฬสวตฺถุโก เพราะมีวัตถุเป็นที่ตั้ง คือมีอารมณ์ ๑๖ ด้วยสามารถแห่งจตุกะละ ๔ เหล่านี้ คือ ลมหายใจยาวสั้นกำหนดรู้กองลมทั้งปวง สงบกายสังขาร ชื่อว่ากายานุปัสสนาจตุกะ ๑ กำหนดรู้ปีติ สุข จิตสังขาร สงบจิตสังขาร ชื่อว่าเวทนานุปัสสนาจตุกะ ๑ กำหนดรู้จิต จิตยินดียิ่ง จิตตั้งมั่น จิตพ้น ชื่อว่าจิตตานุปัสสนาจตุกะ ๑ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความคลายกำหนัด การดับทุกข์ การสละ ชื่อว่าธัมมานุปัสสนาจตุกะ ๑. อานาปานสติสมาธิมีวัตถุ ๑๖ นั้น. ก็ในบทนี้ลบวิภัตติด้วยวิธีของสมาส.
    บทว่า อานํ ได้แก่ ลมหายใจเข้าในภายใน.
    บทว่า อปานํ ได้แก่ ลมหายใจออกในภายนอก. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวโดยตรงกันข้าม เพราะหายใจออก ท่านกล่าวว่าอปานะ เพราะปราศจากการหายใจเข้า. แต่ในนิเทศ<SUP>๑-</SUP> ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า อาปาน เพราะเพ่งถึงทีฆะ อักษร.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๓๘๖

    เมื่อมีอานาปานนั้น ชื่อว่าอานาปานสติ. อานาปานสตินี้เป็นชื่อของสติกำหนดอัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้าและหายใจออก) สมาธิประกอบด้วยอานาปานสติ หรือสมาธิในอานาปานสติ ชื่อว่าอานาปานสติสมาธิ.
    บทว่า ภาวยโต คือ เจริญนิพเพธภาคี (ธรรมเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด).
    บทว่า สมาธิกานิ อันเนื่องมาแต่สมาธิ คือเป็นไปกับด้วยความยิ่ง. ความว่า มีความยิ่งเกิน.
    ในบทว่า สมาธิกานิ นี้ อักษรเป็นบทสนธิ.
    แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สํ อธิกานิ. เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ได้.
    ความว่า ญาณ ๒๐๐ ด้วย ยิ่งด้วย. ข้อนั้นไม่ถูก เพราะญาณ ๒๐๐ เหล่านี้ก็จะเกินไป ๒๐.
    บทว่า ปริปนฺเถ ญาณานิ ญาณในธรรมเป็นอันตราย คือญาณอันเป็นไป เพราะทำอันตรายให้เป็นอารมณ์.
    อนึ่ง ญาณในธรรมเป็นอุปการะในอุปกิเลส.
    บทว่า โวทาเน ญาณานิ ญาณในโวทาน (ความผ่องแผ้ว) คือ ชื่อว่าโวทาน เพราะจิตผ่องแผ้วบริสุทธิ์ด้วยญาณนั้น. ควรกล่าวว่า โวทานญาณานิ ท่านกล่าวว่า โวทาเน ญาณานิ ญาณในโวทานดุจในบทมีอาทิว่า สุตมเย ญาณํ ญาณในสุตมยปัญญา.<SUP>๒-</SUP>
    ____________________________
    <SUP>๒-</SUP> ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/มาติกา

    ชื่อว่า สโตการี เพราะมีสติสัมปชัญญะทำ ญาณของผู้มีสติทำนั้น.
    บทว่า นิพฺพิทาญาณานิ คือ ญาณอันเป็นนิพพิทา (เบื่อหน่าย).
    บทว่า นิพฺพิทานุโลเม ญาณานิ คือ ญาณเกื้อกูลนิพพิทา.
    ปาฐะว่า นิพฺพิทานุโลมิญาณานิ บ้าง.
    ความว่า ชื่อว่า นิพฺพิทานุโลมี เพราะมีญาณเกื้อกูลแก่นิพพิทา.
    บทว่า นิพฺพิทาปฏิปปสฺสทฺธิญาณานิ คือ ญาณในความสงบนิพพิทา.
    บทว่า วิมุตฺติสุเข ญาณานิ คือ ญาณสัมปยุตด้วยวิมุตติสุข.
    ด้วยบทมีอาทิว่า กตมานิ อฏฺฐ (๘) เป็นไฉน ท่านแสดงถึงญาณร่วมกันในธรรมเป็นอันตรายและในธรรมเป็นอุปการะเหล่านั้น เพราะญาณในธรรมเป็นอันตราย และในธรรมเป็นอุปการะเป็นคู่ ตรงกันข้ามและเป็นข้าศึกกัน.
    บทมีอาทิว่า กามจฺฉนฺทเนกฺขมฺมา มีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง.
    อนึ่ง บทว่า อุปการํ เป็นนปุงสกลิงค์ โดยเป็นลิงควิปลาส.
    บทว่า สพฺเพปิ อกุสลา ธมฺมา อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง คืออกุสลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหลือดังกล่าวแล้ว.
    อนึ่ง กุสลธรรมทั้งปวงเป็นฝ่ายแห่งการแทงตลอด.
    บทว่า ปริปนฺโถ และอุปการํ เป็นเอกวจนะ เพราะเพ่งถึงบทนั้นๆ นั่นเอง.
    พระสารีบุตรเถระ ครั้นถามถึงญาณในธรรมเป็นอันตรายและญาณในธรรมเป็น<WBR>อุปกา<WBR>ระ<WBR>นี้แล้ว แก้อารมณ์แห่งญาณแหล่านั้นแล้วแสดงสรุปญาณอันมีญาณนั้นเป็นอารมณ์ว่า เป็นอันแก้ญาณเหล่านั้นด้วยธรรมเป็นปริปันถะ และอุปการะเหล่านั้นแล้ว.
    แม้ในบทมีอาทิว่า ญาณในอุปกิเลสก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    <CENTER> จบอรรถกถาคณนวาร </CENTER><CENTER>
    ๒. อรรถกถาโสฬสญาณนิเทศ </CENTER> บทว่า โสฬสหิ อากาเรหิ ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านี้ คือด้วยส่วนแห่งญาณ ๑๖ ดังได้กล่าวแล้วโดยเป็นฝ่ายทั้งสอง.
    บทว่า อุทุปิตจิตฺตํ สมุทุปิตจิตฺตํ จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ.
    ความว่า ในอุปจารภูมิ จิตสะสมไว้เบื้องบน สะสมไว้เบื้องบนโดยชอบ ทำการสะสมสูงขึ้นๆ ทำการสะสมสูงขึ้นๆ โดยชอบ.
    ปาฐะว่า อุทุชิตํ จิตฺตํ สุมุชิตํ บ้าง. ความว่า จิตชนะเพราะความสูง หรือชนะด้วยญาณอันทำความสูง.
    บทว่า สุมุทชิตํ คือชนะเพราะความสูงเสมอ หรือชนะด้วยญาณอันทำความสูง เป็นอันปฏิเสธความไม่เสมอ ในบทนี้ว่า สมา เสมอ. ในปาฐะนี้มีอุปสรรค ๒ ตัว คือ อุ. ทุ. ปาฐะว่า อุรูชิตํ จิตฺตํ สมฺมารูชิตํ บ้าง. แม้ในปาฐะนี้ก็มีความว่าชนะแล้วเหมือนกัน.
    อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า บทว่า อุรู อรู นี้ เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น.
    ในอรรถกถาวีโรปมสูตร ท่านกล่าวความว่า ตชฺชิตํ และ สุตชฺชิตํ คือ คุกคามแล้ว คุกคามด้วยดีแล้ว. ความนั้นไม่สมควรในที่นี้.
    บทว่า เอกตฺเต สนฺติฏฺฐติ ย่อมดำรงอยู่ในความเป็นธรรมอย่างเดียว คือย่อมตั้งอยู่ในความเป็นธรรมอย่างเดียวในอุปจารภูมิ โดยไม่มีความฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่างๆ.
    ในบทนี้ว่า นิยฺยานาวรณฏฺเฐน นีวรณา ชื่อว่านิวรณ์ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ท่านกล่าวว่า แม้ความไม่ยินดี แม้อกุศลทั้งปวงก็ชื่อว่า นิวรณ์เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้น.
    บทว่า นิยฺยานาวรณฏฺเฐน ชื่อว่านิวรณ์ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องปิดทางมาแห่งธรรมเครื่องนำออก.
    ปาฐะว่า นิยฺยานาวารณฏฺเฐน บ้าง. ความว่า ชื่อว่านิวรณ์ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องห้ามธรรมเครื่องนำออก.
    บทว่า เนกฺขมฺมํ อริยานํ นิยฺยานํ เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย คือที่ตั้งแห่งมรรค ชื่อว่าเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลายด้วยผลูปจาร เพราะเป็นเหตุแห่งอริยมรรค กล่าวคือเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย. พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกคือเข้าถึงในขณะแห่งมรรค ด้วยผลูปจารนั้นเป็นเหตุ.
    ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า นิยฺยานํ คือมรรค. ข้อนั้นไม่ถูก เพราะในที่นี้ ท่านประสงค์เอาอุปจาร และเพราะไม่มีอาโลกสัญญาและกุศลธรรมทั้งปวงในขณะแห่งมรรค.
    บทว่า นิวุตตฺตา เพราะถูกอกุศลธรรมกั้นไว้คือปกปิดไว้.
    บทว่า นปฺปชานาติ ย่อมไม่รู้ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งบุคคล.
    บทว่า วิสุทฺธิจิตฺตสฺส ผู้มีจิตบริสุทธิ์ ได้แก่ในอุปจารภูมินั่นเอง.
    บทว่า ขณิกสโมธานา ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ.
    ความว่า ชื่อว่าขณิกา เพราะมีขณะ เพราะเกิดขึ้นในขณะจิต ในขณะจิต ได้แก่อุปกิเลส การตั้งมั่น การประชุม การรวบรวมจิตเป็นไปชั่วขณะ ชื่อว่าขณิกสโมธาน เพราะฉะนั้น จึงมีความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ.
    ท่านอธิบายไว้ว่า อุปกิเลสทั้งหลายเมื่อเกิด ย่อมเกิดด้วยการเกี่ยวเนื่องกันชั่วขณะ ด้วยการสืบต่อกันมาชั่วขณะ คือไม่เกิดด้วยอำนาจแห่งขณะจิตดวงหนึ่ง.
    <CENTER> จบอรรถกถาโสฬสญาณนิเทศ </CENTER><CENTER>
    ๓. อรรถกถาอุปกิเลสญาณนิเทศ
    ปฐมฉักกะ (ฉักกะที่ ๑) </CENTER><CENTER></CENTER> พึงทราบวินิจฉัยในปฐมฉักกะดังต่อไปนี้.
    บทว่า อสฺสาสาทิมชฺฌปริโยสานํ เบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของลมหายใจเข้า คือปลายจมูก หรือนิมิตปาก เป็นเบื้องต้นของลมเข้าในภายใน หัวใจเป็นท่ามกลาง มีนาภีเป็นที่สุด. เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้านั้น จิตถึงความฟุ้ง<WBR>ซ่าน<WBR>ใน<WBR>ภาย<WBR>ใน โดยไปตามความต่างกันแห่งที่ตั้ง จิตถึงความ<WBR>ฟุ้ง<WBR>ซ่าน<WBR>ใน<WBR>ภาย<WBR>ใน<WBR>นั้น เป็นอันตรายแก่สมาธิ เพราะไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียว.
    บทว่า ปสฺสาสาทิมชฺฌปริโยสานํ เบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของลมหายใจออก คือสะดือเป็นเบื้องต้นของลมออกไปในภายนอก หัวใจเป็นท่ามกลาง ปลายจมูก นิมิตปาก หรืออากาศภายนอกเป็นที่สุด.
    ในที่นี้พึงทราบการประกอบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
    บทว่า อสฺสาสปฏิกงฺขณา นิกนฺติ ตณฺหาจริยา ความในใจ คือความปรารถนาลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา.
    ความว่า การกำหนดว่ากรรมฐานนี้เนื่องด้วยลมจมูกแล้วพอใจ คือปรารถนาลมหายใจเข้าอันหยาบและหยาบ ความเป็นไปด้วยตัณหา.
    เมื่อมีความเป็นไปแห่งตัณหา ชื่อว่าเป็นอันตรายแก่สมาธิ เพราะไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียว.
    บทว่า ปสฺสาสปฏิกงฺขณา นิกนฺติ ความปรารถนาความพอใจลมหายใจออก.
    ความว่า ความพอใจคือความปรารถนาลมหายใจออก ซึ่งเป็นไปก่อนลมหายใจเข้า.
    บทที่เหลือพึงประกอบตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
    บทว่า อสฺสาเสนาภิตุนฺนสฺส แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ.
    ความว่า เมื่อลมหายใจเข้ายาวเกินไป หรือสั้นเกินไป ถูกลมหายใจเข้าทำลายเบียดเบียน เพราะมีความลำบากแห่งกายและจิตอันมีลมหายใจเข้าเป็นมูล.
    บทว่า ปสฺสาสปฏิลาเภ มุจฺฉนา ความหลงในการได้ลมหายใจออก คือเพราะถูกลมหายใจเข้าบีบคั้น ผู้มีความสำคัญในความพอใจในลมหายใจออก ปรารถนาลมหายใจออก ยินดีในการได้ลมหายใจออกนั้น.
    แม้ในลมหายใจออกเป็นมูลก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    พึงทราบวินิจฉัยในคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวเพื่อพรรณนาตามความดังที่ได้กล่าวแล้วดังต่อไปนี้.
    บทว่า อนุคจฺฉนา คือไปตาม.
    บทว่า สติ คือ สติอันเป็นเหตุฟุ้งซ่านในภายในและภายนอก.
    ชื่อว่า วิกฺเขโป เพราะจิตฟุ้งซ่านด้วยลมหายใจนั้น. ความฟุ้งซ่านในภายใน ชื่อว่า อชฺฌตฺตวิกฺเขโป. ความปรารถนา ความฟุ้งซ่านในภายในนั้น ชื่อว่า อชฺฌตฺตวิเขปากงฺขณา ท่านอธิบายว่า ความปรารถนาลมหายใจเข้าอันฟุ้งซ่านในภายใน ด้วยการไม่มีใจชอบ.
    พึงทราบความปรารถนาความฟุ้งซ่านในภายนอกโดยนัยนี้เหมือนกัน.
    บทว่า เยหิ คือ ด้วยอุปกิเลสเหล่าใด.
    บทว่า วิกมฺปมานสฺส ผู้หวั่นไหว คือผู้ฟุ้งซ่านถึงความฟุ้งซ่าน.
    บทว่า โน เจ จิตฺตํ วิมุจฺจติ ถ้าจิตไม่หลุดพ้น คือจิตไม่น้อมไปในอารมณ์อันเป็น<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัส<WBR>สา<WBR>สะ และไม่หลุดพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก.
    พึงทราบการเชื่อมว่า จิตไม่หลุดพ้น และให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น.
    บทว่า วิโมกฺขํ อปฺปชานนฺตา ไม่รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ คือผู้นั้นหรือผู้อื่นไม่รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ อันเป็นความพอใจแห่งอารมณ์ และซึ่งวิโมกข์อันเป็นความพ้นจากธรรมเป็นข้าศึกอย่างนี้.
    บทว่า ปรปตฺติยา คือมีคนอื่นเป็นปัจจัย เชื่อคนอื่น ไม่มีญาณที่ประจักษ์แก่ตน.
    เมื่อควรกล่าวว่า ปรปจฺจยิกา ท่าน<WBR>กล่าว ปรปตฺติยา. ความอย่างเดียวกัน.
    <CENTER> จบปฐมฉักกะ </CENTER><CENTER>
    ทุติยฉักกะ (ฉักกะที่ ๒) </CENTER> พึงทราบวินิจฉัยในทุติยฉักกะดังต่อไปนี้.
    บทว่า นิมิตฺตํ ที่สัมผัสแห่งลมหายใจเข้าและหายใจออก. เพราะอัสสาสะ<WBR>ปัส<WBR>สา<WBR>สะกระทบดั้งจมูกของผู้มีจมูกยาว กระทบริมฝีปากบนของผู้มีจมูกสั้น. ถ้าพระโยคาวจรนี้คำนึงถึงนิมิตนั้น จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิตนั้น ย่อมกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า คือไม่ตั้งอยู่ได้. เมื่อจิตของพระโยคาวจรนั้นไม่ตั้งอยู่ ความกวัดแกว่งนั้นเป็นอันตรายของสมาธิ เพราะไม่มีสมาธิ. หากว่า คำนึงถึงอัสสาสะอย่างเดียว จิตของพระโยคาวจรนั้นย่อมนำมาซึ่งความฟุ้งซ่านด้วยการเข้าไปในภายใน จิตไม่ตั้งอยู่ในนิมิต. เพราะฉะนั้น จิตย่อมกวัดแกว่งในนิมิต โดยนัยนี้พึงทำการประกอบแม้ในบทที่เหลือ.
    บทว่า วิกมฺปติ ในคาถาทั้งหลายได้แก่ ความฟุ้งซ่าน คือถึงความฟุ้งซ่าน.
    <CENTER> จบทุติยฉักกะ </CENTER><CENTER>
    ตติยฉักกะ (ฉักกะที่ ๓) </CENTER> พึงทราบวินิจฉัยในตติยฉักกะดังต่อไปนี้.
    บทว่า อตีตานุธาวนํ จิตฺตํ จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ คือจิตที่ไปตามอัสสาสะหรือปัสสาสะอันล่วงเลยที่สัมผัสไป.
    บทว่า วิกฺเขปานุปติตํ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน คือไปตามด้วยความฟุ้งซ่าน หรือตกไป คือไปตามความฟุ้งซ่านเอง.
    บทว่า อนาคตปฏิกงฺขณํ จิตฺตํ จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ คือจิตที่ปรารถนา คือหวัง<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>หรือ<WBR>ปัสสา<WBR>สะ<WBR>อันยังไม่ถึงที่สัมผัส.
    บทว่า วิกมฺปิตํ หวั่นไหว คือหวั่นไหวด้วยความฟุ้งซ่านอันไม่ตั้งอยู่ในอัสสาสะและปัสสาสะนั้น.
    บทว่า ลีนํ จิตหดหู่ คือจิตท้อแท้ด้วยความเพียรอันย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น.
    บทว่า โกสชฺชานุปติตํ จิตตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน คือไปตามความเกียจคร้าน.
    บทว่า อติปคฺคหิตํ จิตที่ประคองไว้จัด คือจิตที่มีความอุตสาหะจัดด้วยปรารภความเพียรจัด.
    บทว่า อุทฺธจฺจานุปติตํ จิตตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน คือไปตามความฟุ้งซ่าน.
    บทว่า อภินตํ จิตที่น้อมเกินไป คือจิตที่น้อมไปยิ่ง คือติดอยู่ในวัตถุ<WBR>แห่ง<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ทั้งหลาย.
    บทว่า อปนตํ จิตที่ไม้น้อมไป คือจิตกระทบในวัตถุแห่งความไม่ยินดี หรือจิตปราศจากวัตถุแห่งความยินดีนั้น หรือยังไม่ปราศจากไป.
    ความว่า ไม่ปราศจากไปจากวัตถุนั้น.
    บทว่า ราคานุปติตํ จิตตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด คือเมื่อพระโยคาวจรกำหนดไว้ในใจถึงอัสสาสปัสสาสนิมิต ความกำหนัดตกไปในปีติและสุข หรือในวัตถุที่รื่นเริง รำพันและการเล่นในก่อน.
    บทว่า พฺยาปาทานุปติตํ จิตตกไปข้างฝ่ายพยาบาท คือเมื่อพระโยคาวจรมีจิตไม่ยินดีในการกำหนดไว้ในใจ ความพยาบาทย่อมตกไปตามอำนาจแห่งความโทมนัสที่เกิดขึ้นแล้ว หรือในอาฆาตวัตถุ (วัตถุแห่งความอาฆาต) ที่ประพฤติมาในกาลก่อน.
    บทว่า น สมาธิยติ ในคาถาทั้งหลาย ได้แก่ จิตไม่ตั้งมั่น.
    บทว่า อธิจิตฺตํ อธิจิต คือสมาธิอันยิ่ง ท่านแสดงโดยจิตเป็นประธาน.
    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงอุปกิเลส ๑๘ ด้วยฉักกะ ๓ แล้วบัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงโทษแห่งอุปกิเลสเหล่านั้นโดยให้สำเร็จความเป็นอันตรายแก่สมาธิ จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า อสฺสาสาทิมชฺฌปริโยสานํ ดังนี้อีก.
    ความว่า เบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า กาโยปิ จิตฺตมฺปิ สารทฺธา จ โหนติ กายและจิตย่อมมีความปรารภ.
    ความว่า แม้รูปกาย ด้วยอำนาจแห่งรูปอันมีความฟุ้งซ่านเป็นสมุฏฐาน แม้จิตด้วยอำนาจแห่งความฟุ้งซ่านเป็นการสืบต่อ ย่อมเป็นอันยุ่งยากด้วยความลำบากและมีความกระวนกระวาย โดยความอ่อนกว่านั้นก็ตื่นเต้นหวั่นไหว โดยความอ่อนกว่านั้นก็ดิ้นรนวุ่นวาย ย่อมมีความยุ่งยาก มีกำลังบ้าง ปานกลางบ้าง อ่อนบ้าง.
    ท่านอธิบายว่า ไม่สามารถจะไม่ให้ยุ่งยากได้.
    บทว่า จิตฺตํ วิกมฺปิตตฺตาปิ คือ เพราะจิตหวั่นไหว.
    บทว่า ปริปุณฺณา อภาวิตา ในคาถาทั้งหลาย คือไม่เจริญเหมือนอย่างที่บำเพ็ญไว้.
    บทว่า อิญฺชิโต คือหวั่นไหว.
    บทว่า ผนฺทิโต ดิ้นรน คือหวั่นไหวอย่างอ่อน. เพราะความที่นิวรณ์ทั้งหลายในเบื้องต่ำไม่มีลำดับ ท่านจึงแสดงด้วยอัจจันตสมีปะ (ใกล้ที่สุด) ด้วยบทมีอาทิว่า ก็และด้วยนิวรณ์ทั้งหลายเหล่านี้.<SUP>๑-</SUP>
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๓๖๕

    แต่ในที่นี้ เพราะนิวรณ์ทั้งหลายมีลำดับในบทสรุป ท่านจึงแสดงเป็นปรัมมุขา (ลับหลัง) ด้วยบทมีอาทิว่า ก็และด้วยนิวรณ์ทั้งหลายเหล่านั้น.
    <CENTER> จบอรรถกถาอุปกิเลสญาณนิเทศ </CENTER>
     
  6. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค</BIG> <CENTER class=D>๓. อานาปาณกถา</CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๒ / ๕.
    <CENTER> ๔. อรรถกถาโวทานญาณนิเทศ </CENTER> บทว่า โวทาเน ญาณานิ ญาณในโวทาน คือญาณบริสุทธิ์.
    บทว่า ตํ วิชยิตฺวา เว้นจิตนั้นเสีย. พึงเชื่อมความว่า เว้นจิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ดังกล่าวแล้วในก่อนเสีย.
    บทว่า เอกฏฺฐาเน สมาทหติ ย่อมตั้งมั่นจิตไว้ในฐานะหนึ่ง คือตั้งมั่นไว้เสมอในที่สัมผัสแห่งอีสสาสะและปัสสาสะ.
    บทว่า ตตฺเถว อธิโมกฺเขติ น้อมจิตไปในฐานะนั้นแล เมื่อท่านกล่าวว่า เอกฏฐาเน ในฐานะหนึ่ง พระโยคาวจรย่อมทำความตกลงในที่สัมผัสแห่งอัสสาสะและปัสสาสะ.
    บทว่า ปคฺคณฺหิตฺวา ประคองจิตไว้แล้ว คือประคองจิตไว้ด้วยเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์.
    บทว่า วินิคฺคณฺหิตฺวา ข่มจิตนั้นเสีย คือข่มจิตไว้ด้วยการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
    อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ประคองจิตไว้ด้วยสตินทรีย์และวีริยินทรีย์ ข่มจิตไว้ด้วยสตินทรีย์และสมาธินทรีย์.
    บทว่า สมฺปชาโน หุตฺวา พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้น คือรู้ทันด้วยอสุภภาวนาเป็นต้น.
    อีกอย่างหนึ่ง รู้ทันด้วยเมตตาภาวนาเป็นต้น พึงทราบความเชื่อมว่า พระโยคาวรจรย่อมละราคะพยาบาทที่จิตตกตามไป.
    ความว่า เมื่อรู้ทันว่า จิตนั้นเป็นเช่นนี้ ย่อมละราคะพยาบาทโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อจิตนั้น.
    บทว่า ปริสุทฺธํ บริสุทธิ์ คือไม่มีอุปกิเลส.
    บทว่า ปริโยทาตํ ขาวผ่อง คือประภัสสร.
    บทว่า เอกตฺตคตํ โหติ จิตถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว คือเมื่อพระโยคาวจรถึงความวิเศษนั้นๆ จิตนั้นๆ ก็ย่อมถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว.
    บทว่า กตเม เต เอกตฺตา ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้น เป็นไฉน. พระสารีบุตรเถระ เมื่อถามความเป็นธรรมอย่างเดียว แม้ประกอบและยังไม่ประกอบ ย่อมถามทำรวมกัน.
    บทว่า ทานโวสฺสคฺคุปฏฺฐเนกตฺตํ ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน คือการบริจาค การสละทานอันเป็นทานวัตถุ ชื่อว่า ทานูปสคฺโค ได้แก่ เจตนาบริจาคทางวัตถุ. การเข้าไปตั้งความปรากฏแห่งทานนั้นด้วยทำให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ทานูปสคฺคุปฏฺฐานํ ความปรากฏแห่งการบริจาคทาน.
    อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นธรรมอย่างเดียว ในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ชื่อว่า ทานุปสคฺคุปฏฺฐาเนกตฺตํ ปาฐะว่า ทานโวสฺสคฺคุปฏฺฐาเนกตฺตํ ดีกว่า ความอย่างเดียวกัน.
    ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวจาคานุสติสมาธิด้วยการยกบทขึ้น.
    อนึ่ง แม้ท่านกล่าวจาคานุสติสมาธินั้นด้วยการยกบทก็เป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งความเป็นธรรมอย่างเดียวกัน แม้ ๓ อย่างนอกนี้ เพราะฉะนั้น อาจารย์พวกหนึ่งจึงกล่าวไว้ในที่นี้ว่า ท่านชี้แจงไว้แล้วดังนี้.
    จริงอยู่ แม้นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ยังกราบทูลว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่จำพรรษาในทิศทั้งหลาย ในศาสนานี้จักมาสู่กรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระมีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ภิกษุนั้นจักมีคติอย่างไร อภิ<WBR>สัม<WBR>ป<WBR>รา<WBR>ย<WBR>ภพ<WBR>จักเป็นอย่างไรดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงพยากรณ์ถึงคติและสัมปรายภพนั้นในโสดาปัตติผลก็ดี ในสกคาทามิผลก็ดี ในอนาคามิผลก็ดี ในอรหัตผลก็ดี. ข้าพเจ้าเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วจักถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย พระคุณเจ้ารูปนั้นเคยมากรุงสาวัตถีหรือหนอ.
    หากภิกษุทั้งหลายจักกล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า ภิกษุรูปนั้นเคยมากรุงสาวัตถี. ข้าพเจ้าจัก<WBR>ตัด<WBR>สิน<WBR>ใจ<WBR>ถวาย<WBR>วัส<WBR>สิก<WBR>สา<WBR>ฏก อาคันตุกภัตร คมิก<WBR>ภัตร คิลาน<WBR>ภัตร คิลา<WBR>นุ<WBR>ปัฏ<WBR>ฐาก<WBR>ภัคร คิลาน<WBR>เภสัข หรือธุว<WBR>ยาคู (ข้าวยาคูเป็นประจำ) ให้พระคุณเจ้ารูปนั้นบริโภคโดยไม่ต้องสงสัย เมื่อข้าพเจ้าระลึกถึงดังนั้น จักเกิดความปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้วจักเกิดปีติ เมื่อมีใจปีติ กายจักสงบ เมื่อกายสงบจักเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตจักตั้งมั่น อินทรีย<WBR>ภาวนา พล<WBR>ภาวนา โพช<WBR>ฌงค<WBR>ภาวนา<WBR>นั้นจักมีแก่ข้าพเจ้า.<SUP>๑-</SUP>
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> วิ. มหา. เล่ม ๕/ข้อ ๑๕๓

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่าในความเป็นธรรมอย่างเดียวทั้งหลาย ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ถึง<WBR>ธรรมที่หนึ่งด้วยอุปจารสมาธิ ธรรมที่สองด้วยอัปปนาสมาธิ ธรรมที่สามด้วยวิปัสสนาสมาธิ ธรรมที่สี่ด้วยมรรคและผล.
    นิมิตแห่งสมถะ ชื่อว่าสมถนิมิต. ลักษณะอันเป็นความเสื่อมความทำลาย ชื่อว่าวย<WBR>ลักษณะ.
    บทว่า นิโรโธ คือ นิพพาน.
    บทที่เหลือพึงประกอบตามนัยที่กล่าวแล้วใน ๓ บทเหล่านี้.
    บทว่า จาคาธิมุตฺตานํ ของบุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะ คือคือน้อมไปในทาน.
    บทว่า อธิจิตฺตํ ได้แก่ สมาธิอันเป็นบทแห่งวิปัสสนา.
    บทว่า วิปสฺสกานํ ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย คือของผู้เห็นแจ้งสังขารด้วยอนุปัสสนา ๓ ตั้งแต่ภังคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความดับสังขาร).
    บทว่า อริยปุคฺคลานํ คือพระอริยบุคคล ๘. ความเป็นธรรมอย่างเดียว ๓ มีธรรมที่ ๒ เป็นต้น ย่อมประกอบด้วยอานาปานสติ และด้วยกรรมฐานที่เหลือ.
    บทว่า จตูหิ ฐาเนหิ คือ ด้วยเหตุทั้งหลาย ๔.
    บทที่ยกขึ้นว่า จิตถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว เป็นจิตแล่นไปสู่ปฏิปทาวิสุทธิ เป็นจิตเจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และเป็นจิตร่าเริงด้วยญาณดังนี้ด้วยอำนาจแห่งสมาธิวิปัสสนามรรคและผล. บทขยายความอันเป็นเบื้องต้นแห่งคำถามเพราะใคร่จะทำเพื่อความพิสดารแห่งบทที่ยกขึ้นเหล่านั้นมีอาทิว่า อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิปทาวิสุทฺธิปสนฺนญฺเจว ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาวิสุทธิผ่องใส คือปฏิปทานั่นเองชื่อว่าวิสุทธิ เพราะชำระมลทินคือนิวรณ์ จิตแล่นไป คือเข้าไปสู่ปฏิปทาวิสุทธินั้น.
    บทว่า อุเปกฺขานุพฺรูหิตญฺจ คือ เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา คือความเป็นกลางนั้น.
    บทว่า ญาเณน จ สมฺปหํสิตํ ร่าเริงด้วยญาณ คือร่าเริง ผ่องแผ้ว บริสุทธิ์ด้วยญาณอันขาวผ่อง.
    อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า อุปจาระพร้อมด้วยการสะสมชื่อว่าปฏิปทาวิสุทธิ อัปปนาชื่อว่าการเจริญงอกงามด้วยอุเบกขา ปัจจเวกขณะชื่อว่าความร่าเริง.
    อนึ่ง เพราะท่านกล่าวบทมีอาทิว่า จิตถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว เป็นจิตแล่นไปสู่ปฏิปทาวิสุทธิ ฉะนั้นพึงทราบปฏิปทาวิสุทธิด้วยการมาแห่งอัปปนาภายใน การเจริญงอกงามด้วยอุเบกขาด้วยกิจแห่งอุเบกขา คือความเป็นกลางนั้น การร่าเริงด้วยการสำเร็จกิจแห่งญาณอันขาวผ่องด้วยสำเร็จความไม่ล่วงไปแห่งธรรมทั้งหลาย. เป็นอย่างไร เพราะจิตย่อมบริสุทธิ์จากหมู่กิเลส คือนิวรณ์อันเป็นอันตรายแก่ ฌานนั้นในวาระที่อัปปนาเกิด. เพราะจิตบริสุทธิ์ จิตปราศจากเครื่องกีดกันย่อมดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง สมาธิคืออัปปนาเป็นไปเสมอชื่อว่าสมถนิมิต อันเป็นท่ามกลาง.
    แต่ปุริมจิต (จิตดวงก่อน) ในลำดับแห่งอัปปนาสมาธินั้นเข้าถึงความเป็นของแท้โดยนัยแห่งความปรวนแปรสันตติอย่างเดียว ชื่อว่าย่อมดำเนินสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะดำเนินไปอย่างนี้ จิตจึงชื่อว่าแล่นไปในสมถนิมิตนั้นโดยเข้าถึงความเป็นของแท้.
    พึงทราบปฏิปทาวิสุทธิ อันสำเร็จอาการมีอยู่ในปุริมจิตอย่างนี้ก่อนด้วยอำนาจแห่งการมาในขณะปฐมฌานเกิดนั่นเอง.
    อนึ่ง เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้วไม่ทำความขวนขวายในการชำระจิต เพราะไม่มีสิ่งที่ควรชำระอีก ชื่อว่าจิตหมดจดวางเฉยอยู่. เมื่อดำเนินสู่สมถะด้วยการเข้าถึงความเป็นสมถะแล้ว ไม่ทำความขวนขวายในการสมาทานอีก ชื่อว่า จิตดำเนินสู่สมถะวางเฉยอยู่. เพราะดำเนินสู่สมถะเมื่อจิตละความเกี่ยวข้องด้วยกิเลสแล้วปรากฏด้วยความเป็นธรรมอย่างเดียว ไม่ทำความขวนขวายในการปรากฏแห่งความเป็นธรรมอย่างเดียวอีก ชื่อว่าจิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่.
    พึงทราบความพอกพูนอุเบกขาด้วยอำนาจกิจของความวางเฉยเป็นกลางนั้น.
    ธรรมเทียมคู่ คือสมาธิและปัญญาเหล่าใดเกิดแล้วในจิตนั้นอันพอกพูนด้วยอุเบกขาอย่างนี้ เมื่อยังไม่ล่วงเกินซึ่งกันและกัน ได้เป็นไปแล้ว. อินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้นเหล่าใดมีรสอันเดียวกันด้วยรสคือวิมุตติ เพราะพ้นจากกิเลสต่างๆ เป็นไปแล้ว พระโยคาวจรนั้นนำความเพียงใดอันเข้าถึงวิมุตตินั้น สมควรแก่ความเป็นรสเดียวด้วยความไม่เป็นไปแห่งอินทรีย์เหล่านั้น.
    การเสพใดเป็นไปแล้วในขณะของพระโยคาวจรนั้น อาการเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เพราะเห็นโทษและอานิสงส์นั้นๆ ในความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วด้วยญาณแล้วสำเร็จเพราะเป็นจิตร่าเริง เป็นจิตผ่องใส ฉะนั้นพึงทราบว่า ความร่าเริงด้วยอำนาจแห่งความสำเร็จกิจ แห่งญาณอันขาวผ่องด้วยสำเร็จความไม่ล่วงเกินกันเป็นต้นแห่งธรรมทั้งหลาย ท่านอธิบายไว้ดังนี้แล.
    ในบทนั้นมีความดังนี้ เพราะญาณปรากฏด้วยสามารถแห่งอุเบกขา.
    สมดังที่พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยด้วยดี ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญาด้วยอำนาจแห่งอุเบกขา จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสต่างๆ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขา ปัญญินทรีมีประมาณยิ่ง ด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจแห่งความหลุดพ้น ธรรมเหล่านั้นย่อมมีกิจเป็นอันเดียวกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง ด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจแห่งภาวนา เพราะอรรถว่าเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน<SUP>๒-</SUP> ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ความร่าเริงอันเป็นกิจของญาณเป็นที่สุด.
    ____________________________
    <SUP>๒-</SUP> ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๕๕

    บทมีอาทิว่า เอวํติวตฺตคตํ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการเป็นคำสรรเสริญจิตนั้น.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวํติวตฺตคตํ ได้แก่ จิตถึงความเป็นไป ๓ อย่างด้วยสามารถแห่งความแล่นไปสู่ปฏิปทาวิสุทธิ ความพอกพูนอุเบกขาและความร่าเริงด้วยญาณ.
    บทว่า วิตกฺกสมฺปนฺนํ เป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก คือถึงความเป็นจิตงามด้วยวิตก เพราะปราศจากความกำเริบแห่งกิเลส.
    บทว่า จิตฺตสฺส อธิฏฺฐานสมฺปนฺนํ ถึงพร้อมด้วยการอธิษฐานแห่งจิต คือจิตสมบูรณ์ไม่ย่อหย่อนด้วยการอธิษฐาน กล่าวคือเป็นไปตามลำดับแห่งจิตในอารมณ์นั้นนั่นเอง ความเป็นไปแห่งฌานชื่อว่าอธิษฐานในเพราะความชำนาญแห่งอธิษฐานฉันใด แม้ในที่นี้ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ก็ชื่อว่าอธิษฐานจิตย่อมควรฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น จิตย่อมตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น แต่เพราะกล่าวว่า สมาธิสมฺปนฺนํ ถึงพร้อมด้วยสมาธิไว้ต่างหากจึงควรถือเอาตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.
    อีกอย่างหนึ่ง เพราะสงเคราะห์สมาธิเข้าไว้ในองค์ฌาน จึงกล่าวว่า จิตฺตสฺส อธิฏฺ<WBR>ฐาน<WBR>สมฺ<WBR>ปนฺ<WBR>นํ ด้วยสามารถแห่งหมวด ๕ ขององค์ฌาน.
    บทว่า สมาธิสมฺปนฺนํ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งหมวด ๕ ของอินทรีย์ เพราะสงเคราะห์สมาธิเข้าไว้ในอินทรีย์.
    แต่ในทุติยฌานเป็นต้น ท่านละบทที่ยังไม่ได้แล้วกล่าวว่า ปีติสมฺปนฺนํ ถึงพร้อมด้วยปีติ ด้วยสามารถแห่งการได้.
    ในมหาวิปัสสนา ๑๘ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น วิตกเป็นต้นบริบูรณ์แล้วเพราะมหาวิปัสสนาเหล่านั้นเป็นกามาวจร.
    อนึ่ง เพราะในมหาวิปัสสนาเหล่านั้นไม่มีอัปปนา จึงควรประกอบปฏิปทาวิสุทธิเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งสมาธิชั่วขณะ. ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>วิตก<WBR>เป็นต้นบริบูรณ์<WBR>ด้วย<WBR>สามารถการได้เพราะได้วิตกเป็นต้น ด้วย<WBR>ปฐม<WBR>ฌา<WBR>นิก (ผู้ได้ปฐม<WBR>ฌาน) ในมรรค ๔ เพราะวิตกเป็นต้นในมรรคมีผู้ได้ทุติยฌานเป็นต้น ย่อมเสื่อมดุจในฌานทั้งหลาย.
    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านแสดงโวทานญาณ (ญาณบริสุทธิ์) ๑๓ โดยพิสดาร. แสดงอย่างไร ท่านแสดงญาณ ๑๓ เหล่านี้ก็คือญาณทั้งหลาย ๖ สัมปยุตด้วยการตั้งมั่นในที่เดียวกัน ด้วยการน้อมไปในความตั้งมั่นนั้นเอง ด้วยการละความเกียจคร้าน ด้วยการละความฟุ้งซ่าน ด้วยการละราคะ ด้วยการละพยาบาท ญาณ ๔ สัมปยุตด้วยความเป็นธรรมอย่างเดียว ๔ ญาณ ๓ สัมปยุตด้วยปฏิปทาวิสุทธิ การพอกพูนอุเบกขาและความร่าเริง.
    แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงความสำเร็จแห่งญาณเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ ไม่สรุปญาณเหล่านั้น แล้วแสดงวิธีเจริญอานาปานสติสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นแห่งการท้วง โดยนัยมีอาทิว่า สาส<wbr>ปสฺ<wbr>สาสา">นิมิตฺตํ อสฺสาสปสฺสาสา นิมิตลมอัสสาสะปัสสาสะ แล้วแสดงสรุปญาณที่สุด. นิมิตในญาณนั้น ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ไว้<WBR>แล้ว.
    บทว่า อนารมฺมณาเมกจิตฺตสฺส คือ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว.
    ในบทนี้ อักษรเป็นบทสนธิ.
    ปาฐะว่า อนารมฺมณเมกจิตฺตสฺส บ้าง. ความว่า ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว.
    บทว่า ตโย ธมฺเม ธรรม ๓ ประการ คือ ธรรม ๓ ประการมีนิมิตเป็นต้น.
    บทว่า ภาวนา ได้แก่ อานาปานสติสมาธิภาวนา.
    บทว่า กถํ อย่างไร เป็นคำถามใคร่จะกล่าวความแห่งคาถาแก้ ดังกล่าวแล้วในลำดับแห่งคาถาท้วงดังกล่าวแล้วครั้งแรก.
    บทว่า น จิเม ตัดบทเป็น น จ อิเม.
    ปาฐะว่า น จ เม ดังนี้บ้าง. ปาฐะนั้นเป็นปาฐะ<WBR>กำหนด<WBR>บท.
    พึงประกอบ กถํ ศัพท์ด้วยบทแม้ที่เหลือ ๕ อย่างนี้ว่า กถํ น จ อวิทิตา โหนฺติ กถํ น จ จิตฺ<WBR>ตํ วิกฺเขปํ คจฺฉติ เป็นธรรมไม่ปรากฏก็หามิได้อย่างไร และจิตไม่ถึงความฟุ้งซ่านอย่างไร.
    บทว่า ปธานญฺจ ปญฺญายติ จิตปรากฏเป็นประธาน คือ ความเพียรปรารภการเจริญอานาปานสติสมาธิปรากฏ เพราะว่าวีริยะ ท่านกล่าวว่าเป็นปธาน เพราะเป็นเหตุเริ่มตั้ง.
    บทว่า ปโยคญฺจ สาเธติ จิตให้ประโยชน์สำเร็จ คือพระโยคาวจรยังฌานข่มนิวรณ์ให้สำเร็จ เพราะว่าฌาน ท่านกล่าวว่าปโยค เพราะประกอบด้วยการข่มนิวรณ์.
    บทว่า วิเสสมธิคจฺฉติ บรรลุผลวิเศษ คือได้มรรคอันทำการละสังโยชน์ เพราะว่ามรรค ท่านกล่าวว่าวิเสส เพราะเป็นอานิสงส์แห่งสมถะและวิปัสสนา.
    อนึ่ง เพราะมรรคเป็นประธานแห่งความวิเศษ จึงไม่ทำการสะสมด้วยการทำ.
    บัดนี้ พระสารีบุตรเถระยังความที่ถามนั้นให้สำเร็จด้วยอุปมา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เสยฺ<WBR>ย<WBR>ถาปิ รุกฺโข เปรียบเหมือนต้นไม้ ดังนี้.
    บทนั้นมีความดังต่อไปนี้.
    เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาทำพื้นที่ให้เรียบเหมาะที่จะทำงานเพื่อเลื่อยด้วยเลื่อย เพื่อไม่ให้กลิ้งไปมา ในเวลาเอามีดถากและผ่า.
    บทว่า กกเจน คือ เลื่อยด้วยมือ.
    บทว่า อาคเต คือ ฟันเลื่อยที่เลื่อยต้นไม้มาใกล้ตน.
    บทว่า คเต คือ ฟันเลื่อยต้นไม้ไปส่วนอื่น.
    วาศัพท์เป็นสมุจจยัตถะ ลงในอรรถรวบรวม.
    บทว่า น อวิทิตา โหนฺติ ไม่ปรากฏก็หามิได้ คือฟันเลื่อยแม้ทั้งหมดที่บุรุษเลื่อยต้นไม้ แม้ไม่ถึงที่มองดูก็ย่อมปรากฏ เพราะไม่ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป.
    บทว่า ปธานํ เป็นประธาน คือความเพียรในการตัดต้นไม้.
    บทว่า ปโยคํ ประโยค คือกิริยาที่ตัดต้นไม้.
    บทว่า วิเสสมธิคจฺฉติ ถึงความวิเศษไม่มีด้วยอุปมา.
    บทว่า อุปนิพนฺธนา นิมิตฺตํ ความเนื่องกันเป็นนิมิต คือปลายจมูกก็ดี ริมฝีปากก็ดี เป็นนิมิต คือเป็นเหตุแห่งสติอันเนื่องกัน. สติชื่อว่า อุปนิพนฺธา เพราะเป็นเครื่องผูกจิตไว้ในอารมณ์.
    บทว่า นาสิกคฺเควา คือ ผู้มีจมูกตั้งสติไว้ที่ปลายจมูก.
    บทว่า มุขนิมิตฺเต วา คือ ผู้มีจมูกสั้นตั้งสติไว้ที่ริมฝีปากบน เพราะริมฝีปากบนเป็นนิมิตแห่งสติที่ปาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มุขนิมิตฺตํ ริมฝีปาก.
    บทว่า อาคเต คือ ลมอัสสาสะปัสสาสะที่มาในภายในจากที่สัมผัส.
    บทว่า คเต คือ ลมอัสสาสปัสสาสะที่ไปภายนอกจากที่สัมผัส.
    บทว่า น อวิทิตา โหนฺติ ลมอัสสาสะปัสสาสะไม่ปรากฏก็หามิได้ คือลมอัสสาสะปัสสาสะแม้ทั้งหมดเหล่านั้นยังไม่ถึงที่สัมผัสก็ย่อมปรากฏ. เพราะไม่ใส่ถึงการมาการไปของลม<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัส<WBR>สา<WBR>สะ.
    บทว่า กมฺมนียํ โหติ ย่อมควรแก่การงาน คือทั้งกายทั้งจิตย่อมควรแก่การงานเหมาะแก่ภาวนากรรม สมควรแก่ภาวนากรรม. ความเพียรนี้ชื่อว่าปธาน เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวถึงเหตุด้วยผล.
    บทว่า อุปกฺกิเลสา ปหียนฺติ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละอุปกิเลสได้ คือละนิวรณ์ได้ด้วยการข่มไว้.
    บทว่า วิตกฺกา วูปสมนฺติ วิตกย่อมสงบไป คือวิตกไม่ตั้งมั่นแล้ว เที่ยวไปในอารมณ์ต่างๆ ย่อมถึงความสงบ ภิกษุปรารภความเพียรละอุปกิเลสได้ด้วยฌานใด วิตกทั้งหลายย่อมสงบด้วยฌานนั้น.
    บทว่า อยํ ปโยโค ท่านทำเป็นปุงลิงค์เพราะเพ่งถึงประโยค.
    บทว่า สญฺโญชนานิ ปหียนฺติ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละสังโยชน์<WBR>ได้ คือละ<WBR>สังโยชน์<WBR>อันมรรคนั้นๆ ทำลายด้วยสมุจเฉทปหาน.
    บทว่า อนุสยา พฺยาสนฺติ อนุสัยย่อมถึงความพินาศ คือเพราะอนุสัยที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีก จึงชื่อว่า พยนฺตา เพราะมีเกิดหรือเสื่อมปราศจากไปแล้ว. ชื่อว่า พฺยนฺติ โหนฺติ เพราะไม่เสื่อมมาก่อน ต่อมาเสื่อม ความว่า พินาศ. เพื่อแสดงว่า การละสังโยชน์ย่อมมีได้ด้วยการละอนุสัย มิใช่ด้วยอย่างอื่น ท่านจึงกล่าวถึงการละอนุสัย.
    ความว่า ละสังโยชน์ได้ด้วยมรรคใด อนุสัยย่อมพินาศไปด้วยมรรคนั้น นี้เป็นความวิเศษ.
    ในจตุกะที่ ๔ ท่านกล่าวถึงอริยมรรคไว้ในที่นี้ เพราะแม้อริยมรรค ท่านก็ได้ชี้แจงไว้แล้ว แม้เมื่อไม่กล่าวถึงความไม่มีอารมณ์เป็นสองแห่งจิตดวงเดียว เพราะสำเร็จแล้วท่านจึงไม่แก้จิตดวงนั้นแล้วสรุปว่า ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้.
    บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะสรรเสริญพระโยคาวจรผู้สำเร็จภาวนานั้นจึงกล่าวคาถาว่า อานาปานสฺสติ ยสฺส แล้วกล่าวนิเทศแห่งคาถานั้น.
    พึงทราบวินิจฉัยในบทนั้นดังต่อไปนี้
    ภิกษุใดเจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้วตามลำดับตามที่พระ<WBR>พุทธ<WBR>เจ้า<WBR>ทรง<WBR>แสดง<WBR>แล้ว ภิกษุนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนอะไร เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น.
    พึงทราบความเชื่อมด้วยคาถาว่า พระโยคาวจรนั้นยังโลกมีขันธโลกเป็นต้นนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกเป็นต้นยังโอกาสโลกนี้ให้สว่างไสวฉะนั้น.
    พึงทราบว่าในบทนี้ ท่านทำการลบอาทิศัพท์เพราะท่านกล่าวถึงแม้น้ำค้างเป็นต้นในนิเทศแห่งบทว่า อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น.
    ในคาถานิเทศท่านกล่าวแปลกออกไปโดยปฏิเสธความนั้นว่า โน ปสฺสาโส โน อสฺสาสโส ไม่ใช่ลมปัสสาสะ ไม่ใช่ลมอัสสาสะ.
    บทว่า อุปฏฺฐานํ สติ สติเข้าไปตั้งอยู่. ความว่า ชื่อว่าสติเข้าไปตั้งลมอัสสาสะนั้น เพราะความไม่หลง. ลมปัสสาสะก็เหมือนกัน.
    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอัน<WBR>ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ความว่า สติในลมหาย<WBR>ใจ<WBR>เข้า<WBR>และหายใจออก ชื่อว่าอานาปานสติ. บัดนี้ประสงค์จะชี้แจงถึงบุคคลที่ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า ยสฺส ด้วยอำนาจแห่งสติเท่านั้น จึงกล่าวว่า สติย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจเข้าและผู้หายใจออก.
    ความว่า ผู้ใดหายใจเข้า สติของผู้นั้นย่อมกำหนดลมอัสสาสะ. ผู้ใดหายใจออก สติของผู้นั้นย่อมกำหนดลมปัสสาสะ.
    ปริปุณฺณาติ ฌานวิปสฺสนามคฺคปรมฺปราย อรหตฺตมคฺคปปตฺติยา ปริปุณฺณา ฯ
    เตเยว หิ ฌานวิปสฺสนามคฺคธมฺเม สนฺธาย ปริคฺคหฏฺเฐนาติอาทิมาห ฯ
    เต หิ ธมฺมา อิมินา โยคินา ปริคฺคยฺหมานตฺตา ปริคฺคหา เตน ปริคฺคหฏฺเฐน ปริปุณฺณา ฯ
    ตตฺถ สพฺเพสํ จิตฺตเจตสิกานํ อญฺญมญฺญปริวารตฺตา ปริวารฏฺเฐน ปริปุณฺณา ฯ
    ภาวนาปาริปูริวเสน ปริปุรฏฺเฐน ปริปุณฺณา ฯ

    บทว่า ปริปุณฺณา คือ บริบูรณ์ด้วยบรรลุอรหัตมรรค อันสืบมาจากมรรคในฌานและวิปัสสนา.
    พระสารีบุตรเถระกล่าวคำมีอาทิว่า ปริคฺคหฏฺเฐน ด้วยอรรถว่าถือเอารอบ หมายถึงธรรมคือมรรคฌานและวิปัสสนาฌาน. เพราะธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ปริคฺคหา เพราะอันพระโยคาวจรนี้ถือเอารอบ.
    ชื่อว่า ปริปุณฺณา ด้วยอรรถว่าถือเอารอบนั้น. ชื่อว่า ปริปุณฺณา ด้วยอรรถว่าเป็นบริวาร เพราะจิตและเจตสิกทั้งปวงเป็นบริวารของกันและกัน. ชื่อว่า ปริปุณฺณา ด้วยอรรถว่าบริบูรณ์ด้วยความบริบูรณ์แห่งภาวนา.
    บทมีอาทิว่า จตสฺโส ภาวนา ภาวนา ๔ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งบทที่กล่าวแล้วว่า สุภาวิตา เจริญแล้ว. ภาวนา ๔ ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
    บทว่า ยานีกตา ทำให้เป็นดังยาน คือทำเช่นกับยานเทียมแล้ว.
    บทว่า วตฺถุกตา ทำให้เป็นที่ตั้ง คือทำเช่นกับวัตถุ ด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้ง.
    บทว่า อนุฏฺฐิตา น้อมไป คือปรากฏแล้ว.
    บทว่า ปริจิตา อบรม คือตั้งสะสมไว้โดยรอบ.
    บทว่า สุสมารทฺธา ปรารภดีแล้ว คือปรารภด้วยดี ทำด้วยดี.
    บทว่า ยตฺถ ยตฺถ อากงฺขติ ภิกษุจำนงหวังในที่ใดๆ คือหากภิกษุปรารถนาในฌานใดๆ ในวิปัสสนาใดๆ.
    บทว่า ตตฺถ ตตฺถ คือ ในฌานนั้นๆ ในวิปัสสนานั้นๆ.
    บทว่า วสิปฺปตฺโต เป็นผู้ถึงความชำนาญ ได้แก่ถึงความเป็นผู้ชำนาญ คือความเป็นผู้มีวสีมาก.
    บทว่า พลปฺปตฺโต ถึงกำลัง คือถึงกำลังสมถะและวิปัสสนา.
    บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺโต ถึงความแกล้วกล้าคือ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ความเป็นผู้ฉลาด.
    บทว่า เต ธมฺมา ได้แก่ ธรรม คือสมถะและวิปัสสนา.
    บทว่า อาวชฺชนปฏิพทฺธา เป็นธรรมเนื่องด้วยความคำนึง คือเพราะเนื่องด้วยความคำนึง.
    ความว่า เพียงภิกษุนั้นคำนึงเท่านั้น ธรรมทั้งหลายย่อมถึงการประกอบพร้อมด้วยสันดาน หรือด้วยญาณ.
    บทว่า อากงฺขณปฏิพทฺธา เนื่องด้วยความหวัง คือเพราะเนื่องด้วยความชอบใจ.
    ความว่า เพียงภิกษุชอบใจเท่านั้น ธรรมทั้งหลายย่อมถึงการประกอบพร้อมโดยนัยดังกล่าวแล้ว.
    อนึ่ง มนสิการในบทว่า มนสิการปฏิพทฺธา นี้เป็นจิตตุปบาทแห่งความคำนึง. ท่านกล่าวเพื่อขยายความด้วยสามารถแห่งไวพจน์ของความหวัง.
    บทว่า เตน วุจฺจติ ยานีกตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าทำให้เป็นดังยาน. อธิบายว่า ธรรมเหล่านั้นทำให้เป็นเช่นกับยาน เพราะทำแล้วอย่างนั้น.
    บทว่า ยสฺมึ ยสฺมึ วตฺถุสฺมึ ในวัตถุใดๆ คือในวัตถุหนึ่งๆ ในวัตถุ ๑๖.
    บทว่า สวาธิฏฺฐิตํ มั่นคงดีแล้ว คือตั้งไว้ดีแล้ว.
    บทว่า สุปติฏฺฐิตา ปรากฏดีแล้ว คือเข้าไปตั้งไว้ด้วยดี. ท่านแสดงธรรม ๒ อย่างเหล่านั้น ประกอบด้วยอนุโลมปฏิโลมเพราะทำกิจของตนๆ ร่วมกันแห่งสติอันมีจิตสัมปยุตแล้ว.
    บทว่า เตน วุจฺจติ วตฺถุกตา ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง. อธิบายว่า เพราะความเป็นอย่างนี้ ธรรมทั้งหลายจึงทำให้เป็นที่ตั้ง.
    บทว่า เยน เยน จิตฺตํ อภินีหรติ จิตน้อมไปด้วยอาการใดๆ คือจิตนำออกจากความเป็นไปในก่อนแล้วน้อมเข้าไปในภาวนาวิเศษใดๆ.
    บทว่า เตน เตน สติ อนุปริวตฺตติ สติก็หมุนไปตามด้วยอาการนั้นๆ คือสติช่วยเหลือในภาวนาวิเศษนั้นๆ หมุนไปตาม เพราะเป็นไปแต่ก่อน.
    ในบทว่า เยน เตน นี้ พึงทราบว่าเป็นสัตตมีวิภัตติ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ<SUP>๓-</SUP> พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด เข้าไปหา ณ ที่นั้นดังนี้.
    ____________________________
    <SUP>๓-</SUP> ขุ. ขุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๕

    บทว่า เตน วุจฺจติ อนุฏฺฐิตา ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าน้อมไป คือเพราะทำอย่างนั้นนั่นแล.
    ท่านอธิบายว่า ธรรมทั้งหลายไปตามภาวนานั้นๆ ตั้งอยู่ เพราะอานาปานสติเป็นประธานของสติ พึงทราบว่า ท่านทำการประกอบพร้อมกับสติในบทว่า วตฺถุกตา และอนุฏฺฐิตา.
    อนึ่ง เพราะสติอันภิกษุอบรมให้บริบูรณ์แล้ว เป็นอันงอกงามแล้ว ได้อาเสวนะแล้ว ฉะนั้น อรรถทั้ง ๓ ที่<WBR>ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ไว้ในบทว่า ปริปุณฺณา เป็นอันกล่าวแม้ในบทว่า ปริจิตา ด้วย.
    ท่านกล่าวอรรถที่ ๔ เป็นอรรถวิเศษ.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า สติยา ปริคฺคณฺหนฺโต ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ คือพระโยคา<WBR>วจร<WBR>กำหนด<WBR>ถือเอาสิ่งที่ควรถือเอาด้วยสติอันสัมปยุต<WBR>แล้ว หรือเป็นบุพ<WBR>ภาค.
    บทว่า ชินาติ ปาปเก อกุสเล ธมฺเม ภิกษุย่อมชนะอกุสลธรรมอันลามกได้ คือย่อมชนะ ย่อมครอบงำ กิเลสอันลามกด้วยการตัดขาด. ธรรมเทศนานี้เป็นบุคคลาธิษฐาน เพราะเมื่อธรรมทั้งหลายชนะ แม้บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมนั้น ก็ชื่อว่าย่อมชนะด้วย.
    อนึ่ง ธรรมเหล่านั้นไม่ละสติปรารภเพื่อจะชนะในขณะที่ยังเป็นไปของตน ท่านกล่าวว่าชนะแล้ว เหมือนที่ท่านกล่าวว่า บุคคลปรารภเพื่อจะบริโภค ก็เป็นอันบริโภคแล้ว.
    อนึ่ง พึงทราบลักษณะในบทนี้โดยอรรถแห่งศัพท์.
    แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น เมื่อควรจะกล่าวว่า ปริชิตา ท่านแปลง อักษรเป็น อักษรกล่าวว่า ปริจิตา. ท่านทำโดยลักษณะของภาษา แปลง เป็น ในอรรถวิกัปว่า สมฺมา คโท อสฺสาติ สุ<WBR>ค<WBR>โต ชื่อว่า สุภต เพราะมีพระวาจาชอบ ฉันใด แม้ในบทนี้ก็พึงทราบฉันนั้น.
    บทว่า ปริจิตา ในอรรถวิกัปนี้เป็นกัตตุสาธนะ ๓ บทก่อนเป็นกัมมสาธนะ.
    บทว่า จตฺตาโร สุสมารทฺธา ธรรม ๔ อย่างภิกษุปรารภดีแล้ว. ท่านอธิบายว่า ธรรม ๔ อย่างมีอรรถอันภิกษุปรารภดีแล้ว. พึงเห็นว่าลบ อตฺถ ศัพท์.
    แม้อรรถแห่งบทว่า สุสมารทฺธา พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า สุสมารทฺธา ในที่นี้ หรือ สุสมารทฺธธมฺมา มีธรรมอันภิกษุปรารภดีแล้ว. พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า จตฺตาโร โดยประเภทแห่งอรรถ มิใช่โดยประเภทแห่งธรรม.
    อนึ่ง เพราะธรรมทั้งหลายอันภิกษุเจริญแล้วเป็นอันชื่อว่าปรารภดีแล้ว มิใช่ธรรมเหล่าอื่น ฉะนั้นท่านกล่าวอรรถแห่งความเจริญ ๓ อย่างไว้แม้ในที่นี้.
    แม้อรรถแห่งอาเสวนะ (การเสพ) ท่านก็กล่าวในอรรถแห่งความเจริญ ๓ อย่างที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านไม่กล่าวอรรถแห่งธรรมนั้น เป็นอันกล่าวถึงอรรถแห่งกิเลสอันเป็นข้าศึกแก่ธรรมนั้นที่ถอนแล้ว เพราะที่สุดแห่งการปรารภย่อมปรากฏโดยการถอนกิเลสอันเป็นข้าศึก ด้วยเหตุนั้นเป็นอัน<WBR>ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ถึงอรรถอันถึงยอดแห่งธรรมที่ปรารภดีแล้ว.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า ตปฺปจฺจนีกานํ กิเลสอันเป็นข้าศึกแก่ธรรมนั้น คือกิเลสเป็นข้าศึกแก่ฌานวิปัสสนาและมรรคเหล่านั้น.
    บทว่า กิเลสานํ แห่งกิเลสทั้งหลาย คือแห่งกิเลสทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้น และสักกาย<WBR>ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วย<WBR>นิจจ<WBR>สัญ<WBR>ญา<WBR>เป็นต้น.
    บทว่า สุสมุคฺฆาตตฺตา เพราะเพิกถอนด้วยดี คือเพราะถอนด้วยดี เพราะพินาศไปด้วยสามารถแห่งวิกขัมภนะ ตทังคะและสมุจเฉทะ. แต่ในคัมภีร์ทั้งหลาย พวกอาจารย์เขียนไว้ว่า สุสมุคฺ<WBR>ฆา<WBR>ตตฺ<WBR>ตา บทนั้นไม่ดี.
    พระสารีบุตรเถระเมื่อแสดงอรรถวิกัปแม้อื่นแห่งบทนั้นอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุสมํ ความเสมอดี.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ชาตา กุศลธรรมทั้งหลายเกิดในธรรมนั้น คือเกิดในภาวนาวิเศษอันถึงยอดนั้น.
    บทว่า อนวชฺชา ไม่มีโทษ คือปราศจากโทษ คือกิเลสด้วยการไม่เข้าถึงความที่กิเลสทั้งหลายเป็นอารมณ์.
    บทว่า กุสลา ได้แก่ กุศลโดยกำเนิด.
    บทว่า โพธิปกฺขิยา เป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ คือ ชื่อว่า โพธิปกฺขิยา เพราะเป็นฝ่ายแห่งพระอริย<WBR>เจ้า<WBR>อัน<WBR>ได้ชื่อว่า โพธิ เพราะอรรถว่าตรัสรู้.
    บทว่า ปกฺเข ภวตฺตา เพราะเป็นในฝ่าย คือเพราะตั้งอยู่ในความเป็นอุปการะ.
    อนึ่ง ธรรม ๓๗ เหล่านั้นคือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘.<SUP>#-</SUP>
    ____________________________
    <SUP>#-</SUP> ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๔๔

    บทว่า อิทํ สมํ นี้เป็นความเสมอ คือชื่อว่าเสมอ เพราะธรรมชาติในขณะมรรคนี้ย่อมยังกิเลสทั้งหลายให้สงบ คือให้พินาศไปด้วยการตัดขาด.
    บทว่า นิโรโธ นิพฺพานํ ความดับเป็นนิพพาน คือ ชื่อว่านิโรธ เพราะดับทุกข์. ชื่อว่านิพพาน เพราะไม่มีตัณหา กล่าวคือเครื่องร้อยรัด.
    บทว่า อิทํ สุสมํ นี้เป็นความเสมอดี คือนิพพานนี้ ชื่อว่าเสมอดี เพราะเสมอด้วยดี เพราะปราศ<WBR>จาก<WBR>ความไม่เสมอ คือสังขตธรรมทั้งปวง.
    บทว่า ญาตํ รู้แล้ว คือรู้เสมอ กล่าวคือโพธิปักขิยธรรมด้วยญาณ เพราะไม่หลง รู้เสมอดี กล่าวคือนิพพาน ด้วยญาณโดยความเป็นอารมณ์ เห็นทั้งสองนั้นดุจเห็นด้วยตานั้นนั่นเอง.
    บทว่า วิทิตํ ทราบแล้ว คือได้ทั้งสองอย่างนั้นด้วยเกิดในสันดานและด้วยทำเป็นอารมณ์ ทำให้แจ้งแล้วและถูกต้องแล้วด้วยปัญญาดุจรู้แล้ว ประกาศ<WBR>อรรถ<WBR>แห่งบทก่อนๆ ว่าไม่ย่อหย่อน ไม่หลงลืม ไม่ปั่นป่วน มีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า อารทฺธํ ปรารภแล้ว คือปรารถนาแล้ว.
    บทว่า อลลีนํ ไม่ท้อถอย.
    บทว่า อุปฏฺฐิตา ตั้งมั่นแล้ว คือเข้าไปตั้งไว้แล้ว.
    บทว่า อสมฺมุฏฺฐา ไม่หลงลืม คือไม่หายไป.
    บทว่า ปสฺสทฺโธ สงบแล้ว คือดับแล้ว.
    บทว่า อสารทฺโธ ไม่เป็นป่วน คือไม่กระวนกระวาย.
    บทว่า สมาหิตํ ตั้งมั่นแล้ว คือตั้งไว้เสมอ.
    บทว่า เอกคฺคํ มีอารมณ์เดียว คือไม่ฟุ้งซ่าน.
    บทมีอาทิว่า จตฺตาโร สุสมารทฺธา ธรรม ๔ อย่างภิกษุปรารภดีแล้ว มีอรรถเป็นมูลรากของคำ สุสมารทธ ทั้งสิ้น.
    ส่วนบทมีอาทิว่า อตฺถิ สมํ ความเสมอก็มี มีอรรถเป็นมูลรากของสุสม.
    บทมีอาทิว่า ญาตํ มีอรรถเป็นวิกัปของคำ อารทฺธ.
    ต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบอรรถแห่งบท เมื่อควรจะกล่าวว่า สมา จ สุสมา จ สมสุสมา เสมอและเสมอดี ชื่อว่า สมสุสมา ท่านทำเป็นเอกเสสสมาสมีรูปเป็นเอกเทศ แล้วกล่าวว่า สุสมา เหมือนกล่าวว่า นามญ จ รูปญจ นามรูปญจ นามรูปํ นาม รูป และนามรูป ชื่อว่า นามรูปํ.
    บทว่า อิทํ สมํ อิทํ สุสมํ นี้เสมอ นี้เสมอดี ท่านทำเป็นคำนปุงสกลิงค์ เพราะไม่เพ่งเป็นอย่างอื่น.
    อนึ่ง เพราะแม้ ญาตํ รู้แล้วท่านกล่าวว่า ทิฏฐํ เห็นแล้ว. เห็นแล้วและปรารภแล้วโดยอรรถเป็นอันเดียวกัน.
    ส่วนบทว่า วิทิต รู้แล้ว สจฺฉิกต ทำให้แจ้งแล้ว ผสฺสิต ถูกต้องแล้ว เป็นไวพจน์ของบทว่า ญาต รู้แล้ว. ฉะนั้นจึงเป็นอันท่านกล่าวอรรถแห่ง อา<WBR>รทฺ<WBR>ธ ปรารภแล้วว่า ญาต รู้แล้ว.
    บทว่า อารทฺธํ โหติ วีริยํ อลฺลีนํ ความเพียรภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน มีอรรถตรงกับคำว่า อา<WBR>รทฺ<WBR>ธ แต่บทมีอาทิว่า อุปฏฺฐิตา สติ สติตั้งมั่น ท่านกล่าวเพื่อแสดงอรรถแห่งคำว่า อา<WBR>รทฺ<WBR>ธ. ชื่อว่า สุสมารทฺธา เพราะปรารภแล้วด้วยดี โดยอรรถก่อน และชื่อว่า สุสมารทฺธา เพราะเริ่มเสมอดี ด้วยอรรถนี้เมื่อท่านทำเป็นเอกเสสสมาส จึงกล่าวว่า สุสมารทฺธา. ท่านกำหนดถือเอาอรรถนี้แล้ว<WBR>กล่าว<WBR>ว่า ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สุสมารทฺธา ปรารภแล้วเสมอดี.
    บทว่า อนุปุพฺพํ คือ ตามลำดับ. อธิบายว่า ก่อนๆ หลัง.
    บทว่า ทีฆํอสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว คือด้วยสามารถลมหายใจเข้าที่ท่านกล่าวว่า ทีฆํ ยาว.
    บทว่า ปุริมา ปุริมา ข้างต้นๆ คือ สติสมาธิ ข้างต้นๆ. ท่านกล่าวอรรถแห่งบทว่า ปุพฺพํ ด้วยบทนั้น.
    บทว่า ปจฺฉิมา ปจฺฉิมา ข้างหลังๆ คือสตินั่นเอง. ท่านกล่าวอรรถแห่งบทว่า อนุ ด้วยบทนั้น. ด้วยบททั้งสองนั้นเป็นอันได้ความว่า อบรมอานาปานสติก่อนและหลัง. เพราะกล่าวยังวัตถุ ๑๖ อย่างข้างบนให้พิสดาร ในที่นี้ท่านจึงย่อแล้วแสดงบทสุดท้ายว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี พิจารณาเห็นความสละคืนดังนี้.
    เพราะอานาปานสติ แม้ทั้งปวงภิกษุอบรมตามลำดับ เพราะเป็นไปตามความชอบใจ บ่อยๆ แห่งการเจริญถึงยอด. เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อญฺญมญฺญํปริจิตา เจว โหนฺติ อนุปริจิตา จ อาศัยกันภิกษุนั้นอบรมแล้วและอบรมตามลำดับแล้ว ดังนี้.
    บทว่า ยถตฺถา อรรถแห่งยถาศัพท์ คืออรรถตามสภาวะ.
    บทว่า อตฺตทมถฏฺโฐ ความฝึกตน คือความหมดพยศของตนในขณะอรหัตมรรค.
    บทว่า สมถฏฺโฐ ความสงบตน คือความเป็นผู้เยือกเย็น.
    บทว่า ปรินิพฺพาปนฏฺโฐ ความยังตนให้ปรินิพพาน คือด้วยการดับกิเลส.
    บทว่า อภิญฺญฏฺโฐ ความรู้ยิ่ง คือด้วยอำนาจแห่งธรรมทั้งปวง.
    บทว่า ปริญฺญฏฺโฐ ความกำหนดรู้เป็นต้น คือด้วยอำนาจแห่งกิจคือมรรคญาณ.
    บทว่า สจฺจาภิสมยฏฺโฐ ความตรัสรู้สัจจะ คือด้วยอำนาจแห่งการเห็นแจ้งแทง<WBR>ตลอด<WBR>อริย<WBR>สัจ ๔.
    บทว่า นิโรเธ ปติฏฺฐาปกฏฺโฐ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ คือด้วยอำนาจแห่งการกระทำอารมณ์. ท่านประสงค์จะชี้แจงว่า พุทฺโธ ในบทว่า พุทฺเธน แม้ไม่มีบทว่า พุทฺธสฺส จึง<WBR>กล่าว<WBR>ว่า พุทฺโธ.
    บทว่า สยมฺภู พระผู้เป็นเอง คือเป็นเองปราศจากการแนะนำ.
    บทว่า อนาจริยโก ไม่มีอาจารย์ คือขยายอรรถแห่งบทว่า สยมฺภู. เพราะว่าผู้ใดแทงตลอดอริยสัจปราศจากอาจารย์ ผู้นั้นเป็นพระ<WBR>สยัมภู.
    แม้บทมีอาทิว่า ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาแต่กาลก่อน เป็นการประกาศอรรถแห่งความไม่มีอาจารย์.
    บทว่า อนนุสฺสุเตสุ คือ ไม่เคยสดับมาแต่อาจารย์.
    บทว่า สามํ คือ เอง.
    บทว่า อภิสมฺพุชฺฌิ ตรัสรู้ คือแทงตลอดโดยชอบอย่างยิ่ง.
    บทว่า ตตฺถ จ สพฺพญฺญุตํ ปาปุริ คือ บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูทั้งหลายเป็นผู้แทงตลอดสัจจะ.
    ปาฐะว่า สพฺพญฺญุตํ ปตฺโต บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูบ้าง.
    บทว่า พเลสุ จ วสีภาวํ เป็นผู้มีความชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย คือบรรลุความเป็นอิสระในกำลังของพระตถาคต ๑๐. ผู้ใดเป็นอย่างนั้น ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ผู้<WBR>นั้น<WBR>ว่า<WBR>เป็น<WBR>พุทธะ ในบทว่า พุทฺโธ นั้นเป็นบัญญัติ หมายถึงขันธสันดานที่อบรมบรรลุความหลุดพ้นอันยอดเป็นนิมิตแห่งญานอันอะไรๆ ไม่กระทบแล้วในธรรมทั้งปวง หรือ<WBR>พุทธ<WBR>เจ้า<WBR>ผู้วิเศษกว่าสัตว์เป็นบัญญัติ หมายถึงการตรัสรู้ยิ่งสัจจะอันเป็นปทัฏฐานแห่ง<WBR>สัพ<WBR>พัญ<WBR>ญุต<WBR>ญาณ. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันท่านกล่าวถึงการชี้แจงบทว่า พุทธะ โดยอรรถ.
    บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะชี้แจงโดยพยัญชนะ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า พุทฺโธติ เก<WBR>นฏฺ<WBR>เฐน พุทฺโธ
    บทว่า พุทโธ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าพุทธะ ด้วยอรรถว่ากระไร.
    ในบทนั้น ท่านกล่าวว่า อรคโต เพราะตรัสรู้ในโลกตามเป็นจริง ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะตรัสรู้สัจธรรม ชื่อว่า พุทฺโธ ทรงสอนให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เหมือนอย่างที่ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า ใบไม้แห้ง<WBR>เพราะ<WBR>ลม<WBR>กระทบ.
    บทว่า สพฺพญฺญุตาย พุทฺโธ ชื่อว่าพุทโธ เพราะความเป็นพระสัพพัญญู. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าพุทโธ เพราะมีปัญญาสามารถตรัสรู้ธรรมทั้งปวง.
    บทว่า สพฺพทสฺสาวิตาย พุทฺโธ ชื่อว่าพุทโธ ทรงเห็นธรรมทั้งปวง. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าพุทโธ เพราะทรงเห็นธรรมทั้งปวงด้วยญาณจักษุ.
    บทว่า อนญฺญเนยฺยตาย พุทฺโธ ชื่อว่าพุทโธ เพราะไม่มีผู้อื่นแนะนำ. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าพุทโธ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยไม่ตรัสรู้ด้วยผู้อื่น.
    บทว่า วิสวิตาย พุทฺโธ ชื่อว่าพุทโธ เพราะมีพระสติไพบูลย์. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าพุทโธ เพราะอรรถว่าแย้มดุจดอกบัวแย้มโดยที่ทรงแย้มด้วยคุณต่างๆ.
    ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าพุทโธ เพราะเป็นผู้ฉลาดในการสิ้นไปแห่งการนอนหลับด้วยกิเลสทั้งปวงด้วยละธรรมอันทำจิตให้ท้อแท้โดยปริยาย ๖ มีอาทิว่า ขีณาสวสงฺขาเตน พุทฺโธ ชื่อว่าพุทโธ เพราะนับว่าพระองค์สิ้นอาสวะ ดุจบุรุษผู้ฉลาดในการสิ้นไปแห่งการนอนหลับ.
    เพราะบทว่า สงฺขา สงฺขาตํ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน. ความว่า โดยส่วนแห่งคำว่า สงฺขาเตน. ชื่อว่าเพราะนับว่าไม่มีเครื่องลูบไล้ เพราะไม่มีเครื่องลูบไล้คือตัณหาและเครื่องลูบไล้คือทิฏฐิ.
    ท่านอธิบายบทมีอาทิว่า เอกนฺตวีตราโค ทรงปราศจากราคะโดยส่วนเดียวให้แปลกด้วยคำว่า โดยส่วนเดียว เพราะละกิเลสทั้งปวงพร้อมด้วยวานาได้แล้ว.
    บทว่า เอกนฺตนิกฺกิเลโส พระองค์ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว คือไม่มีกิเลสด้วยกิเลสทั้งปวงอันเหลือจาก ราคะ โทสะและโมหะ. ชื่อว่าพุทโธ เพราะเสด็จไปแล้วสู่หนทางที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว แม้อรรถแห่งการตรัสรู้ ก็ชื่อว่าเป้นอรรถแห่งการไปสู่ธาตุทั้งหลาย เพราะอรรถแห่งการตรัสรู้อันเป็นอรรถแห่งการไปถึง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่าพุทโธ เพราะเสด็จไปสู่หนทางที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว.
    อนึ่ง ในบทว่า เอกายนมคฺโค นี้ ท่านกล่าวชื่อของทางไว้ในชื่อเป็นอันมากว่า
    มรรค ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏมะ อายนะ นาวา
    อุตตรสตุ (สะพานข้าม) กุลล (แพ) สังกมะ (ทางก้าวไป).
    <SUP>๔-</SUP>
    เพราะฉะนั้น ทางจึงมีทางเดียว ไม่เป็นทาง ๒ แพร่ง.
    ____________________________
    <SUP>๔-</SUP> ขุ. จูฬ. เล่ม ๓๐/ข้อ ๕๖๘

    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเอกายนมรรค เพราะเป็นทางอันบุคคลเดียวพึงไป.
    บทว่า เอเกน ผู้เดียว คือด้วยจิตสงัดเพราะละความคลุกคลีด้วยหมู่.
    บทว่า อยิตพฺโพ พึงไป คือพึงปฏิบัติ.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยโน เพราะเป็นเหตุไป. ความว่า ไปจากสงสารสู่นิพพาน. การไปของผู้ประเสริฐ ชื่อว่าเอกายนะ.
    บทว่า เอเก คือ ผู้ประเสริฐ. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งปวง. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทางอันเป็นทางไปของพระสัมสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าเอกายนมรรค หรือชื่อว่า อยโน เพราะไป.
    ความว่า ย่อมไป ย่อมเป็นไป.
    ชื่อว่าเอกายนมรรค เพราะเป็นทางไปในทางเดียว.
    ท่านอธิบายว่า ทางเป็นไปในพระพุทธศาสนาทางเดียวเท่านั้น มิใช่ในทางอื่น.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายโน เพราะไปทางเดียว.
    ท่านอธิบายว่า ในเบื้องต้นแม้เป็นไปด้วยความเป็นมุขต่างๆ และนัยต่างๆ ในภายหลัง ก็ไปนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น บทว่า เอกายนมคฺโค ความว่า ทางไปนิพพานทางเดียว.
    ชื่อว่าพุทโธ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอย่างเยี่ยมผู้เดียว ไม่เป็นพุทโธ เพราะตรัสรู้ด้วยคนอื่น.
    ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าพุทโธ เพราะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอด<WBR>เยี่ยม<WBR>ด้วย<WBR>พระ<WBR>องค์<WBR>เอง<WBR>เท่านั้น.
    บทว่า อพุทฺธิวิหตตฺตา พุทฺธิปฏิลาภา พุทฺโธ ชื่อว่าพุทโธ เพราะทรงกำจัดเสียซึ่งความไม่มีปัญญา เพราะทรงได้ซึ่งพระปัญญาเครื่องตรัสรู้.
    บทนี้ว่า พุทฺธิ พุทฺธํ โพโธ เป็นคำบรรยาย.
    ในบทนั้น ท่านกล่าวไว้เพื่อให้รู้ว่า ชื่อว่าพุทโธ เพราะประกอบด้วยพุทธคุณ ดุจกล่าวว่าผ้าสีเขียว สีแดง เพราะประกอบด้วยชนิดของสีเขียวสีแดง.
    ต่อจากนั้นไป บทมีอาทิว่า พุทฺโธติ เนตํ นามํ บทว่า พุทฺโธ นี้มิใช่ชื่อที่มารดาเป็นต้นตั้งให้ ท่านกล่าวเพื่อให้รู้ว่า นี้เป็นบัญญัติไปตามอรรถ.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตา คือ สหาย.
    บทว่า อมจฺจา คือ คนรับราชการ.
    บทว่า ญาตี คือ ญาติฝ่ายบิดา.
    บทว่า สาโลหิตา คือ ญาติฝ่ายมารดา.
    บทว่า สมณา คือ ผู้เป็นบรรพชิต.
    บทว่า พฺราหฺมณา คือ ผู้มีวาทะว่าเป็นผู้เจริญ หรือผู้มีบาปสงบมีปาปลอยแล้ว.
    บทว่า เทวตา คือ ท้าวสักกะเป็นต้นและพรหม.
    บทว่า วิโมกฺขนฺติกํ พระนามที่เกิดในที่สุดแห่งพระ<WBR>อรหัต<WBR>ผล<WBR>คือวิโมกขะ ได้แก่<WBR>อรหัต<WBR>มรรค ที่สุดแห่ง<WBR>วิโมกขะ คือ<WBR>อรหัต<WBR>ผล ความเกิดในที่สุดแห่งวิโมกขะนั้น ชื่อว่าวิโมกขันติกะ.
    จริงอยู่ ความเป็นพระสัพพัญญูย่อมสำเร็จด้วยอรหัตมรรค เป็นอันสำเร็จในการเกิด<WBR>อรหัต<WBR>ผล. เพราะฉะนั้น ความเป็นพระสัพพัญญูจึงเป็นความเกิดในในที่สุดแห่ง<WBR>อรหัต<WBR>ผล แม้<WBR>เนมิต<WBR>ต<WBR>ก<WBR>นามนี้ก็ชื่อว่าเป็นการเกิดในที่สุดแห่งอรหัตผล ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นี้เป็นวิโมกขันติกนาม พระนามที่เกิดในที่สุดแห่งอรหัตผลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว.
    บทว่า โพธิยามูเล สห สพฺพญฺญุตญาณสฺส ปฏิลาภา เกิดขึ้นพร้อมกับการได้พระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ คือพร้อมกับการได้พระสัพพัญญุตญาณในขณะตามที่ได้กล่าวแล้ว ณ ควงไม้มหาโพธิ.
    บทว่า สจฺฉิกา ปญฺญตฺติ สัจฉิกาบัญญัติ คือ ด้วยทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล หรือบัญญัติเกิดด้วยการทำให้แจ้งธรรมทั้งปวง.
    บทว่า ยทิทํ พุทฺโธ บัญญัติว่า พุทฺโธ นี้เป็นการประกาศความเป็นพุทธะโดยพยัญชนะ.
    การเทียบเคียงกันนี้โดยอรรถดังที่กล่าวแล้วในบทภาชนีย์นี้แห่งบาทคาถาว่า ยถา พุทฺ<WBR>เธน เทสิตา อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
    โดยประการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอานาปานสติแล้ว โดยประการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ยถาศัพท์เป็นอรรถ ๑๐ อย่าง สงเคราะห์ด้วยยถาศัพท์ ด้วยเหตุนั้น พึงทราบว่าท่านทำให้เป็นเอกเสสสมาสด้วย ด้วยอำนาจแห่งเอกเสสสมาสสรุป ยถาศัพท์มีปการศัพท์เป็นอรรถ และ<WBR>ยถา<WBR>ศัพท์<WBR>มี<WBR>สภาว<WBR>ศัพท์<WBR>เป็นอรรถ แล้วกล่าวว่า ยถา. แต่ในบทภาชนีย์ท่านทำให้เป็นเอกวจนะว่า เทสิโต ด้วยการประกอบศัพท์หนึ่งๆ ใน ยถาศัพท์นั้น.
    แม้ในบทต้น เพราะท่านกล่าวว่า โหติ คหฏฺโฐ วา โหติ ปพฺพชิโต วา เหมือนบุคคลเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า ยสฺส คหฏฺฐสฺส วา ปพฺพชิตสฺส วา แห่งคฤหัสถ์ก็ตาม แห่งบรรพชิตก็ตาม ท่านกล่าวถึงอรรถแห่งโลก.
    บทว่า ปภาเสติ ย่อมให้สว่างไสว. ความว่า ทำให้ปรากฏแก่ญาณของตน.
    บทว่า อภิสมฺพุทฺธตฺตา เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ คือเพราะแทงตลอดด้วยสาวกปารมิญาณ.
    บทว่า โอภาเสติ ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว คือโลกอันเป็นกามาวจร.
    บทว่า ภาเสติ ยังโลกให้สว่างไสว คือโลกเป็นรูปาวจร.
    บทว่า ปภาเสติ ยังโลกนี้ให้สว่างไสว คือโลกเป็นอรูปาวจร.
    บทว่า อริยญาณํ คือ อรหัตมรรคญาณ.
    บทว่า มหิกมุตฺโต คือ พ้นจากน้ำค้าง.
    น้ำค้าง ท่านเรียกว่า มหิก. ปาฐะว่า มหิยา มุตฺโต บ้าง.
    บทว่า ธูมรชา มุตฺโต คือพ้นจากควันและธุลี.
    บทว่า ราหุคหณา วิปฺปมุตฺโต คือ พ้นจากการจับของราหู ท่านกล่าวให้แปลกด้วยอุปสรรค ๒ อย่าง เพราะราหูเป็นภาวะทำให้ดวงจันทร์เศร้าหมองเพราะใกล้กัน.
    บทว่า ภาสติ คือ ให้สว่างไสวด้วยมีแสงสว่าง.
    บทว่า ตปเต ได้แก่ ให้เปล่งปลั่ง ด้วยมีเดช.
    บทว่า วิโรจเต คือ ให้ไพโรจน์ด้วยมีความรุ่งเรือง.
    บทว่า เอวเมวํ ตัดบทเป็น เอวํ เอวํ.
    อนึ่ง เพราะแม้ดวงจันทร์เมื่อสว่างไสวไพโรจน์ ย่อมยังโอกาสโลกนี้ให้สว่างไสว และภิกษุเมื่อสว่างไสว เปล่งปลั่ง ไพโรจน์ด้วยปัญญา ย่อมยังโลกมีขันธโลกเป็นต้นให้ว่างไสวด้วยปัญญา ฉะนั้น แม้ในบททั้งสองท่านไม่กล่าวว่า ภเสติ แต่กล่าว ภาสเต ดังนี้ เพราะเมื่อกล่าวอย่างนั้นก็เป็นอันกล่าแม้อรรถแห่งเหตุด้วย.
    หากถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่อุปมาด้วยพระอาทิตย์ซึ่งมีแสงกล้ายิ่งนัก กลับไปอุปมาด้วยพระจันทร์.
    ตอบว่า พึงทราบว่าที่ถืออย่างนั้นเพราะการอุปมาด้วยดวงจันทร์ อันประกอบด้วย<WBR>คุณ<WBR>สม<WBR>บัติ<WBR>เยือก<WBR>เย็น เป็นการสมควรแก่ภิกษุผู้สงบด้วยการสงบความเร่าร้อน เพราะกิเลสทั้งปวง.
    พระสารีบุตรเถระ ครั้นสรรเสริญพระโยคาวจรผู้ยังสิทธิในการเจริญอานาปานสติให้สำเร็จ แล้วแสดงสรุปญาณเหล่านั้นว่า อิมานิ เตรส โวทาเน ญาณานิ ญาณในโวทาน ๑๓ เหล่านี้แล. <CENTER>
    จบอรรถกถาโวทานญาณนิเทศ </CENTER>
     
  7. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค</BIG> <CENTER class=D>๓. อานาปาณกถา</CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๓ / ๕.

    <CENTER>๕. อรรถกถาสโตการิญาณนิเทศ </CENTER>พึงทราบวินิจฉัยในสโตการิญาณนิเทศ (ญาณในการทำสติ) ดังต่อไปนี้.
    ในมาติกา บทว่า อิธ ภิกฺขุ คือ ภิกษุในศาสนานี้.
    จริงอยู่ อิธ ศัพท์ในบทนี้ นี้แสดงถึงคำสอนอันเป็นนิสัยของบุคคลผู้ยังอานาปานสติสมาธิ มีประการทั้งปวงให้เกิด และปฏิเสธความเป็นอย่างนั้นของศาสนาอื่น.
    ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า<SUP>๑-</SUP> ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในศาสนานี้เท่านั้น ฯลฯ ลัทธิของศาสนาอื่นว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> ม. มู. ๑๒/๑๕๔

    บทว่า อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นี้แสดงถึงการกำหนดถือเอาเสนาสนะอันสมควรแก่การเจริญอานาปาน<WBR>สติ<WBR>สมาธิ<WBR>ของภิกษุนั้น. จิตของภิกษุนั้นคุ้นในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นตลอดกาลนาน ไม่ปรารถนาจะพอกพูนอารมณ์อันเป็นอานาปานสติสมาธิ จิตย่อมแล่นไปนอกทางทีเดียว ดุจรถเทียมด้วยโคโกง เพราะฉะนั้น เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโค ประสงค์จะฝึกลูกโคโกงที่ดื่มน้ำนมทั้งหมดของแม่โคนมโกงให้เจริญ จึงนำออกจากแม่โคนม ฝังเสาใหญ่ไว้ข้างหนึ่ง เอาเชือกผูกไว้ที่เสานั้น ทีนั้นลูกโคของเขาไม่อาจดิ้นจากที่นั้นๆ หนีไปได้ จึงหมอบนอนนิ่งอยู่กับเสานั้นเอง ฉันใด
    แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประสงค์จะฝึกจิตที่ประทุษร้ายให้เจริญ ด้วยการดื่มรสมีรูปารมณ์เป็นต้นตลอดกาลนาน จึงนำออกจากอารมณ์มีรูปเป็นต้น แล้วเข้าไปยังป่าก็ดี โคนไม้ก็ดี เรือนว่างก็ดี ผูกด้วยเชือกคือสติ ที่เสาคือลมอัสสาสะและปัสสาสะนั้น จิตของภิกษุนั้นแม้ดิ้นรนไปข้างโน้นข้างนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์ที่สะสมไว้ในกาลก่อน ก็ไม่สามารถจะตัดเชือกคือสติหนีไปได้ จึงนั่งสงบ นอนนิ่งอยู่กับอารมณ์นั้นนั่นเอง ด้วยสามารถแห่งอุปจารและอัปปนา.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า<SUP>๒-</SUP>
    นรชนพึงผูกลูกโคที่ควรฝึกไว้ที่เสานี้ ฉันใด
    ภิกษุพึงผูกจิตของตนไว้ในอารมณ์ ด้วยสติ ให้มั่นคง
    ฉันนั้น.
    ____________________________
    <SUP>๒-</SUP> วิสุทฺธิมคฺค. ๒/๕๕

    เสนาสนะนั้นของภิกษุนั้นสมควรแก่ภาวนา ด้วยประการฉะนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง เพราะอานาปานสติกรรมฐาน อันเป็นปทัฏ<WBR>ฐาน<WBR>แห่งสุข<WBR>วิหาร<WBR>ธรรม<WBR>ในปัจจุบันของการบรรลุ<WBR>คุณวิเศษ ของพระพุทธ<WBR>เจ้า พระปัจเจก<WBR>พุทธ<WBR>เจ้า และพระสาวกของพระ<WBR>พุทธ<WBR>เจ้า<WBR>ทั้ง<WBR>ปวง เป็นยอดในประเภทของกรรมฐานนี้ อันพระ<WBR>โยคา<WBR>วจร<WBR>ไม่สละท้ายบ้าน อันวุ่นวายไปด้วยเสียงหญิง บุรุษ ช้างและม้าเป็นต้น ทำได้ไม่ง่ายนักเพื่อเจริญ เพราะฌานมีเสียงเสียบแทง.
    ส่วนพระโยคาวจรกำหนดถือเอากรรมฐานนี้ในป่ามิใช่หมู่บ้าน ยังอานาปานสติจตุตถฌานให้เกิด ทำฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายเป็นการทำได้ง่ายเพื่อบรรลุพระ<WBR>อรหัต<WBR>อัน<WBR>เป็นผลเลิศ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงอ้างถึงเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคา<WBR>วจร<WBR>นั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้.
    พระเถระก็เหมือนอย่างนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจอาจารย์ผู้มีวิชาเกี่ยวกับพื้นที่.
    จริงอยู่ อาจารย์ผู้มีวิชาเกี่ยวกับพื้นที่นั้นเห็นพื้นที่สร้างนครแล้วกำหนดไว้ด้วยดี แนะนำว่า พวกท่านจงสร้างนคร ณ พื้นที่นี้เถิด เมื่อนครสำเร็จลงด้วยดี ย่อมได้สักการะใหญ่ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงกำหนดเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคาวจร แล้วทรงแนะนำว่าควรประกอบกรรมฐาน ณ ที่นี้ แต่นั้นเมื่อพระโยคาวจรประกอบกรรมฐาน ณ ที่นั้น บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงได้รักสักการะใหญ่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระ<WBR>สัมมา<WBR>สัม<WBR>พุทธ<WBR>เจ้า<WBR>หนอ ดังนี้.
    อนึ่ง ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่าเป็นเช่นกับเสือเหลือง.
    พึงทราบว่า เหมือนอย่างพญาเสือเหลืองซุ่มอาศัยหญ้ารกชัฏ ป่ารกชัฏ ภูเขารกชัฏ ในป่าจับเนื้อมีควายป่า กวาง สุกรเป็นต้นฉันใด ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประกอบกรรม<WBR>ฐานในป่า<WBR>เป็น<WBR>ต้น ถือเอาโสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคและอรหัตมรรคและอริยผลทั้งหลายตามลำดับ.
    ดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า<SUP>๓-</SUP>
    ธรรมดาเสือเหลืองซุ่มจับเนื้อทั้งหลาย ฉันใด
    พระพุทธบุตรนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประกอบความเพียร
    เจริญวิปัสสนาเข้าไปสู่ป่า ย่อมถือเอาผลอันสูงสุด.
    ____________________________
    <SUP>๓-</SUP> วิสุทฺธิมคฺค. ๒/๕๖

    ด้วยเหตุนั้น พระผุ้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะในป่าอันเป็นพื้นที่ประกอบความเพียรอย่างไวจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺญคโต อยู่ป่า คืออยู่ป่าอันเป็นความสุขเกิดแต่ความสงัดอย่างใดอย่างหนึ่ง มีลักษณะดังกล่าวแล้วในตอนก่อน.
    บทว่า รุกฺขมูลคโต อยุ่โคนไม้ คืออยู่ใกล้ต้นไม้.
    บทว่า สุญฺญาคารคโต อยู่เรือนว่าง คืออยู่โอกาสสงัดว่างเปล่า.
    อนึ่ง ในบทนี้แม้อยู่เสนาสนะ ๗ อย่างที่เหลือเว้นป่าและโคนไม้ก็ควรกล่าวว่า สุญฺญาคารคโต อยู่เรือนว่างได้.
    จริงอยู่ เสนาสนะมี ๙ อย่าง.
    ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า<SUP>๔-</SUP> ภิกษุนั้นเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ราวป่า ที่แจ้ง กองฟาง.
    ____________________________
    <SUP>๔-</SUP> อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๕๙๙

    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแนะนำเสนาสนะอันสมควรแก่การเจริญอานาปาน<WBR>สติ<WBR>กรรม<WBR>ฐาน อันเกื้อกูลด้วย ๓ ฤดูและเกื้อกูลด้วย<WBR>ธาตุ<WBR>จริยา<WBR>แก่ภิกษุนั้น แล้วเมื่อจะทรงแนะนำถึง<WBR>อิริยา<WBR>บถ<WBR>อัน<WBR>สงบอันเป็นฝ่ายแห่งความไม่ท้อแท้และไม่ฟุ้งซ่านจึงตรัสว่า นิสีทติ นั่ง ครั้นแล้วเมื่อจะทรงแสดงความที่ภิกษุนั้นนั่งได้มั่นคง ความที่ลมอัสสาสะปัสสาสะเป็นไปปกติ<SUP>๕-</SUP> และอุบายกำหนดถือเอาอารมณ์ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺ<WBR>วา คู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ).
    ____________________________
    <SUP>๕-</SUP> วิสุทฺธิมคฺค. ๒/๕๘

    ในบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺกํ คือ นั่งพับขาโดยรอบ.
    บทว่า อาภุชิตฺวา คู้ คือพับ.
    บทว่า อุชํ กายํ ปณิธาย ตั้งกายตรง คือตั้งสรีระเบื้องบนให้ตรง ให้<WBR>กระดูก<WBR>สัน<WBR>หลัง ๑๘ ท่อนจดกัน เพราะเมื่อนั่งอย่างนี้ หนัง เนื้อ เอ็นจะไม่น้อมลง เวทนาที่เกิดขึ้นทุกๆ ขณะเพราะหนัง เนื้อและเอ็นน้อมลงเป็นเหตุจะไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อเวทนาไม่เกิด จิตก็มีอารมณ์เดียว กรรมฐานไม่ตก ย่อมเข้าถึงความเจริญงอกงาม.
    บทว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า คือ ดำรงสติเฉพาะกรรม<WBR>ฐาน.
    บทว่า โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติหายใจเข้า เป็นผู้มีสติหายใจออก คือภิกษุนั้นครั้นนั่งอย่างนี้และดำรงสติไว้อย่างนี้ เมื่อไม่ละสตินั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก.
    ท่านอธิบายว่า เป็นผู้ทำสติ.
    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงประการที่ภิกษุทำสติ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต เมื่อหายใจเข้ายาว.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต เมื่อหายใจเข้ายาว คือลมหายใจเข้าเป็นไปยาว. หายใจเข้าสั้นก็เหมือนอย่างนั้น.
    อนึ่ง พึงทราบความที่ลมหายใจเข้าหายใจออก ยาวและสั้นโดยกาล.
    จริงอยู่ มนุษย์ทั้งหลายบางครั้งหายใจเข้าและหายใจออกยาว เหมือนช้างและงูเป็นต้น บางครั้งสั้นเหมือนสุนัขและกระต่ายเป็นต้น. ลมอัสสาสะปัสสาสะที่เหน็ดเหนื่อยยุ่งยากด้วยประการอื่นไม่มียาวและสั้น. เพราะฉะนั้น ลมอัสสาสะปัสสาสะเมื่อเข้าและออกตลอดกาลนานพึงทราบว่ายาว เมื่อเข้าและออกตลอดกาลสั้นพึงทราบว่าสั้น.
    ในเรื่องนี้ ภิกษุนี้ เมื่อหายใจเข้าและหายใจออกยาวโดยอาการ ๙ อย่างดังกล่าวแล้วในตอนก่อน ย่อมรู้ว่าเราหายใจเข้าหายใจออกยาว. สั้นก็เหมือนกัน.
    อนึ่ง
    วรรณะ ๔ คือ ยาว สั้น ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะเช่นนั้น
    ย่อมเป็นไป บนปลายจมูกของภิกษุผุ้รู้อยู่อย่างนั้น.
    พึงทราบว่า การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานย่อมสมบูรณ์แกภิกษุนั้นด้วยอาการหนึ่งแห่งอาการ ๙ อย่าง
    บทว่า สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ สพฺพกายปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ภิกษุ<WBR>ย่อมศึกษาว่าจักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่าจักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจออก คือภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจะทำเบื้องต้นท่าม<WBR>กลาง<WBR>และที่สุด<WBR>ของ<WBR>กอง<WBR>ลม<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ทั้งสิ้นให้รู้แจ้ง ทำให้ปรากฏ หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า เราจะทำเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของกองลมปัสสาสะทั้งสิ้นให้รู้แจ้ง ให้ปรากฏ หายใจออก. ภิกษุทำให้รู้แจ้งให้ปรากฏอย่างนี้ หายใจเข้าและหายใจออกด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อสฺส<WBR>สิสฺ<WBR>สามิ ปสฺส<WBR>สิสฺ<WBR>สามี<WBR>ติ สิกฺ<WBR>ข<WBR>ติ ย่อม<WBR>ศึกษา<WBR>ว่า<WBR>เราจัก<WBR>หาย<WBR>ใจ<WBR>เข้า เรา<WBR>จัก<WBR>หาย<WBR>ใจ<WBR>ออก.
    จริงอยู่ เบื้องต้นในกองลมอัสสาสะหรือในกองลมปัสสาสะที่เป็นของละเอียดๆ ไหลไปของ<WBR>ภิกษุ<WBR>นั้น<WBR>ย่อมปรากฏ แต่ท่ามกลางที่สุดไม่ปรากฏ. ภิกษุนั้นย่อมอาจเพื่อกำหนดถือเอาเบื้องต้นเท่านั้น ย่อมลำบากในท่ามกลางและที่สุด. ภิกษุรูปหนึ่งท่ามกลางปรากฏ เบื้องต้นและที่สุดไม่ปรากฏ. ภิกษุรูปนั้นอาจเพื่อกำหนดถือเอาท่ามกลางเท่านั้น ย่อมลำบากในเบื้องต้นและที่สุด. รูปหนึ่งที่สุดปรากฏ เบื้องต้นและท่ามกลางไม่ปรากฏ. รูปนั้นอาจเพื่อกำหนดถือเอาที่สุดเท่านั้น ย่อมลำบากในเบื้องต้นและท่ามกลาง. รูปหนึ่งปรากฏทั้งหมด รูปนั้นอาจเพื่อกำหนดถือเอาแม้ทั้งหมดได้ ไม่ลำบากในที่ไหนๆ.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า ควรเป็นเช่นนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สพฺพ<WBR>กาย<WBR>ปฏิสํเวที ดังนี้.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า สิกฺขติ ย่อมศึกษา คือเพียรพยายามอย่างนี้.
    พึงทราบความในบทนี้อย่างนี้ว่า
    ภิกษุย่อมศึกษา ย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมทำให้มากซึ่งสิกขา ๓ เหล่านี้ คือความสำรวมของผู้เป็นอย่างนั้นชื่อว่าอธิศีลสิกขา สมาธิของผู้เป็นอย่างนั้นชื่อว่าอธิจิตสิกขา ปัญญาของผู้เป็นอย่างนั้นชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา ในอารมณ์นั้น ด้วยสตินั้น ด้วยมนสิการนั้น.
    ในบทนั้นควรหายใจเข้าและควรหายใจออกอย่างเดียวโดยนัยก่อน ไม่ควรทำอะไรๆ อย่างอื่น แต่จำเดิมแต่นั้นควรทำความเพียรในการให้ญาณเกิดขึ้นเป็นต้น เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงอาการอันยังญาณให้เกิดขึ้น ซึ่งท่านกล่าวถึงบาลีด้วยอำนาจแห่งปัจจุบันกาลว่า อสฺสสามีติ ปชานาติ ปสฺสสามีติ ปชานาติ ภิกษุย่อมรู้ว่าเราหายใจเข้า ย่อมรู้ว่าเราหายใจออกแล้วควรทำตั้งแต่นี้ไป พึงทราบว่าท่านยกบาลีขึ้นด้วยอำนาจ<WBR>แห่ง<WBR>อนาคต<WBR>กาลโดยนัยมีอาทิว่า สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺส<WBR>สิสฺ<WBR>สามีติ เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้า ดังนี้.
    บทว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ฯลฯ สิกฺขติ ย่อมศึกษาว่าจักระงับกายสังขาร ฯลฯ คือย่อมศึกษาว่า เราระงับ สงบ ดับและเข้าไปสงบกายสังขาร กล่าวคือลม<WBR>อัส<WBR>สา<WBR>ส<WBR>ปัส<WBR>สา<WBR>สะ<WBR>อย่างหยาบ หายใจเข้าหายใจออก.
    ในบทนั้นพึงทราบถึงความหยาบ ความละเอียด และความสงบด้วยประการ<WBR>อย่าง<WBR>นี้.
    ในกาลที่ภิกษุนี้มิได้กำหนดถือเอาก่อน กายและจิตย่อมกระวนกระวายและเป็นของหยาบ เมื่อกายและจิตหยาบไม่สงบ แม้ลมอัสสาสะลมปัสสาสะก็หยาบด้วย ลมอัสสาสะลมปัสสาสะมีกำลังกว่ายังเป็นไป จมูกไม่เพียงพอ ต้องหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างทางปาก.
    อนึ่ง เมื่อใดกายบ้าง จิตบ้าง อันภิกษุนั้นกำหนดถือเอา เมื่อนั้นลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านั้นสงบระงับ เมื่อลมอัสสาสะปัสสาสะเหล่านั้นสงบ ลมอัสสาสปัสสาสะมีหรือไม่มี.
    เหมือนอย่างว่า เมื่อบุรุษวิ่งลงจากภูเขาหรือยกภาระหนักลงจากศรีษะยืนอยู่ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็หยาบ จมูกไม่เพียงพอ ต้องยืนหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างทางปาก.
    อนึ่ง เมื่อใดบุรุษนั้นบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยนั้น อาบน้ำ ดื่มน้ำ เอาผ้าสาฏกเปียกปิดอก นอนใต้ร่มเงาเย็น เมื่อนั้นลมอัสสาสะปัสสาสะของบุรุษนั้นละเอียด ย่อมถึงอาการที่ควรค้นคว้าดูว่า ลมอัสสาสปัสสาสะมีหรือไม่มี ฉันใด พึงให้พิสดารว่า ในกาลที่ภิกษุที่กำหนดถือเอาอย่างนั้นก็ฉันนั้น.
    จริงอย่างนั้น ในกาลที่ภิกษุนั้นไม่กำหนดถือเอาก่อน การผูกใจ การรวบรวมและการใส่ใจว่า เราย่อมสงบกายสังขารหยาบๆ ดังนี้ย่อมไม่มี. แต่ในกาลที่กำหนดถือเอาย่อมมี. ด้วยเหตุนั้น ในกาลที่ภิกษุนั้นกำหนดถือเอาจากกาลที่มิได้กำหนดถือเอา กายสังขารเป็นของละเอียด.
    ดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า<SUP>๖-</SUP>
    เมื่อกายและจิตปั่นป่วน กายสังขารย่อมเป็นไปรุนแรง
    เมื่อกายไม่ปั่นป่วน กายสังขารย่อมเป็นไปอย่างสุขุม.
    ____________________________
    <SUP>๖-</SUP> วิสุทฺธิมคฺค. ๒/๖๓

    แม้ในกาลกำหนดถือเอากายสังขารหยาบ ในอุปจารแห่ง<WBR>ปฐม<WBR>ฌาน กายสังขารสุขุม. แม้ในอุปจารแห่ง<WBR>ปฐม<WBR>ฌาน<WBR>นั้น กายสังขารก็ยังหยาบ ในปฐม<WBR>ฌาน<WBR>จึงสุขุม. ในปฐม<WBR>ฌานและในอุปจาร<WBR>แห่ง<WBR>ทุติย<WBR>ฌาน กายสังขารก็ยังหยาบ ในทุติยฌานจึงสุขุม. ในทุติยฌานและในอุปจารแห่งตติยฌานก็ยังหยาบ ในตติยฌานจึงสุขุม. ในตติยฌานและในอุปจารแห่งจตุตถฌานก็ยังหยาบ ในจตุตถฌานจึงสุขุมยิ่งนัก ย่อมถึงการไม่เป็นไปอีกเลย.
    นี้เป็นมติของท่านผู้กล่าวทีฆภาณกสังยุต.
    ส่วนท่านมัชฌิมภาณกาจารย์ย่อมปรารถนาความสุขุมกว่าแม้ในอุปจารแห่งฌานสูงๆ จากฌานต่ำๆ อย่างนี้ว่า ในปฐมฌานยังหยาบ ในอุปจารแห่งทุติยฌานจึงสุขุม. ตามมติของท่านภาณกาจารย์ทั้งปวง กายสังขารที่เป็นไปแล้วในกาลมิได้กำหนดถือเอา ย่อมสงบในกาลที่กำหนดถือเอา กายสังขารที่เป็นไปแล้วในกาลกำหนดถือเอา ย่อมสงบในอุปจารแห่งปฐมฌาน ฯลฯ กายสังขารที่เป็นไปแล้วอุปจารแห่งจตุตถฌาน ย่อมสงบในจตุตถฌาน.
    นี้เป็นนัยในสมถะเท่านั้น.
    ส่วนในวิปัสสนา กายสังขารที่เป็นไปแล้วในกาลที่มิได้กำหนดถือเอายังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอามหาภูตรูปจึงสุขุม. แม้กายสังขารนั้นก็ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอาอุปาทารูปจึงสุขุม. แม้นั้นก็ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอารูปทั้งสิ้นจึงสุขุม. แม้นั้นก็ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอาอรูปจึงสุขุม. แม้นั้นก็ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอารูปและอรูปจึงสุขุม. แม้นั้นก็ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอาปัจจัยจึงสุขุม. แม้นั้นก็ยังหยาบ ในการเห็นนามรูปพร้อมกับปัจจัยจึงสุขุม. แม้นั้นก็ยังหยาบ ในวิปัสสนาอันมีลักษณะ เป็นอารมณ์จึงสุขุม. แม้นั้นก็ชื่อว่ายังหยาบ เพราะเป็นวิปัสสนายังอ่อน ในวิปัสสนามีกำลังจึงสุขุม.
    พึงทราบความสงบแห่งกายสังขารก่อนๆ ด้วยกายสังขารหลังๆ โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล.
    ในบทนี้ พึงทราบความที่กายสังขารหยาบและสุขุม และความสงบอย่างนี้.
    นี้เป็นการพรรณนาบทตามลำดับแห่งปฐมจตุกะที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ด้วยอำนาจแห่งกายานุปัสสนาในที่นี้
    ก็เพราะในที่นี้ท่านกล่าวจตุกะนี้ด้วยอำนาจแห่งกรรมฐานแห่งอาทิกรรมิก. ส่วนจตุกะ ๓ นอกนี้ ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ด้วยอำนาจแห่งเวท<WBR>นา<WBR>นุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นา จิต<WBR>ตา<WBR>นุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นาและธรรมา<WBR>นุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นา.
    ฉะนั้น กุลบุตรผู้เป็นอาทิกรรมิกประสงค์จะเจริญ<WBR>กรรม<WBR>ฐาน<WBR>นี้ แล้วบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแห่งวิปัสสนาอันเป็น<WBR>ปทัฏ<WBR>ฐาน<WBR>ของ<WBR>จตุก<WBR>ฌาน ทำกิจทั้งปวงมียังศีลให้บริสุทธิ์เป็นต้นโดยนัยดังกล่าวแล้วใน<WBR>วิสุทธิ<WBR>มรรค แล้วพึงเรียน<WBR>กรรม<WBR>ฐาน<WBR>อันมีสันธิ (การติดต่อ) ๕ ในสำนักของอาจารย์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๗.
    สันธิ ๕ เหล่านี้ คือ การเรียน ๑ การสอบถาม ๑ ความปรากฏ ๑ ความแนบแน่น ๑ ลักษณะ ๑.
    ในสันธิเหล่านั้น การเรียนกรรมฐานชื่อว่าอุคคหะ. การสอบถามกรรมฐานชื่อว่าปริปุจ<WBR>ฉา<SUP>๗-</SUP> ความปรากฏแห่งกรรมฐานชื่อว่าอุปัฏ<WBR>ฐา<WBR>นะ. ความแนบแน่นแห่งกรรมฐานชื่อว่าอัปป<WBR>นา. ลักษณะแห่งกรรมฐานชื่อว่าลักษณะ.
    ____________________________
    <SUP>๗-</SUP> วิสุทฺธิมคฺค. ๒/๖๘

    ท่านอธิบายไว้ว่า กรรมฐานนี้เป็นลักษณะอย่างนี้ ได้แก่การไตร่ตรองสภาพของ<WBR>กรรม<WBR>ฐาน.
    กุลบุตรผู้เรียนกรรมฐานมีสันธิ ๕ อย่างนี้ แม้ตนเองก็ไม่ลำบาก แม้อาจารย์ก็ไม่ลำบาก. เพราะฉะนั้น ให้อาจารย์ยกขึ้นหน่อยหนึ่งแล้วใช้เวลาท่องให้มาก เรียนกรรมฐานมีสันธิ ๕ อย่างนี้ เว้นที่อยู่อันประกอบด้วยโทษ ๑๘ อย่าง ในสำนักของอาจารย์หรือในที่อื่น แล้วอยู่ในเสนาสนะประกอบด้วยองค์ ๕ ตัดกังวลเล็กน้อย บริโภคเสร็จแล้วบรรเทาความมัวเมาอาหาร นั่งให้สบาย ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ทำจิตให้ร่าเริง ไม่ให้เสื่อมแม้แต่บทเดียวจากการเรียนจากอาจารย์ พึงทำอานาปานสติกรรมฐานนี้ไว้ในใจ.
    ต่อไปนี้เป็นวิธีมนสิการกรรมฐาน คือ
    คณนา (การนับ) อนุพัธนา (การติดตาม) ผุสนา
    (การสัมผัส) การตั้งไว้ ความเห็นแจ้ง ความเจริญ
    ความบริสุทธิ์ การพิจารณากรรมฐานเหล่านั้น.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า คณนา คือ การนับนั่นเอง.
    บทว่า อนุพนฺธนา คือ การไปตาม. บทว่า ผุสนา คือ การถูกต้อง.
    บทว่า ฐปนา คือ การแนบแน่น. บทว่า สลฺลกฺขณา คือ การเห็นแจ้ง.
    บทว่า วิวฏฺฏนา คือ มรรค. บทว่า ปาริสุทฺธิ คือ ผล.
    บทว่า เตสญฺจ ปฏิปสฺสนา คือ การพิจารณากรรมฐานเหล่านั้น.
    ในบทนั้น กุลบุตรผู้เป็นอาทิกรรมนี้ พึงใส่ใจกรรมฐานนี้ด้วยการนับก่อน. เมื่อนับไม่ควรให้ต่ำกว่า ๕ ไม่ควรสูงกว่า ๑๐ ไม่ควรแสดงเป็นตอนๆ ในระหว่าง. เมื่อนับต่ำกว่า ๕ จิต<WBR>ตุป<WBR>บาท ย่อมดิ้นรนในโอกาสคับแคบ ดุจฝูงโคที่ถูกขังไว้ในคอกอันคับแคบ. เมื่อนับเกิน ๑๐ จิตตุป<WBR>บาท<WBR>อาศัยการนับเท่านั้น เมื่อแสดงเป็นตอนๆ ในระหว่าง จิตย่อมหวั่นไหวว่า กรรม<WBR>ฐานของเราถึงยอดแล้วหรือยังหนอ เพราะฉะนั้น ควรนับเว้นโทษเหล่านี้เสีย.
    อนึ่ง เมื่อนับควรนับเหมือนการตวงข้าวเปลือกนับช้าๆ ก่อน เพราะตวงข้าวเปลือกให้เต็มทะนาน แล้วนับหนึ่ง แล้วเกลี่ยลง เมื่อเต็มอีก ครั้นเห็นหยากเยื่อไรๆ ก็ทิ้งเสียนับหนึ่ง หนึ่ง. แม้ในการนับสอง สอง ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    ผู้ใดกำหนดลมอัสสาสะปัสสาสะ แม้ด้วยวิธีนี้อย่างนี้ กำหนดนับว่าหนึ่ง หนึ่ง ไปจนถึง สิบ สิบ เมื่อผู้นันนับอย่างนี้ ลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งเข้าและออกย่อมปรากฏ.
    ต่อแต่นั้น กุลบุตรควรละการนับเหมือนตวงข้าวเปลือกที่นับช้าๆ นั้นเสีย แล้วนับด้วยการนับของคนเลี้ยงโคคือนับเร็ว เพราะโคบาลผู้ฉลาด เอาก้อนกรวดใส่พก ถือเชือกและไม้ไปคอกแต่เช้าตรู่ ตีที่หลังโค นั่งบนปลายเสาเขื่อนดีดก้อนกรวด นับโคที่ไปถึงประตูว่า หนึ่ง สอง. โคที่อยู่อย่างลำบากในที่คับแคบมาตลอด ๓ ยาม จึงออกเบียดเสียดกันและกัน รีบออกเป็นหมู่ๆ. โคบาลนั้นรีบนับว่า สาม สี่ ห้า สิบ. เมื่อโคบาลนับโดยนับก่อน ลมอัสสาสะปัสสาสะปรากฏสัญจรไปเร็วๆ บ่อยๆ.
    แต่นั้น โคบาล ครั้นรู้ว่าลมอัสสาสะปัสสาสะสัญจรบ่อยๆ จึงไม่นับทั้งภายในทั้งภายนอก นับเฉพาะที่ถึงประตูเท่านั้น แล้วรีบนับเร็วๆ ว่า ๑ ๒ ๓ ๔ ๕, ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖, ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗, ๘ ๙ ๑๐.
    จริงอยู่ ในกรรมฐานอันเนื่องด้วยการนับจิต ย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่งด้วยกำลังการนับ ดุจจอดเรือไว้ที่กระแสเชี่ยว ด้วยความค้ำจุนของถ่อ.
    เมื่อกุลบุตรนับเร็วๆ อย่างนี้ กรรมฐานย่อมปรากฏดุจเป็นไปติดต่อกัน เมื่อรู้ว่า กรรม<WBR>ฐาน<WBR>เป็นไปติดต่อกันแบ้วไม่กำหนดถือเอาลมภายในและภายนอก รีบนับโดยนัยก่อนนั่นแล เมื่อจิตเข้าไปพร้อมกับลมเข้าไปภายใน จิตกระทบกับลมภายใน ย่อมเป็นดุจเต็มด้วยมันข้น เมื่อนำจิตออกพร้อมกับลมออกภายนอก จิตย่อมฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ของความในภายนอก.
    อนึ่ง เมื่อเจริญเว้นสติในโอกาสสัมผัส ภาวนาย่อมสมบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่พึงกำหนดถือเอาลมภายในและภายนอก แล้วรีบนับโดยนัยก่อนนั่นแล.
    ก็จิตนี้ควรนับนานเพียงไร ตลอดเมื่ออารมณ์แห่งอัสสาสะปัสสาสะยังมีอยู่ เว้นการนับจิตย่อมดำรงอยู่ เมื่ออารมณ์แห่งอัสสาสะปัสสาสะยังมีอยู่ การนับเพื่อให้จิตดำรงอยู่ ทำการตัดวิตกอันซ่านไปในภายนอกเสีย ควรทำไว้ในใจ ด้วยการนับอย่างนี้แล้วทำไว้ในใจด้วยการติดตาม.
    การรวบรวมการนับแล้วติดตามลมอัสสาสะปัสสาสะในลำดับแห่งสติ ชื่อว่า อนุพนฺธนา (การติดตาม). การนับนั้นมิใช่ด้วยอำนาจแห่งการติดตามในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด. เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด และโทษในการติดตามการนับนั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.
    เพราะฉะนั้น เมื่อมนสิการด้วยการติดตาม ไม่ควรใส่ใจด้วยอำนาจแห่งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด.
    อีกอย่างหนึ่ง ควรใส่ใจด้วยอำนาจแห่งการสัมผัสและด้วยอำนาจแห่งการแนบแน่น เพราะว่าไม่มีการใส่ใจไว้ต่างหากด้วยอำนาจแห่งการสัมผัสและแนบแน่น ดุจด้วยอำนาจแห่งการนับและการติดตาม.
    อนึ่ง เมื่อนับในที่สัมผัสย่อมใส่ใจด้วยการนับและด้วยการสัมผัส รวบรวมการนับในที่สัมผัสนั้นแล้วติดตามการนับและการสัมผัสเหล่านั้นด้วยสติและดำรงจิตไว้ด้วยสามารถแห่งอัปปนา ท่านกล่าวว่า ย่อมใส่ใจด้วยการติดตาม ด้วยการสัมผัสและด้วยการแนบแน่น.
    พึงทราบความนี้นั้นด้วยการอุปมาด้วยคนพิการและคนเฝ้าประตู ดังที่<WBR>ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ไว้ใน<WBR>อรรถ<WBR>กถา<WBR>ทั้งหลาย และด้วยอุปมาด้วยเลื่อย ดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วในบาลีนี้แหละ.
    ต่อไปนี้เป็นอุปมาด้วยคนพิการ.
    เปรียบเหมือนคนพิการแกว่งชิงช้าแก่มารดาและบุตรผู้เล่นอยู่ที่ชิงช้า นั่งอยู่ที่โคนเสาชิงช้านั้นเอง ย่อมเห็นที่สุดทั้งสองและท่าม<WBR>กลาง<WBR>ของ<WBR>กระดาน<WBR>ชิงช้าที่แกว่งไปมาตามลำดับ ไม่ขวนขวายเพื่อจะดูที่สุดทั้งสองและท่ามกลางฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันอยู่ที่โคนเสา คือ<WBR>การ<WBR>ติด<WBR>ตาม<WBR>ด้วย<WBR>อำนาจ<WBR>แห่ง<WBR>สติ แล้วนั่งแกว่งชิงช้าคือลมอัสสาสและปัสสาสะด้วยสติ ในนิมิตนั้นติดตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของลมอัสสาสและปัสสาสะในที่สัมผัสทั้งไปและมาด้วยสติ ดำรงจิตไว้ ณ ที่นั้นนั้นแลย่อมเห็น และไม่ขวนขวายเพื่อจะดูลมอัสสาสะและปัสสาสะเหล่านั้น.
    นี้อุปมาด้วยคนพิการ.
    ส่วนอุปมาด้วยคนเฝ้าประตูมีดังนี้
    เปรียบเหมือนคนเฝ้าประตู ย่อมไม่ตรวจสอบคนภายในและภายนอกนครว่า ท่านเป็นใคร มาแต่ไหน จะไปไหน อะไรในมือของท่าน เพราะคนเหล่านั้นไม่ใช่หน้าที่ของเขา แต่เขาตรวจสอบเฉพาะคนที่มาถึงประตูแล้วเท่านั้นฉันใด ลมเข้าไปภายในและลมออกไปภายนอกไม่ใช่ภาระของภิกษุนั้นฉันนั้นเหมือนกัน ลมที่ถึงทวารเท่านั้นจึงเป็นภาระ.
    นี้เป็นอุปมาด้วยคนเฝ้าประตู.
    ส่วนอุปมาด้วยเลื่อยได้กล่าวไว้แล้วในอานาปานสติกถาโดยนัยมีอาทิว่า นิมิตฺตํ อสฺสาส<WBR>ปสฺ<WBR>สา<WBR>สา นิมิต ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะ.<SUP>๘-</SUP> แต่ในที่นี่พึงทราบว่า เป็นการประกอบเพียงความไม่ใส่ใจด้วยสามารถแห่งการมาและการไปของเลื่อยนั้นเท่านั้น.
    ____________________________
    <SUP>๘-</SUP> ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๓๘๓

    เมื่อใครๆ มนสิการกรรมฐานนี้ไม่ช้านิมิตย่อมเกิด. และการแนบแน่นกล่าวคืออัปปนา ประดับด้วยองค์ฌานที่เหลือย่อมสมบูรณ์. จำเดิมแต่กาลมนสิการด้วยการนับของใครๆ เปรียบเหมือนผู้มีกายปั่นป่วนนั่งบนเตียงหรือตั่ง เตียงและตั่งย่อมน้อมลงย่อมมีเสียงเอี้ยดอ้าด เครื่องปู<WBR>ลาด<WBR>ย่อม<WBR>ย่น<WBR>ยับ
    ส่วนผู้มีกายไม่ปั่นป่วนนั่ง เตียงและตั่งย่อมไม่น้อยลง ไม่ส่งเสียงเอี้ยดอ้าด เครื่องปูลาดไม่ย่นยับ เตียงและตั่งย่อมเป็นเหมือนเต็มด้วยปุยนุ่น เพราะเหตุไร เพราะผู้มีกายไม่ปั่นป่วนเบาฉันใด จำเดิมแต่กาลมนสิการด้วยการนับอย่างนั้นก็ฉันนั้น เมื่อความกระวนกระวายกายสงบด้วยอำนาจแห่งการดับลมอัสสาสะและปัสสาสะอย่างหยาบตามลำดับ กายก็ดี จิตก็ดีเป็นของเบา ร่างกายเป็นดุจลอยไปบนอากาศ.
    เมื่อลมอัสสาสะและปัสสาสะอย่างหยาบของภิกษุนั้นดับแล้ว จิตมีลมอัสสาสะปัสสาสะละเอียดเป็นนิมิต เป็นอารมณ์ย่อมเป็นไป. แม้เมื่อจิตนั้นดับ ลมอัสสาสะปัสสาสะอันเป็นนิมิต เป็นอารมณ์ละเอียดกว่า ละเอียดกว่านั้นยังเป็นไปๆ มาๆ อยู่นั่นเอง.
    พึงทราบความนี้ด้วยอุปมาด้วยถาดโลหะ<SUP>๙-</SUP> ดังกล่าวแล้วในตอนก่อน.
    ____________________________
    <SUP>๙-</SUP> ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๐๖

    กรรมฐานนี้ไม่เหมือนกรรมฐานเหล่าอื่น ซึ่งแจ่ม<WBR>แจ้ง<WBR>แล้ว<WBR>ยิ่งๆ ขึ้นไป.
    อนึ่ง กรรมฐานนี้ย่อมถึงความละเอียดแก่ผู้เจริญยิ่งๆ แม้ความปรากฏก็ไม่ถึง เมื่อกรรม<WBR>ฐานนั้นไม่ปรากฏ<WBR>อย่าง<WBR>นี้ ภิกษุนั้นไม่ควรลุกจากอาสนะไป ด้วยคิดว่าเราจักถามอาจารย์หรือว่า บัดนี้กรรมฐานของเราฉิบหายเสียแล้ว ดังนี้ เพราะเมื่อภิกษุยังอิริยาบถให้กำเริบแล้วไป กรรมฐานย่อมมีใหม่ๆ โดยแท้ เพราะฉะนั้น ควรนำกรรมฐานมาจากที่ตามที่นั่งแล้วนั่นแล.
    ต่อไปนี้เป็นอุบายนำกรรมฐานมา.
    ภิกษุนั้นรู้ความที่กรรมฐานไม่ปรากฏ พึงสำเหนียก<WBR>อย่าง<WBR>นี้<WBR>ว่า ชื่อว่าลม<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัสสา<WBR>สะเหล่านี้มีอยู่ที่ไหน ไม่มีที่ไหน มีแก่ใครหรือไม่มีแก่ใคร. ครั้นภิกษุสำเหนียกอย่างนี้รู้ว่า ลม<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัสสา<WBR>สะ<WBR>เหล่านี้ไม่มีแก่คนอยู่ในครรภ์มารดา ไม่มีแก่คนดำน้ำ แก่อสัญญีสัตว์ คนตาย ผู้เข้าจตุตถฌาน ผู้รวมอยู่ในรูปภพ อรูปภพ ผู้เข้านิโรธ แล้วพึงเตือนตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนบัณฑิต ท่านมิได้อยู่ในครรภ์มารดา มิได้ดำน้ำ มิได้เป็นอสัญญีสัตว์ มิได้ตาย มิได้เข้าจตุตถฌาน มิได้รวมอยู่ในรูปภพ อรูปภพ มิได้เข้านิโรธมิใช่หรือ. ลมอัสสาสะปัสสาสะของท่านยังมีอยู่แน่ๆ แต่<WBR>ท่าน<WBR>ไม่สามารถกำหนดถือเอาได้ เพราะท่านมีปัญญาน้อย.
    ครั้นแล้วภิกษุนั้นควรตั้งจิต ด้วยสัมผัสเป็นปกติแล้วยังมนสิการให้เป็นไป. เพราะว่าลมอัสสาสะปัสสาสะเหล่านี้กระทบดั้งจมูกของผู้จมูกยาวเป็นไป กระทบริมฝีปากบนของผู้มีจมูกสั้น เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นควรตั้งนิมิตว่า ลมอัสสาสะปัสสาสะกระทบที่นี้.
    จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาศัยอำนาจแห่งประโยชน์ว่า<SUP>๑๐-</SUP> ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวถึงการเจริญอานาปานสติของผู้มีสติหลง ผู้ไม่มีความรู้สึกดังนี้.
    ____________________________
    <SUP>๑๐-</SUP> ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๒๘๙ สํ. มหา. เล่ม ๑๙/ข้อ ๑๓๖๐

    จริงอยู่ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมสมบูรณ์แก่ผู้มีสติ ผู้มีสัมปชัญญะโดยแท้ แต่เมื่อมนสิการอื่นจากนี้ กรรมฐานก็ยังปรากฏ.
    อนึ่ง อานาปานสติกรรมฐานนี้ เป็นการเจริญอย่างหนักๆ เป็นภูมิ<WBR>แห่ง<WBR>มนสิ<WBR>การ<WBR>ของ<WBR>พระ<WBR>พุทธ<WBR>เจ้า พระ<WBR>ปัจเจก<WBR>พุทธ<WBR>เจ้าและพระ<WBR>พุทธ<WBR>บุตร<WBR>ผู้<WBR>เป็น<WBR>มหา<WBR>บุรุษนั่นเอง มิได้เป็นนอกไปจากนี้ ทั้งสัตว์นอกนี้มิได้เสพ.
    กรรมฐานเป็นอันสงบและสุขุม โดยประการที่ทำไว้ในใจ เพราะฉะนั้น ในที่นี้พึงปรารถนาสติและปัญญามีกำลัง.
    เหมือนอย่างว่า ในเวลาเย็บผ้าสาฏก<WBR>เนื้อเกลี้ยง พึงต้องการแม้เข้มที่ละเอียด แม้ด้ายร้อยเข็มก็ยังต้องการละเอียดกว่านั้นฉันใด ในเวลาเจริญกรรมฐานนี้เช่นกับผ้าสาฏก<WBR>เนื้อ<WBR>เกลี้ยง<WBR>ฉันนั้นเหมือนกัน แม้สติเปรียบด้วยเข็ม ปัญญาสัมปยุตด้วยสตินั้นเปรียบด้วยการร้อยเข็ม ก็พึงปรารถนาที่มีกำลัง ก็แลภิกษุผุ้ประกอบด้วยสติปัญญาเหล่านั้น ไม่พึงแสวงหาลมอัสสาสะปัสสาสะเหล่านั้น นอกจากโอกาสที่สัมผัสตามปกติ.
    เหมือนอย่างว่า ชาวนาไถนาแล้วปล่อยโคผู้ไป แล้วนั่นพักบริโภคอาหาร.
    ลำดับนั้น โคผู้เหล่านั้นของเขาวิ่งเข้าดงไป. ชาวนาที่เป็นคนฉลาดประสงค์จะจับโคเหล่านั้นเทียมไถ ไปเที่ยวตามรอยเท้าของโคเหล่านั้นไปยังดง. เขาถือเชือกและปฏักไปยังท่าน้ำที่โคเหล่านั้นลงโดยตรง นั่งบ้าง นอนบ้าง. ครั้นเขาเห็นโคเหล่านั้นเที่ยวไปตลอดวันแล้ว ลงสู่ท่าที่เคยลงอาบและดื่มแล้วขึ้นยืนอยู่ จึงเอาเชือกล่ามเอาปฏักแทงนำมาเทียมไถทำงานต่อไปฉันใด
    ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่พึงแสวงหาลมอัสสาสะปัสสาสะเหล่านั้น นอกจากโอกาสที่สัมผัสตามปกติ พึงถือเชือกคือสติและปฏัก คือปัญญาตั้งจิตไว้ในโอกาสที่สัมผัสตามปกติ แล้วยังมนสิการให้เป็นไป.
    ก็เมื่อภิกษุมนสิการอย่างนี้ ไม่ช้าลมอัสสาสะปัสสาสะเหล่านั้นก็ปรากฏดุจโค ปรากฏที่ท่าที่เคยลง.
    แต่นั้น ภิกษุนั้นพึงผูกด้วยเชือกคือสติประกอบไว้ในที่นั้นแล้วแทงด้วยปฏักคือปัญญา พึงประกอบกรรมฐานบ่อยๆ เมื่อประกอบอย่างนี้ไม่ช้านัก นิมิตย่อมปรากฏ ก็นิมิตนี้นั้นมิได้เป็นเช่นเดียวกันแห่งนิมิตทั้งปวง.
    อีกอย่างหนึ่ง นิมิตยังสุขสัมผัสให้เกิดขึ้นแก่ใครๆ ย่อมปรากฏ ดุจปุยนุ่น ปุยป้ายและสายลม. อาจารย์บางพวกกล่าวไว้ดังนี้.
    ส่วนในอรรถกถาทั้งหลายมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    จริงอยู่ นิมิตนี้มีรูปคล้ายดาวปรากฏแก่ใครๆ ดุจก้อนแก้วมณี และดุจก้อนแก้วมุกดา เป็นสัมผัสแข็งปรากฏแก่ใครๆ ดุจเมล็ดฝ้าย และดุจเสี้ยนไม้แก่น ปรากฏแก่ใครๆ ดุจสายสังวาลยาว ดุจพวงดอกไม้และดุจเปลวควัน ปรากฏแก่ใครๆ ดุจใยแมลงมุมอันกว้าง ดุจ<WBR>กลุ่ม<WBR>เมฆ ดุจ<WBR>ดอก<WBR>ปทุม ดุจล้อรถ ดุจ<WBR>มณฑลดวงจันทร์และดุจมณฑลดวงอาทิตย์.
    ก็แลนิมิตนั้น เมื่อภิกษุหลายรูปนั่งท่องพระสูตร เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า พระสูตรนี้ปรากฏแก่ท่านทั้งหลายเช่นไร ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่าปรากฏแก่ผมดุจแม่น้ำใหญ่ไหลจากภูเขา. อีกรูปหนึ่งกล่าวว่าปรากฏแก่ผมดุจแนวป่าแห่งหนึ่ง. รูปอื่นกล่าวว่าปรากฏแก่ผมดุจต้นไม้มีร่มเงาเย็น สมบูรณ์ด้วยกิ่งเต็มด้วยผล. สูตรเดียวเท่านั้นปรากฏแก่ภิกษุเหล่านั้นโดยความต่างกัน เพราะสัญญาต่างกัน.
    กรรมฐานเดียวเท่านั้นย่อมปรากฏโดยความต่างกันเพราะสัญญาต่างกันด้วยอาการอย่างนี้ เพราะกรรมฐานนั้นเกิดแต่สัญญามีสัญญาเป็นนิทาน มีสัญญาเป็นแดนเกิด ฉะนั้นพึงทราบว่า ย่อมปรากฏโดยความต่างกันเพราะสัญญาต่างกัน.
    อนึ่ง เมื่อนิมิตปรากฏ ภิกษุนั้นพึงไปหาอาจารย์แล้วบอกให้ทราบว่า ท่านอาจารย์<WBR>ขอ<WBR>รับ นิมิตปรากฏเห็นปานนี้ ย่อมปรากฏแก่ผม. ส่วนอาจารย์ควรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส นี้เป็นนิมิต ดูก่อนสัตบุรุษ ท่านจงทำกรรมฐานไว้ในใจบ่อยๆ เถิด แต่นั้นพึงตั้งจิตไว้ในนิมิตเท่านั้น.
    จำเดิมแต่นี้ไป ภิกษุนั้นย่อมมีภาวนาด้วยความแนบแน่นด้วยประการฉะนั้น.
    สมดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า<SUP>๑๑-</SUP>
    ผู้มีปัญญายังจิตให้แนบแน่นในนิมิต เจริญอาการต่างๆ
    ย่อมผูกจิตของตนในลมอัสสาสะและปัสสาสะ ดังนี้.
    ____________________________
    <SUP>๑๑-</SUP> วิสุทฺธิมคฺค. ๒/๗๘

    จำเดิมแต่ความปรากฏแห่งนิมิตอย่างนี้ เป็นอันภิกษุนั้นข่มนิวรณ์ทั้งหลายได้แล้ว. กิเลสทั้งหลายสงบ. จิตตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ ครั้นแล้วภิกษุนั้นไม่ควรใส่ใจถึงนิมิตนั้นโดยความเป็นสี ไม่ควรพิจารณาโดยความเป็นลักษณะ. แต่แล้วภิกษุควรเว้นอสัปปายะ ๗ มีอาวาสเป็นต้น แล้วเสพสัปปายะ ๗ เหล่านั้น ควรรักษาไว้ให้ดีดุจขัตติยมเหสีรักษาครรภ์ของพระเจ้าจักรพรรดิ และดุจชาวนารักษาท้องข้าวสาลีและข้าวเหนียวฉะนั้น.
    ต่อแต่นั้น พึงรักษานิมิตนั้นไว้อย่างนี้แล้ว ถึงความเจริญงอกงามด้วยมนสิการบ่อยๆ ยังความเป็นผู้ฉลาดในอัปปนา ๑๐ อย่างให้ถึงพร้อม พึงประกอบภาวนาโดยมีความเพียรสม่ำเสมอ เมื่อภิกษุพยายามอยู่อย่างนี้ จตุกฌานและปัญจกฌานย่อมเกิดในนิมิตนั้นตามลำดับดังที่ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
    อนึ่ง ภิกษุผู้มีจตุกฌานเกิดแล้วอย่างนี้ ประสงค์จะเจริญกรรมฐานด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาและมรรคแล้ว บรรลุความบริสุทธิ์จงทำฌานนั้นให้คล่องแคล่วถึงความชำนาญด้วยอาการ ๕ อย่างแล้ว กำหนดนามรูปเริ่มตั้งวิปัสสนา.
    อย่างไร เพราะภิกษุนั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรชกายและจิตเป็นเหตุเกิดลมอัสสาสะปัสสาสะ.
    เหมือนอย่างว่า ลมย่อมสัญจรเพราะอาศัยเครื่องสูบของช่องทองและความพยายาม เกิดแต่การสูญเครื่องของบุรุษฉันใด
    ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมสัญจรเพราะอาศัยกายและจิตฉันนั้นเหมือนกัน.
    แต่นั้นย่อมกำหนดกายว่า เป็นรูปในเพราะอัสสาสะปัสสาสะ และกำหนดจิตว่าเป็นอรูปในเพราะธรรมอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น.
    ครั้นภิกษุกำหนดนามรูปอย่างนี้ แล้วแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น เมื่อแสวงหา ครั้นเห็นปัจจัยนั้นแล้ว ปรารภถึงความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลแม้ ๓ แล้วจึงข้ามความสงสัยได้ ข้ามความสงสัยได้แล้ว จึงยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเป็นกลาปะ (กอง) เมื่อส่วนเบื้องต้นแห่งอุทยัพพยานุปัสสนาเกิด จึงละวิปัสสนูป<WBR>กิเลส ๑๐ มีโอภาสเป็นต้น แล้วกำหนดอุทยัพพยา<WBR>นุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นา<WBR>ญาณอันพ้นจากอุปกิเลสว่า มรรคละความเกิด ถึงภังคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความดับ) เมื่อสังขารทั้งปวงปรากฏโดยความเป็นภัย ด้วยภังคานุปัสสนาเป็นลำดับ จึงเบื่อหน่าย พ้นบรรลุอริยมรรค ๔ ตามลำดับ ตั้งอยู่ในอรหัตผลถึงที่สุดแห่ง<WBR>ปัจจ<WBR>เวก<WBR>ข<WBR>ณา<WBR>ญาณ ๑๙ เป็นทักษิไณยบุคคลผู้เลิศของโลกพร้อมทั้งเทว<WBR>โลก.
    ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ การเจริญอานาปานสติสมาธิ ตั้งต้นแต่การนับลม<WBR>อัส<WBR>สา<WBR>สะ<WBR>ปัสสาสะนั้น มีวิปัสสนาเป็นที่สุด เป็นอันครบริบูรณ์. นี้เป็นการพรรณนาปฐมจตุกะโดยอาการทั้งปวง ดังนี้แล.
    อนึ่ง ในจตุกะ ๓ นอกนี้ เพราะไม่มีนัยแห่งกรรมฐานภาวนาไว้ต่างหาก ฉะนั้น พึงทราบความอย่างนี้แห่งจตุกะเหล่านั้นโดยนัยแห่งการพรรณนาอนุบทนั่นแล.
    บทว่า ปีติปฏิสํเวที รู้แจ้งปีติ คือย่อมศึกษาว่าเราทำปีติให้รู้แจ้ง ทำให้ปรากฏ หายใจเข้า หายใจออก.
    ในบทนั้นเป็นอันรู้แจ้งปีติโดยอาการ ๒ คือ โดยอารมณ์และโดยความไม่หลง.
    รู้แจ้งปีติโดยอารมณ์เป็นอย่างไร. ภิกษุย่อมเข้าฌาน ๒ อย่างพร้อมด้วยปีติ ภิกษุนั้นชื่อว่ารู้แจ้งปีติโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌานในขณะสมาบัติ เพราะรู้แจ้งอารมณ์แล้ว.
    รู้แจ้งโดยความไม่หลงเป็นอย่างไร.
    ภิกษุเข้าฌาน ๒ อย่าง ครั้นออกแล้วย่อมพิจารณาปีติอันสัมปยุตด้วยฌานโดยความเป็นของสิ้นไปโดยความเป็นของเสื่อมไป เป็นอันภิกษุนั้นรู้แจ้งปีติโดยความไม่หลง ด้วยการแทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา.
    โดยนัยนี้แลพึงทราบแม้บทที่เหลือโดยอรรถ.
    แต่ในบทนี้มีเนื้อความสักว่าต่างกันนี้ พึงทราบว่า เป็นอันภิกษุรู้แจ้งสุขด้วยสามารถแห่งฌาน ๓ รู้แจ้งจิตตสังขารด้วยสามารถแห่งฌานแม้ ๔.
    บทว่า จิตฺตสงฺขาโร จิตตสังขาร คือเวทนาขันธ์และสัญญาขันธ์.
    บทว่า ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ระงับจิตตสังขาร. ความว่า ระงับจิตตสังขารหยาบๆ คือดับ.
    พึงทราบจิตตสังขารนั้นโดยพิสดารตามนัยดังกล่าวแล้วในกายสังขาร.
    อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ปีติ นี้ท่านกล่าวเวทนาโดยหัวข้อแห่งปีติ.
    ในบทว่า สุข ท่านกล่าวเวทนาโดยสรุป.
    ในบทแห่งจิตตสังขารทั้งสอง เวทนาสัมปยุตด้วยสัญญาเพราะบาลีว่า<SUP>๑๒-</SUP> สัญญาและเวทนาเป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขารด้วย เหตุนั้นพึงทราบว่าท่านกล่าวจตุกะ
    ____________________________
    <SUP>๑๒-</SUP> ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๑๐

    นี้โดยนัยแห่งเวทนานุปัสสนาอย่างนี้.
    แม้ในจตุกะที่ ๓ ก็พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งจิตด้วยอำนาจแห่งฌาน ๔.
    บทว่า อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ ทำจิตให้บันเทิง คือภิกษุย่อมศึกษาว่าเรายังจิตให้บันเทิง ให้ปราโมทย์ ให้ร่าเริง ให้รื่นเริง จักหายใจเข้า จักหายใจออก.
    ในบทนั้น ภิกษุเป็นผู้บันเทิงด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยสามารถแห่งสมาธิและด้วยสามารถแห่ง<WBR>วิปัส<WBR>ส<WBR>นา.
    ด้วยสามารถแห่งสมาธิเป็นอย่างไร.
    ภิกษุเข้าถึงฌานสองอย่างพร้อมด้วยปีติ ครั้นออกแล้วย่อมพิจารณาปีติสัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้นไปโดยความเลื่อมไป. ภิกษุทำปีติสัมปยุตด้วยฌานในขณะแห่งวิปัสสนาอย่างนี้ ให้เป็นอารมณ์ ยังจิตให้ชื่นชมบันเทิง ปฏิบัติอย่างนี้ท่านกล่าวว่า ภิกษุย่อมศึกษาว่าเราจักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า หายใจออก.
    บทว่า สมาทหํ จิตฺตํ ตั้งจิตไว้ คือตั้งดำรงจิตไว้เสมอในอารมณ์ด้วยอำนาจแห่ง<WBR>ปฐม<WBR>ฌาน<WBR>เป็น<WBR>ต้น หรือเข้าฌานเหล่านั้น ครั้นออกแล้ว จิตสัมปยุตด้วยฌานย่อมเกิดขึ้นโดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป ด้วยการแทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา เพราะจิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ เมื่อจิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ภิกษุตั้งดำรงจิตไว้เสมอในอารมณ์แม้ด้วยอำนาจ ท่านก็กล่าวว่า ภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจักตั้งจิตไว้หายใจเข้า หายใจออก.
    บทว่า สมาทหํ จิตฺตํ ตั้งจิตไว้ คือตั้งดำรงจิตไว้เสมอในอารมณ์ด้วยอำนาจ<WBR>แห่ง<WBR>ปฐม<WBR>ฌาน<WBR>เป็นต้น หรือเข้าฌานเหล่านั้น ครั้นออกแล้ว จิตสัมปยุตด้วยฌานย่อมเกิดขึ้นโดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป วยการแทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา เพราะจิตมีอารมณด์เดียวชั่วขณดะ เมื่อจิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ภิกษุตั้งดำรงจิตไว้เสมอในอารมณ์ แม้ด้วยอำนาจท่านก็กล่าวว่า ภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจักตั้งจิตไว้หายใจเข้า หายใจออก.
    บทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ เปลื้องจิต คือ<WBR>เปลื้อง<WBR>ปล่อย<WBR>จิตจากนิวรณ์ทั้งหลายด้วย<WBR>ปฐม<WBR>ฌาน เปลื้อง<WBR>ปล่อย<WBR>จิต<WBR>จาก<WBR>วิตก<WBR>วิจาร<WBR>ด้วย<WBR>ทุติย<WBR>ฌาน จากปีติด้วยตติย<WBR>ฌาน จากสุขและทุกข์ด้วยจตุตถ<WBR>ฌาน หรือเข้าฌานทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นออกแล้วย่อมพิจารณาจิตสัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป ภิกษุนั้นเปลื้องปล่อยจิตจากนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนาในขณะแห่งวิปัสสนา เปลื้องปล่อยจิตจากสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา จากอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา จากความเพลิดเพลินด้วยนิพพิทานุปัสสนา จากราคะด้วยวิราคานุปัสสนา จากสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา จากความถือมั่นด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ย่อมหายใจเข้าและย่อมหายใจออก.
    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิโมจยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามิ ปสฺส<WBR>สิสฺ<WBR>สามี<WBR>ติ สิกฺ<WBR>ข<WBR>ติ ภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า หายใจออก.
    พึงทราบว่า จตุกะนี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนา.


    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค</BIG> <CENTER class=D>๓. อานาปาณกถา</CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๔ / ๕.
    พึงทราบวินิจฉัยในจตุกะที่ ๔ ดังต่อไปนี้.
    พึงทราบ อนิจฺจํ ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงนี้ก่อน.
    พึงทราบอนิจจตา พึงทราบอนิจจานุปัสสนา พึงทราบอนิจจานุปัสสี.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจํ ความไม่เที่ยง ได้แก่ ขันธ์ ๕. เพราะเหตุไร. เพราะ<WBR>เบญจ<WBR>ขันธ์<WBR>มีเกิด เสื่อมและเป็นอย่างอื่น.
    บทว่า อนิจฺจตา ความเป็นของไม่เที่ยง คือความที่<WBR>เบญจ<WBR>ขันธ์<WBR>เหล่านั้นเกิดเสื่อมและเป็นอย่างอื่น หรือเป็นแล้วไม่เป็น.
    ความว่า การไม่ตั้งอยู่โดยอาการนั้นของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วแตกไปโดยการทำลายแห่งขณะ.
    บทว่า อนิจฺจานุปสฺสนา พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง คือพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง ในรูปเป็นต้นด้วยสามารถแห่งความไม่เที่ยงนั้น.
    บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง คือประกอบด้วยอนุปัสสนานั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ภิกษุเป็นอย่างนั้นหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมศึกษาในที่นี้ว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า หายใจออก ดังนี้.
    ในบทว่า วิราคานุปสฺสี พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดนี้ ความคลายกำหนัดมี ๒ อย่าง คือ ความคลายกำหนัดเพราะสิ้นไป และความคลายกำหนัดเพราะล่วงส่วน.
    ใน ๒ บทนั้น บทว่า ขยวิราโค ความคลายกำหนัด เพราะสิ้นไป ได้แก่ความทำลายขณะแห่งสังขารทั้งหลาย.
    บทว่า อจฺจนฺตวิราโค ความคลายกำหนัดเพราะล่วงส่วน ได้แก่นิพพาน.
    บทว่า วิราคานุปสฺสนา พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด ได้แก่วิปัสสนาและมรรคอันเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการเห็นทั้งสองอย่างนั้น.
    พึงทราบว่า ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนาแม้สองอย่าง หายใจเข้าและหายใจออก ย่อมศึกษาว่าเราจักพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้าหายใจออกดังนี้.
    แม้ในบทว่า นิโรธานุปสฺสี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    ความสละคืนในบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี พิจารณาเห็นความสละคืนนี้มี ๒ อย่าง คือ สละคืนเพราะบริจาคและสละคืนเพราะการแล่นไป.
    ความพิจารณาเห็นความสละคืน ชื่อว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสนา.
    บทนี้เป็นชื่อของวิปัสสนามรรค เพราะวิปัสสนาย่อมสละกิเลสทั้งหลายพร้อมด้วยขันธาภิสังขารด้วยสามารถแห่งตทังคะ ย่อมแล่นไปเพราะเห็นโทษแห่งสังขตธรรม และเพราะน้อมไปในนิพพานอันตรงกันข้ามกับโทษแห่งสังขตธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสละคืนเพราะบริจาค และสละคืนเพราะแล่นไป.
    มรรคย่อมสละกิเลสทั้งหลายพร้อมด้วยขันธาภิ<WBR>สังขาร ด้วยอำนาจแห่งการตัดขาด ย่อมแล่นไปในนิพพานด้วยการทำให้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สละคืนเพราะบริจาค สละคืนเพราะแล่นไป.
    แม้ทั้งสองบทนั้น ท่านก็กล่าวว่าเป็นอนุปัสสนา เพราะความเห็นญาณก่อนๆ พึงทราบว่า ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความสละคืน) แม้สองอย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า หายใจออก.
    อนึ่ง พึงทราบว่า ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาอ่อน.
    บทว่า วิราคานุปสฺสี ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาอันสามารถคลายความกำหนัดในสังขารทั้งหลายได้ เพราะมีกำลังมากกว่านั้น.
    บทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาอันกล้าแข็ง ใกล้มรรคเข้าไปแล้ว.
    แม้มรรคก็มิได้ทำลายไปในวิปัสสนาที่ได้ ท่านกล่าวจตุกะนี้ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาบริสุทธิ์ แต่ ๓ อย่างข้างต้นท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งสมถะและวิปัสสนา. <CENTER> จบอรรถกถาอานาปานสติมาติกา </CENTER>
    บัดนี้ เพื่อแสดงจำแนกมาติกาตามที่วางไว้โดยลำดับ จึงเริ่มบทมีอาทิว่า อิธาติ อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา.
    บทว่า อิธ คือ ในทิฏฐินี้.
    ในบทเหล่านั้น ท่านกล่าวถึงคำสอนของพระสัพัญญุพุทธเจ้าเท่านั้นอันได้แก่ไตรสิกขาด้วยบท ๑๐ บทมีอาทิว่า อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา ในทิฏฐินี้ เพราะคำสอนนั้น ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่าทิฏฐิ เพราะพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทรงเห็นแล้ว ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่าขันติ ด้วยสามารถความอดทน กล่าว<WBR>ว่ารุจิ ด้วยสามารถความชอบใจ กล่าว<WBR>ว่าเขต ด้วยสามารถการถือเอา กล่าวว่าธรรม ด้วยอรรถว่าเป็นสภาวธรรม กล่าว<WBR>ว่าวินัย ด้วยอรรถว่าควรศึกษา กล่าว<WBR>ว่าธรรมวินัย แม้ด้วยอรรถทั้งสองนั้น กล่าว<WBR>ว่าปาพจน์ ด้วยสามารถธรรมที่ตรัส กล่าว<WBR>ว่าพรหม<WBR>จรรย์ ด้วยอรรถว่าเป็นความประพฤติอันประเสริฐ กล่าว<WBR>ว่าสัตถุศาสน์ ด้วยสามารถให้คำสั่งสอน.
    เพราะฉะนั้น ในบทว่า อิมิสฺสา ทิฏฐิยา เป็นต้นพึงทราบความว่า ในความเห็นของพระ<WBR>พุทธ<WBR>เจ้า<WBR>นี้ ในความอดทนของพระพุทธ<WBR>เจ้า<WBR>นี้ ในความชอบใจของพระพุทธ<WBR>เจ้า<WBR>นี้ ในเขตของพระพุทธ<WBR>เจ้า<WBR>นี้ ในธรรมของพระพุทธเจ้านี้ ในวินัยของพระพุทธ<WBR>เจ้า<WBR>นี้ ในธรรมและวินัยของพระพุทธ<WBR>เจ้า<WBR>นี้ ในปาพจน์ของพระพุทธเจ้านี้ ในพรหมจรรย์ของพระพุทธ<WBR>เจ้า<WBR>นี้ ในสัตถุศาสน์ของพระพุทธ<WBR>เจ้า<WBR>นี้.
    อีกอย่างหนึ่ง ปาพจน์ทั้งสิ้นอันได้แก่ไตรสิกขานี้ ชื่อว่าทิฏฐิ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นแล้ว เพราะเป้นปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ และเพราะมีสัมมาทิฏฐิเป็นธรรมถึงก่อน ชื่อว่าขันติ ด้วยสามารถความอดทนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่ารุจิ ด้วยสามารถความพอใจ ชื่อว่าอาทาย ด้วยสามารถการถือเอา ชื่อว่าธรรม เพราะทรงไว้ซึ่งผู้ปฏิบัติของตนมิให้ตกไปในอบาย ชื่อว่าวินัย เพราะขจัดฝ่ายเศร้าหมองออกไป ธรรมและวินัยนั้นชื่อว่าธรรมวินัย หรือชื่อว่าธรรมวินัย เพราะขจัดอกุสลธรรมทั้งหลายด้วยกุสลธรรม.
    ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า<SUP>๑-</SUP>
    ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อมีความกำหนัด ฯลฯ
    ดูก่อนโคตมี ท่านพึงทรงไว้โดยส่วนเดียว นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> วิ จุลฺ. เล่ม ๗/ข้อ ๕๒๓

    หรือชื่อว่าธรรมวินัย เพราะเป็นข้อบังคับโดยธรรม มิใช่ข้อบังคับโดยอาชญาเป็นต้น.
    สมดังที่<!--พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส-->ท่านกล่าวไว้ว่า<SUP>๒-</SUP>
    ชนบางพวกฝึกด้วยอาชญา ด้วยขอและด้วยหวาย
    พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ไม่ใช้
    อาชญา ไม่ใช้ศัสตรา ฝึกผู้ประเสริฐ.
    อนึ่ง ชื่อว่าธรรมวินัย เพราะแนะนำโดยธรรมว่าอะไรเป็นความริษยาของผู้รู้ หรือปฏิบัติโดยธรรม.<SUP>๓-</SUP>
    ____________________________
    <SUP>๒-</SUP> วิ จุลฺ. เล่ม ๗/ข้อ ๓๘๑ <SUP>๓-</SUP> วิ. มหา. เล่ม ๔/ข้อ ๗๕

    จริงอยู่ วินัยนั้นเพื่อธรรมไม่มีโทษ มิใช่เพื่ออานิสงส์แห่งโภคสมบัติในภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้มิใช่อยู่เพื่อหลอกลวงคน.<SUP>๔-</SUP>
    แม้พระปุณณเถระก็กล่าวว่า<SUP>๕-</SUP> ดูก่อนอาวุโส การประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
    ____________________________
    <SUP>๔-</SUP> องฺ. จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๒๕ <SUP>๕-</SUP> ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๒๙๘

    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวินัย เพราะนำไปให้บริสุทธิ์ การนำไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมวินัย. วินัยนั้นย่อมนำไปจากธรรมคือสงสารหรือจากธรรมมีความโศกเป็นต้น สู่นิพพานอันบริสุทธิ์หรือการนำไปสู่ธรรม มิใช่นำไปสู่พวกเจ้าลัทธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรมวินัย.
    จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ทรงธรรม วินัยนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนั่นแล.
    อีกอย่างหนึ่ง เพราะธรรมทั้งหลายนั่นแล ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้ ควรละควรเจริญและควรทำให้แจ้ง ฉะนั้น วินัยนั้นเป็นการนำไปในธรรมทั้งหลาย มิใช่นำไปในสัตว์ และในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรมวินัย.
    คำเป็นประธานเพราะคำของคนอื่นโดยพร้อมด้วยอรรถและพร้อมด้วยพยัญชนะ ชื่อว่าคำเป็นประธาน คำเป็นประธานนั่นแล ชื่อว่าปาพจน์. ชื่อว่าพรหมจรรย์ เพราะมีความประพฤติประเสริฐด้วยจริยาทั้งปวง. ชื่อว่าสัตถุศาสน์ เพราะเป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย หรือคำสอนอันเป็นของพระศาสดา ชื่อว่าสัตถุศาสน์.
    เพราะพระธรรมวินัยนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นศาสดาในพระบาลีว่า
    ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอโดยล่วงเราไป.<SUP>๖-</SUP>
    ____________________________
    <SUP>๖-</SUP> ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๔๑

    พึงทราบความแห่งบททั้งหลายเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
    อนึ่ง เพราะภิกษุผู้ยังอานาปานสติสมาธิให้เกิดโดยอาการทั้งปวงมีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น มิได้มีในศาสนาอื่น ฉะนั้น ในบทนั้นๆ ท่านจึงกำหนดความแน่นอนลงไปว่า อิมสฺส แห่งศาสนานี้ และ อิมสฺมึ ในศาสนานี้.
    นี้เป็นอรรถแห่งการชี้แจงของมาติกาว่า อิธ.
    อนึ่ง ท่านไม่กล่าวอรรถแห่งคำของ ภิกฺขุศัพท์ด้วยคำมีอาทิว่า ปุถุชฺ<WBR>ชน<WBR>กลฺยา<WBR>ณ<WBR>โก ภิกษุผู้เป็นกัลยาณ<WBR>ปุถุ<WBR>ชน แล้วแสดงถึงภิกษุที่ประสงค์เอาในที่นี้เท่านั้น.
    ในบทนั้น ชื่อว่าปุถุชน เพราะเป็นผู้ยังตัดกิเลสไม่ได้ และชื่อว่ากัลยาณชน เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนนั่นแล ชื่อว่า ปุถุชฺชนกลฺยาณโก.
    ชื่อว่า เสกฺโข เพราะยังศึกษาอธิศีลเป็นต้น ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามีหรือพระอนาคามี.
    ชื่อว่า อกุปฺปธมฺโม เพราะมีธรรมคืออรหัตผล ไม่กำเริบคือไม่อาจให้หวั่นไหวได้.
    จริงอยู่ แม้ผู้มีธรรมไม่กำเริบนั้นก็ยังเจริญสมาธินี้.
    พึงทราบวินิจฉัยในอรัญญนิเทศดังต่อไปนี้.
    โดยปริยายแห่งวินัย คำว่า ป่า มาในบทมีอาทิว่า<SUP>๗-</SUP> ป่าที่เหลือนอกจากบ้านและอุปจารแห่งบ้าน. โดยปริยายแห่งพระสูตร หมายถึงภิกษุผู้อยู่ป่า มาแล้วในบทมีอาทิว่า เสนาสนะท้ายสุดชั่ว ๕๐๐ ธนู ชื่อว่าป่า<SUP>๘-</SUP>. พระวินัยและพระสูตรแม้ทั้งสองเป็นปริยายเทศนา (เทศนาแบบบรรยาย) เพื่อแสดงป่าโดยปริยายแห่งอภิธรรมว่า พระอภิธรรมเป็นนิปริยายเทศนา (เทศนาไม่อ้อมค้อม) จึงกล่าวว่า ป่าคือออกนอกเสาเขื่อนไป.
    ปาฐะว่า นิกฺขมิตฺวา พหิ อินฺทขีลํ ท่านกล่าวว่า เลยเสาเขื่อนออกไป.<SUP>๙-</SUP>
    ____________________________
    <SUP>๗-</SUP> วิ. มหาวิ. เล่ม ๑/ข้อ ๘๕ <SUP>๘-</SUP> วิ. มหาวิ. เล่ม ๒/ข้อ ๗๙๖
    <SUP>๙-</SUP> อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๖๑๖

    อนึ่ง ในบทว่า อินฺทขีโล นี้ คือธรณีประตูบ้านหรือนคร.
    พึงทราบวินิจฉัยในรุกขมูลนิเทศดังต่อไปนี้.
    เพราะโคนไม้ปรากฏแล้ว ท่านจึงไม่กล่าวถึงโคนไม้นั้น กล่าวคำมีอาทิว่า ยตฺถ ดังนี้.
    บทว่า ยตฺถ คือ ที่โคนไม้ใด. ชื่อว่าอสานะ เพราะเป็นที่นั่ง.
    บทว่า ปญฺญตฺตํ คือ ตั้งไว้แล้ว.
    บทว่า มญฺโจ วา เป็นอาทิ เป็นคำกล่าวถึงประเภทของอาสนะ.
    จริงอยู่ แม้เตียงท่านก็กล่าวไว้ในอาสนะทั้งหลาย ในบทนี้ เพราะเป็นโอกาสนั่งก็ได้.
    อนึ่ง เตียงนั้นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาเตียงพิเศษคือมสารกะ (เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าไปในขา) พุททิกาพัทธ์ (เตียงติดกันเป็นแผง) กุฬีรปาทกะ (เตียงมีเท้าดังตีนปู) อาหัจจปาท (เตียงมีขาจดแม่แคร่).
    บรรดาตั่งเหล่านั้น ตั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนกัน.
    บทว่า ภิสิ ฟูก ได้แก่ฟูกอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาฟูกทำด้วยขนแกะ ฟูกทำด้วยฝ้า ฟูกทำด้วยเปลือกไม้ ฟูกทำด้วยหญ้า ฟูกทำด้วยใบไม้.
    บทว่า ตฏฺฏิกา เสื่อ คือเสื่อทอด้วยใบตาลเป็นต้น.
    บทว่า จมฺมขณฺโฑ ท่อนหนังคือท่อนหนังอย่างใดอย่างหนึ่งอันสมควรเป็นที่นั่ง. เครื่องลาดทำด้วยหญ้าเป็นต้น คือเอาหญ้าเป็นต้นสุมกันเข้า.
    บทว่า ตตฺถ คือ ที่โคนไม้นั้น.
    ด้วยบทมีอาทิว่า จงฺกมติ วา เดิน ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ถึง<WBR>ความที่โคนไม้ใช้เป็นที่ยังอิริยาบถ ๔ ให้เป็นไปได้.
    ด้วยบททั้งปวงมี บทว่า ยตฺถ เป็นอาทิ ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ถึง<WBR>ความที่โคนไม้มีร่มเงาหนาทึบ และเพราะเป็นที่สงัดจากผู้คน.
    บทว่า เกนจิ ด้วยหมู่ชนใดๆ.
    ท่านแยกหมู่ชนนั้นให้พิสดารออกไปจึงกล่าวว่า คหฏฺเฐน วา ปพฺพชิเตน วา เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม.
    บทว่า อนากิณฺณํ ไม่เกลื่อนกล่น คือไม่มั่วสุม ไม่คับแคบ.
    เสนาสนะใดเป็นที่รกชัฏด้วยภูเขา รกชัฏด้วยป่า รกชัฏด้วยแม่น้ำ คาวุตหนึ่งบ้าง กิ่งโยชน์บ้างโดยรอบ ใครๆ ไม่อาจเข้าไป โดยมิใช่เวลาอันควรได้ เสนาสนะนี้ชื่อว่าไม่<WBR>เกลื่อน<WBR>กล่น<WBR>แม้ในที่ใกล้.
    ส่วนเสนาสนะใดอยู่กึ่งโยชน์หรือโยชน์หนึ่ง เสนาสนะนี้ชื่อว่าไม่เกลื่อน<WBR>กล่น<WBR>เพราะอยู่ไกล.
    บทว่า วิหาโร วิหาร ได้แก่ที่อยู่อันเหลือพ้นจากโรงมีหลังคาครึ่งหนึ่งเป็นต้น.
    บทว่า อฑฺฒโยโค โรงมีหลังคาครึ่งหนึ่ง ได้แก่เรือนปีกครุฑ.
    บทว่า ปาสาโท ปราสาท ได้แก่ปราสาทยาวมีช่อฟ้าสอง.
    บทว่า หมฺมิยํ เรือนโล้น ได้แก่ปราสาทมีเรือนยอดตั้งอยู่ ณ พื้นอากาศเบื้องบน.
    บทว่า คุหา ถ้ำ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาขันธกะอย่างนี้ คือ ถ้ำอิฐ ถ้ำหิน ถ้ำไม้ ถ้ำดิน. ส่วนในอรรถ<WBR>กถา<WBR>วิภังค์ ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ถึง<WBR>เสนา<WBR>สนะ<WBR>ที่ทำแสดงทางบริหารโดยรอบ และที่พักกลางคืนและกลางวันไว้ในภายในว่าวิหาร.
    บทว่า คุหา ได้แก่ ถ้ำพื้นดิน ควรได้พักอาศัยตลอดคืนและวัน.
    ท่านกล่าวบททั้งสองนี้ให้ต่างกัน คือถ้ำภูเขาหรือถ้ำพื้นดิน ท่านทำให้เป็น<WBR>วัตต<WBR>มา<WBR>นา<WBR>วิ<WBR>ภัต<WBR>ติว่า นิสีทติ ย่อมนั่งด้วยอำนาจแห่งลักษณะทั่วไปแก่กาลทั้งปวงแห่งมาติกา แต่ท่านทำเป็นรูปสำเร็จว่า นิสินฺโน นั่งแล้ว เพื่อแสดงการเริ่มและการสุดท้ายของการนั่ง เพราะมีการเริ่มภาวนาของภิกษุผู้นั่ง ณ ที่นี้.
    อนึ่ง เพราะเมื่อภิกษุนั่งตั้งกายตรง กายย่อมตรง ฉะนั้นท่านไม่เอื้อในพยัญชนะ เมื่อจะแสดงถึงความประสงค์อย่างเดียว จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุชุโก ตรง.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า ฐิโต สุปณิหิโต กายเป็นกายอันภิกษุนั้นตั้งไว้ตรง.
    ความว่า เป็นกายตั้งไว้ตรง เพราะตั้งตรงอยู่แล้ว มิใช่ตั้งไว้ตรงด้วยตนเอง.
    บทว่า ปริคฺคหฏฺโฐ คือ มีความกำหนดถือเอาเป็นอรรถ.
    กำหนดถือเอาอะไร. ถือการนำออก. นำอะไรออก.
    นำอานาปานสติสมาธิตลอดถึงอรหัตมรรคออก ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นิยฺ<WBR>ยา<WBR>นฏฺ<WBR>โฐ มีความนำออกเป็นอรรถ. ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>มีการนำออกเป็นอรรถ จากสงสารด้วยสามารถแห่งอรรถอันเจริญของมุขศัพท์.
    บทว่า อุปฏฺฐานฏฺโฐ มีความเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ คือมีสภาวธรรมเป็นอรรถ.
    ด้วยบทเหล่านี้ทั้งหมดเป็นอันท่านอธิบายว่า ตั้งสติมีความนำออก กำหนดถือเอา.
    แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาว่า บทว่า ปริคฺ<WBR>คหฏฺ<WBR>โฐ คือ มีความกำหนดถือเอาเป็นอรรถด้วยสติ.
    บทว่า นิยฺยานฏฺโฐ คือมีทวารเข้าออกของลมอัสสาสะปัสสาสะ. ท่านอธิบายว่า ตั้งสติมีความนำลมอัสสาสะปัสสาสะที่กำหนดถือเอาออก.
    บทว่า พตฺตึสาย อาการหิ ด้วยอาการ ๓๒ ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ด้วย<WBR>สามารถการถือเอาโดยไม่มีส่วนเหลือ ของภิกษุทั้งหลายผู้ได้รับตามลำดับ ในสิ่งที่ไม่แน่นอนนั้นๆ.
    บทว่า ทีฆํ อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว คือด้วยสามารถลมอัสสาสะที่กล่าวแล้วว่า ยาว ในมาติกา.
    ในบทที่เหลือก็อย่างนี้.
    บทว่า เอกคฺคตํ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว.
    บทว่า อวิกฺเขปนํ ไม่ฟุ้งซ่าน คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า<WBR>ไม่ฟุ้ง<WBR>ซ่าน เพราะจิตไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ.
    บทว่า ปชานโต รู้อยู่ คือรู้ รู้ชัดด้วยความไม่หลง หรือรู้ด้วยทำให้เป็นอารมณ์ว่า เราได้ความไม่ฟุ้ง<WBR>ซ่าน<WBR>แล้ว.
    บทว่า ตาย สติยา คือ ด้วยสติที่เข้าไปตั้งไว้แล้ว.
    บทว่า เตน ญาเณน คือ ด้วยญาณรู้ความไม่ฟุ้งซ่านนั้น.
    ในบทว่า สโตการี โหติ เป็นผู้ทำสตินี้ เพราะสติสัมปยุตด้วย<WBR>ญาณ<WBR>นั่นแล ท่านประสงค์เอาสติ.
    ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุประกอบด้วยสติและปัญญาอย่างยิ่ง ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ<SUP>๑๐-</SUP>. ฉะนั้น แม้ญาณ<WBR>ท่าน<WBR>ก็ถือเอาด้วยคำว่า สโต มีสติ.
    ____________________________
    <SUP>๑๐-</SUP> อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๕๔๓

    บทว่า อทฺธานสงฺขาเต คือ ในกาลที่นับยาว.
    ทางยาวท่านก็เรียกว่า อทฺธาโน. แม้กาลนี้ท่านก็<WBR>กล่าว<WBR>ว่า อทฺธาโน เพราะยาวดุจทางยาว แม้กล่าวลมอัสสาสะ และลมปัสสาต่างหากกันว่า อสฺสสติ หายใจเข้าบ้าง และ ปสฺสสติ หายใจออกบ้าง เพื่อแสดงความเป็นไปตามลำดับแห่งภาวนา ท่านจึงกล่าวย่ออีกว่า อสฺสสติ บ้าง ปสฺสสติ บ้าง.
    บทว่า ฉนฺโท อุปฺปชฺชติ ฉันทะย่อมเกิด คือฉันทะย่อมเกิดเพื่อความยิ่งๆ ขึ้นไปแห่งความเจริญยิ่งของภาวนา.
    บทว่า สุขุมตรํ ละเอียดกว่า ท่านกล่าวเพราะมีความสงบ.
    บทว่า ปามุชฺชํ อุปปชฺชติ ความปราโมทย์ย่อมเกิด คือปีติย่อมเกิด เพราะความบริบูรณ์แห่งภาวนา.
    บทว่า อสฺสาสปสฺสาสาปิ จิตฺตํ วิวฏฺฏติ จิตย่อมหลีกออกจากลมอัสสาสะปัสสาสะ คือเมื่อ<WBR>ปฏิ<WBR>ภาค<WBR>นิมิต<WBR>เกิด เพราะอาศัยลมอัสสาสะปัสสาสะ จิตย่อมตั้งอยู่คือในปฏิภาคนิมิตนั้น มัชฌัต<WBR>ตุ<WBR>เบก<WBR>ขา<WBR>อันเป็นอุปจาระและอัปปนา ย่อมตั้งอยู่ เพราะไม่มีความขนขวายในการตั้งไว้ซึ่งการบรรลุสมาธิ.
    บทว่า นวหากาเรหิ ด้วยอาการ ๙ อย่าง ได้แก่ อาการ ๙ อย่าง คืออาการ ๓ ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า อสฺสสติ บ้าง ปสฺสสติ บ้าง ก่อนแต่ฉันทะเกิด ตั้งแต่เริ่มภาวนา อาการ ๓ ก่อนความปราโมทย์เกิดตั้งแต่ฉันทะเกิด อาการ ๓ ตั้งแต่ความปราโมทย์เกิด.
    บทว่า กาโย กาย ชื่อว่ากาย เพราะประชุมลมอัสสาสะและปัสสาสะที่เป็นของละเอียดๆ ขึ้นไป. แม้นิมิตที่เกิดเพราะอาศัยลมอัสสาสะปกติปัสสาสะปกติ ก็ย่อมได้ชื่อว่าลมอัสสาสะปัสสาสะ.
    บทว่า อุปฏฺฐานํ สติ สติปรากฏ ชื่อว่าสติปรากฏ เพราะสติกำหนดอารมณ์นั้นตั้งอยู่.
    บทว่า อนุปสฺสนาญาณํ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ.
    ความว่า กายานุปัสสนาเป็นนิมิตด้วยสามารถสมถะอนุปัสสนา คือ นามกาย รูปกาย เป็นญาณด้วยสามารถวิปัสสนา.
    บทว่า กาโยอุปฏฺฐานํ กายปรากฏ คือชื่อว่าปรากฏ เพราะกายมีสติเข้าไปตั้งอยู่.
    บทว่า โน สติ ไม่ใช่สติ. ความว่า กายนั้นไม่ใช่สติ.
    บทว่า ตาย สติยา คือ สติที่กล่าวแล้วในบัดนี้.
    บทว่า เตน ญาเณน ด้วยญาณนั้น คือด้วยญาณที่กล่าวในบัดนี้เหมือนกัน.
    บทว่า ตํ กายํ อนุปสฺสติ พิจารณาเห็นกายนั้น คือไปตามกายตามที่กล่าวด้วยอำนาจแห่งสมถะและวิปัสสนา แล้วเห็นด้วยญาณสัมปยุตด้วยฌาน หรือด้วยวิปัสสนาญาน. แม้ในความไม่มีบทมี กาย เป็นต้น ในมาติกา ก็ควรกล่าวในบัดนี้เพราะจตุกะนี้ ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ด้วย<WBR>สามารถ<WBR>กายา<WBR>นุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นา ท่านชี้แจงบทแห่ง กาย หมายถึงคำว่า กาเย กายา<WBR>นุ<WBR>ปสฺ<WBR>ส<WBR>นา สติปฏฺ<WBR>ฐาน<WBR>ภาวนา สติ<WBR>ปัฏ<WBR>ฐาน<WBR>ภาวนา คือการพิจารณาเห็นภายในกาย.
    บทว่า กาเย กายานุปสฺสนา คือ การพิจารณาเห็นกายนั้นๆ ในกายหลายอย่าง.
    อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า การพิจารณาเห็นกายในกาย มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอื่น มิใช่พิจารณาเห็นความเที่ยงความเป็นสุขความงาม ในกายอันเป็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็น<WBR>อนัต<WBR>ตา<WBR>และไม่งาม โดยที่แท้การพิจารณาเห็นกายเท่านั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัต<WBR>ตาและไม่งาม.
    อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า การพิจารณาเห็นกายสักแต่ว่ากาย เพราะไม่เห็นใครๆ ที่ควรถือในกายว่า เรา ของเรา หญิงหรือชาย.
    แม้ใน ๓ บทมีอาทิว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสนา ข้างต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    สตินั้นแลปรากฏชื่อว่าสติปัฏฐาน สติปัฏฐานสัมปยุตด้วย<WBR>กายา<WBR>นุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นา ชื่อว่า<WBR>กายา<WBR>นุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นา<WBR>สติ<WBR>ปัฏ<WBR>ฐาน การเจริญกายานุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นา<WBR>สติ<WBR>ปัฏ<WBR>ฐาน<WBR>นั้น ชื่อว่ากายา<WBR>นุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นา<WBR>สติ<WBR>ปัฏ<WBR>ฐาน<WBR>ภาวนา.
    บทว่า ตํ กายํ ท่านกล่าวทำดุจว่าแสดงแล้วเพราะกายนั้น ท่านสงเคราะห์ด้วย กาย ศัพท์ ในนามกาย รูปกาย แม้ยังมิได้แสดงไว้ เพราะอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ย่อมได้ในนามกายและรูปกายนั่นเอง ไม่ได้ในกายนิมิต อนุปัสสนาและภาวนาย่อมได้เพราะท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ไว้แล้ว.
    บทมีอาทิว่า ทีฆํ อสฺสาสปสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจเข้า ลมหายใจออกยาว. ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>เพื่อแสดงถึงอานิสงส์แห่งอานาปานสติภาวนา เพราะความที่สติไพบูลย์และญาณไพบูลย์เป็นอานิสงส์อานาปานสติภานานั้น.
    บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตํ อวิกฺเขํป ปชานโต เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>หมายถึงความที่จิตมีอารมณ์เดียวในกาลเห็นแจ้งฌานที่ได้แล้ว.
    บทว่า วิทิตา เวทนา คือเวทนาซึ่งปรากฎด้วยเห็นการเกิดขึ้นจากความเป็นสามัญ.
    บทว่า วิทิตา อุปฏฺฐหนฺติ ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ คือปรากฏเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป โดยความสูญ.
    บทว่า วิทิตา อพฺภตฺถํ คจฺฉนฺติ ปรากฏถึงความดับไป คือปรากฏถึงความพินาศด้วยเห็นความเสื่อมโดยความเป็นสามัญ.
    อธิบายว่า ทำลาย.
    แม้ในสัญญาและวิตกก็มีนัยนี้เหมือนกัน
    อนึ่ง เมื่อท่านกล่าวเวทนา สัญญาและวิตก ๓ อย่างเหล่านี้ แม้รูปธรรมที่เหลือก็เป็นอันกล่าวไว้ด้วย เพราะเหตุไรจึงกล่าว ๓ อย่างเท่านั้น. เพราะกำหนดถือเอาได้ยาก สุขทุกข์ปรากฏในเวทนาก่อน แต่อุเบกขาสุขุม กำหนดถือเอาได้ยาก ไม่ปรากฏด้วยดี แม้อุเบกขาก็ยังไม่ปรากฏแก่ภิกษุนั้น. สัญญาคือเอาตามสภาวะ ไม่ปรากฏเพราะถือเอาเพียงอาการ.
    อนึ่ง สัญญานั้นสัมปยุตด้วยวิปัสสนาญาณถือเอาลักษณะเป็นสัญญาตามสภาวะไม่ปรากฏอย่างยิ่ง แม้<WBR>สัญญา<WBR>จะปรากฏแก่ภิกษุนั้น วิตกทำไว้<WBR>ต่าง<WBR>หาก<WBR>จาก<WBR>ญาณ เพราะเป็นญาณปฏิรูป จึงกำหนดถือเอายาก เพราะญาณปฏิรูปเป็นวิตก.
    สมดังที่<!--พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส-->ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโสวิสาขะ ธรรมคือสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะสงเคราะห์เข้าไปในปัญญาขันธ์.<SUP>๑๑-</SUP>
    ____________________________
    <SUP>๑๑-</SUP> ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๕๐๘

    แม้วิตกนั้นก็ปรากฏแก่ภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น เมื่อกล่าวถึงการกำหนดถือเอายากอย่างนี้ รูปธรรมที่เหลือก็เป็นอันกล่าวแล้วด้วย ในนิเทศแห่งบทเหล่านี้ ท่านถามว่า เวทนาปรากฏเกิดขึ้นอย่างไร ไม้แก้บทนั้นแก้เพียงปรากฏแห่งเวทนาที่เกิดขึ้น จึงเป็นอันแก้ความที่เวทนาปรากฏ เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กถํ เวทนาย อุปฺปาโท วิทิโต โหติ ความเกิดแห่งเวทนาปรากฏอย่างไร แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน
    บทมีอาทิว่า อวิชฺชาสมุทยา อวิชฺชานิโรธา เพราะอวิชชาเกิด เพราะอวิชชาดับ มีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
    แม้สัญญาและวิตกก็พึงทราบโดยนัยนี้แล.
    ในวิตักกวาระ ท่านมิได้กล่าวว่า เพราะผัสสะดับแล้วกล่าวในที่แห่งผัสสะว่า เพราะสัญญาเกิด เพราะสัญญาดับ.
    หากถามว่า ที่กล่าวดังนั้นเพราะเหตุไร.
    ตอบว่า เพราะวิตกมีสัญญาเป็นมูล เพราะท่านกล่าวไว้ว่า<SUP>๑๒-</SUP> ความต่างกันแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา.
    ____________________________
    <SUP>๑๒-</SUP> ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๔๖๑

    อนึ่ง ในบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง พึงประกอบธรรมนั้นๆ ในวาระนั้นๆ โดยนัยมีอาทิว่า เวทนํ อนิจฺจโต มนสิกโรโต เมื่อมนสิ<WBR>การ<WBR>เวทนาโดยความไม่เที่ยง ก็เพราะเวทนาสัมปยุตด้วย<WBR>วิปัส<WBR>ส<WBR>นา จึงไม่เป็นอุปการะแก่วิปัส<WBR>ส<WBR>นา เพราะไม่สามารถในการทำกิจแห่งวิปัสสนาได้ฉะนั้นนั่นเอง เวทนาจึงไม่มาใน<WBR>โพธิ<WBR>ปัก<WBR>ขิย<WBR>ธรรม กิจแห่งสัญญา<WBR>สัม<WBR>ป<WBR>ยุต<WBR>ด้วยวิปัสสนา จึงไม่คลาดเคลื่อน เพราะฉะนั้น สัญญานั้นจึงเป็นอุปการะส่วนเดียวของวิปัสสนา แต่กิจแห่งการเห็นแจ้งเว้นวิตกย่อมไม่มี เพราะวิปัสสนามีวิตกเป็นสหายย่อมทำกิจของตน.
    ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
    ปัญญาตามธรรมดาของตนย่อมไม่สามารถจะตัดสินอารมณ์ว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตาได้ แต่เมื่อวิตกกระทบแล้ว กระทบแล้วให้อารมณ์ จึงสามารถตัดสินได้ เหมือน<WBR>เหรัญ<WBR>ญิก<WBR>วาง<WBR>กหา<WBR>ป<WBR>ณะ<WBR>ไว้ที่มือ แม้ประสงค์จะตรวจดูในส่วนทั้งหมดก็ไม่สามารถจะพลิก<WBR>กลับ<WBR>ด้วย<WBR>สาย<WBR>ตา<WBR>ได้ แต่ครั้นเอานิ้ว<WBR>มือ<WBR>พลิก<WBR>กลับ<WBR>ไป<WBR>มา<WBR>ข้าง<WBR>โน้น<WBR>ข้าง<WBR>นี้ ก็สามารถตรวจดูได้ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตามธรรมดาของตนไม่สามารถวินิจฉัยอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้นได้ แต่สามารถวินิจฉัยอารมณ์อันวิตกมีการยกขึ้นเป็นลักษณะ มีการกระทบและการจดจ่อเป็นรสอันมาแล้วๆ ให้ได้ ดุจกระทบและพลิกกลับไปมาฉะนั้น.<SUP>๑๓-</SUP>
    ____________________________
    <SUP>๑๓-</SUP> วิสุทฺธิมคฺค. ๓/๑๐๔

    เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงเพียงลักษณะ เพราะเวทนาและสัญญาทั้งหลายเป็นอุปการะแก่วิปัสสนา ท่านจึงชี้แจงด้วยเอกวจนะในบทนั้นๆ เวทนาย สญฺญาย ดังนี้.
    บทว่า ทีฆํ อสฺสาสปสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าลมหายใจออกยาวเป็นอาทิ ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>เพื่อ<WBR>แสดง<WBR>ความถึงพร้อมแห่งอานาปานสติภาวนา และผลแห่งภาวนา.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า สโมธาเนติ ให้ประชุมลง.
    ความว่า ตั้งไว้ซึ่งอารมณ์หรือยังอารมณ์ให้ตั้งไว้ ชื่อว่าบุคคลย่อมตั้งอารมณ์ เพื่อความบริบูรณ์แห่งภาวนา แม้ในความไม่มีความตั้งมั่นและความขวนขวาย.
    บทว่า โคจรํ อารมณ์ คือสังขารเป็นอารมณ์ในขณะแห่งวิปัสสนาและนิพพานเป็นอารมณ์ในขณะแห่งมรรคและขณะแห่งผล.
    บทว่า สมตฺถํ คือ ความสงบเป็นประโยชน์ หรือชื่อว่า สมตฺโถ เพราะประโยชน์ของความสงบ ซึ่งธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์นั้น.
    แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    บทว่า มคฺคํ สโมธาเนติ ยังมรรคให้ประชุมลง คือนิพพานนั่นเองเป็นโคจรในขณะมรรคและผล.
    บทว่า อยํ ปุคฺคโล บุคคลนี้ คือพระโยคาวจรผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งอานาปานสติภาวนา.
    ในบทว่า อิมสฺมึ อารมฺมเณ ในอารมณ์นี้ คือในอารมณ์อันเป็นสังขตะ กล่าวคือนามกาย รูปกายที่ท่านสงเคราะห์ ด้วยบทว่า กาเย และในนิพพานเป็นอารมณ์อันเป็นมรรคโดยลำดับนั้น.
    ท่านกล่าวศัพท์ว่า อารัมมณะและโคจร มีความอันเดียวกันด้วยบทว่า ยนฺตสฺส เป็นอาทิ.
    บทว่า ตสฺส คือ แห่งบุคคลนั้น.
    บทว่า ปชานาตีติ ปุคฺคโล ปชานนา ปญฺญา ท่านอธิบายว่า บุคคลย่อมรู้ด้วยปัญญา.
    บทว่า อารมฺมณสฺส อุปฏฺฐานํ ความปรากฏซึ่งอารมณ์ คือสติเป็นความปรากฏแห่งสังขารเป็นอารมณ์ในขณะแห่งวิปัสสนาและนิพพานเป็นอารมณ์ในขณะแห่งมรรคผล.
    ในบทที่เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในกรรม (ทุติยาวิภัตติ) เหมือนกล่าวว่าบำรุงซึ่งพระราชา.
    บทว่า อวิกฺเขโป ความไม่ฟุ้งซ่าน คือสมาธิ.
    บทว่า อธิฏฺฐานํ ความตั้งมั่น คือมีสังขารตามที่กล่าวแล้วเป็นอารมณ์และมีนิพพานเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อธิฏฺฐานํ เพราะอารมณ์มีจิตตั้งมั่น.
    บทว่า โวทานํ ความ<WBR>ผ่อง<WBR>แผ้ว คือ ญาณชื่อว่า โวทานํ เพราะอารมณ์เป็นเหตุ<WBR>ให้<WBR>จิต<WBR>ผ่อง<WBR>แผ้ว<WBR>บริสุทธิ์.
    สมาธิอันเป็นฝ่ายหดหู่ ชื่อว่าสงบ เพราะเป็นความสงบด้วยการถึงความไม่หดหู่. ญาณอันเป็นฝ่ายฟุ้งซ่านชื่อว่าสงบ เพราะเป็นความสงบด้วยภาวะความไม่<WBR>ฟุ้ง<WBR>ซ่าน ด้วยเหตุนั้นเป็นอันท่านกล่าวถึงความที่สมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมเทียมคู่ ในขณะแห่งวิปัสสนามรรคและผล แต่สติชื่อว่าสงบ เพราะอุปการะแก่ความสงบทั้งสองนั้น เพราะมีประโยชน์ทั้งหมด อารมณ์ชื่อว่าสงบเพราะตั้งมั่นด้วยสมถะ.
    บทว่า อนวชฺชฏฺโฐ ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ คือสภาวะแห่งวิปัสสนาไม่มีโทษ.
    บทว่า นิกฺกิเลสฏฺโฐ ธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ คือสภาวะแห่งมรรคไม่มีกิเลส.
    บทว่า โวทานฏฺโฐ ธรรมมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ คือสภาวะแห่งผลบริสุทธิ์.
    บทว่า ปรมฏฺโธ ธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ คือสภาวะแห่งนิพพานเป็นธรรมสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง.
    บทว่า ปฏิวิชฺฌติ ย่อมแทงตลอด คือแทงตลอดสภาวะนั้นๆ โดยความไม่หลง.
    ในบทนี้ท่านกล่าวถึงการแทงตลอดโดยฃอบด้วยบทมีอาทิว่า อารมฺมณสฺส อุปฏฺฐานํ ปรากฏซึ่งอารมณ์.
    อนึ่ง ในบทนี้นั่นแหละ เพราะท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ถึง<WBR>การ<WBR>แทง<WBR>ตลอด<WBR>ธรรม<WBR>อันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ จึงเป็นอันกล่าวถึงธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ และธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ มีลักษณะอย่างเดียวกัน.
    ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
    ธรรมเครื่องนำไปมีลักษณะดังที่ท่านกล่าวว่า
    เมื่อกล่าวถึงธรรมอย่างเดียวกัน เป็นอันกล่าวถึงธรรม
    บางอย่างทั้งหมดที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน.
    อนึ่ง ในบทนี้ว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอันไม่เศร้าหมองเป็นประโยชน์ ชื่อว่าเป็นธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ เพราะเป็นประโยชน์<WBR>ของ<WBR>ความ<WBR>สงบ<WBR>กล่าว<WBR>คือ<WBR>ความ<WBR>ไม่<WBR>ฟุ้ง<WBR>ซ่าน ธรรมอันผ่องแผ้ว เป็นประโยชน์ ชื่อว่าเป็นธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ เพราะความสงบนั่นแหละหมายถึงความผ่องแผ้วแห่งมรรควิปัสสนาเป็นประโยชน์. ชื่อว่าเป็นธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ เพราะประโยชน์แห่งความสงบ<WBR>กล่าว<WBR>คือ<WBR>ความผ่องแผ้วแห่งมรรค หมายถึงความผ่องแผ้วแห่งผล.
    ส่วนธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ เป็นธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ เพราะมีความสงบนั่นแลเป็นประโยชน์ หรือเพราะเป็นประโยชน์แห่งความสงบทั้งหมด เพราะประกอบด้วยนิพพาน ความสงบและธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์มีประการดังกล่าวแล้วนั้น ท่านทำให้เป็นเอกเสสสมาสสรุปเป็นประโยชน์.
    ธรรม คือ อินทรีย์ พละและโพชฌงค์ย่อมได้แม้ในขณะแห่งวิปัสสนามรรคและผล.
    มรรคและวิสุทธิ ๓ ย่อมได้ในขณะมรรคผลนั่นเอง. วิโมกข์วิชชาและความรู้ในความสิ้นไปย่อมได้ในขณะมรรคนั่นเอง. วิมุตติและความรู้ในการไม่เกิด ย่อมได้ในขณะผลนั่นเอง. ที่เหลือย่อมได้แม้ในขณะแห่งวิปัสสนา.
    พึงทราบวินิจฉัยในธรรมวารดังต่อไปนี้
    บทว่า อิเม ธมฺเม อิมสฺมึ อารมฺมเณ สโมธาเนติ ยังธรรมเหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้
    พึงทราบธรรมที่เหลือตามความประกอบเว้นนิพพาน.
    ท่านกล่าวบทนี้ด้วยสามารถเป็นเยภุยนัย (เป็นส่วนมาก).
    อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวอรรถที่ยังไม่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
    แม้เมื่อท่านแสดงธรรมเป็นเครื่องนำออกด้วยจตุกะหนึ่งๆ ก็เป็นอันแสดงถึงธรรมเป็นเครื่องนำออกโดยส่วนหนึ่งๆ เพราะความที่ส่วนแม้หนึ่งๆ มีการหยั่งลงไปในที่สุดแห่งจตุกะเป็นอุปนิสัยแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออก เพราะเว้นส่วนหนึ่งๆ เสียไม่เป็นการนำออก. <CENTER> จบอรรถกถาแสดงลมหายใจเข้าและหายใจออกยาว </CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2011
  8. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค</BIG> <CENTER class=D>๓. อานาปาณกถา</CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๕ / ๕.
    พึงทราบวินิจฉัยในรัสสนิเทศดังต่อไปนี้.
    บทว่า วิตฺตรสงฺขาเต ในขณะที่นับได้นิดหน่อย คือในกาลที่นับได้เล็กน้อย.
    บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในนิเทศนี้.
    พึงทราบวินิจฉัยในสัพพกายปฏิสังเวทินิเทศดังต่อไปนี้.
    เพื่อถือเอาความสุขเพราะเวทนาในอรูปธรรมหยาบ ท่านจึงกล่าวถึงเวทนาเสวยอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ก่อน แต่นั้นกล่าวถึงสัญญาถือเอาอาการแห่งอารมณ์ของเวทนา<WBR>อย่าง<WBR>นี้<WBR>ว่า บุคคลย่อมรู้พร้อมถึงเวทนาที่เสวย แต่นั้นกล่าวถึงเจตนาอันเป็น<WBR>อภิสัง<WBR>ขาร<WBR>ด้วยอำนาจแห่งสัญญา แต่นั้นกล่าวถึงผัสสะ เพราะบาลีว่า<SUP>๑-</SUP> สัมผัสแล้วย่อมเสวยอารมณ์ สัมผัสแล้วย่อมรู้เวทนา สัมผัสแล้วย่อมคิดถึงเวทนา แต่นั้นกล่าวถึงมนสิการอันมีลักษณะทั่วไปแห่งเวทนาทั้งปวง กล่าวถึงสังขารขันธ์ด้วยเจตนาเป็นต้น เมื่อท่านกล่าวถึงขันธ์ ๓ อย่าง อย่างนี้เป็นอันกล่าวถึงวิญญาณขันธ์อาศัยขันธ์นั้น.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> สํ. ข. เล่ม ๑๘/ข้อ ๑๒๖

    บทว่า นามญฺจ ได้แก่ นามมีประการดังกล่าวแล้ว.
    บทว่า นามกาโย จ นี้ ท่านกล่าวเพื่อนำนามนั้นออก เพราะท่านสงเคราะห์นิพพานเข้าโดยนาม และเพราะโลกุตรธรรมไม่เข้าถึงวิปัสสนาเป็นอันท่านนำเอานิพพานออกด้วยคำว่า กาโย เพราะนิพพานพ้นจากกอง.
    บทว่า เย จ วุจฺจนฺติ จิตฺตสงฺขารา ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>จิตต<WBR>สังขารว่าเป็นนามกาย คือท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า<WBR>จิตต<WBR>สังขาร แม้กล่าวอย่างนี้ว่า<SUP>๒-</SUP> สัญญาและเวทนาเป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ก็สงเคราะห์เข้าด้วยนามกายในที่นี้.
    ____________________________
    <SUP>๒-</SUP> ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๑๐

    บทว่า มหาภูตา มหาภูตรูปชื่อว่ามหาภูตา เพราะเป็นใหญ่โดยความปรากฏใหม่ โดยความสามัญเป็นของใหญ่ โดยบริหารใหญ่ โดยผิดปกติใหญ่.
    มหาภูตรูปมี ๔ อย่าง คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย.
    บทว่า จตุนฺนญฺจ มหาภูตานํ อุปาทายรูปํ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ ความว่า รูปที่ยังไม่ละยังเป็นไป เพราะอาศัยซึ่งมหาภูตรูป ๔. ก็อุปาทายรูปนั้นมี ๒๔ อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส หญิง ชาย ชีวิต หทัยวัตถุ โอชะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาศธาตุ รูปเบา อ่อน ควรแก่การงาน การสะสม การสืบต่อ ความคร่ำคร่า ความไม่เที่ยง.
    บทว่า อสฺสาโส จ ปสฺสาโส จ คือ ลมอัสสาสะปัสสาสะตามปกตินั่นเอง. แม้ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นเพราะอาศัยลมอัสสาสะปัสสาสะก็ได้ชื่อนั้น ดุจปฐวีกสิณเป็นต้น.
    อนึ่ง เพราะเห็นคล้ายรูปปฏิภาคนิมิต จึงได้ชื่อว่ารูป ดุจในประโยคมีอาทิว่า เห็นรูปในภายนอก.<SUP>๓-</SUP>
    ____________________________
    <SUP>๓-</SUP> อภิ. สงฺ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๑๗๘

    บทว่า นิมิตฺตญฺจ อุปนิพนฺธนา คือ ที่สัมฝัสลม<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัสสา<WBR>สะ<WBR>เป็นนิมิตแห่งการเนื่องกันด้วยสติ.
    บทว่า เย จ วุจฺจนฺติ กายสงฺขารา ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>กาย<WBR>สังขารว่าเป็นรูปกาย คือท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า กายสังขารแม้กล่าวอย่างนี้ว่า ลมอัสสาสะปัสสาสะเป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร<SUP>๔-</SUP> ก็สงเคราะห์เข้าด้วยรูปกายในที่นี้.
    ____________________________
    <SUP>๔-</SUP> ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๐๖

    บทว่า เต กายา ปฏิวิทิตา โหนฺติ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ คือกายมีลมอัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัสสา<WBR>สะ<WBR>เป็นนิมิต ในขณะแห่งฌาน กายมีรูปและไม่มีรูปที่เหลือในขณะแห่งวิปัสสนาย่อมปรากฏโดยอารมณ์ ในขณะแห่งมรรคย่อมปรากฏโดยความไม่หลง.
    ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า ทีฆํ อสฺสาสปญฺญาสวเสน ด้วยสามารถแห่งลมอัสสาสะปัสสาสะยาวหมายถึง แม้ในวิปัสสนามรรคเกิดขึ้นแล้วแก่พระโยคาวจรผู้ได้ฌานด้วยสามารถแห่งลมอัสสาสะปัสสาสะ.
    บทมีอาทิว่า อาวชฺชโต ปชานโต เมื่อคำนึงถึง เมื่อรู้มีความดังได้กล่าวแล้วในศีลกถา. ท่านทำกายทั้งหลายมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านั้นไว้ในภายในแล้วกล่าวว่า สพฺพกายปฏิสํเวที เป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง.
    ในบทมีอาทิว่า สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสาสปญฺญานํ สํวรฏฺเฐน ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง ระวังลมหายใจเข้าลมหายใจออก พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    ความสำรวมในฌานวิปัสสนามรรคอันเกิดขึ้นแล้ว แต่ลม<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัสสา<WBR>สะ<WBR>ดัง<WBR>ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า สพฺพกายปฏิสํเวที เป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง เป็นศีลวิสุทธิด้วยอรรถว่าระวัง ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นจิตวิสุทธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญานั่นแลเป็นทิฏฐิวิสุทธิด้วยอรรถว่าเห็น เพียงความไม่มีบาป แม้ในความไม่มีวิรัติในฌานและวิปัสสนาก็พึงทราบว่าชื่อว่าสำรวม.
    พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งบทมีอาทิว่า ปสฺสมฺภยํ ระงับ ดังต่อไปนี้.
    บทว่า กายิกา เป็นไปทางกาย คือ มีในรูปกาย.
    บทว่า กายปฏิพทฺธา คือ เนื่องด้วยกาย อาศัยกาย. เมื่อกายมี ลม<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัสสา<WBR>สะ<WBR>ก็มี เมื่อกายไม่มี ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ลมอัสสาสะปัสสาสะจึงชื่อว่ากายสังขาร เพราะลมอัสสาสะปัสสาสะเหล่านั้นปรุงขึ้นด้วยกาย.
    บทว่า ปสฺสมฺเภนโต ระงับ คือให้ดับให้สงบ. ความระงับกายสังขารอย่างหยาบ สำเร็จด้วยคำว่า ปสฺสมฺภน.
    บทว่า นิโรเธนฺโต ดับ คือดับด้วยไม่ให้กายสังขารอย่างหยาบเกิดขึ้น.
    บทว่า วูปสเมนฺโต สงบ คือนำความสงบโดยนัยแห่งการแปรปรวนสันตติอย่างหนึ่งในกายสังขารอย่างหยาบนั่นแล.
    บทว่า สิกฺขติ ย่อมเชื่อมความว่า ย่อมศึกษาว่า เราจักหายใจเข้าด้วยสามารถแห่งอธิการ (หน้าที่) หรือย่อมศึกษาไตรสิกขา.
    บัดนี้เพื่อแสดงถึงความระงับกายสังขารอย่างหยาบ ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถารูเปหิ เพราะกายสังขารเห็นปานใด.
    บทว่า อานมนา ความอ่อนไป คืออ่อนไปข้างหลัง.
    บทว่า วินมนา ความน้อมไป คือน้อมไปทั้งสองข้าง.
    บทว่า สนฺนมนา ความเอนไป คือเอนไปเป็นอย่างดีของกายสังขารที่เอนไปแม้โดยข้างทั้งปวง.
    บทว่า ปณมนา ความโอนไป คือโอนไปข้างหน้า.
    บทว่า อิญฺชนา ความหวั่นไหว คือสั่นไป.
    บทว่า ผนฺทนา ความดิ้นรน คือส่ายไปนิดหน่อย.
    บทว่า ปกมฺปนา ความโยก คือโคลงไปมามาก.
    พึงทำการเชื่อมว่า ความอ่อนไป ฯลฯ ความโยกกายด้วยกายสังขารเห็นปานใด ระงับกายสังขารเห็นปานนั้น และความอ่อนไป ฯลฯ ความโยกใดแห่งกาย ระงับความอ่อนไปเป็นต้นนั้น เพราะเมื่อการสังขารระงับ ก็เป็นอันระงับความอ่อนไปเป็นต้นของกาย.
    พึงทราบโดยการเชื่อมความว่า กายไม่มีการน้อมไปเป็นต้น ด้วยกายสังขารเห็นปานใด ระงับกายสังขารแม้ละเอียดสุขุมเห็นปานนั้นได้. กายไม่มีการน้อมไปเป็นต้นใด ระงับกายสังขารอันละเอียดสุขุมนั้นได้.
    บทว่า สนฺตํ สุขุมํ ละเอียดสุขุมนี้เป็นภาวนปุงสกะ (เป็นนปุงสกลิงค์) ในบทว่า อิติ กิร นี้
    บทว่า อิติ มาในความว่า เอวํ อย่างนี้.
    บทว่า กิร มาในความว่า ยทิ ผิว่า คือ ผิว่า เล่าลือกันมาว่า ภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจักระงับลมอัสสาสะปัสสาสะแม้สุขุมอย่างนี้ หายใจเข้าและหายใจออก ดังนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กิร ท่านอธิบายว่า เพราะเป็นคำเล่าลือ จึงควรลงในอรรถว่าไม่น่าเชื่อ ไม่น่าอดกลั้น และคนอื่นเขาพูดมา เราจึงไม่เชื่อ ไม่อดกลั้น ไม่ประจักษ์แก่เราว่า ภิกษุย่อมศึกษาความระงับกายสังขารแม้สุขุมด้วยประการฉะนี้ ดังนี้.
    บทว่า เอวํ สนฺเต เมื่อเป็นอย่างนี้ คือเมื่อระงับกายสังขารอันสุขุมอย่างนี้มีอยู่.
    บทว่า จาตูปลทฺธิยา จ ปภาวนา น โหติ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ คือได้ลม<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัสสา<WBR>สะ.
    บทว่า อุปลทฺธิ ความได้ คือความรู้สึก. ความว่า ความรู้สึกในการภาวนาอันมีลมอัสสาสะปัสสาสะนั้นเป็นอารมณ์ ซึ่งได้รับลม<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัสสา<WBR>สะ<WBR>มาย่อมไม่ปรากฏคือไม่เกิด อารมณ์นั้นไม่มีภาวนา.
    บทว่า อสฺสาสปสฺสาสานญฺจ ปภาวนา น โหติ ลมอัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ. ความว่า เพราะดับลม<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัสสา<WBR>สะแม้สุขุมด้วยภาวนา ลม<WBR>อัสสา<WBR>สะ<WBR>ปัสสา<WBR>สะ<WBR>เหล่านั้นก็ไม่เกิด ไม่ปรากฏ.
    บทว่า อานาปานสติยา จ ปภาวนา น โหติ อานาปานสติก็ไม่ปรากฏ คือสติสัมปยุตด้วยความรู้สึกในภาวนา อันมีอานาปานสตินั้นเป็นอารมณ์ เพราะไม่มีลมอัสสาสะปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น การเจริญอานาปานสติสมาธิอันสัมปยุตด้วยความรู้สึกในภาวนานั้นย่อมไม่มี.
    บทว่า จ นํ ในบทนี้ว่า น จ นํ ตํ เป็นเพียงนิบาตดุจในบทว่า ภิกฺขุ จ นํ เป็นอาทิ.
    เชื่อมความว่า บัณฑิตทั้งหลายจะเข้าสมาบัติอย่างที่กล่าวแล้วนั้นก็หามิได้ แม้จะออกจากสมาบัตินั้น ก็หามิได้.
    บทว่า อิติ กิร คือ ด้วยประการอย่างนี้ โดยเป็นถ้อยคำของฝ่ายเล่าลือ.
    พึงเห็นว่า กิร ศัพท์ในบทนี้ลงในอรรถว่า ด้วยประการอย่างนี้.
    บทว่า เอวํ สนฺเต คือ เมื่อความระงับมีอยู่อย่างนี้.
    บทว่า ยถา กตํ วิย ข้อนั้นเหมือนอะไร คือถามความเปรียบเทียบว่า ข้อนั้นเหมือนวิธีที่กล่าวไว้อย่างไร ท่านแสดงความเปรียบเทียบนั้น ด้วยบทว่า เสยฺยถาปิ เหมือนอย่างว่า.
    บทว่า กํเส กังสดาล คือภาชนะทำด้วยโลหะ.
    บทว่า นิมิตฺตํ คือ อาการแห่งเสียงเหล่านั้น.
    อนึ่ง บทว่า นิมิตฺตํ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ. ความว่า แห่งนิมิต นิมิตแห่งเสียงไมใช่อื่นจากเสียง.
    บทว่า สุคฺคหิตตฺตา คือ เพราะถือเอาด้วยดี.
    บทว่า สุมนสิกตตฺตา คือ เพราะนึกด้วยดี.
    บทว่า สุปธาริตตฺตา เพราะทรงจำไว้ด้วยดี คือตั้งไว้ในจิตด้วยดี.
    บทว่า สุขุมสทฺทนิมิตฺตารมฺมณตฺตาปิ แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ คือเพราะเสียงแม้ค่อยในกาลนั้นดับไป จิตแม้มีนิมิตแห่งเสียงเป็นอารมณ์ค่อยกว่าย่อมเป็นได้ เพราะทำนิมิตแห่งเสียงค่อยกว่า แม้ไม่เป็นอารมณ์แห่งนิมิตเสียงตามที่หมายไว้.
    อีกอย่างหนึ่ง แม้เพราะความเป็นนิมิตแห่งเสียงค่อยกว่าเป็นอารมณ์.
    พึงทราบความแม้ในอัปปนาโดยนัยนี้แล.
    ในบทมีอาทิว่า ปสฺสมฺภยํ พึงทราบการประกอบว่า ลมอัสสาสะปัสสาสะ ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า ระงับกายสังขาร คือกาย หรือลมอัสสาสะปัสสาสะ ในบทนี้ว่า ระงับกายสังขาร คือกาย.
    เมื่อพระโยคาวจรมีความคิดคำนึงว่า เมื่อกายสังขารแม้ระงับไปด้วยภาวนาวิสุท<WBR>ธิ (ความ<WBR>หมด<WBR>จด<WBR>แห่งภาวนา) เราจะระงับกายสังขารอย่างหยาบ ดังนี้ ชื่อว่าระงับอย่างยิ่ง ด้วยความเอาใจใส่นั้น ความหายใจอย่างสุขุมก็ยังไม่ปรากฏ.
    บทว่า อฏฺฐ อนุปสฺสเน ญาณานิ ญาณในการพิจารณา ๘ ได้แก่อุปัฏ<WBR>ฐา<WBR>นา<WBR>นุ<WBR>สติ ๘ คือ เมื่อกล่าววัตถุ ๔ ว่า เป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงยาวสั้น ระงับกายสังขารด้วยอำนาจลมอัสสาสะ ๔ ด้วยอำนาจลมปัสสาสะ ๔.
    บทว่า อฏฺฐ จ อุปฏฺฐานานุสฺสติโย อนุสติที่ปรากฏ ๘ ได้แก่อุปัฏ<WBR>ฐา<WBR>นา<WBR>นุ<WBR>สติ ๘ คือ เมื่อท่านกล่าวถึงวัตถุ ๔ โดยนัยมีอาทิว่า<SUP>๕-</SUP> เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่นด้วยอำนาจแห่งลมอัสสาสะ ๔ ด้วยอำนาจแห่งลมปัสสาสะ ๔.
    ____________________________
    <SUP>๕-</SUP> ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๐๔

    บทว่า จตฺตาริ สุตฺตนฺติกวตฺถูนิ เรื่องอันมีมาในพระสูตร ๔ คือสุตตันติกวัตถุ ๔ ด้วยสามารถแห่งจตุกะที่ ๑ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในอานาปานสติสูตร.<SUP>๖-</SUP>
    ____________________________

    <SUP>๖-</SUP> ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๒๘๒ <CENTER>จบอรรถกถาปฐมจตุกนิเทศ
    จบภาณวาร </CENTER>
    พึงทราบวินิจฉัยในปีติปฏิสังเวทินิเทศแห่งจตุกะที่ ๒ ดังต่อไปนี้.
    ในบทว่า อุปฺปชฺชติ ปีติปามุชฺชํ ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดนี้.
    บทว่า ปีติ เป็นมูลบท.
    บทว่า ปามุชฺชํ เป็นบทขยายความ คือความปราโมทย์.
    ในบทมีอาทิว่า ยา ปีติ ปามุชฺชํ ท่านกล่าวว่า ปีติย่อมได้ชื่อมีอาทิอย่างนี้ว่าปีติและปราโมทย์.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า ปีติ เป็นบทแสดงสภาวะ. ความเป็นแห่งความปราโมทย์ ชื่อว่า ปามุชชํ. อาการแห่งความเบิกบาน ชื่อว่า อาโมทนา. อาการแห่งความบันเทิง ชื่อว่า ปโมทนา.
    อีกอย่างหนึ่ง การทำเภสัช น้ำมัน หรือน้ำร้อนน้ำเย็นให้รวมเป็นอันเดียวกัน ท่านเรียกว่าโมทนา ฉันใด แม้ด้วยการทำธรรมทั้งหลายให้รวมเป็นอันเดียวกันก็เรียกว่าโมทนา ฉันนั้น. ท่านกล่าวว่า อาโมทนา ปโมทนา เพราะเพิ่มบทอุปสรรคลงไป.
    ชื่อว่า หาโส เพราะอรรถว่าความหรรษา. ชื่อว่า ปหาโส เพราะอรรถว่าความรื่นเริง.
    บทนี้เป็นชื่อของความหรรษาร่าเริง.
    ชื่อว่า วิตฺติ เพราะความปลื้มใจ. บทนี้เป็นชื่อของทรัพย์.
    อนึ่ง ชื่อว่า วิตฺติ เพราะเป็นปัจจัยแห่งโสมนัส เพราะทำให้เกิดความสบายใจ. เหมือนอย่างว่า ความโสมนัสย่อมเกิดแก่คนมีทรัพย์ เพราะอาศัยทรัพย์ฉันใด ความโสมนัสย่อมเกิดแม้แก่คนมีปีติ เพราะอาศัยปีติฉันนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิตฺติ ความปลื้มใจ.
    จริงอยู่ บทนี้เป็นชื่อของปีติอันดำรงสภาวะแห่งความยินดีไว้.
    อนึ่ง บุคคลผู้มีปีติท่านเรียกว่า อุทคฺโค ผู้ยินดี เพราะเป็นผู้มีกายและใจสูง สูงยิ่ง. ส่วนแห่งความเป็นผู้มีใจสูง ชื่อว่า โอทคฺยํ. ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า อตตฺมนตา ความดีใจ.
    จริงอยู่ ใจของผู้ไม่ยินดี เพราะมีทุกข์เป็นเหตุ ไม่ชื่อว่ามีใจของตน. ใจของผู้ยินดี เพราะสุขเป็นเหตุ ชื่อว่ามีใจของตน. ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า อตฺตมนตา ด้วยประการฉะนี้.
    อนึ่ง เพราะความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ไม่ใช่ของใครๆ อื่น ความเป็นแห่งจิตนั่นแล ชื่อว่าเจตสิกธรรม ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อตฺตมนตา จิตฺตสฺส ความมีจิตเป็นของตน.
    บทที่เหลือพึงทราบประกอบโดยนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในที่นี้ ในตอนก่อนและตอนหลัง.
    พึงทราบวินิจฉัยใน สุขปฏิสํเวทินิเทศ ดังต่อไปนี้.
    บทว่า เทฺว สุขานิ สุขมี ๒ อย่าง ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงภูมิของสมถะและวิปัสสนา. เพราะกายิกสุข (สุขทางกาย) เป็นภูมิของวิปัสสนา. เจตสิกสุข (สุขทางใจ) เป็นภูมิของสมถะและวิปัสสนา.
    บทว่า กายิกํ กายิกสุข ชื่อว่า กายิกํ เพราะประกอบแล้วในกายโดยเกิดขึ้นตามลำดับเว้นปสาทกาย.
    บทว่า เจตสิกํ เจตสิกสุข ชื่อว่าเจตสิก เพราะประกอบไว้ในใจโดยไม่พรากไป.
    ในสองบทนั้นปฏิเสธเจตสิกสุข ด้วยบทว่า กายิก. ปฏิเสธกายิกทุกข์ ด้วยบทว่า สุข.
    อนึ่ง ปฏิเสธกายิกสุข ด้วยบทว่า เจตสิก. ปฏิเสธเจตสิกทุกข์ ด้วยบทว่า สุข.
    บทว่า สตํ ความสำราญ คือความหวาน หวานด้วยดี.
    บทว่า สุขํ คือ สุขนั่นเอง มิใช่ทุกข์.
    บทว่า กายสมฺผสฺสชํ คือ เกิดในกายสัมผัส.
    บทว่า สาตํ สุขํ เวทยิตํ ความสุขที่ได้เสวยเป็นความสำราญ คือความสุขที่ได้เสวยเป็นความสำราญที่ไม่ได้เสวยไม่เป็นความสำราญ ความสุขที่ได้เสวย มิใช่ความ<WBR>ทุกข์<WBR>ที่<WBR>ได้<WBR>เสวย ๓ บทต่อไป ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ด้วย<WBR>เป็นอิตถีลิงค์. ความในบทนี้มีว่า สาตา เวทนา น อสาตา สุข เวทนา น ทุกฺขา สุขเวทนาเป็นความสำราญ มิใช่ความไม่สำราญ เวทนาเป็นสุข มิใช่เป็นทุกข์.
    พึงประกอบเจตสิกสุขนิเทศ โดยนัยตรงข้ามกับที่ท่านกล่าวแล้ว.
    บทว่า เต สุขา สุขเหล่านั้นเป็นลิงควิปลาส. ท่านกล่าวว่า ตานิ สุขานิ.
    บทที่เหลือในนิเทศนี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในปฐมจตุกะหลังในจตุกะ

    พึงทราบสุตตันติกวัตถุ (เรื่องอันมีในพระสูตร) ด้วยอำนาจแห่งทุติยจตุกะ. <CENTER>จบอรรถกถาทุติยจตุกนิเทศ
    จบภาณวาร </CENTER>
    พึงทราบวินิจฉัยในตติยจตุกนิเทศดังต่อไปนี้.
    บทว่า จิตฺตํ เป็นมูลบท.
    บทว่า วิญฺญาณํ เป็นบทขยายความ.
    บทมีอาทิว่า ยํ จิตฺตํ จิตใด.
    พึงประกอบโดยนัยดังกล่าวแล้วในปีติ.
    ในบทมีอาทิว่า จิตฺตํ นั้น ชื่อว่า จิตฺตํ เพราะวิจิตรด้วยจิต. ชื่อว่า มโน เพราะรู้กำหนดอารมณ์.
    บทว่า มานสํ คือ ใจนั่นเอง. ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ธรรม<WBR>อัน<WBR>สัม<WBR>ป<WBR>ยุต<WBR>แล้ว<WBR>ว่า มานโส ในบทนี้ว่า บ่วงใดมีใจเที่ยวไปในอากาศ<SUP>๑-</SUP> ดังนี้เป็นต้น.
    พระอรหัต ท่านกล่าว มานสํ ในบทนี้ว่า<SUP>๒-</SUP>
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปรากฏในหมู่ชน
    สาวกของพระองค์ยินดีในพระศาสนา ยังไม่ได้บรรลุ
    พระอรหัต ยังเป็นพระเสขะอยู่ ไฉนจะพึงทำกาละ
    เสียเล่า.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๔๕๙ <SUP>๒-</SUP> สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๔๙๐

    บทว่า หทยํ คือ จิต. อุระ ท่านกล่าวว่าหทัย ในบทมีอาทิว่า<SUP>๓-</SUP> เราจักทำจิตของท่านให้พลุ่งพล่าน หรือจัก<WBR>ฉีก<WBR>อก<WBR>ของ<WBR>ท่าน. ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า จิตในบทมีอาทิว่า<SUP>๔-</SUP> เห็นจะถากจิตจากจิตด้วยความไม่รู้. ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>หทย<WBR>วัตถุ ในบทว่า<SUP>๕-</SUP> ม้าม หทัย.
    ____________________________
    <SUP>๓-</SUP> สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๘๐๘ <SUP>๔-</SUP> ม. ม. เล่ม ๑๒/ข้อ ๗๒
    <SUP>๕-</SUP> ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๒๗๗

    แต่ในที่นี้ จิต ท่านกล่าวว่าหทัย เพราะอรรถว่าอยู่ภายใน.
    จิตนั้นชื่อว่า ปณฺฑรํ ขาว เพราะอรรถว่าบริสุทธิ์ ท่านกล่าวหมายถึงภวังคจิต.
    ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร แต่จิตนั้นถูกอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมาจึงเศร้าหมอง.
    อนึ่ง แม้จิตอกุศล ท่านก็กล่าวว่า ปัณฑระเหมือนกัน เพราะอกุศลออกจากจิตนั้นแล้ว ดุจแม่น้ำคงคาไหลออกจากแม่น้ำคงคา และดุจแม่น้ำโคธาวรี ไหลออกจากแม่น้ำโคธาวรีฉะนั้น.
    อนึ่ง เพราะจิตมีลักษณะรู้อารมณ์ จึงไม่เป็นกิเลสด้วยความเศร้าหมองโดยสภาวะเป็นจิตบริสุทธิ์ทีเดียว แต่เมื่อประกอบด้วยอุปกิเลสจิตจึงเศร้าหมอง แม้เพราะเหตุนั้นจึงควรเพื่อกล่าว่า ปัณฑระ (ขาวผ่อง).
    อนึ่ง การถือเอามโน ในบทนี้ว่า มโน มนายตนํ เพื่อแสดงถึงความเป็นอายตนะของใจ.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงถึงบทว่า มนายตนะ นี้ ว่ามิใช่ชื่อว่ามนายตนะ เพราะเป็นอายตนะของใจ ดุจเทวายตนะ (ที่อยู่ของเทวดา) ที่แท้ใจนั่นแหละเป็นอายตนะ จึงชื่อว่ามนายตนะ.
    อรรถแห่งอายตนะท่านกล่าวไว้ในหนหลังแล้ว.
    ชื่อว่า มโน เพราะรู้. ความว่า รู้แจ้ง.
    ส่วนพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่า มโน เพราะรู้แจ้งอารมณ์ ดุจดวงด้วยทะนานและดุจทรงชั่งด้วยเครื่องชั่งใหญ่.
    ชื่อว่า อินฺทฺริยํ เพราะทำประโยชน์ใหญ่ในลักษณะรู้. ใจนั่นแหละเป็นอินทรีย์ จึงชื่อว่ามนินทรีย์.
    ชื่อว่า วิญฺญาณํ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง. วิญญาณนั้นเป็นขันธ์ จึงชื่อว่าวิญญาณขันธ์.
    ท่านกล่าวว่า ขันธ์งอกขึ้น วิญญาณหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณขันธ์ด้วยอรรถว่าเป็นกอง.
    เพราะฉะนั้น ท่านกล่าวว่า บุคคลเมื่อตัดส่วนหนึ่งของต้นไม้ชื่อว่าตัดต้นไม้ฉันใด วิญญาณแม้หนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณขันธ์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านจึงกล่าวว่า วิญญาณ<WBR>ขันธ์<WBR>งอก<WBR>ขึ้น.
    อนึ่ง เพราะอรรถแห่งกอง มิใช่เป็นอรรถแห่งขันธ์ อรรถแห่งส่วนจึงเป็นอรรถแห่งขันธ์เท่านั้น ฉะนั้น จึงมีความว่า วิญฺญาณโกฏฺฐาโส ส่วนแห่งวิญญาณดังนี้บ้าง เพราะเป็นอรรถแห่งส่วน.
    บทว่า ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น คือมโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่สัมปยุตธรรมมีผัสสะเป็นต้นเหล่านั้น.
    จริงอยู่ ในบทนี้จิตดวงเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวโดย ๓ ชื่อคือชื่อว่า มโน เพราะอรรถว่านับ. ชื่อว่า วิญฺญาณํ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง. ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่าเป็นสภาวะ หรือเพราะอรรถว่ามิใช่สัตว์.
    บทว่า อภิปฺปโมโท ความเบิกบาน คือความยินดียิ่ง.
    พึงทราบวินิจฉัยในสมาธินิเทศดังต่อไปนี้.
    ชื่อว่า ฐีติ ความตั้งอยู่ เพราะตั้งอยู่ในอารมณ์โดยความไม่หวั่นไหว.
    สองบทต่อไปเพิ่มอุปสรรคเข้า ชื่อว่า สณฺฐิติ ความตั้งอยู่ดี เพราะประมวลสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้ด้วยอารมณ์แล้วตั้งอยู่ ชื่อว่า อวฏฺฐิติ ความตั้งมั่นเพราะเข้าไปเหนี่ยวอารมณ์ตั้งอยู่.
    ธรรม ๔ อย่างในฝ่ายกุศลคือ ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา ย่อมเหนี่ยวอารมณ์ไว้. ด้วยเหตุนั้นศรัทธาท่านจึงกล่าวว่า โอกปฺปนา ความเชื่อถือ. สติท่านกล่าวว่า อปิลาปนตา ความไม่ใจลอย. สมาธิท่านกล่าวว่า อวฏฺฐิติ ความตั้งมั่น. ปัญญาท่านกล่าวว่า ปริโยคาหนา การหยั่งลง.
    ส่วนธรรม ๓ อย่างในฝ่ายอกุศล คือ ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชา ย่อมเหนี่ยวอารมณ์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวธรรมเหล่านั้นว่า โอฆะ ห้วง.
    ชื่อว่า อวิสาหาโร ความไม่กวัดแกว่ง เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความกวัดแกว่งอันเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งอุทธัจจะและวิจิกิจฉา. จิตไปด้วยอำนาจแห่งความฟุ้งซ่านและความสงสัย ชื่อว่าย่อมฟุ้งซ่าน. สมาธินี้ไม่เป็นอย่างนั้น จึงชื่อว่า อวิกฺเขโป ความไม่ฟุ้งซ่าน.
    จิตชื่อว่ากวัดแกว่งด้วยอำนาจแห่งอุทธัจจะและวิจิกิจฉา ย่อมส่ายไปข้างโน้นข้างนี้. แต่สมาธินี้มีใจไม่กวัดแกว่ง.
    บทว่า สมโถ ความสงบ ได้แก่ ความสงบ ๓ อย่าง คือ จิตสงบ ๑ อธิกรณ์สงบ ๑ สังขารทั้งปวงสงบ ๑.
    ในความสงบ ๓ อย่างนั้น ชื่อว่าจิตสงบ เพราะจิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียวในสมาบัติ ๘ เพราะความหวั่นไหวแห่งจิต ความดิ้นรนแห่งจิตย่อมสงบ ย่อมเข้าไปสงบเพราะอาศัยจิตสงบนั้นฉะนั้น ท่านจึงกล่าวสมาธินั่นว่า จิตฺตสมโถ จิตสงบ.
    ชื่อว่าอธิกรณ์สงบ อธิกรณ์มี ๗ อย่างมีสัมมุขาวินัยเป็นต้น เพราะอธิกรณ์เหล่านั้นสงบ เข้าไปสงบเพราะอาศัยอธิกรณสมถะนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวสมาธินั้นว่า อธิกรณสมโถ อธิกรณ์สงบ.
    อนึ่ง เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวงสงบ เข้าไปสงบ เพราะอาศัยนิพพาน ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวสมาธินั้นว่า สพฺพสงฺขารสมโถ สังขารทั้งปวงสงบ. ในอรรถนี้ท่านประสงค์เอาจิตสงบ. ชื่อว่า สมาธินฺทฺริยํ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งสมาธิ. ชื่อว่า สมาธิพลํ เพราะไม่หวั่นด้วยอุทธัจจะ.
    บทว่า สมฺมาสมาธิ ได้แก่ สมาธิแน่นอน สมาธิทำให้พ้นทุกข์
    กุศลสมาธิ ท่านกล่าวถึงการเปลื้องจิตจากวัตถุแห่งกิเลส ๑๐ อย่างมีอาทิว่า ราคโต วิโมจยํ จิตตํ เปลื้องจิตจากราคะ.
    อนึ่ง ในบทนี้ท่านรวมมิทธศัพท์ด้วยถีนศัพท์ และรวมกุกกุจจศัพท์ด้วย อุท<WBR>ธัจจ<WBR>ศัพท์<WBR>ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงอธิบายถึงการเปลื้องจากนิวรณ์เป็นต้น ด้วยปฐมฌานเป็นต้นด้วยกล่าวถึงการเปลื้องจากวัตถุอันเป็นกิเลส เพราะไปร่วมกันในปาฐะเหล่าอื่น และการเปลื้อง<WBR>จาก<WBR>นิจจ<WBR>สัญ<WBR>ญา<WBR>เป็นต้น ด้วยอนิจ<WBR>จา<WBR>นุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นาเป็นต้น.
    อนึ่ง ในไปยาลนี้ว่า กถํ ตํ จิตฺตํ อนุปสฺสติ ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร เป็น<WBR>อัน<WBR>ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ถึง<WBR>การ<WBR>ละ<WBR>นิจจ<WBR>สัญญาเป็นต้น ด้วยอนิจจานุปัสสนา.

    พึงทราบเรื่องมาในพระสูตร ๔ ด้วยสามารถแห่งตติยจตุกะด้วยประการฉะนี้. <CENTER>จบอรรถกถาตติยจตุกนิเทศ </CENTER>
    พึงทราบวินิจฉัยในจตุตถจตุกนิเทศดังต่อไปนี้.
    ท่านตั้งคำถามด้วยคำเป็นนปุงสกลิงค์ว่า อนิจฺจนฺติ กึ อนิจฺจํ บทว่า อนิจฺจํ อะไรไม่เที่ยง.
    บทว่า อุปฺปาทวยฏฺเฐน เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นและเสื่อมไป.
    ความว่า เพราะสภาวะคือความเกิดและความเสื่อม.
    ในบทนี้ เบญจขันธ์เป็นสภาวลักษณะความเกิดและความเสื่อมของเบญจขันธ์เป็นวิการลักษณะ (ลักษณะความเปลี่ยนแปลง) ด้วยบทนี้<WBR>เป็น<WBR>อัน<WBR>ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะเป็นแล้วไม่เป็น.
    ส่วนในอรรถกถาแม้ท่านกล่าวว่า ความไม่เที่ยงด้วยอำนาจแห่งสังขตลักษณะ และว่าความที่<WBR>เบญจ<WBR>ขันธ์<WBR>เหล่านั้นมีเกิดเสื่อมและเป็นอย่างอื่น ก็ยังกล่าวว่า ความเป็นแล้วไม่เป็นดังนี้.
    ด้วยบทนี้ อาการคือเป็นแล้วไม่เป็น ท่านกล่าวว่าเป็นอนิจจลักษณะ. ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ทำ<WBR>ไปยาล<WBR>ว่า เมื่อเห็นความเกิดและ<WBR>ความ<WBR>เสื่อม<WBR>แห่ง<WBR>เบญจ<WBR>ขันธ์<WBR>ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ เหล่านี้.
    บทว่า ธมฺมา คือ ธรรมตามที่ท่านกล่าว<WBR>แล้ว<WBR>มี<WBR>รูป<WBR>ขันธ์<WBR>เป็น<WBR>ต้น.
    พึงทราบวินิจฉัยในวิราคานุปัสสีนิเทศดังต่อไปนี้.
    บทว่า รูเป อาทีนวํ ทิสฺวา เห็นโทษในรูป คือเห็นโทษในรูปขันธ์ด้วยการตั้งอยู่ในความไม่เที่ยงเป็นต้น ดังที่ท่านกล่าวแล้วข้างหน้าตั้งแต่ภังคานุปัสสนาญาณ.
    บทว่า รูปวิราโค ในความคลายกำหนัดในรูป คือนิพพาน เพราะบุคคลอาศัยนิพพาน คลายกำหนัดรูป ย่อมดับด้วยการถึงความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า คลายความกำหนัดในรูป.
    บทว่า ฉนฺทชาโต โหติ เป็นผู้เกิดฉันทะ คือมีฉันทะในธรรมอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งการฟัง.
    บทว่า สทฺธาธิมุตฺโต น้อมใจไปด้วยศรัทธาคือน้อมไป ตัดสินใจไปในนิพพานนั้นด้วยศรัทธา.
    บทว่า จิตฺตญฺจสฺสสฺยาธิฏฺฐีตํ และมีจิตตั้งมั่นดี พึงทราบโดยเชื่อมความว่า จิตของ<WBR>พระ<WBR>โยคา<WBR>วจร<WBR>นั้น<WBR>ตั้งมั่นด้วยดี ประดิษฐานไว้ด้วยดีด้วยสามารถแห่งอารมณ์ในการทำลายรูปอันได้แก่ ความคลายกำหนัดในความสิ้นไปด้วยสามารถแห่งการได้ยินได้ฟัง นิพพานอันคลายความกำหนัดในรูป กล่าวคือคลายความกำหนัดหมดสิ้น.
    บทว่า รูเป วิราคานุปสฺสี พิจารณาความคลายกำหนัดในรูป.
    ท่านกล่าวความคลายกำหนัดในความสิ้นไปแห่งรูปด้วย<WBR>สัตต<WBR>มี<WBR>วิภัต<WBR>ติ<WBR>ว่า รูเป วิราโค ความคลายกำหนัดในรูป.
    ท่านกล่าวความคลายกำหนัดหมดสิ้นแห่งรูปด้วยสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิตว่า รูเป วิราโค ความคลายกำหนัดในเพราะรูป.
    ท่านกล่าวความคลายกำหนัดแม้ทั้งสองอย่างนั้น มีการพิจารณาโดยอารมณ์และโดยอัธยาศัยเป็นปกติว่า รูเป วิราคานุปสฺสี พิจารณาความคลายกำหนัดในรูป. ในเวทนาเป็นต้นมีนัยนี้.
    แม้ในนิเทศแห่งบทว่า นิโรธานุปสฺสี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    ก็ในบทนี้ว่า กตีหากาเรหิ ด้วยอาการเท่าไร มีความพิเศษดังต่อไปนี้.
    ท่านแสดงถึงการดับโทษ แม้แห่งรูปเป็นต้นด้วยการเห็นการดับโทษแห่ง<WBR>องค์<WBR>ของ<WBR>ปฏิจ<WBR>จ<WBR>สมุป<WBR>บาท<WBR>มี<WBR>อวิช<WBR>ชา<WBR>เป็นต้น เพราะอวิชชาเป็นต้นเหล่านั้น ไม่ล่วงองค์แห่ง<WBR>ปฏิจ<WBR>จ<WBR>สมุป<WBR>บาทไปได้ ด้วยคำพิเศษนี้แหละเป็นอันท่านกล่าวถึงความพิเศษแห่งนิโรธานุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นา เพราะพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจฏฺเฐน ด้วยอรรถว่าไม่เที่ยง คือด้วยอรรถว่าสิ้นไป หรือด้วยอรรถว่าเป็นแล้วไม่เป็น.
    บทว่า ทุกฺขฏฺเฐน ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์ คือด้วยอรรถว่าน่ากลัว หรือด้วยอรรถว่าบีบคั้น.
    บทว่า อนตฺตฏฺเฐน ด้วยอรรถว่าเป็นอนัตตา คือด้วยอรรถว่าหาสาระมิได้ หรือด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.
    บทว่า สนฺตาปฏฺเฐน ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุให้เดือดร้อน คือด้วยอรรถว่ากิเลสเป็นเหตุให้เดือดร้อน.
    บทว่า ปริณามฏฺเฐน ด้วยอรรถว่าแปรปรวน คือด้วยอรรถว่าแปรปรวนโดย ๒ ส่วน ด้วยอำนาจแห่งชรา และภังคะ (ความดับ).
    บทว่า นิทานนิโรเธน ด้วยนิทานดับ คือด้วยไม่มีเหตุปัจจัย.
    บทว่า นิรุชฺฌติ ย่อมดับ คือไม่มี.
    บทว่า สมุทยนิโรเธน ด้วยสมุทัยดับ คือด้วยความไม่มีปัจจัยอันใกล้. เพราะเหตุปัจจัย ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า นิทาน ดุจโภชนะไม่เป็นที่สบายแก่คนเจ็บป่วย ปัจจัยอันใกล้ ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>สมุทัย ดุจลมน้ำดีและเสมหะของคนเจ็บป่วย. เพราะนิทาน ย่อมให้ผลด้วยการวินิจฉัย สมุทัยเป็นเหตุเกิดผลด้วยดี.
    บทว่า ชาตินิโรเธน ด้วยชาติดับ คือด้วยไม่มีการเกิดแห่งปัจจัย.
    บทว่า ปภวนิโรเธน ด้วยภพดับ คือด้วยไม่มีการเกิดแห่งปัจจัยอันใกล้ (อาสันนปัจจัย) ควรกล่าวว่า ชื่อว่าภพ เพราะชาติเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.
    บทว่า เหตุนิโรเธน ด้วยเหตุดับ คือด้วยไม่มีปัจจัยให้เกิดชนกปัจจัย.
    บทว่า ปจฺจยนิโรเธน ด้วยปัจจัยดับ คือด้วยไม่มีปัจจัยอุปถัมภ์ แม้เหตุปัจจัยก็เป็นทั้งอาสันนปัจจัย ชนกปัจจัยและอุปถัมภกปัจจัยนั่นเอง. ด้วยปัจจัยเหล่านั้น ท่านกล่าวการดับชั่วคราว ในขณะวิปัสสนากล้าแข็ง. การดับเด็ดขาดในขณะแห่งมรรค.
    บทว่า ญาณุปฺปาเทน ด้วยญาณเกิด คือด้วยความเกิดแห่งวิปัสสนาญาณกล้าแข็ง หรือแห่งมรรคญาณ.
    บทว่า นิโรธุปฏฺฐาเนน ด้วยนิโรธปรากฏ คือด้วยความปรากฏแห่งนิพพาน กล่าวคือนิโรธด้วยอำนาจแห่งการได้ฟังถึงการดับความสิ้นไปโดยประจักษ์ในขณะแห่งวิปัสสนา และด้วยความปรากฏแห่งนิพพานโดยประจักษ์ในขณะแห่งมรรค.
    ด้วยบทเหล่านี้เป็นอันท่านทำความแน่นอนด้วยอินทรีย์อันเป็นวิสัย และท่านกล่าวถึงความดับชั่วคราวและดับเด็ดขาด.
    พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี (พิจารณาความสละคืน) ดังต่อไปนี้.
    บทว่า รูปํ ปริจฺจชติ สละรูป คือสละรูปขันธ์ เพราะไม่เพ่งถึงด้วยการเห็นโทษ.
    บทว่า ปริจฺจาคปฏินิสฺสคฺโค สละคืนด้วยการบริจาค. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า ปฏินิสฺสคฺโค เพราะอรรถว่าสละ.
    ด้วยบทนี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงอรรถแห่งการบริจาคแห่งบทว่า ปฏินิสสัคคะ เพราะฉะนั้น อธิบายว่า ได้แก่ การละกิเลสทั้งหลาย.
    อนึ่ง ในบทนี้ วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี (ญาณเป็นเครื่องออกไป) ย่อมสละกิเลสทั้งหลายได้โดยชั่วคราว มรรคย่อมสละได้โดยเด็ดขาด.
    บทว่า รูปนิโรเธ นิพพาเน จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ จิตย่อมแล่นไปในนิพพานอันเป็นที่ดับรูป คือวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีย่อมแล่นไป เพราะน้อมไปในนิพพานนั้น มรรคย่อมแล่นไปด้วยการทำให้เป็นอารมณ์.
    บทว่า ปกฺขนฺทนปฏินิสฺสคโค ความสละคืนด้วยการแล่นไป.
    ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าปฏินิสสัคคะ เพราะอรรถแล่นไป.
    ด้วยบทที่ท่านกล่าวถึงอรรถแห่งความแล่นไปของบทว่า ปฏินิสสัคคะ เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า ได้แก่ การสละจิตลงในนิพพาน.
    พึงทราบเรื่องอันมาในพระสูตร ๔ เรื่อง ด้วยสามารถแห่งจตุตถจตุกะ.
    ในจตุกะนี้ พึงทราบถึงบทที่ควรกล่าวถึงชราและมรณะโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

    อนึ่ง ในสติปัฏฐานทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านทำการชี้แจงเป็นเอกวจนะโดยกล่าวถึงกายและจิตเป็นอย่างเดียวว่า กาเย กายานุปสฺสนา พิจารณากายในกาย จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสนา พิจารณาจิตในจิต ทำการชี้แจงเป็นพหุวจนะ โดยกล่าวถึงความต่างๆ กันของเวทนาและธรรมว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสนา พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสนา พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลายด้วยประการฉะนี้. <CENTER>จบอรรถกถาจตุตถจตุกนิเทศ และ

    จบอรรถกถาสโตการญาณนิเทศ </CENTER><CENTER>
    อรรถกถาญาณราสิฉักกนิเทศ </CENTER>บัดนี้เป็นสมาธิ ๒๔ ในวัตถุ ๑๒ คือสมาธิละสอง คือสมาธิหนึ่งด้วยสามารถลมอัสสาสะ สมาธิหนึ่งด้วยสามารถลมปัสสาสะ ในวัตถุละหนึ่งๆ แห่งวัตถุ ๑๒ ด้วยสามารถจตุกะ ๓ มีกายานุปัสสนาเป็นต้น ในสมาธิญาณนิเทศ ๒๔ ในญาณที่ท่านแสดงไว้แล้วด้วยกองทั้ง ๖ กอง. ญาณสัมปยุตด้วยสมาธิเหล่านั้น ในขณะฌานด้วยอำนาจแห่งสมาธิ ๒๔.
    พึงทราบวินิจฉัยในวิปัสสนาญาณนิเทศ ๗๒ ดังต่อไปนี้.
    บทว่า ทีฆํ อสฺสาสา เพราะลมอัสสาสะที่ท่านกล่าวแล้วว่า ยาว ท่านกล่าวไว้อย่างไร.
    ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า วิปสฺสนา เพราะอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยงในขณะวิปัสสนาด้วยจิตตั้งมั่น เพราะได้ฌาน เพราะเหตุลมหายใจเข้ายาว.
    แม้ในอรรถอื่นก็มีนัยนี้.
    ในวัตถุ ๑๒ คืออนุปัสสนาอย่างละ ๖ อนุปัสสนา ๓ ด้วยสามารถแห่งลม<WBR>อัสสา<WBR>สะ. อนุปัสสนา ๓ ด้วยสามารถแห่งลมปัสสาสะในวัตถุละหนึ่งๆ แห่งวัตถุ ๑๒ เหล่านั้น รวมเป็นอนุปัสสนา ๗๒. อนุปัสสนา ๗๒ เหล่านั้นแลเป็นญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา ๗๒.
    พึงทราบวินิจฉัยในนิพพิทาญาณนิเทศดังต่อไปนี้.
    บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาสํ พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า คือพิจารณาหายใจเข้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง ความว่า พิจารณาเป็นไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง.
    อนึ่ง คำว่า อสฺสาสํ นี้ พึงเห็นว่าลงในอรรถแห่งเหตุ.
    บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ ปสฺสตีติ นิพพิทาญาณํ ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตั้งแต่พิจารณาเป็นกองๆ ไปจนถึงพิจาณาเห็นความดับ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงของสังขารทั้งหลาย ย่อมเห็นด้วยญาณจักษุนั้นดุจเห็นด้วยจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพิทาญาณ.
    ท่านอธิบายว่า ชื่อว่านิพพิทาญาณในสังขารทั้งหลาย.
    พึงทราบว่า วิปัสสนาญาณเป็นนิพพิทาญาณตามที่ได้กล่าวแล้วในนิเทศนี้ เพราะญาณทั้งหลายมีภยตูปัฏฐานญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว) เป็นต้นและมุญจิตุกัมยตาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยความใคร่จะพ้นไป) เป็นต้นเป็นธรรมต่างกัน.
    พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งนิพพิทานุโลมญาณดังต่อไปนี้.
    บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาสํ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า คือพิจารณาหายใจเข้าโดยเป็นของไม่เที่ยง.
    บทว่า ภยตุปฏฺฐาเน ปญฺญา ปัญญาในความปรากฏเป็นของน่ากลัว เป็นอันท่านกล่าวถึง ภย<WBR>ตุ<WBR>ปัฏ<WBR>ฐาน<WBR>ญาณ อาทีน<WBR>วา<WBR>นุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นา<WBR>ญาณ<WBR>และ<WBR>นิพพิ<WBR>ทา<WBR>นุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นา<WBR>ญาณ ด้วยคำนั้นแล เพราะญาณทั้ง ๓ มีลักษณะอย่างเดียวกัน.
    ญาณ ๓ เหล่านี้ ท่านกล่าวว่านิพพิทานุโลมญาณ เพราะอนุโลมโดยความอนุกูลของนิพพิทาญาณดังที่กล่าวแล้วโดยลำดับ.
    พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งนิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณดังต่อไปนี้.
    บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาสํ เช่นเดียวกับที่กล่าวมาตามลำดับนั่นแหละ.
    บทว่า ปฏิสงฺขา สนฺติฏฺฐนา ปญฺญา ปัญญาพิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็นอันท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ถึง มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงถึงด้วยพิจารณาหาทาง) สังขาร<WBR>อุเบก<WBR>ขา<WBR>ญาณ (ปรีชา<WBR>คำนึงด้วยความวางเฉยอยู่) ด้วยคำนั้นเอง เพราะญาณทั้ง ๓ มีลักษณะอย่างเดียวกัน.
    แม้อนุโลมญาณและมรรคญาณท่านก็รวมไว้ด้วยคำว่า ปฏิสงฺขา สนติฏฺฐนา นั่นแหละ.
    แม้สังขารุเบกขาญาณและอนุโลมญาณก็ชื่อว่า นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณด้วยละความขวนขวายในการเกิดนิพพิทา เพราะนิพพิทาถึงยอดแล้ว.
    ส่วนมรรคญาณ ชื่อว่านิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ เพราะเกิดในที่สุด นิพพิ<WBR>ทา<WBR>ปฏิ<WBR>ปัส<WBR>สัท<WBR>ธิ<WBR>ญาณ เพราะเหตุนั้นจึง<WBR>ควร<WBR>อย่าง<WBR>ยิ่ง. การไม่ถือเอามุญจิตุกัมยตาญาณ<WBR>อันเป็นเบื้องต้นดุจใน<WBR>นิพพิ<WBR>ทา<WBR>นุ<WBR>โลม<WBR>ญาณ<WBR>แล้ว<WBR>ถือเอา<WBR>ญาณ<WBR>สอง<WBR>หมวด ในที่สุดว่า ปฏิ<WBR>สงฺขา สนฺติฏฺ<WBR>ฐ<WBR>นา เพื่อสงเคราะห์เข้าในมรรคญาณ. เพราะเมื่อ<WBR>ท่าน<WBR>กล่าว<WBR>ว่า มุญฺ<WBR>จิ<WBR>ตุ<WBR>กมฺ<WBR>ย<WBR>ตา ย่อมสงเคราะห์เอาอนุโลมญาณด้วย มิได้สงเคราะห์เอามรรคญาณ. เพราะมรรค<WBR>ญาณ<WBR>มิได้ชื่อว่า มุญฺจิตุกมฺยตา.
    อนึ่ง ปัญญาชื่อว่า สนฺติฏฺฐนา เพราะวางเฉยอยู่ในความสำเร็จกิจ.
    อนึ่ง แม้ในอรรถกถาท่านก็กล่าวว่า บทว่า ผุสนา ความถูกต้อง คือ อปฺปนา ความแนบแน่น.
    ปัญญาชื่อว่า สนฺติฏฺฐนา ความวางเฉย เพราะทำมรรคญาณนี้เป็นอัปปนาในนิพพาน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์แม้มรรคญาณด้วยคำว่า สนฺติฏฺฐนา แม้นิพพิ<WBR>ทา<WBR>นุ<WBR>โลม<WBR>ญาณ โดยอรรถก็เป็น<WBR>นิพพิ<WBR>ทา<WBR>ญาณ<WBR>นั่นเอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์<WBR>นิพพิ<WBR>ทา<WBR>นุ<WBR>โลม<WBR>ญาณ<WBR>เหล่านั้นด้วยนิพพิทาญาณแล้วใช้ศัพท์นิพพิทาว่า นิพพิทาปฏิปสฺสทฺธิ ญาณานิ ดังนี้ ไม่ใช่ศัพท์ว่า นิพฺพิทานุโลม.
    ในวัตถุ ๔ คือ ญาณละ ๒ คือ ญาณหนึ่งด้วยสามารถแห่งลมอัสสาสะ ญาณหนึ่งด้วยสามารถแห่งลมปัสสาสะในวัตถุหนึ่ง แห่งวัตถุ ๔ ที่ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจแห่ง<WBR>ธรรมา<WBR>นุ<WBR>ปัส<WBR>ส<WBR>นา<WBR>จตุกะ<WBR>ที่ ๔ ในญา<WBR>ณัฏ<WBR>ฐก<WBR>นิเทศ ๓ เหล่านี้ จึงรวมเป็ญาณ ๘.
    พึงทราบวินิจฉัยในวิมุตติสุขญาณนิเทศดังต่อไปนี้.
    พระสารีบุตรเถระ ครั้นแสดงการละด้วยบทว่า ปหีนตฺตา เพราะละแล้วเมื่อจะแสดงการละนั้นด้วยสมุจเฉทปหาน จึงกล่าวว่า สมุจฺฉินฺนตฺตา เพราะตัดขาด.
    บทว่า วิมุตฺติสุเข ญาณํ ญาณในวิมุตติสุข คือญาณสัมปยุตด้วยวิมุตติสุขอันเป็นผล และญาณคือการพิจารณาวิมุตติสุขอันเป็นผลเป็นอารมณ์.
    เพื่อแสดงว่า การละวัตถุทุจริตที่กลุ้มรุมด้วยการละกิเลสอันเป็นวัตถุนอนเนื่องในสันดาน ท่านจึงกล่าวถึงการละกิเลสอันเป็นอนุสัยอีก.

    ท่านทำการคำนวณญาณด้วยการคำนวณกิเลสที่ละได้แล้ว หมายถึงผลญาณ ๒๑. และท่านคำนวณปัจ<WBR>จ<WBR>เวก<WBR>ขณ<WBR>ญาณอันเป็นผลด้วยการคำนวณพิจารณาถึงกิเลสที่ละได้แล้ว หมายถึงปัจจเวกขณญาณ. <CENTER>
    จบอรรถกถาญาณราสิฉักกนิเทศ
    จบอรรถกถาอานาปานสติกถาแห่งอรรถกถา
    ปฏิสัมภิทามรรคชื่อว่าสัทธัมมปกาสินี

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2011
  9. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    ขอแสดงความยินดี กับผู้ศึกษา

    กระทู้นี้ เป็น ปริยัติ ในส่วน วิปัสนาธุระ
    ว่าด้วย ส่วนกรรมฐาน อธิบายการฝึกฝน ในอานาปานสติ
    ก่อนจะลงมือปฏิบัติ กรรมฐาน ผู้มาใหม่ในกรรมฐาน ควรศึกษาไว้บ้าง ไม่มากก็น้อย
     
  10. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    ความฟุ้งในการทำสมาธิ


    ผีหลอกในสมาธิ


    ลักษณะของเทวบุตรมาร


    [​IMG] [​IMG] พุทโธก็คือความคิด


    ไม่มีใคร บรรดาลจิตให้เป็นสมาธิ

    ข้อสังเกตุ ความอัตรายของนักปฏิบัติ ในพุทธศาสนา

    ข้อ สังเกตุสำหรับ รูปนิมิตร

    ข้อสังเกตุ ความก้าวหน้าของจิต

    ลิ้งนี้ เป็นประสบการการฝึกฝน โดย หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    พระสงฆ์สาวก ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ

    ได้เล่าไว้ให้ฟัง เพื่อเป็น คติเตือนใจ แก่ กุลบุตรกุลธิดา
    ผู้จะดำเนินรอยตามพระศาสดา
    หากฟังไว้บ้าง ก็จะเป็นการดี ไม่มาก ก็น้อย


     
  11. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    "โยคาเว ชายะเต ภูริ"

    ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ
     
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เอิ่ม ท้าลอง แปะ " อานาปานสติ " แล้ว สอดไส้ไขว้ไป คำสอนหลวงพ่อพุธ


    จขกท ก็ เอา สันติ !!! ไปกิน ได้เลย เฮียเอ้ยยยย !!!



    ปล.ลิง น้องๆ หนูๆ อ่านดีๆ นะฮับ ไม่ได้พาดพิงคำสอนพระ ...มันเป็นเรื่อง
    การนำเสนอ แบบ จับแพะชนแกะ กร่อนธรรม กระทืบสัทธรรม ให้เลือนหาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2016
  13. กิ่งสน

    กิ่งสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +2,327
    เห็นด้วยกับท่านเอกวีร์นะ แต่ท่านแรงไปไหม
     
  14. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    ปริยัติเอาใว้ตรวจสอบปฏิเวธ ตรวจสอบผลการปฏบัติ
    การปฏิบัติจริงๆ เอาปริยัติขึ้นบูชาใว้บนหิ้งเลย

    มันไม่มีขั้นมีญาณอะไรหรอก มันมีรู้กับหลงแค่นั้นแหละ

    มีศีล สมาธิ ปํญญา ปฏิบัติก็เรียนรู้อริยะสัจ 4 จะรู้ยังงัย
    ก็ต้องฝึกสติปัฏฐาน 4 ฝึกยังงัย ก็เอาคำภีร์ สติปัฏฐานขึ้นหิ้งใว้เหมือนเดิม
    เรียนรู้ลงในกาย ในใจ รู้.. รู้.. รู้ สร้างสภาวะแห่งการรู้ตื่นขึ้นมา
    ทำง่ายๆ ธรรมะคือ ธรรมดา อย่าคิดให้ยาก ญาณนั้น ฌานนี้อย่าไปใส่ใจ
    ถ้าปัญญามันแจ่มแจ้งเมื่อได มันเข้าไปหาของมันเอง
     
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ขอซื้อได้ไหม ฮับ

    คือ ประโยคที่ว่า เอาธรรมขึ้นหิ้ง แล้วปฏิบัติไปเลย ปัญญาเกิดเอง เนี่ยะ
    หากไป ทำตามนั้น ก็จะได้อะไรนะ เห็น พระท่านเล่าว่า เจ้าของ
    ประโยคธรรม "เอาธรรมขึ้นหิ้ง ปฏิบัติไปเลย" ท่านได้นิมิตระบุตัวเองว่า
    ไม่ได้ ปฏิสัมภิทาญาณ เพราะ ธรรมเตือนว่า ไปจับ พระไตรปิฏกไว้ในตู้
    ไม่หยิบออกมาอ่าน ก็เลย ไม่ใช่ ปฏิสัมภิทาญาณ เลยติต่างว่าเป็น อนุปฏิสัมภิทาญาณ ไปโน้นนนนนน

    จึงขอครับ ธรรมจับใส่ตู้ นิมิตครูบาอาจารย์ท่านก็เตือนแล้ว เราก็ สมาทาน
    นิมิตของท่านให้ถูก อย่าจับใส่ตู้ !!!

    แล้วทำอย่างไร


    ก็ท่า อ้างว่า ทำสติปัฏฐานจนจิตตื่น หรือ แยกรูป แยกนา แยกธาตุ แยกขันธ์ได้

    พึงจำใส่ใจว่า สมองในกะโหลก มันเป็น ขันธ์ .... ขันธ์นั้นต้องการอาหาร
    บำรุงขันธ์ กายก็ต้องกินขี้ปี้เยี่ยว แต่ สมองมันต้องการ.......

    ถ้ายิ่งสามารถ แยกวิหารธรรม ที่สัมปยุตกับจิต สลัดออกไม่ได้ เพราะ
    วิหารธรรม(สมถะนิมิต)นั้น สัมปยุตกับจิต(ตลอดชาต ละธรรมปฏิบัติ
    อย่างไร จิตก็เกิดด้วยอาการ สัมปยุตกับวิหารธรรม ไม่เลิก) พึงทราบ
    ด้วยว่า วิหารธรรมที่เกิดร่วมกับจิต จัดเป็น การฝุ้งซ่าน อย่างหนึ่ง
    จึงควร แยกธาตุ แยกขันธ์ ไม่ต้องปฏิเสธการมีอยู่ แต่ให้ปล่อยให้ปฏิปทาแสดงอนิจจังอนัตตาให้ดูซะ

    เหมือนกับ อยู่ร่วมกับ สมองในกะโหลก ....เราอ่านหนังสือ อ่านพระไตรปิฏก
    อ่านไปเลย ทำสมถะตามรูปแบบ ทำไปเลย มันแยกกันอยู่แล้ว อย่า
    ไปเอามาปนกัน ไป เก็บใสตู้ เข้าใจว่า มันมาก้ำเกินกัน .....เป็นไปไม่ได้
    หาก แยกธาตุแยกขันธ์ เป็น แล้ว จะจับใส่ตู้ ทำเฮีย อะไร !!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2016
  16. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    อ๋อ..ผมอ่านประวัติหลวงตาพระมหาบัวมาครับ นี่เป็นคำสอนที่หลวงปู่มั่นสอนหลวงตาเลยนะ

    กราบเรียนครับ ท่านเอกเก่งกว่าหลวงปู่มั่นอีกรึนี่ 55
     
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456

    สังเกตไหม ยังไม่รุ้จัก รสของธรรม

    พอไม่รุ้จัก เวลาสนทนา จะไม่เอาข้อเท็จจริงมากล่าว

    จะต้องอาสัย การลูบคลำ เปรียบเทียบ มาปะผุ


    สาวกะ บรรลุธรรมเองไม่ได้ ไม่ตระหนัก
    สำคัญว่า ธรรมไม่ต้องหมั่นสดับ ตอนบรรลุก้ไม่ได้
    เกิดจากการสดับ โน้มไป เพื่อแจ้งวิมุตติ ตรัสรุ้เองโดยชอบธรรม

    วางจิตอกตัญญูต่อการสดับ พอแตะนิดแตะหน่อย

    อุ้ยคุณเก่งก่าหลวงปู่ เฮียขึ้นมาทันที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2016
  18. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ภาษาไทยเขาว่า...เยอะ
    ภาษาลาว...บอกสมองขัอยรับบ่ใหว....
     
  19. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    ถูกต้องนะครับเฮีย ผมยังเป็นปถุชนอยู่ ไม่ใช่แค่ของขึ้นนะ 555
    ผมแสดงอารมณ์ออกมาได้หมดแหละ หุ หุ

    ก็เราไม่รู้ธรรมแล้วยกเอาคำสอนครูอาจารย์มา มันผิดตรงไหนมิทราบครับ เฮีย 55

    แล้วเฮียบรรลุถึงขุมใหน เฮ้ยขั้นใหนและค่ะ 55
     
  20. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    แต่..อุ๊ย เฮียของขึ้นมือไม้สั่น ถึงกับลืมเปลี่ยน log on เลยหรือคร้บ
    อ๋อเป็นเพื่อนๆกันเลยร้อนแทนกันได้ 55

    ใจร่มๆ นักปฏิบัติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...