จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ตอนที่ ๑๒

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 23 กันยายน 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    จิต,เจตสิก,รูป, นิพพาน ฯ ตอนที่ ๑๒
    ท่านทั้งหลายที่ได้อ่าน และทำความเข้าใจ ในเรื่องของ "จิต ,เจตสิก,รูป (รวมถึงขันธ์๕) ที่ได้อรรถาธิบายไปตั้งแต่ตอนที ๑ เป็นต้นมา ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจเอาไว้ว่า ความจริงแล้ว ในพระอภิธรรมปิฎก ได้แจกแจงหรืออธิบาย เป็นรายละเอียดไว้อย่างมากมาย ชนิดที่เรียกว่า ทุกแง่มุม อธิบายแยกแยะถึงสภาพสภาวะจิตใจ ในความเป็นอกุศลมูล หรือกุศลมูล หรือ อัพยากตะ อันหมายถึง “ซึ่งท่านไม่พยากรณ์”, บอกไม่ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล" อีกทั้งยังแจกแจงอธิบายถึงสภาพสภาวะจิตใจของบุคคลในสภาวะของฌานต่างๆเอาไว้

    สภาพสภาวะ ที่เป็นผลจาก จิต,เจตสิก,รูป นั้นในพระอภิธรรมปิฎก ยังแจกแจง เป็นข้อสังโยชน์ อันหมายถึง กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา
    นิวรณ์ธรรม อันหมายถึง ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ อย่าง คือ ๑.กามฉันท์ พอใจในกามคุณ ๒.พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น ๓.ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
    อีกทั้งยังแจกแจงอธิบายถึงสภาพสภาวะจิตใจ อันจักเป็นองค์หรือเครื่องนำให้บุคคลสามารถตรัสรู้ในโลกุตตระธรรม อันได้แก่
    โพชฌงค์ อันหมายถึง ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้มี ๗ อย่าง คือ ๑. สติ ๒. ธัมมวิจยะ (การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม) ๓. วิริยะ ๔. ปิติ ๕. ปัสสัทธิ ๖. สมาธิ ๗. อุเบกขา
    ในเรื่องของรูป ไม่ว่าจะเป็น มหาภูตรูป (ไฟ ,ลม,ดิน,น้ำ) หรือ รูปที่ต้องอาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายทั้งปวง ก็มีการแจกแจงหรืออธิบายแยกแยะ ถึงคุณประโยชน์ ถึงโทษ หรือความเป็นสุข ความเป็นทุกข์ หรือ ภัย ที่เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า รูป ทั้งหลายเหล่านั้น ไว้อย่างละเอียด ตามยุคตามสมัย และยังมีอื่นๆอีกมากมายที่เป็นรายละเอียดในเรื่องของ “จิต,เจตสิก,รูป”
    ดังนั้น หากท่านทั้งหลายที่ได้อ่านบทความทางศาสนา จิต,เจตสิก,รูป นิพพาน ฯ ที่ข้าพเจ้าได้อธิบายตามสำนวนภาษาไทย นี้แล้ว เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ในรายละเอียดปลีกย่อย ก็สามารถศึกษาหาความรู้ได้จาก พระไตรปิฎก เพิ่มเติม ซึ่งข้าพเจ้าเองก็ได้นำพระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน มาจาก 84000
     

แชร์หน้านี้

Loading...