จาก "ชมพูทวีป" สู่ "สุวรรณภูมิ" ค้นหา "วิปัสสนากรรมฐาน" ที่หายไป ?!?!!

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย mahamettayai, 27 พฤศจิกายน 2012.

  1. mahamettayai

    mahamettayai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    1,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +10,673
    [/IMG]
    จาก "ชมพูทวีป" สู่ "สุวรรณภูมิ" ค้นหา "วิปัสสนากรรมฐาน" ที่หายไป ?!?!!​




    ไม่น่าเชื่อว่า "วิปัสสนากรรมฐาน" จะเคยหายไปจากประเทศไทยกว่า 200 ปี!


    พอดีอ่านเจอ ในมติชนออนไลน์ เมื่อ 23 พย. นี้ค่ะ คิดว่าน่าสนใจดี จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อนะคะ ^^

    ในงานนิทรรศการศิลปะฉลองปีพุทธชยันตี "ต้นธารแห่งความสุข" ที่หอศิลปแห่งชาติ (หอศิลป์เจ้าฟ้า) มีการจัดเสวนา
    "ตามรอยวิปัสสนากรรมฐานจากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ"

    ขึ้นมาเพื่อให้ความรู้เรื่องวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาร่วมเสวนาหลายท่าน

    เริ่มจากคุณมณเธียร ธนานาถ อดีตอุปนายก ยุวพุทธิกสมาคมฯ บอกว่า วิปัสสนา แปลว่า รู้แจ้ง (วิ แปลว่า รู้ ปัสสนา แปลว่า แจ้ง) อีกนัยหนึ่งคือหนทางที่พัฒนาสู่ปัญญา ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าเป็นรูปแบบ เช่น การนั่งสมาธิหรือเดินจงกรม แต่ความจริงแล้ววิปัสสนาธุระ หรือวิปัสสนากรรมฐาน คือหนทางแห่งความหลุดพ้นจากกิเลส และการพัฒนาปัญญา ซึ่งศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญาไม่ให้เชื่อโดยงมงาย

    คุณมณเธียรเล่าว่า จากการศึกษาพระพุทธศาสนาที่ผ่านมา เมื่อ พ.ศ.235 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้มีการส่งพระธรรมทูต 9 สาย ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีสายหนึ่งเดินทางมาที่สุวรรณภูมิ คาดเดากันว่าเป็นพื้นที่ประเทศไทยและพม่า นั่นคือครั้งแรกที่วิปัสสนากรรมฐานเข้ามาในประเทศไทย

    [​IMG]

    "ส่วนเรื่องวิปัสสนาหายไปนั้น ไม่ได้มีหลักฐานที่ค้นคว้าไว้ แต่มีหลักฐานที่เป็นการบอกเล่ากันมาว่าเริ่มจางหายตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา เพราะสมัยนั้นมีความเชื่อเรื่องการปฏิบัติที่เป็นความเชื่อทางฮินดูมากกว่า ทำให้ความสำคัญของวิปัสสนาลดน้อยลง "

    จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้นมา และมีดำริให้มีการสืบต่อการปฏิบัติธรรมสายคันธุระและวิปัสสนาธุระ แต่ในประเทศไทยไม่ปรากฏว่ามีพระสายวิปัสสนาธุระเลย จึงต้องระงับเรื่องวิปัสสนานี้ไป เพราะหาบุคลากรไม่ได้ เมื่อสืบเสาะลึกลงไปเรื่อยๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจึงพบว่าวิปัสสนากรรมฐานได้หายไปจากประเทศไทยราว 200 ปี"


    ด้าน นพ.บัญชา พงษ์พานิช กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ-สวนโมกข์กรุงเทพ เล่าว่า พระพุทธศาสนาเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิเนิ่นนาน เห็นได้จากการพบรอยพระพุทธบาทมากมาย รวมไปถึงการปรากฏเรื่องราวของดินแดนสุวรรณภูมิในชาดกหลายเรื่อง ที่สืบต่อกันมารวมถึงวิปัสสนากรรมฐานด้วย

    "ความเข้าใจของผมคิดว่า วิปัสสนาธุระไม่เคยหายไปจากประเทศไทย เพียงแต่อาจจะมีช่วงที่รุ่งเรืองและไม่รุ่งเรืองสลับสับเปลี่ยนกัน ซึ่งอาจจะแฝงหรืออยู่ควบคู่กับอยู่ในการปฏิบัติธรรมแทบทุกอย่าง" นพ.บัญชาบอก


    พระปลัดชัชวาล ชินสโภ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมจักร เล่าว่า "ถ้าเราดูตามหลักฐานก็ไม่มีข้อพิสูจน์เลยว่า วิปัสสนากรรมฐานได้หายไป แต่ถ้าดูด้วยเหตุผลในช่วงอยุธยาตอนกลางสมัยพระเจ้าทรงธรรมเป็นไปได้ว่าเป็นช่วงที่วิปัสสนากรรมฐานเริ่มหายไป เนื่องจากเป็นช่วงที่มีสงครามเกิดขึ้นบ่อย พระที่บวชยุคนั้นส่วนใหญ่ก็จะทำสมาธิเน้นในเรื่องของอัตตาทั้งหมด ทั้งการเพ่งสมาธิ เรื่องของคาถาอาคม เครื่องรางของขลัง เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการออกศึก ฉะนั้น ในยุคนั้นจึงมีพระสายวิปัสสนากรรมฐานแท้ๆ น้อยลงเรื่อยๆ "
    หลังจากนั้น วิปัสสนาธุระก็ได้หายไปจากประเทศไทยราว 200 ปี จนกระทั่งเมื่อ 60 ปีก่อน

    พระปลัดชัชวาล ชินสโภ บอกว่า "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) ได้สืบเสาะเรื่องพุทธศาสนาไปทั่วโลก โดยเริ่มจากประเทศสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งท่านไปเจอการสอนที่ลังกาและพม่า ซึ่งมีการสอนพุทธศาสนาตรงตามตำราเดียวกับประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2495 ท่านได้ส่งลูกศิษย์ของท่าน คือ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณุสิทธิ) ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานที่ประเทศพม่า คือดินแดนสุวรรณภูมิที่สองพระอรหันต์ คือ พระโสณะและพระอุตระได้เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาไว้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และได้สืบทอดวิปัสสนาวงศ์ คือวงศ์ของผู้สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลได้ตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาจนถึงปัจจุบัน"

    "พระธรรมธีรราชมหามุนี ได้ไปศึกษาวิปัสสนาธุระที่สำนักศาสนายิตสา ซึ่งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมของรัฐบาลพม่า จนสำเร็จกลับมา สมเด็จพระพุฒาจารย์ ก็ได้ทำหนังสือไปยังรัฐบาลประเทศพม่า เพื่อขออาราธนาพระอาจารย์จากสำนักศาสนายิตสา กรุงย่างกุ้ง และได้ตัวแทนของ พระสงฆ์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน คือ พระภัททันตะ อาสภะมหาเถระ อัคคกัมมัฏฐานะจริยะ มาเป็นอาจารย์ที่คณะ 5 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ กรุงเทพฯ "

    โดยเดินทางออกจากพม่าในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2495 มาถึงประเทศไทยเช้าวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2496 นับแต่นั้นจึงเกิดการสอนวิปัสสนาที่ถูกต้องขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย" พระปลัดชัชวาลกล่าวปิดท้าย

    เวทีเสวนาธรรมปิดฉากลงอย่างงดงาม ตามด้วยการเปิดนิทรรศการศิลปะที่จัดขึ้นโดยมี 8 ศิลปินแห่งชาติ 1 ศาสตรเมธี ร่วมกับศิลปินชั้นนำอีก 19 ท่าน และผลงานกว่า 70 ชิ้น เพื่อหาทุนสร้างวัดพระธรรมจักร จ.นครนายก สืบทอดวิปัสสนาวงศ์ตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน

    น่าเสียดายที่งานนิทรรศการศิลปะ "ต้นธารแห่งความสุข" จัดขึ้นที่หอศิลปแห่งชาติ (หอศิลป์เจ้าฟ้า) จะมีถึงวันที่ 28 พ.ย.นี้เท่านั้น

    หน้า 21,มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2555


    เครดิตที่มา : จาก "ชมพูทวีป" สู่ "สุวรรณภูมิ" ค้นหา "วิปัสสนากรรมฐาน" ที่หายไป : มติชนออนไลน์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • art_594660.jpg
      art_594660.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.6 KB
      เปิดดู:
      543
  2. Nattawut8899

    Nattawut8899 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +7,058
    ความคิดส่วนตัวนะครับ

    ผมว่าพระวิปัสสนากรรมฐาน มิได้หายไปครับ
    เพียงเเต่ท่านปฏิบัติตามป่า เขา สงบจากเรื่องภายนอก จึงไม่มีใครทราบว่ามีพระวิปัสสนา
    สมัยก่อนการเดินทางไม่สะดวกแน่นอน ใครจะกล้าเดินป่า ที่มีสัตว์ เสือ ช้าง
    ถ้าเทียบจากปัจจุบันที่วัตถุทางโลกเจริญ การเข้าไปหาพระวิปัสสนาหลาย ๆ ที่
    การเดินทางก็ยังไม่สะดวกนะครับ สาธุ สาธุ สาธู
     
  3. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    จริงๆแล้ววิปัสสนาที่หายไปคือ
    การเอาผ้าขาวมา แล้วเราก็ถูมัน... ไม่เห็นใครทำวิปัสสนาอย่างนี้เลยในประเทศไทย
    หรือการตักน้ำราดพื้น แล้วก็พิจารณามัน ก็ไม่เห็นมีใครทำ

    วิปัสสนาไม่ได้หายไปไหนหรือเปล่า
    หรือว่าเราไม่รู้ว่าอะไรคือวิปัสสนา เลยมองไม่ออก แล้วนึกว่ามันไม่มี

    ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา
    ส่วนเรื่องงมงายเป็นเรื่องที่พูดยาก
    เพราะความคิดที่จะออกจากกาม ก็เป็นเรื่องงมงายของคนบางคน
    เมื่อห้าร้อยปีที่แล้ว ถ้ามีคนบอกว่าจะมีเหล็กหนักเป็นตันๆ ลอยอยู่บนท้องฟ้า
    แล้วมันสามารถขนคนได้ข้ามทวีป ก็อาจจะเป็นเรื่องงมงาย
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ที่เคยขาดช่วงไปจริงๆ คือ การวิปัสสนาในลักษณะเป็นรูปแบบ ครับ

    อย่างที่ท่านว่า จริงๆ แล้ว มันไม่ได้หายไปหมดเสียทีเดียว แต่แฝงอยู่ในการปฏิบัติธรรมอื่นๆ

    การจะเป็นพระอริยเจ้าได้ ต้องผ่านการเดินทางสายสติปัฎฐานเท่านั้น แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นตามในรูปแบบ ยุบ พอง หรือ การศึกษาเรื่อง แยกรูป-นาม เสียทางเดียว
    ในการปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น การเดินทางในทางเดินสติปัฏฐาน จะอยู่ในลักษณะของ "ผู้รู้" ครับ
     
  5. พูน

    พูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +2,479
    พระอาจารย์เล่าไว้ว่า "เมืองไทย ไม่เคยสิ้นพระอรหันต์ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ล่วงมา" ขออนุญาตไม่เชื่อครับ ทางสู่พระนิพพานมีหลายสาย ลงท้ายที่ การตัดสักกายทิฐิลงอย่างสิ้นเชิง ก็ไม่ได้แปลว่า ไม่มีการสอนเป็นวิชาการ แล้ว วิปัสสนา ที่แปลว่า รู้ตามความเป็นจริง จะหายไปนี่ครับ เปลี่ยนเป็นการสอนวิปัสสนา อย่างเป็นแบบแผนขาดหายไปจะดีกว่า
     
  6. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    สมัยนี้เขาวิปัสสนากันเป็นอุตสาหกรรมนะครับ
    คำถามไม่ได้อยู่ที่ปริมาณว่าเยอะเท่าไหร่
    แต่คำถามคือใครเป็น QC ?
    และเรื่องที่ตั้งแต่ฌานขึ้นไป ตรวจสอบแบบไหน

    จนถึงทุกวันนี้ ผมยังสงสัยอยู่ว่า เราจะปรับอาบัติปาราชิกในข้ออวดอุตรมนุษธรรมกันยังไง
     
  7. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    หัวข้อทำให้ไขว้เขวไปจากความจริงที่เกิดขึ้นในไทย

    ขอยืนยันว่าไม่ได้หายไป เพียงแต่ไม่ได้ขยายฐานออไปมากเท่าที่ควร เพราะ วิปัสสนา นอกจากเผยแผ่โดยสายวัดมหาธาตุแล้ว ยังมีในสายอื่นอีก ที่ไม่เกี่ยวกันเลย ตามข้อมูลของสำนักเหล่านี้ คือ

    1.ความรู้กรรมมัฏฐานแบบลำดับที่วัดราชสิทธา คณะ 5 ได้สืบวิชาความรู้ต่อเนื่องมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน อดีตสมเด็จพระสังราช ปัจจุบันยังสอนแนวนี้อยู่โดยท่านพระอาจารย์วีระสังฆรักษ์

    2.สายวัดป่า ซึ่ง ฟื้นฟูอย่างเห็นเด่นชัด โดยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านศึกษาธรรมจากพระไตรปิฎกและฝึกฝนตนเองด้วยการแนะนำเบื้องต้นจากหลวงปู่เสาร์

    3.สายวัดปากน้ำ โดยหลวงปู่สด จันทสโร วิชชาธรรมกาย ซึ่งได้ฝึกลูกศิษย์อีกหลายสายใหญ่ ได้แก่วัดพระธรรมกายและวัดหลวงพ่อสด(ราชบุรี)

    4.ท่านพุทธทาส อินทปัญโญ ท่านได้ศึกษาพุทธวจนจนแตกฉานและสอนตามแนวดั้งเดิมตามพระไตรปิฎก

    ทั้งสี่สำนักนี้ไม่ปรากฎหลักฐานใด ๆ ว่ารับความรู้มาจากพม่าหรือลังกา

    หลวงปู่มั่นเคยไปธุดงค์ในดินแดนพม่ามาช่วงหนึ่งด้วยญานของท่านทราบว่าไม่มีพระอริยะขั้นสูงมากนัก(จำไม่ได้ว่าอ้างอิงโดยหลวงตามทองคำ จารุวัณโณใช่หรือไม่)

    นอกจากนั้น จากที่เคยเห็นมาความเคร่งครัดในวินัยของพระในพม่าเองยังเป็นรองพระมอญซึ่งมีวินัยเร่งกว่ามากจนกระทั่งรัชกาลที่ 4 ได้นิมนต์พระสายมอญมาช่วยสถาปนาตั้งวงศ์นิกายธรรมยุติในไทยในสมัยรัชกาลที่ 3

    ในด้านอภิธรรมยอมรับว่าทางพม่าเชี่ยวชาญกว่าที่อื่นๆ โดยทุกวันนี้วัดมหาธาตุยังศึกษาและมีวิธีการสอนแบบพม่าอยู่ที่อภิธัมโชติกวิทยาลัย ส่วนการปฏิบัติในวันนี้ที่คณะ 5 พระอาจารย์สุวพันธ์ที่คุมกรรมมัฏฐานอยู่เป็นพระไทยฝึกฝนตนเองซึ่งก็ไม่ได้เน้นวิถีตามแบบฉบับตามตำราของพม่าแต่อย่างใด

    อย่างไรก็ตามหากต้องการศึกษาแบบฉบับพม่าแท้ ๆ ตามแนวท่านมหาสีสยาดอ อาจารย์ใหญ่ของพม่า ต้องไปที่วัดท่ามะโอ ลำปาง เพราะพระอาจารย์ที่สอน คือพระคันธสาราภิวงศ์ท่านได้เคยไปเรียนที่พม่ามาหลายปีทั้งปริยัติและเคยไปฝึกปฏิบัติกับท่ามหาสีสยาดอมาด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2012
  8. mahamettayai

    mahamettayai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    1,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +10,673
    พอดีเป็นการปั้นข่าวของนักข่าวนสพ.ฉบับดังล่าว ที่จขกท. past มาทั้งกระบิ ไม่ได้ตัดต่อแต่ประการใด
    เพราะส่วนตัวก้อไม่ค่อยเห็นด้วยเหมือนกันค้รา :eek:
     

แชร์หน้านี้

Loading...