คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube AMARINTV : อมรินทร์ทีวี
    ธงเรือ คือธงอะไร ? ธงนายพลเรือ หรือ ธงราชนาวีไทย | เกมกระชากล้าน ซีซั่น 2
    www.youtube.com/watch?v=B2Le8mH5ons


    #ถามว่าตอบถูกไหม ตอบเลยว่าไม่ (คิดว่าแน่ที่แท้ผิดเหมือนเขา)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2021
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    upload_2021-8-19_7-18-44.jpeg upload_2021-8-19_7-19-3.jpeg upload_2021-8-19_7-19-33.jpeg

    วัดโบสถ์แจ้งตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๔๙ บ้านโคกกะเดื่อง หมู่ที่ ๕ ตำบลตลาดน้อย อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย
    พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูง มีลำคลอง และถนนตัดผ่าน ทั้งทางด้านทิศใต้ และทิศเหนือ

    ประวัติวัดโบสถ์แจ้ง

    เกิดขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับมาและก็เข้าสู่สงครามไทยพม่าสู้รบกันเมื่อเป็นสงครามกันขึ้น หรือเมื่อสงครามเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ไหนๆก็ตาม เป็นหลักธรรมดาอยู่เอง ว่าทั้งฝ่ายชนะและฝ่ายพ่ายแพ้ก็ต้องประสพซึ่งความพินาศย่อยยับเสียหายมากมาย
    ทั้งทรัพย์สินสิ่งของประชาชนพลเมืองต้องมาล้มตายบาดเจ็บพิการและสูญหายเกือบเสมอกันและศิลปะวัฒนธรรมที่เคยเจริญรุ่งเรืองมา ก็จะค่อยๆพากันเสื่อมโทรมลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และก็เป็นไปตามหลักธรรมขององค์พระบรมศาสดา ที่ตรัสไว้ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนั้นมีเจริญและเสื่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปดังนี้

    วัดโบสถ์แจ้ง เดิมทีนั้นชื่อวัดโบสถ์ ตั้งอยู่ในเขตตำบลตลาดน้อย อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี และเดิมทีนั้นในหมู่บ้านนี้มีวัดร้างอยู่ ๕ วัด ด้วยกันคือ ๑.วัดโบสถ์ ๒.วัดหลวง ๓.วัดสุด ๔.วัดขวิด ๕.วัดแจ้ง การปกครองคณะสงฆ์ในสมัยโน้น ขึ้นอยู่กับเจ้าคณะมณฑลเป็นผู้ดูแล
    ดังนั้นประมาณปี พ.ศ. ๒๓๑๔ หลังเสียกรุงศรีอยุธยาลงไม่นาน เจ้าคณะมณฑล ได้มอบหมายคำสั่งให้หลวงปู่ทัด ไปทำการมาบูรณปฏิสังขรณ์ใน ๕ วัด โดยเลือกเอาวัดหนึ่ง ให้เป็นวัดที่ถูกฟื้นฟูและมีพระสงฆ์สามเณรอยู่ประจำเพื่อที่จะได้ให้ประชาชนได้ใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศลทางพระพุทธศาสนา ดังนั้นหลวงปู่ทัดจึงเดินทางมาดูและเห็นวัดโบสถ์นี้มีความร่มรื่นดีและมีโบสถ์ร้างตั้งอยู่ถือว่าเป็นทำเลภูมิประเทศ
    สงบสงัดดี การเดินทางในสมัยนั้นใช้เรือพายเป็นพาหนะกันเป็นหลักตามสภาพของกาลสมัย ความเจริญด้านวัตถุยังไม่เป็นเช่นทุกวันนี้ เมื่อหลวงปู่ทัดเลือกเอาวัดโบสถ์เป็นวัดที่จะพัฒนาแล้วก็ไปที่วัดพระพุทธบาทเพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาทและตั้งจิตอธิษฐาน ถ้าแม้นมีบุญมีวาสนาอยู่อยู่คู่วัดโบสถ์แล้วก็ขอให้การบูรณปฏิสังขรณ์เป็นไปด้วยความราบรื่นโดยตลอดด้วยเถิดจากนั้นแล้ว วัดโบสถ์ก็ค่อยเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ

    วัดโบสถ์แจ้ง ตั้งอยู่เลขที่ ๔๙ บ้านโคกกะเดื่อง หมู่ที่ ๕ ตำบลตลาดน้อย อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๑ งาน ๔๑ ตารางวา ในโฉนดเลขที่ ๑๑๑๑๖ ปัจจุบันมีผู้ศรัทธา (คุณชาญศักดิ์และคุณฐิติมา อินทร์เนตร) สร้างรูปเหมือนเสด็จเตี่ยถวายแก่วัดโบสถ์แจ้งโดยทางวัดได้ก่อสร้างพลับพลาของกรมหลวงชุมพรหรือเสด็จเตี่ยตามภาพ

    อาณาเขตทิศเหนือ จดทางสาธารณะ
    ทิศใต้ จดที่เอกชน
    ทิศตะวันออก จดที่เอกชน
    ทิศตะวันตก จดทางสาธารณะ

    ที่มา : http://watbotjang.myreadyweb.com/webboard/topic-5348.html
    ภาพ : wikipedia.org
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2021
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    วันที่ 31 ธ.ค.62 พระปลัดจรูญ โกสโล วัดสมานมิตร ต.หนองงูเหลือม อ.เฉลิมพพระเกียรติ จ.นครราชสีมา พร้อมทั้งพุทธสานิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาจากทั่วสารทิศ จำนวนนทั้งสิ้น กว่า 3,000 คนได้พร้อมใจกันจัดบุญใหญ่มหามงคลต้อนรับปีใหม่สวดมนต์ข้ามปี เพื่อความเป็นสิริมงคล และพิธีเททองหล่อพระบรมรูปพระปิยมหาราช และกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ( เสด็จเตี่ย ) เพื่อนำมาประดิษฐานที่วัดสมานมิตร ให้พุทธศาสนิกชน และปราชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาที่วัดได้กราบสักการะ และเป็นการระลึกนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อปวงประชา

    DSC_0102-1024x684.jpg
    DSC_0112-1024x684.jpg
    DSC_0133-1024x684.jpg
    DSC_0141-1-1024x684.jpg
    บรรยากาศภายในงานยังได้จัดให้มีพิธีทำวัตรสวดมนต์เย็น ปฏิบัติธรรม ในวันที่ 31 ธ.ค. 62 ตังแต่เวลา 21.30 น.มีพิธีสวดมนต์ข้ามปี จากนั้น เวลาประมาณ 00.09 น. ( เที่ยงคืนเก้านาที) ได้มีการประกอบพิธีบวงสรวงเททองหล่อ พระบรมรูปพระปิยมหาราช และกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ( เสด็จเตี่ย ) โดยนางสาว ทิวาพร แสนน้อย หนึ่งในเจ้าภาพผู้มีจิตศรัทธาแรงกล้าที่จะร่วมเป็นเจ้าภาพ พิธีเททองหล่อพระบรมรูปพระปิยมหาราช และกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ( เสด็จเตี่ย ) ก็ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวอย่างภาคภูมิใจ ว่า การเป็นเจ้าภาพงานในครั้งนี้สืบเนื่องมาจาก ตนเองได้บรรพชาอุปสมบทให้กับ พระธีรวรรธน์ ( หลวงพี่เสือ ) ซึ่งเป็นพระลูกชาย เพื่ออุทิศเป็นพระกุศลถวาย แด่ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ( เสด็จเตี่ย ) ณ วัดสมานมิตรแห่งนี้ และได้อยู่จำพรรษากาล กระทั่งตนเองยังได้เป็นเจ้าภาพถวายกฐิน ณ วัดสมานมิตรแห่งนี้ด้วย

    Sequence-01.Still074-1024x576.jpg
    Sequence-01.Still076-1024x576.jpg
    Sequence-01.Still077-1024x576.jpg
    Sequence-01.Still079-1024x576.jpg
    ต่อมาได้ทราบว่าทางวัดสมานมิตร และคณะกรรมการฯ จะมีการจัดสร้าง เททองหล่อพระบรมรูปพระปิยมหาราช และกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ( เสด็จเตี่ย ) เพื่อประดิษฐานไว้ที่วัดสมานมิตร เพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาและขอพร ของชาวบ้าน ประกอบกับตนเองก็มีความตั้งใจในการที่จะจัดสร้างเช่นกัน จึงได้อาสาเข้ามาเป็นหนึ่งในเจ้าภาพร่วมกับ ดร.เบญจวีณ์ ธีรสัมมาพงศ์ คุณ พัชชานันท์ ธีรสัมมาพงศ์ ในพิธี เททองหล่อพระบรมรูปพระปิยมหาราช และกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ( เสด็จเตี่ย ) อย่างไรก็ตามหลังจากนี้จะได้มีการกำหนดการจัดงานฉลอง พระบรมรูปพระปิยมหาราช และกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ( เสด็จเตี่ย ) ซึ่งประดิษฐาน ณ วัดสมานมิตรแห่งนี้ด้วย

    Sequence-01.Still080-1024x576.jpg
    Sequence-01.Still082-1024x576.jpg
    Sequence-01.Still084-1024x576.jpg
    Sequence-01.Still086-1024x576.jpg
    ที่มา : https://www.mahachon-news.com/archives/4094
     
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
     
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ไกรลาส สวรรค์บนโลกมนุษย์ ที่สัมผัสได้จริง
    557000015482101.jpg

    พระอาทิตย์สาดแสงสีทอง อีกมุมหนึ่งที่งดงามของเขาไกรลาส เหมือนดังภาพฝัน...
    ภูเขาน้อยใหญ่ทอดตัวเรียงรายเป็นทิวยาว ยอดแหลมสูงพุ่งเสียดฟ้า แต่งามตระหง่านน่าเกรงขามอยู่ท่ามกลางทะเลหมอก กลืนไปกับหิมะ
    ที่ปกคลุมขาวโพลน ยามต้องแสงอาทิตย์จ้าจะสะท้อนสีเงินระยิบระยับ หากพระอาทิตย์เคลื่อนคล้อยหรือโผล่พ้นขอบฟ้า ผืนฟ้านั้นก็จะฉาบด้วยแสงสีม่วงหรือสีทองเรืองอร่าม หากได้ขึ้นไปบนนั้นคงมีความสุขเหมือนอยู่บนสวรรค์

    เหมือนเป็นเรื่องฝัน ถ้าบอกว่าทิวเขายาวที่พูดถึงนี้คือ “เขาไกรลาส” ชื่อที่คุ้นหูคุ้นตาในงานวรรณกรรม ตำนาน เรื่องเล่า หรือความเชื่อทางศาสนาแต่ที่เอ่ยมาทั้งหมดข้างต้น มีอยู่จริงบนพื้นโลกมนุษย์เรา

    ไกรลาสของแท้ หน้าตาเป็นอย่างไร
    ในทางภูมิศาสตร์ เขาไกรลาส (Mount Kailash, Mount Kailas) มีชื่อภาษาทิเบตว่า “คัง-ติเซ” (Gang Tise) แปลว่า ธารน้ำแข็ง เป็นยอดเขาหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเทือกเขาเดียวกับที่ตั้งของยอดเขาศักกะมารตาหรือเอฟเวอเรสต์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน ทางตอนเหนือของยอดเขานันทาเทวีราว 100 ไมล์ ถ้าจะเปิดแผนที่ดู ต้องหาชื่อที่เป็นทางการว่า กังติ-สู-ชาน (Kangti-ssu-shan) เขาไกรลาสมีอายุถึงปัจจุบัน 50 ล้านปี สูง 22,020 ฟุต ถือเป็นลำดับที่ 32 ของโลก และสูงเป็นลำดับดับที่ 19 ในบรรดายอดเขาของเทือกเขาหิมาลัย

    ปกติภูเขานี้จะปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งดูขาวโพลนตลอดปี รูปทรงภูเขามนราบ หิมะที่จับขาวโพลนเมื่อต้องแสงอาทิตย์ ทำให้ดูประดุจแผ่นเงินหรือหน้าผาสีขาว จึงได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “ภูเขาสีเงิน” (“ไกรลาส” หรือ “ไกลาส” เป็นคำวิเศษณ์ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “สีเงินยวง”)

    เชิงเขาไกรลาส ยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำที่ยาวที่สุดสี่สายแห่งเอเชีย ได้แก่ แม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputra River) ซึ่งไหลไปทางภาคกลางของทิเบต แล้วลงไปที่แคว้นอัสสัมของอินเดีย แม่น้ำสินธุ (Indus or Sindhus) ในปากีสถาน แม่น้ำสัตเลจ (Sutlej หรือ Sutudri)
    ซึ่งไหลรวมกับแม่น้ำสินธุ แม่น้ำการ์ลี ซึ่งได้กลายเป็นแม่น้ำคงคา (Ganges) ในอินเดีย นอกจากนี้ ยังมีทะเลสาบอีก 7 แห่งอยู่รายรอบ ซึ่งแห่งที่สำคัญที่จะต้องกล่าวถึง คือ “ทะเลสาบมานัสโรวาร” (Manasrowar) หรือ “ทะเลสาบมานัสสะ” เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ กว้าง 15 ไมล์ อยู่ทางใต้ของเขาไกรลาส ชาวทิเบตเรียกทะเลสาบนี้ว่า Tso Rinpoche แปลว่า ทะเลสาบอันมีค่า เชื่อกันว่าน้ำในทะเลสาบแห่งนี้สามารถรักษาโรคได้

    เขาไกรลาสไม่ใช่เป็นเพียงยอดเขาน้ำแข็งที่งดงามชวนดู แต่ยังมีเสน่ห์ชวนค้นหา เพราะความผูกพันเกี่ยวโยงกับความเชื่อทางศาสนาหลายศาสนา ทั้งฮินดู พุทธ เชน (Jain) และบอนหรือเพิน (Bon ศาสนาดั้งเดิมของทิเบต นับถือผี แต่ต่อมาได้กลายมาเป็นนิกายหนึ่งในพุทธศาสนา) ซึ่งล้วนเชื่อว่า เขาไกรลาสเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ และทะเลสาบมานัสโรวาร์ก็ได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ด้วย

    ความผูกพันผ่านความเชื่อทางศาสนา
    ความยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ของเขาไกรลาส สอดแทรกเข้ามาอยู่ในความคิดความเชื่อของผู้คนที่อาศัยผูกพันอยู่โดยรอบเป็นรัศมีกว้างไกลมาแต่โบราณกาล กลุ่มความเชื่อทางศาสนาหลักๆในบริเวณนี้ ได้แก่ ฮินดู พุทธ และเชน ซึ่งมีวิธีอธิบายธรรมชาติอันเหมือนสวรรค์บนพื้นโลกนี้ต่างกันไป

    ฮินดู
    ชาวฮินดูนับถือเทพเจ้า เทพแต่ละองค์ประทับอยู่ ณ ที่ต่างๆกัน เช่น ท้าวจตุโลกบาลประทับอยู่ ณ สวรรค์ชั้นแรกนามว่าจาตุมหาราชิกา พระพรหมในไตรภูมิกล่าวว่าอยู่ในพรหมโลก ซึ่งมี 16 ชั้น แต่เป็นที่ประทับของพรหมประเภทต่างๆ ที่มีแต่จิตหรือมีรูปด้วย ส่วนพระพรหมนั้นอยู่ต่างหาก ณ พรหมพฤนทา และพระนารายณ์หรือพระวิษณุ ทรงประทับหลับสนิทบนขนดของพระยาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร คือทะเลน้ำนม บ้างก็ว่าทรงไสยาสน์อยู่ ณ สะดือทะเล แต่พระศิวะ (พระอิศวร) ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส บนโลกมนุษย์ของเรานี่เอง เป็นยอดสูงสุดในตอนใต้ของทะเลสาบมานัสโรวาร์ ที่กั้นแดนทางเหนือของภารตวรรธ ซึ่งชาวฮินดูนับถือกันมาก ถือกันว่าเป็นที่สถิตแห่งเทพและประชาบดีหรือฤาษีสำคัญๆ

    พระศิวะทรงเป็นเทพสูงสุดของชาวฮินดู เป็นเทพผู้ทำลายล้างและเทพผู้สร้างสรรค์ พระองค์จะทรงประทานพรวิเศษให้แก่คนผู้หมั่นกระทำความดี และยึดมั่นในศีลธรรมเท่านั้น หากผู้ใดประพฤติเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้วปรารถนาสิ่งวิเศษใด ๆ ก็ให้พรนั้น พระศิวะจะประทานสิ่งวิเศษให้ในไม่ช้า แต่เมื่อได้พรสมปรารถนาแล้ว วันหน้าหากกระทำผิดไปจากความดีงาม คนผู้นั้นจะเกิดวิบัติในชีวิต พระศิวะจะกลายเป็นเทพผู้ทำลายทันที

    พวกอารยันนับถือเขาไกรลาสมาตั้งแต่สมัยโบราณ ว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เป็นเขาที่ปรากฏในปกรณัมของศาสนาฮินดู เชื่อว่าคือที่ประทับของพระศิวะมาตั้งแต่ครั้งสร้างโลก และทะเลสาบมานัสโรวาร์คือที่ประทับของพระนางอุมาเทวี (พระนางปารวตี) พระมเหสี
    และเชื่อว่าเขาไกรลาสคือแห่งเดียวกันกับ “เขาพระสุเมรุ” และทะเลสาบมานัสโรวาร์คือ “สระอโนดาต” ในป่าหิมพานต์ ตามความเชื่อเรื่องจักรวาลของศาสนาพุทธ ทั้งยังเชื่ออีกว่า เขาไกรลาสหรือเขาพระสุเมรุ เป็นภูเขาที่เป็นหลักของโลก ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล
    มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาวต่างๆหมุนโดยรอบ

    เขาพระสุเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางนทีสีทันดร มีภูเขา 3 ลูกเรียกว่า ตรีกูฏ รองรับอยู่ 3 จุด เป็นสามเส้า หนุนให้ตั้งอยู่เหนือน้ำ เป็นที่อยู่ของสิ่งมีวิญญาณในภพและภูมิต่างๆ นับแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ไปถึงนาค ครุฑ ยักษ์มาร คนธรรพ์ ฤาษี เทวดา มีนทีสีทันดรล้อมรอบออกไปจนสุดกำแพงจักรวาล มีทิวเขาทั้งเจ็ดที่เรียกว่า สัตบริภัณฑ์ ล้อมเขาพระสุเมรุเป็นวงแหวนอยู่รอบนอก ห่างกันทีละชั้น เป็น 7 ชั้น ด้านทั้งสี่ของเขาพระสุเมรุนั้นเชื่อมต่อกันด้วยยอดเขา เป็นเทือกเขายาวติดกันเป็นพืด เรียกว่าเขาจักรวาล

    เชื่อกันว่าทะเลสาบมานัสโรวาร์เป็นสถานที่ที่เป็นต้นกำเนิดของหงส์ และหงส์จะบินกลับมาที่นี่ทุกปี บ้างก็ว่าครั้งหนึ่งพระศิวะก็เคยเกิดเป็นหงส์บินอยู่เหนือทะเลสาบแห่งนี้มีการกล่าวถึงทะเลสาบมานัสโรวาร์ ในมหากาพย์รามายณะ และมหากาพย์มหาภารตะยุทธว่า ใครได้ถูกต้องสัมผัสหรือนำเอามาล้างร่างกาย หรือได้อาบน้ำในทะเลสาบนี้ ผู้นั้นจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ และถ้าใครได้ดื่มน้ำในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็จะได้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ใกล้ที่สถิตของพระศิวะ ปัจจุบัน ทะเลสาบมานัสโรวาห์ ยังมีความสำคัญต่อชาวอินเดีย เพราะเป็นที่ลอยเถ้ากระดูกของมหาตะมะ คานธี ผู้นำทางศาสนาและการเมืองที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียและของโลก

    พุทธศาสนา
    ในทางพุทธศาสนา มีการอธิบายโครงสร้างและลักษณะต่างๆของจักรวาลไว้บ้างใน “ไตรภูมิ” แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบรรยายถึงรูปลักษณ์ของจักรวาลไว้โดยตรง หากทรงเน้นเรื่องการดับทุกข์มากกว่า ทรงเห็นว่ามนุษย์รู้เรื่องเหล่านี้ไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ไม่ช่วยให้ดับทุกข์ได้เลย

    คติทางพุทธศาสนาเชื่อว่า เขาพระสุเมรุคือเขาไกรลาส เป็นภูเขาซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางจักรวาล จึงถือเป็นเสาหลักของโลก มียอดเป็นที่ตั้งแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์ มีปลาอานนท์หนุนอยู่รอบๆเขาพระสุเมรุ

    ต่อมามีผู้พยายามรวบรวบเรื่องราวเกี่ยวกับโลก จักรวาล และภพภูมิต่างๆ จากที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและแหล่งอื่นๆ มาประกอบเรียบเรียงเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาประเภทหนึ่ง เรียกว่า คัมภีร์โลกศาสตร์ เฉพาะที่เกิดขึ้นในไทยและเป็นที่รู้จักกันดีมีอยู่ 2 ฉบับ คือ “ไตรภูมิกถา” หรือ “ไตรภูมิพระร่วง” และ “ไตรภูมิโลกวินิจฉัย”

    ไตรภูมิ แปลว่า 3 โลก ไตรภูมิจึงกล่าวถึงโลกทั้งสาม ได้แก่ สวรรค์ มนุษย์ นรก (3 โลก = 1 จักรวาล)
    ตามตำนานกล่าวถึงป่าหิมพานต์ว่าอยู่โลกมนุษย์นี่เอง ตั้งอยู่ในชมพูทวีป บนเขาหิมพานต์หรือหิมาลายา (หิมาลัย) มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด เป็นที่อาศัยของสัตว์หลายชนิด รวมทั้งมนุษย์ด้วย
    ป่าหิมพานต์มีสระอยู่ 7 สระ ที่มีชื่อเสียงคือ สระอโนดาต และเป็นสระเดียวที่ชาวฮินดูนับถือด้วย โดยเชื่อว่า คือทะเลสาบมานัสโรวาร์ของชาวฮินดูนั่นเอง สระนี้มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ได้แก่ สุทัศนกูฏ ซึ่งล้วนไปด้วยทอง จิตรกูฏ ซึ่งล้วนไปด้วยแก้ว กาลกูฏ ล้วนแล้วด้วยนิลมณี ไกรลาส ล้วนแล้วด้วยเงิน ที่สถิตของพระอิศวร และคันธมาทกูฏ ล้วนแล้วด้วยแก้วมณีและพันธ์ไม้หอมต่างๆ บางชนิดดอกหอม บางชนิดเปลือกหอม บางชนิดยางหอม บางชนิดรากหอม เขานี้ ถ้าเดือนมืดจะแลเห็นรุ่งเรืองเหมือนถ่านเพลิงอันลุกโชน ถ้าเดือนหงายก็เรืองเหมือนไฟไหม้ป่า ส่วนที่เชิงเขามีผาชะโงก เรียกว่า นันทมูล เป็นที่ซึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายโปรดประทับ มีถ้ำคูหา 3 แห่ง คือสุวรรณคูหา มณีคูหา และรัชฏคูหา

    น้ำในสระอโนดาตใสสะอาดและเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ น้ำไหลออกตามซอกภูเขาที่อยู่รอบ 4 ทิศ มีท่าน้ำอยู่ 4 ท่า เป็นที่อาบน้ำของเทวดา เทพธิดาท่าหนึ่ง พระปัจจเจกพุทธเจ้าท่าหนึ่ง ฤาษีวิทยาธรท่าหนึ่ง พระอรหันต์ท่าหนึ่ง สำหรับชาวทิเบต ภูเขาไกรลาสคือสถานศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวพุทธสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ ชาวพุทธนิกายบอน พวกเขาเชื่อว่า บริเวณใกล้ภูเขาลูกนี้คือที่ประสูติของพระพุทธเจ้าเติมปา เชนรับ มิโวเช และภูเขาลูกนี้คือภูเขาศักดิ์สิทธิ์ “ยุงตรุง กูเซก” ซึ่งมีลักษณะเป็นสวัสดิกะเก้าชั้น แทนยานเก้าในพระพุทธศาสนา เป็นที่ประทับของพระชางชุง
    เมรี เทพยีตัม (Yidam) องค์สำคัญ ส่วนทะเลสาบมานัสโรวาร์คือสถานสรงน้ำของพระพุทธเจ้าเติมปา เชนรับ ส่วนชาวพุทธทิเบตนิกายอื่นๆ
    เชื่อว่า ไกรลาสคือที่ประทับของพระจักรสัมภระ (Chakrasambhara หรือ Buddha Demchok) ซึ่งเป็นเทพยีตัมองค์สำคัญ และเป็นพระพุทธเจ้าศากยมุนีปางพิโรธ และที่ประทับของพระฑากินี วัชรวราหิ คู่ปฏิบัติธรรมของพระองค์

    ศาสนาเชน
    เขาไกรลาสมีลักษณะคล้ายโดม ทางด้านใต้มีแนวที่เกิดจากการกัดเซาะของลมและพายุตัดลึกของช่องเขา ดูดั่งเครื่องหมายสวัสดิกะ (Swastika) อันเป็นสัญลักษณ์โบราณของอินเดียที่แสดงถึงอำนาจ
    ในศาสนาเชน เครื่องหมายสวัสดิกะคือสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์และรัศมีแห่งพระอาทิตย์ ศาสนาเชนเชื่อว่าเขาไกรลาสคืออัษฏาปทะ (Astapada) เป็นที่ตรัสรู้ของนักบวชคนแรก คือ ฤษภะ (Rishabha)
    คำว่าเชนมาจากคำว่า “ชินะ” มีความหมายว่าผู้ชนะ หมายถึงปรมาจารย์ของศาสนาที่มีชัยชนะต่อกิเลสตัณหาและความต้องการของร่างกายได้
    มีหลักธรรมที่สำคัญคือ อหิงสา คือ ไม่เบียดเบียน และไม่ใช้ความรุนแรง

    อิทธิพลความเชื่อเขาไกรลาสในสถาปัตยกรรม
    ด้านวรรณคดีไทย ได้รับเอาเขาพระสุเมรุเข้ามาตั้งแต่สุโขทัย ในไตรภูมิพระร่วง นอกจากนี้ ยังมีปรากฎในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ในมหาเวสสันดรชาดก สมุทรโฆษคำฉันท์ โองการแช่งน้ำ ขุนช้างขุนแผน
    ด้านสถาปัตยกรรม เช่น คติการสร้างพระเมรุ เพื่อใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง เป็นวัฒนธรรมแบบเทวนิยมที่สังคมไทยรับมา เชื่อกันว่าวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพจะเสด็จคืนสู่สวรรค์ ณ ดินแดนเขาพระสุเมรุ จึงต้องจัดสถานที่สำหรับพระราชทานเพลิง ให้มีลักษณะอย่างเขาพระสุเมรุขึ้นใจกลางพระนคร สร้างตามลักษณะผังเขาพระสุเมรุที่เชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางจักรวาล ทิพยวิมานที่สถิตของเทพยดา รายล้อมด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้ง 7 และมหานทีสีทันดร มีป่าหิมพานต์ ที่อยู่ของสัตว์นานาชนิด นี่คือสถานที่จำลองแดนสวรรค์ในโลกมนุษย์ที่ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย นอกจากไทยแล้ว ประเทศเพื่อนบ้านเรายังได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมด้วย เช่น ปราสาทพระวิหาร ภาษาเขมรเรียกว่า “Phrear Vihear” เป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระอิศวร เทพเจ้าสูงสุดตามแนวคิดของฮินดู ด้วยคติความเชื่อในการเป็นยอดเขาไกรลาส ศูนย์กลางจักรวาล
    คติความเชื่อเรื่องไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ก็ปรากฏมายมายที่พม่าด้วยเช่นเดียวกัน เห็นได้จากการสร้างเมือง การสร้างปราสาทราชวัง ที่มีคูน้ำล้อมรอบ อันแสดงถึงความเป็นศูนย์กลางจักวาล ที่มีมหานทีสีทันดรล้อมรอบ เช่น พระราชวังมัณฑเลย์ที่สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2400-2402 โดยพระเจ้ามินดง เพื่อเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามคติพุทธศาสนา
    ความเชื่อเรื่องศูนย์กลางจักรวาลของเขาพระสุเมรุ อันหมายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ปรากฏคติความเชื่อนี้ที่ลาวด้วย เช่น ในเรื่องของยอดจั่วหัวท้ายของอุโบสถ (สิม) ซึ่งภาคกลางก็คือช่อฟ้า สิมทำเป็นรูปปราสาท และที่สำคัญคือประดับอยู่สันหลังคา โดยมีความหมายถึงปราสาทของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สิมจึงเสมือนเป็นศูนย์กลางจักรวาลนั่นเอง

    “ไกรลาสยาตรา” การแสวงบุญสู่เขาศักดิ์สิทธิ์
    เขาไกรลาสถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของหลายศาสนาดังกล่าว การเดินขึ้นเขาไกรลาสถือเป็นกุศลยิ่งใหญ่ ว่าได้เข้าใกล้พระเจ้ามากที่สุดแล้ว ดังนั้น เราจึงเห็นนักแสวงบุญจากที่ต่างๆพยายามเดินทางไปให้ถึงเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
    ชาวอินเดียเดินทางไปแสวงบุญที่เขาไกรลาสตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ แต่เนื่องจากเป็นเขตที่โจรผู้ร้ายชุกชุม อีกทั้งการเดินทางไปกลับก็กินเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ดังนั้น คนที่มีศรัทธาแก่กล้าเท่านั้นจึงจะเดินทางไป
    ในแต่ละปีมีชาวฮินดูจำนวนมากมาทำ “ไกรลาสยาตรา” จาริกแสวงบุญยังภูเขาและทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการเดินสวดมนต์เวียนขวาไปตามเส้นทางแสวงบุญรอบๆทะเลสาบ และชำระล้างร่างกาย โดยเชื่อว่าเป็นการบูชาและได้อยู่ใกล้พระศิวะ
    นักแสวงบุญบางคนก็ว่า โดยรูปทรงของเขาไกรลาส เป็นรูปทรงของ “วิศวะลึงค์” (Vishwalinga) หรือศิวลึงค์ของโลก ผู้ที่ได้เห็นเพียงครั้งเดียวจะประสบความสุข และแสงสว่างของภูเขาก็คือแสงสว่างของพระเป็นเจ้า
    บางคนเชื่อว่าการเดินรอบเขาไกรลาสได้ครบ 108 รอบ จะได้ไปเสวยสุขบนสรวงสวรรค์ (คนทั่วไปเดิน 3 วัน จึงจะได้ 1 รอบ ถ้า 108 รอบ ก็เอา 3 คูณเข้าไป เรียกว่างานนี้อาศัยศรัทธาล้วนๆ)
    นักแสวงบุญชาวทิเบตเชื่อว่า การเดินภาวนาที่เรียกว่า คอรา (Kora) รอบภูเขา ถือเป็นการเดินรอบองค์พระพุทธเจ้าผู้ให้พรแก่สถานที่ และเชื่อว่าประทับอยู่ที่นั่น และเป็นการทำความเคารพคุรุอาจารย์ผู้เดินทางมาปฏิบัติธรรม ณ ภูเขาแห่งนี้ ในขณะเดินนั้นมีข้อห้ามมากมาย เช่น ห้ามพูดปด หรือนอนลงบนพื้น แต่ทำความเคารพด้วยการกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ได้ (กราบโดยให้อวัยวะทั้ง 8 จุดจรดแตะแผ่นดิน ได้แก่ หน้าผาก 1 ฝ่ามือ 2 หน้าอก 2 เข่า 2 และปลายเท้าสอง)
    บริเวณริมทะเลสาบมานัสโรวาร์มีกองหินอันเปรียบเสมือนสถูป ที่ผู้เดินทางมาทำการบูชาสร้างขึ้นอยู่มากมาย พวกไกรลาสยาตราจะนำว่าวที่มีรูปวงล้อออกมาชักขึ้นไปบนท้องฟ้าเป็นการบูชา และมีการปักธงหลากสีแบบชาวทิเบตด้วย
    เขาไกรลาสที่มองเพียงผาดอย่างห่างไกล อาจมีแค่ความสวยประทับใจอย่างภาพฝัน แต่ถ้าได้มาเห็นด้วยตา สัมผัสด้วยใจ อย่างรู้จริงถึงความคิดความเชื่อ และชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่ใกล้ชิดกับสภาพธรรมชาติอันน่าตื่นตะลึงแล้ว ไม่ว่าใครก็ย่อมจะอดหลงรักตัวตนที่แท้จริงของภูเขาในความฝันแห่งนี้ไม่ได้

    เดินทางไป เหนื่อยกาย แต่ใจสุข
    เขาไกรลาสตั้งอยู่ในทิเบต ในเขตปกครองพิเศษของจีน เส้นทางการเดินทางไปจาริกแสวงบุญมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทางการเมือง เส้นทางที่ชาวฮินดูเดินทางจากอินเดียมาจาริกแสวงบุญผ่านเทือกเขาหิมาลัยถูกปิด รัฐบาลอินเดียพยายามเจรจากับรัฐบาลจีนขอให้เปิดเส้นทางผ่านทางฝั่งทิเบต ปัจจุบันทางการจีนจึงลดความเข้มงวดในการอนุญาตผ่านทาง

    1. บินไปเมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล แล้วต่อรถข้ามแดนไปทิเบต
    2. บินไปเดลลี ประเทศอินเดีย ต่อรถไฟไปชายแดนอินเดีย แล้วเดินข้ามแดนไปยังทิเบต มีข่าวว่าทางการจีนปิดเส้นทางนี้แล้ว ผู้สนใจควรตรวจสอบก่อน
    3. บินไปจีน แล้วต่อรถไปทิเบต จากเมืองลาซา เขตปกครองพิเศษในจีน มีบริษัททัวร์จัดแพ็กเกจเดินทางไปเขาไกรลาส แต่ก็ต้องรอจำนวนคนให้ครบตามที่บริษัทตั้งไว้

    การเตรียมตัว
    แม้มีทิวทิศน์ที่งดงาม แต่ด้วยเส้นทางยาวไกลที่เต็มไปด้วยอุปสรรค การเดินทางยากลำบาก ต้องใช้เวลาหลายวัน กลางวันแดดแรงจ้า กลางคืนเย็นยะเยือก อากาศเบาบาง มีออกซิเจนน้อยนิด เรื่องน้ำดื่มและอาหารการกินก็มีจำกัด เรื่องโจรผู้ร้ายชุกชุม ดังนั้น ผู้เดินทางจะต้องเตรียมสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์เต็มที่ และหัวใจที่มุ่งมั่นเข้มแข็งและศรัทธาเต็มเปี่ยม พร้อมลุย

    สิ่งที่ต้องเตรียมไป
    - แท่นชาร์จแบตเตอรี่ในรถยนต์
    - ปลั๊กไฟแบบแผง เพื่อจะได้ชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน เพราะที่ทิเบตใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีช่วงเวลาสำหรับชาร์จไฟเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
    - อุปกรณ์กันหนาว (ที่สุด) แบบจัดเต็ม เช่น หมวกหน้ากากกันหนาว ถุงนอนอุ่นๆ ที่นั่นหนาวขนาดน้ำค้างแข็งเกาะเต็นท์
    - นอกจากยาสามัญและยาประจำตัวแล้ว ควรจะต้องเตรียมยาแก้แพ้ความสูงไปด้วย เพราะการแพ้ความสูง (High altitude sickness) เกิดจากเมื่อขึ้นบนที่สูงมาก ระดับความดันอากาศและออกซิเจนจะลดลง ร่างกายต้องปรับสมดุลกับระดับความสูง ทำให้อ่อนเพลีย หายใจได้สั้นๆ ต้องหายใจถี่ขึ้น เหนื่อยง่าย ปวดหัว คลื่นไส้ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ท้องเสีย ไอ

    (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 169 มกราคม 2558 โดย วิรีย์พร)

    557000015482102.jpg

    557000015482103.jpg

    ทะเลสาบมานัสโรวาร์ หรือสระอโนดาต ตามความเชื่อของชาวฮินดู
    557000015482104.jpg

    หิมะและน้ำแข็งปกคลุมเขาไกรลาสตลอดปี
    557000015482105.jpg

    557000015482106.jpg

    ธงมนตราของทิเบตโบกสะบัดพลิ้ว แลเห็นเขาไกรลาสอยู่ไม่ไกล
    557000015482107.jpg

    ธงมนตราของทิเบตโบกสะบัดพลิ้ว แลเห็นเขาไกรลาสอยู่ไม่ไกล
    557000015482108.jpg

    เขาไกรลาสทองคำในยามเช้า
    557000015482109.jpg

    “ไกรลาสยาตรา” ของผู้แสวงบุญชาวทิเบต
    557000015482110.jpg

    “ไกรลาสยาตรา” ของผู้แสวงบุญชาวทิเบต
    557000015482111.jpg

    “ไกรลาสยาตรา” ของผู้แสวงบุญชาวทิเบต
    557000015482112.jpg

    กองหินอันเปรียบเสมือนสถูป บริเวณทะเลสาบมานัสโรวาร์
    557000015482113.jpg

    557000015482114.jpg

    ที่มา : https://mgronline.com/dhamma/detail/9570000149851

    เผยแพร่: 5 ม.ค. 2558 09:49
     
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube Siam Thai
    ระบำไกรลาศสำเริง
    www.youtube.com/watch?v=JNBcaBoAIyw

    ภาพจากการแพร่ภาพสดการแสดงมหรสพสมโภชในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ 26 ต.ค. 2560
     
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ครุฑ

    113px-Emblem_of_Thailand.svg.png
    ครุฑ (สันสกฤต: गरुड) เป็นสัตว์ในนิยายในประมวลเรื่องปรัมปราฮินดูและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคและทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑ

    ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระวิษณุ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ"

    ครุฑเป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ
    ครุฑจะแบ่งได้ 5 ประเภทคือ
    1. ตัวเป็นคนอย่างธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่มีปีก
    2. ตัวเป็นคน หัวเป็นนก
    3. ตัวเป็นคน หัวและขาเป็นนก
    4. ตัวเป็นนก หัวเป็นคน
    5. รูปร่างเหมือนนกทั้งตัว

    เทพปกรณัม
    200px-Garudawsuthat0107.jpg
    ครุฑยุดนาค ภาพเขียนประดับบานประตูพระอุโบสถ
    วัดสุทัศนเทพวราราม
    200px-Vishnu_on_Garuda_det.jpg
    ภาพแกะสลักพระนารายณ์ทรงครุฑ ที่ปราสาทนครวัด
    เทพปกรณัมของครุฑในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เล่าว่าครุฑเป็นบุตรของพระกัศยปมุนีเทพบิดร และนางวินตา พระกัศยปมุนีองค์นี้เป็นฤษีที่มีฤทธิ์เดชมากองค์หนึ่ง และเป็นผู้ให้กำเนิดเทพอีกหลายองค์ในศาสนาพราหมณ์ พระองค์มีชายาหลายองค์ แต่องค์ที่เกี่ยวข้องกับครุฑนั้น นอกจากนางวินตาแล้ว ยังมีอีกองค์หนึ่งคือ นางกัทรุ ซึ่งเป็นพี่น้องกับนางวินตาและเป็นมารดาของนาคทั้งปวง

    ทั้งสองนางได้ขอพรให้กำเนิดบุตรจากพระกัศยป โดยนางกัทรุได้ขอพรว่าขอให้มีบุตรจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้ให้กำเนิดนาคหนึ่งพันตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอบุตรเพียงสององค์และขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา เมื่อนางคลอดบุตรปรากฏว่าออกมาเป็นไข่สองฟอง นางรออยู่เป็นเวลา 500 ปี ไข่ก็ยังไม่ฟัก นางทนรอไม่ไหวว่าบุตรของตนจะมีหน้าตาอย่างไร จึงทุบไข่ออกมาฟองหนึ่ง ปรากฏว่าเป็นเทพบุตรที่มีกายแค่ครึ่งท่อนบนชื่อ อรุณ อรุณเทพบุตรโกรธมารดาของตนที่ทำให้ตนออกจากใข่ก่อนกำหนด จึงสาปให้มารดาของตนเป็นทาสนางกัทรุ และให้บุตรคนที่สองของนางเป็นผู้ช่วยนางให้พ้นจากความเป็นทาส จากนั้นจึงขึ้นไปเป็นสารถีให้กับพระอาทิตย์หรือสุริยเทพ นางวินตาจึงไม่กล้าทุบไข่ฟองที่สองออกมาดู นางรอต่อไปอีก 1000 ปี รอให้ถึงกำหนดที่บุตรคนที่สองซึ่งก็คือพญาครุฑออกมาจากไข่เอง อนึ่ง เมื่อพญาครุฑแรกเกิดว่ากันว่า มีร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจรดฟ้า ดวงตาเมื่อกะพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกทีใด ขุนเขาก็จะตกใจหนีหายไปพร้อมพระพาย รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ทิศ ซึ่งทำให้บรรดาเทวดาทั้งหลายเดือดร้อนอย่างมาก บรรดาเทวดาจึงพากันไปขอร้อง ให้ลดขนาดลงมา

    ในกาลต่อมา นางกัทรุและนางวินตาได้พนันกันถึงสีของม้าอุไฉศรพที่เกิดคราวกวนเกษียรสมุทรและเป็นสมบัติของพระอินทร์ โดยพนันว่าใครแพ้ต้องเป็นทาสอีกฝ่ายห้าร้อยปี นางวินตาทายว่าม้าสีขาวส่วนนางกัทรุทายว่าสีดำ ความจริงม้าเป็นสีขาวดังที่นางวินตาทาย แต่นางกัทรุใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซมอยู่เต็มตัวม้า (บางตำนานว่าให้นาคพ่นพิษใส่ม้าจนเป็นสีดำ) นางวินตาไม่ทราบในอุบายเลยยอมแพ้ ต้องเป็นทาสของนางกัทรุถึงห้าร้อยปี

    ภายหลังเมื่อครุฑได้ทราบสาเหตุที่มารดาต้องตกเป็นทาสและได้ทราบเงื่อนไขจากพวกนาคว่า ต้องไปเอาน้ำอมฤตให้นาคเสียก่อนจึงจะให้นางวินตาเป็นไท ครุฑจึงบินไปสวรรค์ไปเอาน้ำอมฤตซึ่งอยู่กับพระจันทร์ แล้วคว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมา และเกิดต่อสู้กันขึ้น ฝ่ายเทวดานั้นไม่อาจเอาชนะได้ โดยเมื่อพระอินทร์ใช้วัชระโจมตีครุฑนั้น ครุฑไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่น้อย แต่ครุฑก็จำได้ว่าวัชระเป็นอาวุธที่พระอิศวรประทานให้แก่พระอินทร์ จึงสลัดขนของตนให้หล่นลงไปเส้นหนึ่งเพื่อแสดงความเคารพต่อวัชระและรักษาเกียรติของพระอินทร์ผู้ป็นหัวหน้าของเหล่าเทพ ด้านพระวิษณุหรือพระนารายณ์ก็ได้ออกมาขวางครุฑไว้และสู้รบพญาครุฑด้วยเช่นกัน แต่ต่างฝ่ายต่างไม่อาจเอาชนะกันได้ ทั้งสองจึงทำความตกลงยุติศึกต่อกัน โดยพระวิษณุให้พรแก่ครุฑว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะและให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่าพระองค์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าจะเป็นพาหนะของพระวิษณุ และเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปักอยู่บนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า

    เมื่อครุฑได้หม้อน้ำอมฤตนั้น พระอินทร์ได้ตามมาขอคืน ครุฑก็บอกว่าตนต้องรักษาสัตย์ที่จะนำไปให้นาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาส และให้พระอินทร์ตามไปเอาคืนเอง ครุฑจึงเอาน้ำอมฤตไปให้นาคโดยวางไว้บนหญ้าคา (และว่าได้ทำน้ำอมฤตหยดบนหญ้าคา 2-3 หยด ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคลในทางศาสนาพราหมณ์) ส่วนนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดี จึงยอมปล่อยนางวินตาแม่ครุฑให้เป็นอิสระ ขณะพากันไปสรงน้ำชำระกายเพื่อจะมากินน้ำอมฤตนั่นเอง พระอินทร์ก็นำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้นาคไม่ได้กิน พวกนาคจึงเลียที่ใบหญ้าคาด้วยเชื่อว่าอาจมีหยดน้ำอมฤตหลงเหลืออยู่ ทำให้ใบหญ้าคาบาดกลางลิ้นเป็นทางยาว (เรื่องนี้กลายเป็นที่มาว่าทำไมงูจึงมีลิ้นเป็นสองแฉกสืบมาจนทุกวันนี้) แต่นั้นครุฑกับนาคจึงเป็นศัตรูกันมาโดยตลอด และครุฑนั้นก็จะจับนาคกินเป็นอาหารเสมอ

    ครุฑมีชายาชื่ออุนนติหรือวินายกา โอรสชื่อ สัมปาติหรือสัมพาที และชฎายุหรือสดายุ ตามวรรณคดีพุทธศาสนากล่าวว่าครุฑมีขนาดใหญ่มาก วัดจากปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้ 150 โยชน์ เวลากระพือปีกสามารถทำให้เกิดพายุใหญ่ เกิดมืดมนและทำลายบ้านเมืองให้หมดสิ้นไปได้ ที่อยู่ของครุฑเรียกว่า สุบรรณพิภพเป็นวิมานอยู่บนต้นสิมพลีหรือต้นงิ้ว อยู่เชิงเขาพระสุเมรุ

    ตามความเชื่อบางคติจะพบได้ว่าท้าววิรุฬหกคือผู้ปกครองครุฑและนก ท้าววิรุฬหกปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิการ่วมกับ
    1.
    ท้าวเวสสุวรรณซึ่งปกครองหมู่ ยักษ์บนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา
    2.ท้าวธตรฐซึ่งปกครองหมู่ คนธรรพ์บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
    3.ท้าววิรูปักษ์ซึ่งปกครองหมู่ นาคบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

    ในมหาสมัยสูตรและบทภาณยักษ์ว่า โลกบาลแห่งทิศทักษิณทรงพระนามท้าววิรุฬหกมหาราช จอมกุมภัณฑ์ ส่วนในอาฏานาฏิยปริตรว่าเป็นจอมเทวดาลัทธิข้างจีนฝ่ายมหายานว่า ทรงพระนามเตียงเชียง แปลว่า สง่างาม มือถือร่ม ทางทิเบตว่าถือกระบี่

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=1005435
     
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube GMM25Thailand
    แฉ - ตามรอยพญาครุฑ เทพแห่งความสำเร็จและมั่นคง วันที่ 14 เมษายน 2560
    www.youtube.com/watch?v=6zgFHr6pYuc
     
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    197021_th.jpg

    วันที่ 25 มิ.ย.63 พระครูปลัดธัญภูวริษฐ์(หลวงไก่) โชติปัญฺโญ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณนัทธี หรือวัดคูขุด ตำบลบางหมาก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า เนื่องจากทางวัดกำลังจะจัดสร้าง “เหรียญกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” ด้านหลังพระนารายณ์ทรงครุฑ “รุ่นชนะภัยโควิด” รายได้เพื่อสมทบทุนจัดซื้อชุดโขนมอบให้กับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 20

    การจัดสร้างเหรียญประกอบด้วย ชุดกรรมการอุปถัมภ์ สร้าง 99 ชุด เนื้อเงินลงยาสีเหลือง กะไหล่ทอง ลงยา เขียว แดง น้ำเงิน ม่วง อย่างละ 1 เหรียญ ชุดละ 2,999 บาท เนื้อเงิน 100 เหรียญ เหรียญละ 1,199 บาท เนื้อทองเหลือง เหรียญละ 149 บาท เนื้อทองแดง เหรียญละ 149 บาท เนื้อทองแดงรมดำ เหรียญละ 149 บาทเหรียญสวย สร้างน้อย วัตถุประสงค์ดี พิธีเข้มขลัง ชนะภัยโควิด 2563


    upload_2021-8-20_7-14-11.jpeg


    พระครูปลัดธัญภูวริษฐ์ เปิดเผยอีกว่า ด้วยโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 20 จังหวัดชุมพร เป็นนักเรียน แบบอยู่ประจำ โรงเรียน คณะครูและนักเรียนได้ใช้เวลาว่าง ฝึกหัดโขน ให้กับนักเรียนที่สนใจ ด้านศิลปวัฒนธรรมของไทย การแสดงโขน และละคร มีผลงานด้านการแสดงโขน มาติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี แล้ว มีนักแสดง 50-80 คนโดยแสดงในงานประจำปี งานเทศกาล และให้ความร่วมมืองานกิจกรรมภายในจังหวัดชุมพร และ ต่างจังหวัด ได้ค่าจ้างมาแต่ละครั้ง 10,000-20,000 ก็ไม่พอ กับค่าเช่าชุด เช่าครั้งละ 10,000-15,000 บาทแต่ละครั้ง ต้องเช่าชุดโขน มาจากวิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช และที่อื่นๆ เลยมีความจำเป็นที่ต้องหารายได้สมทบทุน มาจัดซื้อชุดโขน ดังกล่าว



    upload_2021-8-20_7-14-11.jpeg

    โดยจัดสร้าง “เหรียญกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” ด้านหลังพระนารายณ์ทรงครุฑ “รุ่นชนะภัยโควิด” ดังกล่าวขึ้นโดยรอกำหนดการพุทธาภิเษก วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2563 เวลา 15.30 น. สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามจองเหรียญได้ที่ พระครูปลัดธัญภูวริษฐ์ โชติปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดคูขุด โทร 0986701659 นายอนุรักษ์ จันทร์สุวรรณ ครูโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 20 โทร 0861202223 นางวัชรี ไพรพา ครูโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 20 โทร 0805224933

    ที่มา : https://www.banmuang.co.th/news/region/197021
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ศาลกรมหลวงชุมพร จ.เชียงใหม่

    upload_2021-8-20_11-52-23.jpeg upload_2021-8-20_11-52-49.jpeg upload_2021-8-20_11-55-0.jpeg

    แปลกใจไม่น้อยที่มีศาลกรมหลวงชุมพรที่เชียงใหม่ เพราะท่านเป็นทหารเรือ องค์บิดาของทหารเรือไทย พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จึงได้ค้นหาประวัติได้ความว่า "ศาลกรมหลวงชุมพร" แห่งแรกในภาคเหนือและจังหวัดเชียงใหม่ โดยความร่วมแรงร่วมใจของข้าราชการกองทัพเรือและชมรมนาวีภาคเหนือ

    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ทหารเรือประจำการบางส่วนรวมกับทหารเรือนอกประจำการ ที่ประกอบอาชีพอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัด ใกล้เคียง
    ได้ก่อตั้งชมรมนาวีภาคเหนือขึ้น ในเวลาต่อมาข้าราชการกองทัพเรือจากหน่วยงานต่าง ๆ ในภาคเหนือ ชมรมนาวีภาคเหนือและ ประชาชนที่มีความเลื่อมใสในพลเรือเอก พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ต่างรำลึกถึงพระคุณคุณูปการ ที่พระองค์ท่านมีต่อกองทัพเรือเป็นอเนกอนันต์ และที่ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจเป็นประโยชน์ใหญ่หลวงนานาประการแก่อนุชนรุ่นหลัง จึงได้ ร่วมมือร่วมใจกันหาทุนเพื่อหล่อพระรูปเหมือนเท่าพระองค์จริงขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณพระองค์ท่าน รวมทั้งกองทัพ เรือให้ประชาชนที่อยู่ภาคเหนือได้รู้จัก ตลอดจนเพื่อเชื่อมความสามัคคีของทหารเรือภาคเหนือทั้งในประจำการและนอกประจำ การ ในการนี้ คณะกรรมการชมรมนาวีภาคเหนือได้สำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นที่ตั้งศาลกรมหลวงชุมพร และเห็นว่าพื้นที่ธรณีสงฆ์ ของวัดพระธาตุจอมแตง อำเภอแม่ริม ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของคลองส่งน้ำชลประทาน อันเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ลักษณะเป็นดอยสูง เนื้อที่ประมาณ ๕ ไร่ เหมาะสมที่จะตั้งศาลฯเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการฯจึงได้นมัสการขออนุญาตเจ้าอาวาส วัดพระธาตุจอมแตง เพื่อขอใช้สถานที่ดังกล่าวก่อตั้งศาลฯ ซึ่งคณะกรรมการวัดฯได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของศาลกรมหลวงชุมพรฯ ที่มีต่อประชาชนชาวไทย ผู้มีจิตศรัทธา ในพระองค์ท่านจึงได้มีหนังสืออนุญาตเป็นหลักฐานให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวของวัด พระธาตุจอมแตง เป็นที่ตั้งศาลฯไว้ประดิษฐาน พระรูปกรมหลวงชุมพร

    วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๓ ได้ทำพิธีเททองหล่อพระรูปเหมือนขนาดเท่าพระองค์จริง ณ มูลนิธิ เสด็จพ่อกรมหลวงชุมพร ฯ วัดรวก ถนนจรัญสนิทวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยมี พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เป็นประธานในพิธี

    วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๒๙ ได้อัญเชิญพระรูป ฯ มาประดิษฐานที่ศาล ฯ ชั่วคราวบริเวณวัดพระธาตุจอมแตง ถนนโชตนา ตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กิโลเมตรที่ ๑๙ และได้รับความกรุณาจากคณะสงฆ์และกรรมการวัดให้ใช้ที่ดินของวัดพระธาตุจอมแตง เพื่อก่อสร้างศาลที่ประทับและประดิษฐานเป็นการถาวรในที่ดินประมาณ ๕ ไร่ โดยที่ หลวงพ่อ สำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็น ประธานวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๑ ชมรมนาวีภาคเหนือได้รับความร่วมมือ จากทหารเรือทั้งในและนอกประจำการ ตลอดจนผู้ที่เคารพนับถือในพระองค์ท่านร่วมกันบริจาคทรัพย์ ดำเนินการสร้างศาลที่ประทับถาวรเสร็จ เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๓๑ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒๕๐,๐๐๐.- บาทเศษ (สองแสนห้าหมื่นบาทเศษ)

    วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ ได้อัญเชิญพระรูป ฯ เข้า ประดิษฐาน ณ ศาลหลังถาวรในการนี้ได้รับความร่วมมือจากสถานีวัดความ สั่นสะเทือน จังหวัดเชียงใหม่กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ คณะทหารเรือฐานทัพเรือสัตหีบ โดย พล.ร.อ.หัน สกุลพานิชได้มอบเสาธง ระฆัง สมอเรือ และเรือพระร่วงจำลองไว้ประดับบริเวณศาลที่ประทับ ต่อมานักเรียนจ่าทหารเรือรุ่น ๙๕ ได้นำผ้าป่ามาทอดเพื่อนำเงิน มาดำเนินการสร้างศาลที่ประทับ ๒ ครั้ง รวมเป็นเงินประมาณ ๑๒๐,๐๐๐.- บาทเศษ (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทเศษ) และสร้างศาลาอเนกประสงค์ ๑ ครั้ง เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐.- บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) และสร้างถนน ๑ ครั้ง เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐.- บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)

    วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๑ ทำพิธีเปิดศาลโดยทางกองทัพเรือได้มอบหมายให้ พล.ร.อ.เกษม เมฆลอย ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิดและกองทัพเรือได้สนับสนุนวงดุริยางค์ทหารเรือ มาร่วมในพิธีเปิด และแสดงดนตรีเป็นการเฉลิมฉลอง

    นั่นเป็นที่มาของ "ศาลกรมหลวงชุมพร" ที่เชี่ยงใหม่ ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุจอมแตง (คนละฝั่งคลอง) ถนนโชตนา ตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การเดินทางไปตามถนนสายเชียงใหม่-ฝาง ออกจากอำเภอแม่ริมไปทางฝางประมาณ กิโลเมตร จะมีซอยเล็กทางซ้ายมือ มีป้ายบอก "ศาลกรมหลวงชุมพร" และวัดพระธาตุจอมแตง
    เข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร "ศาลกรมหลวงชุมพร"
    อยู่ทางขวามือ

    ที่มา : http://www.gotwodays.com/travel,151.html
    ภาพ : google.co.th
     
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    New-folder00035-696x478.jpg

    เขาไกรลาสในพระราชพิธีโสกันต์ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (ภาพจากหนังสือ ราชพัสตราภรณ์)
    ผู้เขียน โชติกา นุ่นชู
    เผยแพร่ วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563

    วัฒนธรรมการไว้ผมของเด็กไทยโบราณคือ การไว้จุกทั้งเด็กชายและเด็กหญิง นับตั้งแต่พระราชโอรส พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ ลงมาถึงบุตรธิดาของขุนนาง ตลอดจนบุตรหลานของสามัญชน เมื่อเด็กอายุครบโกนจุก ( ๗ ขวบ ๙ ขวบ หรือ ๑๑ ขวบ สำหรับเจ้านายผู้หญิงเมื่อครบ ๑๑ ชันษา สำหรับเจ้านายผู้ชายเมื่อครบ ๑๓ ชันษา ) ทางครอบครัวของเด็กจะจัดพิธีโกนจุกขึ้นตามแต่ฐานะและความสะดวก พิธีโกนจุกถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอันเกี่ยวข้องกับการเกิด โดยจะมีความเชื่อในเรื่องขวัญมาเกี่ยวข้อง ทั้งยังบอกว่าเด็กกำลังก้าวย่างเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่

    พิธีโกนจุกมีคำที่ใช้เรียกตามแต่ฐานะของบุคคลนั้น ๆ กล่าวคือ ถ้าจัดพิธีสำหรับพระราชโอรส พระราชธิดา ที่ทรงมีพระอิสริยยศตั้งแต่ชั้นเจ้าฟ้า จนถึงชั้นพระองค์เจ้า จะเรียกว่า “โสกันต์” แต่ถ้าจัดสำหรับพระเจ้าหลานเธอหรือสมาชิกในราชสกุลวงศ์อื่น ๆ ในพระราชวงศ์ในลำดับชั้นหม่อมเจ้า จะใช้ว่า “เกศากันต์” ซึ่งเป็นพระราชพิธีเช่นเดียวกับพระราชพิธีโสกันต์ ต่างกันที่การแต่งองค์ทรงเครื่อง ตลอดจนพิธีแห่บางอย่างอาจเพิ่มลดตามลำดับพระเกียรติยศของเจ้านายพระองค์นั้น ๆ

    พระราชพิธีโสกันต์เจ้านายชั้นสมเด็จเจ้าฟ้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่สมพระอิสริยยศ และฐานันดรศักดิ์ของเจ้านายพระองค์นั้น ๆ สิ่งก่อสร้างที่จำลองขึ้นในพระราชพิธีโสกันต์คือ “เขาไกรลาส” อันเป็นสมมุติบรรพต “ภูเขาจำลอง” ในการประกอบพระราชพิธีตามโบราณราชประเพณี

    พิธีโสกันต์ในยุครัตนโกสินทร์นั้น ได้สืบทอดแบบแผนมาจากกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีเจ้าฟ้าพันทวดี ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเจ้าฟ้าในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเพียงพระองค์เดียวที่ยังทรงมีพระชนม์อยู่เมื่อแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงทราบขนบธรรมเนียมในวังเมื่อปลายกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันทรงเกรงว่า พิธีโสกันต์ตามแบบโบราณราชประเพณีจะสูญหายไป จึงได้ทรงบันทึกและทรงแจกแจงรายละเอียดไว้เป็นตำรา เจ้านายพระองค์แรกที่ทรงเข้าพิธีโสกันต์ตรงตามตำราที่เจ้าฟ้าพินทวดีทรงบันทึกไว้คือ “เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี” พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกประสูติแต่เจ้านางคำสุก ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอินทวงศ์ เจ้ากรุงสัตนาคนหุต

    ธรรมเนียมการโสกันต์ในครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้น นิยมจัดในเดือน ๔ พร้อมกับพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (พิธีตรุษไทย) การพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์นี้ ถือเป็นการปัดเป่าเสนียดจัญไร สิ่งชั่วร้ายทั้งปวงให้สิ้นไป ดังนั้นการโสกันต์ หรือเกศากันต์ในพิธีตรุษเดือน ๔ นี้จึงไม่ต้องหาฤกษ์ยามใด ๆ ด้วยเหตุดังกล่าว ในสมัยโบราณจึงนิยมจัดพระราชพิธีโสกันต์ หรือเกศากันต์พร้อมไปกับงานพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เลย กระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ธรรมเนียมการตั้งพิธีโสกันต์พร้อมการพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์จึงค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นประกอบร่วมกับพระราชพิธีตรียัมปวายแทน

    สำหรับพระราชพิธีโสกันต์เจ้านายระดับเจ้าฟ้า ตามตำรับเดิมของเจ้าฟ้าพินทวดีนั้น จะมีการแห่และการสมโภชจนกระทั่งเชิญพระเกศาไปลอย รวมระยะเวลาถึง ๗ วัน คือเริ่มตั้งแต่ตั้งพระราชพิธีที่พระมหาปราสาท มีการสร้างเขาไกรลาส เพื่อใช้เป็นที่สรงน้ำ และให้เจ้านายที่ทรงโสกันต์เสด็จขึ้นไปรับพรพระอิศวร บริเวณรอบเขาไกรลาส ตั้งราชวัตร ปักฉัตรเงินฉัตรทอง ฉัตรรายทาง มีพนักงานนั่งกลาบาศ (นั่งขัดสมาธิเรียงต่อกัน โดยเว้นระยะห่างไม่เกินศอกต่อศอก) พร้อมด้วยการละเล่นต่าง ๆ ส่วนขบวนแห่มีดังนี้

    1. นางเชิญมยุรฉัตร เด็กหญิงแต่งชุดละครรำ คือนุ่งจีบ ห่มผ้าหน้านาง สวมชฎา เดินถือพุ่มที่ทำด้วยหางนกยูง
    2. นางเชิญเครื่อง แต่งตัวแบบเดียวกับนางเชิญมยุรฉัตร แต่เชิญเครื่องสูง เช่น บังสูรย์ บังแทรก
    3. นางแต่งตัวสะ ผู้หญิงแต่งตัวสวมเกี้ยว นุ่งผ้าลาย พื้นเขียวห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามขบวนแห่ เดินหน้านำขบวน

    เจ้าฟ้าที่เข้าพิธีโสกันต์ทรงเครื่องขาว ประทับพระราชยานเสด็จไปฟังสวดมนต์สามวัน ถึงวันที่ ๔ จึงโสกันต์ สรงน้ำ และเสด็จขึ้นเขาไกรลาสเพื่อรับพรพระอิศวร จากนั้นเสด็จลงมาทรงเครื่องต้น แห่เวียนรอบเขาไกรลาส ๓ รอบ และแห่กลับในตอนเช้า ตอนบ่ายทรงเครื่องแดงเข้าพระราชพิธีสมโภช และมีกระบวนแห่สมโภชอีก ๒ วัน ถึงวันที่ ๗ แห่พระเกศาไปลอย เป็นอันเสร็จพระราชพิธีลงสรงโสกันต์ตามตำรับเดิมสำหรับเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า หากเป็นเจ้านายชั้นพระองค์รองลงมา ในกระบวนแห่จะไม่มีนางมยุรฉัตร ไม่มีเขาไกรลาสสำหรับสรง แต่จะทำเป็นพระแท่นสำหรับสรงแทนและกระบวนแห่ก็ทำย่อลงตามพระอิสริยยศ

    A05-6-e1541165387630.jpg
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวารวดี ในพระราชพิธีโสกันต์ พ.ศ. 2435 (ภาพจาก หนังสือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร วันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2515)
    แต่เมื่อมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การต่าง ๆ ได้ปรับให้เหมาะกับยุคสมัย จึงเหลืองานราชพิธีรวมเวลา ๔ วัน แต่ยังคงรูปแบบเดิมไว้ อาทิ มีนางเชิญเครื่อง นางมยุรฉัตร นางสะ เข้าขบวนแห่ มีการสร้างเขาไกรลาส สำหรับโสกันต์เจ้าฟ้าเหมือนเดิม ส่วนการละเล่นประกอบพิธีสมโภชก็เป็นไปตามแผนโบราณราชประเพณีคือ มีการเล่นกุลาตีไม้ ระเบง โมงครุ่ม รำต้นไม้เงินต้นไม้ทอง และมหรสพอื่น ๆ เป็นการเฉลิมฉลอง เช่น กระตั้วแทงควาย ญวนหกสูงไม้ เป็นต้น

    จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าพระราชพิธีโสกันต์นั้นจัดเป็นพิธีใหญ่ บางปีมีเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าทรงโสกันต์หลายองค์ก็จะมีขบวนแห่แหน การละเล่นต่าง ๆ อย่างครึกครื้น ชาววังจึงตั้งหน้าตั้งตาคอยที่จะดูกระบวนการแห่และมหรสพสมโภชกันอย่างตื่นเต้น

    แต่เมื่อเวลาล่วงเลยมา เจ้านายในชั้นหลัง ๆ “มิได้ไว้พระเมาลีกันอีกแล้ว” ประเพณีโสกันต์ หรือเกศากันต์จึงค่อย ๆ เลือนหายไป พิธีโสกันต์ครั้งสุดท้ายที่จัดขึ้นในประเทศไทยคือพิธีโสกันต์ “พระองค์เจ้าอินทุรัตนา” พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยาที่จัดขึ้นในปี ๒๔๗๕ อันเป็นปีสุดท้ายก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังจากนั้นพิธีโสกันต์ก็กลายเป็นอดีต เหลือเพียงแค่การรำลึกถึงความยิ่งใหญ่และอลังการเท่านั้น

    upload_2021-8-23_6-52-9.jpeg upload_2021-8-23_6-52-36.jpeg

    ในปี ๒๔๓๕ โปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีโสกันต์ (โกนจุก) พระองค์เจ้าอาภากรฯ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๔๓๕


    ที่มาบทความ : https://www.silpa-mag.com/culture/article_34284
    ภาพเสด็จเตี่ย : google.co.th
     

แชร์หน้านี้

Loading...