คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    เรือรบหลักของราชนาวีสมัยรัชกาลที่ ๖

    1414376042-o.jpg
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์จอมทัพเรือ

    ข้อมูลเรื่องเรือรบของราชนาวีในสมัยรัชกาลที่ ๖ ในเว็บหรือในห้องสมุดสาธารณะมีอยู่น้อยมาก หรือแทบจะเรียกว่าไม่มีก็ได้ บังเอิญผมไปพบว่าในหอจดหมายเหตุแห่งชาติมีภาพเรือรบในอดีตชุดหนึ่งเก็บอยู่แต่ปราศจากคำบรรยายภาพ แม้บางภาพมีตัวอักษรเขียนชื่อเรือด้วยดินสออยู่ด้านหลัง แต่อ่านแล้วก็ทราบว่าผิด หาก*เมื่อได้นำภาพเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับบทพระราชนิพนธ์เห่เรือชมชายทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ เมื่อคราวเสด็จโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีเลียบชายฝั่งภาคตะวันออกในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ มีตอนหนึ่งเป็นกาพย์ชมเรือรบที่เข้าขบวนสวนสนามถวายพระเกียรติยศในคราวนั้น เมื่อได้เห็นทั้งชื่อเรือและประเภทของเรือปรากฏในบทพระราชนิพนธ์ โดยอาศัยข้อมูลเรือรบสยามในเว็บของฝรั่ง ซึ่งนำกองทัพเรือในอดีตของชาติต่างๆทั่วโลกมาแสดงไว้ประกอบกันไป ทำให้ทราบได้ว่าเรือรบในภาพที่ได้มานั้นมีชื่ออย่างไร บทความนี้จึงถือว่าเป็นครั้งแรกที่เผยรูปโฉมราชนาวีสยามในการสวนสนามทางทะเลคราวปฐมฤกษ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เพื่อที่ผู้สนใจจะได้เก็บข้อมูลไว้เป็นการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์


    พระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวบทนี้ ได้พระราชทานไปลงพิมพ์ครั้งแรกในสมุทสาร ซึ่งเป็นวารสารของราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

    1414376351-Slide1Copy-o.jpg


    1414376405-Slide2Copy-o.jpg


    1414376495-CCF2010255-o.jpg

    ปางเสด็จประเวศห้วง ชลธี
    ทรงมหาจักรี เกียรติก้อง
    พรั่งพร้อมยุทธนาวี แหนแห่
    เสียงอธึกทั่วท้อง ถิ่นด้าวอ่าวสยาม
    พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามสดสี
    มหาจักรีมี เกียรติก้องท้องสาคร
    นาวาวรายุทธ อุตลุดแลสลอน
    แห่ห้อมจอมนคร ราวจะรอนริปูเปลือง
    ธงทิวปลิวระยับ สีสลับขาวแดงเหลือง
    อันธงพระทรงเมือง เหลืองอร่ามดูงามตา
    ธงตรามหาราช ผ่องผุดผาดในเวหา ฃ
    รูปครุฑะราชา อ้าปีกกว้างท่าทางบิน
    ธงแดงดังแสงชาด ลายช้างกาจก่องกายิน
    บอกตรงธงแผ่นดิน ถิ่นสยามอันงามงอน
    จักรีนาวีราช ทิพอาสน์องค์ภูธร
    สง่าราวอาภรณ์ เพื่อประดับทัพเรือไทย
    ใหญ่กว่านาวาสรรพ ในกองทัพพหลไกร
    บรรดานาวาไทย ในบัดนี้ไม่มีทัน
    ปืนไฟใหญ่ประเภท สี่นิ้วเศษสุดแข็งขัน
    สามารถอาจเหียนหัน ผันหน้าสู้ศัตรูแรง
    อีกศรหกปอนด์หนัก ก็พร้อมพรักศักดิ์กำแหง
    เตรียมอยู่สู้ศึกแขง แย้งยื้อยุทธ์สุดกำลัง


    1414376589-CCF2010255-o.jpg



    1414376971-2014102008-o.jpg

    ทรงกล่าวถึงเรือพระที่นั่งมหาจักรี (ลำที่ ๑) ซึ่งเป็นเรือที่ต่อในต้นรัชกาลที่ ๕ เป็นแบบเรือลาดตระเวนติดอาวุธ
    ใช้เป็นพระราชพาหนะเสด็จพระราชดำเนินเยือนนานาประเทศในยุโรปมาแล้ว ปืนประจำเรือประกอบด้วย ปืนใหญ่ชนิดอาร์มสตอง ๔ นิ้ว ๔ กระบอก อยู่ที่ดาดฟ้าชั้นล่าง ส่วนศรหนัก ๖ปอนด์ หมายถึงปืนใหญ่ชนิดฮอทชกีส
    ขนาดกระสุนบรรจุดินปืนหนัก ๖ ปอนด์ ๘ กระบอก อยู่ที่ดาดฟ้าชั้นบน เรือลำนี้มีความเร็วสูงสุด ๑๖ นอต ในระหว่างเดินทางแล้ว เรือไทยในขบวนตามเสด็จมักจะตามไม่ทัน



    1414377072-JPG-o.jpg
    สุรียมณฑลกล้า นาวากลาดลาดตระเวณ
    หาญต่อ บ่ รอเกณฑ์ สอึกสู้ริปูรอน



    1414377266-o.jpg
    เรือลำนี้ตามบทพระราชนิพนธิ์ว่าชื่อ สุรียมณฑล แต่ในเว็บฝรั่งว่าชื่อ ศรีมณฑล อย่างไรก็ดีถ้าดูตามภาพเงาแล้วจะเห็นว่าเป็นเรือลำเดียวกัน
    1414377238-Slide3JPG-o.jpg


    1414377355-classJPG-o.jpg
    พาลีรั้งทวีป รีบแล่นตามงามเงื่อนขลัง
    เรือปืนยืนยุทธ์ยัง ดังกระบี่พาลีหาญ
    สุครีพครองเมืองศรี สุรนาวีมุ่งชิงไชย
    เรือปืนยืนยุทธไกร เหมือนพญาพานะเรนทร์



    1414377590-o.gif

    ในบทพระราชนิพนธ์ยังขาดไปลำหนึ่ง เรือรบชุดนี้ กองทัพเรือได้จัดจ้างอู่ Hongkong & Whampoa ของอังกฤษในฮ่องกง ต่อขึ้นในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ ลำแรกพระราชทานนามว่า เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ และได้รับมอบเรือต่อมาอีก ๒ลำ พระราชทานนามว่าเรือพาลีรั้งทวีป และเรือสุครีพครองเมือง ตามลำดับ

    1414377495-Slide2JPG-o.jpg


    1414377665-o.jpg
    เรือทั้งสามลำจัดว่าเป็นเรือปืน แม้จะมีอาวุธ ปืนใหญ่ขนาด ๑๒๐มิลลิเมตรเพียง ๑กระบอก แต่มีปืนกล ๕๗ มิลลิเมตร ๕กระบอก และปืนกล ๓๗ มิลลิเมตรอีก ๒กระบอก ระวางขับน้ำ ๔๖๒ตัน ความเร็ว ๑๐.๕นอต ทหารประจำเรือ ๗๓ นาย ใช้ในราชการอยู่หลายสิบปีกว่าจะปลดระวางประจำการเมื่อ ๒๐กรกฎาคม ๒๔๗๘ เพื่อรับเรือรบรุ่นใหม่เตรียมตัวเข้าสู่ยุคสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ ๒


    1414377739-JPG-o.jpg
    เรือแรงคำแหงยุทธ มกุฎราชะกุมาร
    คอยสู้ศัตรูพาล ผู้ยื้อยุดมกุฎไทย



    1414377836-j-o.jpg
    เรือปืนมกุฎราชกุมารเป็นเรือที่เข้าประจำการตั้งแต่สมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ระวางขับน้า ๖๐๙ ตัน ตามประวัติ รัฐบาลอาณานิคมเสปญจ้างอู่เรือ Hongkong & Whampoa ของอังกฤษในฮ่องกงต่อขึ้นเพื่อใช้ในฟิลลิปปีนส์ แต่ทิ้งเงินมัดจำเพราะหาเงินมาชำระค่าเรือไม่ได้ อู่เรือจึงบอกขายทอดตลาดและรัฐบาลสยามสนใจ จึงได้จัดซื้อมาใช้ในราชการ เอาไว้รับแขกบ้านแขกเมืองที่เดินทางมาด้วยเรือขนาดใหญ่ ไม่สามารถผ่านสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ากรุงเทพได้ ต้องอาศัยเรือของสยามออกไปรับที่ปากอ่าว เรือนี้ติดตั้งปืนใหญ่ ๑๕๐ มม. ๑กระบอก ปืนกล ๕๗ มิลลิเมตร ๕ กระบอก ปืนกล ๓๗ มิลลิเมตรอีก ๒กระบอก เคยผ่านการรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยากับฝรั่งเศสมาแล้วอย่างโชกโชน โดยดวลกันแบบเผาขนกับเรือแองกองสตังค์ที่นำหน้าเข้ามาจนแทบจะชนกันกลางแม่น้ำ เรือทั้งสองลำต่างก็ได้แผลไปโดยไม่ถึงกับเสียหายหนัก เรือมกุฏราชกุมารสามารถซ่อมนำมาใช้ต่อจนสมัยรัชกาลที่ ๖ ก่อนปลดระวาง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงชุมพรฯทรงใช้เป็นเรือฝึกของนักเรียนนายเรือ วิ่งไปถึงสิงคโปรทุกปี ปีหนึ่ง พอไปถึงแล้วทรงว่าจ้างอู่เรือที่นั่นพ่นสีเรือใหม่จากสีขาว เป็นสีเทาอ่อนตามธรรมเนียมเรือรบสมัยใหม่

    1414377914-unknownJPG-o.jpg
    เรือเสือทะยานชล พิฆาฏพลริปูสยอน
    กั่นกล้าในสาคร บ่ ย่อหย่อนยุทธนา
    เรือเสือคำรนสินธุ์ พิฆาฏภินอริผลา
    จู่โจมและโถมถา กล้าประยุทธ์จนสุดแรง


    1414378100-Slide1JPG-o.jpg

    สืบเนื่องจากโครงการจัดหาเรือรบ ซึ่งกรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์(พระอิสริยยศขณะนั้น) เสนาธิการทหารเรือทรงทำขึ้นถวาย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต(พระอิสริยยศขณะนั้น) ผู้บัญชาการทหารเรือ ในปีพ.ศ. ๒๔๔๘แต่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ ไม่อาจสั่งสร้างเรือทั้งหมดที่ต้องการได้ การจัดหาในครั้งแรกได้แต่เพียงเรือพิฆาตตอร์ปิโด " เสือทยานชล" ๑ลำ กับ "เรือ ๑๑." คือ เรือตอร์ปิโด ๑,๒,๓, รวม ๓ ลำ เท่านั้น
    ๕ปีต่อมา ผู้แทนของบริษัทอู่คาวาซากิ ได้เดินทางมากรุงเทพเพื่อเจรจากับ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต หลังจากนั้นได้ทรงต่อรองกับกรมหมื่นจันทบุรีนฤนาท เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีพระบรมราชานุญาตให้ "จ่ายเงินค่าสรรพยุทธ" เพื่อสั่งสร้าง เรือพิฆาต ตอร์ปิโด อีก ๑ ลำ หลังการรับมอบแล้วได้พระราชทาน ชื่อว่า "เสือคำรณสินธ์" เพื่อให้คู่กับเรือ "เสือทยานชล" ที่ประจำการอยู่แล้ว

    เรือชุดนี้มีอาวุธประจำเรือ เป็นปืนใหญ่แบบญี่ปุ่นขนาด ๗๖ มิลลิเมตร จำนวน ๑กระบอก ขนาด ๕๗มิลลิเมตร จำนวน ๕กระบอก อาวุธตอร์ปิโดขนาด ๔๕ เซนติเมตร ๒ท่อ

    1414378210-1310034855-o.jpg


    1414378314-JPG-o.jpg

    อีกเรือตอร์ปิโด วิ่งโร่รีฝีเท้าแขง
    ว่องไวไล่ย้อนแย้ง ยักย้ายลอดดอดเอาไชย
    กระบวนล้วนแล่นล่อง ไปแทบท้องชลาลัย
    อธึกดูคึกใจ จิตต์จักสู้ศัตรูพาล


    1414378419-untitled-o.png


    1414378504-Slide4JPG-o.jpg
    ทหารบนเรือตอร์ปิโด
    1414378525-Slide5JPG-o.jpg

    1414378631-Slide8JPG-o.jpg

    การที่กองทัพเรือได้จัดให้มีการสวนสนามทางเรือถวายพระเกียรติยศเนื่องในการเสด็จประพาสครั้งนั้น แม้จะมีพระราชวิจารณ์ว่ายังไม่สมบูรณ์ตามรูปกระบวนนัก เพราะเรือรบเรายังมีน้อย แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการสวนสนามทางเรือเป็นครั้งแรกปฐมฤกษ์ของกองทัพเรือไทยแล้ว

    จากวันนั้น ได้เป็นมูลเหตุให้ทรงมีพระราชดำริที่จะจัดหาเรือรบที่ทันสมัยมาเสริมทัพให้ทหารเรือ ซึ่งเมื่องบประมาณแผ่นดินไม่อำนวย ก็ทรงใช้วิธีการเรี่ยไร โดยทรงเป็นผู้ประเดิมด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และข้าราชการตลอดจนภาคเอกชนและราษฎรได้ร่วมกันบริจาคอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ จนได้เงินมาทั้งสิ้น ๓,๕๑๔,๖๐๔ บาท ๑ สตางค์ พอที่จะจัดซื้อเรือรบได้ลำหนึ่ง พระราชทานนามเรือลำนี้เป็นการล่วงหน้าไว้ว่าเรือหลวงพระร่วง แล้วทรงโปรดเกล้าฯให้นายพลเรือโท กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เป็นผู้เดินทางไปเลือกซื้อเรือที่ยุโรป ซึ่งพระองค์ได้ตัดสินพระทัยซื้อเรือ “เรเดียนท์Ž " กองทัพเรืออังกฤษสั่งต่อขึ้นเพื่อนำไปรบในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ ๑กับเยอรมัน

    เมื่อสงครามยุติเรือลำนี้แทบจะไม่ได้เข้าสมรภูมิ เมื่อจอดไว้เฉยๆไม่ได้ใช้จึงเสนอขายให้สยามในราคามิตรภาพเพียง ๒๐๐,๐๐๐ปอนด์ หรือเท่ากับ ๒,๑๕๐,๐๐๐บาท ต่ำกว่างบประมาณที่เตรียมไปมาก เมือปรับปรุงนิดหน่อยและอู่ส่งมอบแล้วก็ทรงจ้างลูกเรือชาวอังกฤษ และพระองค์ทรงเป็นกัปตันนำเรือมาสยาม แล้วขึ้นระวางประจำการในราชนาวี เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๓ ส่วนเงินที่เหลือนั้นได้พระราชทานให้กรมทหารเรือไปทำประโยชน์อย่างอื่น


    1414378688-JPG-o.jpg

    เรือหลวงพระร่วง เป็นเรือพิฆาตตอร์ปิโด ระวางขับน้ำ ๑๐๔๖ ตัน อาวุธประจำเรือ ปืนใหญ่ขนาด ๑๐๒ มิลลิเมตร จำนวน ๓ กระบอก ขนาด ๗๖ มิลลิเมตร จำนวน ๑ กระบอก ต่อมาติดปืน ๔๐ มิลลิเมตร จำนวน ๒ กระบอก ขนาด ๒๐ มิลลิเมตร จำนวน ๒ กระบอก มีตอร์ปิโด ๒๑ นิ้ว ๔ ท่อ รางปล่อยระเบิดลึกและแท่นยิงระเบิดลึก ๒ แท่น

    1414378732-untitledv-o.png

    ทางราชการทหารเรือใช้เรือหลวงพระร่วงคุ้มค่ามาก เมื่อเริ่มล้าสมัยเกินที่จะทำการรบแล้วก็ยังได้นำมาใช้ในการฝึกของนักเรียนนายเรือจนถึงรัชกาลที่ ๘ รวมแล้วร่วม ๔๐ปีกว่าจะได้ปลดระวางไป

    1414378852-o.gif

    ที่มา : https://pantip.com/topic/32770533
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์
    มหาวิทยาลัยมหิดล


    ตอนที่ 52 เพลงไทยสากลที่ได้ทำนองมาจากเพลงฝรั่ง
    430

    ตอนที่ 52 เพลงไทยสากลที่ได้ทำนองเพลงมาจากเพลงฝรั่ง
    ชื่อเพลง : เพลงสามัคคีชุมนุม
    ผู้แต่ง : ทำนองจากเพลง Auld Lang Syne เพลงเก่าแก่ของยุโรป
    ชื่อเพลง : เพลงมาร์ชดอกประดู่
    ผู้แต่งคำร้อง : กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    ชื่อเพลง : เพลงคอยไหวหรือรักเรา
    ผู้ขับร้อง : พรานบูรพ์ (จวงจันทร์ จันทร์คณา)
    ผู้แต่งคำร้อง :พรานบูรพ์ (จวงจันทร์ จันทร์คณา)
    ชื่อเพลง : เพลงไทยรำลึก
    ผู้ขับร้อง : นักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยมหิดล
    ชื่อเพลง : เพลงจอมราชจงเจริญ
    ผู้แต่งคำร้อง : น้อย อาจารยางกูร
    ความยาว : 29.27 นาที

    รายละเอียด :
    ฝรั่งนั้นมีอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมต่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยมาแต่ครั้งปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ไม่แต่เฉพาะทางด้านเกี่ยวกับการแพทย์ การสาธารณสุข การเมือง และอื่น ๆ อีกหลายประการ ดนตรี
    ก็พลอยมีส่วนเกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
    เราเริ่มต้นใช้ทำนองเพลงฝรั่งและบรรจุบทร้องไทยลงไปในเพลงสำหรับแสดงความเคารพต่อ
    องค์พระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยปลายรัชกาลที่ 4 และใช้ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยต้นรัชกาลที่ 5 คือเพลงที่ใช้ชื่อว่า จอมราชย์จงเจริญ โดยบทร้องเป็นบทโคลงสี่สุภาพ และทำนองเป็นทำนองที่ได้มาจากเพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษคือเพลง God Save the King หรือเพลง God Save the Queen
    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เริ่มมีผู้ที่กลับจากต่างประเทศทั้งกลับจากยุโรปและสหรัฐอเมริกาทุกคนที่กลับเข้ามาก็นำเอาเพลงของประเทศเหล่านั้นเข้ามาสู่ประเทศไทย ยกตัวอย่างเพลงที่ชื่อว่า “Auld Lang Syne” เพลงนี้เป็นเพลงเก่าแก่ของยุโรปซึ่งร้องกันอยู่ในประเทศอังกฤษ และแม้ในประเทศฝรั่งเศส
    และสหรัฐอเมริกา มักจะร้องหลังจากที่มีการประชุมพบปะหารือกันเสร็จสิ้นลง เพลงนี้ได้มีผู้นำกลับเข้ามาเมืองไทยแล้วก็แต่งบทร้องใส่ลงไปไว้ บทร้องนั้นได้ตั้งชื่อว่าเพลงสามัคคีชุมนุม ซึ่งเป็นเพลงที่มีชื่อเสียงมากเพลงหนึ่ง และเคยหัดร้องกันอยู่ในโรงเรียนต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 8 วงดนตรีที่จะบรรเลงบันทึกแผ่นเสียงไว้โดยใช้เนื้อเก่านั้นไม่มี คงมีแต่ท่วงทำนองบรรเลงเพลงสามัคคีชุมนุม
    เพลงชื่อสามัคคีชุมนุมหรือเพลง Auld Lang Syne ในหนังสือบทเพลงแห่งความหลังของ ศาสตราจารย์เรืองอุไร กุศลาสัย ท่านได้เขียนเล่าไว้ว่า เพลงสามัคคีชุมนุมนี้ท่านเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เป็นผู้แต่งแปลงมาจากเพลง Auld Lang Syne ของฝรั่ง แล้วบทร้องนั้น
    ก็มีอยู่ว่า

    พวกเรา เหล่ามาชุมนุม ต่างกุมใจรัก สมัครสมาน
    ล้วนมิตร จิตชื่นบาน สราญเริงอยู่ ทุกผู้ทุกนาม
    *อันความกลมเกลียว กันเป็นใจเดียว ประเสริฐศรี
    ทุกสิ่งประสงค์จงใจ จักเสร็จสมได้ ด้วยสามัคคี
    กิจใด ธ ประสงค์มี รวมใจภักดี แด่พระจอมสยาม
    พร้อมพรึบดังมือเดียวยาม ยากเย็นเห็นง่าย บ่หน่ายบ่วาง(*)
    ที่หนักก็จักเบาคลาย ที่อันตราย ก็ขจัดขัดขวาง
    รักษาพระเดชบ่จาง กตเวทิคุณ พระกรุณา
    สามัคคีนี่แหละลำเลิศ จักชูชาติเชิดพระศาสนา
    สยามรัฐจักวัฒนา ปรากฏเกียรติฟุ้งเฟื่อง กระเดื่องแดนดิน(*)

    เพลงไทยสากลที่ได้ทำนองมาจากฝรั่งนั้นยังมีเพลงที่ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ท่านนำมาจากเพลงชื่อเพลง Coming Thro’ the Rye เข้าใจว่าจะเป็นเพลงเก่าแก่ของอังกฤษ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ท่านทรงเป็นพระบิดาแห่งกองทัพเรือ ท่านสร้างโรงเรียนนายเรือและเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือพระองค์แรก ท่านทรงแต่งเพลงที่จะเป็นเพลงปลุกใจทหารเรือ ขึ้นต้นบทร้องว่า

    หะเบสสมอพลันออกสันดอนไป
    ลัดไปเกาะสีชังจนกระทั่งกระโจมไฟ
    เที่ยวหาข้าศึก มิได้นึกจะกลับมาใน
    ถึงตายตายไป ตายให้แก่ชาติของเรา
    พวกเราดูรู้ เจ็บแล้วต้องจำ
    ลับดาบไว้พลาง ช้างบนยอดกาฟฟ์จะนำ
    ไทยเป็นชาติของเรา ธงทุกเสาชักขึ้นทุกลำ
    ถึงเรือจะจมในน้ำ ธงไม่ต่ำลงมา
    เกิดมาเป็นไทย ใจร่วมกันแหละดี
    รักเหมือนพี่เหมือนน้อง ช่วยกันป้องปฐพี
    ไทยเป็นชาติของเรา อย่าให้เขามาย่ำมายี
    ถึงตายตายดี ตายในหน้าที่ของเรา
    พวกเราทุกลำ จำเช่นดอกประดู่
    วันไหนวันดี บานคลี่พร้อมอยู่
    วันไหนร่วงโรย ดอกโปรยตกพรู
    ทหารเรือเราจงดู ตายเป็นหมู่เพื่อชาติไทย

    เพลงนี้ชื่อว่าเพลงมาร์ชดอกประดู่ พระนิพนธ์ของเสด็จในกรมฯ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มาจากเพลงฝรั่งชื่อ Coming Thro’ the Rye

    ช่วงปลายรัชกาลที่ 7 ต่อสมัยรัชกาลที่ 8 นักแต่งเพลงไทยสากลท่านหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากก็คือ
    พรานบูรพ์ (จวงจันทร์ จันทร์คณา) ได้แต่งละครร้องขึ้นหลายเรื่องด้วยกัน เป็นคนที่มีความสามารถในการแต่งเพลงอย่างรวดเร็ว เมื่อมีความจำเป็นจะต้องแต่งเพลงอย่างมากมายในละครร้องแต่ละเรื่อง
    บางครั้งก็มีความจำเป็นจะต้องหยิบยืมทำนองจากต่างประเทศเข้ามาใช้ พรานบูรพ์ได้นำเพลง Sleepy Lagoon มาบรรจุเนื้อร้องเป็นภาษาไทยลงไปแล้วตัวท่านเองก็ขับร้องเพลงนี้อัดแผ่นเสียงด้วยตัวเอง
    ให้เพลงชื่อนี้ใหม่ว่า “คอยไหวหรือรักเรา” เสียงเก่าของตรากระต่ายห้าง ต.เง็กชวน
    อีกเพลงหนึ่งก็คือเพลง Home Sweet Home ซึ่งแต่งโดยคีตกวีชาวอังกฤษชื่อว่า Bishop คนไทยที่ไปต่างประเทศคิดถึงบ้านก็เลยแต่งเนื้อเพลงนี้ขึ้นแล้วก็ให้ชื่อเพลงนี้ว่า ไทยรำลึก บันทึกเสียงใหม่โดยให้นักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยมหิดล
    หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 52
    หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลที่ได้ทำนองมาจากเพลงฝรั่ง
    หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 52
    ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล

    สถานที่จัดเก็บ : https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-52/
     
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube CrnaSora
    "หะเบสสมอ"
    www.youtube.com/watch?v=fkuKva0rCoY
    บรรเลงโดย วงโยธวาทิต กองทัพเรือ ณ ท่าเรือกรุงเทพ(คลองเตย) เพื่อต้อนรับเรือ Ballarat ที่มาจาก ประเทศ ออสเตรเลีย
     
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    be61642d5f084862a9e191303ba75f55.jpg 0505aada69274c4b8afc46e2bc039e6f.jpg 9490f9b0700547fc8f963c968dc431f7.jpg bb52153357364ea9a3413e34bd212145.jpg

    กรมหลวงชุมพร สงขลา
    อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

    อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
    ที่ตั้ง : สวนสองทะเล อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

    กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งราชนาวีไทย หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า
    "เสด็จเตี่ย" นั้น เป็นที่เคารพนับถือของคนโดยทั่วไปในภาคใต้ ก่อตั้งโดยกลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล จังหวัดสงขลา ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการปกครอง ร่วมกับกองทัพเรือ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ชาวเรือ
    ได้สักการะบูชาก่อนออกไปประกอบอาชีพในทะเล เพราะมีความเชื่อว่าท่านจะช่วยเหลือให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายจากพายุและเพศภัยต่างๆ ผู้คนนิยมมาสักการะขอพรอย่างไม่ขาดสายทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว

    อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
    ที่ตั้ง : สวนสองทะเล อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
    กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งราชนาวีไทย หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า

    "เสด็จเตี่ย" นั้น เป็นที่เคารพนับถือของคนโดยทั่วไปในภาคใต้ ก่อตั้งโดยกลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล
    จังหวัดสงขลา ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการปกครอง ร่วมกับกองทัพเรือ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ชาวเรือ
    ได้สักการะบูชาก่อนออกไปประกอบอาชีพในทะเล เพราะมีความเชื่อว่าท่านจะช่วยเหลือให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายจากพายุและเพศภัยต่างๆ ผู้คนนิยมมาสักการะขอพรอย่างไม่ขาดสายทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว

    พระบรมรูปของท่านหันหน้าออกทะเลดูเด่นสง่าสวยงามมาก รอบๆ อนุสาวรีย์มีปืนใหญ่ จรวด และปืนกลจำลองให้
    แอ๊คอาทถ่ายรูปกันได้ ทิวทัศน์และอุปกรณ์ประกอบฉากนั้นสวยงามทีเดียว เดินต่อไปอีกนิดจะเห็นอาคารสีขาวๆ
    หลังคาสีน้ำเงินนั้นคือศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

    พระบรมรูปของท่านหันหน้าออกทะเลดูเด่นสง่าสวยงามมาก รอบๆ อนุสาวรีย์มีปืนใหญ่ จรวด และปืนกลจำลองให้
    แอ๊คอาทถ่ายรูปกันได้ ทิวทัศน์และอุปกรณ์ประกอบฉากนั้นสวยงามทีเดียว เดินต่อไปอีกนิดจะเห็นอาคารสีขาวๆ หลังคาสีน้ำเงินนั้นคือศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

    ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    เป็นแหล่งรวบรวมพระประวัติของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภาเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพร
    เขตอุดมศักดิ์
    ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    เป็นแหล่งรวบรวมพระประวัติของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภาเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

    แม้พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จะสิ้นพระชนม์ไปนานแค่ไหนก็ตาม ประชาชนชาวไทยยังคงเคารพในพระมหากรุณาธิคุณชาวสงขลาและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนสงขลาแทบทุกคนไม่มีใครพลาดการมาสักการะอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรแห่งนี้...

    แม้พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จะสิ้นพระชนม์ไปนานแค่ไหนก็ตาม ประชาชนชาวไทยยังคงเคารพในพระมหากรุณาธิคุณ ชาวสงขลาและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนสงขลาแทบทุกคนไม่มีใครพลาดการมาสักการะอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรแห่งนี้...


    ที่มา : https://www.museumthailand.com/en/2827/storytelling/กรมหลวงชุมพร-สงขลา/
    ภาพ : https://www.wongnai.com/reviews/fa720b861a5b4358ba3364a76ac79518
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2021
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    upload_2021-8-10_12-2-18.jpeg

    ตำรายาแผนโบราณ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย)
    ยาแก้โรคไอ สรรพคุณบำบัดโรคไอ

    ขนานที่ 1 ท่านให้เอาเกลือทะเล (เกลือใส่แกง) มาอมไว้

    ขนานที่ 2 ท่านให้เอา ผลมะนาวสด นำมาผ่าซีก โรยเกลือป่น (เกลือทะเลสำหรับใส่แกง) รอให้เกลือละลายซึมซาบเข้าไปในเนื้อมะนาวแล้วเงยหน้าอ้าปาก บีบน้ำมะนาวลงไปในปากให้ไหลเข้าสู่ลำคอ

    ขนานที่ 3 ท่านให้เอาผลมะนาวสดนำมาผ่าซีกแล้วเอาด้านหน้าของซีกมะนาวรมควันไฟขี้ไต้ จนควันไฟจับดำแล้วโรยเกลือป่นแล้วเงยหน้าอ้าปากบีบน้ำมะนาวลงในปากให้ไหลลงสู่ลำคอ

    ขนานที่ 4 ท่านให้เอาลูกมะแว้งเครือสด ๆ 5-6 ลูก นำมาเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมแล้วคายกากทิ้งเสีย

    ขนานที่ 5 ท่านให้เอาเกลือทะเล (เกลือใส่แกง) กับใบพลู (ใบพลูกินกับหมาก) ตัวยา 2 อย่างนี้เอาอย่างละพอสมควร นำมาเคี้ยวอมไว้กลืนน้ำยาลงลำคอบ้าง 2-3 ครั้ง

    ขนานที่ 6 ท่านให้เอา น้ำผึ้งแท้ 2 ช้อนคาว กับน้ำมะนาว 1 ซีก นำมาบีบน้ำมะนาวลงผสมกับน้ำผึ้ง กวนให้เข้ากันดีแล้ว ใช้รับประทานครั้งเดียวให้หมด อาการไอจะพลันหายไปทันที

    ขนานที่ 7 ท่านให้เอาใบต้นรางจืด 1 กำมือ นำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้แหลก คั้นเอาน้ำผสมกับน้ำซาวข้าว ประมาณครึ่งแก้วกาแฟ กวนให้เข้ากันใช้รับประทาน

    ขนานที่ 8 ท่านให้เอา แง่งขิง 1 หัวหอม 1 เกลือทะเล (เกลือใส่แกง) 1 ตัวยา ทั้ง 3 อย่างนี้เอาอย่างละพอสมควร นำมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งแท้ใช้รับประทาน

    ขนานที่ 9 ท่านให้เอา หัวข่า 1 ผล มะนาว 1 น้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลทรายแดง 1 ตัวยาทั้ง 3 อย่างนี้เอาอย่างละพอสมควร นำหัวข่ามาทุบพอช้ำ ๆ ฝานเป็นชิ้นบาง ๆ บีบน้ำมะนาว และใส่น้ำตาลทรายขาวลงผสม แล้วใช้อมไว้ ค่อยๆ เคี้ยวกลืนลงสู่ลำคอบ้าง

    ขนานที่ 10 ท่านให้เอา ส้มมะขามเปียก นำมาผสมกับน้ำผึ้งแท้กวนให้เข้ากันดีแล้วใช้รับประทาน

    ขนานที่ 11 ท่านให้เอา หัวยาข้าวเย็นเหนือ 1 หัวยาข้าวเย็นใต้ 1 ตัวยาทั้ง 2 อย่างนี้ เอาหนักอย่างละ 5 บาทเท่ากัน นำมาใส่หม้อดินต้มกับน้ำพอสมควร ใช้น้ำยาประมาณ 1 ถ้วยชา ใส่เกลือทะเล (เกลือใส่แกง) ลงผสมเล็กน้อย รับประทานเวลา เช้า-เย็น วันละ 2 เวลา

    ขนานที่12 ท่านให้เอาเมนทอล หนัก 4 บาท การบูรหนัก 2 สลึง พิมเสนหนัก 2 สลึง นำตัวยาทั้ง 3 อย่างนี้มาบดให้ละเอียดใส่ขวดแล้วปิดฝาให้แน่น เก็บไว้ 1 คืน ตัวยานั้นจะละลายเป็นน้ำ ใช้ดมและทาบริเวณลำคอ



    upload_2021-8-10_12-26-36.jpeg upload_2021-8-10_12-27-20.jpeg upload_2021-8-10_12-27-41.jpeg

    รูปภาพ : google.co.th
     
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    เกาะสีชัง อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี

    “.....ถิ่นสุขกายสุขด้วย ถิ่นดี.....จิตรโปร่งปราศราคี ชุ่มชื้น.....สองสุขแห่งชาวสี ชังเกาะ นี้แฮ.....อายุย่อมยืนพื้น แต่ร้อยเรือนริม.....” ข้อความดังกล่าวข้างต้นนี้ คือ บทร้อยกรองบางส่วนจาก “จดหมายเหตุเสด็จฯ ประพาสจันทบุรี พ.ศ. 2419 ” ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ใน “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” บรรยายให้เห็นถึงสภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านบน “เกาะสีชัง จ.ชลบุรี” ว่าเป็นผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี บางคนมีอายุยืนยาวร่วม 100 ปี เนื่องจากได้พำนักอาศัยอยู่ในท้องถิ่นซึ่งมีธรรมชาติและอากาศอันบริสุทธิ์

    ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสภาพแวดล้อมต่างๆ ของเกาะสีชังจะเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อกาลก่อนมากแล้ว แต่เกาะใกล้ๆ ชายฝั่งของ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีแห่งนี้ก็ยังคงมีกลิ่นอายของวันเก่าๆ ที่ทรงเสน่ห์บางอย่างและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมากหน้าหลายตาต้องเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาเยือนอยู่เสมอ



    %B5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-3.jpg

    ประภาคารหลังใหม่ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้านหน้าท่าเทียบเรือ "เกาะสีชัง"

    เกาะสีชังในรอยทางประวัติศาสตร์

    ในอดีต “เกาะสีชัง” เป็นที่รู้จักกันในฐานะของเกาะซึ่งมีอากาศบริสุทธิ์และมีสภาพภูมิประเทศอันสวยงาม อีกทั้งยังตั้งอยู่ใกล้เขตพระนคร จึงทำให้มีพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงหลายพระองค์เคยเสด็จฯมายังเกาะแห่งนี้ บางพระองค์ก็เสด็จฯ มาประพาสชมความงดงามของธรรมชาติ แต่บางพระองค์ก็เสด็จฯ มาเพื่อทรงบำบัดรักษาอาการพระประชวร ซึ่งในการเสด็จฯมาเยือนเกาะสีชังของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงแต่ละพระองค์นั้นก็ล้วนแล้วแต่นำพาความเจริญด้านต่างๆ มาสู่เกาะสีชัง จนทำให้เกาะแห่งนี้กลายเป็นหนึ่งในสถานตากอากาศเพื่อสุขภาพที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในยุคสมัยนั้น

    การก่อสร้างและพัฒนาสาธารณสถานต่างๆ บนเกาะสีชังเริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยของ “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)” พระองค์ได้เสด็จฯประพาสเกาะสีชังโดย เรือกลไฟซึ่งต่อขึ้นใช้เองเป็นครั้งแรกในประเทศไทยมีชื่อว่า “เรือสยามอรสุมพล” ในกาลนั้นพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำการปฏิสังขรณ์วัดเก่าซึ่งตั้งอยู่ปลายแหลมและให้สร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ รวมถึงกุฏิจำวัดของพระภิกษุสงฆ์ แต่มิได้พระราชทานชื่อวัดใหม่ยังคงให้เรียกชื่อตามที่ชาวบ้านเคยใช้กันมาเหมือนเคยว่า “วัดเกาะสีชัง” [พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เคยเสด็จฯ มายังเกาะสีชังครับ]


    B5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-57.jpg B5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-61.jpg B5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-73.jpg B5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-56.jpg
    ทิวทัศน์ต่างเวลา ณ ท่าเทียบเรือ
    เกาะสีชังได้รับการพัฒนาสูงที่สุดในรัชสมัยของ “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)” พระองค์เคยเสด็จฯประพาสเกาะสีชังหลายครั้งและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสาธารณสถานบนเกาะเพิ่มเติมจากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) อีกเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น อาไศรยสถาน (เรือนพักฟื้นผู้ป่วย) , ประภาคาร , ถนน , บ่อน้ำ , โรงเรียน ฯลฯ พร้อมกันนั้นพระองค์ยังทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างเรือนพักสำหรับชาวตะวันตกใช้เช่าพักตากอากาศ อีกทั้งยังให้มีการสร้างพระราชวังบนเกาะกลางทะเลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ เกาะสีชังแห่งนี้ด้วย
    ภายหลังจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 (ปี พ.ศ. 2436) ซึ่งเรือรบของฝรั่งเศสได้เข้ามาลอยลำเหนือน่านน้ำทะเลไทยและขอแบ่งแยกดินแดนบางส่วน มีการส่งทหารฝรั่งเศสหมวดหนึ่งบุกเข้ายึดเกาะสีชังส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จำต้องเสด็จฯ กลับพระนครทำให้การพัฒนาสาธารณูปโภคในด้านต่างๆ บนเกาะสีชังชะลอตัวลง ซึ่งนับตั้งแต่เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ก็ไม่เคยเสด็จฯมาประทับแรมบนเกาะสีชังอีกเลยจนสิ้นรัชกาล สำหรับพระที่นั่งและพระตำหนักซึ่งเป็นเครื่องไม้บางหลังบนเกาะสีชังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อและย้ายไปสร้างที่อื่น ทั้งนี้การดูแลรักษาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในเขตพระราชฐานซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่บนเกาะสีชังนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารเรือเป็นผู้รักษาดูแล

    8%91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-6.jpg %91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-17.jpg 8%91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-2.jpg 8%91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-4.jpg
    ภายนอกและภายใน "พระจุฑาธุชราชฐาน" บนเกาะสีชัง

    %91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-14.jpg %91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-23.jpg %91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-18.jpg 8%91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-8.jpg

    เรือนวัฒนา.....เรือนอภิรมย์.....รูปปั้นแบบยุโรป.....และ เรือนผ่องศรี
    ในปี พ.ศ. 2521 “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ได้รับมอบสิทธิ์การใช้ที่ดินบนเกาะสีชังจำนวน 224 ไร่จากกรมธนารักษ์เพื่อดำเนินการก่อสร้าง “สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล” พร้อมทั้งได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่บริเวณต่างๆ โดยรอบเขตพระราชฐาน (ซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินผืนดังกล่าว) ให้อยู่ในสภาพอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน นับแต่บัดนั้น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” จึงได้ดำเนินโครงการบำรุงรักษาพระราชฐานบนเกาะสีชังมาโดยตลอด
    นามเกาะสีชังนี้มีที่มาแต่หนใด ?
    ประวัติการเรียกชื่อ “เกาะสีชัง” นั้นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่พบหลักฐานการใช้คำว่า “เกาะสระชงง (เกาะสระชัง)” ในหนังสือ “กำสรวลศรีปราชญ์” ซึ่งแต่งขึ้นไว้ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2235 โดยมีทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าคำ “เกาะสระชงง” นี้ค่อยๆ ถูกใช้จนเพี้ยนกลายไปเป็นคำว่า “เกาะสีชัง” (ทั้งนี้ยังคาดเดาด้วยว่าคำ “สระชงง” เป็นคำซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า “สทึง” หรือ “จทึง” ในภาษาเขมรที่แปลว่า “ห้วงน้ำ” หรือ “แม่น้ำ” เมื่อใช้คำนี้ไปเรื่อยๆ ก็เพี้ยนไปเป็น “สเชิง” , “สชัง” , “สรชัง” จนเป็น “สระชงง” ในตอนท้าย)
    ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งคาดว่า “สีชัง” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “สีห์ชังฆ์” ที่แปลว่า “แข้งสิงห์” ตามลักษณะรูปร่างของเกาะ และบางทฤษฎีก็ว่าชื่อ “เกาะสีชัง” นั้นมาจากตำนานเรื่องของสองสามีภรรยาที่ชื่อ “สี” กับ “ชัง” ซึ่งเป็นคนคู่แรกที่มาตั้งรกรากอาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้

    %91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-32.jpg %91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-38.jpg
    บ่อกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภคภายในเขตพระจุฑาธุชราชฐาน
    สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ บนเกาะสีชัง
    ปัจจุบันการเดินทางสู่เกาะสีชังทำได้ง่ายและสะดวกสบายกว่าในสมัยก่อนมาก ทุกๆวันจะมีเรือเมล์วิ่งไป – กลับระหว่างท่าเรือ “เกาะลอย อ.ศรีราชา” กับ “เกาะสีชัง” ตั้งแต่เวลา 06.00 – 20.00 น. (ค่าโดยสาร 50 บาท/คน/เที่ยว เรือจะออกจากท่าทุกๆ 1 ชม.ยกเว้นกรณีที่มีผู้โดยสารเต็มลำก่อนจะถึงเวลาออกเรือตามปกติ เรือก็จะออกเดินทางเลยโดยไม่รอให้ถึงกำหนดเวลาตามตารางเดินเรือครับ) และเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงเกาะสีชังก็อาจเลือกเช่ารถจักรยานยนตร์ขี่เที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ หรือจะเลือกเช่าเหมารถสามล้อเครื่องก็ได้
    บนเกาะสีชังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจมากมายหลากหลายแห่ง มาลองตามไปทำความรู้จักกับสถานที่ต่างๆ เหล่านี้พร้อมๆ กันกับทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com)
    พระจุฑาธุชราชฐาน : พระราชฐานบนเกาะกลางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย
    ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จฯ มาประทับแรมบนเกาะสีชังเป็นเวลานาน ทรงมีพระราชดำริว่า เกาะสีชังนี้อากาศดี สถานที่ต่างๆ ก็ดูสวยงามอยู่สบาย ควรตั้งพระราชฐานให้มั่นคงเพื่อเป็นที่ประทับแรมระหว่างฤดูร้อน ขณะนั้น “พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี” ทรงพระครรภ์และมีพระประสูติพระราชกุมารบนเกาะสีชัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงได้พระราชทานพระนามพระราชโอรสพระองค์นี้ว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก” และพระราชทานนามพระราชฐานที่ทรงสร้างขึ้นใหม่แห่งนี้ตามพระนามพระราชโอรสว่า “พระจุฑาธุชราชฐาน” นับเป็นพระราชฐานซึ่งถูกสร้างขึ้นบนเกาะกลางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย

    %91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-24.jpg %91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-20.jpg
    ภายใน "พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน"
    จัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ "เกาะสีชัง" ไว้อย่างครบถ้วน
    พระจุฑาธุชราชฐานตั้งอยู่บริเวณ “แหลมวัง” ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสีชัง มีเนื้อที่ประมาณ 237 ไร่ ด้านหน้าเขตพระราชฐานอยู่ติดชายทะเล ด้านหลังติดที่ราบสูงบนภูเขา มีพระที่นั่งองค์สำคัญภายในเขตพระราชฐานได้แก่ “พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์” พระที่นั่งองค์นี้ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 จนถึงปี พ.ศ. 2436 แต่ยังไม่ทันได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ก็เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (เหตุการณ์ ร.ศ. 112) กองทหารหมวดหนึ่งของฝรั่งเศสได้บุกขึ้นยึดเกาะสีชังทำให้การก่อสร้างพระที่นั่งและพระตำหนักต่างๆ ต้องยุติลง
    ในปี พ.ศ. 2443 ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จฯ ประพาสหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก พระองค์ได้เสด็จฯ ผ่านมายังเกาะสีชังอีกครั้งหนึ่งและทอดพระเนตรเห็น “พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์” ตั้งรกร้างอยู่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งดังกล่าวมาสร้างไว้ใหม่ในเขตพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งพระราชทานนามของพระที่นั่งเสียใหม่ว่า “พระที่นั่งวิมานเมฆ” ขณะนี้ในเขตพระจุฑาธุชราชฐานบนเกาะสีชังจึงเห็นเพียงแค่ฐานเดิมของพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่เท่านั้น

    วัดอัษฎางคนิมิตร-สะพานอัษฎางค์-จุดชมทิวทัศน์เขาน้อย-
    ประภาคารแหลมวัง-เกาะสีชัง จ.ชลบุรี

    นอกเหนือไปจากพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์แล้วภายในเขตพื้นที่ของพระจุฑาธุชราชฐานยังคงมีสถานที่สำคัญอีกหลายแห่งซึ่งควรค่าแก่การแวะเยี่ยมชม ได้แก่
    - อาไศรยสถาน เรือนพักฟื้นผู้ป่วย : เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ปี พ.ศ. 2431 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระคลังข้างที่ เพื่อจัดสร้างเรือนพักฟื้นสำหรับผู้ป่วยซึ่งเรียกว่า “อาไศรยสถาน” ขึ้นจำนวน 3 หลัง พร้อมทั้งพระราชทานนามของเรือนแต่ละหลังตามพระนามของ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี , พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี และ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ว่า “เรือนวัฒนา (เรือนใกล้ๆ ริมชายหาด)” , “เรือนผ่องศรี (เรือน 8 เหลี่ยม)” และ “เรือนอภิรมย์ (เรือนแถวยาว)” เรือนทั้ง 3 หลังนี้สร้างขึ้นโดยการก่ออิฐถือปูนตามลักษณะสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกอันเป็นที่นิยมในสมัยนั้น

    %A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3-19.jpg 8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3-3.jpg
    พระพุทธรูปบริเวณโคนต้นศรีมหาโพธิ์ และ พระเจดีย์อุโบสถของวัดอัษฎางคนิมิตร
    อาไศรยสถานสร้างเสร็จและเปิดใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2432 แต่เดิมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้ผู้ป่วยทั่วไปสามารถใช้อาไศรยสถานเป็นที่พักฟื้นรักษาตนได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพียงแต่ต้องอยู่ในระเบียบบางประการซึ่งพระองค์ทรงกำหนดขึ้น เช่น ต้องรักษาสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพเดิม เครื่องผ้าต้องซักและพับให้เรียบร้อย เป็นต้น
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2434 “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ” ทรงพระประชวรหนักจำต้องเสด็จฯ มาประทับอยู่ ณ อาไศรยสถาน ในกาลนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จฯ มาประทับที่เกาะสีชังนานหลายเดือนเพื่อทรงอภิบาลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ ช่วงระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้าพักยังอาไศรยสถานชั่วคราว ปีถัดมา (พ.ศ. 2435) มีพระบรมราชโองการประกาศให้บริเวณนี้เป็นเขตพระราชฐาน ผู้ป่วยทั่วไปจึงไม่สามารถเข้าพักที่อาไศรยสถานได้เป็นการถาวรนับแต่บัดนั้น
    ครั้นเมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธทรงคลายจากพระอาการประชวร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการก่อสร้างสาธารณสถานบนเกาะสีชังเพิ่มเติ่มอีกหลายแห่ง และพระราชทานนามของสถานที่ต่างๆ เหล่านั้นตามพระนามของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ (เช่น สะพานอัษฎางค์ , อัษฎางค์ประภาคาร , ถนนอัษฎางค์ , ฯลฯ)

    %A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3-18.jpg 8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3-7.jpg 8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3-8.jpg 8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3-4.jpg
    "วัดอัษฎางคนิมิตร" วัดไทยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากงานสถาปัตยกรรมแบบโกธิก
    - พระตำหนักมรกตสุทธิ์ สถานที่ประสูติเจ้าฟ้า : พระตำหนักมรกตสุทธิ์มีลักษณะเป็นอาคารไม้ทาสีเขียวสองชั้น หลังคาปั้นหยามีเชิงชายไม้ฉลุสวยงาม “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก” พระราชโอรสองค์ที่ 27 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีพระประสูติกาล ณ พระตำหนักแห่งนี้ในช่วงค่ำของวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435
    - วัดอัษฎางคนิมิตร วัดไทยที่สร้างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลมาจากงานสถาปัตยกรรมแบบโกธิก : ในปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีพระราชดำริว่า ที่ดินติดกับเขต “วัดเกาะสีชัง” มีเรือนพักสำหรับให้ชาวตะวันตกเช่าตั้งอยู่ อีกทั้งในเวลาที่พระองค์เสด็จฯ มาประทับแรมบนเกาะสีชังก็ประทับใกล้กับวัดทำให้บริเวณนั้นพลุกพล่านไม่เหมาะแก่ปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสงฆ์ พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นใหม่บนไหล่เขาด้านทิศใต้ของเขตพระราชฐานและพระราชทานนามวัดใหม่แห่งนี้ว่า “วัดอัษฎางคนิมิตร

    %91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-52.jpg %91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-53.jpg %91%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-54.jpg
    มุมมองแบบกว้างไกลสุดสายตาจากจุดชมทิวทัศน์ "เขาน้อย"
    แลเห็นเจดีย์พระอุโบสถ "วัดอัษฎางคนิมิตร" และท่าเทียบเรือน้ำลึกอยู่ไกล ๆ
    ภายในบริเวณวัดอัษฎางคนิมิตรมี “พระเจดีย์อุโบสถ” ซึ่งเป็นพระอุโบสถที่มีลักษณะแตกต่างจากพระอุโบสถทั่วๆ ไปในสมัยนั้นกล่าวคือ ตัวพระอุโบสถสร้างเป็นอาคารรูปทรงกลม ส่วนบนหลังคาทำเป็นยอดเจดีย์ทรงลังกา พื้นปูแผ่นหินอ่อนสีขาวสลับดำ ประตูและหน้าต่างทำเป็นรูปโค้งยอดแหลม ช่องแสงประดับกระจกสีแบบสถาปัตยกรรมโกธิก กำแพงแก้วทำเป็นลูกกรงกระเบื้องดินเผาเคลือบล้อมรอบ บนราวลูกกรงตั้งศิลาจารึกคำสอนในพระพุทธศาสนา 8 แห่ง ด้านหน้าพระเจดีย์อุโบสถฝั่งทิศตะวันออกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนำหน่อมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดียไว้

    %B5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87-9.jpg 8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-6.jpg B5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87-52.jpg %B5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87-5.jpg
    ...............สถานที่ซึ่งย้ำเตือนถึงความทรงจำแห่งอดีตกาล...............

    %B5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87-1.jpg %9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-12.jpg
    รุ่งสางบริเวณ "ประภาคารแหลมวัง" และ "สะพานอัษฎางค์"
    - จุดชมทิวทัศน์เขาน้อย หนึ่งในจุดชมทิวทัศน์จากมุมสูงของเกาะสีชัง : ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระจุฑาธุชราชฐานมีเนินเขาลูกเล็กๆ เรียกว่า “เขาน้อย” ตั้งอยู่ บนเนินเขาลูกนี้มีการต่อบันไดและระเบียงไม้เอาไว้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปชมทิวทัศน์ของท้องทะเลและวัดอัษฎางคนิมิตจากในมุมสูงได้ ระหว่างเส้นทางเดินสู่จุดชมทิวทัศน์เขาน้อยนักท่องเที่ยวจะได้พบเห็นความสวยงามของต้นลีลาวดีที่ออกดอกสีขาวบานสะพรั่งอยู่ตลอดสองข้างทาง
    8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-2.jpg 8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-5.jpg
    ...............อีกมุมหนึ่งของ "สะพานอัษฎางค์" ในยามเช้า...............
    - สะพานอัษฎางค์ จุดถ่ายภาพยอดนิยมของคู่รัก : ในอดีตที่เกาะสีชังเวลาน้ำลง เรือเข้าจอดได้ไม่ถึงชายหาด คนต้องเดินลุยน้ำถูกหอยบาดเท้าบาดขาเกิดบาดแผลเจ็บปวด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานเทียบเรือใหญ่ทำด้วยไม้สักทาสี เสาก่อศิลาโบกปูนซีเมนต์ มีที่พักต้นสะพาน 1 หลัง กลางสะพาน 1 หลัง และปลายสะพาน 1 หลัง พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “สะพานอัษฎางค์” สำหรับอ่าวอันเป็นที่ตั้งของสะพานอัษฎางค์นั้นมีหาดทรายสีน้ำตาลอ่อนที่สวยงามชื่อว่า “หาดทรายแก้ว” แต่บริเวณชายหาดแห่งนี้ไม่เหมาะแก่การลงเล่นน้ำเนื่องจากมีก้อนหินขรุขระอยู่ใต้น้ำมาก
    ปัจจุบันบริเวณสะพานอัษฎางค์และหาดทรายแก้วได้กลายเป็นจุดถ่ายภาพยอดนิยมของนักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมายังเกาะสีชัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ค่อยๆ แย้มกรายฉายแสงส่องไปทั่วท้องนภาฟ้ากว้างนั้นเป็นช่วงเวลาที่บรรยากาศรอบๆ สะพานอัษฎางค์แห่งนี้งดงามยิ่งกว่าช่วงเวลาใดๆ เลยทีเดียว

    %9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-18.jpg
    เรือประมงที่จอดเกยตื้นอยู่หน้า "หาดทรายแก้ว"
    - อัษฎางค์ประภาคาร หรือ ประภาคารแหลมวัง แสงส่องทางที่เลือนรางหรี่ลับไปกับกาลเวลา : กลางท้องน้ำทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสีชังมีศิลาสัมปะยื้อกีดขวางระหว่างเส้นทางเดินเรือ และอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เรือซึ่งแล่นเข้า – ออกจากเกาะสีชัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้าง “อัษฎางค์ประภาคาร” ขึ้นเพื่อใช้ส่องสัญญาณไฟนำทางให้แก่เรือต่างๆ ในยามค่ำคืน และมีเรือนให้คนรักษาประภาคารอยู่ทำหน้าที่ประจำ 1 หลัง เนื่องจากอัษฎางค์ประภาคารตั้งอยู่บริเวณส่วนปลายสุดของ “แหลมวัง” ชาวบ้านบนเกาะสีชังจึงนิยมเรียกประภาคารแห่งนี้ในอีกชื่อหนึ่งว่า “ประภาคารแหลมวัง
    ทุกวันนี้อัษฎางค์ประภาคารอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมจนไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากขาดการบำรุงรักษา อีกทั้งยังมีการสร้างประภาคารหลังใหม่ขึ้นใกล้ๆ กับ “ท่าเรือเทวงษ์ (ท่าล่าง)” ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสีชังจึงทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้งานอัษฎางค์ประภาคารอีกต่อไป
    อัษฎางค์ประภาคารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง บริเวณโดยรอบประภาคารแห่งนี้จึงกลายเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง

    B5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87-53.jpg

    เก้าอี้ไม้ใต้ร่มเงาของต้นลีลาวดีใกล้ ๆ "ท่าน้ำหน้าวัง"
    - หาดหน้าวัง ชายหาดในเขตพระราชฐาน : บริเวณท่าน้ำหน้าวังด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของซากฐาน “พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์” เป็นที่ตั้งของหาดทรายปนกรวดสีน้ำตาลอ่อนยาวประมาณ 300 เมตร เรียกว่า “หาดหน้าวัง” ถึงแม้ชายหาดแห่งนี้จะมีความสวยงามแต่ก็ไม่เหมาะแก่การลงเล่นน้ำเนื่องจากมีโขดหินแหลมคมใต้น้ำอยู่มาก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงนิยมเพียงแค่เดินเลียบเลาะชมความงดงามของหาดหน้าวังอยู่บนแนวสันเขื่อนป้องกันคลื่นเท่านั้น

    วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม-ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่-ยอดพระจุลจอมเกล้า-
    ช่องเขาขาด-เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

    ภายหลังจากที่มีการสร้าง “ถนนอัษฎางค์” ขึ้นเป็นเส้นทางสัญจร ชาวบ้านส่วนใหญ่ได้ย้ายบ้านเรือนไปตั้งอยู่บริเวณส่วนปลายด้านทิศเหนือของเกาะสีชังซึ่งอยู่ห่างไกลจาก “วัดอัษฎางคนิมิตร” เป็นที่ลำบากแก่พระภิกษุสงฆ์ในการบิณฑบาต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามแห่งใหม่ขึ้น ณ เชิงเขาของยอดพระจุลจอมเกล้าด้านติดทะเลเพื่อชาวบ้านจะได้ทำบุญตักบาตรสะดวก พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม” เมื่อวันที่ 9 กรกฏาคม พ.ศ. 2435 ปัจจุบันวัดจุฑาทิศธรรมสภารามมีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ประเภทวรมหาวิหาร

    8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-9.jpg %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-24.jpg %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-17.jpg %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-22.jpg
    หลากหลายมุมมองจากบน "วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม - ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่"

    B5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-58.jpg
    ......................... ศาสนสถานคู่เกาะสีชัง.........................
    จากวัดจุฑาทิศธรรมสภารามมีบันไดปูนที่สามารถเดินต่อเนื่องไปยัง “ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่” ศาลเจ้าอันเป็นที่เคารพของชาวเกาะสีชังและชาวไทยเชื้อสายจีน เดิมทีศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่เป็นเพียงแค่ศาลเล็กๆ ซึ่งภายในมีช่องหินแคบๆ ที่มีรูปลักษณะคล้ายหลวงจีนตั้งอยู่ เมื่อมีคนไปสักการบูชามากขึ้นจึงมีการสร้างเป็นศาลลักษณะทรงวิหารจีน ภายในประดิษฐานรูปเคารพเจ้าพ่อเห้งเจีย , เจ้าแม่กวนอิม , เทพเจ้ากวนอู , 8 เซียน , ฯลฯ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนจะมีผู้คนมากราบไหว้บูชาขอพรศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่กันอย่างเนืองแน่น

    %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-40.jpg %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-13.jpg
    จาก "ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่" สามารถมองเห็นท่าเรือต่างๆ ของเกาะสีชังได้อย่างชัดเจน

    %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-27.jpg %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-32.jpg %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-52.jpg 8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-4.jpg
    ทั่วๆ ไปภายใน "วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม - ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่"
    ด้านบนวัดจุฑาทิศธรรมสภาราม – ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่เป็นจุดชมทิวทัศน์ชายฝั่งตะวันออกของเกาะสีชังที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปถึงได้ไม่ยากนัก

    %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-37.jpg %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-45.jpg %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-28.jpg %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-58.jpg
    .........................ภาพแห่งศรัทธา.........................

    %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-38.jpg %B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-36.jpg
    "เจ้าพ่อเห้งเจีย" และ "เจ้าพ่อเขาใหญ่"
    ยอดพระจุลจอมเกล้า : เดินทางขึ้นสู่จุดชมทิวทัศน์ที่สวยที่สุดของเกาะสีชังพร้อมกราบนมัสการรอยพระพุทธบาทและพระบรมสารีริกธาตุ
    ถัดจากศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่มีบันไดปูนซึ่งทอดยาวขึ้นสู่ “ไหล่คยาศิระ” อันเป็นสถานที่ประดิษฐาน “รอยพระพุทธบาทจำลอง” นักท่องเที่ยวบางคนซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และกอปรไปด้วยศรัทธาอันแรงกล้าอาจตัดสินใจเดินขึ้นเขาเพื่อไปกราบสักการะรอยพระพุทธบาทดังกล่าว อนึ่ง.....รอยพระพุทธบาทจำลองซึ่งตั้งอยู่บนไหล่คยาศิระองค์นี้ “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” ได้ทรงอัญเชิญมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นศิลาจำหลักรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ราวปี พ.ศ. 500

    %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-92.jpg %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-73.jpg 88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-107.jpg %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-62.jpg
    .........................สถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง.........................

    %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-74.jpg 88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-106.jpg
    ......................... ศักดิ์สิทธิ์.....สวยงาม ในแสงทอง.........................

    ไหล่คยาศิระ” คือ ไหล่เขาของ “ยอดพระจุลจอมเกล้า” ยอดเขาสูงซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเกาะสีชัง บริเวณไหล่คยาศิระแห่งนี้นอกจากจะเป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองอันเก่าแก่แล้ว ยังเป็นจุดชมทิวทัศน์เกาะสีชังจากมุมสูงที่มีความงดงามอย่างมากอีกด้วย จากบริเวณไหล่คยาศิระนักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็นเกาะขามใหญ่ , ท่าภาณุรังสี (ท่าบน) , ท่าเทวงษ์ (ท่าล่าง) และท่าเรือท่องเที่ยวเกาะสีชัง (ท่าใหม่) อันเป็นท่าเรือสำคัญ 3 แห่งทางฝั่งตะวันออกของเกาะสีชังได้อย่างชัดเจน พร้อมกันนั้นนักท่องเที่ยวยังสามารถมองเห็น “แหลมมหาวชิราวุธ (แหลมสลิด)” ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะสีชังได้ด้วย
    %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-46.jpg
    เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กับ แสงแรกของวันใหม่

    88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-101.jpg %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-71.jpg %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-66.jpg %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-91.jpg
    ......................... ความประทับใจบนยอดเขา.........................
    หากคุณเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งชื่นชอบการถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าล่ะก็ ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) แนะนำว่าบริเวณไหล่คยาศิระเป็นมุมดีๆ อีกแห่งที่คุณจะสามารถเก็บภาพถ่ายยามรุ่งอรุณสวยๆ ได้หลายภาพเลยทีเดียว ปัจจุบันมีการสร้างถนนคอนกรีตจากเชิงเขาขึ้นสู่ไหล่คยาศิระของยอดพระจุลจอมเกล้าเรียบร้อยแล้ว กรณีที่คุณสามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ได้อย่างคล่องแคล่วก็สามารถหาเช่ารถจักรยานยนต์ขี่ขึ้นไปยังลานจอดใกล้ๆ กับไหล่คยาศิระได้เลย แต่ในกรณีที่คุณไม่สามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ หรือขี่ได้ไม่คล่องก็อาจเลือกเหมารถสามล้อเครื่องให้พาไปส่งก็ได้ (แต่เจ้าของรถสามล้อเครื่องบางคนอาจปฏิเสธไม่ยอมพาไปยังลานจอดรถบริเวณไหล่คยาศิระเนื่องจากทางขึ้นค่อนข้างชัน กำลังของรถสามล้อเครื่องบางคันอาจไม่เพียงพอต่อการพานักท่องเที่ยวขึ้นไปจนถึงที่หมายได้) ส่วนทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ที่ไม่สามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ขึ้นเขา หรือไม่สามารถติดต่อเหมารถสามล้อเครื่องได้ก็คือ..........เดินขึ้นไปด้วยลำแข้งของตัวเอง

    %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-13.jpg %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-14.jpg %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-15.jpg
    มุมมองแบบกว้างไกลสุดสายตาจาก "ไหล่คยาศิระ" ไหล่เขาของ
    "ยอดพระจุลจอมเกล้า" จุดชมทิวทัศน์ที่สวยที่สุดของ "เกาะสีชัง"

    %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-22.jpg %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-23.jpg %88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-24.jpg
    ใครซึ่งขับขี่จักรยานยนต์ได้อย่างชำนาญ
    ก็สามารถใช้ถนนคอนกรีตที่ทอดยาวขึ้นสู่ "ยอดเขาพระจุลจอมเกล้า" เส้นนี้ได้
    นอกจาก “รอยพระพุทธบาทจำลอง” แล้ว บริเวณไหล่คยาศิระของยอดพระจุลจอมเกล้ายังเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุด้วย
    ช่องเขาขาด : นั่งกินลมชมพระอาทิตย์ตกยามเย็น
    ช่องเขาขาด” หรือ “ช่องอิสริยาภรณ์” มีลักษณะเป็นช่องเขาซึ่งแยกตัวออกจากกันเป็นร่องขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะสีชัง ในอดีตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เคยเสด็จฯ มาดูดาว ณ สถานที่แห่งนี้ ปัจจุบันบริเวณช่องเขาขาดยังคงมีพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ตั้งอยู่ให้เห็นใกล้ๆ กับศาลาชมทิวทัศน์ด้านทิศเหนือ (บริเวณช่องเขาขาดมีศาลาชมทิวทัศน์ตั้งอยู่หลายหลัง แต่พลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะอยู่ใกล้ๆ กับศาลาชมทิวทัศน์ทางด้านทิศเหนือครับ)

    87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-17.jpg %87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-9.jpg %87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-4.jpg 87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-24.jpg
    "ช่องเขาขาด" หรือ "ช่องอิสริยาภรณ์" จุดชมทิวทัศน์ฝั่งตะวันตกของเกาะสีชัง

    %87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-7.jpg
    "สะพานมหาวชิราวุธ" ที่ทอดยาวไกลไปยัง "แหลมสลิด"

    87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-19.jpg 87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-20.jpg 87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-21.jpg
    มุมมองแบบกว้างไกลสุดสายตาของ "ช่องเขาขาด"
    เนื่องจากช่องเขาขาดตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะสีชัง บริเวณนี้จึงเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกในยามย่ำสนธยาที่งดงาม คุณสามารถมานั่งรับลมทะเลเย็นๆ ซึ่งจะเริ่มพัดเข้าสู่ชายฝั่งแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนคล้อยลงต่ำ พร้อมกันนั้นก็เฝ้าสังเกตสีสันของฟากฟ้าที่ค่อยๆ แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ปล่อยอารมณ์และร่างกายให้ผ่อนคลายสบายๆ จนกว่าแสงสุดท้ายของวันจะลาลับ แล้วจึงค่อยเดินทางกลับสู่เคหสถานย่านที่พัก ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) แนะนำว่าการชมพระอาทิตย์ตก ณ ช่องเขาขาดแห่งนี้เป็นกิจกรรมซึ่งผู้ที่รักความโรแมนติกไม่ควรพลาด

    7-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-156.jpg 87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-78.jpg 87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-81.jpg 87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-47.jpg
    ......................... เย็นย่ำ.....ยามเย็น ฉันเห็นแสงและเงา.........................

    7-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-124.jpg
    ......................... ความงามในแสงสนธยา.........................

    87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-39.jpg 87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-40.jpg
    ดวงอาทิตย์อัสดง....................ลงที่ช่องเขาขาด

    7-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-116.jpg 87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-85.jpg 87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-93.jpg 7-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-128.jpg
    ที่นี่คือจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดของ "เกาะสีชัง"
    จากช่องเขาขาดมีสะพานปูนสีขาวประดับประดาด้วยโคมไฟรูปหงส์สร้างทอดยาวตลอดแนวชายฝั่งไปสู่ปลาย “แหลมมหาวชิราวุธ” หรือที่ชาวเกาะสีชังนิยมเรียกด้วยชื่อเดิมๆ สั้นๆ ว่า “แหลมสลิด” บริเวณแหลมสลิดแห่งนี้เป็นสถานที่ซึ่งเราสามารถพบเห็นชาวบ้านนำเบ็ดมาตกปลาอยู่ได้เสมอๆ สำหรับนักท่องเที่ยวคนไหนอยากลองตกปลาดูบ้างก็อาจลองขอเช่าเบ็ดตกปลาจากชาวบ้านได้ (ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมเป็นพวกไม่พิสมัยกิจกรรมตกปลาจึงไม่มีข้อมูลเชิงลึกว่าค่าเช่าเบ็ดเป็นอย่างไร และไม่ทราบว่าโดยปกติชาวบ้านเกาะสีชังจะยอมให้เช่าเบ็ดตกปลาหรือไม่ครับ)

    87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-76.jpg 87-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-61.jpg
    บางช่วงเวลา...............เราก็สามารถสัมผัสได้ถึงความโอบอ้อมอบอุ่นของธรรมชาติ

    7-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-152.jpg 7-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-104.jpg
    .........................บางคนก็มาตกปลา บางคนก็มาชมทิวทัศน์.........................
    บริเวณช่องเขาขาดมีจุดชมทิวทัศน์ในมุมสูงซ่อนตัวอยู่หลังศาลาชมทิวทัศน์ทางด้านทิศใต้ (ศาลาชมทิวทัศน์ด้านทิศใต้เป็นศาลาชมทิวทัศน์ริมทะเลที่ตั้งอยู่เดี่ยวๆ หลังเดียว นักท่องเที่ยวจะสามารถสังเกตเห็นศาลาแห่งนี้ได้โดยง่ายครับ) หากนักท่องเที่ยวใช้ความพยายามสักหน่อยก็จะมองเห็นทางปูนแคบๆ ด้านหลังศาลาที่สามารถเดินขึ้นไปยังจุดชมทิวทัศน์แห่งนี้ได้ ตากล้องผู้ซึ่งหลงรักในการสรรหามุมถ่ายภาพแบบแปลกๆ ใหม่ๆ น่าจะเก็บภาพดีๆ กลับไปได้บ้างอย่างไม่ยากเย็น

    หาดถ้ำพัง-พระเหลือง-ถ้ำจักรพงษ์-เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
    ชายหาดส่วนใหญ่รอบๆ เกาะสีชังเป็นชายหาดซึ่งไม่เหมาะแก่การลงเล่นน้ำ เนื่องจากมีโขดหิน/ก้อนหินขรุขระกระจายอยู่ใต้น้ำมาก จะมีก็แค่ “หาดถ้ำพัง” ซึ่งตั้งอยู่ภายใน “อ่าวอัษฎางค์” ทางฝั่งทิศตะวันตกของเกาะสีชังเท่านั้นที่มีสภาพภูมิประเทศอันสวยงาม และสามารถลงเล่นน้ำได้อย่างค่อนข้างปลอดภัย

    B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-61.jpg B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-53.jpg B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-49.jpg B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-23.jpg
    .........................ความสดใสของชีวิต และ ธรรมชาติ.........................


    %B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-3.jpg

    " หาดถ้ำพัง" คือ ชายหาดที่สวยที่สุดของ "เกาะสีชัง"
    หาดถ้ำพัง” คือ ชายหาดที่มีความงดงามโดดเด่นมากที่สุดของเกาะสีชัง ลักษณะหาดทรายเป็นสีขาวเนื้อเนียนละเอียดนุ่มเท้า น้ำทะเลสีฟ้าอมเขียวอ่อนใส พื้นทรายใต้ทะเลมีความลาดเอียงต่ำทำให้ลูกเล็กเด็กแดงสามารถลงเล่นน้ำได้โดยที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องกังวลมากนัก ริมชายหาดมีร้านอาหารทะเลตั้งเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวสามารถสั่งอาหารมารับประทานขณะนั่งเอนหลังพักผ่อนสบายๆ บนเก้าอี้ผ้าใบได้

    B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-10.jpg

    ภาพในมุมสูงจากศาลาชมทิวทัศน์ใกล้ ๆ กับ "หาดถ้ำพัง"

    B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-20.jpg B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-41.jpg B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-54.jpg B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-45.jpg
    ...............น้ำใส ทรายขาว เห็นแล้วอยากหยุดงานมาพักผ่อนยาว ๆ จังเลย...............
    ในช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์ หรือ วันหยุดนักขัตฤกษ์ตามเทศกาลต่างๆ บริเวณหาดถ้ำพังจะคลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวจำนวนมากจนอาจทำให้คุณรู้สึกอึดอัดเอาได้ง่ายๆ แต่เมื่อพ้นจากช่วงเวลาวันหยุดดังกล่าวไปแล้ว ชายหาดแห่งนี้ก็จะกลับมามีบรรยากาศที่สงบงามอีกครั้ง ใครที่อยากจะสัมผัสกับธรรมชาติของหาดถ้ำพังแบบเต็มๆ โดยปราศจากการรบกวนของฝูงชนแนะนำว่าควรเดินทางมาท่องเที่ยวหาดถ้ำพังในช่วงวันจันทร์ – ศุกร์ธรรมดาๆ มากกว่า

    B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-32.jpg

    " หาดถ้ำพัง" กับ ท่อปูนปริศนา"หาดถ้ำพัง" กับ ท่อปูนปริศนา
    สำหรับผู้ซึ่งอยากจะทำกิจกรรมสนุกๆ นอกเหนือไปจากการลงเล่นน้ำตามปกติ ที่หาดถ้ำพังเขาก็มีเรือกล้วย (Banana boat) และเรือคายัก (Kayak) ให้เช่าเล่น ส่วนคนที่ว่ายน้ำไม่ค่อยเป็นก็สามารถหาเช่าห่วงยาง หรือบอลลูนน้ำลงไปเกาะลอยคอตุ๊บป่องๆ ได้ไม่ต้องเป็นภาระคนอื่น

    B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-38.jpg
    ทรายเข้าตาหรือไงจ๊ะ...............หนูน้อย ?
    B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-12.jpg B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-13.jpg B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-14.jpg
    มุมมองแบบกว้างไกลสุดสายตาของ "อ่าวอัษฎางค์" ที่ตั้งของ "หาดถ้ำพัง"
    ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) มีข้อควรระวังบางประการซึ่งอยากจะขอเตือนให้ผู้ที่จะลงเล่นน้ำ ณ หาดถ้ำพังทราบไว้ล่วงหน้า คือ ทางด้านทิศเหนือของหาดถ้ำพังมีแนวโขดหินซึ่งมีหอยนางรมที่มีเปลือกอันแหลมคมเกาะอยู่เต็ม ในช่วงเวลาน้ำขึ้นแนวโขดหินเหล่านี้จะจมอยู่ใต้น้ำทำให้ยากต่อการสังเกตเห็นและอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหากนักท่องเที่ยวพลาดไปเหยียบแนวโขดหินเหล่านี้เข้า เพราะฉะนั้นนักท่องเที่ยวจึงควรหลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำใกล้แนวโขดหินทางด้านทิศเหนือของหาดถ้ำพัง
    พระเหลือง – ถ้ำจักรพงษ์ : หนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญของเกาะสีชัง และ ถ้ำซึ่งถูกค้นพบโดยเจ้าฟ้า
    ขณะที่นั่งเรือมายังเกาะสีชัง นักท่องเที่ยวบางคนอาจสังเกตเห็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสีเหลืององค์ใหญ่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนเชิงเขา ชาวเกาะสีชังนิยมเรียกชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระเหลือง” (“พระเหลือง” มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “หลวงพ่อศรีสุขมหาจักรเพชร” แต่ชาวเกาะสีชังไม่นิยมเรียกชื่อนี้ เนื่องจากเป็นชื่อที่ยาวและจดจำได้ยากกว่า) “พระเหลือง” ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญของเกาะสีชังที่ผู้คนในละแวกนี้ต่างรู้จักกันดี

    %B1%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-1.jpg %B1%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-9.jpg B1%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-22.jpg %B1%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-6.jpg
    ......................... พระเหลือง และ สำนักสงฆ์ถ้ำจักรพงษ์.........................

    8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C-1.jpg %96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C-16.jpg %96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C-11.jpg 8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C-4.jpg

    87%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%A3.5.jpg

    อีกหนึ่งสัญลักษณ์สำคัญของ "เกาะสีชัง"
    ปัจจุบันพระเหลืองประดิษฐานอยู่ในเขตพื้นที่ของ “สำนักสงฆ์ถ้ำจักรพงษ์” สำนักสงฆ์อันเป็นที่ตั้งของ “ถ้ำจักรพงษ์” ถ้ำซึ่ง “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ” ทรงเป็นผู้ค้นพบ (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 40 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
    ถ้ำจักรพงษ์” เป็นถ้ำตื้นๆ ความยาวไม่เกิน 50 เมตร มีรากไม้ที่งอกยาวทะลุจากเพดานถ้ำลงมา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์และพระพุทธรูปปางมารวิชัย ถ้ำจักรพงษ์เป็นถ้ำที่ตายแล้วไม่มีหินงอกหินย้อยที่งดงามใดๆ ให้ชม นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ซึ่งแวะมายังสำนักสงฆ์ถ้ำจักรพงษ์นั้นมีจุดประสงค์ในการมากราบสักการะพระเหลืองมากกว่าที่จะมาชมความงดงามของถ้ำ
    ถ้ำจักรพงษ์ อยู่บนเขาบนเกาะสีชัง มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่สามารถมองเห็นได้แต่ไกลมีสีเหลืองอร่ามจนชาวเกาะสีชังเรียกกันว่า พระเหลือง ใต้พระพุทธรูปพระเหลืองนี้มีโพรงถ้ำลึกลงไปประมาณ 25 เมตร มีทางเดินลงไป ส่วนลึกสุดของโพรงถ้ำมีทางทะลุออกด้านล่างได้ เหนือถ้ำบริเวณใกล้เคียงกับพระเหลืองมีระเบียงศาลาชมวิวซึ่งสามารถมองเห็นเกาะขาม เกาะปรง ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่

    ประวัติ
    วัดถ้ำจักรพงษ์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเกาะสีชัง รัชการที่ 5 เคยเสด็จประพาส และพระราชทานนามให้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยว กราบไหว้ทำบุญกัน ที่วัดแห่งนี้ มีพระพุทธรูปพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่สีเหลืองอร่าม สามารถมองเห็นแต่ไกล และยังมีถ้ำอยู่ในวัดแห่งนี้ด้วย วัดถ้ำจักรพงษ์นี้ มีพระพุทธรูปปางต่างๆ อยู่โดยรอบ พระพุทธรูปเหลืององค์ใหญ่ เป็นวัดที่มีความเงียบสงบที่น่าปฏิบัติธรรมะอีกวัดหนึ่งของ เกาะสีชัง วัดแห่งนี้ยังมีบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบมากๆ เนื่องจากตั้งอยู่บนเขา มีจุดชมวิวสวยๆอีกแห่งของเกาะสีชังเช่นเดียวกัน พระเหลืองเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดใหญ่ที่สุดบนเกาะสีชัง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เมื่อขึ้นไปที่วัดพระเหลือง สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของเกาะสีชังได้อีกด้วย แบบนี้ต้องไม่พลาด พระเหลือง พระพุทธรูปปางสมาธิ สีเหลือง ที่ใหญ่ที่สุดในเกาะสีชัง พระเหลือง มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า หลวงพ่อศรีสุขมหาจักรเพชร แต่ชาวเกาะสีชังไม่นิยมเรียกชื่อนี้ เนื่องจากเป็นชื่อที่ยาวและจดจำได้ยาก จึงนิยมเรียกกันว่าพระเหลือง พระเหลืองยังเป็นสัญลักษ์ของเกาะสีชังอีกแห่งหนึ่งด้วย ภายในวัดถ้ำจักรพงษ์ จะมีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ(รัชการที่ 5) และ พระบรมรูปของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ(เสด็จเตี่ย) ไหว้ให้นักท่องเที่ยวประชาชนได้กราบไหว้กันด้วย มากราบขอพร เสด็จเตี่ย กับ ร.5 ถ้าจักรพงษ์ เป็นถ้ำเล็กๆ ความยาวประมาณ 30 เมตร ลึกลงไปในเขา มีรากไม้ที่งอกยาวทะลุจากเพดานถ้ำลงมา ถ้ำจักรพงษ์เป็นถ้ำที่ตายแล้ว คือจะไม่มีหินงอกหินย้อยที่งดงามใดๆ ให้ชม แต่สามารถเดินลงไปได้ ภายในมีประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์และพระพุทธรูปปางมารวิชัย ให้ได้กราบไหว้ นักท่องเที่ยวส่วนมากซึ่งแวะมายังวัดถ้ำจักรพงษ์นั้นส่วนมากจะมากราบสักการะพระเหลืองมากกว่าที่จะมาชมความงดงามของถ้ำ
    เส้นทาง.....สามล้อเครื่อง.....ศิลาจารึก.....และ สาวสวย ?

    9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A7-3.jpg
    จากไหล่เขาทางด้านทิศใต้ของ "เกาะสีชัง" มองเห็น "เกาะค้างคาว" อยู่ใกล้ๆ
    - เกาะค้างคาว เป็นเกาะซึ่งมีหาดทรายสีขาวและมีแนวปะการังน้ำตื้นอยู่โดยรอบ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง หากใครอยากมาดำน้ำหรือเที่ยวชายหาดแนะนำให้ติดต่อเช่าเหมาเรือจากท่าเทวงษ์ (ท่าล่าง) , ท่าภาณุรังสี (ท่าบน) หรือท่าเรือท่องเที่ยวเกาะสีชัง (ท่าใหม่) สำหรับท่ายายทิมซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะค้างคาวมากที่สุดนั้นไม่มีเรือใดๆ ให้เช่าเหมา

    %AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C-24.jpg %AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C-19.jpg
    ......................... ทิวทัศน์โดยรอบ "แหลมจักรพงษ์".........................
    - เกาะขามใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสีชัง มีหาดทรายที่สามารถลงเล่นน้ำได้ หากใครเบื่อหาดถ้ำพังก็อาจหาเรือหางยาวเช่าเหมาลำจากท่าเทวงษ์ (ท่าล่าง) , ท่าภาณุรังสี (ท่าบน) หรือท่าเรือท่องเที่ยวเกาะสีชัง (ท่าใหม่) ให้พาไปยังเกาะแห่งนี้

    การเดินทางสู่เกาะสีชัง : มีเรือเมล์วิ่งไป – กลับระหว่างท่าเรือ “เกาะลอย อ.ศรีราชา” กับ “เกาะสีชัง” ตั้งแต่เวลา 06.00 – 20.00 น.ทุกวัน (ค่าโดยสาร 50 บาท/คน/เที่ยว เรือจะออกจากท่าทุกๆ 1 ชม.ยกเว้นกรณีที่มีผู้โดยสารเต็มลำก่อนจะถึงเวลาออกเรือตามปกติ เรือก็จะออกเดินทางเลยโดยไม่รอให้ถึงกำหนดเวลาตามตารางเดินเรือ) นักท่องเที่ยวซึ่งขับรถยนต์ส่วนบุคคลมาเองสามารถจอดรถได้ภายในเขตพื้นที่ “วัดเกาะลอย ศรีมหาราชา” แต่แนะนำว่าควรบริจาคเงินเป็นค่าจอดรถให้ทางวัดด้วย (วัดเกาะลอยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการจอดรถ กรณีจอดรถค้างคืนทางวัดขอสงวนสิทธิ์ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย/การสูญหายใดๆ ที่เกิดขึ้น แต่ปกติพนักงานรักษาความปลอดภัยของวัดจะมีการนำสิ่งกีดขวางมากั้นสะพานเข้า – ออกเกาะลอยในช่วงกลางคืน ทำให้ไม่มีใครสามารถนำรถเข้า – ออกจากเกาะลอยได้ในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่แล้วครับ) สำหรับผู้ที่ไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคลอาจเลือกใช้บริการรถตู้ VIP จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – เกาะลอย ศรีราชา ก็ได้
    ฤดูกาลท่องเที่ยวที่เหมาะสม : สามารถท่องเที่ยวเกาะสีชังได้ตลอดทั้งปี (มีเรือเมล์ไป – กลับทุกวัน) แต่ไม่แนะนำให้ท่องเที่ยวในช่วงฤดูมรสุม เนื่องจากน้ำทะเลจะไม่ใสและการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ บนเกาะจะทำได้ลำบาก

    ที่มา
    1.https://www.thongteaw.com/Travel_tour_content_ชลบุรี/หาดถ้ำพัง-ถ้ำจักรพงษ์-เกาะสีชัง.html
    2.https://previous.thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/21351
    3.https://tripth.com/วัดถ้ำจักรพงษ์/



     
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube mdafra1
    สีชัง - ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
    www.youtube.com/watch?v=FEVNiadTm1A

    เนื้อเพลง: พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2457) - A.D. 1914
    ทำนอง: สง่า อารัมภีร
    ขับร้อง: ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ (พ.ศ. 2502) - A.D. 1959

    สีชัง ชังชื่อแล้วอย่าชัง อย่าโกรธพี่จริงจังจิตข้อง ตัวไกลจิตก็ยังเนาว์แนบ เสน่ห์สนิทน้องนิจผู้อาดูร สีชัง ชังแต่ชื่อ เกาะนั้นหรือจะชังใคร ขอแต่แม่ดวงใจ อย่าชังชิงพี่จริงจัง ตัวไกลใจพี่อยู่ เป็นคู่น้องครองยืนยัง ห่างเจ้าเฝ้าแลหลัง ตั้งใจติดมิตรสมาน สีชัง ชังแต่ชื่อ เกาะนั้นหรือจะชังใคร ขอแต่แม่ดวงใจ อย่าชังชิงพี่จริงจัง ตัวไกลใจพี่อยู่ เป็นคู่น้องครองยืนยัง ห่างเจ้าเฝ้าแลหลัง ตั้งใจติดมิตรสมาน

     
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    upload_2021-8-11_6-49-40.jpeg

    ตำรายาแผนโบราณ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย)

    ยาลดไขมันในร่างการ

    ขนานที่ 1 ท่านให้เอา ต้นแห้วหมูทั้งห้า (ถอนเอาทั้งต้นตลอดถึงราก) จำนวนมากน้อยตามต้องการ นำมาล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง คั่วไฟให้สุกเหลือง ใช้ชงกับน้ำร้อน รับประทานต่างน้ำชา

    ขนานที่ 2 ท่านให้เอาเมล็ดกาแฟดิบ ๆ จำนวน 14 เมล็ด นำมาแช่น้ำไว้ในตู้เย็นตอนกลางคืน รุ่งขึ้นเช้า นำเมล็ดกาแฟนั้นมาต้มกับน้ำประมาณ 3-4 ถ้วยแกง ต้มเคี่ยวให้นาน ๆ ใช้น้ำยารับประทานครั้งละ 1 ถ้วย เวลาเช้า-กลางวัน-เย็น วันละ 3 เวลา ติดต่อกัน 7 วัน


    สรรพคุณ ช่วยลดไขมันในร่างกาย ได้ผลดีอย่างชะงัดนักแลฯ


    ยาลดความอ้วน
    ท่านให้เอา ต้นบอระเพ็ดจำนวนมากพอสมควร นำมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งแท้ ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา ใช้รับประทานครั้งเดียว 3 เม็ด เวลาก่อนอาหารเช้าทุกวัน ติดต่อกันประมาณ 1 เดือน ความอ้วนจะค่อย ๆ ลดลงไปตามลำดับ โดยไม่เสื่อมเสียสุขภาพและไม่เป็นการทรมานสังขารอีกด้วย
     
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    gp5fba6632eb18b.jpg

    “วัดเขาธงชัย มีพระใหญ่ และพระธาตุบนยอดเขา เป็นจุดชมวิวอ่าวบ้านกรูด ได้อย่างสวยงาม ”
    วัดเขาธงชัย พระพุทธกิติสิริชัย หรือที่ชาวบ้านกรูดเรียกว่า หลวงพ่อใหญ่ ชาวบ้านสร้างเพื่อถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงพระชนมายุครบ 60 พรรษา

    พระพุทธกิติสิริชัย เป็นพระรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ รูปทรงแบบคันทาราช (ปางตรัสรู้) ลักษณะนั่งขัดสมาธิบนดอกบัวผ้าทิพย์พระนามาภิไธย ส.ก. บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ ๖ มิ.ย. ๒๕๓๙ โดยสมเด็จพระราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระพุทธกิติสิริชัย ประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออกตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนยอดเขาธงชัย เป็นที่สักการะกราบไหว้ของประชาชนทั่วไป

    เป็นจุดชมวิวที่สำคัญของชายหาดบ้านกรูด จากจุดนี้จะมองเห็นเวิ้งอ่าวและทิวมะพร้าวสุดสายตา เหมาะสำหรับชมพระอาทิตย์ขึ้นและตก บนเขาธงชัยเป็นที่ประดิษฐาน

    บนเขายังเป็นที่ตั้งของ ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อันเป็นที่เคารพสักการะยิ่งของชาวเรือ จะเห็นตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์สวยเด่นเป็นสง่าบนยอดเขาธงชัย เชื่อกันว่ากรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เคยเสด็จมาประทับ ณ ที่แห่งนี้ เพื่อพักทอดสมอเรือรบ จึงสร้างสมอเรือจำลองไว้ที่พระตำหนักซึ่งหันหน้าออกทะเล บริเวณรอบๆ มีสวนไม้ดอกไม้ประดับ และสำนักสงฆ์ นอกจากนี้บนเขาธงชัยยังเป็นที่ประดิษฐานของ พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ หรือ พระมหาเจดีย์เก้ายอด พระปรางค์จัตุรมุขสูงสามชั้น ชาวบ้านกรูดร่วมใจสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี

    รถยนต์เข้าถึง ลานจอดรถ อยุ่ใกล้องค์พระใหญ่ นมัสการพระะธาตุบนยอดเขาต้องเดินเท้าอีก 7 นาที
    การเดินทาง
    • รถยนต์ จากทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณกิโลเมตรที่ 382 เลี้ยวซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม-บ้านกรูด ข้ามทางรถไฟไปประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงถนนเลียบหาดบ้านกรูด
    • รถไฟ ลงรถที่สถานีรถไฟบ้านกรูด แล้วใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้าง
    • รถโดยสารประจำทาง นั่งรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-บางสะพานน้อย ลงรถที่ปากทางเข้าบ้านกรูด แล้วต่อรถจักรยานยนต์รับจ้าง หรือรถสองแถวเข้าไป
    เปิด 08.00-17.00 น. ทุกวัน

    ที่มา : https://www.gplace.com/5466
     
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube cokefreshfx
    เพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๙-ไกลกังวล
    www.youtube.com/watch?v=Oa_hZsLVKuw


    เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๒๖ ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขณะประทับอยู่ที่วังไกลกังวล ในพ.ศ.๒๕๐๐ เพื่อพระราชทานให้เป็นเพลงประจำวงดนตรี "อ.ส.วันศุกร์" ใช้บรรเลงเป็นเพลงสุดท้ายก่อนเลิกเล่นดนตรี ได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยคือ นายวิชัย โกกิลกนิษฐ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๐๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นาย Rual Maglapus อดีตสมาชิกวุฒิสภาของประเทศฟิลิปปินส์ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๕๑๔ บ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค แต่งคำร้องภาษาไทย "เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย" เพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักและหวงแหนแผ่นดินไทย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...