คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    9 มิถุนายน 2021 ศรัณย์ ทองปาน :
    History “เสด็จเตี่ย” กรมหลวงชุมพรฯ ตอนที่ ๑ อาภากรเกียรติวงศ์

    วันอาทิตย์ แรม ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ ตรงกับวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๔๒๓ เวลา ๑๕.๕๗ น. พระราชโอรสลำดับที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง พระมารดาคือเจ้าจอมมารดาโหมด จากราชนิกูลบุนนาค

    rama-v-diary.jpg
    เจ้าจอมมารดาโหมด (๒๔๐๕-๒๔๗๕) เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค, ๒๓๗๑-๒๔๓๑) ผู้เคยดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม คนจึงมักเรียกว่า “เจ้าคุณทหาร”

    บิดาของ “เจ้าคุณทหาร” คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค, ๒๓๕๑-๒๔๒๕) อดีตผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์รัชกาลที่ ๕ เมื่อยังทรงพระเยาว์ แต่ในปี ๒๔๒๓ นี้ ท่านพ้นจากตำแหน่งมาหลายปีแล้ว

    คำว่า “โหมด” เป็นชื่อผ้าไหมอย่างดี “หนังสืออักขราภิธานศรับท์” พจนานุกรมยุคต้นรัชกาลที่ ๕ ของหมอบรัดเลย์ อธิบายว่าคือ (ตัวสะกดตามต้นฉบับ) “ผ้าไหมศรีเหมือนทอง, เขาธอเปนผืนผ้ามีศรีต่างๆ, มีศรีเหลืองเปนต้น เขาเอามาแต่เมืองจีนแลเมืองแขกนั้น”

    จากหลักฐานร่วมสมัย คำนี้เมื่อนำมาตั้งเป็นนามบุคคล ใช้ได้ทั้งเพศหญิงและชาย เพราะนอกจากปรากฏเป็นชื่อธิดาขุนนางตระกูลบุนนาคแล้ว ยังมีพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล, ๒๓๖๒-๒๔๓๙) อีกคน

    พระเจ้าลูกยาเธอที่ประสูติจากเจ้าจอมมารดาโหมด เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๔๒๓ ได้รับพระนามว่า “พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์”


    ผู้ที่คิดผูกพระนาม (ตั้งชื่อ) ถวาย คือพระศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร, ๒๓๖๕-๒๔๓๔ ต่อมาเป็นพระยาศรีสุนทรโวหาร) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ นักปราชญ์ด้านภาษาคนสำคัญประจำราชสำนัก

    หนังสือ “จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน รัชกาลที่ ๕ ภาคที่ ๑๑” บันทึกรายละเอียดการพระราชทานพระนามพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ว่า รุ่งขึ้น หลังจากวันประสูติ คือวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๒๓ พระศรีสุนทรโวหารเข้าเฝ้าฯ รัชกาลที่ ๕

    “…พระศรีสุนทรโวหารเฝ้า เรื่องคิดพระนามพระเจ้าลูกเธอที่ประสูติให้ ต้นพระนามว่า ‘อาภากร’ ให้พระศรีสุนทรคิดสร้อยพระนามต่อ ยังไม่ตกลง…”
    ถัดมาอีกสองวัน สร้อยพระนามพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหม่ก็สำเร็จเรียบร้อย

    “…เสด็จออกบ่ายโมงเศษ พระศรีสุนทรเฝ้า คิดพระนามพระเจ้าลูกเธอ ตกลงเป็นพระนามว่า ‘พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์’ จะพระราชทานในวันสมโภชพรุ่งนี้…”


    สิ่งที่น่าคิดคือที่มาของพระนามนี้

    ผมสันนิษฐานว่าพระนาม “อาภากรเกียรติวงศ์” น่าจะมาจากการที่ทรงเป็น “เหลน” ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้ได้รับความนับถือในฐานะ “เป็นพระบรมญาติอันยิ่งใหญ่ ควรเป็นที่คำนับในพระบรมราชวงศานุวงศ์ทั้งปวง” นี่จึงสมควรเป็นสาเหตุที่พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์แรกในเจ้าจอมมารดาโหมดแห่งสกุลบุนนาค ได้รับพระราชทานนามว่า “พระองค์เจ้าอาภากร” ตามราชทินนามของสมเด็จเจ้าพระยา (อาภากร = พระอาทิตย์ = สุริยะ) ผู้เป็นใหญ่แห่ง “สุริยวงศ์” กำกับด้วยสร้อยพระนาม “เกียรติวงศ์” อันแปลว่าเป็นเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูล ซึ่งย่อมหมายถึงสกุลบุนนาค

    ในระยะนั้นดูเหมือนมีธรรมเนียมในอันที่จะพระราชทานพระนามพระเจ้าลูกยาเธอ พระราชโอรส ชั้นพระองค์เจ้าในรัชกาลที่ ๕ โดยอิงกับวงศ์สกุลฝ่ายพระมารดา เช่น พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ (กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม, ๒๔๒๕-๒๔๕๒) อันน่าจะเนื่องกับ “ขรัวตา” ของท่าน คือเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง หรือ เพ็ญ เพ็ญกุล, ๒๓๖๔-๒๔๓๗)


    รวมถึงพระองค์เจ้าซึ่งประสูติจากเจ้าจอมมารดาทิพเกษร เจ้านายฝ่ายเหนือ ผู้ได้รับพระราชทานพระนาม “ดิลกนพรัฐ” (กรมหมื่นสรรควิไสยนฤบดี, ๒๔๒๗-๒๔๕๖) อันมีความหมายว่า “ศรีเมืองเชียงใหม่”

    sadettia03.jpg
    “เสด็จเตี่ย” กรมหลวงชุมพรฯ

    บทความชุดนี้มีต้นทางจากหนังสือพระประวัติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ของผู้เขียน คือ “ให้โลกทั้งหลายเขาลือ” (พิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์สารคดี ๒๕๖๓ ราคา ๔๘๐ บาท) โดยเล่าเก็บความจากหนังสือ และเสริมบางประเด็นที่มีข้อมูล หรือความคิดเห็นเพิ่มเติมภายหลังหนังสือตีพิมพ์ออกมาแล้ว

    ที่มา https://www.sarakadee.com/2021/06/09/อาภากรเกียรติวงศ์/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube รายการชิมไปร้องไป Chef Hiansoon Thailand 陈韩顺
    เพลง เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ คำร้อง ทำนองโกวิท ไชยคีรีศรีสงคราม Tunku Tantiyanto Shah
    www.youtube.com/watch?v=OBBTcetgEww
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube ทองเบส ทับถนน
    แสงตะวัน - ทองเบส ทับถนน
    "แสงตะวัน" ต้นฉบับ/ทำนอง : ทองเบส ทับถนน
    บรรเลงพิณ : ทองเบส ทับถนน
    แคน : หมอแคนบาส
    โหวด : ครูซี วิทวัส นาใจคง
    image : P-Sasin Tipchai
    เรียบเรียง : ทองเบส ทับถนน
    ห้องบันทึกเสียง : บ้านทับถนน Studio facebook : https://www.facebook.com/profile.php?... id line : masa00412 to.087-376-8148 (ทองเบส)

    www.youtube.com/watch?v=pXh0D577OW4

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube Manop Phocharoen
    ใกล้รุ่ง - เพลงพระราชนิพนธ์.. รัชกาลที่ 9
    www.youtube.com/watch?v=GZ6zFcF3044
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube Jannine Weigel
    Bright As The Sun
    (Official Song Asian Games 2018)
    www.youtube.com/watch?v=aACdwTruWy8


    #เดินไปเรื่อยๆ 10,000 ผู้อ่าน ไม่ช้าก็เร็ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    “เสด็จเตี่ย” กรมหลวงชุมพรฯ ตอนที่ ๒ เมื่อทรงพระเยาว์
    ศรัณย์ ทองปาน
    16 มิถุนายน 2021

    เราไม่มีรายละเอียดพระประวัติพระองค์เจ้าอาภากรฯ เมื่อทรงพระเยาว์มากนัก จึงทำได้เพียงสันนิษฐานจากบริบทแวดล้อมว่าทรงเติบโตขึ้นภายในเขตพระราชฐานชั้นในของพระบรมมหาราชวัง ท่ามกลาง “เจ้าพี่เจ้าน้อง” จำนวนมาก หลักฐาน “ทางการ” กล่าวว่าทรงศึกษาวิชาหนังสือเบื้องต้น ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ณ โรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับพระราชโอรสที่มีพระชนม์รุ่นราวคราวเดียวกัน

    royal-students01.jpg
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนราชกุมารขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นสถานศึกษาพิเศษสำหรับพระราชโอรส ตั้งแต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ ตลอดจนถึงเจ้านายชั้นหม่อมเจ้าบางพระองค์ ได้ศึกษาวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เลข ภูมิศาสตร์ ฯลฯ

    โรงเรียนราชกุมาร มีมิสเตอร์มอรันต์ (Robert L. Morant, 1863-1920) พระอาจารย์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผู้จัดการ และเป็นครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาภาษาไทย สอนโดยพระยาอิศรพันธุ์โสภณ (ม.ร.ว. หนู อิศรางกูร, ๒๓๘๐-๒๔๔๙)

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนราชกุมารเมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๔๓๔ ซึ่งถ้านับตามปฏิทินปัจจุบัน จะเป็นเดือนมกราคม ๒๔๓๕ แต่ขณะนั้นสยามยังกำหนดวันขึ้นปีใหม่ในเดือนเมษายน ดังนั้น มกราคมจึงยังเป็นปีเดิมต่อเนื่องกับเดือนธันวาคม

    หลังจากพิธีเปิดในช่วงเช้าที่ใช้เวลายาวนาน ตอนค่ำวันเดียวกันมีงานเลี้ยงและการแสดงของนักเรียนเป็นการเฉลิมฉลอง “ราชกิจจานุเบกษา” บันทึกไว้ว่า “…นักเรียนแลครูทรงแต่งพระองค์แลแต่งตัว ด้วยเครื่องแต่งต่างๆ กัน (แฟนซีเดรส)…”


    เหตุการณ์ดังกล่าวนี้น่าจะเป็นวาระเดียวกันกับที่มีพระรูปหมู่เจ้านายเล็กๆ ในงานแฟนซียุคทศวรรษ ๒๔๓๐ แลเห็นพระองค์เจ้าอาภากรฯ (แถวยืนลำดับที่ ๔ จากซ้าย ดูเหมือนจะแต่งพระองค์เป็นแขกมุสลิม ?) ทรงเข้าแถวร่วมกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศภูวนาถ พระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธ์ ฯลฯ

    หากพระรูปนี้ถ่ายในวาระงานแฟนซีวันเปิดโรงเรียนราชกุมารจริง ขณะนั้นพระองค์เจ้าอาภากรฯ จะมีพระชันษา ๑๑ ปี


    จากหลักฐานชิ้นเล็กชิ้นน้อยยังอาจปะติดปะต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้อีกว่า พระองค์เจ้าอาภากรฯ ทรงคุ้นเคยกับดนตรีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ดังที่ ศ.นพ. พูนพิศ อมาตยกุล นายแพทย์อาวุโสผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ดนตรีไทย เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของ ดร. รังสิพันธุ์ แข็งขัน เรื่อง “การศึกษาบทเพลงทหารเรือในพระนิพนธ์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” โดยคุณหมออ้างเรื่องที่ได้รับฟังมาโดยตรงจากหม่อมเจ้าหญิงเริงจิตรจแรง อาภากร พระธิดาของกรมหลวงชุมพรฯ (พระองค์เจ้าอาภากรฯ) ตอนหนึ่งว่า
    “…เจ้าจอมมารดาโหมด แม่ของท่านเกิดในสกุลบุนนาค…เป็นน้องสาวแท้ๆ ของเจ้าจอมมารดาแพ (ต่อมาคือเจ้าคุณพระประยูรวงศ์) เจ้าจอมมารดาโหมด ยังมีน้องสาวอีกคนหนึ่งชื่อหม่อมแม้น เป็นหม่อมของสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช (วังบูรพา) ทั้งสามคนพี่น้องนี้ ชอบดนตรี ชอบร้องเพลง ชอบละครมาตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อทั้งสามท่านเจริญขึ้นมาเป็นเจ้าจอมและเป็นหม่อม เวลาท่านมีลูก ท่านก็สอนให้ฟังเพลง ให้ร้องเพลง ให้เล่นละคร…”

    ที่มา : https://www.sarakadee.com/2021/06/16/กรมหลวงชุมพรฯ/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    abhakara-sokan-copy.jpg
    “เสด็จเตี่ย” กรมหลวงชุมพรฯ ตอนที่ ๓ องค์อาภา
    ศรัณย์ ทองปาน
    23 มิถุนายน 2021


    ในปี ๒๔๓๕ โปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีโสกันต์ (โกนจุก) พระองค์เจ้าอาภากรฯ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๔๓๕ ต่อจากพระราชพิธีโสกันต์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ซึ่งต่อไปภายหน้าจะเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

    พระเจ้าลูกยาเธอทั้งสองพระองค์นี้มีพระชันษาใกล้เคียงกันมาก พระองค์เจ้าอาภากรฯ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๔๒๓ ขณะที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ประสูติเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๒๓ หรืออีกเพียง ๑๓ วันต่อมา

    แม้ทั้งสองพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ทรงมี “สกุลยศ” ที่ติดตัวแต่แรกประสูติต่างกันตามธรรมเนียมราชตระกูลสยาม

    อาจสรุปรวบความให้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า พระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ซึ่งประสูติจากพระมารดาที่เป็น “เจ้า” จะมีพระยศเป็น “เจ้าฟ้า” ส่วนที่ประสูติจาก “เจ้าจอมมารดา” สามัญชน จะเป็นเพียง “พระองค์เจ้า”

    พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ จึงทรงเป็น “เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ” ขณะที่พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในเจ้าจอมมารดาโหมดทรงเป็น “พระองค์เจ้าอาภากรฯ”

    พระราชพิธีโสกันต์ของพระองค์จึงต้องจัดขึ้นภายหลังเจ้าฟ้าตามลำดับพระอิสริยยศในพระบรมราชวงศ์

    ในทุกขั้นตอนของพระชนม์ชีพ ลำดับฐานานุศักดิ์ อย่างที่มีคำจีนที่ใช้เรียกกันในหมู่เจ้านายว่า “โปเจียม” จะเป็นเครื่องกำหนดลำดับก่อนหลังเสมอ

    แม้แต่เจ้าฟ้ายังแบ่งออกเป็นอีกสองชั้นคือ “เจ้าฟ้าชั้นเอก” และ “เจ้าฟ้าชั้นโท”

    ในรัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี และ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ล้วนเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ พระราชโอรสหรือพระราชธิดาจึงทรงเป็น “เจ้าฟ้าชั้นเอก”

    เรียกง่ายๆ ว่าหาก “แม่” เป็น “ลูก” ของพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อนๆ นั่นคือ “เจ้าฟ้าชั้นเอก” ที่ชาววังจะออกพระนามว่า “ทูลกระหม่อมชาย” หรือ “ทูลกระหม่อมหญิง” หรือบางครั้งเรียกย่อๆ เป็น “ทูลหม่อม”

    ส่วนองค์ที่ “แม่” เป็นชั้น “หลาน” ของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลก่อนๆ พระราชโอรสหรือพระราชธิดาจะนับเนื่องเป็น “เจ้าฟ้าชั้นโท” ชาววังเรียกขานพระนามว่า “สมเด็จชาย” หรือ “สมเด็จหญิง”

    จากหลักฐานเอกสารที่ไม่เป็นทางการ เช่นพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดา ทรงออกพระนามพระองค์เจ้าอาภากรฯ ว่า “ชายอาภากร” หรือ “อาภากร” บางครั้งทรงเรียกย่อๆ เพียง “อาภา” ก็มี
    ส่วนชาววังมักเรียกขานพระนามอย่างย่อๆ ว่า “องค์อาภา”


    ที่มา : https://www.sarakadee.com/2021/06/23/องค์อาภา/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube babybank007
    พระอาทิตย์ชิงดวง
    www.youtube.com/watch?v=ryZVmN5aYXE


    เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง เป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้น พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) แต่งขึ้นสำหรับใช้เป็นเพลงลา ให้กับวงปี่พาทย์ของสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งเป็นที่โปรดปรานมาก สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงให้ชื่อเพลงว่า “พระอาทิตย์ชิงดวง” ตามสร้อยราชทินนามและตราสุริยมณฑล ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่ง ...
    ที่มา : www.google.co.th
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    “เสด็จเตี่ย” กรมหลวงชุมพรฯ ตอนที่ ๔ – ร.ศ. ๑๑๒ และแผนใหม่สำหรับพระเจ้าลูกยาเธอ
    ศรัณย์ ทองปาน
    30 มิถุนายน 2021

    หกเดือนหลังพระราชพิธีโสกันต์ของพระองค์เจ้าอาภากรฯ ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖ เกิด “วิกฤตการณ์ปากน้ำ”(Paknam Incident) หรือที่มักเรียกกันตามปีรัตนโกสินทรศก คือศักราชอันเริ่มนับแต่ปีก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ว่า “กรณี ร.ศ. ๑๑๒”
    paknam-recolor-resize-adj.jpg
    เรือตรวจการณ์แองกงสตัง (Inconstant) และเรือปืนโกแมต (Comète) ของฝรั่งเศส ละเมิดสนธิสัญญาพระราชไมตรีสยาม-ฝรั่งเศส แล่นรุกล้ำเข้ามาในลำน้ำเจ้าพระยาโดยไม่ได้รับอนุญาต จนเกิดปะทะกับเรือรบและป้อมปืน “พระจุลจอมเกล้า” ของสยามที่ “ปากน้ำ” เมืองสมุทรปราการ แต่ในที่สุด เรือรบทั้งสองลำสามารถตีฝ่าจนแล่นขึ้นมาจนถึงกรุงเทพฯ แล้วไปจอดสมทบกับเรือปืนลูแตง (Lutin) ที่ทอดสมอรออยู่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส ย่านบางรัก

    การปะทะที่ปากน้ำทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความเสียหายและมีผู้เสียชีวิต

    จากเหตุการณ์นี้ฝรั่งเศสจึงประกาศปิดอ่าว ห้ามเรือทุกชนิดแล่นเข้าออกจากอ่าวสยาม (ปัจจุบันเรียกว่า “อ่าวไทย”) และไม่รับรองความปลอดภัยใดๆ สำหรับผู้ฝ่าฝืน ซึ่งเท่ากับตัดขาดกรุงเทพฯ จากโลกภายนอก พร้อมกันนั้นยังยื่นคำขาดให้สยามยอมยก “ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง” (คือส่วนใหญ่ของดินแดนลาว) ให้แก่ฝรั่งเศส และจ่าย “ค่าเสียหาย” ภายใน ๔๘ ชั่วโมง เป็นเงินสด ๓ ล้านฟรังก์ (คิดเป็นเงินสยามราว ๑ ล้าน ๖ แสนบาท หรือประมาณร้อยละ ๑๐ ของงบประมาณแผ่นดินประจำปีขณะนั้น) พ่วงด้วยข้อเรียกร้องปลีกย่อยอีกหลายประการ

    ระหว่างช่วงสัปดาห์กลางเดือนกรกฎาคมในปี ๒๔๓๖ ถือได้ว่าสยามจวนเจียนจะเสียเอกราชอยู่รอมร่อ เพราะการหาเงินสดมากมายขนาดนั้นภายในระยะเวลาอันสั้นเป็นเงื่อนไขข้อเรียกร้องที่ฝ่ายฝรั่งเศสตั้งใจกำหนดขึ้น เพื่อให้สยามไม่มีทางหามาชดใช้ได้ทัน ทั้งเงินงบประมาณแผ่นดิน สมทบด้วยเงินสดและเครื่องเพชรเครื่องทองที่เจ้านายขุนนางร่วมแรงร่วมใจกันสละ ตลอดจน “เงินถุงแดง” ซึ่งเล่ากันมาว่าเป็นพระราชทรัพย์ของรัชกาลที่ ๓ ที่ทรงสะสมมาจากการค้าสำเภา แล้วยังเหลือตกค้างอยู่บ้างในท้องพระคลัง ถูกนำมากองนับเพื่อจ่ายค่าเสียหายตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส

    ก่อนหน้านั้น ในปี ๒๔๒๘ พระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชุดแรกจำนวนสี่พระองค์ ได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อในทวีปยุโรป ได้แก่ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ (ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอ่วม) พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ) พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม (ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแช่ม) และพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทับทิม) โดยให้แต่ละพระองค์ทรงเลือกวิชาความรู้ที่จะเล่าเรียนได้ตามพระทัยปรารถนา

    ทว่า หลังจาก “วิกฤตการณ์ปากน้ำ” ในเดือนกรกฎาคม ๒๔๓๖ ผ่านพ้นไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตัดสินพระทัยส่งพระเจ้าลูกยาเธออีกสองพระองค์ไปทรงศึกษาในทวีปยุโรป ได้แก่ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี (พระราชโอรสในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) และพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ (ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด) โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้ไปศึกษาวิชาการทหารเรือเป็นการเฉพาะ เพราะประสบการณ์จากกรณี ร.ศ. ๑๑๒ ทำให้ตระหนักว่า สยามในฐานะชาติเล็ก ไม่อาจไว้วางใจให้นายทหารตะวันตกคนใดมาเป็นผู้บังคับบัญชาทหารเรือ ผู้บังคับการเรือ หรือผู้บังคับการป้อมปืนได้อีกต่อไป โดยความมุ่งหวังสูงสุดประการสำคัญคือเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาในกรมทหารเรือให้คนไทยเข้าแทนที่ฝรั่งทั้งหมด

    ทั้งสองพระองค์มีวัยใกล้เคียงกันมาก คือพระองค์เจ้าอาภากรฯ ทรงเป็น “เจ้าพี่” ที่มีอายุมากกว่าเพียง ๑๓ วัน นอกจากนั้นยังทรงเติบโตมาด้วยกันในพระบรมมหาราชวัง และทรงเป็น “ศิษย์เก่า” โรงเรียนราชกุมารทั้งคู่

    ทีมา : https://www.sarakadee.com/2021/06/30/วิกฤตการณ์ปากน้ำ/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    “เสด็จเตี่ย” กรมหลวงชุมพรฯ ตอนที่ 5 – สู่ยุโรป
    ศรัณย์ ทองปาน

    7 กรกฎาคม 2021

    ssoldenburg-recolor-adj.jpg

    วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๓๖ หรือเพียงเดือนเดียวให้หลังจากกรณี ร.ศ. ๑๑๒

    ณ เวลาย่ำรุ่ง (๖ นาฬิกา) สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมขุนเทพทวาราวดี และพระองค์เจ้าอาภากรฯ ได้เข้ากราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดา ณ พระราชวังบางปะอิน ครั้นแล้วโดยเสด็จพระราชดำเนินกลับลงมากรุงเทพฯ ตามลำน้ำเจ้าพระยา ด้วยเรือหลวง “มกุฎราชกุมาร” ทว่า พระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น ณ ท่าราชวรดิฐ หน้าพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพพระมหานคร ก่อน เมื่อเวลาใกล้เที่ยง

    จากนั้นพระราชโอรสทั้งสองพระองค์และผู้นำเสด็จ คือพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (ภายหลังคือสมเด็จฯ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์, ๒๔๐๘-๒๔๗๘) จึงประทับเรือหลวง “มกุฎราชกุมาร” ออกเดินทางล่องจากกรุงเทพฯ สู่อ่าวไทย มุ่งหน้ายังเกาะสิงคโปร์ พร้อมด้วยพระอภิบาล หรือ “พี่เลี้ยง” คือพระมนตรีพจนกิจ (ม.ร.ว. เปีย มาลากุล, ๒๔๑๐-๒๔๕๙ ภายหลังเป็นพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ บรรดาศักดิ์สูงสุดคือเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี)

    ที่เกาะสิงคโปร์ คณะเดินทางเปลี่ยนไปลงเรือโดยสาร “โอลเดนเบิร์ก” (SS Oldenburg ของบริษัทนอร์ดดอยท์เชอร์ลอยด์ Norddeutscher Lloyd) มุ่งหน้าสู่ทวีปยุโรป

    การเดินทางไปยุโรปด้วยเรือเดินสมุทรยุคนั้นใช้เวลานานหลายสัปดาห์ ระหว่างทางเรือต้องจอดเติมถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง พร้อมแวะรับส่งผู้โดยสารและสินค้าตามเมืองท่าเป็นระยะ กว่าจะได้ขึ้นบกที่เมืองเนเปิลส์ในอิตาลีก็คือปลายเดือนกันยายน ๒๔๓๖
    ทั้งสองพระองค์ประทับอยู่ในอิตาลีจนถึงต้นเดือนตุลาคม แล้วจึงทรงจับรถไฟต่อไปยังฝรั่งเศส ทรงพำนักอยู่ที่กรุงปารีสอีกร่วมเดือน ถึงได้ข้ามช่องแคบอังกฤษไปยังกรุงลอนดอน ต้นเดือนพฤศจิกายน ๒๔๓๖

    แม้ยังไม่มีการเผยแพร่จดหมายหรือบันทึกลายพระหัตถ์ในช่วงระหว่างการเดินทางครั้งนั้น แต่ย่อมเชื่อได้ว่าสำหรับพระเจ้าลูกยาเธอซึ่งก่อนหน้านี้ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ประทับอยู่ภายในกำแพงพระบรมมหาราชวังของกรุงเทพพระมหานคร โลกภายนอกย่อมน่าตื่นตะลึงเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเรือเดินสมุทรลำมหึมา (และใหญ่กว่าเรือรบที่ใหญ่ที่สุดของราชนาวีสยาม) ท้องทะเลกว้างไกลสุดขอบฟ้า ผู้คนต่างภาษาต่างผิวพรรณ แล้วไหนจะบ้านเมืองที่แปลกแตกต่าง การเดินทางด้วยรถไฟเครื่องจักรไอน้ำอันเป็นนวัตกรรมสำคัญของศตวรรษที่ ๑๙ ฯลฯ

    เนื่องด้วยพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ ล้วนเสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ทวีปยุโรปขณะเมื่อมีพระชันษาเพียง ๑๓-๑๔ ปีเท่านั้น จึงต้องมี “พระอภิบาล” (พี่เลี้ยง) ทั้งที่เป็นขุนนางชาวสยามและครูฝรั่งที่จ้างมาเป็นพิเศษคอยดูแลควบคู่กัน โดยไม่ว่าจะมีแผนการให้ไปทรงศึกษาต่อในประเทศใด ทุกพระองค์ต้องถูกส่งไปประทับยังกรุงลอนดอน เมืองหลวงของอังกฤษเป็นขั้นแรกก่อนเสมอ

    เมื่อพระองค์เจ้าอาภากรฯ เสด็จถึงกรุงลอนดอนนั้น สถานที่สำคัญอันเป็น “หมุดหมาย” (landmark) ของกรุงลอนดอนอย่างที่เราคุ้นตากัน เช่น หอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือที่รู้จักกันในนาม “บิ๊กเบน” (Big Ben) ตีระฆังบอกเวลามาได้มาหลายสิบปีแล้ว ส่วนสะพาน “ทาวเออร์บริดจ์” (Tower Bridge) ข้ามแม่น้ำเทมส์ ก่อสร้างเกือบแล้วเสร็จ ใกล้จะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ

    ทั้งสองพระองค์มีวัยใกล้เคียงกันมาก คือพระองค์เจ้าอาภากรฯ ทรงเป็น “เจ้าพี่” ที่มีอายุมากกว่าเพียง ๑๓ วัน นอกจากนั้นยังทรงเติบโตมาด้วยกันในพระบรมมหาราชวัง และทรงเป็น “ศิษย์เก่า” โรงเรียนราชกุมารทั้งคู่

    ที่มา : https://www.sarakadee.com/2021/07/07/ยุโรป-เสด็จเตี่ย/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    “เสด็จเตี่ย” กรมหลวงชุมพรฯ ตอนที่ ๖ จดหมายจากอิงแลนด์
    ศรัณย์ ทองปาน

    14 กรกฎาคม 2021

    เมื่อถึงทศวรรษสุดท้ายแห่งคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ กรุงลอนดอนเปรียบเสมือน “เมืองหลวงของโลก” คนไทยยุคนั้นถึงกับเรียกว่าเป็น “เมืองแก้ว” เพราะแม้แต่อาคารจัดงานแสดงสินค้าขนาดมหึมา เช่นคริสตัลพาเลซ (Crystal Palace) ยังสร้างด้วยกระจกทั้งหลัง

    six-brothers-recolor.jpg

    แนวทางที่วางไว้ในการจัดการศึกษาของพระเจ้าลูกยาเธอคือ เบื้องแรกต้องได้ประทับอยู่กับครอบครัว “ผู้ดี” ชาวอังกฤษก่อนสักระยะหนึ่ง เพื่อให้เรียนรู้ทั้งภาษา ขนบธรรมเนียม และนิสัยใจคอของ “ฝรั่ง” โดยต้องเลือกเฟ้นอย่างพิถีพิถัน พิจารณาทั้งภูมิหลัง ชาติตระกูล และการศึกษาของบุคคลในครอบครัวนั้นๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วน

    ในช่วงแรกทั้งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรงพำนักศึกษาวิชาเบื้องต้นด้วยกันกับครอบครัวของนายทอมสัน (Basil Thomson) ที่นอร์ทลอดจ์ เมืองแอสคอต (Northlodge, Ascot)


    แต่แล้วในเดือนมกราคม ๒๔๓๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก ประชวรและเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันขณะมีพระชันษา ๑๗ ปี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี ซึ่งเสด็จมาประทับที่ประเทศอังกฤษได้ปีกว่า ทรงได้รับการสถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมาร

    จากหลักฐานหนังสือกราบบังคมทูล คือจดหมายที่พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ส่งเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ บอกเล่าถึงชีวิตประจำวันและผลการศึกษาเล่าเรียน เหมือนเป็นรายงานจากอาจารย์ที่ปรึกษาที่ส่งตรงถึง “ผู้ปกครองของนักเรียน” มักกล่าวถึง “พี่น้อง” สองพระองค์นี้ ว่าทรงร่วมกิจกรรมต่างๆ เคียงข้างกันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีการ เช่นเมื่อราชสำนักอังกฤษกราบบังคมทูลเชิญสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ใหม่เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ณ พระราชวังวินด์เซอร์ พระองค์เจ้าอาภากรฯ ก็โดยเสด็จด้วย หรือแม้แต่เมื่อทรงหัดขี่จักรยาน ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีคำเรียกภาษาไทย เพียงแต่ทับศัพท์ภาษาอังกฤษกันว่า “ไบซิกล์” หรือ “ไบสิเกิล” (bicycle) ก็ทรงหัดพร้อมๆ กัน

    หลักฐานในพระฉายาลักษณ์ (ภาพถ่าย) ช่วงนั้น เป็นประจักษ์พยานให้เราเห็นถึงความสนิทสนมระหว่างทั้งสองพระองค์ รวมถึงความใกล้ชิดกับ “เจ้าพี่” สี่พระองค์ที่เสด็จมาทรงศึกษาก่อนหน้า

    หากแต่เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงอยู่ในสถานะผู้สืบสันตติวงศ์ลำดับต่อไป ทำให้ต้องมีการวางแผนการศึกษาของสมเด็จพระยุพราชเสียใหม่ จากเดิมที่จะทรงศึกษาวิชาการทหารเรือ จึงต้องหันเหเป็นวิชาทหารบกและรัฐศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการทรงราชย์เป็นกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์แห่งสยาม จึงเหลือเพียงพระองค์เจ้าอาภากรฯ ที่จะทรงศึกษาวิชาทหารเรือต่อไปตามแผนเดิม

    ไม่กี่เดือนต่อมา ทั้งสองพระองค์ทรงต้องแยกย้ายกันไปศึกษาวิชาการตามที่พระราชบิดาทรงกำหนดแนวทางไว้ให้

    ทั้งสองพระองค์มีวัยใกล้เคียงกันมาก คือพระองค์เจ้าอาภากรฯ ทรงเป็น “เจ้าพี่” ที่มีอายุมากกว่าเพียง ๑๓ วัน นอกจากนั้นยังทรงเติบโตมาด้วยกันในพระบรมมหาราชวัง และทรงเป็น “ศิษย์เก่า” โรงเรียนราชกุมารทั้งคู่

    ที่มา : https://www.sarakadee.com/2021/07/14/อังกฤษ-เสด็จเตี่ย/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...