กุญแจสู่นิพพาน คือ "เห็นสักแต่ว่าเห็น ฯลฯ" (ในที่สุดก็พบกุญแจ ที่จะไขเข้าประตูนิพพาน) เส้นผมบังภูเขาแท้ๆ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมวินัย, 16 เมษายน 2009.

  1. ธรรมวินัย

    ธรรมวินัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +40
    *กุญแจสู่นิพพานคือ เห็นสักแต่ว่าเห็น ฯลฯ*

    (แต่ผู้ปฏิบัติต้องมี " ทาน, ศีล ๕" รองรับอย่างมั่นคง ไม่เช่นนั้นการปฏิบัติจะไม่ได้ผลเด็ดขาด ปฏิบัติไปก็สูญเปล่า เสียเวลาเปล่า มรรคผลไม่เกิดแน่นอน)

    ถ้าใจยังไม่เปิดเป็นทาน ใจยังไม่สะอาดเป็นศีล
    ก็ต้องรู้ตัวและหมั่น "ทำทาน, รักษาศีล" ปูพื้นไว้ก่อน จะมากระโดดข้ามขั้นไม่ได้
    "ทาน" นั้น ไม่ใช่ให้แต่ทรัพย์อย่างเดียว แต่ต้องให้ธรรมะเป็นทาน ให้อวัยวะเป็นทาน ให้อภัยทานด้วย
    "ศีล" นั้นไม่ใช่รักษาแค่กายภายนอก แต่ต้องรักษาที่ใจ และรักษาที่ความคิดด้วย
    ทั้ง "ทาน, ศีล, สมาธิ, ปัญญา" ใช้อาวุธชิ้นเดียวกันคือ "สติ"
    เพียงแต่มีความแข็งแรงของสติต่างกันตามลำดับขั้นเท่านั้น


    *เห็นสักแต่ว่าเห็น*
    การเห็นเกิดขึ้นได้ทางจักขุทวารวิถี ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่า ต้องมีประสาทตาดี มีแสงสว่างเพื่อสะท้อนเงาของวัตถุได้ มีวัตถุที่ถูกเห็น มีความตั้งใจดู วิถีจิตของการเห็นทางจักขุทวารวิถีคือ
    - อตีตะภวังค์ : ภวังค์ที่หลับลึก
    - ภวังค์คัจระนะ : ภวังค์ที่เริ่มตื่น
    - ภวังค์คุปัจเฉทะ : ภวังค์ที่ตื่นเต็มที่
    - ปัญจทวาราวัชชนะ: จิตที่เริ่มจะรู้สึกว่ามีอารมณ์มากระทบ
    - ทวิปัญจวิญญาณ (จักขุวิญญาณ, โสตะวิญญาณ, ฆานะวิญญาณ ฯลฯ) : จิตที่ทำหน้าที่รับทราบว่าสิ่งเร้านั้นเป็นประเภทใด เช่น สี เสียง กลิ่น ฯลฯ
    - สัมปฏิตฉันนะ : จิตที่ทำหน้าที่รับอารมณ์ต่อจาก "ทวิปัญจวิญญาณ"
    - สัณตีรนะ : จิตที่ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์และเปรียบเทียบอารมณ์นั้นกับฐานข้อมูลเก่าๆ
    - โวตทัพนะ : จิตที่ทำหน้าที่ลงความเห็นว่าอารมณ์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร
    - ชวน : จิตที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์นั้นๆ ๗ ขณะ
    - ตทารัมมนะ : จิตที่ทำหน้าที่ชลอความมันในอารมณ์ของชวนจิตลง เพื่อเตรียมเข้าภวังค์อีกครั้ง

    เมื่อมีคลื่นแสงสะท้อนจากวัตถุ (สิ่งเร้า) มากระทบผ่านแก้วตา ซึ่งเป็นตัวหักเหแสงสะท้อน ให้ไปสู่ระบบประสาทตาที่ "retina" ภาพเงาสะท้อนนั้นเมื่อกระทบกับประสาทตา ก็จะมีความสามารถกระตุ้นให้กระแสภวังค์เดิม ไหวตัวขึ้น และตัดกระแสภวังค์(ความไม่รู้สึกตัวออก) เพื่อให้จิตอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า... "ปัญจทวาราวัชชนะจิต" รับทราบว่าสิ่งเร้านั้นเป็นประเภทใด เช่น แสง เสียง กลิ่น รส ร้อนหรือ เย็น เป็นต้น

    หลังจากนั้น... "จักขุวิญญาณ" ก็จะเกิดขึ้นเพื่อรับและรวบรวมคลื่นแสง ตามที่ปัญจทวาราวัชชนะจิตเปิดทางให้
    หลังจากจักขุวิญญาณ ดับลง... "สัมปฏิตฉันนะ" จะทำหน้าที่รับภาพเงาสะท้อนต่อจากจักขุวิญญาณ และส่งให้... "สัณตีรนะ" ทำหน้าที่พิจารณาภาพเงาเปรียบเทียบต่อ
    หลังจากเปรียบเทียบแล้ว... "โวตทัพนะ" ก็จะลงความเห็นสรุปว่าภาพเงาที่ว่านั้นมีความหมายว่าอย่างไร
    และส่งความหมายนั้นให้จิตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า... "ชวนจิต" เสพคลุกเคล้าความหมายที่ได้มาซ้ำ ๆ กันถึง ๗ ครั้ง ไม่มากไม่น้อยกว่านี้(เป็นจิตนิยาม)
    ถ้า... "โวตทัพนะ" ส่งความหมายที่เป็นบุญมาให้ ชวนจิตก็จะคลุกเคล้าเกี่ยวกับบุญ แต่ถ้า... "โวตทัพนะ" ส่งความหมายที่เป็นบาปมาให้ "ชวนจิต" ก็จะคลุกเคล้ากับเรื่องบาปแทน
    หลังจากนั้น "ตทารัมมนะ" ก็เกิดขึ้น ๒ ขณะ เพื่อชลอความมันในอารมณ์ของชวนจิตลง เป็นการสิ้นสุดวิถีหนึ่ง และเปิดโอกาสให้กระแสภวังค์เข้ามาคั่น เพื่อให้สามารถรับอารมณ์หรือสิ่งเร้าอื่น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

    ในจักขุทวารวิถี ๑ วิถี ประกอบด้วยจิต ๑๗ ขณะทำงานร่วมกัน จิตทั้ง ๑๗ ขณะนั้น ที่เห็นคลื่นแสงจริง ๆ มีเพียง ๑ ขณะคือขณะของจักขุวิญญาณ นอกนั้นไม่ได้ทำกิจของการเห็น แต่จำเป็นต้องเกิดร่วมด้วยเพื่อให้การเห็นครบบริบูรณ์ ลำพังจักขุวิญญาณเองทำกิจเห็นไม่ได้ (ต้องเข้าวิถีจึงเห็น)
    สิ่งที่จักขุวิญญาณเห็นนั้นคือจุดของคลื่นแสงแต่ละคลื่นเท่านั้น ไม่รู้ว่าเป็น คน สัตว์ หรือสิ่งของใด ๆ ทั้งสิ้น การเห็นไม่ใช่คน สัตว์
    การรู้ว่าเป็นคน สัตว์ สิ่งของ เป็นการตีเทียบทางมโนทวารวิถี(ทางใจ) ที่เกิดสลับกับจักขุทวารวิถีนับล้านๆ วิถีกว่าจะรู้ว่าเป็นคน สัตว์ พืช สิ่งของ ฯลฯ

    ทั้งนี้เป็นวิถีที่เกิดวิถีสลับกันอยู่ ๓ วิถีใหญ่ ๆ คือ
    ๑. วิถีของการรับคลื่นแสงแต่ละคลื่น
    ๒. วิถีของการรวบรวมคลื่นแสงแต่ละคลื่นเข้าด้วยกัน
    ๓. วิถีของการรู้ถึงรูปพรรณสัณฐาน อันเนื่องจากการรวบรวมวิถีของการรู้ถึงชื่อของรูปพรรณสัณฐานดังกล่าว (ใน ๒ วิถีหลังนี้ เกิดทางมโนทวารโดยอาศัยความจำและการบัญญัติขึ้น) กระบวนการดังกล่าวเกิดกับคนทุกชาติ ทุกศาสนา มิใช่เกิดเฉพาะกับชาวพุทธเท่านั้น

    กล่าวอาจกล่าวได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของคำกล่าวที่ว่า "เห็นก็สักว่าเห็น" แม้จะเห็นว่าเป็นอะไร ก็เป็นเพียงรู้สึกว่าเห็น ยังไม่เลยไปถึงอภิชฌา / โทมนัส (ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเห็นจากวิปัสสนาญาณด้วย เพราะการเห็นด้วยวิปัสสนาญาณ ต้องพิจารณาด้วยความแยบคายอีกระดับหนึ่ง)
    ว่าโดยขณะจิตแล้ว เห็นสักว่าเห็น คือขณะของจักขุวิญญาณ หากว่าโดยวิถีแล้ว เกิดขึ้นเพราะ ๓ วิถีข้างต้น นับเฉพาะขณะรู้ความหมายและชื่อของรูปพรรณสัณฐาน
    เพราะหลังจาก ๓ วิถีใหญ่ ๆ ข้างต้นแล้ว ไม่ใช่วิถีของการเห็น แต่เป็นวิถีของความพอใจและไม่พอใจที่เกิดขึ้น เนื่องเพราะยึดการเห็นว่าเป็นเรา เป็นของของเรา และเป็นเหตุของการกระทำต่าง ๆ ทั้งดีและชั่ว

    *มีข้อที่น่าศึกษาว่า*
    จิตที่ทำหน้าที่ชวนะนั้นคือจิตอะไร เป็นกุศล หรืออกุศล จะกำหนดได้อย่างไร เพราะจิตเกิดดับเร็วมาก แน่นอนว่าวิถีจิต
    ที่ทำหน้าที่เห็นนั้นต้องเกิดมากกว่า ๑ วิถีแน่นอน โดยเฉพาะในทางมโนทวารที่จะต้องเกิดติดต่อกับจักขุทวารวิถี อย่างน้อยก็ต้องมี ๓-๔วิถี
    จึงเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นรูปร่างได้ จะเอาสติตอนไหนมาพิจารณาว่า "เห็นสักว่าเห็น" เพราะจิตเกิดรวดเร็วเหลือเกิน
    จึงเป็นสิ่งที่น่าคิดว่า เรากำหนดสิ่งที่เห็น ว่าเป็นสักว่าเห็น เมื่อมันเป็นบัญญัติ ผ่านการปรุงแต่งของจิตไปแล้ว
    คือมากำหนดสิ่งที่เห็นในภายหลังว่า สักว่าเป็นรูป ไม่ใช่เป็นสัตว์บุคคล (นี่ว่าตามวิถีจิต)


    *มีพระพุทธพจน์ในตอนหนึ่งที่ตรัสกับ พาหิยทารุจีริยะว่า*
    ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล
    เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น
    เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ
    เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
    ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล
    ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่า
    เห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง
    เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ
    เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
    ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี
    ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้าย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
    ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง
    ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มีพระภาคลำดับนั้นแล
    พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะกุลบุตรด้วย พระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป ฯ
    (สุตฺตนฺต.เล่ม ๑๗. ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ)

    พระพุทธพจน์ตอนนี้เป็นที่น่าศึกษาว่า ท่านพาหิยะ
    ได้มีปัญญาบารมี ได้อบรมสั่งสมสมถวิปัสสนามา
    มากแล้ว แต่ติดอยู่นิดเดียว
    พอได้ฟังพระพุทธพจน์บทนี้เข้า
    จึงทำให้ท่านสามารถบรรลุธรรมได้
    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าศึกษาให้มาก วิปัสสนาธุระของเราจะได้ไม่ข้ามขั้นตอน ฯ


    *สักแต่ว่า เป็นอาการที่จิตเฝ้ารู้อยู่เฉยๆ ในเมื่อเกิดผัสสะ*
    ถ้าศึกษาดูในอริยสัจ ๔ จะกล่าวไว้ชัดเจนว่าคนเราเป็นทุกข์
    เพราะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามปกติในธรรมชาติ
    ธรรมดา

    แต่เพราะเราไม่รู้(อวิชชา) เราจึงเข้าไปยึดว่านี่ตัวเรา นี่ร่างกายของเรา
    นี่ความคิดความทรงจำของเรา และที่ลึกซึ้งที่สุดคือ นี่จิตของเรา

    ปกติพอเราเกิดผัสสะ คือรับรู้ทางทวารทั้ง ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
    เราจะเข้าไปยึดอารมณ์ที่เข้ามานั้นไว้ และปรุงแต่งเป็นนั่นเป็นนี่ต่อ
    แต่ในการภาวนา ท่านให้กำหนดรู้(มีสติสัมปชัญญะ) ในอารมณ์ที่เข้ามากระทบ
    กำหนดรู้เฉยๆ อาจจะเข้าไปยึดเล็กน้อย แล้วก็ปล่อยวางเสีย
    เห็นสามัญลักษณะของอารมณ์ ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปๆ
    การกำหนดรู้เฉยๆ นี่เองเรียกว่า เห็นก็สักแต่ว่าเห็น...ฯ

    เช่น รู้ว่ามีสาวสวยเดินผ่านมา จิตก็ขยับส่งออกไปสนใจรูปหญิงสาวคนนั้น
    ประกอบกับสัญญาว่านี่คือผู้หญิง จิตคิดปรุงแต่งต่อเป็นเรื่องเป็นราว
    แต่ถ้าเราเจริญสติสัมปชัญญะ

    อย่างหยาบเราอาจจะรู้สึกถึงตัณหาที่เกิดขึ้น เมื่อมีปฏิกิริยาทางร่างกายเกิดขึ้น
    (เช่นหัวใจเต้นแรงขึ้น) เมื่อรู้สึกเช่นนั้น ถ้าเรารู้สึกตัวและเฝ้าดูทั้งร่างกาย
    และจิตใจของเราเอง เราก็จะเห็น การคลายตัวของตัณหา ความรู้สึก
    ผ่อนคลายของร่างกาย เมื่อหัวใจเต้นช้าลงเป็นปกติ

    อย่างละเอียด(ในคนที่ภาวนาเป็นประจำ)
    สติจะมาเร็วขึ้นเพียงแค่จิตส่งออกไปสำรวจพบว่าเป็นผู้หญิง
    ก็ปล่อยวางเสียแล้ว ยังไม่ได้ปรุงแต่งต่อ

    ละเอียดกว่านั้น จิตก็จะไม่ส่งออกไปยึดว่าเป็นรูปผู้หญิงเลย
    เพราะจิตมีความรู้ชัดตามธรรมชาติที่เป็นจริง ในขั้นนี้เรียกได้ว่า
    เห็นก็สักแต่ว่าเห็นจริงๆ

    ปกติคนเราจะเผลอ เหม่อ และมีจิตส่งออกนอกตลอด
    และอ่านไม่ออกว่าเผลอ เหม่อ ส่งออกนอก ฟุ้งซ่าน เป็นอย่างไร
    ท่านจึงให้หัดทำความสงบ
    เช่นเอาใจไปจ่อกับลมหายใจอย่างเดียวต่อเนื่อง
    อาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน หรือเป็นปี จึงรู้จักความสงบเป็นปกติ
    จากสงบก็ให้ทำความรู้ตัว โดยมากจะแนะให้เดินจงกรม
    รู้เฉพาะเท้าสัมผัสพื้นไปเรื่อย
    ทั้งความสงบและความรู้ตัว เป็นไปได้พร้อมกัน
    ควรทำควบคู่กัน มีผลส่งเสริมกันและกัน

    เมื่อมีความสงบ มีความรู้ตัวในขณะใด
    อารมณ์ไหน เข้ามากระทบทางใดก่อน ให้รู้อันนั้นก่อน
    รู้โดยความเป็นผัสสะกระทบ
    รู้โดยความสังเกตเข้ามา ว่ามีความกระเพื่อมไหวในใจ
    ที่แตกต่างจากความสงบอย่างไร
    ความรู้ตัวที่ตั้งมั่น ทั้งก่อนกระเพื่อม ขณะกระเพื่อม และหายกระเพื่อม
    จะเป็นตัวที่ค่อยๆปรุงจิตให้ฉลาดขึ้นในอารมณ์กระทบ
    ว่าสักแต่เกิดขึ้นแล้วมันก็หายไปเอง
    เมื่อจิตฉลาดขึ้น อาการที่เคลื่อนเข้ายึดอารมณ์เป็นตัวเป็นตนก็จางลง
    เมื่ออัตตาจางลง ก็มีความสงบ มีความรู้ตัวมากขึ้น
    ให้เวลากับการรักษาจิตรักษาใจมากขึ้น
    สังเกตอารมณ์กระทบโดยสักแต่ว่ามากขึ้น
    นั่นก็คือย้อนมาทำให้เกิดความสงบและรู้ตัวยิ่งๆขึ้นไปอีก
    อย่างนี้แหละเรียกว่าสมาธิอบรมปัญญา ปัญญาอบรมสมาธิ


    *สักแต่ว่า... จากหนังสือทางนฤพาน - พาหิยะสูตร*
    พระพุทธเจ้าทรงสอนพาหิยะว่า เห็นสักแต่รู้ว่าเห็น
    ได้ยินสักแต่รู้ว่าได้ยิน...


    ยกตัวอย่างเช่น...
    เห็นสักแต่รู้ว่าเห็น หมายความว่า ไม่ไปยึดเอาภาพที่เห็นนั้นมาเป็นอารมณ์ของจิต
    เพราะอารมณ์ที่เกิดขึ้น เกิดจากตัณหาคือความอยากให้ภาพนั้นๆ เป็นหรือไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เกิดการปรุงแต่งของจิต ทั้งที่จริงแล้ว ถ้าสักแต่ว่าเห็นก็จะเห็นเป็นเพียงภาพที่สะท้อนเข้ามาในตาเท่านั้น เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เป็นภาพนิ่งที่ติดต่อกันจนเราแยกไม่ออก และเราก็ไปหลงยึดติดกับภาพนั้น ซึ่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน ฯลฯ ทั้งหลายจึงเกิดจากความไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของจิต

    *ความหมายของ อายตนะ ๖* (จากหนังสือพุทธธรรม)
    หมายถึง แดนที่เชื่อมต่อกับโลกให้เกิดความรู้ และการเสวยอารมณ์ (เวทนา) มี
    ตา เป็นแดนรับรู้ สี เกิดความรู้คือ เห็น
    หู เป็นแดนรับรู้ เสียง เกิดความรู้คือ ได้ยิน
    จมูก เป็นแดนรับรู้ กลิ่น เกิดความรู้คือ ได้กลิ่น
    ลิ้น เป็นแดนรับรู้ รส เกิดความรู้คือ รู้รส
    กาย เป็นแดนรับรู้ โผตทัพพะ เกิดความรู้คือ รู้สิ่งต้องกาย
    ใจ เป็นแดนรับรู้ ธรรมารมณ์ เกิดความรู้คือ รู้เรื่องในใจ


    *สู้กับใครไม่ยากเท่ากับสู้กับตัวเอง*
    ส่วนการต่อสู้กับจิตตัวเองที่ซ่อนอยู่ลึกๆในตัวเรานั้น ให้คำนึงไว้เสมอว่า เรากำลังต่อสู้กับจิตที่มีประสบการณ์มามาก (ถ้าเชื่อว่า คนเราเกิดมาแล้วต้องตาย ตายแล้วต้องเกิดใหม่ก็อ่านต่อได้) เพราะเขาได้สั่งสมอะไรต่อมิอะไรมามากกว่าเราหลายภพหลายชาติ อาสวะกิเลส (กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน) ย่อมมีติดมามาก การที่เราจะสลัดกิเลส ความเคยชิน อะไรทั้งหลายแหล่ที่ติดค้างอยู่ในจิตนั้นให้หมดไป ไม่ใช่จะทำได้ง่ายๆ เราอายุเท่าใด จิตเดิมของเราอายุเท่าใด (มิอาจนับได้) การต่อสู้กัน น่าจะเข้มข้นไม่เบา ดังนั้น หากจะเอาเทคนิก (ทำเป็น)ยอม มาใช้บ้างก็คงจะดี คือให้จิตเดิมเขาได้แสดงตัวออกมา แล้วเราก็พิจารณาตามไป พิจารณาให้ลึก ว่าที่จิตกำลังคิดอยู่นั้นคิดอะไร พอพิจารณาแล้วเห็นว่าเริ่มไร้สาระเพราะเต็มไปด้วยอกุศล เต็มไปด้วยกิเลสและอกุศลทั้งหลาย อาทิ โลภะ โทสะ ราคะ โมหะ ฯลฯ ก็รีบเข้าควบคุมสถานการณ์ด้วยการ "หยุด" ความคิดนั้นเสียแล้วให้สติเป็นอาวุธ มาล้างความคิดไร้สาระนั้นให้หมดไปด้วยเหตุด้วยผล ด้วยการยกเอาขันธ์ห้า (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) มาพิจารณาประกอบกับกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คิดอะไรก็พิจารณาลงไป ให้สติรู้ตลอดว่ากำลังคิดอะไร ความคิดนั้นมีที่มาจากกิเลสตัวไหน อะไรเป็นสาเหตุ อะไรจะช่วยดับกิเลสนั้น .......พระพุทธองค์ทรงสอนให้พวกเรารู้ว่า "ทุกอย่างไม่เที่ยง ไม่คงที่ เป็นทุกข" เป็นความจริงที่สุด พิจารณาไปจนเห็นว่าทุกอย่างมัน........ น่าเบื่อหน่าย ...... ไม่น่ายึดถือ ........ พิจารณาไปจนตระหนักว่า "การปล่อยวาง" "การวางเฉย" "การเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน" หรือการมี "สัมมาสติ" นั้นเป็นที่สุดของการละวางความทุกข์ทางใจทั้งปวง ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้

    "เธอจงประพฤติปฏิบัติดังต่อไปนี้ ในสิ่งที่เธอเห็นนั้น จงสักแต่ว่าเห็น ในสิ่งที่เธอได้ยิน จงสักแต่ว่าได้ยิน ในสิ่งที่เธอได้ดมกลิ่น จงสักแต่ว่าดมกลิ่น ในสิ่งที่เธอได้ลิ้มรส จงสักแต่ว่าได้ลิ้มรส และในสิ่งต่าง ๆที่เธอได้สัมผัสนั้น จงสักแต่ว่าได้สัมผัส อย่าได้มีตัวตนของเธอเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ ให้เป็นสักแต่ว่า ให้เห็นว่าเป็นสิ่ง ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เสียงมากระทบหู รับรู้ แล้วก็ดับไป อย่าเอาตัวตนไปรับรู้ ว่าเราได้ยิน เราได้ฟัง เราได้เห็น ให้เอาตัวรู้เป็นผู้รับรู้ คือ เวลาเห็นอะไรก็สักแต่ว่าเห็น ให้รู้ว่าได้เห็น แล้วก็ปล่อยวางตามความเป็นจริงไม่ไปยึดไปถือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ว่าเป็นหญิง เป็นชาย เป็นเขา เป็นเรา ว่าดีหรือชั่ว คือให้สักแต่ว่าเห็นเฉยๆ ได้ยินเฉยๆ ได้ฟังเฉยๆ ได้ดมกลิ่นเฉยๆ ได้สัมผัสสิ่งเหล่านี้เฉยๆ ให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ผ่านไป"

    จิตเดิมคิดอะไร ปล่อยให้คิด แต่เอาสติตามพิจารณาไว้ตลอด ถ้าจิตเดิมใสกว่าก็พิจารณาด้วยเหตุผลอีกนั่นแหละ เข้าใจเรื่องหนึ่งแล้ว ยังมีความคิดเรื่องใหม่อีก ก็พิจารณาตามความคิดไปเรื่องที่มาใหม่นั้นอีก จากอีกเรื่องหนึ่ง และอีกเรื่องหนึ่งไปเรื่อยๆ จากความคิดตามไปพิจารณาคำพูด พิจารณาการกระทำ ..... ต่อไปจะได้ คิด-พูด-ทำ เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ดีกว่าแน่นอน ถ้าจะพูดให้ฟังง่ายๆก็คือ ใช้คติไทยโบราณที่ว่าให้ "คิดก่อนพูด และ คิดก่อนทำ"

    ดังพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ความยกมาบางตอนว่า

    "ความคิดนั้นเป็นแม่บทใหญ่ของการพูดและการกระทำ เพราะกิจที่จะทำคำที่จะพูดทุกอย่างล้วนสำเร็จมาจากความคิด การคิดก่อนพูดและก่อนทำจึงช่วยให้บุคคลสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควร หยุดยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้อง"
    และจาก ส.ค.ส. พระราชทานเมื่อปี ๒๕๔๐ ทรงสอนพวกเราไว้ว่า
    "คิดก่อนพูด พูดแล้วทำ ทำหลังคิด คิดก่อนทำ ทำแล้วพูด พูดหลังคิด"
    คงจะยังไม่ลืมเลือนกัน

    *อุปาทาน คือความยึดมั่น ถือมั่น หอบอุ้มไว้ ไม่ปล่อยวาง*
    ข้าพเจ้าเคยฟัง เคยไตร่ตร่องคำคำนี้ แต่ก็เกิดความรู้เพียงผิวเผิน ซึ่งเป็นแค่รู้จำ ไม่ใช่รู้เห็นตัวตนที่แท้จริง แห่งอุปาทาน ไม่เกิดญาณทัศนะจริง ๆ
    เมื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อาจารย์ท่านสอนให้กำหนดรู้อารมณ์ที่เข้ากระทบ แม้จะกำหนดไม่ทันทั้งหมด เบื้องแรก ให้เอาเพียงแค่อารมณ์เด่นๆ ก่อน กำหนดทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ก็แล้วแต่ ไม่เป็นไร เมื่อกำหนดรู้แล้ว ก็ให้สักแต่ว่ารู้ รู้แล้วก็ปล่อยผ่านไป ไม่ต้องเก็บไว้ รู้ตัวนี้แล้ว ให้รีบทิ้งไป แล้วรู้ตัวใหม่ต่อ ๆ ไป.....

    ข้าพเจ้ามารำพึงว่า สิ่งที่กระทบใจ ในแต่ละวัน มีมากมาย ข้อมูลต่าง ๆ แต่ละวันไหลเข้ามากมาย และแต่ละข้อมูล มีกิเลสเคลือบแถมมาด้วย ข้อมูลที่ไหลเข้า หากเราหอบอุ้ม เก็บไว้ทุก ๆ ข้อมูล ย่อมต้องมากมายก่ายกอง ที่ผ่านมา เราไม่ได้ชำระข้อมูลเก่าออก ไม่ได้สลัดทิ้งข้อมูลใหม่.. ใจเรา ณ ปัจจุบัน จึงถูกห่อหุ้มด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน มากมาย

    สิ่งเคลือบใจมากมายขนาดนั้น ย่อมมิอาจขจัดล้างออกให้หมดได้อย่างง่ายดาย ด้วยเวลาอันเล็กน้อย... ลองคิดดูเถิด แม้ปัจจุบันเราปฏิบัติกรรมฐาน กำหนดรู้อารมณ์กระทบ สลัดอารมณ์กระทบใหม่ทิ้ง แต่ก็ไม่ทั้งหมด เราสลัดทิ้งไม่ได้ทั้งหมด สมมติ หนึ่งนาที อารมณ์กระทบ พันตัว เรารู้ทัน ห้าตัว สลัดทิ้งได้ สองตัว แล้วที่เหลือเกือบพันตัวล่ะ แล้วถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติกรรมฐานล่ะ ทุกตัวที่กระทบ ย่อมถูกจัดเก็บ ถูกยึดถือไว้หมด แล้วเราจะกำจัดมันออกง่าย ๆ ได้อย่างไร หากเรามีความเพียรน้อย เพียรย่อหย่อน เพียรไม่ต่อเนื่อง กิเลสที่เคลือบอยู่ในใจ จักหมดไปได้อย่างไร.... เราพึงเพียรปฏิบัติ เพียรกำจัดของเก่าทิ้ง เพียรสลัดของปัจจุบันออก เถิด...

    เมื่อเราปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยกำหนดรู้อารมณ์ใด ๆ ที่เข้ากระทบ แม้จะทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ... เห็น ให้สักแต่ว่าเห็น ได้ยิน สักแต่ว่าได้ยิน รู้ สักแต่ว่ารู้... พึงเพียรระลึก เพียรรู้แต่เฉพาะอารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ไม่ส่งจิต ใจ หาอารมณ์อดีต และอนาคต ไม่ปล่อยจิต ใจ ให้ไหลหาอารมณ์ที่เป็นอดีต และอนาคต เมื่อเพียรรู้อยู่อย่างนี้ หากรู้ทันอารมณ์ปัจจุบันจริง ๆ อารมณ์นั้น ก็จักดับไปโดยไม่เหลือเชื้อ หากจิต ใจ ยังรู้ไม่เท่าทัน ยังอาลัยอยู่ในอารมณ์ ซึ่งความจริงดับไปแล้ว อารมณ์นั้นก็คืออารมณ์อดีต เป็นอารมณ์ที่เหลือเชื้อ เชื้อแห่งอารมณ์นั้น จักเคลือบ ฉาบ ทา ใจเรา เหลืออยู่ที่ใจเรา ยิ่งฉาบทามาก ใจย่อมถูกห่อหุ้มด้วยกิเลส อันเป็นดั่งสารเคลือบที่หนา หนาขึ้นหนาขึ้น

    เปรียบเสมือน.... บุคคล ยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ทอดสายตามองผิวน้ำ.. บุคคลนั้นเห็นวัตถุต่าง ๆ เช่น ผักตบบ้าง จอกบ้าง แหนบ้าง ขวดเปล่าบ้าง รองเท้าขาดบ้าง ของเล่นเด็กผุพังบ้าง ฯลฯ ลอยมาตามน้ำ บุคคลนั้น เห็น ระลอกคลื่นที่โดนลมพัดบ้าง ริ้วน้ำที่เคลื่อนไหลบ้าง

    บุคคลผู้เปรียบประหนึ่งคนบ้า เห็นอยู่ มีอาลัยในวัตถุเหล่านั้น อยากได้วัตถุเหล่านั้น พอเห็น ก็โดดลงน้ำ ว่ายไปเก็บเอามาไว้ที่ตน เมื่อเห็นอีก อยากได้อีกอยู่ร่ำไป เขาย่อมตามเก็บวัตถุเหล่านั้นมาไว้ที่ตน ซึ่งช่วงเวลาที่เขากระโดดตามเก็บอยู่นั้น เขาหารู้ไม่ว่า เขาได้สูญเสียเวลาในการมองดูสิ่งอื่น เขาเสียโอกาสในการมองดูวัตถุอื่น... กิจกรรมของเขา มีเพียงว่ายเก็บสิ่งของอยู่ร่ำไป กระทั่งไม่มีโอกาสขึ้นจากน้ำ มานั่งมองดูอยู่ริมฝั่ง... ทั้ง ๆ ที่สิ่งของเหล่านั้น ในสายตาของคนปกติ เป็นเพียงเศษขยะ แต่คนบ้า กลับเห็นว่า มีคุณค่าควรเก็บรักษา

    ทว่า บุคคลผู้เปรียบประหนึ่งคนปกติ เห็นอยู่ ไม่มีอาลัยในวัตถุเหล่านั้น ไม่อยากได้วัตถุเหล่านั้น พอเห็น ก็สักแต่ว่าเห็น สายตาเขายังทอดมองผิวน้ำ เห็นวัตถุต่างๆ ลอยผ่าน อย่างต่อเนื่อง เขา จึงไม่สูญเสียเวลาในการมองดู ไม่สูญเสียโอกาสในการมองดู

    เปรียบเสมือน.... บุคคล เดินไปตามถนน เห็นวัตถุต่าง ๆ เช่น ถุงพลาสติกบ้าง กระดาษบ้าง เปลือกกล้วยบ้าง ร้องเท้าข้างหนึ่งบ้าง เสื้อขาดบ้าง กางเกงขาดบ้าง ฯลฯ

    บุคคลผู้เปรียบประหนึ่งคนบ้า เห็นอยู่ มีอาลัยในวัตถุเหล่านั้น อยากได้วัตถุเหล่านั้น จึงก้มลงเก็บเอา เก็บเอา แล้วเก็บไว้ที่ตัวบ้าง สะพายบ้าง มัดเอวบ้าง ถือด้วยมือบ้าง คล้องคอบ้าง เมื่อเขาทำอยู่อย่างนี้ ของที่เขาเก็บได้ย่อมมากขึ้น มากขึ้น ร่างกายเขาย่อมรับภาระมากขึ้น

    ทว่า บุคคลผู้เปรียบประหนึ่งคนปกติ เห็นอยู่ ไม่มีอาลัยในวัตถุเหล่านั้น ไม่อยากได้วัตถุเหล่านั้น พอเห็น ก็สักแต่ว่าเห็น ไม่เก็บเอา เขา จึงไม่สูญเสียเวลาในการเดินทาง ไม่สูญเสียโอกาสในการเดินทาง เป็นผู้มีร่างกายเบา

    โอหนอ... ตัวเราเอง เป็นเหมือนบุคคลผู้เปรียบประหนึ่งคนบ้า ....อย่ากระนั้นเลย เพื่อความเป็นผู้มีจิตใจเบา โปรดโปร่ง เราพึงเพียรรู้อารมณ์ปัจจุบัน ไม่อาลัยอารมณ์อดีต ไม่โหยหาอารมณ์อนาคต เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยิน สักแต่ว่าได้ยิน รู้ สักแต่ว่ารู้...เถิด


    *ธรรมไหลไปสู่ธรรม ๘ รู้อะไรก็สักแต่ว่ารู้*
    (โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)

    เมื่อดูเข้าไป ดูเข้าไป โดยอาศัยกำลังของสติและจิตอันหนักแน่นแล้ว เราจะเห็นอารมณ์
    และถ้าเห็นจริง ๆ แล้ว ก็จะรู้ชัด
    เป็นความรู้ที่มีกำลัง มีอำนาจ ในการต่อสู้กับกิเลสตัณหา เรียกว่า
    ภาวนามยปัญญา
    ภาวนามยปัญญา ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการขบคิดพินิจพิจารณา
    ตามเหตุผลในระดับสมอง หรือปัญญาที่เกิดขึ้นจากการได้ยิน ได้ฟัง
    เกิดความทรงจำ คิดได้พูดได้
    ที่เรียกว่า จินตามยปัญญา และ สุตตมยปัญญา
    แต่ภาวนามยปัญญานั้น อาศัยสติ และสมาธิที่หนักแน่น

    เข้าไปดูลึก ๆ ภายในจิตจนเห็นอารมณ์ของตนเองอย่างชัดเจน
    ฉะนั้นการปฏิบัติธรรม คือการพยายามรักษาจิตตั้งเจตนาให้ถูกต้อง
    เพื่อทวนกระแสแห่งอารมณ์
    พยายามรักษาอารมณ์ให้รู้อยู่แต่อารมณ์ที่ ๑ คือผัสสะ
    เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน รู้ก็สักแต่ว่ารู้
    แต่ถ้าหลุดไปเป็นอารมณ์ที่ ๒ คือเวทนา ก็อย่ายึดมั่นถือมั่น
    ชอบไม่ชอบอย่ายึดมั่นถือมั่น เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ

    อีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อเกิดกระทบอารมณ์
    ก็พยายามให้ความรุนแรงของอารมณ์ลดลง ๆ
    เช่น แต่ก่อนเมื่อกระทบอารมณ์ได้ยินเสียงนินทาปุ๊บ จิตก็แล่นไปถึง
    อารมณ์ที่ ๔-๕-๖ เลย คือเกิดเป็นอุปาทาน ภพ ชาติ ฯ
    ปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ เกิดทุกข์เดือดร้อนเป็นเดือนเป็นปีก็มี
    การปฏิบัติคือการพยายามลดอารมณ์รุนแรงนี้ให้หยุดอยู่
    แค่อารมณ์ที่ ๓-๒-๑ ตามลำดับ
    เคยทะเลาะกับภรรยาแล้วอารมณ์ไม่ดีอยู่ ๕-๖ วัน ก็ให้ลดลงเหลือ แค่ ๑ วัน และต่อไปก็ไม่ต้องทะเลาะเลย เป็นต้น
    นี่คือการพยายามลดความรุนแรงของอารมณ์จากขั้นที่ ๖-๕-๔
    เป็น ๓-๒-๑ เป็นลำดับ และ เป็นการทวนกระแสแห่งอารมณ์

    เราต้องระมัดระวังและกลัวความรู้สึกนึกคิด
    ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเรา
    เพราะเป็นมูลเหตุ ของบาปอกุศล และความทุกข์ทั้งปวง
    เมื่อจิตนึกไป คิดไป ปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ ตามอำนาจของกิเลสตัณหาแล้ว
    ก็จะแสดงออกมาเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา ในที่สุด
    ดังนั้น สิ่งที่น่ากลัวที่สุด เป็นอันตรายร้ายกาจที่สุด
    และเป็นศัตรูผู้จองผลาญก็อยู่ตรงนี้ ตรงที่ ความรู้สึกนึกคิดของตัวเราเอง

    เราจึงต้องไม่ประมาท เหมือนดังที่พระบรมศาสดาได้ทรงย้ำให้พวกเรารู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ
    เสมือนว่า กำลังอยู่ในห้องที่มีอสรพิษ คอยจ้องอยู่ตลอดเวลา

    ---------------------------------------------------------
    _/|\_
    _/|\_
    _/|\_
    เพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่อง นิพพาน ให้ถ่องแท้ขึ้นไปอีก ควรอ่านเรื่อง "ทางไปสู่นิพพาน" ควบคู่ไปด้วย
    http://palungjit.org/threads/ทางไปสู่พระนิพพาน.181467/
    _/|\_
    _/|\_
    _/|\_
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2009
  2. ธรรมวินัย

    ธรรมวินัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +40
    อาจจะยาวไปสักนิด แต่เป็นประโยชน์ต่อนักปฏิบัติ เพื่อแสวงหาทางหลุดพ้นที่ถูกต้องแท้จริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2009
  3. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    รวบรวมได้ดีมากครับ
    ได้ตอกย้ำตนเองอยู่เรื่อยๆ
    เราคุ้นเคยกับ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ มานานมากจริงๆ
    นานจนมองไม่เห็น เพราะคิดว่าเป็นพวกเดียวกัน
     
  4. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    รวมถึงกำหนดรู้จนชินหรือช่ำชองว่า

    รูปกายนี้ ก็เป็นเพียงสักว่า รูปธาตุ

    นามกายนี้ ก็เป็นเพียงสักว่า นามธาตุ

    สรรพสิ่งเป็นเพียงสักว่า "ธาตุ" ตามธรรมชาติ

    นิสสัตโต...มิใช่สัตว์บุคคล

    นิชชีโว...มิใช่ความมีเป็นตามที่หลงคิด

    สุญโญ...ว่างเปล่า
     
  5. เสวกะ

    เสวกะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +53
    สาธุ ดั่งคำที่มีคนเคยบอกกล่าว จงยืนดูชีวิตเหมือนคนที่ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น
     
  6. กะละมัง

    กะละมัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +150
    นิพพานเป็นเรื่องเข้าใจยาก บางคนยังไม่เข้าใจความหมายของนิพพานเลย แต่พอมาอ่านบทความนี้ ทำให้เข้าใจนิพพานมากขึ้นจ๊ะ
     
  7. จีโอ14

    จีโอ14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +262
    ขออนุโมทนา สาธุ ด้วยครับ

    หาก กุญแจสู่นิพพาน คือ "เห็นสักแต่ว่าเห็น"

    อะไรหนอ ที่ทำให้อยากได้กุญแจนี้ ไช่เพราะเห็นว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ?

    อะไรหนอ ที่ทำให้อยากสุขอย่างยิ่ง ไช่เพราะเห็นว่าโลกนี้จะหาสุขจริงไม่มี ?

    อะไรหนอ ที่ทำให้เห็นว่าโลกนี้จะหาสุขจริงไม่มี ใช่เพราะมีสัมมาทิฏฐิเกิดกับใจแล้ว ?

    อะไรหนอ ที่ทำให้มีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นโลกตามความเป็นจริง ทุกข์มีอยู่ก็เห็น สาเหตุเกิดทุกข์มีอยู่ก็เห็น สภาพไม่มีทุกข์มีอยู่ตระหนักรู้ ฉันอยากมีสภาพไม่มีทุกข์ ฉันจะเดินตามทางดับทุกข์ เป็นสัมมาทิฏฐิ

    มี สัมมาทิฏฐิ จึงเป็นปัจจัยให้อยากหา กุญแจสู่นิพพาน

    ความอยากหากุญแจสู่นิพพาน จึงเป็นปัจจตัง รู้สึกได้เฉพาะตน
     

แชร์หน้านี้

Loading...