การละเมิดลิขสิทธิ์ กรรมของชนชาติที่ทุกคนมองข้าม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย เฮียปอ ตำมะลัง, 23 พฤษภาคม 2010.

  1. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    การละเมิดลิขสิทธิ์ กรรมของชนชาติที่ทุกคนมองข้าม

    [​IMG]

    <!-- Item introtext -->
    ปัจจุบันนี้ได้มีการละเมิดลิขสิทธิ์มากมาย หลากหลาย ทั้งเพลง หนัง ซอฟท์แวร์ คอมพิวเตอร์ ภาพถ่าย เกมส์ สินค้าแฟชั่น ฯลฯ ซึ่งทางผู้เขียนเห็นแล้วก็ค่อนข้างเป็นห่วง เพราะปัจจุบันนี้ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมาก

    <!-- Item fulltext -->มีผลให้การละเมิดลิขสิทธิ์สามารถทำกันอย่างง่ายดายมาก
    ขอยกตัวอย่างที่เห็นภาพชัดๆก็คือ มีใครสักคนเอาไฟล์ภาพยนตร์ หรือซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ไปลงใน Website เพื่อให้คนทั่วไปไปดาวน์โหลดกัน คนที่เข้าเว็บไซต์นั้นก็แค่คลิกไปดาวน์โหลดไฟล์นั้นอย่างง่ายดายมาก


    การละเมิดลิขสิทธิ์เริ่มทำกันอย่างมากมายและขยายตัวไปตามความเจริญด้านเทคโนโลยี ยิ่งมีผู้ใช้ Internet เยอะมากเท่าไหร่ ก็ละเมิดลิขสิทธิ์ก็จะเยอะตามไปด้วย การเปิดเว็บไซต์เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผุดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด

    จิตสำนึกของผู้คนก็น้อยลง ผู้คนในสังคมก็มองข้าม ไม่ได้ตระหนักหรือสำนึกถึงสิ่งที่ตนได้กระทำ บางคนไม่ได้สำนึกแม้สักเล็กน้อยว่าสิ่งที่ตนกระทำอยู่เป็นความผิด ราคาคอมพิวเตอร์สมัยนี้ไม่ได้แพงมากนัก และมีแนวโน้มว่าจะถูกลงไปเรื่อยๆ คอมพิวเตอร์เริ่มกลายเป็นสินค้าทั่วไปที่มีทุกห้อง ทุกบ้าน สมมติว่าแต่ละคนไม่ได้ตระหนักถึงการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นสิ่งผิด ลองนึกดูว่าแต่ละห้องที่อยู่ในบ้านมีคอมพิวเตอร์ บ้านหนึ่งก็จะมีคอมฯหลายเครื่อง แต่ละบ้านรวมกันเป็นหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านรวมกันเป็นตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค ประเทศ ทวีป

    อีกทั้งความบ่อยในการละเมิดลิขสิทธิ์ เริ่มทำจนเป็นอาจิณกรรม ทำจนชินจนไม่ได้คิดว่านี่คือความผิด ทั้งปริมาณทั้งความบ่อยรวมกัน ถ้าสะสมไปเรื่อยๆ จะกลายเป็นปริมาณที่ใหญ่มาก กลายเป็นกรรมรวมของชนชาติ

    การขยายตัวของคอมพิวเตอร์เริ่มขึ้นอย่างมากและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงบางคนมีคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ซึ่งสมัยก่อนเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว คอมพิวเตอร์ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่ละบ้านยังไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้เนื่องจากเป็นสินค้าที่ราคาสูงมาก ถ้าจำไม่ผิดก็ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ ก่อนหน้านั้นแต่ละบ้านยังไม่ค่อยมีคอมพิวเตอร์ใช้เท่าไหร่ แสดงว่าการสร้างกรรมลักษณะละเมิดลิขสิทธิ์(ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) ยังมีไม่นานเท่าไหร่ ถ้าแต่ละคนช่วยกันรณรงค์ไม่ให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ ช่วยกันตักเตือนกัน ป้องกัน ลด เลิกในการสร้างอกุศลกรรมประเภทนี้ เพื่อไม่ให้กรรมขยายตัว สะสมไปเรื่อยๆ จะเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ช่วยสังคม และช่วยชาติไปในตัว


    อันตรายอย่างมากของการละเมิดลิขสิทธิ์ในส่วนของวัด
    สิ่งที่น่าตกใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในบางสถานที่เช่นในวัดก็มีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งาน ในวัดต้องเป็นสถานที่ ที่จะต้องปลอดจากอกุศลทั้งหลาย กลับมีคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ อาจจะเป็นเพราะความไม่รู้ การมองข้าม หรือเพราะว่ามีญาติโยมนำมาถวาย ซึ่งอาจจะยังเป็นเหตุให้คนที่อาศัยที่อยู่ในวัดและมาใช้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีศีลที่ไม่บริสุทธิ์ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงอย่างมากเพราะเกี่ยวพันกับอาบัติปาราชิกในข้อที่ ๒ ว่าด้วยการ ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ราคา ๕ มาสก มาเป็นของตน เมื่อวัดใดที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ดังนั้นเมื่อใครก็ตาม จะนำคอมพิวเตอร์มาถวายวัดก็ควรจะซื้อโปรแกรมให้ถูกลิขสิทธิ์เพื่อให้วัตถุทานบริสุทธิ์ หรือไม่ก็ถวายปัจจัยโดยใช้สิทธิ์ทางวัดซื้อซอฟท์แวร์เพราะทางวัดเป็นองค์กรที่สามารถซื้อซอฟท์แวร์ได้ในราคาพิเศษ (ส่วนทางวัดที่มีคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ด้วยการซื้อลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ที่ถูกกฎหมายได้ในราคาพิเศษ โดยไปติดต่อเจ้าของ หรือผู้แทนจำหน่าย software นั้น ราคาที่ทางวัดหรือองค์กรการกุศลนั้นจะได้ในราคาที่พิเศษมาก) เมื่อมีคนคิด แล้วสร้างสรรค์ผลงาน ลงทุนลงแรงลงความคิดลงไปเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการค้า สินค้า หรือบริการเหล่านั้น มีสายใยกรรม ติดไปกับวัตถุ ภาพ เสียง ตราสัญลักษณ์ เหล่านั้น เมื่อมีอีกคนไปใช้ประโยชน์ หรือไปเสพ โดยที่สิ่งนั้นได้มีการละเมิดลิขสิทธิ์(ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่) กรรมก็เกิดขึ้นแล้วผ่านทางอายตนะทั้ง ๖

    ขอยกตัวอย่าง เช่นธุรกิจฟุตบอล แบ่งออกเป็น องค์กรสมาคม สโมสร ผู้เล่น ถ้าผู้เล่น เล่นบอลด้วยความเหนื่อยยาก คนดูจะต้องจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้เล่น โดยจ่ายทางอ้อมผ่านทางเจ้าของลิขสิทธิ์ที่นำมาถ่ายทอด เจ้าของลิขสิทธิ์จะไปจ่ายให้องค์กร องค์กรจ่ายให้สโมสร สโมสรจ่ายให้ผู้เล่น หลักการก็คือเมื่อมีการรับชมก็จะต้องมีการจ่ายผลประโยชน์ ถ้าคนดูได้เห็นภาพ ทันทีที่คนนั้นเห็นภาพ โดยมีเจตนาที่จะเสพ โดยผ่านสื่อที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยผู้เสพไม่ได้จ่ายผลประโยชน์ในจุดนี้ หนี้กรรมจะเกิดขึ้นในทันที โดยที่สักวันก็ต้องไปชดใช้เขาอยู่ดี

    ส่วนธุรกิจเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ แต่ละซอฟท์แวร์ล้วนมีการลงทุน ลงแรงลงความคิด ถ้าเจ้าของผลประโยชน์หวังผลทางการค้าใน ซอฟท์แวร์นั้น ไม่ว่าแผ่นซอฟท์แวร์นั้นจะไปอยู่ที่ไหน ล้วนจะมีสายโยงใยกรรมทั้งสิ้น ทันทีเมื่อเปิดคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประโยชน์ในซอฟท์แวร์นั้นโดยที่ซอฟท์แวร์นั้นเป็นซอฟท์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ การสร้างอกุศลกรรมจะเกิดขึ้นทันที

    ผลของกรรม
    การกระทำเหล่านี้เป็นการละเมิดศีลข้อที่ ๒
    ผลกรรมก็มีผลโดยตรงเกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทอง อีกทั้งจะส่งผลขัดขวางในด้านความเจริญของผู้ที่มีส่วนในการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น
    กรรมของผู้เผยแพร่ กรรมของผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ ล้วนแล้วแต่มีผลหนักเบาแตกต่างกันออกไป ในบทความตอนหนึ่งของแม่ชีทศพร ก็ได้กล่าวถึงเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับเสื้อผ้า ทั้งที่คนนั้นไม่ได้ไปละเมิดโดยตรง แค่รับจ้างผลิตเท่านั้น กรรมก็ยังสามารถส่งผลในชาติปัจจุบัน ������



    ทางออกของปัญหา
    เลิกเข้าไปยุ่งเกี่ยวในทุกส่วนของกระบวนการ ให้เลิกละเมิดลิขสิทธิ์ เลิกเผยแพร่โปรแกรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ส่วนผู้ใช้ก็เลิกใช้ของที่ละเมิดลิขสิทธิ์
    ซอฟท์แวร์ ให้ใช้โปรแกรมฟรีแวร์ หรือประเภท Open source แทนโปรแกรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์
    โปรแกรมประเภท OS มีโปรแกรม Linux สามารถใช้แทนระบบปฏิบัติการอื่นๆ
    โปรแกรมที่ใช้งาน Office ประเภท word, spreadsheet สามารถใช้โปรแกรม Open Office แทน
    (ดาวน์โหลดได้ที่ download: OpenOffice.org Downloads)
    โปรแกรมจัดการภาพถ่าย ก็สามารถใช้โปรแกรม Gimp
    การชมภาพยนตร์ ให้ดูตามโรงหนัง หรือรอให้เช่าดูทาง vcd
    เสื้อผ้า กระเป๋า นาฬิกา (สินค้าแฟชั่นทุกชนิด) ของแบรนด์เนมราคาแพงมาก ก็ให้ซื้อของแท้มือสอง เป็นต้น
    (เมื่อจะบริโภคอะไรก็ตาม ให้มีสติพิจารณาก่อนที่จะบริโภค หรือเสพสิ่งต่างๆ)

    อย่าดูหมิ่นกรรมชั่วว่านิดหน่อย
    อย่ามองข้ามสิ่งที่เป็นอกุศลเล็กน้อย
    เพราะจะเป็นการปูพื้นฐานในการสร้างอกุศลกรรมที่ใหญ่ๆขึ้นไป และเมื่ออกุศลเล็กน้อยสะสมไปเรื่อยๆก็จะเป็นขนาดใหญ่ขึ้นมาได้

    ดังที่พระศาสดาทรงตรัสไว้ว่า

    “อันภิกษุทั้งหลายทำอย่างนั้นย่อมไม่ควร, ขึ้นชื่อว่าบาปกรรม ใครๆไม่ควรดูหมิ่นว่า นิดหน่อย;
    เหมือนอย่างว่า ภาชนะที่เขาเปิดปากตั้งไว้กลางแจ้ง เมื่อฝนตกอยู่ ไม่เต็มได้ด้วยหยาดน้ำหยาดเดียวโดยแท้,
    ถึงกระนั้น เมื่อฝนตกอยู่บ่อยๆ ภาชนะนั้นย่อมเต็มได้แน่ ๆ ฉันใด.
    บุคคลผู้ทำบาปกรรมอยู่ ย่อมทำกองบาปให้ใหญ่โตขึ้นโดยลำดับได้อย่างแน่ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน "

    ดังนี้แล้ว.เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

    มาวมญฺเถ ปาปสฺส น มตฺต อาคมิสฺสติ
    อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
    อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถก โถกปิ อาจิน.

    " บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง
    แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด,
    ชนพาลเมื่อสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ ฉันนั้น. "

    (ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับ มหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ ๒๔)​



    .​
     

แชร์หน้านี้

Loading...