อยากเเบ่งปันค่ะ ตอนที่ 3 อานาปานสติ และ ภวังคจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หนูนะโม, 11 มกราคม 2015.

  1. หนูนะโม

    หนูนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2015
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +128
    จากการที่ได้ไปบวชชีพราหมณ์ที่วัดแห่งหนึ่งมา และได้มีโอกาสได้รับหนังสือเล่มหนึ่งมา เป็นหนังสือที่ส่วนตัวคิดว่าให้ความกระจ่างและชัดเจนเป็นอย่างมากสำหรับผู้เริ่มเจริญสมาธิและภาวนา จึงมีความคิดที่จะนำมาเผยแพร่แก่สมาชิกทุกท่านที่สนใจในแนวทางนี้ค่ะ


    ======================================================



    ชื่อหนังสือ สมาธิภาวนา กับ หลวงตามหาบัว


    จึงขอคัดลอกมา ซึ่งมีเนื้อความ ดังนี้ค่ะ......​



    คำนำ​


    หนังสือ "สมาธิภาวนากับหลวงตามหาบัว" นี้สำเร็จขึ้นมาด้วยความวิริยะอุตสาหะของเพื่อนสหธรรมิกหลายสิบท่าน ที่มาร่วมกันคัดเลือกธรรมโอวาทของหลวงตาเมื่อครั้งจัดทำหนังสือที่ระลึกงาน พระราชทานเพลิงสรีระสังขารของท่านจากธรรมโอวาทนับเป็นพันหน้า ถูกกลั่นกรองเพื่อเลือกเฟ้นเฉพาะที่ตอบโจทย์เรื่อง "วิธีการภาวนาและข้อพึงระวัง" เกิดผลพลอยได้เป็นหนังสือเล่มเล็กๆให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและนำมาปฎิบัติให้เป็นของจริง
    คณะผู้จัดทำขอขมาต่อองค์หลวงตาในความผิดพลาดบกพร่องที่อาจเกิดขึ้น และขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมดังกล่าว หวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากหนังสือนี้และนำไปสู่สิ่งที่ดีงามของชีวิตในที่สุด


    คณะผู้จัดทำ
    ๑๗ มกราคม ๒๕๕๖​



    ==============================================​



    อานาปานสติ​



    การกำหนดลมหายใจและฐานที่ตั้งของลมก็เหมือนกัน เมื่อกำหนดลมทีแรกได้กำหนดไว้ในที่เช่นไร เช่น กำหนดที่ดั้งจมูกเป็นต้น เวลาดูลมเพลินไปด้วยความสนใจอาจเกิดความสงสัยขึ้นมาในเวลานั้นได้ว่า ลมได้เคลื่อนจากดั้งจมูกไปอยู่ในฐานอื่น เป็นต้น แล้วตั้งลมที่ดั้งจมูกใหม่ดังนี้ เรียกว่า ก่อกวนตัวเองด้วยความสำคัญ จะไม่เกิดผลได้เลยเพราะความสงสัยมาแย่งเอาไปเสียหมด เพื่อความถูกต้องปละหายกังวลในฐานต่างๆ จึงควรปฎิบัติตามที่กล่าวมาในอาการอื่นๆ คือพึงทำความรู้ชัดในกองลมที่ผ่านเข้าผ่านออกด้วยสติทุกระยะไปปจนถึงที่สุดของลม แม้ฐานของลมจะปรากฎว่าสูงต่ำ หรือผิดฐานเดิมไปตามความเข้าใจก็ตาม จะไม่ทำให้การกำหนดนั้นเสียไปตามความเข้าใจก็ตาม จะไม่ทำให้การกำหนดนั้นเสียไปแม้แต่น้อยเลย ยิ่งทำให้จิตกับลมสนิทแนบต่อกันไปตลอดที่สุดของการภาวนาหรือที่สุดของลม


    ลมหายใจดับไปในความรู้สึกขณะภาวนาอานาปานสติในบางครั้ง ที่สุดของลมคือดับไป ที่สุดของใจคือรวมลงสนิท หมดความรับผิดชอบกับลม ตั้งอยู่เป็นเอกจิต คือ มีอารมณ์เดียว เพียงรู้อย่างเดียวไม่เกี่ยวกับสิ่งใดอีกต่อไป ที่เรียกว่า จิตรวมสนิททางสมาธิภาวนา แต่ผู้ภาวนาอานาปานสติ เมื่อเข้าถึงลมละเอียดและลมดับไปในความรู้สึกขณะนั้น เกิดตกใจด้วยความคิดหลอกตัวเองว่า "ลมดับต้องตาย" เพียงเท่านี้ลมก็กลับมีมาและกลายเป็นลมหยาบไปตามเดิม จิตก็หยาบ สุดท้ายการภาวนาก็ไม่ก้าวไปถึงไหน คงได้เพียงขั้นกลัวตายแล้วถอยจิตถอยลมขึ้นมาหาที่ตนเข้าใจว่าไม่ตายนี้เท่านั้น...


    ขณะเจริญอานาปานสติไปถึงลมละเอียดและลมดับไป ในความรู้สึกขณะนั้นโปรดทำความเข้าใจว่า แม้ลมจะดับไปจริงๆก็ตาม เมื่อความรู้สึกคือใจยังครองตัวอยู่ในร่างนี้ อย่างไรก็ไม่ตายแน่นอน ลมจะดับก็จงดับไป หรืออะไรๆ ในกายจะดับตามลมก็จงดับไปตามธรรมชาติของตน สำหรับใจผู้ไม่ดับไม่ตายไปกับสิ่งเหล่านั้น จะกำหนดดูให้รู้ทุกอย่าง บรรดาที่ผ่านเข้ามาในความรู้สึกขณะนี้ แต่จะไม่เป็นกังวลกัยอะไรที่เป็นสภาพเกิดๆ ดับๆ เพียงเท่านี้จิตจะตัดความกลัวและกังวลต่างๆ ที่เคยสั่งสมไว้ออกได้อย่างไม่คาดฝัน และสงบลงถึงฐานของสมาธิโดยไม่มีอะไรมากีดขวางได้เลย สิ่งที่เป็นอุปสรรคกีดขวางขณะลมจะดับหรือขณะลมดับไปก็มีเฉพาะความกลัวตายเท่านั้นเอง พอผ่านอุปสรรคนี้ไปได้ด้วยอุบายดังกล่าวเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ครั้งต่อไปความกลัวหายหน้าไปเลยไม่อาจกลับมาหลอกได้อีกเราจึงพอมองเห็นเล่ห์เหลี่ยมของกิเลสได้ชัดตอนนี้เล...



    ============================================​



    ภวังคจิต​



    คำว่า จิตตกภวังค์ บางท่านอาจไม่เข้าใจ จึงขออธิบายไว้บ้างเล็กน้อย คำว่า ภวังค์ แปลอย่างป่าๆ ตามนิสัยที่ถนัดใจ จึงขอแปลว่า องค์แห่งภพ หรือเรือนพักเรือนนอนของอวิชชามาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แสนกัปนับไม่ถ้วน คำว่า จิตตกภวังค์ คือ อวิชชารวมตัวเข้าไปอยู่ในที่แห่งเดียว ไม่ทำงานและไม่ใช้สมุนให้ออกเที่ยวล่าเมืองขึ้นตามสายต่างๆ นั่นแล ทางออกทางเข้าของสมุนอวิชชา คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เมืองขึ้นของอวิชชา คือรูปร้อยแปด เสียงร้อยแปด กลิ่นร้อยแปด รสร้อยแปด เครื่องสัมผัสร้อยแปด ซึ่งล้วนเป็นที่รักกชอบของอวิชชาทั้งสิ้น สมุนของอวิชชา คือราคะตัณหา โดยอาศัย สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เป็นเครื่องมือช่วยจัดการงานต่างๆ ให้เป็นไปตามความหวัง ขณะจิตตกภวังค์ด้วยกำลังของสมาธิ อวิชชาก็พักงานไปชั่วระยะหนึ่ง พอจิตถอนขึ้นมาก็เริ่มทำงานอีกตามหน้าที่ของตน แต่ไม่รุนแรวเหมือนที่ยังไม่ถูกหักแข้งหักขาจากสมาธิภาวนา ดังนั้น สมาธิภาวนาจึงเป็นเครื่องมือตัดกำลังของอวิชชาได้ดีเพื่อปัญญาจะได้ทำการกวาดล้างไปโดยลำดับจนไม่เหลืออวิชชาเหลืออยู่ภายในใจ


    คำว่าภวังคจิตนี้ เริ่มทราบได้จากการภาวนาเมื่อจิตรวมสงบตัวลงไป พอถอนออกเรียกว่าจิตออกจากภวังค์ และเริ่มยุ่งไปกับเรื่องร้อยแปดที่อวิชชาเป็นผู้บงการ ไม่มีวันสำเร็จเสร็จสิ้นลงไป... ผู้มีธรรมในใจเช่นผู้มีสมาธิปัญญาบ้าง จึงพอเห็นโทษของอวิชชาที่พาทำงานไม่หยุด ดังนั้น เมื่อจิตรวมลงสู่ภวังค์ที่เรียกว่าอวิชชาพักงานชั่วคราว จึงปรากฎมีความสุขสบายหายห่วงไปพักหนึ่ง ตอนที่จิตพักงานนี้แลที่พอเห็นโทษแห่งความหมุนของตนที่มีอวิชชาอยู่ฉากหลัง ซึ่งความหมุนนั้นผิดธรรมดาที่อยู่ในภวังค์มากมาย ขณะที่จิตถอนขึ้นมาใหม่ๆใจก็ยังมีความสงบเย็นอยู่ด้วยกำลังของสมาธิหล่อเลี้ยง จิตมีความสงบเพราะสมาธิมากเพียงไร ก็เห็นโทษแห่งความวุ่นวายของอวิชชาเป็นต้นเหตุมากเพียงนั้น ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฎิบัติจึงมักติดสมาธิจนไม่สนใจจะแก้ด้วยวิธีใดๆ เพราะเป็นความสงบเย็นมากพอให้ติดได้ สุดท้ายจิตกลับเห็นโทษแห่งความวุ่นวายเพราะอวิชชา แต่ก็ติดในสมาธิซึ่งเป็นบ้านพักเรือนนอนของอวิชชาจนได้ เพราะไม่มีทางออกซึ่งเห็นว่าดีกว่านี้ นี่แล ผู้ปฎิบัติจะเห็นคุณของสติปัญญาอย่างถึงใจ ก็มาเห็นตอนพยายามถอดถอนทำลายอวิชชานี่แล เพราะนอกจากสติกับปัญญาแล้ว ไม่มีเครื่องมือใดสามารถทำลายได้


    ภวังคจิตจะสูญสิ้นไปได้เมื่อไร ภวังคจิตไม่มีวันสูญสิ้นไปโดยลำพัง เพราะเป็นแหล่งสร้างภพสร้างชาติสร้างกิเลสตัณหามานาน และทางเดินขิงอวิชชาก็คือ การสร้างภพชาติบนหัวใจสัตว์โลกอยู่ต่อไป ไม่มีวันเกียจคร้านและอิ่มพอ ผู้ปฎิบัติถ้ายังรักสงวนภวังจิตและรักฐานแห่งสมาธิของตนอยู่ ไม่คิดหาหนทางขยับตัวเข้าสู่ปัญญาเพื่อสอดส่องดูอวิชชาที่เปรียบเหมือนนางบังเงาอยู่ในจิตหรือภวังคจิตในสมาธิ ก็เท่ากับ เป็นสมุนของภพชาติอยู่เรื่อยไปไม่มีวันพ้นไปได้ ถ้าต้องการหลุดพ้นก็ต้องสร้างสติปัญญาขึ้นกับใจจนคล่องแคล่วงแกล้วกล้าสามารถทำลายภวังคจิตอันเป็นตัวภพชาตินั้นเสีย ภวังคจิตก็สลายหายซากไปเอง ผู้จะทราบภวังคจิตได้ต้องเป็นผู้มีสมาธิอันมั่งคง และมีสติปัญญาอันแหลมหลัก เข้าเขตข่ายแห่งมหาสติมหาปัญญานั่นแล เป็นเครื่องสังหารทำลายภวังคจิตภวังคอวิชชา.....




    =========================================================​


    จึงขอสรุปวิธีการทั้งสองวิธีว่า​





    "ถ้าเห็นว่าการเดินจงกรมเหมาะกับนิสัย และได้รับความสงบหรือเกิดอุบายต่างๆขึ้นมากกว่าการวิธีการนั่งสมาธิก็ควรเดินมากกว่านั่ง แต่ไม่ควรปิดทางของการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถซึ่งเป็นความสำคัญสำหรับกายที่เป็นเครื่องมือทำงาน



    ที่อธิบายวิธีเดินจงกลมและนั่งสมาธิภาวนาที่ผ่านมานี้อธิบายเป็นกลางๆ นำไปปฎิบัติได้ทั้งพระและฆราวาส ส่วนผลคือความเป็นของจิตที่เกิดจากการเดินจงกรมหรือนั่งสมาธินั้น ส่วนใหญ่คือความสงบของจิต เวลาวมลไปถึงที่แล้ว จิตเป็นหนึ่งอารมณืเดียวกัน ส่วนย่อยที่อาจเป็นไปตามนิสัยนั้นผิดกัน ผู้ปฎิบัติจึงไม่ควรเป็นกังวลเมื่อได้ทราบจากเพื่อนฝูงเล่าให้ฟังว่า จิตเขาเป็นอย่างนั้น รู้อย่างนั้น เห็นอย่างนั้น และรู้เห็นนิมิตต่างๆ อย่างนั้น โปรดถือหลักใหญ่คือความสงบขณะที่จิตรวมลงเป็นหลักสำคัญนี้เป็นหลัก รับรองผลของสมาธิโดยทั่วไป ท่านที่มีความเพียรพยายามอยู่แล้ว ไม่นิยมว่า เป็นนักบวชหรือสาธุชนย่อมเห็นความอัศจรรย์ของจิตจากสมาธิภาวนาในวันหนึ่งแน่นอน....


    ครั้งหน้าจะมาต่อ เรื่อง การออกจากสมาธิภาวนา
    อนุโมทนาบุญกับผู้ที่นำไปปฎิบัติด้วยนะคะ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2015
  2. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    "ผู้ปฎิบัติถ้ายังรักสงวนภวังจิตและรักฐานแห่งสมาธิของตนอยู่ ไม่คิดหาหนทางขยับตัวเข้าสู่ปัญญาเพื่อสอดส่องดูอวิชชาที่เปรียบเหมือนนางบังเงาอยู่ในจิตหรือภวังคจิตในสมาธิ ก็เท่ากับ เป็นสมุนของภพชาติอยู่เรื่อยไปไม่มีวันพ้นไปได้"

    ขอถาม

    จากคำกล่าวข้างต้น นักถอดจิต หรือ นักส่งจิตออกนอก หรือ นักมโนยิทธิ ท่องนรกสวรรค์อนันตจักรวาล เป็นว่าเล่น จะสามารถวกกลับเข้าสู่ภายในดั่งคำกล่าวข้างต้นได้หรือไม่ หรือจะลำบากยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด?
     
  3. หนูนะโม

    หนูนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2015
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +128
    ก่อนอื่นขออธิบายก่อนนะคะว่า เจตนาของโพสนี้คือ นำธรรมะของครูบาอาจารย์มาเพียงแค่เผยแพร่แก่นักปฎิบัติอย่างเดียวค่ะ
    ส่วนตัวแล้ว อายุแค่ 21 ปีคะ ภูมิรู้ภูมิธรรมยังไม่มากพอคะ ต้องขออภัยด้วย


    แต่ถ้าเป็นความเห็นส่วนตัว (ไม่ทราบว่าถูกหรือผิด)คิดว่า
    ได้ค่ะ น่าจะต้องพิจารณาหลักไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ทุกสิ่งไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา..คิดว่าจุดประสงค์ของ การเจริญสมาธิ คือ มีสติรู้และดูอยู่ที่จิตใจ จิตรู้มันเป็นผลพลอยได้ แต่เราก็ไม่ควรยึด นึกถึงคำสอนหลวงปู่ดุลย์ที่ว่า สิ่งที่เห็นมันเห็นจริงแต่มันไม่จริง ค่ะ
    คิดว่าไม่ควรยึดติด ทางที่ดีมุ่งกำจัดกิเลสภายในใจจะดีกว่า ส่วนจะลำบากยากเย็นแสนเข็ญแค่ไหนไม่สามารถตอบได้คะ การตอบคำถามนี้ ตอบจากความรู้เพียงเล็กน้อยแต่สำหรับการปฎิบัตจริงนั้น ส่วนตัวก็เพิ่งเริ่มต้นค่ะ กิเลสยังคอยทิ่มแทงอยู่ทุกวัน ทำได้แค่พยายาม สะสม ทาน ศีล และภาวนาบ้าง แค่พยายามมีสติ รู้ทัน เท่านั้น
    ดังนั้นสู้ต่อไปคะ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น ^_^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2015
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,046
    บทความดีมากครับ..อืมมม ต้องปฏิบัติมาในระดับหนึ่งพอสมควรนะครับ
    ถึงจะอ่านและเข้าใจการถ่ายทอดบทความอย่างนี้ได้ครับ..
    ไม่ธรรมดานะครับสำหรับองค์ความรู้แบบนี้. ต้องอ่านดีๆนะครับจะเข้าใจได้..
     
  5. หนูนะโม

    หนูนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2015
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +128
    บทความที่โพสทั้งหมดคัดลอกมาจากหนังสือโดยไม่ได้ดัดแปลงใดๆ เป็นธรรมมะจากองค์หลวงตา (หลวงตามหาบัว) ทั้งสิ้นค่ะ จึงสุขใจที่ได้แบ่งปันคะ
    บางครั้ง เราติดขัดในการปฎิบัติ ไม่ทราบคำตอบว่าควรทำต่อไปอย่างไร
    แล้วเราบังเอิญ เจอหนังสือเล่มหนึ่งที่มันตอบโจทย์เราพอดี มันจะรู้สึกสุขใจมาก ที่ผ่านบทสอบสอบ ยกจิตเราให้ละเอียดอีกขั้น... ก็เลยคิดว่าถ้าบัญเอิญนักปฎิบัติท่านไหน ติดขัดอะไรอยู่แล้วบังเอิญได้อ่านโพสนี้แล้วสามารถตอบโจทย์ที่ติดค้างในใจได้ เช่นเดียวกัน ก็จะรู้สึกสุขใจมากค่ะในการเผยแพร่ธรรมะของครูอาจารย์ ูเพราะคิดว่าหนังสือเล่มนี้ เหมือนคีย์เวิร์ดสำคัญในการปฏิบัติ เป็นทางตรงมากๆแม้แต่คำพูดไม่กี่บรรทัด มันเปิดโลกแห่งความเป็นจริงได้มากมายคะ

    จะพยายามมาอัพเดทบทความให้เรื่อยๆคะ ^_^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2015
  6. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ.. ดีมากๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...