จิตไม่เที่ยง จิตเกิดดับ ใครว่า จิตเที่ยง จิตดับไม่มี นี่เป็นความเห็นผิด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้, 5 พฤศจิกายน 2014.

  1. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    จากหลักฐานทั้งในระดับ
    1. พระพุทวจนะ
    2. อรรถกถาจารย์
    3. ครูบาอาจารย์ร่วมสมัยที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

    ล้วนสอนตรงกันว่า จิตไม่เที่ยง จิตเกิดขึ้นและดับไป ตามเหตุปัจจัย

    1. พระพุทธวัจนะ

    พรหมชาลสูตร
    - สอนว่า ความเห็นผิด 62 ประเภทของพราหมณ์ หนึ่งในนั้นคือ
    กายไม่เที่ยง แต่จิตเที่ยง

    อัสสุตวตาสูตร

    - คนที่ไม่เคยฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า เห็นได้ว่า กายไม่เที่ยง แต่ไม่สามารถเห็นได้เลยว่าจิตไม่เที่ยง
    - เห็นกายเป็นตัวตนยังดีกว่า เห็นจิตเป็นตัวตน เพราะกายนั้นคงสภาพอยู่ได้หลายปี แต่ จิต มโน วิญญาณ นั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้นดวงหนึ่งดับไป
    ทั้งวันทั้งคืน






     
  2. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
  3. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
  4. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    หลักฐานจากพระอภิธรรม

    ในภพภูมิ 31
    จะมีอยู่ภพหนึ่งคือ อสัญญีสัตตา
    หรือ เรียกกันว่า พรหมลูกฟัก
    ซึ่งเกิดจากการทำฌาน 4 แต่เพ่งรูปจนนามธรรมดับ แล้วตายไปเกิดเป็นอสัญญีสัตว์ มีแต่รูปขันธ์เพียงขันธ์เดียว แต่นามขันธ์ที่เหลือ คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดับหมด

    ดังนั้นภพภูมินี้จึงไม่มีจิต เพราะดับการรับรู้ แต่ ภพนี้ก็ไม่เที่ยง เมื่อใดที่หมดกำลังจากฌานที่ข่มนามธรรมไว้ นามธรรมก็จะเกิดขึ้นมาอีก
    และกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก มีจิตขึ้นมาอีก

    ดังนั้นการบอกว่า จิตดับไม่มี นั้นเป็นการปฏิเสธคำสอนของพระพุทธเจ้า
    อย่างชัดเจน เพราะมีหลักฐานชัดเจน เช่น มีภพภูมิ พรหมลูกฟัก ที่จิตดับ เป็นต้น




    ที่มา
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2009/02/Y7510590/Y7510590.html
     
  5. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    ช่วยรักษาธรรมของแท้เอาไว้ อย่าให้ธรรมของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) มาทำลายให้หายไป

       [๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อ ใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=5846&Z=5888

    จิตเที่ยง จิตไม่เกิดดับ จิตดับไม่มี นี่เป็นสัทธรรมปฏิรูป(ธรรมปลอม)
     
  6. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ถ้าใจคุณเป็นธรรมแท้ คุณจะรักษาธรรมไว้ได้จริง

    แต่ถ้าใจปลอมๆ แม้ธรรมแท้ ก็เป็นธรรมปลอมๆ

    ผู้รักษาธรรมระดับโลกุตระไว้ได้จริง มีแต่คู่บุรุษ 4 คู่ เท่านั้น

    ดังโอวาทของหลวงปู่มั่น

     
  7. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    ธรรมะที่พระพุทธเจ้ากล่าวเป็นธรรมแท้
    เพราะพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ และเป็นต้นธารแห่งอรหันตสาวกทั้งปวง

    ดังนั้นถ้าขัดกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนย่อมเป็นสัทธรรมปฏิรูป

    พระพุทธเจ้าสอนว่า จิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    หากเห็นผิดว่า จิตเที่ยง ย่อม ค้านสุตตะ คือ ค้านพระพุทธเจ้า
     
  8. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    แต่หลวงปู่มั่นท่านก็พูดถูกเหมือนกัน

    "ครั้นสิงสถิตอยู่กับพระอริยเจ้าจึงเป็นของจริงตามส่วนแห่งธรรมและภูมิของผู้บรรลุ"

    คือ จริงตามส่วนแห่งภูมิของพระอริยเจ้าแต่ละท่าน

    ไม่มีสาวกท่านใดมีปัญญาเหนือกว่าพระสารีบุตร
    แม้พระสารีบุตรก็ไม่รู้เท่าพระพุทธเจ้า

    ดังนั้นพระอรหันต์แต่ละองค์ก็รู้ไม่เท่ากัน เพราะสั่งสมบารมีมาไม่เหมือนกัน
    แต่เหมือนกันที่ จิตบริสุทธ์จากกิเลส

    บางท่านแม้จะรู้ธรรม แต่อาจถ่ายทอดออกมาผิดได้เพราะไม่รู้ในศัพท์ที่จะสื่อสารดีพอ บางองค์รู้ธรรมและแตกฉานในปฏิสัมภิทาก็จะสอนถ่ายทอดได้ดีกว่า
     
  9. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
  10. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
  11. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    โพสต์ผิดกระทู้หรือเปล่า? สุรินทร์
     
  12. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    ลำดับชั้นของหลักฐานอ้างอิงนักปราชญ์ท่านว่าไว้ว่า
    1.พระพุทธพจน์ และ สาวกพจน์ในพระไตรปิฎก
    2. อรรถกถา
    3. ฎีกา
    4. อนุฎีกา
    5. อัตโนมัติ (รุ่นหลังจาก 1-4)

    อย่าเอาความเชื่อ ระดับอัตโนมัติ ไปหักล้างกับ พระพุทธพจน์
     
  13. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,429
    ค่าพลัง:
    +3,209
     
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    รูปฌานสี่ (หรือฌานห้าตามหลักอภิธรรม)
    นำพาไปเกิดเป็นรูปพรหม 16 ชั้น คือยังมีรูปอยู่(มีรูปมีจิต)
    ชั้นที่ 1-11 เป็นฝ่ายโลกียฌาน มีรูปมีจิต(ยกเว้นชั้น11 ไม่มีจิต)
    ชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ เป็นผู้ที่ได้ฌานสี่ แต่ดับนามขันธ์ลง คือจิตดับลงไปตามกำลังของฌาน มีรูปแต่ไม่มีจิต..
    ชั้นที่ 12-16 เป็นโลกุตตรฌาน เป็นอริยพรหม(พระอนาคามี)
    ชั้นที่ 17-20 เป็นอรูปพรหม ไม่มีรูปแต่มีจิต

    อสัญญีพรหมชั้น11 เมื่อวิญญาณดับ จึงไม่มีวิญญาณหก (จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ...ฯ..)
    ขาดการรับรู้ เหมือนหลับ จิตไม่ขึ้นวิถีรับรู้ใดๆจากรูป จนกว่ากำลังฌานจะหมดลง
    (เสวยอิริยาบถนั้นสถิตอยู่ตลอด ๕๐๐ กัป.)
    วิญญาณ(สัญญาเวทนาสังขาร)ก็จะเกิดขึ้นอีก ตามเหตุปัจจัยเก่าที่ยังรอวิบากอยู่

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 181
    ในคำนั้น ปัจจยาหาร ย่อมได้ในอสัญญีภพ. จริงอยู่เมื่อ
    พระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พวกที่บวชเป็นเดียรถีย์ทำบริกรรม
    ในวาโยกสิณ ยังจตุตถฌานให้เกิดขึ้นออกจากฌานนั้นแล้ว ก็เห็นว่า
    จิตนี้ เป็นของน่าติเตียนมาก ความไม่มีจิตเสียเลย เป็นการดี. เพราะ
    ทุกข์มีการฆ่าและจองจำเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจิต, เมื่อไม่มี
    จิตทุกข์นั้นก็ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นจึงเกิดความยินดีพอใจ ฌานไม่เสื่อม
    ทำกาละแล้วเกิดในอสัญญีภพ. ผู้ใดตั้งอยู่ในอิริยาบถใดในมนุษย์ ผู้นั้น
    ก็ย่อมเกิดด้วยอิริยาบถนั้นสถิตอยู่ตลอด ๕๐๐ กัป. เป็นเหมือนนอน นั่ง
    หรือยืนตลอดกาลยาวนานมีประมาณเพียงนั้น. ก็ปัจจยาหารย่อมได้แก่
    สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น. เพราะสัตว์เหล่านั้นเจริญฌานใดแล้วเกิด ฌาน
    นั้นก็เป็นปัจจัยแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เหมือนลูกศรที่ยิงไปด้วยกำลัง
    แห่งสายธนู กำลังสายธนูมีกำลังเพียงใด ก็ไปได้เพียงนั้น ฉันใด
    กำลังฌานปัจจัยมีประมาณเพียงใด ก็สถิตอยู่ได้เพียงนั้น ฉันนั้น.
    เมื่อกำลังฌานปัจจัยสิ้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็จุติ ดุจลูกศรที่มีกำลังสิ้น
    แล้วฉะนั้น.

    อสัญญสัตตาพรหม ๒ [ขุททกนิกาย]
    พรหม-อรูปพรหม
    �����š : ���紤������ �ҡ���ҹء�����
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2014
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อรรถกถาปฐมมหาปัญหาสูตรที่ ๗

    .....
    บทว่า อาหารฏฺฐิติกา ได้แก่ สัตว์ทั้งปวงชื่อว่าอาหารัฏฐิติกา เพราะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหาร.
    ธรรมอย่างหนึ่งชื่อว่าอาหาร เพราะเป็นเหตุตั้งอยู่แห่งสัตว์ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้. ในธรรมอย่างหนึ่งนั้น.

    ถามว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น คำใดตรัสว่า เทพอสัญญีสัตว์ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะเป็นต้น คำนั้นก็ผิดมิใช่หรือ.
    ตอบว่า ไม่ผิด. เพราะฌานของอสัญญีสัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็นอาหาร.

    ถามว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ แม้นี้ก็ผิดน่ะสิ.
    ตอบว่า ไม่ผิด. เพราะในพระสูตรนั้น ธรรมทั้งหลายที่มีลักษณะเป็นอาหาร ตรัสว่า อาหารโดยตรง. ส่วนในพระสูตรนี้ ปัจจัยทั้งหลายตรัสว่า อาหารโดยอ้อม.

    จริงอยู่ ปัจจัยแห่งธรรมทั้งหมดควรได้ชื่อว่าอาหาร ด้วยว่าปัจจัยนั้นยังผลใดๆ ให้เกิด ก็ชื่อว่าย่อมนำผลนั้นๆ มา เพราะฉะนั้น ปัจจัยท่านเรียกว่า อาหาร.
    ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าแม้อวิชชาก็มีอาหาร ไม่กล่าวว่าไม่มีอาหาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่า นิวรณ์ ๕. ในพระสูตรนี้ ทรงประสงค์เอาปัจจยาหารนี้. ก็เมื่อทรงถือเอาปัจจยาหารอย่างหนึ่งแล้ว ทั้งอาหารโดยอ้อม ทั้งอาหารโดยตรง ก็เป็นอันทรงถือเอาทั้งหมดเลย. ในอสัญญีภพนั้นก็ย่อมได้ปัจจยาหาร.

    เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ สัตว์ทั้งหลายบวชในลัทธิเดียรถีย์ ทำบริกรรมในวาโยกสิณ ทำฌานให้บังเกิด ออกจากฌานนั้นแล้ว เกิดชอบใจ พอใจว่า จิตนี้หนอ ไม่มีจิตเสียได้น่าจะดี เพราะอาศัยจิต จึงเกิดทุกข์มีการฆ่า การจองจำเป็นต้นเป็นปัจจัย เมื่อไม่มีจิต ทุกข์นั้นก็ไม่มี ดังนี้ แล้วยังไม่เสื่อมฌาน ทำกาละ [ตาย] ก็บังเกิดในอสัญญีภพ. อิริยาบถใดอันผู้ใดตั้งไว้แล้วในมนุษยโลก ผู้นั้นบังเกิดตามอิริยาบถนั้น เป็นเสมือนรูปจิตรกรรมตั้งอยู่ ๕๐๐ กัปเป็นเหมือนนอนนานถึงเพียงนี้ฉะนั้น. เหล่าสัตว์เห็นปานนี้ก็ได้ปัจจัยเป็นอาหาร.
    จริงอยู่ สัตว์เหล่านั้นเจริญฌานใดๆ เกิดแล้ว ฌานนั้นนั่นแหละเป็นปัจจัยของสัตว์เหล่านั้น. ลูกศรที่ยิงไป เพราะแรงเร็วแห่งสายตราบใด แรงเร็วแห่งสายยังมีอยู่ ลูกศรมียังแล่ไปได้ตราบนั้นฉันใด ตราบใดที่ปัจจัยแห่งฌานยังมีอยู่ ตราบนั้นสัตว์ทั้งหลายก็ตั้งอยู่ได้ฉันนั้น เมื่อปัจจัยแห่งฌานนั้นจบสิ้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็ตกไป [คือต้องจุติไป] เหมือนลูกศรที่สิ้นแรงเร็วฉะนั้น.

    ถามว่า สัตว์นรกเหล่าใด ท่านกล่าวว่า มิใช่อาศัยผลแห่งความหมั่นเป็นอยู่ มิใช่อาศัยผลแห่งบุญเป็นอยู่ สัตว์นรกเหล่านั้นมีอะไรเป็นอาหาร.
    ตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้นมีกรรมอย่างเดียวเป็นอาหาร.
    ถามว่า อาหารมี ๕ หรือ.
    ตอบว่า ไม่ควรพูดว่าอาหารมี ๕ อาหารมีไม่ถึง ๕.
    ถามว่า ปัจจัยเป็นอาหารมิใช่หรือ.
    ตอบว่า ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า เพราะฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายบังเกิดในนรกเพราะกรรมใด กรรมนั้นนั่นแหละเป็นอาหาร เพราะเป็นปัจจัยแห่งการตั้งอยู่ได้แห่งสัตว์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านหมายเอากรรมใดจึงกล่าวคำนี้ สัตว์นรกจะยังไม่ทำกาละ ตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น. แม้ปรารภกฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ก็ไม่ควรขัดแย้งกันในเรื่องอาหารนี้.
    ความจริง แม้น้ำลายที่เกิดขึ้นในปาก ก็สำเร็จกิจเป็นอาหารสำหรับสัตว์เหล่านั้น. ด้วยว่า น้ำลายก็เป็นทุกขเวทนียปัจจัย ปัจจัยที่ให้เสวยทุกข์ในนรก เป็นสุขเวทนียปัจจัย ปัจจัยที่ให้เสวยสุขในสวรรค์. ด้วยเหตุนี้ ในกามภพจึงมีอาหาร ๔ โดยตรง,
    ในบรรดารูปภพและอรูปภพ เว้นอสัญญาภพ อาหาร ๓ ย่อมมีแก่พรหมที่เหลือ,
    ปัจจยาหารย่อมมีแก่อสัญญสัตว์และสัตว์ที่เหลือ เพราะเหตุนั้น จึงควรทราบว่า สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร โดยอำนาจสัจจะ ๔ อย่างนี้ว่า
    อาหาร ๔ หรือปัจจยาหารอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกขสัจ.
    ตัณหาก่อนๆ ซึ่งมีอาหารเป็นสมุฏฐาน เป็นสมุทัยสัจ.
    ความไม่เป็นไปแห่งสัจจะทั้ง ๒ เป็นนิโรธสัจ.
    ปัญญาที่รอบรู้นิโรธสัจ เป็นมรรคสัจ.

    ��ö��� �ѧ�ص�ùԡ�� �ʡ�Ժҵ ����ѳ��ʡ� �����ä��� � �. ��һѭ���ٵ÷�� � ˹�ҵ�ҧ��� � �� �
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2014
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อาหาร 4
    (สภาพที่นำมาซึ่งผลโดยความเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย, เครื่องค้ำจุนชีวิต, สิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดกำลังเจริญเติบโตและวิวัฒน์ได้ - nutriment)
    1. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว ได้แก่ อาหารสามัญที่กลืนกินดูดซึมเข้าไป หล่อเลี้ยงร่างกาย - material food; physical nutriment) เมื่อกำหนดรู้กวฬิงการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ราคะที่เกิดจากเบญจกามคุณได้ด้วย
    2. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ ได้แก่ การบรรจบแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา พร้อมทั้งเจตสิกทั้งหลายที่จะเกิดตามมา - nutriment consisting of contact; contact as nutriment) เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้เวทนา 3 ได้ด้วย
    3. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา ได้แก่ ความจงใจ เป็นปัจจัยแห่งการทำ พูด คิด ซึ่งเรียกว่ากรรม เป็นตัวชักนำมาซึ่งภพ คือ ให้เกิดปฏิสนธิในภพทั้งหลาย - nutriment consisting of mental volition; mental choice as nutriment) เมื่อกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ตัณหา 3 ได้ด้วย.
    4. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ ได้แก่ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป - nutriment consisting of consciousness; consciousness as nutriment) เมื่อกำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้วก็เป็นอันกำหนดรู้นามรูปได้ด้วย.

    ���ҹء���ط���ʵ�� ��Ѻ�����Ÿ���
     
  17. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    เมื่อดับการรับรู้แล้ว ก็ไม่สามารถรับรู้ได้ว่า อะไรมีอยู่อะไรดับไป
    อุปมาคล้ายๆ (ไม่เหมือนเป๊ะๆ) กับคนที่สลบย่อมไม่รับรู้อะไรได้

    ในสภาวะอสัญญีสัตตาก็เช่นกัน ไม่รับรู้อะไร
    แต่เมื่อหมดกำลังฌานที่ข่มไว้ จิตก็จะกลับมาอีก ทำให้รู้สึกตัวขึ้นมา แล้วก็เคลื่อนจากภพของอสัญญีสัตว์ ทันที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2014
  18. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    ขออนุโมทานาสาธุในธรรมทานของ ท่านปุณฑ์ มา ณ ที่นี้
     
  19. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,429
    ค่าพลัง:
    +3,209


    ขอโทษนะคะ มีสภาพประมาณว่า สลบ ถ้าเปรียแล้ว คล้ายคนหลับ

    คือ มืด ไม่รู้อะไรเลยหรือคะ

    ถ้ามีองค์ฌานเป็นอาหาร ผู้ที่ได้ฌานต้องสว่างแบบรู้อยู่ อย่างน้อย

    มีเอกัตคตารมณ์ หรือ มีอารมณ์เดียว เป็นอาหาร

    ถ้าดับการรับรู้ หรือ อายตนะดับ หมดการรับรู้

    แล้วอะไรเป็นเครื่องรู้ขององค์ฌานละคะ

    ถามแบบทื่อ ๆ เลยละคะ
     
  20. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    องค์ฌาน 4 คืออุเบกขา.และเอกคัตตา

    ถ้ารู้ถึงแสงนั้นเป็นอาการของปีตีก็ได้

    ถ้าใช้อาโลกกสิน แสงก็จะเป็นตัว วิตก วิจาร

    แสดงว่ายังไม่ถึงฌานที่ 4 (ตามนัยของพระสูตร)
    ก็แสดงว่าไม่ใช่พรหมลูกฟัก เพราะพรหมลูกฟักต้องฌาน 4

    ในปฏิสัมภิทามรรค อรรถกถาจารย์ท่านอธิบายดีแล้วว่า

    เปรียบเหมือนกับยิงธนู เมื่อธนูกำลังพุ่งไปในอากาศ ก็ยังไม่ตกลงพื้นทันที และยังเคลื่อนที่ต่อไปได้ด้วยแรงเฉื่อย (inertia force) แม้จะปราศจากแรงที่ยิงจากคันธนูแล้วก็ตาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2014

แชร์หน้านี้

Loading...