สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • hqdefault.jpg
      hqdefault.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16.2 KB
      เปิดดู:
      1,209
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 ตุลาคม 2014
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 ตามแนววิชชาธรรมกาย

    1. เหตุผลที่บุคคลควรเจริญพรหมวิหาร 4





    [​IMG]





    การเจริญพรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตาพรหมวิหาร คือ การคิดให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วกันหมด กรุณาพรหมวิหาร คือปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงที่เป็นทุกข์อยู่ ให้พ้นจากทุกข์ทั้งสิ้น มุทิตาพรหมวิหาร คือปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงที่ได้สุขสมบัติหรือคุณสมบัติแล้ว จงดำรงอยู่ในสุขสมบัติหรือคุณสมบัติของตน อย่าได้พลัดพรากจากสุขสมบัติหรือคุณสมบัติที่ตนได้แล้ว และ อุเบกขาพรหมวิหาร มีความเพิกเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ในสัตว์ทั้งหลายที่ได้สุขหรือได้ทุกข์

    ในการดำเนินชีวิตประจำวัน หากบุคคลใดมีพรหมวิหารธรรมเป็นคุณธรรมประจำตนแล้ว ก็นับว่าผู้นั้นมีคุณธรรมของ "ผู้ใหญ่" หรือ "ผู้ปกครอง" อย่างสมบูรณ์ จะเป็นผู้นำชุมชนใด ก็จะเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรหรือเป็นที่พึ่งที่อาศัยของผู้น้อยหรือผู้อยู่ใต้ความปกครองได้เป็นอย่างดี

    อนึ่ง พรหมวิหาร 4 นั้น เป็นคุณธรรมที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายพึงเจริญ ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า หมู่สัตว์หรือปุถุชนผู้ที่ยังมากด้วยกิเลสหยาบ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หรือ กิเลสกลางๆ คือ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น มักต้องเวียนอยู่ในไตรวัฏ คือ กิเลสวัฏ ความมีกิเลสดังกล่าว แล้วก็ กรรมวัฏ คือมีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม อันมีลักษณะที่เป็นความผูกโกรธ พยาบาท จองเวร เบียดเบียน ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน เพราะความหลงผิด ยึดมั่น ถือมั่น เห็นแก่ตัวตน และพวกพ้อง หมู่เหล่า เป็นการสร้างภพ สร้างชาติ อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์แก่ตนเองเป็นทับทวี เรียกว่า วิปากวัฏ ยากแก่การปฏิบัติธรรมโดยมัชฌิมาปฏิปทา คือ ศีล สมาธิและปัญญา อันเป็นเครื่องช่วยให้พ้นทุกข์เป็นการถาวรได้

    พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนผู้ใคร่จะพ้นทุกข์ ประกอบจิตใจของตนให้อยู่ในพรหมวิหารธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาพรหมวิหารนี้ เพื่อให้จิตใจสงบระงับจากอุปกิเลสหรือนิวรณธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่องขวางกั้นการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ให้บรรเทาเบาบางหรือหมดสิ้นไป ก็จะสามารถเปิดทางให้แก่สาธุชนผู้เจริญพรหมวิหารธรรมนั้น สามารถเห็นอรรถเห็นธรรมได้ตามความเป็นจริง เมื่อปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมเจริญขึ้น ก็สามารถจะปหานกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายให้หมดสิ้นไปได้เป็นลำดับ

    นอกจากนี้ พระอริยบุคคลผู้ที่จะบรรลุอรหัตตผล ตัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิงก็ดี, ที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ดี จักต้องเจริญพรหมวิหารธรรมนี้ จนเมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี ซึ่งเป็น 2 ประการในบารมีสิบทัศ สูงถึงขั้น อุปบารมี และ ปรมัตถบารมี ได้เต็มส่วน จึงจะบรรลุอรหัตตผล หรือตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้

    พรหมวิหารธรรม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปฏิบัติธรรมจักต้องเจริญอยู่เสมอ เพื่อให้จิตใจปลอดจากนิวรณธรรม อุปมาดั่งการใช้ "ด่าง" เป็น "กลาง" ไม่เป็นโทษหรือเป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองหรือผู้อื่นอีกต่อไปนั่นเอง

    เมื่อท่านทั้งหลายเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเจริญพรหมวิหารธรรมดังนี้แล้ว จงตั้งใจศึกษาวิธีการเจริญพรหมวิหารธรรม ทั้งในทางอรรถและโดยธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ และหมั่นเจริญอยู่เสมอ

    การเจริญเมตตาพรหมวิหารนั้น เริ่มแรก สาธุชนพึงพิจารณาเหตุผลให้เข้าใจเสียก่อนว่า เมตตาพรหมวิหารนี้เป็นธรรมคู่แข่งหรือธรรมที่จะใช้ระงับกิเลสประเภทใด นี้ข้อหนึ่ง, โทษของการมีกิเลสประเภทที่ว่านั้นมีอย่างไรบ้าง หรือร้ายแรงเพียงใด นี้ข้อหนึ่ง, คุณค่าของการข่มหรืออดกลั้นต่อกิเลสประเภทนี้ ข้อหนึ่ง, กับ ความสันติสุขอันเกิดแต่ความปลอดภัยจากกิเลสที่ว่านี้อันตนได้รับอยู่ นี้อีกข้อหนึ่ง จึงจะมีความรู้สึกปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่นได้รับความสุขเช่นที่ตนเองได้รับด้วยอย่างได้ผลสมบูรณ์

    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว จึงจะนับว่าเป็นผู้มีเมตตาธรรมอย่างแท้จริง และสามารถจะแผ่เมตตาพรหมวิหารนี้ไปยังผู้อื่นและสัตว์อื่นได้อย่างเป็นผล ไม่ใช่สักแต่ว่าท่องจำคำแผ่เมตตาได้ แล้วก็ว่าออกไปๆ โดยที่จิตใจของตนเองยังแข็งกระด้างอยู่ด้วยกิเลสประเภทหยาบๆ หรืออย่างกลางอันหนาแน่น แกะไม่ออก การแผ่เมตตานั้นก็ได้ผลน้อย

    ลักษณะของกิเลสอันเป็นคู่แข่งของเมตตาพรหมวิหาร หรือที่จะต้องได้รับการปราบด้วยพรหมวิหารธรรมนั้น คือ โทสะ เป็นกิเลสตระกูลใหญ่ ซึ่งมีลักษณะรุ่มร้อนประดุจไฟที่สามารถจะเผาผลาญสิ่งต่างๆ ให้พินาศลงได้

    กิเลสตระกูลโทสะนี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่ความไม่พอใจในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า อรติ ความไม่พอใจ นี้ หากไม่ระงับลงแล้ว ก็จะกลายเป็นความขัดเคืองใจ ที่เรียกว่า ปฏิฆะ คืออาการของจิตที่เก็บอารมณ์นั้นไว้ กรุ่นอยู่ ไม่อาจลืมได้ หากไม่ระงับก็จะกำเริบขึ้น กลายเป็นความเดือดดาล หรือที่เรียกว่า ความโกรธ หรือ โกธะ นั่นเอง ทีนี้ หากไม่ระงับก็จะกำเริบมากขึ้นอีก กลายเป็นความคิดประทุษร้ายด้วยกาย วาจา และใจ เรียกว่า โทสะ หากโทสะนี้ไม่ระงับลงอีก ก็จะกำเริบเสิบสาน กลายเป็นความ พยาบาท หรือความผูกใจเจ็บแค้น คือคิดหาทางที่จะแก้แค้นหรือมุ่งร้ายเขาต่อไป เมื่อได้แก้แค้นแล้วความโกรธก็หายไป แต่บางรายยังไม่หาย ไม่ระงับ กลับผูกใจเจ็บที่จะจองล้างจองผลาญต่อๆ ไปอีก ก็เรียกว่า ผูกเวร นี่แหละร้ายนัก เพราะจะเป็นเหตุให้เกิดโทษทุกข์ต่อๆ กันไป ไม่สิ้นสุด

    พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนหมั่นประกอบจิตใจของตนเองให้อยู่ใน "ขันติธรรม" และ "พรหมวิหารธรรม" อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมตตาพรหมวิหารนี้ เพื่อให้สามารถข่มโทสะให้คลายลง และให้สามารถอดกลั้นต่ออนิฏฐารมณ์ ไม่เบียดเบียนหรือเป็นโทษภัยแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น

    สาธุชนจึงพึงต้องพิจารณาให้เห็นโทษภัยของกิเลสตระกูลโทสะนี้อยู่เสมอ แล้วเพียรพยายามระงับด้วยเมตตาพรหมวิหาร และกำจัดให้หมดเด็ดขาดได้ด้วยปัญญา ถ้าหากสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมและประเทศชาตินี้ มีความอดกลั้น คือขันติต่ออารมณ์ที่ขัดเคืองซึ่งกันและกัน อภัยให้ซึ่งกันและกัน ไม่คิด ไม่พูด หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการประทุษร้ายต่อกัน และไม่จองเวรซึ่งกันและกันแล้ว ตนเองและสังคม ประเทศชาติ ก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ไม่เดือดร้อนวุ่นวาย ดังที่ได้ยินได้ฟังข่าวร้ายๆ อยู่เสมอ เช่นในปัจจุบันนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    2. วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 โดยทั่วไป และอานิสงส์


    ก) วิธีเจริญเมตตาพรหมวิหาร

    คำว่า "เมตตา" นี้หมายถึงความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข

    การเจริญเมตตาพรหมวิหาร หรือในกรณีเจริญภาวนา บางทีก็เรียกว่า การแผ่เมตตานั้น จะได้ผลเพียงใดย่อมขึ้นอยู่ที่วิธีการปฏิบัติภาวนาและความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ ของผู้เจริญภาวนา วิธีปฏิบัติภาวนาเจริญเมตตาพรหมวิหารที่จะให้ได้ผลดีนั้น มีดังต่อไปนี้

    ก่อนอื่นให้พิจารณาโทษของโทสะ และคุณของความอดกลั้นต่อโทสะกิเลส แล้วจึงตั้งตนเองเป็นพยานไว้ก่อนว่า ตนเองประสงค์แต่ความสงบสุข ความร่มเย็น เกลียดชังความทุกข์อันเนื่องแต่ความเบียดเบียนหรือประทุษร้ายจากผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการประทุษร้ายต่อร่างกาย ต่อทรัพย์สิน หรือต่อชื่อเสียงเกียรติคุณความดีด้วยประการต่างๆ ฉันใด สรรพสัตว์หรือบุคคลอื่นทั้งหลายก็รักความสันติสุข และไม่ประสงค์ความทุกข์ ฉันนั้นเหมือนกัน

    เมื่อเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นดังนี้จากใจจริงแล้ว ก็อธิษฐานตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกาย ก่อนหรือหลังจากการเจริญภาวนาธรรม หรือในขณะใดๆ ก็ตาม แผ่ความปรารถนานั้นไปยังมนุษย์หรือสรรพสัตว์อื่น เริ่มตั้งแต่ผู้ที่ตนรักเสียก่อน เมื่อจิตใจอ่อนโยน แผ่เมตตาพรหมวิหารหรือความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนรักมีความสุขอย่างเต็มใจแล้ว จึงค่อยตั้งความปรารถนานั้นแผ่ไปยังบุคคลหรือสัตว์ที่ตนรู้สึกเฉยๆ คือไม่รักไม่ชัง เมื่อจิตใจอ่อนโยน แผ่ความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนก็มิได้รักมิได้ชังจนเปี่ยมใจแล้ว ก็จึงตั้งความปรารถนานั้นแผ่ไปยังบุคคลหรือสัตว์ที่ตนเกลียดชัง จนจิตใจอ่อนโยน แผ่ความปรารถนาที่จะให้เขามีความสุขจนเปี่ยมใจแล้ว จึงตั้งความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่มีเวรต่อกันเป็นสุขปราศจากทุกข์ภัย อีกต่อไป จงแผ่ความเมตตานี้ไปยังบุคคลหรือสรรพสัตว์เหล่านี้ให้เปี่ยมใจหมดตลอดทั้งสี่ 4 เหล่า ฝึกเจริญภาวนาบ่อยๆ เข้าก็จะค่อยๆ ชำนาญไปเอง จิตใจก็จะมีแต่เมตตาธรรม พร้อมที่จะให้อภัยแก่ผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่ผูกโกรธหรือผูกเวรอันเป็นการสร้างภพสร้างชาติต่อไปอีก

    สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาจนถึงธรรมกายหรือได้ดวงปฐมมรรคแล้ว เมื่อตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกายแผ่เมตตาธรรมนั้น ดวงธรรมของทุกกายก็จะใสสะอาดขึ้น และแผ่ขยายกว้างออกไปยิ่งขึ้น หากธรรมแก่กล้าสามารถเจริญเมตตาภาวนาในระดับฌานได้ ข่ายของญาณพระธรรมกายก็จะขยายออกไปได้จนสุดภพ และขยายออกไปอย่างกว้างขวางตลอดทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ การเจริญเมตตาภาวนาก็ยิ่งจะเป็นผลมาก แล้วให้ผู้ปฏิบัติจงหมั่นพิจารณาเหตุสังเกตที่ผลของการเจริญภาวนาอยู่เสมอ ก็จะได้ทราบผลด้วยตนเอง

    อนึ่ง การเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ ไม่เฉพาะแต่จะปฏิบัติอย่างเป็นทางการก่อนหรือหลังจากการเจริญภาวนาเท่านั้น หากแต่พึงกระทำทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นขณะเดิน ยืน นั่ง หรือ นอน กล่าวคือ

    เมื่อใดที่ตนเองประสบหรือได้รับความสันติสุข ไม่ว่าจะเป็นความสุขทางโลกิยะหรือโลกุตตระ ย่อมปีติยินดีในความสุขนั้นเพียงใด ก็จงตั้งความปรารถนาแผ่ความสุขนั้นไปยังผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่น ให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น จงประสบหรือได้รับความสุขเช่นที่ตนได้รับอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน

    เมื่อใดที่ตนเองประสบหรือได้รับความทุกข์หรือภัยต่างๆ เราไม่ชอบและไม่ปรารถนาความทุกข์หรือภัยพิบัติเหล่านั้นฉันใด ผู้อื่นก็ย่อมไม่ปรารถนา ฉันนั้น ก็จงตั้งความปรารถนาแผ่ความเมตตาไปยังบุคคลอื่นหรือสรรพสัตว์อื่น ขออย่าได้ประสบกับทุกข์ภัย การเบียดเบียนหรือจองเวรซึ่งกันและกัน และอย่าได้ลำบากกายลำบากใจเลย ขอจงให้มีแต่ความสุขกายสุขใจ และรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายเถิด

    จงแผ่ความปรารถนาดี ด้วยจิตใจอันอ่อนโยน เปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหารนี้ ไปยังมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายหมดทั้ง 4 เหล่า คือ ทั้งผู้ที่ตนรักหรือเคารพนับถือ ผู้ที่ตนมิได้รักมิได้ชัง ผู้ที่ตนเองเคยเกลียดชัง และผู้ที่เคยมีเวรต่อกัน พยายามแผ่ให้กว้างออกไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ มีทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม และสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ตลอดทั่วทั้งภพและจนหมดทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ แล้วท่านก็จะทราบผลจากการปฏิบัตินี้ด้วยตนเอง

    และใคร่จะขอแนะนำว่า การแผ่เมตตาพรหมวิหารนี้ทุกครั้งให้อธิษฐานตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อยู่เสมอ เพราะศูนย์กลางกายนี้ตรงกัน อยู่ในแนวเดียวกันกับโอกาสโลก (โลกคือแผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลก มีมนุษย์โลกเป็นต้น) สังขารโลก (โลกคือสังขาร) สัตว์โลก (โลกคือหมู่สัตว์ทั้งหลาย มีมนุษย์ เทพยดา รูปพรหม อรูปพรหม และสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น) อายตนะนิพพาน (ที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุที่ดับขันธ์แล้ว) ภพ 3 (กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) และอายตนะโลกันต์ ทั้งของจักรวาลนี้และจักรวาลอื่นทั้งหมด จึงเป็นผลมาก คือมีอานิสงส์และอานุภาพมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว จะสามารถเจริญเมตตาภาวนาได้ผลดีมาก เพราะใจตั้งมั่นอยู่ ณ ศูนย์กลางกายดีแล้ว ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกาย หากปฏิบัติดังกล่าวนี้เนืองๆ ก็จะช่วยให้สมาธิตั้งมั่นได้เร็วขึ้น เป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ตามลำดับ เพราะเมตตาภาวนานี้ เป็นเครื่องชำระนิวรณธรรมคือ โทสะและพยาบาทให้ระงับลง จิตใจก็อ่อนโยน สามารถที่จะรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวได้ง่าย

    การเจริญเมตตาภาวนานี้ มีอานิสงส์มาก ดังพระพุทธดำรัส ซึ่งแสดงไว้ว่า มีมากกว่าอานิสงส์ของการสมาทานศีล 5 ศีล 8 และไตรสรณคมน์ หรือการสร้างวิหารถวายแก่สงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง 4 หรือการถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเสียอีก (อํ.นวก.23/224/480) นับได้ว่ามีอานิสงส์เป็นที่สองรองจากการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานทีเดียว

    คุณค่าของการเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ เท่าที่เห็นๆ คือว่า หากมนุษย์ซึ่งเป็นแต่ละหน่วยของสังคมและประเทศชาติ มีเมตตาพรหมวิหารต่อกันมากเพียงใด มนุษย์ก็จะยิ่งมีแต่ความสันติสุขและร่มเย็นเพียงนั้น นอกจากนี้ การเจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ ยังเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติได้รับผลดีในการดำเนินชีวิตอีกมาก จะหลับอยู่ก็เป็นสุข จะตื่นอยู่ก็เป็นสุข เพราะไม่มีเวรภัยกับผู้ใด จึงไม่ต้องวิตกกังวลใดๆ ทั้งสิ้น จะฝันก็เป็นมงคล ย่อมเป็นที่รักใคร่ ยินดี ของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย มีทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมเป็นต้น ปลอดจากอัคคีภัย ภัยจากยาพิษ หรือสัตว์ที่มีพิษทั้งหลาย ศัสตราวุธต่างๆ ย่อมไม่อาจประทุษร้าย หรือทำอันตรายแก่กายและชีวิตได้ สีหน้าย่อมผ่องใส เมื่อจะตาย ย่อมได้สติ ไม่หลงตาย หากยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล เมื่อละโลกไปแล้ว ย่อมไปสู่สุคติภพ มีโลกมนุษย์หรือเทวโลกเป็นต้น และหากยังไม่เสื่อมจากฌาน ย่อมไปบังเกิดในพรหมโลกดังพระพุทธดำรัสที่ทรงแสดงไว้ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 ประการ 11 ประการเป็นไฉน ? คือ ย่อมหลับเป็นสุข 1 ย่อมตื่นเป็นสุข 1 ย่อมไม่ฝันลามก 1 ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย 1 ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย 1 เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา 1 ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ย่อมไม่กล้ำกรายได้ 1 จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว 1 สีหน้าย่อมผ่องใส 1 เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ 1 เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก 1

    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 ประการนี้แล." (อํ.เอกาทสก.24/222/370-371)

    ข) วิธีเจริญกรุณาพรหมวิหาร

    ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์ ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ให้พิจารณาถึงความทุกข์ โศกหรือโรคภัยที่ตนเองหรือผู้อื่นได้รับอยู่ก็ดี หรือแม้แต่ภัยในวัฏฏะ ได้แก่ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ ที่เห็นมีอยู่ในสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล นิพพานก็ดี เราก็ตั้งตนไว้เป็นพยานว่า เราปรารถนาที่จะพ้นทุกข์และภัยเช่นนั้น ก็ขอให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่นทั้งหลายซึ่งเป็นที่รัก ที่ไม่รักไม่ชัง ที่เคยชัง และที่เคยมีเวรต่อกัน ขอให้เขาเหล่านั้นจงพ้นจากความทุกข์ โศก โรค และเวรภัย ตลอดทั้งภัยจากวัฏฏะเสียทั้งสิ้น โดยตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งความปรารถนาดังกล่าวลงไป ณ ศูนย์กลางกายนั่นไว้เสมอ สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาจนถึงธรรมกายแล้ว และได้เจริญภาวนาจนปัญญาเจริญขึ้น จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น อริยสัจ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ เพียงใด ก็จะยิ่งเจริญเมตตาและกรุณาภาวนานี้ได้ผลมากและลึกซึ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเพียงนั้น

    ค) วิธีเจริญมุทิตาพรหมวิหาร

    ให้พิจารณาถึงสุขสมบัติและคุณสมบัติ ทั้งในระดับโลกิยสมบัติและโลกุตตรสมบัติ ตนไม่ประสงค์จะพลัดพรากจากสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้นเพียงใด และปรารถนาที่จะให้เจริญรุ่งเรืองในสุขสมบัติและคุณสมบัติ ตั้งแต่โลกิยสมบัติไปจนถึงโลกุตตรสมบัติยิ่งๆ ขึ้นไป จนตราบเท่าบรรลุมรรค ผล นิพพาน เพียงใด ก็ตั้งความปรารถนานั้น แผ่มุทิตาจิตไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลาย จงดำรงอยู่ในสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น อย่าได้พลัดพรากจากสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น และขอจงให้มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองต่อๆ ไปจากโลกิยสมบัติไปจนถึงโลกุตตรสมบัติ ดังเช่นที่ตนเองปรารถนาเช่นเดียวกันด้วยกันหมดทั้งสิ้น

    ง) วิธีเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร

    เมื่อตั้งความปรารถนา แผ่เมตตา กรุณา และมุทิตา อันได้แก่ ความปรารถนาที่จะให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเป็นสุข และอย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้น ขอจงปราศจากทุกข์ โศก และโรคภัย และขอจงรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายแล้ว ก็พิจารณาต่อไปอีกว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย ผู้ประกอบกรรมอันใดไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ย่อมต้องได้รับผลกรรมนั้นเอง เมื่อพิจารณาเห็นความจริงตามกฎแห่งกรรมดังนี้แล้ว จิตใจที่เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา และมุทิตา แต่ยังต้องกระเพื่อมฟุ้งอยู่ ด้วยความรู้สึกสงสารผู้อื่นหรือสัตว์อื่นที่กำลังได้รับความทุกข์เดือดร้อนอยู่ ซึ่งตนหมดหนทางที่จะช่วยเหลือได้อีกต่อไปแล้วก็ดี หรือความกระเพื่อมฟุ้งเพราะความยินดีอย่างมากที่เห็นผู้อื่นได้ดีมีสุขก็ดี จะค่อยๆ ระงับลงด้วยปัญญาหยั่งรู้ในกฎแห่งกรรมตามธรรมชาติ จิตใจก็จะมัธยัสถ์ เป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในความทุกข์และความสุข ของทั้งตนเองและผู้อื่น นี้เรียกว่าการเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร

    จะขอเน้นว่า เพื่อให้การเจริญพรหมวิหารธรรมนี้เป็นผลดียิ่งขึ้น เริ่มแรกให้พิจารณาโทษของโทสะ และคุณของความอดกลั้นจากโทสะเสียก่อน แล้วให้ตั้งตนเองเป็นพยานไว้ก่อนว่า ตนปรารถนาแต่ความสุข ไม่ปรารถนาความทุกข์เพียงใด ผู้อื่นก็ปรารถนาเช่นเดียวกันกับตนทั้งสิ้น ในการพิจารณาและตั้งความปรารถนาไปยังผู้อื่นนั้น สำหรับผู้ที่ยังจิตใจอันแข็งกระด้างอยู่ ให้เริ่มตั้งความปรารถนาแผ่พรหมวิหารไปยังผู้ที่ตนรักเสียก่อน เมื่อจิตใจอ่อนโยนดีแล้ว จึงค่อยตั้งความปรารถนาไปยังผู้ที่ตนชัง เมื่อจิตใจอ่อนโยนดีแล้ว ก็จงตั้งความปรารถนา แผ่พรหมวิหารธรรมนี้ไปยังผู้ที่มีเวรต่อกัน ให้จิตใจอ่อนโยนดีกับบุคคลและสัตว์ทุกหมู่เหล่า จึงจะได้ผลดี

    มีข้อสังเกตว่า หากชำนาญมากเข้า ก็สามารถเจริญภาวนาได้รวดเร็ว ความรู้สึกในบุคคลหรือสัตว์ที่รัก ที่ชัง หรือที่มีเวรต่อกัน ก็จะจางลง ความรู้สึกดังกล่าวยิ่งจางลงได้มากเพียงใด ย่อมแสดงว่าการเจริญพรหมวิหารธรรมได้ผลดีมากขึ้นเพียงนั้น ระดับสมาธิก็จะดีขึ้น จิตใจก็จะสามารถตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่ายกว่าเดิม นิวรณธรรมก็จะพลอยลดน้อยลง ระดับสติปัญญาและภูมิธรรมก็จะยิ่งสูงขึ้นตามลำดับ

    กล่าวโดยสรุป อานิสงส์ของการเจริญพรหมวิหารธรรมนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่ามีอานิสงส์สูงเป็นที่สองรองจากการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานทีเดียว (อํ.นวก.23/224/480) ทั้งนี้ก็เพราะการเจริญพรหมวิหารธรรมนั้น จุดมุ่งหมายเบื้องต้นก็เพื่อจะให้สัตว์ทั้งหลายอยู่ร่วมกันโดยสันติสุข ไม่เบียดเบียน โกรธพยาบาทจองเวร หรืออิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน ให้มีความรักใคร่ ปรองดอง เอื้ออารี เผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และให้รู้จักสงบจิตใจ ไม่ยินดียินร้ายเมื่อผู้อื่นถึงซึ่งความวิบัติ

    จุดมุ่งหมายเบื้องสูงยิ่งขึ้นไปอีก ก็เพื่อให้ผู้เจริญพรหมวิหารธรรมได้บำเพ็ญเมตตาและอุเบกขาบารมีให้เต็มส่วน ถึงอุปบารมีและปรมัตถบารมี ที่จะสามารถช่วยให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้จิตใจของผู้เจริญคุณธรรมนี้ สงบระงับจากกิเลสนิวรณ์ธรรมข้อพยาบาท และระงับความคิดที่ฟุ้งซ่านต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ คุณธรรมข้อนี้ยังเป็นเครื่องกำจัดกิเลสคือความริษยาและความผูกโกรธ หรือพยาบาทจองเวรได้ดีอีกด้วย

    จิตใจที่สงบระงับจากนิวรณธรรมนั้น ย่อมสามารถรับการฝึกหัดให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิที่แนบแน่น มั่นคงได้ง่าย จึงเป็นพื้นฐานสำคัญแก่งานวิปัสสนา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง และรู้แจ้งในอริยสัจทั้ง 4 อันเป็นทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาได้สะดวก

    เมตตา กรุณา มุทิตา พรหมวิหารนั้น มีอานิสงส์แก่ผู้เจริญให้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิให้สำเร็จขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และถึงอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นต้นของปฐมฌาน และให้สามารถพัฒนาต่อไป ถึงทุติยฌาน และตติยฌาน ได้ตามลำดับ ส่วนอุเบกขาพรหมวิหารนั้น มีอานุภาพให้ผู้เจริญ ได้ถึงจตุตถฌาน โดยจตุกนัย หรือถึงปัญจมฌาน โดยปัญจกนัยทีเดียว

    ผู้ทรงพรหมวิหารธรรมนั้น อาจแยกพิจารณาได้เป็น 3 ระดับกล่าวคือ

    พรหมโดยสมมติ หนึ่ง กล่าวโดยทางปริยัติ ก็ได้แก่ บิดา มารดา ผู้เป็นพรหมของบุตร เป็นต้น แต่ในทางธรรมปฏิบัตินั้น ได้แก่ มนุษย์ มนุษย์ละเอียด, ทิพย์ และทิพย์ละเอียด ซึ่งทรงพรหมวิหารธรรม
    พรหมโดยอุบัติ หนึ่ง กล่าวโดยทางปริยัติ ก็หมายเอาผู้ที่ได้กำเนิดหรือถือคติเป็นพรหมในพรหมโลก ด้วยพรหมธรรมและผลจากการเจริญภาวนาสมาธิ โดยที่ก่อนตาย จิตยังไม่เสื่อมจากฌานในระดับใดระดับหนึ่ง ในทางปฏิบัติ ได้แก่ รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด ซึ่งอยู่ในท่ามกลางทิพย์และมนุษย์, กับอรูปพรหมหยาบ และอรูปพรหมละเอียด ซึ่งอยู่ในท่ามกลางของพรหม อันเป็นผลจากการเจริญพรหมวิหารและภาวนาสมาธิ อีกนัยหนึ่ง สามารถจะเข้าถึงได้โดยทางธรรมปฏิบัติในปัจจุบันชาติ
    พรหมโดยวิสุทธิ อีกหนึ่ง ในทางปริยัติ หมายเอาพระอริยเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันตปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกพระพุทธเจ้า ซึ่งสะอาดบริสุทธิ์จากอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน เครื่องเศร้าหมองทั้งปวงแล้ว ส่วนในทางธรรมปฏิบัติ ก็ได้แก่ ธรรมกาย ที่บรรลุมรรค ผล นิพพานแล้ว ซึ่งอยู่ในท่ามกลางของกายโลกิยะทั้ง 8 กายข้างต้น เป็นกายในกายที่ละเอียดที่สุด อยู่ในศูนย์กลางกายมนุษย์นั่นเอง เพราะกายนี้เป็นกายที่สะอาดบริสุทธิ์และทรงพรหมวิหารธรรมอย่างยิ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเพียงชั่วขณะที่จิตใจของผู้ปฏิบัติธรรมใสสะอาด บริสุทธิ์ หยุดนิ่ง แล้วเข้าถึงได้ หรือเป็นกายธรรมพระอรหัตที่ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว ดังพระพุทธดำรัสว่า "วาเสฏฐะและภารัทวาชะ คำว่าธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของตถาคต." (ที.ปา.11/55/92)
    นี่ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้เจริญหรือผู้ทรงพรหมวิหารธรรมนั้นยังแตกต่างกันด้วยภูมิธรรม และภูมิปัญญาของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการแผ่พรหมวิหารก็ย่อมจะมีอานุภาพที่ไม่เท่ากัน ด้วยประการฉะนี้ เป็นต้นว่า พระนิพพานคือพระธรรมกายที่ได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ย่อมทรงพรหมวิหารธรรม และแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายได้อย่างกว้างขวางสุดประมาณ และมีอานุภาพสูงที่สุดยิ่งกว่าธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล

    และส่วนธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล หากแต่ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว ก็ย่อมทรงพรหมวิหารและแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสัตว์ทั้งหลาย ได้ดีกว่าผู้ที่ยังเป็นแต่เพียงโคตรภูบุคคลอยู่

    ธรรมกายที่ยังมิได้บรรลุมรรคผลในขั้นใดเลย หากแต่ได้พยายามเจริญภาวนาพิจารณาให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งในสัจจธรรมตามสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้มีความเข้าใจในทุกข์, ในเหตุแห่งทุกข์ ที่เรียกว่า สมุทัย, ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า นิโรธ, และในหนทางปฏิบัติเพื่อความดับเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่า มรรคมีองค์ 8 ได้แจ่มแจ้งเพียงใด ก็ย่อมจะเจริญและทรงพรหมวิหารได้มาก และสามารถแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายได้มากเพียงนั้น

    ด้วยเหตุนี้ การเจริญและแผ่พรหมวิหาร ในขณะที่จิตทรงสมาธิและได้เจริญปัญญาภายหลังจากการพิจารณาอริยสัจแล้ว จึงมีอานุภาพมากคือมีผลต่อผู้อื่นมาก และมีอานิสงส์ต่อผู้เจริญภาวนาเองมาก
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    3. วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 ระดับฌาน



    ลำดับนี้จะแนะนำวิธีการเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌานแก่ผู้ที่ถึงธรรมกาย ซึ่งได้ฝึกหัดเจริญฌานสมาบัติแล้วต่อไป ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกายก็ให้น้อมใจตามไปได้ แต่ขอให้รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย ตรงกลางที่หมายจุดเล็กใสนั่นไว้เสมอ ก็จะได้ผลดีกว่าการเพียงแต่สวดบทแผ่พรหมวิหาร โดยที่ใจมิได้รวมหยุดเป็นสมาธิถูกศูนย์ถูกส่วน ณ ที่ศูนย์กลางกาย

    จึงขอให้ทุกท่านจงตั้งใจเจริญภาวนา แผ่พรหมวิหารธรรมต่อไป

    ผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกาย ก็ให้พยายามรวมใจหยุดในหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย ตรงที่หมายจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม หรือตรงกลางเครื่องหมายที่นึกให้เห็นด้วยใจ เป็นดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปเกตุดอกบัวตูม ขาวใสบริสุทธิ์ ณ ศูนย์กลางกายนั้นแหละ พยายามนึกให้เห็นใสละเอียด ทำจิตใจให้สว่างดุจกลางวัน แล้วก็คอยน้อมใจตามคำแนะนำต่อไป

    ส่วนผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้รวมใจหยุดในหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด  แล้วพิสดารกาย เจริญฌานสมาบัติ พร้อมกันหมดทุกกายสุดกายหยาบ กายละเอียด ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต โดยอนุโลมและปฏิโลมหลายๆ เที่ยว เพื่อชำระธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ให้ใสละเอียด บริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ เที่ยวสุดท้ายให้เจริญฌานสมาบัติโดยอนุโลม เพียงรูปฌาน 4 พิจารณาสัจจะทั้ง 4 ในกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม และธรรมกายทำนิโรธดับสมุทัย โดยพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัต ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จนเป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ใสบริสุทธิ์

    แล้วน้อมเอาภพ 3 เข้ามาเป็นกสิณ คือเอามาตั้งไว้ตรงศูนย์กลางกาย ให้ใจของธรรมกายเพ่งลงไปที่ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็จะมีองค์ฌาน (เหมือนแผ่นกระจกใส) ปรากฏขึ้นรองรับหมดทุกกาย ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต ให้ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็นปฐมฌาน แล้วก็ขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนเต็มจักรวาล ให้ข่ายของญาณหว่านล้อมธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ เข้ามารวมที่ศูนย์กลางกายทั้งหมด ให้อายตนะภายใน ที่ตั้งความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้, ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้, ธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด ธาตุรู้ ของทุกกายตรงกันกับของเราหมด แล้วเพ่งพิจารณาโทษของการขาดเมตตาพรหมวิหารและคุณของเมตตาพรหมวิหารว่า ตัวเราเองปรารถนาในสุขสมบัติและคุณสมบัติ, มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลาย ก็มีความปรารถนาในความสุขเช่นนั้นเหมือนกัน ตัวเราเองไม่ปรารถนาความทุกข์เดือดร้อน จากการเบียดเบียนหรือเวรภัยใดๆ ผู้อื่นก็ไม่ปรารถนาความทุกข์เดือดร้อนเช่นกัน เมื่อจิตใจเปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหาร คือความรัก ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ที่จะให้อยู่ดีมีสุขด้วยกันแล้ว ก็แผ่ฌานและเมตตาพรหมวิหาร ด้วยจิตใจที่ละเอียดอ่อน บริสุทธิ์ สมบูรณ์ บริบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัตินั้น จากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเรา ไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลายให้หมดทั่วทั้งจักรวาล ให้ใสละเอียดหมด

    แล้วพิสดารกายทิพย์ในกายทิพย์ ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ในทิพย์ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายทิพย์ในทิพย์ก็ปรากฏขึ้นใหม่ ใจของกายธรรมก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง ศูนย์กลางกายทิพย์ในทิพย์ จนใสละเอียดหมดทุกกายถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต จนละวิตกวิจารได้ คงแต่ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็จะเห็นองค์ฌานใหม่ปรากฏขึ้นรองรับทุกกาย นี้เป็นทุติยฌาน ก็ให้ข่ายของญาณพระธรรมกายขยายกว้างออกไปจนเต็มจักรวาลอีก หว่านล้อมเอาธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลายให้มารวมอยู่ที่ศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดอีก แล้วเพ่งพิจารณาโทษของการขาดกรุณาธรรมและคุณของกรุณาพรหมวิหารว่า เราประจักษ์ในทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งของตัวเราเองด้วย ว่าเป็นเพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาครอบคลุมจิตใจอยู่ จึงเกิดกิเลส ตัณหา อุปาทานในสังขารธรรมทั้งหลาย จึงเป็นทุกข์ ด้วยความเกิด แก่ เจ็บ และตาย, เป็นทุกข์เพราะความที่ต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก และต้องประสบเข้ากับสิ่งที่ตนเกลียดชัง, เป็นทุกข์ด้วยความไม่สมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนาจะได้ จะมี จะเป็น, หรือเป็นทุกข์ที่ต้องได้รับผลจากอกุศลกรรม ได้แก่ เหตุวิบัติ บาปศักดิ์สิทธิ์ ภัยพิบัติ ภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ รวมทั้งการได้กำเนิดทุคคติ เช่น เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น และแม้แต่จะกำลังได้เสวยผลจากกุศลกรรม ตราบใดที่ยังไม่พ้นจากไตรวัฏฏะ คือ กิเลสวัฏฏะ กรรมวัฏฏะ และ วิปากวัฏฏะ แล้ว ก็ไม่วายที่จะต้องเสื่อมจากความสุขและสมบัติที่เคยได้รับ

    ตนเองปรารถนาที่จะพ้นจากทุกข์เหล่านั้นเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลายก็ย่อมปรารถนาที่จะพ้นทุกข์ภัยเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อจิตละเอียดอ่อน เปี่ยมด้วยกรุณาพรหมวิหาร คือความสงสาร ปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายรวมทั้งตัวเราเองด้วยได้พ้นทุกข์เหล่านี้ไปเสีย ดังนี้แล้ว ก็แผ่ฌานและกรุณาพรหมวิหารจากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเราเอง ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ขอให้ได้รู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์ ในเหตุแห่งทุกข์ แล้วก็ไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต เร่งประกอบความเพียรเพื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์นั้น กระทำนิโรธให้แจ้ง และเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลายด้วยปัญญาอันเห็นชอบเถิด ให้แผ่ฌานและกรุณาพรหมวิหารด้วยจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์และละเอียดอ่อนนั้นไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ใสละเอียดหมดทั่วทั้งจักรวาล

    แล้วพิสดารกายรูปพรหมในรูปพรหม ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหม พอใจหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายรูปพรหมในรูปพรหมปรากฏขึ้นใหม่ ใจของธรรมกายก็หยุดในหยุดกลางของหยุด กลางของกลางศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหม ในรูปพรหม จนใสละเอียดหมดทุกกาย ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัตจนละปีติได้ คงแต่สุขกับเอกัคคตา ก็จะปรากฏองค์ฌานใหม่บังเกิดขึ้นรองรับทุกกาย ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็น ตติยฌาน แล้วขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนเต็มจักรวาล หว่านล้อมเอาธาตุธรรมสรรพสัตว์ทั้งหลายมายังศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดอีก แล้วพิจารณาโทษของการขาดมุทิตา และคุณของการมีมุทิตาพรหมวิหารว่า เราปรารถนาที่จะไม่เสื่อมจากสุขสมบัติและคุณสมบัติอย่างไร และปรารถนาในความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น จากผลของทาน ศีล ภาวนา ขึ้นไปเป็นผลของ ศีล สมาธิ และปัญญา, อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา, ปฐมมรรค มรรคจิต และมรรคปัญญา, ธรรมโคตรภู, พระโสดาปัตติมรรค, โสดาปัตติผล, พระสกิทาคามิมรรค พระสกิทาคามิผล, พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล ยิ่งๆ ขึ้นไปเป็น พระอรหัตมรรค พระอรหัตตผล หรือถึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลายก็ย่อมปรารถนาในสุขสมบัติและคุณสมบัติเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อเพ่งพิจารณาจนจิตละเอียดอ่อนเปี่ยมด้วยมุทิตาพรหมวิหารแล้ว ก็แผ่ฌานและมุทิตาพรหมวิหารด้วยจิตใจที่ใสละเอียดบริสุทธิ์ จากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเราไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลาย ให้ใสละเอียดไปทั้งหมด

    แล้วพิสดารกายอรูปพรหมในอรูปพรหมต่อไป ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมในอรูปพรหม พอหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายอรูปพรหมในอรูปพรหม ก็ปรากฏขึ้นใหม่ ใจของธรรมกายก็หยุดนิ่งกลางของกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมในอรูปพรหม ใสละเอียดหมดทุกกายถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต จนสุขหมดไป คงแต่เอกัคคตา ก็จะเห็นองค์ฌานใหม่เกิดขึ้นรองรับทุกกาย เพ่งให้ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็น จตุตถฌาน แล้วก็ขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนสุดจักรวาล หว่านล้อมเอาธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลายเข้ามารวมที่ศูนย์กลางกายสุดละเอียดต่อไปอีก พิจารณาโทษของการขาดอุเบกขาพรหมวิหาร และคุณของการมีอุเบกขาพรหมวิหารว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีกรรมเป็นของตนเอง เป็นทายาทของกรรม เป็นผู้รับผลกรรมเอง เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย ผู้ใดทำกรรมอันใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น เมื่อเพ่งพิจารณาจนจิตละเอียดอ่อน เปี่ยมด้วยอุเบกขาพรหมวิหารแล้ว ก็แผ่ฌานและอุเบกขาพรหมวิหารนั้นไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ใสละเอียดทั่วกันหมดทั้งจักรวาล

    นี้เป็นวิธีเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌาน เป็นการเจริญภาวนาที่มีผลมากแก่ผู้อื่น และมีอานิสงส์มากแก่ผู้เจริญภาวนา แม้ผู้เจริญภาวนาที่มีสมาธิในระดับที่ต่ำอยู่ ก็สามารถน้อมใจเจริญภาวนาตามนี้ได้ แต่ต้องรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่ศูนย์กลางกาย ตรงกลางที่หมายจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม หรือตรงกลางนิมิตที่ตรึกนึกให้เห็นด้วยใจ เป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูมก็ได้ แล้วพยายามเพ่งพิจารณาตรงศูนย์กลางนิมิตนั้น ทำจิตใจให้สว่างดุจกลางวัน นึกให้เห็นนิมิตนั้นใสละเอียด แล้วก็แผ่ความใสละเอียดนั้นไปให้กว้างที่สุด เท่าที่จะกระทำได้ อย่างนี้ก็เป็นผลมาก และมีอานิสงส์มากยิ่งกว่าการสักแต่กล่าวคำแผ่พรหมวิหารออกไป โดยที่ส่งใจไปจรดที่อื่นมากมายนัก

    การเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌานนี้ มีอานิสงส์และอานุภาพมาก เมื่อกระทำจนชำนาญมากเข้า ก็จะสามารถแผ่พรหมวิหารนี้ไปยังสรรพสัตว์ในจักรวาลอื่น โดยอธิษฐานจิตซ้อนเข้ามาในลักษณะเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว ให้ศูนย์กลางตรงกันหมด ทับทวีทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณทีเดียว
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    อริยทรัพย์

    [​IMG]



    25 พฤศจิกายน 2497





    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา
    สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ
    สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ
    อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ
    ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ
    อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงในอริยทรัพย์ ซึ่งมีมาตามวาระพระบาลีในอริยธนคาถา จะคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย กว่าจะยุติกาลลงโดยสมควรแก่เวลา จึงได้เริ่มต้นแห่งอริยธนคาถานี้ว่า  ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา ความเชื่อของ บุคคลใดไม่กลับกลอก ตั้งมั่นในพระตถาคตเจ้า สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ ศีลของบุคคลใดดีงาม อันเป็นที่ใคร่ของพระอริยเจ้า อันพระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเชื่อในพระสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใด อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นของ บุคคลใดเป็นธรรมชาติตรง อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่าหาใช่คน จนไม่ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ความเป็นอยู่ของบุคคลนั้นไม่เปล่าปราศจากประโยชน์ ได้ประโยชน์ ทีเดียว เพราะเหตุนั้น เมื่อบุคคลผู้มีปัญญามาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ควรประกอบความเชื่อ ประกอบศีล ประกอบความเลื่อมใส ประกอบความเห็นธรรมไว้ เนืองๆ นี่เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามได้ความเพียงเท่านี้

    ต่อจากนี้จะได้อรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป ว่าความเชื่อของบุคคลใด ไม่หวั่นไหวตั้งมั่นอยู่แล้วในพระตถาคตเจ้า ข้อนี้ สทฺธา แปลว่าความเชื่อ ยสฺส ของบุคคลใด อจลา ไม่กลับกลอก สุปติฏฺฐิตา ตั้งมั่นอยู่แล้ว ตถาคเต ในพระตถาคตเจ้า แกะเอาเนื้อ ความของพระบาลีถูกถ้วน ทุกอักขระทุกอักษรไม่คลาดเคลื่อน ว่าความเชื่อของบุคคลใด ไม่กลับกลอก ตั้งอยู่ดีแล้ว ตั้งอยู่แล้ว เอาดีออกเสีย ตั้งอยู่แล้วในพระตถาคตเจ้า หรือตั้งมั่น แล้วในพระตถาคตเจ้านี้ ให้ดีหนักขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็เพลาไป ตั้งมั่นแล้ว ความเชื่อของบุคคลใด ไม่กลับกลอก ตั้งมั่นแล้วในพระตถาคตเจ้า นี่แน่นหนาดี แปลอย่างนี้ แน่นหนาดี เชื่ออย่างไร ในพระตถาคตเจ้า ไม่กลับกลอกและตั้งมั่นในพระตถาคตเจ้า จะเป็นคนเช่นไร

    อันนี้ไม่ใช่อื่นไกลละ นั่นคือพระพุทธ ในอรรถกถาธรรมบทปรากฏอยู่ สุปปพุทธกุฏฐิ เชื่อในพระพุทธ เชื่อในพระธรรม เชื่อในพระสงฆ์ เชื่อเสียจริง ไม่ได้กลับกลอกละ ไม่ได้ ง่อนแง่นคลอนแคลนล่ะ เรื่องนี้ทราบไปถึงพระอินทร์ พระอินทร์ เออ! เราจะไปทดลองดูทีว่า แกจะเชื่อแค่ไหน มั่นในพระตถาคตเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์เช่นไร พระอินทร์ก็เปลี่ยน แปลงเพศ จำแลงแปลงกายทีเดียว เหมือนคนธรรมดาเดินสวนทางกันมา เดินสวนทางก็ได้ พูดจากับท่านสุปปพุทธะ คนโรคเรื้อนเทียวนะ ขอทานเขานะมาเลี้ยงชีพได้ มีหรือจนนะ ขอทานเขา คนโรคเรื้อน เออ! ท่านสุปปพุทธะ เขาว่าท่านมั่นคงแน่นอนนัก ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ท่านบัดนี้ก็เป็นคนไม่สมบูรณ์บริบูรณ์อยู่ ท่านจะพูดได้ไหมว่า นั่นไม่ใช่ พระพุทธ นั่นไม่ใช่พระธรรม นั่นไม่ใช่พระสงฆ์ เราจะให้สมบัติท่านพอเลี้ยงชีพตลอดชาติ ไม่ต้องทุกข์ยากลำบากต่อไปนะ ท่านสุปปพุทธะก็ถามว่าท่านนะเป็นใครล่ะ พระอินทร์แปลง ก็บอกว่าเราเป็นพระอินทร์ ไหนเป็นพระอินทร์ลองเหาะขึ้นไปในอากาศดูซิ เปลี่ยนเพศเป็น พระอินทร์ทันที เหาะไปในอากาศต่อหน้านั่นแหละ เอาจริงกันอย่างนี้ สุปปพุทธะบอกว่า ถึง ท่านเป็นพระอินทร์อย่าเข้าใกล้เราเลย พระอินทร์พาลๆ อย่างนี้ เราไม่อยากคบค้าสมาคม ด้วยแล้ว ไปเสียเถอะ อย่าให้เรากลับถ้อยคำว่า นั่นไม่ใช่พระพุทธ นั่นไม่ใช่พระธรรม นั่น ไม่ใช่พระสงฆ์ ว่าไม่ได้ ว่าได้แต่ว่า นั่นพระพุทธเจ้า นั่นพระธรรม นั่นพระสงฆ์ นั่นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ คลาดเคลื่อนไปไม่ได้ทีเดียว ท่านมั่นคงอย่างนี้ บัดนี้พวกเราที่รู้จักแล้ว ว่านั่นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ยังรู้จักแต่เนมิตตกนามว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เท่านั้น ไม่แน่นอนหรอกตรงนั้น ถ้าจะให้กลับกล่าวเสียใหม่เถอะว่า นั่นไม่ใช่พระพุทธ นั่นไม่ใช่พระ ธรรม นั่นไม่ใช่พระสงฆ์ ถ้าไม่รู้จริงรู้แท้ พระพุทธเจ้ารูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร พระธรรม รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร พระสงฆ์รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร พอให้กล่าวอย่างนี้เถอะ จะให้เงินเลี้ยงชาติหนึ่ง ก็จะรับเงินเท่านั้น เพราะไม่รู้จักเห็นจริง ผู้มีธรรมกายละก้อ เห็นได้ แม้จะให้เงินเลี้ยงชีพตลอดชาติ ก็เห็นจะไม่รับล่ะ ว่านั่นไม่ใช่พระพุทธรัตนะ นั่นไม่ใช่ ธรรมรัตนะ นั่นไม่ใช่สังฆรัตนะ ไม่ใช่ที่พึ่งของท่านหรอก ผู้ไม่รู้ไม่เห็นก็อาจจะเหลวไหลไปได้ เหลวไหลเช่นนั้นเรียกว่าไม่แน่ ผู้มีธรรมกายมั่นคงแล้ว ไม่กลับกลอก ไม่เหลวไหล เหมือน สุปปพุทธะทีเดียว แน่นอนหละดังนี้ ให้รู้จักหลักดังนี้นะ

    มาวัดตัวของเราว่าเชื่อในพระตถาคตเจ้าจริงไหม ตถาคตเจ้านั่นคือธรรมกาย บาลีได้ สำทับไว้ว่า ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราตถาคต คือ ธรรมกาย ธรรมกายคือตัวพระตถาคตเจ้า ทีเดียว ให้เชื่อมั่นคงลงไปดังนี้ อย่าให้กลับกลอกออกไป ให้แน่นอนทีเดียว สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ ศีลของผู้ใดอันเป็นที่ใคร่ของพระอริยเจ้า อันพระอริยเจ้าสรรเสริญ แล้ว ศีลอันดีงามเป็นอย่างไร ศีลอะไรที่ดีงาม ศีล 5 ก็ดีงาม บริสุทธิ์จริง ศีล 8 ก็ดีงาม ให้บริสุทธิ์จริงๆ อย่าเอาเท็จเข้ามาแทรก อย่าเอาความเศร้าหมองขุ่นมัว เข้ามาแทรก ศีล 10 ถ้าดีจริง บริสุทธิ์ตามศีลที่จริง ศีล 227 ก็ดีจริง บริสุทธิ์ตามศีลที่จริง ศีลในพระ วินัยปิฎกเป็น อปริยันตสีล มีมากน้อยเท่าใด ศีลนั่นแหละเป็นศีลดีจริงทั้งนั้น ศีลดีจริงก็จักได้ ชื่อว่าเป็นศีลตามปริยัติ ยังหาใช่ศีลตามปฏิบัติไม่ ศีลจริงๆ เป็นศีลอะไร ศีลในทางปริยัติ ไม่ใช่ศีลทางปฏิบัติ ศีลในทางปริยัติก็ดีจริงตามศีลปริยัติ ศีลในทางปฏิบัติก็ดีจริงในทางศีล ปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นปกติธรรมดากาย วาจา ตลอดถึงใจ เป็นอัพโพหาริก เป็นเนื้อหนังเดียวกัน ไปที่เดียวกัน จนกระทั่งถึงเจตนา ใจก็เป็นเนื้อหนังเดียวกันกับศีลทีเดียว นี่เป็นศีลตามปริยัติ

    ก็ศีลตามปฏิบัติ ให้เห็นศีล ศีลอยู่ไหน ศีลที่เห็นต้องทำสมาธิให้เป็นขึ้น ให้เข้าถึง ธรรมกาย ถึงจะเห็น ศีลตามส่วนศีลโลกีย์ กายมนุษย์ที่เป็นโลกีย์นี่ก็เห็น พอเป็นเข้าแล้ว กายมนุษย์ละเอียดเห็น กายทิพย์ก็เห็น กายทิพย์ละเอียดก็เห็น กายรูปพรหมเห็น กายรูปพรหมละเอียดเห็น กายอรูปพรหมเห็น กายอรูปพรหมละเอียดเห็น หากว่าเห็นศีล เป็นโคตรภู แปดกายไม่เห็น กายธรรมเห็น กายธรรมละเอียดเห็น นี้ศีลเป็นโคตรภู เห็น เป็นดวงใสขนาดดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่ในกลางดวงนั้น เห็นจริงๆ จังๆ ชัดๆ นั้น ศีลเห็นนั้นเรียกว่าอธิศีล เมื่อเข้าถึงอธิศีล ในกลางดวงอธิศีลนั้นมีดวงอธิจิต เมื่อเข้าถึงอธิจิต ในกลางดวงอธิจิต มี ดวงอธิปัญญา เท่ากัน มีศีล สมาธิ ปัญญาอย่างนี้ มีศีล ศีลอย่างนี้ได้ชื่อว่าศีลเห็น ปรากฏ อย่างนี้ เอาตัวรอดได้ พ้นจากทุกข์ได้ เพราะว่าเห็นศีลเข้าเท่านั้น ศีลนั่นแหละเป็นทางมรรค ผล ทีเดียว พระอริยเจ้าเดินไปตามศีลที่เห็นนั้น ไม่ใช่ไปทางศีลที่รู้ แต่ว่าทางเดียวกันนั่นแหละ ศีลที่รู้หยาบกว่า ศีลที่เห็นละเอียดกว่า ล้ำกว่ามาก เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ นั่นแหละที่เห็น เป็นปรากฏ ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า

    สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ ศีลของบุคคลใดดีงาม เป็นที่ใคร่ของพระอริยเจ้า เป็นที่พระ อริยเจ้าสรรเสริญแล้ว นี่ศีลดีงามอย่างนี้ เมื่อเชื่อในพระตถาคตเจ้าดังนี้แล้ว ศีลอันดีงามนี้ เป็นศีลไม่ใช่ธรรม แต่ว่าท่านจัดเข้าในพวกธรรมด้วยเหมือนกัน อยู่ในหมวดธรรม แต่ว่าเกิด ในธรรมดวงนั้น ดวงธรรมนั่นเป็นธรรมจริงๆ ศีลเป็นศีลเป็นทางดำเนินไปของพระอริยเจ้า ในข้อ 3 สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใด ความเลื่อมใสใน พระสงฆ์นั้น เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้น เลื่อมใสอย่างไร เหมือนเห็นพระสงฆ์ทุกวันนี้ เห็น หมู่มากๆ ก็เลื่อมใส กลับอิ่มเอิบตื้นเต็ม เหมือนมาเลี้ยงพระที่ศาลาการเปรียญ พระเณร ก็มาก เจ้าของทานได้เห็นพระสงฆ์มาก ก็เอิบอิ่มปลาบปลื้มตื้นเต็มว่าทานของเรานี้ได้เป็น อายุของศาสนามากมายอย่างที่กำลังของเราได้สั่งสมอบรมมา ต้องรักษาทรัพย์ไว้เป็น ประโยชน์แก่ภิกษุสามเณรมากอย่างนี้ เราก็ได้บุญกุศลยิ่งใหญ่ คิดแล้วก็เลื่อมใสอย่างนี้ ก็เป็น สงฺเฆ ปสาโท เหมือนกับเลื่อมใสในสงฆ์ การบวชเป็นพระสงฆ์นี้ มีอานุภาพล้นพ้น ทำประโยชน์ให้แก่ตัวฝ่ายเดียว ไม่ต้องประกอบกิจการงานด้วยประการทั้งปวง ชาวบ้าน ร้านตลาดทั้งหลาย ที่จะเป็นอยู่คืนหนึ่งวันหนึ่ง ต้องประกอบกิจการงานส่วนตัวทั้งนั้น ไม่ ประกอบกิจการงานส่วนตัว ก็ไม่มีอาหารเลี้ยงท้องได้ด้วยกำลังปลีแข้ง ได้ด้วยกำลังอวัยวะ ของตนทั้งนั้น ส่วนพระสงฆ์ไม่ได้ประกอบกิจการงานในการแสวงหาข้าวปลาอาหารเลย เล่าเรียนศึกษาคันถธุระ วิปัสสนาธุระ ไปตามหน้าที่ตามกาล ได้บริโภคอาหารเป็นอันดี อิ่ม หนำสำราญที่ดีงาม ร่างกายก็สดชื่นดี ถ้านึกว่าการเป็นพระสงฆ์นี่ดีจริง เข้าในหมู่สงฆ์นี่ดีจริง เมื่อเลื่อมใสจริงๆ หนักเข้า ก็ละครอบครัวลูกเมียได้ เหมือนพระวิลเลี่ยม กปิลวฑฺโฒ พระ กปิลวฑฺโฒนั้นก็เลื่อมใสในพระสงฆ์ แกเป็นฝรั่ง ลูกเมียแกก็มี แกทิ้งลูกทิ้งเมีย ละเพศฝรั่ง มาบวชเป็นพระไทย เข้าในหมู่สงฆ์นี้ ก็ สงฺเฆ ปสาโท เหมือนกัน แกเลื่อมใสในพระสงฆ์เข้า แกถึงได้มาบวชในพระธรรมวินัยได้สมความปรารถนา พวกพระภิกษุสามเณรมาบวชนี้ก็ สงฺเฆ ปสาโท เหมือนกัน ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ อุบาสกอุบาสิกาที่มาจำศีลภาวนา ฟังเทศน์ฟังธรรมที่นี้ ก็ สงฺเฆ ปสาโท เหมือนกัน แต่ว่าเลื่อมใสในสงฆ์อย่างนี้ เป็นสงฆ์ สมมตินะ เลื่อมใสในสงฆ์อีกชั้นหนึ่ง ให้ตรงกัน ที่เลื่อมใสในพระตถาคตเจ้า ให้ตรงกันอย่างนั้น

    เชื่อในพระตถาคตเจ้า เชื่อในพระสงฆ์ก็เหมือนกัน พระสงฆ์เรียกว่า สังฆรัตนะ ไม่ใช่สงฆ์สมมติ สังฆรัตนะเป็นธรรมกาย เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ธรรมกายหน้าตักโตเล็ก ตามส่วน ไม่ถึง 5 วา หย่อนกว่า 5 วา นั่นธรรมกายโคตรภู หย่อนกว่า 5 วา กลาง ธรรมกายมีดวงธรรมรัตนะ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว กลางดวงธรรมรัตนะนั้นมีธรรมกายละเอียด ธรรมกายละเอียดก็เหมือนธรรมกายหยาบ แบบเดียวกัน ละเอียดกว่า สะอาดกว่า งามกว่า ธรรมกายละเอียดนั้นเรียกว่า สังฆรัตนะ ธรรมกายหยาบเป็นพุทธรัตนะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นเป็นธรรมรัตนะ ธรรมกาย ละเอียดที่อยู่ตรงกลางดวงธรรมรัตนะนั้นแหละ เขาเรียกว่าสังฆรัตนะ สังฆรัตนะนั้นเป็นตัว ยืนของพระสงฆ์ พุทธรัตนะเป็นตัวยืนของ พุทฺโธ พุทธรัตนะนั้นรู้สัจธรรมทั้ง 4 รู้จักทุกข์ เหตุของทุกข์ ความดับทุกข์ เหตุของความดับทุกข์ พอรู้สัจธรรมทั้ง 4 โดย สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ญาณ 3 กลุ่มนี้ ก็เข้าหลักฐาน พอถูกหลักฐานเข้า ก็มีความรู้จัก สัจธรรม ทั้ง 4 นั้นเองเป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นว่า พุทฺโธ

    ส่วน ธมฺโม เล่า ผู้ใดเข้าถึงพระธรรม บุคคลผู้นั้นละทุจริตกายวาจาจิตได้ ไม่ทำ ความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ทำแต่ความดีฝ่ายเดียว บังคับให้ทำดีฝ่ายเดียว จึงเป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นว่า ธมฺโม สังฆรัตนะนั้นเองรักษาธรรมที่ทำให้เป็นพุทธรัตนะเข้าไว้ ไม่หายไปอยู่ในกลางดวงนั้น รักษาดวงนั้นไว้ ปฏิบัติดวงนั้นไว้ ท่านจึงได้ยืนยันว่า ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต ธรรมอันพระสงฆ์ทรงไว้ ธรรมกายละเอียดนั้นทรงเอาดวงธรรมที่ทำให้เป็น ธรรมกายองค์หยาบนั้นไว้ไม่ให้หายไป ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต พระสงฆ์ทรงไว้ ธรรมกาย ละเอียดนั้นเองเรียกว่า สังฆรัตนะ สงฆ์ทีเดียวเป็นเนมิตตกนามว่าเป็นสงฆ์ เลื่อมใสใน ธรรมกายละเอียด นั้นแหละได้ชื่อว่า สงฺเฆ ปสาโท ความเลื่อมใสในธรรมกายละเอียดนั้น ชื่อว่าความเลื่อมใสในสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใด บุคคลผู้นั้นไม่ใช่คนจน เชื่อในพระตถาคตเจ้า แล้วละก็ ไม่ใช่คนจน ศีลของบุคคลผู้ใดดีงาม เป็นที่ใคร่ของพระอริยเจ้า อันพระอริยเจ้า สรรเสริญแล้ว ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนไม่จนเหมือนกัน ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ก็เป็นคนไม่จนเหมือนกัน

    อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นธรรมหรือความเห็นตรง อุชุ แปลว่า ตรง ทสฺสนํ แปลว่า ความเห็น ยสฺส ปุคฺคลสฺส ความเห็นของบุคคลใด อุชุภูตญฺจ เป็นธรรมชาติตรง ความเห็น ของบุคคลโดยตรง เรียกว่า ความเห็นตรง นักปราชญ์ราชบัณฑิตกล่าวว่า บุคคลนั้นไม่จน เป็นคนมั่งมีอีกเหมือนกัน

    เชื่อในพระตถาคตเจ้า ข้อที่ 1 ศีลอันดีงาม ข้อที่ 2 เลื่อมใสในพระสงฆ์ ข้อที่ 3 เห็นตรง เป็นข้อที่ 4 สี่ข้อนี้แหละมีอยู่ในสันดานของบุคคลใด บุคคลผู้นั้นมีทรัพย์สิน เงินทองมากมายสักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็สู้บุคคลผู้มีธรรม 4 ข้อ ผู้มั่นใน 4 ข้อนี้ไม่ได้ วาง ตำราทีเดียว อริยธนกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภถึงอริยทรัพย์ ว่ามีอริยทรัพย์ ไม่ขัดสน ไม่ยากจน เป็นคนมั่งมีทีเดียว นี้แหละทรัพย์ของพระของเณร พระเณรมีทรัพย์อย่างนี้ ก็ สบาย สดชื่น เอิบอิ่ม ตื้นเต็ม อุบาสกอุบาสิกามีทรัพย์อย่างนี้ ก็เอิบอิ่มปลาบปลื้มตื้นเต็ม จะมีทรัพย์สักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็สะดุ้งหวาดเสียว ยิ่งมีเพชรราคาแสนไว้กับตัว ก็สะดุ้ง หวาดเสียว เห็นคนแปลกหน้ามา พาสะดุ้งหวาดเสียว กลัวจะมาหยิบเอาเพชรนั่นไปเสีย ถ้าว่าความเชื่อในพระตถาคตเจ้า มีศีลอันดีงาม เลื่อมใสในพระสงฆ์ เห็นตรง 4 อย่างนี้ มีในสันดานของบุคคลใด จะมาสักเท่าหนึ่งเท่าใดก็ไม่กลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้งเลย เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าของเหล่านี้อยู่กับใจ ธมฺโม นี้ โจรลักไม่ได้ ปล้นไม่ได้ แย่งชิง ไม่ได้ เอาไปไม่ได้ เป็นของจริงอยู่อย่างนี้

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว ในท้ายต่อไปนี้ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ความเป็นอยู่ของคน มีธรรมทั้ง 4 ประการนี้ ไม่เปล่าประโยชน์ ความเป็นอยู่ของเขานั้นไม่เปล่าจากประโยชน์ ได้ประโยชน์ทีเดียว เป็นอยู่วันหนึ่งคืนหนึ่ง ก็ดีกว่าบุคคลที่ไม่มีธรรม 4 ประการนี้อยู่ ร้อยปี ไม่ประเสริฐกระไร คนมีธรรมเป็นอยู่ดังกล่าวมานี้ เป็นอยู่วิเศษนัก ไม่เสียทีที่มีชีวิต เป็นในท้ายวาระพระบาลีนี้รับรองว่า ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนํ เพราะเหตุนั้น เมื่อบัณฑิตมาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ควรประกอบความเชื่อ ประกอบศีล ประกอบความเลื่อมใส ประกอบความเห็น ธรรมไว้เนืองๆ ประกอบความเชื่อ เชื่ออันนั้นอย่าให้หายไป รักษาเอาไว้ในพระตถาคตเจ้า เอาใจไปจรดเข้าไว้ อย่าให้เคลื่อนคลาด จรดอยู่ตรงนั้นคือ ธรรมกาย นั่นอย่าให้เคลื่อน คลาด เพราะนอกจากธรรมกายนี้ เราจะรักษาอย่างไร เราจะตรึกอย่างไร มันจึงจะรักษา เอาความเชื่อในพระตถาคตเจ้าไว้ได้ เราก็ชี้แจงให้กายมนุษย์มันฟังซิว่า เจ้าเป็นอยู่นี้ เจ้าเป็นอยู่ด้วยพระตถาคตเจ้า ถ้าพระตถาคตเจ้าไม่มี เจ้าเป็นอยู่ไม่ได้ เจ้าต้องตายทันที ทีเดียว พระตถาคตเจ้าทำอย่างไร

    ธรรมกายนั่นแหละรักษาชีวิตเจ้าไว้ เป็นอยู่ด้วยอะไร ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ นั่นซิให้เป็นอยู่ ถ้าไม่มีดวงนั้นก็ดับไป ก็ส่วนมนุษย์ละเอียดละก้อ เป็นอยู่ด้วยดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ ถ้าดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ วัดเส้นผ่าศูนย์ กลางเท่าฟองไข่แดงของไก่ ถ้าไม่มีดวงนั้นแล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็ดับไป กายทิพย์ดับไป อยู่ไม่ได้ กายมนุษย์ละเอียดดับไป กายทิพย์ดับไปอยู่ไม่ได้ กายทิพย์เล่า เป็นอยู่ด้วยดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ขนาด 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กายทิพย์ละเอียดเป็นอยู่ด้วย ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กายรูปพรหมเป็นอยู่ด้วย ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กายรูปพรหมละเอียดเป็นอยู่ได้ ด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด หกเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว กายอรูปพรหมเล่า เป็นอยู่ได้ด้วยธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว กายอรูปพรหมละเอียดเล่า เป็นอยู่ได้ด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ละเอียด แปดเท่าฟองไข่แดงของไก่

    กายธรรมเล่า กายธรรมก็เป็นอยู่ได้ด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย วัดผ่าเส้น ศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว อยู่กลางองค์ธรรมกาย กายธรรมละเอียดเล่า กายธรรมละเอียด ก็เป็นอยู่ได้ด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์ กลาง 5 วา กลมรอบตัว โตไปเป็นลำดับดังนี้ เมื่อรู้จักหลักดังนี้ละก็ ตลอดไปทุกกาย ทุกๆ กาย คราวนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าเข้านิพพานมากน้อยเท่าใด ท่านก็มีธรรมกายอย่างนี้ แหละ ไม่ได้มีอย่างอื่นหรอก ท่านก็เป็นพระพุทธเจ้าเพราะมีธรรมกาย ท่านไปรักษาชีวิตมนุษย์ เป็นลำดับไป ช่วยกันรักษา รักษาอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นกายๆ ตลอดไปหมด ตลอดขึ้นไปนับอสงไขยไม่ถ้วน พระพุทธเจ้านับลำดับพรรษาเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ไม่มีใครรักษาเลย คนอื่นไม่ได้ ไม่ใช่ผู้ปกครอง ต้องผู้ปกครองที่เป็นอยู่ พระพุทธเจ้า เข้านิพพานไปแล้ว เหมือนกับพ่อบ้านแม่บ้านที่ดี บ้านนั้นจะรุ่งเรืองอยู่ได้ ก็เพราะอาศัย พ่อบ้านแม่บ้านรู้จักใช้ทรัพย์และเก็บทรัพย์ รู้จักสงวนทรัพย์ ไม่ให้เป็นอันตรายไปอย่างใด อย่างหนึ่ง เฉลียวฉลาดทุกสิ่งทุกประการในการรักษาทรัพย์ ในการควบคุมปกครองบ้าน เรือน วัดปากน้ำจะเจริญอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสมภาร ถ้าไม่มีสมภาร ไม่ได้แตกสลาย ทีเดียว ถ้าว่าสมภารเซ่อๆ ซ่าๆ วัดนั้นทรุดเสื่อมสลายทีเดียว ถ้าว่าสมภารเทศนาว่าการ ปราดเปรื่องดี วัดนั้นเจริญ นี่สมภารวัดปากน้ำไม่ใช่แต่เทศน์อย่างเดียว สอนธรรมกายก็ได้ ไม่ใช่แต่เท่านั้น หาเงินสร้างโรงเรียนอีกก็ได้ ทำได้ทุกอย่าง นี่มีศักดิ์สิทธิ์หลายประการ

    เมื่อรู้จักหลักเช่นนี้ละก็ วัดปากน้ำนี่เป็นอยู่ด้วยอะไร เป็นอยู่ด้วยสมภารเป็นตัว สำคัญ สมภารเป็นตัวยืนเท่านั้น ที่แท้จริงก็เป็นด้วยอุบาสกอุบาสิกาช่วยกัน กระท่อม ห้องหอรักษาไว้แลเอาใจใส่ บ้านเรือนก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าเมื่อได้ไปนิพพานแล้ว สาวกมีเท่าไร ถึงคราท่านจะปกครองมนุษย์รักษามนุษย์ ท่านก็เอาสาวกของท่านเข้าอยู่ในตัว ของท่านหมด ท่านก็ต้องรักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายเป็นลำดับไป ไปรักษาที่สุดโน้น

    ที่สุดอยู่ที่ไหนละ ผู้เทศน์ยังเรียนวิชชาไปไม่ถึง ยังไม่ถึงที่สุด 23 ปี 4 เดือนเศษ แล้ว ยังไม่ถึงที่สุดเลย ขยับไปทีๆ หนึ่งนั้นนับครั้งไม่ถ้วน นับชั้นไม่ถ้วน นับอสงไขยดวง ไม่ถ้วน นับอายุกี่ดวงยังไม่ถ้วน ไม่ไปสุดเลย ถ้าสุดเวลาไร ถึงที่สุดของการรักษาแล้วละก็ มนุษย์เลิกแก่ เลิกเจ็บ เลิกตายทีเดียว นี่กำลังพยายามทำไป ทำไปในทางนี้ไม่ใช่ทำไปใน ทางอื่น พระพุทธเจ้าไปรักษาอยู่ ต้นธาตุท่านรักษาอยู่ เราเป็นอยู่นี้ ถ้าท่านหยุดแก๊กเดียว เท่านั้น มนุษย์ดับทีเดียว หรือไม่ฉะนั้นมารมาตัดระหว่างกายเสีย ไม่ให้ติดต่อกันเสียเท่านั้นละ ก็ตายทันที ขาดผู้รักษาเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ที่เรานับถือนั่น ไหว้กราบท่านนะ จะไหว้กราบ ทำไม ก็ท่านรักษาชีวิตของเราอยู่ไม่ใช่หรือ ไม่ไหว้อย่างไร ท่านปล่อยเสีย มันก็ตายเท่านั้น ก็ท่านมีคุณต่อเราอย่างนี้ ล้ำเลิศประเสริฐอย่างนี้ คนอื่นไม่ใช่เช่นนั้น เราจะมั่งมีอย่างหนึ่ง อย่างใด ท่านส่งสมบัติมาให้ ยากจนอย่างหนึ่งอย่างใด ท่านส่งสมบัติมาไม่ทัน มารเข้าไป ขวางเสีย เมื่อรู้จักหลักเช่นนี้ละก็ เราจึงได้ไหว้พระตถาคตเจ้านัก เราจึงได้เชื่อพระ ตถาคตเจ้านัก เราจึงได้เชื่อพระตถาคตเจ้า นับว่าชีวิตของเรา ถ้าเอาใจจรดอยู่ที่พระ ตถาคตเจ้านั้น นี่เรียกว่า เชื่อในพระตถาคตเจ้า

    ศีลอันดีงาม ศีลไม่ดีงามได้หรือ ถ้าไม่ดีงามก็กระเทือนถึงพระพุทธเจ้า ถ้าศีลไม่ดีงาม ธรรมกายก็เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส ถ้าศีลดีงาม ธรรมกายมันก็สว่างแจ่มใสสะอาดสะอ้าน นั่น อุดหนุนกันอย่างนี้

    ถ้าว่าเราไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ พระสงฆ์ สังฆรัตนะรักษาดวงธรรมรัตนะที่ทำให้ เป็นพุทธรัตนะไม่ให้หายไป ให้เจริญขึ้น ไม่เลื่อมใสได้หรือ เลื่อมใสเหมือนกับอะไร เหมือน กับพ่อบ้านแม่บ้าน งานการดีจริง พ่อบ้านแม่บ้านเบาอกเบาใจทุกสิ่งทุกอย่าง พ่อบ้านจะ ปกครองให้รุ่งเรือง ก็เพราะอาศัยคนงานที่ดีนั่นแหละ สังฆรัตนะ พระสงฆ์นี่ก็การงานดีนัก รักษาดวงธรรมรัตนะ รักษาพุทธรัตนะให้สะอาดดีงามทีเดียว ไม่เลื่อมใสได้หรือ ของดีวิเศษ อย่างนั้น นี่ 3 ข้อ

    ความเห็นตรงละ เห็นตรงนั่นเป็นอย่างไร เห็นธรรมรัตนะ เห็นธรรมรัตนะ เห็น ธรรมน่ะ เห็นถูกเห็นตรงนั่นแหละ ถ้าไม่ถูกไม่ตรงต่อพระนิพพานละก้อ มันจะถูกหลักฐาน ของการรักษาอายุของเราได้อย่างไร ถูกตรงต่อมรรคผลนิพพาน ถูกตรงต่อทางไปของ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เป็นอยู่ต่อการรักษา เป็นอยู่ต่อการรุ่งโรจน์โชตนาการต่อไป ตรง อย่างนี้ไม่คลาดเคลื่อน ตรงต่อแบบแผนอย่างนี้ อย่างนี้ความเห็นตรง เขาจึงได้ประกอบไว้ เนืองๆ ทีเดียว เผลอไม่ได้ ความเห็นตรงอันนี้ ก็เป็นที่รุ่งโรจน์โชตนาการของตัวเองตลอด สาย เมื่อรู้หลักอันนี้ เข้าใจอย่างนี้ละก็ นี่แหละได้ชื่อว่าระลึกถึงศาสนาของพระตถาคตเจ้า ศาสนาของพระตถาคตเจ้าสอนอย่างไร นี่แหละสอนให้รู้จักหลักอย่างนี้แหละ

    นี่แหละเป็นหลักฐานของพระศาสนาแท้ๆ ของพระตถาคตเจ้าล่ะ ไม่ได้สอนอย่างอื่น สอนให้เห็นธรรมกายเท่านั้น ให้เดินทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็น ลำดับไป ให้เข้าถึงกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เข้าถึงกายทิพย์-กายทิพย์ ละเอียด, กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด, กายโสดา-กายโสดา ละเอียด, กายสกทาคา-กายสกทาคาละเอียด, กายอนาคา-กายอนาคาละเอียด, กายอรหัต-อรหัตละเอียด ตามสายอย่างนี้เรียกว่าศาสนะ แปลว่าคำสอนของพระศาสดา รู้จักหลัก อันนี้แล้ว ก็พึงปฏิบัติให้มีให้เป็นขึ้นแล้ว ก็ให้มั่นอยู่ในสันดาน สำเร็จสุขพิเศษไพศาลใน ปัจจุบันนี้ และต่อไปในภายหน้า

    เท่าที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่มา สโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาก็พอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ผู้ถึงธรรมกายสามารถแก้โรคต่างๆ ได้จริงหรือ ?

    [​IMG]


    [​IMG]



    
    ผู้ถึงธรรมกายสามารถแก้โรคต่างๆ ได้จริงหรือ ?
    ---------------------------------------------------------------

    ตอบ:

    ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ 5   เริ่มตั้งแต่ ธาตุละเอียดดวงแรก คือรูปขันธ์ เท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร   ขยายส่วนหยาบออกมาเป็นดวงกาย  เป็นที่ตั้งของธรรมที่เรียกว่า ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย และดวงกายนี้แหละมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม อากาศ   ผู้ถึงธรรมกายย่อมเห็นได้ธาตุละเอียด    นี้เองที่เจริญเติบโตออกมาเป็นกายเนื้อ

    ทีนี้  การที่สัตว์โลกทำความดีหรือทำความชั่ว  เช่น ทำ ปาณาติบาตมากๆ   ผลเป็นอย่างไร ?   เกิดขึ้นที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมย่อมสัมปยุตหรือเกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกธรรมคือตัวกิเลสนั่นเอง    ธาตุอันตั้งอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เป็น ที่ตั้งของธรรม

    ธรรม คือกุสลาธัมมา (ธรรมฝ่ายบุญกุศล)   อกุสลาธัมมา (ธรรมฝ่ายบาปอกุศล)   และ อพยากตาธัมมา (ธรรมฝ่ายกลางๆ)

    ยามเมื่ออกุศลจิตเกิด   อกุสลาธัมมา ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน   เกิดแล้วไปไหน ?   ทรงอยู่   ตั้งอยู่ที่กลางธาตุ เอิบ อาบ ซึมซาบ ปน เป็นอยู่ในธาตุทั้ง 6 นั้น  ย่อมทำให้ทั้งใจคือ เห็น จำ คิด รู้  ที่ขยายส่วนหยาบออกจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ขุ่นมัว ด้วยอำนาจของกิเลสนั้น  นี้ประการหนึ่ง    และย่อมเป็นวิบากซ่อนอยู่ ฝังอยู่ ปนเป็นอยู่ ในธาตุทั้ง 6 นั้นด้วย อีกประการหนึ่งและเมื่อซ้อนอยู่แล้ว เป็นอย่างไรต่อไป ?    ถึงเวลาก็ให้ผลที่ธาตุนั่นแหละ   วิบากขันธ์เกิดขึ้นที่ธาตุละเอียดอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ  มันเกิดขึ้นที่ธาตุละเอียดนั้น เกิดขึ้นแล้วให้ผลอย่างไร ?   ธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4   นี่ขยายส่วนหยาบเจริญเติบโตมาเป็นกาย เพราะฉะนั้นเหตุปัจจัยที่กำลังให้ผลมาจากธาตุละเอียด  มีอย่างไร   ก็ปรากฏขึ้นมาทางกายตามเหตุตามปัจจัย มีบาปอกุศลอันเนื่องแต่กิเลสต่างๆ  ให้ผลเป็นการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือความวิบัติต่างๆ เป็นต้น   ตามกรรมนั้นๆ เช่นนั้นจะเห็นว่า เป็นมาแต่ธาตุละเอียด ส่งผลมาถึงธาตุส่วนหยาบคือกายเนื้อ เมื่อธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม อากาศนั่นแหละ วิปริตแปรปรวน ก็ทำให้เกิดเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเกิดวิบัติต่างๆ เป็นต้น  ตามกรรมอันเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้นๆ

    เพราะฉะนั้น  ในทางกลับกัน  ถ้าท่านทำใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์กุศลจิตย่อมเกิดพร้อมด้วยเจตสิกธรรมฝ่ายบุญกุศล  บุญกุศลเป็นอะไร ?   เป็นธรรมชาติเครื่องชำระใจ คือ เห็น จำ คิด รู้ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ ก็ทำให้ธรรมฝ่ายบุญกุศลนั้นตั้งอยู่ ปนเป็นอยู่ ใน เห็น จำ คิด รู้ และในธาตุละเอียด   ให้เป็นธาตุที่ใสสะอาดบริสุทธิ์   เพราะฉะนั้นธาตุส่วนละเอียด  ซึ่งเคยมีอกุศลธรรมปนเป็นอยู่ ก็กลับเป็นธาตุที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ด้วยกุศลธรรมนั่นสะอาดบริสุทธิ์   จะให้ผลเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ?   ข้อนี้ท่านคิดดู นี้แหละ “มีสติเห็นธรรมในธรรม” จะมีผลเป็น ทุกข์หรือเป็นสุข ?

    เพราะฉะนั้นถ้าหากท่านอบรมใจให้หยุดในหยุด กลางของหยุด  ในกลางของกลางธาตุละเอียด  ให้ใสบริสุทธิ์อยู่เสมอและยิ่งๆ ขึ้นไป จากกายมนุษย์  มนุษย์ละเอียด, ทิพย์ ทิพย์ละเอียด, พรหม พรหมละเอียด ฯลฯ จนสุดละเอียดถึงกายธรรมละเอียดไปเพียงไรธาตุ   และธรรมของท่านก็ยิ่งบริสุทธิ์เพียงนั้น    เมื่อยิ่งบริสุทธิ์ อะไรให้ผลก่อน ?   ก็ “บุญ” นั่นแหละย่อมให้ผลก่อน    ยิ่งบุญมากเท่าไรบุญก็ย่อมให้ผลก่อนเท่านั้น  บาปอกุศลไม่ทันได้ให้ผล    เพราะฉะนั้น  เมื่อธาตุธรรมสะอาดไปเพียงไหน   ความเจ็บไข้ได้ป่วย  ถ้ามันมี  ถ้าไม่ถึงขั้นอเตกิจฉา  และไม่ถึงขั้นเป็นโรคเวรโรคกรรมหนักจริงๆ แล้วละก็  จึงมีผลจากหนักเป็นเบา  จากเบาก็หายไปเลยได้

    นี่แหละที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ  ท่านได้แก้โรคด้วยวิชชาธรรมกาย   ซึ่งทางการได้เคยส่ง  สายสืบไปคอยจับผิดหลวงพ่อฯ   ท่านก็ไม่ได้ให้ทำอะไร   ท่านให้นั่งสมาธิเจริญภาวนาเฉยๆ อย่างนี้  แล้วมันก็หายไปเอง   หนักเป็นเบา  เบาก็หายไปเลย    และท่านก็ไม่ได้บอกว่าท่านทำอะไร  ท่านบอก ให้คนไข้รับศีลและเจริญภาวนาธรรมด้วยนะ  เครื่องรับเครื่องส่งมันจะได้ตรงกัน   วิชชาธรรมกายที่เล่านี้ เป็นเพียงเหตุผลเบื้องต้นเท่านั้น   แต่ในตัววิชชามีละเอียดลึกซึ้งยิ่งกว่านี้   ซึ่งนำมาพูดโดยทั่วไปอย่างนี้ไม่ได้  นอกจากผู้ที่ปฏิบัติเข้าถึงแล้วจะได้รู้เห็นและเข้าใจ    มีอีกมากมายนักอยู่เบื้องหลังวิชชาแก้โรค   เพราะฉะนั้น  อันนี้สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)  หรือสมเด็จป๋า   ได้พูดรับรองเรื่องนี้ไว้อย่างเต็มที่ว่า  ธรรมกายแก้โรคได้  ถ้าไม่ใช่ถึงอเตกิจฉา  หรือไม่ใช่โรคเวรโรคกรรมหนักจริงๆ แล้ว  จากหนักเป็นเบา  จากเบาเป็นหายไปเลย   แต่ท่านที่เคยมีประสบการณ์ก็คงจะรู้

    เพราะฉะนั้นคำถามของพระคุณเจ้าว่า  ผู้เข้าถึงธรรมกายสามารถแก้โรคต่างๆ ได้จริงหรือ ?   ก็ขอเรียนว่าได้บ้างไม่ได้บ้าง   ก็เหมือนหมอละครับ   หมอก็แก้ได้บ้างไม่ได้บ้าง  ลงท้ายก็ตายทุกคน   หมอก็ตาย  คนแก้ก็ตาย  คนไข้ก็ตายนั่นแหละ   เพราะฉะนั้นถ้าจะสงสัยว่า  ถ้าอย่างนั้นก็แก้โรคแทนหมอเลยซิ   จะมีหมอทำไม ?    เราบอกได้ว่าเอาแค่หมอเถิดครับ  แค่หมอนี้  เราก็ว่าวิเศษแล้วนะ   แต่จริงๆ แล้วหมอนั่นแหละตาย   ตายเหมือนกัน   เป็นทุกอย่างเหมือนกัน   เพราะมันยังไม่มีอะไรชนะโรคได้โดยเด็ดขาด เพราะนี่มันเป็นสังขารมารนะครับ   แต่ว่าในทางปฏิบัติ  กระผมไม่ได้พูดเองนะครับ  สมเด็จพระสังฆราชป๋า  ท่านว่าแก้ได้   แต่ก็ได้อย่างที่พูด  คือ มีเงื่อนไข    และเงื่อนไขอย่างว่านี้ก็เหมือนหมอ  แก้ได้บ้าง  ไม่ได้บ้าง  บางอย่างแก้ก็ตาย  ไม่แก้ก็ตาย  บางอย่างแก้ก็ดีขึ้นมาหน่อย   บางอย่างแก้ก็หายไม่แก้ก็หาย  ผู้ที่เขามีประสบการณ์ก็มีอยู่   เพราะฉะนั้นทุกท่านจึงพึงช่วยตนเองโดยการปฏิบัติธรรมมีทานกุศล  ศีลกุศล  และภาวนากุศล  ให้เป็นประจำ   แล้วก็จะดีสำหรับตัวท่านเอง



    (ยังมีต่อ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ผู้ที่ได้ธรรมกายสามารถที่จะรักษาโรคของตนเอง ของผู้อื่นได้หรือไม่ ?

    
    ผู้ที่ได้ธรรมกายสามารถที่จะรักษาโรคของตนเอง ของผู้อื่นได้หรือไม่ ?


    .........................................................



    ตอบ:

    ได้ครับ   ที่หนักก็จะเบา   ที่เบาก็จะหายไปเลย  ถ้าทำถูกวิธี    แต่โรคเวรโรคกรรม ก็ไม่หาย   และประเภทอเตกิจฉานี่ก็ไม่หายเหมือนกัน  รักษาก็ตาย  ไม่รักษาก็ตาย   นี่ต้องตายแน่ๆ   หมอก็เอาไม่อยู่  เดี๋ยวจะสงสัยว่าธรรมกายประเสริฐอย่างนั้น   จะมีหมอไปทำไม  หมอก็ส่วนหมอ  ธรรมกายก็รักษาแบบธรรมกาย  ถ้าได้ผลอันไหนก็ใช้ได้ ประกอบกันก็ดี   แต่บอกไว้อย่างหนึ่งว่า รักษาตัวเองอย่างเดียวดีที่สุด   อย่าไปคิดรักษาคนอื่น   เพราะถ้าเกิดใครเขารู้ขึ้นมาแล้ว   ก็จะแห่กันมา  เจ้าประคุณเอ้ย !   ไม่ได้หลับไม่ได้นอน   แล้วลาภสักการะก็เกิด   ก็เพลินเลยละสิ   พอเพลินเสร็จแล้ว   ผลอะไรมันเกิดขึ้น   ก็ธรรมกายดับหมดแล้ว   เพราะธรรมกายทุจริตไม่มี   มีแต่ธรรมกายสุจริต   เป็นพระก็นั่นแหละสัมมาอาชีวะเป็นอย่างไร   ก็ให้พึงสังวร  อุบาสก อุบาสิกา ก็สัมมาอาชีวะในระดับอุบาสก อุบาสิกา  ผู้ครองเรือนก็ว่ากันไป   พระระดับหนึ่ง   เณรระดับหนึ่ง  คนจรระดับหนึ่ง   ที่ไปด้วยกันไม่ได้เลยก็คือ   ขายพระหากินเข้ากระเป๋าตนเอง   ขายพ่อหากิน   นี่คบกันไม่ได้เลย   เลิกคบกันนะครับ  

    เพราะฉะนั้น ที่สถาบันของเรานี่   พระทุกองค์ไม่มีนะครับ  นั่นไม่ใช่สัมมาอาชีวะ   แต่ถ้าทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม   เพื่อพระศาสนา   นั่นอีกเรื่องหนึ่ง  ก็ทำด้วยความสำรวมระวัง   ไม่เอิกเกริก  ไม่อื้อฉาว    แต่ถ้าประเภทขายพระหากินเพื่อตนเอง   ถ้าเป็นวิทยากรแล้วก็ถวายท่านว่า   ท่านพักอยู่ก่อนอย่าเพิ่งสอนเลย   เพราะขึ้นชื่อว่าวิปัสสนาจารย์  วิทยากรแล้ว  ต้องรู้จักอะไรควรไม่ควร   ถ้ากิเลสมันหนาอย่างนั้นไม่รู้จะไปสอนใครเขา   อันนี้ก็เลยเรียนให้ทราบเลยครับว่า  ของเราในพวกเรานั้น จะไม่ยอมให้มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น   ไม่มีนะครับ    เรื่องการเอาธรรมกายไปหากิน   นี่ไม่ได้เลยครับ   มันส่วนตัวไม่ดีเลยครับ   ดับเอาง่ายๆ  

    และประการสำคัญ   เมื่อมีคนมามากๆ   ท่านไม่มีเวลาชำระกิเลสส่วนตัว    หนักๆ เข้าก็นั่งคอยแต่นับเงิน  รับทรัพย์  รับไปรับมา   ตอนหลังก็หลอกลวงเขาแล้ว    เพราะธรรมกายก็ดับแล้ว   จิตมันกระดิกไม่ดี   ก็ดับแล้ว    ไม่มีท่าแล้วครับ  เพราะยังไม่ได้ธรรมกายมรรค  ธรรมกายผล   แต่ถ้าท่านผู้มีพระคุณจริงๆ  คุณพ่อ  คุณแม่  คุณครู  อุปัชฌาย์อาจารย์   อันนี้ช่วยท่านหน่อยก็ดี   แต่มีกฎเกณฑ์ว่า

    ช่วยแล้วต้องชำระธาตุธรรมของตนเองให้สะอาดบริสุทธิ์   ต้องรู้วิธีช่วยด้วย    ถ้าไม่รู้อย่างเพิ่งเลย   ช่วยแต่ตัวเองก็พอ   เพราะว่าวิบากกรรมนั่นมันอายตนะถึงกันนะครับ   ถ้าทำให้คนอื่นมากๆ เข้า ก็สะสมอยู่ที่ตัวเอง   แล้วชำระตัวเองไม่สะอาดก็เลิกเลย   เพราะฉะนั้น อย่านึกว่าง่ายๆ  ของโก้นะครับ  ไม่โก้หรอกครับ
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    เมื่อมีอาการเจ็บปวดหรือป่วยด้วยโรคภัย สมาธิช่วยได้หรือไม่ ? 

    เมื่อมีอาการเจ็บปวด หรือป่วยด้วยโรคภัยภายในร่างกาย สมาธิจะช่วยได้หรือไม่ ?

    *********************************************


    ตอบ:

    ช่วยได้มาก   เอาแค่เรื่องเจ็บก่อน   ทำไมเราถึงเจ็บ   เราเจ็บเราปวดเพราะเหตุว่า ใจเรามันไปสัมผัส ไปรับอาการที่เป็นอยู่  เช่นว่า  มีบาดแผลหรือมีอะไร  มันเจ็บอยู่แล้ว   ใจเราก็ไปอยู่ตรงนั้น  มันจึงเจ็บ   เพราะฉะนั้น  วิธีที่จะแก้ไม่ให้เจ็บ  ใจนั้นไปเจ็บนะ  ไม่ใช่ตัวเนื้อเจ็บ   ประสาทเส้นนี้เข้าไปสู่ใจ  เวทนาอันเป็นธรรมชาติหนึ่งของใจเป็นตัวเจ็บ   ที่เราเรียกเวทนามันไปเจ็บ ใจมันไปเจ็บ  ไปรับความเจ็บตรงนั้น  รับรู้ตรงนั้น   ทีนี้วิธีไม่ให้เจ็บ ก็ให้เอาใจไปไว้ตรงศูนย์กลางกายเสีย ก็ไม่เจ็บ   เช่นว่าเรากำลังจะถูกผ่าตัดหรืออะไรก็แล้วแต่   หรือมีอะไรที่มันเจ็บๆ   ท่านลองทำสมาธิให้ลึก   ไม่สนใจที่ตรงจุดนั้น บริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆ  กลางของกลางศูนย์กลาง  นิ่งสนิท   ความเจ็บจะหายหมด    

    แม้แต่นั่งสมาธิ   บางคนแหมเมื่อยจังเลย มันปวดแข้งปวดขา  เหตุเพราะว่าใจเรามันไปรับรู้อยู่ตามแข้งตามขานั่นเอง    แต่ถ้าว่าใจเรารวมหยุดแน่วแน่  นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลาง  ไม่รับอารมณ์นั้นแล้วก็ไม่เจ็บ   ยิ่งถ้าเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดแล้วนะ   ดับหยาบไปหาละเอียด  ทำความรู้สึกเป็นกายมนุษย์ละเอียด แล้วจะไม่เจ็บเลย   ถ้าถึงกายทิพย์ ยิ่งไม่เจ็บ  เงียบจ้อยเลย   สบายอย่างเดียว   แต่มันไปเจ็บตอนที่ออกจากสมาธิ  ถ้าคนที่ไม่เคยปฏิบัติจะรู้สึกเมื่อยเพราะยังไม่เคยชิน   และใจยังไม่รวม   เพราะฉะนั้นสมาธินี้ช่วยได้  แก้ความเจ็บได้ จึงขอเจริญพรว่า  จงใช้สมาธิเลยทีเดียว  พระอริยเจ้าชั้นสูงที่ท่านมีสมาธิดีอยู่แล้วนั้น  เวลามีอะไรเกิดขึ้น  ท่านข่มเวทนา คือ ข่มความเจ็บปวดด้วยสมาธิหรือสมถภาวนา  อันนี้จงจำไว้

    นอกจากนั้นสมาธิยังช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บได้อีก   อันนี้อาตมาจะแถมหน่อยว่า  สมาธิจิต ไม่ใช่แต่เพียงช่วยข่มเวทนานะ  ยิ่งถ้าเมื่อเจริญถึงขั้นเป็นวิชชาคือความสามารถพิเศษด้วยแล้ว   ยังช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บได้มากตามส่วน

    เพราะว่ากลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียดของขันธ์ 5  อายตนะ 12  ธาตุ 18  ฯลฯ   ซึ่งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างใน   ส่วนนอกที่สุดเป็นธาตุละเอียดของรูปขันธ์  ที่ขยายส่วนหยาบเป็นดวงกาย   แล้วเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นรูปกาย กลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์ เป็นนามขันธ์ 4  ขยายส่วนหยาบออกมาเป็นเห็น-จำ-คิด-รู้ คือใจของเรา    เฉพาะธาตุละเอียดของ รูปขันธ์ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นดวงกาย  ขนาดประมาณเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่   ดวงนั้นแหละประกอบด้วยธาตุละเอียดของธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม และอากาศธาตุ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่เป็นของเหลว ส่วนที่หยาบแข็ง อุณหภูมิลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย และช่องว่างภายในร่างกาย ให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ  แล้วเจริญเติบโตขึ้นเป็นรูปกาย    

    เมื่อฝ่ายนามขันธ์ 4 คือ “ใจ” ออกไปนอกตัว  ไปยึดไปเกาะอารมณ์หรือรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย ณ ภายนอก   ถ้าเป็นอนิฏฐารมณ์คืออารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ ก็จะเกิดกิเลสนิวรณ์ประเภทโทสะ  ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของกิเลสนั้น  เช่นประทุษร้ายหรือเข่นฆ่าเขา  กรรมชั่วจากปาณาติปาต คือการประทุษร้ายร่างกายหรือชีวิตของผู้อื่นด้วย กิเลสคือโทสะนั้น จะปรากฏ ที่ใจและประทับอยู่ที่ธาตุละเอียดซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมธาตุละเอียดนั้นแหละ กลายเป็นสภาพธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ด้วยอำนาจกรรมและกิเลสนั้น ปรุงแต่งออกมาเป็นผลกรรม รอที่จะให้ผลแก่บุคคลหรือสัตว์ที่กระทำความชั่ว แต่ละอย่างๆ รอที่จะให้ผลเชียวแหละ   อย่างเรื่อง การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  การเบียดเบียนสัตว์    ต่อไปจะได้รับผลเป็นคนขี้โรคอ่อนแอ  หรืออายุสั้น เช่น การประสบอุบัติเหตุ ในกรณีที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตสัตว์ใหญ่  หรือผู้ที่มีคุณมากอย่างนี้เป็นต้น    กรรมนี้ จะให้ผลปรากฏเป็นความเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีอายุสั้น 

    ทีนี้  ถ้าใจเรามาฝึกให้หยุดให้นิ่งบ่อยๆ    ใจก็สะอาดบ่อยๆ  ด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบ  เมื่อใจใสสะอาดบ่อยๆ  เข้าธาตุธรรมนั้นก็พลอยกลับสะอาด   เมื่อธาตุธรรมนั้นสะอาดด้วยกรรมดี  ก็จะมีผลช่วยผ่อนคลายหรือบรรเทา   ผลกรรมที่หนักให้เป็นเบา   จากที่เบาหายไปเลย  เหตุนี้ที่วัดปากน้ำ สมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่จึงแก้ โรคด้วยวิชชาธรรมกาย   แต่มาถึงสมัยลูกศิษย์คนนี้ไม่เก่งเหมือนหลวงพ่อ   จึงบอกญาติโยมว่า  จงช่วยตัวเองด้วยการทำสมาธิ   ให้เอาใจไปหยุดไว้ตรงนั้นเสมอจะช่วยแก้ปัญหา  และช่วยแม้แก้โรคในตัวเราเอง  ด้วยตัวของเราเองได้มากที่สุด   คือปฏิบัติภาวนาเพื่อช่วยชำระธาตุธรรมที่สุด ละเอียดบ่อยๆ เสมอๆ  เข้าจะช่วยได้มาก   จากหนักเป็นเบา  จากเบาก็หายไปเลย   นี้คือคุณค่า  ของสมาธิที่เอาใจไปตั้งไว้ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมไว้เสมอ
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    เป็นไปได้ไหม ที่จะดูอนาคตระหว่างการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ?


    เป็นไปได้ไหม ที่จะดูอนาคตระหว่างการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ?


    -------------------------------------------------

    ตอบ:


    เมื่อใดที่ท่านปฏิบัติได้ถึงดวงธรรมใส และรวมใจไว้ที่กลางของกลาง หยุดในหยุดนิ่ง กลางดวงธรรมใสนั้น ท่านจะเห็นช่องว่างเล็กๆ ขนาดประมาณเท่ารูเข็มหรือเล็กกว่า ขึ้นอยู่กับระดับการรวมใจของท่าน ยิ่งระดับสูงช่องว่างนั้นก็ยิ่งเล็ก ตรงกลางช่องว่างนั้น มีสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมเป็นเส้นเล็กๆ ที่บางที่สุด บางมากจริงๆ และใส ให้รวมใจหยุดนิ่งที่กลางของกลาง อย่าสร้างภาพใดๆ รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดๆ เพื่อทำใจให้เป็นกลาง แล้วอธิษฐานจิตไปตามสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น เมื่อใจหยุดนิ่งศูนย์กลางก็จะขยายออก ท่านก็จะเห็นชีวิตของท่านระหว่าง 5-10 ปีข้างหน้า เป็นกายที่แก่นั้น แล้วก็รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุด ที่กลางของกลางศูนย์กลางกายนั้นเข้าไป ก็จะสามารถเห็นกายที่แก่มากขึ้น จนกระทั่งเห็นการตายของสังขารร่างกายของท่านเอง

    อาตมาแน่ใจว่าผู้ใดทำใจให้บริสุทธิ์และเป็นกลางอย่างนี้ หรือผู้ถึงธรรมกาย ก็จะสามารถหยั่งรู้ได้ว่าเขาจะตายเมื่อไรและอย่างไร เมื่อเห็นการตายของสังขารร่างกายของตนเอง ก็สามารถใช้ประสบการณ์นี้เป็นมรณสติได้

    และแม้ว่าเรารู้วันที่เราจะตายแน่นอน และจะตายด้วยอาการอย่างไร เรายังจะคลายความยึดมั่นถือมั่นในสังขารธรรมทั้งหลายได้ และจะเห็นแจ้งด้วยปัญญาของเราเองว่า กายและใจหรือขันธ์ 5 ของเรา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

    ตราบเท่าที่ท่านยังมีตัณหา ท่านก็ยังจะมีสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ต่อไป ในโลกมนุษย์ ทิพย์ พรหม หรืออรูปพรหม ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม แต่ธรรมกายนั้นหามีสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมไม่ เพราะเป็นกายบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ให้เกิดภพชาติอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม อาตมาใคร่จะแนะนำท่านว่า เมื่อท่านปฏิบัติได้ถึงระดับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นพระภิกษุ ไม่ควรบอกหรือโอ้อวดแก่ผู้ใด เพราะเป็นการผิดพระวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งสำหรับตน จึงใคร่จะเน้นว่า ตราบใดที่เรายังไม่ใช่พระอรหันต์ สิ่งที่เรารู้เห็นเหล่านี้ก็ยังไม่แน่นอน 100% ดังนั้นการพิจารณาเช่นนี้จะต้องทำตลอดเวลา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งสำหรับตน (มิใช่เพื่อการโอ้อวดแก่ใคร)
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    [​IMG]







    ถาม :: การรับส่วนบุญที่เขาอุทิศให้ทำได้อย่างไร



    ตอบ


    :: สำหรับพวก"พรหม และ อรูปพรหม"ปิดประตูการรับรู้ เพราะเสวยสุขอยู่ด้วยฌานสมาบัติ อันละเอียดยิ่งนัก ถึงจะรับรู้ก็อาจจะไม่อนุโมทนา เพราะบุญที่เขาเสวยอยู่ ละเอียดกว่าบุญที่อุทิศให้ เปรียบได้กับว่า คนบ้านนอกนำอาหารดีที่สุดสำหรับเขา แต่ในสายตาของคนเมืองแล้ว เป็นอาหารแย่มาก นำมาให้คนในเมืองซึ่งอยู่ดีมีสุข เขาก็รับแต่อาจไม่กินไม่ใช้ บุญที่พวกพรหมรับนั้น จึงต้องเป็นบุญที่ละเอียดมากๆ
    สำหรับพวก"เทวดา" แม้จะรับรู้เรื่องการบุญกุศล แต่ถ้าเป็นบุญหยาบ เขาก็อาจไม่ต้องการส่วนบุญ แต่ถ้าเป็ยบุญที่ละเอียด เขาก็ต้องการ เช่น นอกจากทานกุศล ก็มีศีลกุศล ภาวนากุศล ซึ่งเป็นบุญละเอียด เทวดาก็อนุโมทนา ทานที่ละเอียดได้แก่ ทานกุศลที่ทำกับพระอริยเจ้า ผลทานที่ได้จะละเอียด ถ้ายิ่งละเอียดเทวดาก็จะรับได้ เรื่องการอนุโมทนาแล้ว ถ้าทราบข่าว เทวดาก็มักอนุโมทนาเสมอ
    สำหรับพวก"เปรต" โดยเฉพาะปรทัตตูปชีวิกเปรต รับรู้ได้ง่าย เพราะต้องการและแสวงหาอยู่แล้ว คอยอยู่ว่าญาติที่ไหนจะทำบุญ และอุทิศไปให้ และรู้วิธีที่จะได้บุญด้วยการอนุโมทนา แต่เปรตประเภทอื่นๆ ด้วยวิบากอกุศลกรรม ทั้งๆที่รู้ว่าเราบอกบุญให้ เขาอาจจะได้ยิน แต่ไม่อนุโมทนา เพราะไม่มีอุปนิสัย คือไม่รู้ว่าบุญคืออะไร ไม่เห็นคุณค่าของการอนุโมทนาบุญ เลยไม่ได้บุญ
    สำหรับพวก"สัตว์นรก อสุรกาย" โอกาสรับรู้เรื่องบุญแทบไม่มีเลย เว้นแต่ผู้ปฏิบัติธรรม ที่มีภูมิธรรม ที่เขาสามารถไปบอกข่าวได้ อย่างเช่น พระโมคคัลลานะ เคยไปเที่ยวสวรรค์ ไปเที่ยวนรก ก็สามารถบอกข่าว เรื่องบุญกุศลได้
    อีกวิธีหนึ่ง ที่สามารถ บอกข่าวบุญกุศล ที่ทำได้ ซึ่งเป็นที่นิยมกัน คือ การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ไปให้กับสัตว์โลกบางเหล่า บางประเภท เช่น เทพยดาระดับจาตุมหาราชิกา เช่น ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ( ท้าวเวสสุวัณ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ ) เจ้าแม่ธรณี โดยมีความมุ่งหมายว่า เทพยดาเหล่านั้น จะได้บอกข่าวการบุญ การกุศล การอุทิศบุญกุศลไปยังสัตว์โลกอื่นๆทั้งหลาย ให้รับรู้และอนุโมทนาบุญได้ ทั้งระดับสูง ระดับต่ำลงมา ทำให้มีโอกาสรับรู้การบุญ การกุศล ได้มากกว่าปกติ คนทำบุญจึงมักจะอุทิศบุญ ให้กับเจ้าแม่ธรณี และท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ด้วย ซึ่งในโอกาสนี้ สัตว์โลกที่พอมีอุปนิสัย รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ ก็จะได้ อนุโมทนาส่วนบุญนั้นได้ และได้บุญตามแต่ควรกรณี



    ........................

    พระเทพญาณมงคล

    (พระอาจารย์เสริมชัย ชยมังคโล หรือ หลวงป๋า)


    จากหนังสือ
    ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    [​IMG]
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ........................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 ตุลาคม 2014
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ..............................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 ตุลาคม 2014
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    อริยสัจจ์สี่


    ความจริงอันประเสริฐ ที่นำสัตว์โลกไปสู่ความพ้นทุกข์

    ----------------------------------------------------------------



    พระพุทธศาสนาสอนให้สัตว์โลกทำเหตุดี เพื่อได้ผลกรรมที่ดี
    ละเหตุชั่ว เพื่อไม่ต้องรับผลกรรมชั่ว

    เป็นเรื่องของเหตุและผล ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นมาลอยๆด้วยการดลบันดาล
    หรือจะเกิดอะไรก็ได้ ไม่มีต้นสายปลายเหตุ







    อริยสัจจ์สองข้อแรก ทุกข์ และสมุทัย

    ทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ


    ความทุกข์ ที่เห็นง่ายๆคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ผู้ไม่ต้องเกิดในภพใดๆ ในสามภพ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ)คือพระอรหันต์ จึงไม่ต้องทุกข์เพราะ แก่ เจ็บ ตาย

    ที่นี้ เราเกิดมาแล้ว แม้ทำบุญ บารมีมามากแค่ไหน เราก็ต้องแก่ เจ็บ และตาย

    ( ตามยุคสมัยแห่ง พระนิพพานถอดกาย เข้านิพพาน)


    เมื่อเราเจริญวิชชาฯ ดับหยาบไปหาละเอียด จนถึงพระนิพพาน แม้ชั่วขณะที่พ้นด้วยอำนาจฌาณ+ปัญญา (วิขัมภนวิมุตติ ตทังควิมุติ ) ก็ยังต้องเจริญวิชชาพิจารณาอริยสัจจ์เป็นประจำ เพื่อดับสมุทัย เพราะ เมื่อดูด้วยญาณพระธรรมกาย จะเห็นว่า

    สมุทัย(กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา)เกิดขึ้นมาอีกได้ เพราะเชื้อกิเลสในใจเรายังมีอยู่นั้นเอง


    เมื่อญาณปัญญา ที่ได้ทั้งรู้และเห็น อริยสัจจ์พัฒนาขึ้นเป็นเห็นปัจจยาการหรือปฏิจจสมุปบาท จะเห็นว่า การตัดห่วงโซ่วัฏฏจักร สามารถทำได้โดย2ทางใหญ่คือดับตัณหา และ ดับอวิชชา(หัวหน้าใหญ่แห่งปฏิจจสมุปบาท)


    การเจริญวิชชาละเอียดเข้าไปไม่หยุดกับที่ คือซ้อนเข้ากลางธรรมกายของพระพุทธเจ้าเข้าไปเรื่อยๆ ทำให้มีความรู้ที่จะดับอวิชชา ตั้งแต่หยาบๆ ไปจนละเอียดขึ้นเรื่อยๆได้

    เป็นการมุ่งเข้าไปดับที่ข้อต่อของห่วงโซ่ใหญ่

    และส่งผลให้กุศลกรรม่ต่างๆที่เป็นคู่ปรับกับอกุศลธรรมอันหลากหลาย เจริญขึ้นไปด้วย



    ------------------------------


    ทุกข์ +สมุทัย เปรียบดัง ความมืดในห้องๆหนึ่ง

    นิโรธ(สภาพที่ทุกข์ดับ)+มรรค เปรียบดัง แสงสว่างในห้องห้องหนึ่ง



    เหตุของความมืด(ทุกข์ สมุทัย ) มาจาก ความไม่มีแสงสว่าง (ไม่มีนิโรธ และมรรค)



    เมื่อเราจุดไฟหรือให้พลังงานได้ แสงสว่างมา ความมืด ก็หายไป
    เป็นธรรมชาติและความจริง แค่นี้


    -----------------------------------------


    เมื่อดู เหตุในเหตุ

    เหตุของทุกข์คือสมุทัย

    เหตุของนิโรธคืออริยมรรคมีองค์แปด


    ดังนั้น ถ้าปฏิบัติ กาย วาจา ใจ ให้เป็นอริยมรรคมีองค์แปดเสียแล้ว

    สมุทัยซึ่งเป็นตัวเหตุก็ดับ ส่งผลให้ ทุกข์ ที่เป็นตัวผลก็ดับตาม
    (ดับออกจากใจ---เนื่องจากเกิดมาแล้ว และต้องตาย ห้ามการเจ็บและตาย ไม่ได้ถาวร
    ตามยุคสมัยแห่งพระนิพพานถอดกาย)


    ลักษณะหนึ่งของอวิชชา คือ1 ไม่รู้จักขันธ์ห้า 2.เหตุของขันธ์ห้า 3.สภาพดับขันธ์ห้า และ4.หนทางแห่งการดับขันธ์ห้า 4 ประการนี้




    เมื่อรู้จักขันธ์ห้าแล้ว เป็นธรรมขันธ์ล้วนๆละเอียดเข้าไปๆ ย่อมส่งผลให้ อวิชชาดับไปเรื่อยๆ

    จนกว่า ใจของกายโลกียะทั้งหมดคือ มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม พัฒนาพิศดารธาตุธรรมขึ้นเป็นกายธรรมไปหมด

    ถอดกิเลส ถอดอนุสัย เป็นชั้นๆ ตามกันมา เป็นกายธรรมหมดเมื่อไร ละสังโยชน์ได้เท่าใด ก็ใกล้มรรคผลเท่านั้น

    ตามเหตุและผล อันเป็นสัจธรรม นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 ตุลาคม 2014
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    เจริญวิชชาขั้นกลาง
    ปัญหาขณะตรวจภพ ตรวจจักรวาล การทำให้เห็นชัดตามจริง และการวางจิตเมื่อเห็นสิ่งที่อยู่นอกศุนย์กลางกาย



    ตอบปัญหา โดย พระเทพญาณมงคล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]





    ผู้ปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วช้าต่างกันเพราะเหตุใด ?

    -----------------------------------------

    ตอบ:


    การปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วช้าต่างกันเพราะเหตุปัจจัยต่างๆ ดังเช่นต่อไปนี้
    1. การบำเพ็ญบุญกุศล และการสร้างบาปอกุศลมากน้อยหนักเบามาไม่เท่ากัน จึงยังผลให้การปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วช้าต่างกัน เพราะว่าบุญกุศลที่ผู้ปฏิบัติธรรมประกอบบำเพ็ญในปัจจุบัน ย่อมทำหน้าที่เป็นกรรมสนับสนุน (อุปัตถัมภกกรรม) ช่วยส่งเสริมบุญกุศล ที่ได้สั่งสมอบรมมาแต่เดิม ให้แก่กล้าขึ้นเป็นบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี เต็มส่วนเร็วขึ้น และช่วยให้ผลการปฏิบัติธรรมดีขึ้นตามลำดับ ส่วนว่าความประพฤติปฏิบัติที่เป็นบาปอกุศล ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันก็ทำหน้าที่เป็นกรรมบีบคั้น (อุปปีฬกกรรรม) เบียดเบียน ขัดขวาง ปิดกั้น มิให้บุญบารมีที่ได้เคยสั่งสมอบรมมา ไม่ให้ผลอย่างสมบูรณ์เต็มที่ผลของการปฏิบัติธรรม ของแต่ละบุคคลจะได้ผลเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับบุญกุศลและบาปอกุศลที่แต่ละคนประกอบบำเพ็ญ สั่งสมอบรม มาที่แตกต่างกันดังกล่าว
    2. ขึ้นอยู่กับการอธิษฐานบารมี ที่ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นๆ ได้เคยอธิษฐานจิตเอาไว้ ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันว่าแตกต่างกันเพียงใด บางท่านอธิษฐานจิตปฏิบัติธรรมเพียงบรรลุมรรค ผล นิพพาน ในระดับภูมิธรรมขั้นปกติสาวก บางท่านอธิษฐานในระดับอสีติมหาสาวกผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ บางท่านอธิษฐานเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า และบางท่านอธิษฐานปรารถนาพุทธภูมิ เป็นพระอรหันต์ปัจเจกพุทธเจ้า และสูงขึ้นไปถึงเป็นพระอรหันต์ สัพพัญญูพุทธเจ้า ซึ่งจะต้องอาศัยการบำเพ็ญบารมีที่มากและนานกว่ากัน กว่าจะบำเพ็ญบารมีได้ เต็มส่วนถึงปรมัตถบารมี อันยังผลให้การปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วและแตกต่างกัน
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    รู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่เห็นในขณะปฏิบัติภาวนา ไม่ใช่สิ่งที่นึกเอาเอง ?

    

    [​IMG]






    [​IMG]







    จะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่เห็นในขณะปฏิบัติภาวนาธรรมนั้น ไม่ใช่สิ่งที่นึกเอาเอง ?


    -----------------------------------------------------




    ตอบ:

    รู้ได้ด้วยการพิสูจน์ด้วยตนเอง  เช่น

    การนึกให้เห็นดวงแก้วหรือพระแก้วขาวใสที่เรียกว่า กำหนดบริกรรมนิมิต ในเบื้องต้นของการฝึกเจริญภาวนาสมาธินั้น จะไม่มีทางนึกให้เห็นได้ชัดเจน ใสแจ๋ว และสว่างไสว เท่าเมื่อใจรวมหยุดเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงดีแล้ว (ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อันเป็นที่ตั้งของ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม)     การเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย และการเห็นกายในกายไปจนถึงธรรมกายนั้น สวยงาม ละเอียด ประณีต และมีรัศมีปรากฏ  แตกต่างจากการนึกเห็นด้วยใจในเบื้องต้นนั้นมากมายนัก  อย่างที่เรียกว่า “ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน” แล้วจะไปนึกเอาเองได้อย่างไร  จึงไม่ใช่สิ่งที่นึกเอาเอง
    เมื่อปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว  ก็ทดลองฝึกน้อมเข้าสู่อนาคตังสญาณ  ดูเหตุการณ์ในอนาคตอันใกล้ๆ ดูบ้าง  หรือฝึกขยายทิพยจักขุและข่ายของญาณทัสสนะ ดูสิ่งต่างๆ ที่พอจะพิสูจน์ได้ว่าเห็นจริงหรือไม่จริงดูบ้าง    ก็ค่อยๆ มีประสบการณ์เองว่า ที่เห็นนั้นถูกต้องตามที่เป็นจริงก็มีมาก  ที่ผิดพลาดบ้างก็มี   ก็ให้พิจารณาเหตุสังเกตผลดู ว่าเป็นเพราะเหตุใด
    และถ้าได้ทำนิโรธดับสมุทัยปหานอกุศลจิตให้หมดสิ้นไปได้ดีเพียงใด  และใจเป็นอุเบกขาเพียงใดในขณะใด   ในขณะนั้นการรู้เห็นจะเป็นตามจริง  ทั้งจริงโดยสมมติและจริงโดยปรมัตถ์เพียงนั้น   แต่ถ้าขณะใด จิตใจยังมัวหมองอยู่ด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน มีอคติ   การรู้เห็นในขณะนั้นก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้ง่ายดาย

    ผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นพระอริยเจ้า  หรือผู้ปฏิบัติธรรมที่หมั่นมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันในกองกิเลส และหมั่นชำระจิตใจให้ผ่องใสไว้เสมอ ด้วยการเจริญสติปัฏฐานทั้ง 4   และทำนิโรธ ให้ใจสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอเพียงใด   ธรรมชาติเครื่องรู้เห็นมีทิพพจักขุและญาณทัสสนะเป็นต้นย่อมบริสุทธิ์    ให้สามารถรู้เห็นได้ถูกต้อง แม่นยำ กว่าผู้ที่ทรงคุณธรรมที่ต่ำกว่าเพียงนั้น    เพราะฉะนั้น เมื่อปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็อย่าได้เหิมเกริมว่าเลิศแล้ว   ต้องปฏิบัติภาวนาธรรมเพื่อกำจัดขัดเกลากิเลสให้หมดสิ้นไป ด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบอยู่เสมอ    นั่นแหละจึงจะพอแน่ใจได้ว่าพอเอาตัวรอดได้   และเมื่อนั้นเครื่องรู้เห็น ได้แก่ ทิพพจักขุและญาณทัสสนะก็จะบริสุทธิ์   ให้สามารถรู้เห็นได้อย่างถูกต้องแม่นยำเอง

    จึงพึงเข้าใจว่า การสอนให้ตรึกนึกเห็นด้วยใจเป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส หรือ พระพุทธรูปขาวใส ขึ้น ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น เป็นเพียงอุบายวิธีในการอบรมจิตใจ ให้มารวมหยุดเป็นจุดเดียว (เอกัคคตารมณ์) ตรงศูนย์กลางกายอันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตและธรรมในธรรม เพื่อเจริญสติปัฏฐาน 4 อันเป็นการเจริญภาวนานั้นเองทั้งสมาธิและปัญญา ด้วยการที่ให้ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นสภาวธรรมและสัจจธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 ตุลาคม 2014
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    เห็นนิมิตต่างๆ ?

    
    นั่งแล้วกำหนดเห็นแสงสีขาว แต่จะมีเหมือนรูปรอยเท้าอยู่ จะมีแสงกลมๆ ขนาดลูกมะพร้าวเป็นสีม่วง สีแดง สีเหลืองสลับกัน ลอยห่างออกไป กำหนดเห็นจุดขาวเล็กๆ แต่ถ้าเพ่งจะหายไป จะกำหนดอย่างไร ?

    -------------------------------------------------------
    ตอบ:

    กำลังจะได้ที่   อย่าอธิบายว่าอะไรเป็นอะไรเลย   กระผมจะถวายคำแนะนำวิธีปฏิบัติเลย

    ถ้าใครเห็นแสงเฉยๆ อยู่ภายนอก  หรือเห็นดวงเฉยๆ อยู่ภายนอกแล้วหายไป  จะเป็นสีอะไร ปล่อยครับ   หลวงพ่อจงปล่อยเลย  อย่าสนใจ ให้เหลือบตากลับนิดๆ   กำหนดเป็นจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางกายไว้  

    ค่อยๆ นึกให้เห็นดวงใส   ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น   ใจเย็นๆ  หยุดในหยุด กลางของหยุด แต่อย่าเพ่งแรง   ถ้าเพ่งแรงแล้วหาย   นึกถึงการกดลูกปิงปองให้จมลงในน้ำ   ถ้ากดแรงเกินไปก็จะกลิ้งหลุดมือ   ถ้ากดค่อยเกินไปก็ไม่จมลง   ต้องกดเบาๆ ตรงศูนย์กลางพอดีๆ   

    เหมือนเมื่อครั้งพระอานนท์เถรเจ้าปฏิบัติธรรมเกือบตาย   เพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า   ท่านจะได้บรรลุธรรมก่อนการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 1 หนึ่งวัน  พอถึงวันทำสังคายนาพระมหาเถระ ที่จะประชุมทำสังคายนาได้ให้จัดอาสนะเตรียมพร้อมไว้ให้ท่านอานนท์  ท่านปฏิบัติเต็มที่แต่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน สังขารของท่านเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการจัดงานถวายพระเพลิง   สังขารไม่สบาย จิตใจจึงไม่สงบ ท่านจึงฉันยาระบาย สันนิษฐานว่าเป็นสมอดองด้วยน้ำมูตรเน่า   ฉันแล้วระบายท้อง ระบายท้องแล้วสบายตัว  ดึกแล้ว เอนกายในท่าพอเหมาะพอสบาย  ก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพานทันที   ตื่นเช้าขึ้นมา ไปแสดงตนในที่ประชุมสงฆ์ทำสังคายนาด้วยวิธีปรากฏตัวขึ้นโดย ไม่ต้องเดินมาให้เห็น  เพื่อแสดงความเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทา  เพราะการทำปฐมสังคายนานั้น  อาราธนาแต่เฉพาะพระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทา* ทั้งสิ้น เพราะว่าทรงจำข้อธรรมต่างๆ ได้ด้วย ระลึกเหตุการณ์และเห็นแจ้งในพระธรรมได้ด้วยพระญาณ

    คำตอบที่ว่า  เมื่อเพ่งไปที่จุดเล็กแล้วหายไป   คงจะเข้าใจดีว่า  ต้องมีความพอดี  อย่าเพ่งแรง   อย่าอยากเห็นเกินไป   นั่นเป็นอุปกิเลสของสมาธิ   ระวังจิตใจอย่าให้ฟุ้งซ่านเผลอออกไป   ก็จะจืดจางจากความเป็นสมาธิ  ปล่อยใจให้ดิ่งลงที่กลางของกลางจุดเล็กใส ณ ศูนย์กลางกายเลย   ปักดิ่งไม่ถอน   ให้ปักดิ่งแต่ต้องเบาๆ สบายๆ  ไม่เคร่งครัดเกินไป   ดังที่หลวงพ่อท่านว่า “ต้องให้ถูกศูนย์ ถูกส่วน” แล้วจะได้ที่   เพราะฉะนั้นเรื่องอื่นไม่อธิบายละเอียด   นึกกำหนดศูนย์กลาง ทุกอิริยาบถ  เดิน ยืน นั่ง นอน  เดี๋ยวติด เห็นใสสว่างเลย   อย่างนี้ไม่ช้า

    * พระอรหันต์ประดับด้วยอภิญญา ด้วยปฏิสัมภิทานั้นก็คือ 1) อรรถปฏิสัมภิทา  คือมีญาณหยั่งรู้ในเหตุ ไปถึงต้นๆ เหตุ   2) ธรรมปฏิสัมภิทา รู้ผล  3) นิรุตติปฏิสัมภิทา รู้ภาษาหลายภาษา  แม้กระทั่งภาษาสัตว์   และ 4) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา รู้การโต้ตอบปัญหาที่ถูกต้อง ตรงประเด็น   ตรงไหนควรย่อควรไหนควรขยาย     พระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทา  มีอภิญญาด้วย มีญาณหยั่งรู้  เมื่อมี 4 อย่างนี้ คุณธรรมมีเพียบเลย ไม่ใช่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ หรือสุกขวิปัสสโก  ยกตัวอย่าง ท่านพระจักขุปาล   เทวดาเดินมา  ท่านก็ยังไม่ทราบว่าเป็นเทวดา  ต่อเมื่อท่านกำหนดจิตดู สังเกตได้ว่า นี่ไม่ใช่เป็นคนธรรมดา แต่เป็นพระอินทร์ เป็นท้าวสักกเทวราช   แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์จตุปฏิสัมภิทา  เทวดาแปลงโผล่มาก็รู้ ก็เห็นได้เลย  หรือไม่มาก็รู้ได้เลย
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...