หลวงพ่อเต๋ คงทอง สุดยอดตำนานเกจิเมืองนครปฐม

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 18 มกราคม 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    [​IMG]

    หลวงพ่อเต๋ คงทอง<O:p></O:p>
    วัดอรัญญิการาม (วัดสามง่าม) อ.ดอนตูม จ.นครปฐม<O:p></O:p>
    หลวงพ่อเต๋ คงทอง เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2434 ณ บ้านสามง่าม หมู่ที่ 4 โยมบิดาชื่อ จันทร์ โยมมารดาชื่อ บู่ นามสกุล สามงามน้อย ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 7 คน เป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 4 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5



    เมื่ออายุได้ 7 ปี ลุงของท่านซึ่งบวชอยู่ที่วัดกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร มีชื่อว่า หลวงลุงแดง เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้นรูปหนึ่ง ได้ไปเยี่ยมญาติที่บ้านสามง่าม ได้พบหลานชายจึงได้ชวนให้ไปอยู่ด้วยกันที่วัดกาหลงเพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือ ธรรมะ และเวทมนต์คาถา เป็นเวลา 3 ปี จนสามารถเขียนอ่านได้เป็นอย่างดี จึงได้กลับมาบ้านเกิด<O:p></O:p>
    หลวงลุงแดงของหลวงพ่อเต๋ ท่านเป็นผู้สนใจในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ท่านเห็นว่าบ้านสามง่าม ควรจะมีวัดวาอารามสำหรับให้พระภิกษุและชาวบ้านประกอบกิจทางพระพุทธศาสนา จึงได้ชักชวนหลานชายไปสร้างวัดขึ้นที่บ้านดอนตูม ห่างจากบ้านสามง่ามประมาณ 3 กิโลเมตร<O:p></O:p>
    เมื่อหลวงพ่อเต๋ มีอายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่กับหลวงลุงแดง ร่วมจัดสร้างวัดใหม่ไปพร้อมกัน รวมทั้งได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงลุงแดง ประวัติหลวงลุงแดงท่านเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีความเชี่ยวชาญพุทธาคมทั้งทางด้านเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันชาตรี มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือมากมาย อีกทั้งหลวงพ่อเต๋มีศักดิ์เป็นหลานของท่าน จึงได้รับถ่ายทอดวิชามาอย่างครบถ้วนโดยไม่มีการปิดบังอำพราง
    พ.ศ. 2454 ท่านมีอายุได้ 21 ปี จึงได้ทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พระครูอุตตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า คงทอง (ภายหลังเปลี่ยนเป็น คงสุวัณโณ แต่ชาวบ้านยังคงเรียกติดปากว่า คงทอง<O:p></O:p>
    พระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อเต๋ คือหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เป็นพระเถระผู้ทรงเกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังมากในฐานะพระเกจิอาจารย์ที่มีพุทธาคมเข้มขลังในขณะนั้น หลวงพ่อเต๋ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางธรรม สมถกัมมัฏฐาน ตลอดจนรับการสืบทอดด้านพุทธาคมต่าง ๆ
    ต่อมาไม่นาน หลวงลุงแดง มรณภาพลงที่วัดกาหลง สมุทรสาคร ก่อนมรณภาพท่านได้ฝากวัดสามง่ามให้หลวงพ่อเต๋ดูแล<O:p></O:p>
    หลวงพ่อเต๋ เริ่มออกธุดงค์ระหว่าง พ.ศ. 2455 – 2472 เป็นเวลา 17 ปี รวมทั้งศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติม นอกจากที่ได้ศึกษาจาก หลวงลุงแดง และ หลวงพ่อทา หลังจากหลวงพ่อทา มรณภาพแล้ว ท่านได้เดินทางไปขอศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จากนั้นออกธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และได้ศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับพระอาจารย์อื่นทั้งพระสงฆ์และฆราวาส อาทิ หลวงพ่อกอน วัดบ่อตะกั่ว นอกจากนี้ท่านยังเดินทางไปเรียนกับพระอาจารย์ทางจังหวัดพิจิตร ยังมีอีกหลายรูปในขณะที่เดินธุดงค์ รวมทั้งอาจารย์ฆราวาส ท่านเป็นชาวเขมร เคยเป็นอดีตแม่ทัพเขมร หลวงพ่อเต๋ได้พบอาจารย์ท่านนี้ที่เขาตะลุง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอาจารย์ที่หลวงพ่อเต๋ เคารพนับถือมาก ในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ท่านจะทำการไหว้ครูเขมรมิได้ขาด
    ภายหลังท่านกลับมาพำนักที่วัดสามง่ามได้ 3 ปี ท่านทำการสร้างวัดสามง่ามต่อจากหลวงลุงแดงที่ฝากฝังไว้ให้ท่านสร้างต่อก่อนจะมรณภาพ สมัยก่อน อุปกรณ์การก่อสร้างต่าง ๆ หาได้ยากมาก เรื่องไม้ที่จะนำมาสร้างวัดต้องเข้าไปเอาในป่าลึก กว่าจะได้ไม้มาแต่ละเที่ยวยากลำบาก การออกไปตัดไม้แต่ละเที่ยว ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน และการนอนป่าหลวงพ่อก็มักจะใช้การตัดไม้ใหญ่เป็นที่พำนักอาศัย การเดินทางไปตามถิ่นต่าง ๆ ก็เพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ท่านจึงไม่กลัวต่อภยันตรายทั้งเสือ ช้าง อันเป็นสัตว์ป่าที่ดุร้าย ตลอดจนสิ่งแวดล้อมภายในป่าที่เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดเวลา 15 ปี ในการตัดไม้มาก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดของท่าน บางครั้งถึงกับอดน้ำ นับว่าเป็นความอุตสาหะมานะอันแรงกล้าอย่างประเสริฐสุดหาที่เปรียบมิได้<O:p></O:p>
    ในการพัฒนา หลวงพ่อเป็นนักพัฒนาหาตัวจับยาก สร้างสถานีอนามัย บ้านพักนายแพทย์และพยาบาล โรงเรียนประถมและมัธยม สถานีตำรวจ ถนนหนทาง ขุดบ่อน้ำบาดาล สร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง<O:p></O:p>
    หลวงพ่อเต๋ เป็นผู้กอปรด้วยความเมตตาปรานี ท่านจะให้ความรักความเมตตาแก่ศิษย์ทุกคนโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง นอกจากนี้ท่านยังให้ความเมตตาต่อสัตว์เลี้ยง ได้แก่ วัว ชะนี นก สุนัข แมว ไก่ เป็นต้น ไม่ว่านก สุนัข ไก่ และแมว ก่อนท่านจะฉันภัตตาหาร ท่านจะต้องให้ข้าวสัตว์เหล่านี้เป็นนิจสิน<O:p></O:p>
    พ.ศ. 2475 กรรมการสงฆ์จังหวัดโดย พระเทพเจติยาจารย์ วัดเสน่หา เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ได้พิจารณาแต่งตั้งให้ หลวงพ่อเต๋ เป็นเจ้าอาวาสวัดสามง่าม<O:p></O:p>
    พ.ศ. 2476 แต่งตั้งให้ท่านรักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะตำบล มีวัดที่ขึ้นอยู่ในความปกครอง 5 วัด คือ วัดสามง่าม วัดลำลูกบัว วัดแหลมมะเกลือ วัดทุ่งสีหลง และวัดตะโกสูง<O:p></O:p>
    การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเต๋ ท่านสร้างไว้หลายแบบมาตั้งแต่ครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 มีทั้งแบบพระเนื้อดิน เนื้อผง เนื้อว่าน เหรียญรูปเหมือน พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ และเครื่องรางของขลัง ตะกรุดหนังเสือ ตะกรุดสามห่วง สีผึ้ง เป็นต้น แต่ละอย่างล้วนมีอภินิหารเป็นที่ประจักษ์และเล่าขานกันมาทุกวันนี้<O:p></O:p>
    พระเครื่องของท่านไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงาม แต่เน้นเรื่องพุทธคุณ เพราะท่านตั้งใจสร้างให้บูชาติดตัวเพื่อป้องกันภัยต่าง ๆ มีทั้งทางมหาอำนาจ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด เนื้อพระส่วนมากเป็นแบบเนื้อดินผสมผงปนว่าน เนื้อดินอาถรรพ์ที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลได้แก่ ดินโป่ง 7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้น ผสมลงไปในพระทุกพิมพ์ ด้านหลังองค์พระจะประทับชื่อ หลวงพ่อเต๋ กดลึกลงไปในเนื้อพระ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>

    [​IMG]<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>
    วัตถุมงคลที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่านมาจนทุกวันนี้คือ ตุ๊กตาทอง หรือที่นิยมเรียกกันว่า กุมารทอง ตำราการสร้างได้จากหลวงลุงแดง ประกอบด้วย ดินโป่ง 7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้น มาปั้นตุ๊กตาทอง (กุมารทอง) แจกชาวบ้าน นำไปไว้เป็นเครื่องคุ้มครอง เพราะดินดังกล่าวจะมีเทวดารักษา จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อปั้นแล้วเอาวางนอนไว้ จึงทำการปลุกเสกให้ลุกขึ้นเองตามตำรา ตุ๊กตาทองนี้นิยมกันมากใครได้ไปบูชามักจะมีเรื่องเล่าสู่กันฟังเป็นที่อัศจรรย์ ทำรายได้มหาศาล สามารถขออะไรสำเร็จทุกอย่างและเป็นที่ศรัทธาอย่างสูงของประชาชน<O:p></O:p>
    ในปี พ.ศ. 2505 ท่านได้จัดสร้างพระเครื่องเนื้อดินพิธีใหญ่อีกครั้ง เพื่อฉลองอายุครบ 5 รอบ เนื้อดินที่ใช้ยังได้นำดินทวารวดี ที่ชำรุดหักและผงว่านผสมลงไปด้วย สังเกตเนื้อองค์พระเมื่อเผาแล้ว เนื้อดินจะนุ่มเมื่อถูกเหงื่อถูกสัมผัส ปรากฏมวลสารและว่านแลดูเก่ามาก พิมพ์ที่จัดสร้าง มีดังนี้<O:p></O:p>
    1. พระรูปเหมือนซุ้มเรือนแก้ว<O:p></O:p>
    2. พระปรกโพธิ์ใหญ่<O:p></O:p>
    3. พระปรกโพธิ์เล็ก<O:p></O:p>
    4. พระตรีกาย (พระสาม)<O:p></O:p>
    5. พระทุ่งเศรษฐี<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    พระเครื่องเนื้อดิน 4 พิมพ์แรก ด้านหลังจะมียันต์อักขระนูน เรียกว่า ยันต์สามง่าม เนื่องจากด้านหลังมีรูป ตรี เป็นสัญลักษณ์ของวัดสามง่ามนั่นเอง ส่วนพระทุ่งเศรษฐี ด้านหลังมียันต์และชื่อฉายา คงทอง กดประทับลึกลงไปในเนื้อ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>

    [​IMG]<O:p></O:p>

    <O:p> </O:p>
    หลวงพ่อเต๋ คงทอง มรณภาพลงโดยอาการสงบ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2524 รวมสิริอายุได้ 80 ปี 6 เดือน 10 วันพรรษาที่ 59 ปัจจุบันทางวัดยังคงบรรจุสังขารของท่านไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหารวมทั้งผู้ที่เคารพศรัทธาได้ไปกราบไหว้บูชาจนทุกวันนี้.<O:p></O:p>

    ที่มา : นิตยสารคเณศ์พร ฉบับ อมตวัตถุมงคลยอดนิยม, เมษายน 2549
    ที่มา http://www.siammongkol.com/monk_history/lp_tae.htm<O:p></O:p>
     
  2. cassanovit

    cassanovit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    459
    ค่าพลัง:
    +939
    ลูกศิษย์ของท่าน ณ ปัจจุบัน คือ หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม ซึ่งท่านก็เล่าเรียนวิชาตรงๆมาจากหลวงพ่อเต๋ ครับ พี่ๆเพื่อน สามารถไปกราบท่านได้ที่วัดสามง่ามครับ
     
  3. phumiput

    phumiput เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,863
    ค่าพลัง:
    +16,581
    กุมารทองของท่านถือว่าเป็นหนึ่งในแผ่นดินเลยนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...