ปฎิบัติ-สำรวม-สันโดษ 3ปฎิปทาของ "สมเด็จพระสังฆราช"

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 1 ตุลาคม 2013.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    ปฎิบัติ-สำรวม-สันโดษ 3ปฎิปทาของ "สมเด็จพระสังฆราช"แบบอย่างคณะสงฆ์ไทย

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จะทรงเจริญพระชันษาครบ 100 ปี ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2556

    เนื่องในวโรกาสมหามงคลนี้ และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทาง สำนักเลขานุการสมเด็จพระ สังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร จึงมีการจัด “นิทรรศการพระชันษา 100 ปี สดุดีสังฆบิดร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ณ อาคารสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย วัด
    บวรนิเวศวรวิหาร ตั้งแต่วันที่ 1-7 ต.ค.นี้

    โดยน้อมนำ พระปฏิปทาแบบอย่างของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ที่ทรงยึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงเป็นสามเณร และยังปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง จนก่อเกิดเป็นความศรัทธาขึ้นในพุทธศาสนิกชนที่ได้พบเห็นตลอดระยะเวลาที่ทรงอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์มาเผยแผ่ เพื่อเป็นแสงสว่างส่งต่อไปยังปฏิปทาของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน

    เพราะพระปฏิปทาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ที่ทรงยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอดนั้น นับว่าเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งสำหรับพระสงฆ์ไทยในการนำไปปฏิบัติเพื่อสร้างแรงศรัทธาให้เกิดขึ้นต่อพุทธศาสนิกชน

    สำหรับพระปฏิปทา 3 ข้อ อันเป็นแบบอย่างของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ประกอบด้วย
    1.ความเป็นผู้ทรงปริยัติและไม่ทิ้งปฏิบัติ
    2.ความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย
    3.ความเป็นมีสันโดษมักน้อย

    ความเป็นผู้ทรงปริยัติและไม่ทิ้งปฏิบัติ นั้น เห็นได้จากแม้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงสำเร็จเปรียญธรรม 9 ประโยค ซึ่งถือว่าเป็นชั้นสูงสุดในการศึกษาด้านปริยัติของคณะสงฆ์แล้ว แต่ยังทรงศึกษาหาความรู้ในด้านต่างๆอยู่เสมอ โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา และ ไม่ทรงถือพระองค์ว่าเป็นผู้รู้แล้ว แต่จะทรงถือพระองค์ว่าเป็นผู้กำลังศึกษา

    ขณะเดียวกัน พระองค์ยังทรงปฏิบัติสมาธิกรรมฐานเป็นประจำด้วย แม้พระองค์จะประทับอยู่ในพระอารามที่อยู่ท่ามกลางบ้านเมือง หรือที่เรียกว่า “คามวาสี” แต่พระองค์จะทรงปฏิบัติพระองค์ตามอย่างของพระที่อยู่ตามป่าเขา หรือ “อรัญวาสี” กล่าวคือ กลางวันศึกษาธรรม ตกกลางคืนพระองค์จะทรงทำสมาธิกรรมฐานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง จึงบรรทม และจะทรงตื่นบรรทมเวลาตี 3 ครึ่งเช่นเดียวกับพระวัดป่า ทรงทำวัตรสวดมนต์ ทรงทบทวนพระปาติโมกข์จนเช้า จากนั้นจึงทรงออกบิณฑบาต แม้จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะแล้ว ก็ยังทรงปฏิบัติเช่นนี้มาโดยตลอด ก่อนที่พระองค์จะทรงพระประชวร

    เรื่องปฏิบัติสมาธิกรรมฐานนั้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงถือเป็นหน้าที่ที่พระภิกษุสามเณรพึงปฏิบัติ พระองค์จะทรงแนะนำอยู่เสมอว่า การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานนั้น เป็นการหางานให้ใจทำ ใจจะได้ไม่ว่าง เพราะหากใจว่าง ใจจะฟุ้งซ่าน ที่สำคัญการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานจะช่วยให้พระภิกษุสามเณรดำรงอยู่ในสมณเพศอย่างเป็นสุข

    ด้านความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย นั้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงมีความเคร่งครัดในพระวินัยมาก ทรงเป็นผู้สงบนิ่ง พูดน้อย ไม่ว่าประทับที่ใด พระองค์ทรงอยู่ในพระอาการสำรวมเสมอ

    “พระเณรไม่ควรอยู่อย่างหรูหรา”

    คือสิ่งที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเตือนพระภิกษุสามเณรอยู่เสมอ และเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้อย่างดีในพระปฏิปทาเรื่องของความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ถือเป็นพระปฏิปทาอีกข้อหนึ่งที่ปรากฏเด่นชัด เพราะ พระองค์ไม่ทรงสะสมวัตถุสิ่งของที่มีผู้มาถวาย ก็จะทรงแจกจ่ายไปตามโอกาส

    มีอยู่ครั้งหนึ่งในวโรกาสทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษา 80 ปี หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ได้ทูลถวายจตุปัจจัยร่วมบำเพ็ญพระกุศล 7 ล้านบาท พระองค์ทรงอนุโมทนา แล้วตรัสกับหลวงพ่อคูณว่า “ขอถวายคืนร่วมทำบุญกับหลวงพ่อด้วยก็แล้วกัน”

    พระครูสังฆสิทธิกร หัวหน้าฝ่ายศาสนวิเทศ สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช บอกถึงการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ว่า การจัดนิทรรศการใน ครั้งนี้จะเป็นการนำเรื่องเล่าจากพระนิพนธ์ บันทึกส่วนพระองค์ มาจัดแสดงเป็นครั้งแรก ทั้งยังมีการนำภาพต่างๆของพระองค์มาจัดแสดงในรูปแบบ 4 มิติ เสมือนได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ที่สำคัญผู้ที่เข้าชมนิทรรศการจะได้รับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ที่ผสมหัวเชื้อมาจากน้ำพระพุทธมนต์ของวัดบวรฯ อายุถึง 100 ปีด้วย

    ทีมข่าวศาสนา ในฐานะพุทธศาสนิกชนเชื่อมั่นว่า พระปฏิปทาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นับเป็นสิ่งที่สอดรับกับหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และส่งผลให้พุทธศาสนิกชนทั่วโลกศรัทธาในตัวพระองค์




    ซึ่งสิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีก็คือ การที่ผู้นำชาวพุทธโลกจาก 32 ประเทศได้มีมติทูลถวายตำแหน่งพระเกียรติยศอันสูงสุด “ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา” แด่พระองค์ เมื่อช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมา

    และไม่ว่าจะทรงอยู่ในสถานะใดก็ยังทรงปฏิบัติตามกิจของสงฆ์อย่างไม่เคยว่างเว้น ทั้งนี้ ก็เพราะทรงต้องการทำให้เป็นแบบอย่างแก่พระสงฆ์ในรุ่นต่อๆไป ได้นำไปยึดปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความศรัทธา และความมั่นคงในพระพุทธศาสนาสืบไป

    ทีฆายุโก โหตุ มหาสังฆราชา...

    ปฏิบัติ-สำรวม-สันโดษ 3พระปฏิปทาของ"สมเด็จพระสังฆราช" แบบอย่างแห่งคณะสงฆ์ไทย - ข่าวไทยรัฐออ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 630.jpg
      630.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.4 KB
      เปิดดู:
      1,816
    • 420ก.jpg
      420ก.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84 KB
      เปิดดู:
      196
    • 420.jpg
      420.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.1 KB
      เปิดดู:
      140
    • 420ข.jpg
      420ข.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40.6 KB
      เปิดดู:
      1,227
    • 420ค.jpg
      420ค.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.8 KB
      เปิดดู:
      179
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...