เธอทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้ เป็นชื่อของความสุข

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 14 ธันวาคม 2012.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    จบสูตรที่ ๘
    ปุญญวิปากสูตร
    [๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้ เป็นชื่อของความสุข
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมรู้ชัดซึ่งผลแห่งบุญอันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ ที่เราเสวยแล้ว
    ตลอดกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปีครั้นแล้ว เราไม่ได้กลับมายังโลกนี้ตลอด ๗
    สังวัฏฏวิวัฏฏกัป
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อโลกถึงความพินาศ [ถูกไฟไหม้] เราเข้าถึง
    พรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกยังไม่ถึงความพินาศ เราย่อมเข้าถึงวิมานพรหมอันว่างเปล่า
    ได้ยินว่า ในวิมานพรหมนั้น เราเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ใครๆ ครอบงำไม่ได้
    มีความเห็นแน่นอน มีอำนาจเต็ม เป็นท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งทวยเทพ ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้า
    จักรพรรดิ
    ตั้งอยู่ในธรรม เป็นธรรมราชามีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ชนะสงคราม มีชนบท
    ถึงความสถาพรตั้งมั่นประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ รัตนะ ๗ ประการของเรานั้นคือ จักรแก้ว
    ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ขุนพลแก้วเป็นที่ ๗ อนึ่งเราเคยมีบุตรมาก
    กว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้ เราครอบครองปฐพีมณฑลนี้ อันมี
    มหาสมุทรเป็นขอบเขต โดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญาไม่ต้องใช้ศาตรา ฯ

    เชิญดูผลแห่งบุญกุศลของบุคคลผู้แสวงหาความสุข ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เราเจริญเมตตาจิตมาแล้ว ๗ ปี ไม่ต้องกลับมาสู่
    โลกนี้ ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป เมื่อโลกถึงความพินาศ
    เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกยังไม่ถึงความพินาศ
    เราเข้าถึงวิมานอันว่างเปล่า ในกาลนั้น เราเป็นท้าวมหา
    พรหมผู้มีอำนาจเต็ม ๗ ครั้ง เป็นท้าวสักกะจอมเทพเสวย
    สมบัติในเทวโลก ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นใหญ่
    ในหมู่ชนชาวชมพูทวีป เป็นกษัตริย์ได้รับมุรธาภิเศกแล้ว
    เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ปกครองปฐพีมณฑลนี้ โดยไม่ต้องใช้
    อาชญา ไม่ต้องใช้ศาตรา สั่งสอนคนในปฐพีมณฑลนั้นโดย
    ธรรมสม่ำเสมอ ไม่ผลุนผลัน ครั้นได้เสวยราชในปฐพีมณฑล
    นี้โดยธรรมแล้ว ได้เกิดในตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมาก
    มาย ทั้งบริบูรณ์พร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ อันอำนวย
    ความประสงค์ให้ทุกอย่าง ฐานะดังที่กล่าวมานี้พระพุทธเจ้า
    ทั้งหลายผู้สงเคราะห์ประชาชาวโลกทรงแสดงไว้ดีแล้ว เหตุ
    ที่ท่านเรียกว่าเป็นเจ้าแผ่นดิน เพราะความเป็นใหญ่ เราเป็น
    พระราชาผู้เรืองเดช มีอุปกรณ์เครื่องให้ปลื้มใจมากมาย มี
    ฤทธิ์ มียศ เป็นใหญ่ ในหมู่ชนชาวชมพูทวีป ใครบ้าง
    ได้ฟังแล้วจะไม่เลื่อมใสแม้จะเป็นคนมีชาติต่ำ เพราะฉะนั้น
    แหละ ผู้มุ่งประโยชน์ จำนงหวังความเป็นใหญ่ ระลึกถึง
    คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพสัทธรรม ฯ


    จบสูตรที่ ๙

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    หน้าที่ ๗๕/๓๗๙ ข้อที่ ๕๙
     
  2. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรคฤหบดี
    ทานที่บุคคลเชื้อเชิญท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ
    ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว

    ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิร้อยทานบริโภค
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค

    ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิร้อยท่านบริโภค

    ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค

    ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค

    ทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีผู้เดียวบริโภค

    ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีร้อยท่านบริโภค

    ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยท่านบริโภค
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค

    ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยรูปบริโภค

    ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค

    ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค

    ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค

    การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค

    การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
    มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ

    การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ
    จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท มี
    ผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ

    การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม
    มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ

    ดูกรคฤหบดีทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค
    มีผลมากกว่ามหาทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว ...
    การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม
    มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส
    สมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ...

    และการที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ
    มีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ฯ

    จบสูตรที่ ๑๐
    จบสีหนาทวรรคที่ ๒
    ___________
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    หน้าที่ ๓๑๕/๓๗๙ ข้อที่ ๒๒๔
     
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี
    อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ารูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง
    สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
    ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ
    ไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    หน้าที่ ๙๙/๓๓๓ ข้อที่ ๖๐


    ๑. สัญญาสูตรที่ ๑
    [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุดสัญญา ๕ ประการเป็นไฉน
    คือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา มรณสัญญาอาหาเรปฏิกูลสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
    มีอานิสงส์มากหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ


    จบสูตรที่ ๑

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ ๗๐/๔๐๗ ข้อที่ ๖๑
     

แชร์หน้านี้

Loading...