ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106



    [​IMG]


    วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อังกฤษ: Magha Puja)
    เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปุรณมีบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (มักอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนมีนาคม) ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)[2]

    วันมาฆบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน
    คือเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช อันเป็นปีแรกแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
    ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในวันนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา
    โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 องค์นั้น
    ได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
    หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4[3]

    เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น[4] โดยการประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ มีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น โดยในช่วงแรกพิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป จนต่อมาความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร

    ปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์[5] พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์[6] กล่าวคือหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา อันได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล




    นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ"
    เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยวัยรุ่นสาวมักจะเสียตัวในวันวาเลนไทน์
    หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก
    (อันบริสุทธิ์) แทน
    สำหรับในปี พ.ศ. 2554 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ ตามปฏิทินสุริยคติ



    วันสำคัญอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับวันมาฆบูชา

    วันคล้ายวันปลงพระชนมายุสังขาร
    นอกจากเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตในวันเพ็ญเดือน 3 ในพรรษาแรกของพระพุทธเจ้าแล้ว ในวันเพ็ญเดือน 3 แห่งพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า (คราวที่ทรงพระชนมายุ 80 พรรษา) ก็ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นอีกเหตุการณ์หนึ่งคือ พระพุทธองค์ได้ทรง "ปลงพระชนมายุสังขาร" กล่าวคือทรงทำนายว่าในวันเพ็ญเดือน 6 ที่จะมาถึง พระองค์จะเข้าสู่มหาปรินิพพาน จึง "ถือได้ว่าวันมาฆบูชาเป็นวันคล้ายวันสำคัญของพระพุทธศาสนาสองเหตุการณ์สำคัญ คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ และวันที่ทรงทำการปลงพระชนมายุสังขาร" (แต่โดยทั่วไปจะทราบแต่เพียงว่าวันนี้เป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์)

    วันกตัญญูแห่งชาติ (ประเทศไทย)
    ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา (ที่อาจถือได้ว่าเป็นวันแห่งความรักของพระพุทธศาสนา) โดยถือว่าเหตุการณ์สำคัญที่เหล่าพระสาวกทั้ง 1,250 รูป
    ได้กลับมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยความรักในพระองค์หลังจากได้ออกไปเผยแพร่พระศาสนา
    โดยมิได้นัดหมายดังกล่าวเป็นสิ่งที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีอันบริสุทธิ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาในปฏิทินจันทรคติในวันเพ็ญเดือนสาม มักจะตกใกล้กับช่วง"เทศกาลวาเลนไทน์" อันเป็นเทศกาลวันแห่งความรักของคริสต์ศาสนา ซึ่งวัยรุ่นไทยบางกลุ่มมักยึดถือคติค่านิยมวันแห่งความรักในวันวาเลนไทน์ผิด ๆ โดยนิยมยึดถือกันว่าเป็นวันแห่งความรักของคนหนุ่มสาว หรือแม้กระทั่งถือว่าเป็น "วันเสียตัวแห่งชาติ"[28] ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่านิยมทางจริยธรรมและศีลธรรมของวัยรุ่นไทย รัฐบาลไทยในสมัยนั้นจึงได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติ "เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่เหมาะสมแก่วัยรุ่นไทย ให้หันมาสนใจกับความรักอันบริสุทธิ์ที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน" แทนที่จะไปมัวเมากับความรักใคร่ชู้สาวหรือเรื่องฉาบฉวยทางเพศของหนุ่มสาว อันจะก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมตามมา

    การผลักดันให้มีวันกตัญญูแห่งชาติ[/ b]มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2546 โดยเคยมีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรให้พิจารณา
    กำหนดให้มีวันกตัญญูแห่งชาติ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างว่าในประเทศไทยมีวันสำคัญแห่งชาติที่เกี่ยวกับการแสดงความกตัญญูมากพอแล้ว[29] ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการรวมตัวของนักพูดชื่อดังหลายท่าน เช่น ดร.ผาณิต กันตามระ นายสุรวงศ์ วัฒนกุล ดร.อภิชาติ ดำดี ผู้พิพากษาเฉลิมชัย จารุไพบูลย์ ดร.โอภาส กิจกำแหง และนายถาวร โชติชื่น เป็นต้น ซึ่งท่านเหล่านี้ได้ทำหนังสือถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ให้ส่งเสริมให้วันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกวันหนึ่งด้วย โดยได้รับการตอบรับจากผู้เกี่ยวข้อง[30]
    โดยวันกตัญญูแห่งชาตินี้ นอกจากจะมีขึ้นเพื่อเป็นการแสดงออกถึงวันแห่งความรักอันบริสุทธิ์ของชาวพุทธแล้ว ยังมีขึ้นเพื่อส่งเสริมค่านิยมให้คนไทยยึดถือความกตัญญู โดยอาจมีการพูดคุย ส่งการ์ดอวยพร มอบของขวัญหรือช่อดอกไม้แก่ผู้มีพระคุณของเรา เป็นการแสดงความระลึกถึงพระคุณด้วยความหวังดีของผู้ให้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ การแสดงออกซึ่งน้ำใจหรือคำพูดก็ตาม



    แหล่งข้อมูล จาก : wikipedia.org

    [​IMG]

    http://www.siced.go.th/index.php?name=news1&file=readnews&id=21
    Pics by : Google
    สุขใจดอทคอม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต




     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    วันมาฆบูชา 2554


    [​IMG]




    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต


    ความหมายของวันมาฆบูชา

    คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3
    การกำหนดวันมาฆบูชา

    การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม
    ความสำคัญและประวัติของวันมาฆบูชา

    ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่างๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"

    ทั้งนี้ในวันมาฆบูชาได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อมๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่

    1.วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

    2.มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    3.พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6

    4.พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

    และ เพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

    จาตุร แปลว่า 4
    องค์ แปลว่า ส่วน
    สันนิบาต แปลว่า ประชุม

    ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" นั่นเอง

    ทั้งนี้วันมาฆบูชาถือว่าเป็นวันพระธรรม ขณะที่วันวิสาขบูชาถือว่าเป็นวันพระพุทธ ส่วนวันอาสาฬหบูชา เป็นวันพระสงฆ์
    ประวัติการถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

    พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตามในหนังสือ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า

    ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศวรวิหารและวัดราชประดิษฐ์จำนวน 30 รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    เมื่อถึงเวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาติโมกข์ 1 กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วยจีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึงและขนมต่างๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูป สวดรับ

    ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่ นั้นๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง

    ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอกิจกรรมทางศาสนา

    นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2549 รัฐบาลไทยประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกด้วย

    หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ

    หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติคือ "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้
    หลักการ 3 คือหลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่

    1.การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

    2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตาม กุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)

    3.การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย

    ซึ่งทั้ง 3 หลักการข้างต้น สามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์" นั่นเอง


    อุดมการณ์ 4 ได้แก่

    1.ความอดทน อดกลั้น คือ ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ
    2.ความไม่เบียดเบียน คือ งดเว้นจากการทำร้าย หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
    3. ความสงบ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
    4. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา


    วิธีการ 6 ได้แก่

    1.ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้าย โจมตีใคร
    2.ไม่ทำร้าย คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    3.สำรวมในปาติโมกข์ คือ เคารพระเบียบวินัย กฎกติกา รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม
    4.รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีในการบริโภค รวมทั้งการใช้สอยสิ่งต่างๆ
    5.อยู่ในสถานที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
    6.ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือ การฝึกหัดชำระจิตใจให้สงบ มีประสิทธิภาพที่ดี



    http://www.dekying.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กุมภาพันธ์ 2011
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    แถมท้ายก่อนนอนสำหรับพระในตำนาน พระพิมพ์สมเด็จ "สกุลปัญจสิริ" อันเป็นมงคลนามครับ พระแท้ราคาถูก นอกมาตรฐานวงการพระเครื่องของเมืองไทยในยุคปัจจุบัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. kratium

    kratium เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2007
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +3,670
    เมื่อวานนี้ 16 กุมภาพันธ์ 2554/17.02 น. ได้โอนเงินร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ จำนวน 400 บาท ในนาม ณรงค์ เพ็งลาภ และ สุชาดา ค่ะ
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ
     
  5. jirautes

    jirautes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +575
    วันนี้ 19/02/11 เวลา17:45 น.ครอบครัวผม ได้โอนเงินร่วมทำบุญกับทุนนิธิสงฆ์อาพาธจำนวน 500 บาทครับ

    โมทนาบุญทุกประการครับ<!-- google_ad_section_end --> (k)
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    ข้อคิดในผู้ปฏิบัติธรรมจากหลวงปู่ดู่

    ธรรมะของสุดยอดพระบรมโพธิสัตว์บารมีเต็มรอตรัสรู้

    คนเราเกิดมาไม่เห็นมีอะไรดี มีดีอยู่อย่างเดียว คือ สวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติภาวนาคือ มองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นของชั่วคราว มีแต่ปัญหามีแต่ทุกข์ แล้วก็เสื่อม พังสลายไปในที่สุด

    ดูก่อนท่านผู้ เห็นภัยในวัฏฏสงสาร(การเวียนว่ายตายเกิด) ทั้งหลาย ถ้าท่านต้องการพ้นภัยจากการเกิดแก่เจ็บตาย ท่านควรมีคุณธรรม 6 ประการนี้ไว้เป็นประจำจิตประจำใจ ทุกท่านย่อมจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงความสุขใจอย่างยอดเยี่ยม

    คุณ 6 ประการนั้นคือ

    1. ข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม
    2. ประคับประคองจิตในยามที่ควรประคับประคอง
    3. ทำจิตให้ร่าเริงในยามที่ควรร่าเริง
    4. ทำจิตวางเฉยในยามที่ควรวางเฉย
    5. มีจิตน้อมไปในอริยมรรค อริยผลอันประณีตสูงสุด
    6. มีจิตตั้งมั่นในพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตผู้ปฏิบัติที่มีความสามารถฉลาด

    ย่อม จะต้องศึกษาจิตใจและอารมณ์ของตนให้เข้าใจ และรู้จักวิธีกำหนดปล่อยวางหรือควบคุมจิตใจและอารมณ์ให้ได้ เปรียบเสมือนเวลาที่เราขับรถยนต์ จะต้องศึกษาให้เข้าถึงวิธีการขับขี่ที่ปลอดภัย บางครั้งควรเร่ง บางคราวควรผ่อน บางทีก็ต้องหยุดเร่งในเวลาที่ควรเร่ง ผ่อนในเวลาที่ควรผ่อน หยุดในเวลาที่ควรหยุด ก็จะสามารถถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย

    ข้อสำคัญ ที่สุดของการปฏิบัติคือ ต้องไม่ประมาท ต้องปฏิบัติให้เต็มที่ตั้งแต่วันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร ถ้าเราปฏิบัติไม่เป็นเสียแต่วันนี้ เวลาใกล้จะตายมันก็ไม่เป็นเหมือนกัน เหมือนคนที่เพิ่งคิดหัดว่ายน้ำ เวลาใกล้จะจมน้ำตาย นั่นแหละก็จมตายไปเปล่า ๆ ถ้าใน 1 วันนี้ไม่ปฏิบัติภาวนาวันนั้นขาดทุนเสียหายหลายล้านบาท

    จงมองดูทุก สิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่ว่า คนสัตว์สิ่งของ เงิน ทอง ลาภ ยศ นินทา สรรเสริญ เป็นของโกหกของสมมุติ ภาพมายาทั้งนั้น ทุกอย่างไม่ใช่ของจริงเป็นของหลอกลวงที่คนไม่ฉลาดต่างพากันหลงใหลกับสิ่งของ สมมุติของโกหก ไม่ว่าอารมณ์ดี อารมณ์ร้าย ก็ไม่ใช่ของเราจริงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากเหตุ(คือ ความไม่รู้ ความอยากได้) ถ้าต้องการดับทุกข์ ต้องดับเหตุก่อน คือ ให้รู้ว่าทั้ง 3 โลก เป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงเป็นโทษเป็นทุกข์เป็นปัญหา และสูญสลายตายกันในที่สุด ถ้าเรามีญาณก็จะรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดในชีวิตเราไม่มีการบังเอิญเลย

    ผู้ปฏิบัติธรรม ย่อมพิจารณาร่างกายคนสัตว์ในโลกว่าน่าเกลียดน่ากลัว เป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภาระต้องดูแลอย่างหนัก เน่าเหม็นแตกสลายตายไปกันหมด ผู้ที่มีศรัทธาแท้คือผู้ที่เชื่อและยอมรับ พระพุทะ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งแทนที่จะเอาความโลภ ความโกรธ ความหลงมาเป็นที่พึ่ง ผู้ปฏิบัติตามพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน คือ ให้ขยันภาวนา แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลงจะน้อยลงและหมดไป

    ผู้ปฏิบัติต้องหมั่น ตามดูจิต รักษาจิต ผู้ฝึกจิตถ้าทำจิตให้มีอารมณ์หลายอย่างจะสงบไม่ได้ และ ไม่สภาพของจิตตามเป็นจริง ถ้าทำจิตให้ดิ่งแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว โดยเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างแตกสลายตายหมดสิ้นแล้ว จิตก็มีกำลังเปล่งรัศมีแห่งความสว่างออกมาเต็มที่ มองสภาพของจิตตามเป็นจริง ได้ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นกิเลส อะไรควรรักษา อะไรควรละทิ้งออกจากจิต ไม่ควรใส่ใจสนใจเรื่องของผู้อื่น ควรตั้งใจตรวจสำรวจดูจิตของเราเองว่ายังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง คิดว่าร่างกายนี้ยังเป็นของจิตหรือไม่ ตามความเป็นจริงแล้ว จิตกับกายไม่ใช่อันเดียวกัน เพียงแต่มาอาศัยกันชั่วคราวเท่านั้น
    อารมณ์วางเฉยมี 3 อย่าง

    1. วางเฉยแบบหยาบ คือ อารมณ์ปุถุชนที่เฉย ๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ซึ่งมีเป็นครั้งคราวเท่านั้น

    2. วางเฉยแบบกลาง มีในผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนา มีความรู้ตัว มีความสงบของจิต วางอารมณ์จากความดี ความชั่ว สุข ๆ ทุกข์ ๆ ใด ๆ ในโลกีย์วิสัย เฉยบ่อยมากขึ้น

    3. วางเฉยแบบละเอียด คือ อารมณ์ของพระอริยเจ้า พระอรหันต์ ซึ่งไม่มีอารมณ์สุขหรือทุกข์ ดีหรือชั่ว ดีใจปนเสียใจ วิตกกังวลฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่มี ไม่คิดปรุงแต่งไปในอดีต ปัจจุบัน อนาคต มีความวางเฉยในร่างกายของท่านเอง จะเจ็บปวดทรมาน จิตท่านนิ่งเฉยอยู่ในจิตของท่านว่าจิตส่วนจิต กายเป็นเพียงของสมมุติของชั่วคราว ตายเมื่อไร ท่านก็พร้อมที่จะทิ้งรูปนามขันธ์ เสวยวิมุติสุขแดนอมตะทิพย์นิพพานติดตามองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ของดีนั้นมีอยู่ในตัวเราทุกคน ของดีนั้นอยู่ที่จิตของท่านทุกท่าน ของไม่ดีอยู่ที่ร่างกาย

    จิตมี 3 ขั้น ตรี โท เอก

    ถ้าตรีก็ต่ำหน่อย ยังวุ่นวายเป็นทุกข์กับเรื่องของโลก

    ขั้นโท ก็มีศีลครบ มีเมตตา ทำบุญทำทาน

    ขั้น เอกนี่ ดีมาก จิตก็มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมนุษย์ สัตว์ นรก เป็นทุกข์ มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วก็ตายสลายผุพังไปกันหมดสิ้น ตัวอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ของตน ไม่มีใครเป็นเจ้าของ บังคับเอาไว้ให้คงที่ก็ไม่ได้ ตัวนี้แหละเป็นตัวเอก ไล่ไปไล่มา ให้มันเห็นร่างกายคนเรา ตานแน่ ๆ คนเราหนีตายไม่พ้น แม้เพียงวันเดียว

    1. ตายน้อย ก็คือ นอนหลับทุกคืน หลับชั่วคราว คือ ตายทุกคืน ตื่นตอนเช้า

    2. ตายใหญ่ ก็คือ นอนหลับตลอดกาล แต่จิตไปตื่นตรงที่มีกายใหม่ มีกายใหม่ที่อื่นเป็นกายผี กายสัตว์ กายเทวดา กายพรหม แล้วแต่ผลบุญหรือผลบาปที่ทำไว้ตอนเป็นคน


    <HR>ขอบพระคุณข้อมูลดีๆ จาก ลุง Kriengsak ครับผม

    http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=673.0
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    เหยียบเรือสองแคม

    -----------------------------------------------


    [​IMG]


    หลวงปู่ดู่แม้จะเป็นพระภิกษุชราซึ่งอยู่บ้านนอก แต่ท่านกลับเป็นผู้มีมุมมองที่กว้างขวางเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนคำเตือนที่ว่า

    "เรายังอยู่ทางโลก (เป็นฆราวาส) ต้องเหยียบเรือสองแคม คือทางโลกก็ต้องไม่ให้ช้ำ ทางธรรมก็ต้องไม่ให้เสีย"

    ดังนั้น ในสมัยก่อนที่หลวงปู่ยังหนุ่ม ๆ ท่านจึงเคี่ยวเข็ญลูกศิษย์ในเรื่องการศึกษาเล่าเรียน โดยท่านจะสอนเองทั้งการอ่านการเขียน รวมไปถึงคณิตศาสตร์

    ลุงแกละเคยเล่าว่า ลุงมาอาศัยอยู่วัดสะแกกับหลวงปู่ ได้รับการอบรมสั่งสอนจากหลวงปู่โดยตรง แต่ด้วยความที่อยูในวัยซน จึงเคยโดดเรียน แอบปีนรั้ววัดไปเที่ยวเล่น กลับมาค่ำ หลวงปู่รู้ เป็นได้โดนไม่เรียว ท่านดู ไม่เหมือนสมัยหลังนี้

    บัดนี้ทั้งผู้สอนคือ หลวงปู่ และ ผู้เรียนคือลุงแกละก็ละสังขารไปสิ้นแล้ว แต่สาระแนวทางการสอนของหลวงปู่ยังอยู่ว่า

    โลกต้องไม่ให้ช้ำ ธรรมต้องไม่ให้เสีย อย่าปฏิบัติตนสุดโต่ง ต้องปฏิบัติธรรมสมกับฐานะและสภาพของแต่ละบุคคล เช่น

    การจะทำทาน ก็ให้ดูคนข้างหลังด้วย จะเอาอย่างคนมีทรัพย์มาก ๆ ไม่ได้

    การจะรักษาศีลแปด ก็อาจไม่จำเป็นต้องรักษาในวันพระ แต่เลือกวันที่ไม่กระทบต่อการรับประทานอาหารเย็นร่วมกับครอบครัว เพราะเป็นกิจกรรมที่สำคัญ

    การภาวนาก็ไม่เน้นแต่เฉพาะนั่งหลับตาที่วัด เวลาทำการทำงาน เดินไปไหนมาไหน ก็พยายามมีสติระลึกรู้ จะปฏิบัติเก่งขนาดไหน แต่เพื่อนร่วมงานไม่คบ หรือมีแต่คนรังเกียจหรือนินทาลับหลัง จะมีประโยชน์อะไร

    โลกและธรรมสัมพันธ์กัน เราสามารถหาธรรมได้จากโลก ในขณะเดียวกันในทางธรรมก็มักมีเรื่องโลก ๆ แฝงอยู่

    จึงขึ้นกับสติปัญญาของเจ้าของ พิจารณาเลือกเฟ้นสิ่งอันเป็นสาระเอาเอง และ ไม่ลืมว่าต้องประคองทั้งโลกและธรรม บุคคลคนเดียวอยู่ในหลายฐานะหน้าที่ เราต้องเป็น

    ลูกที่ดี ศิษย์ที่ดี น้องที่ดี เพื่อนที่ดี เจ้านายที่ดี ลูกน้องที่ดี ฯลฯ ที่สำคัญ เป็นลูกพระตถาคตเจ้าที่ดีโดยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

    ***จากบทความของ คุณสิทธิ์

    http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=732.0
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    เมื่อฉันแก่ตัวลง (บทความดีๆที่อยากให้อ่าน) ถึงผู้มีพระคุณของเรา

    อยากจะมอบเรื่องนี้ ให้กับ..
    ผู้ที่ไม่ค่อยได้อยู่ใกล้ชิด..ผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้าน



    เป็นเรื่องเล่าของ..ลูกผู้ชายคนหนึ่ง
    ที่ตระเวน ทั้งเรียน.. ทั้งทำงาน
    ไปร้อยเอ็ด..เจ็ดย่านน้ำ
    *
    *

    แม้ผมจะเติบกล้า..เก่งกาจขึ้นเรื่อยๆ
    ความรู้..เพิ่มมากขึ้น
    โลกใบนี้..เริ่มเล็กลง
    แต่พ่อแม่..ที่อยู่บ้านเดิม (ในเมืองจีน)
    ก็เริ่มแก่ตัวลงด้วย

    ผมทำงานอยู่ต่างประเทศ
    ไม่ค่อยได้กลับมาเยี่ยมพ่อแม่
    ได้แต่ติดต่อกัน..ทางจดหมาย
    โชคดี..ต่อมามีไอพีการ์ด .. เลยได้คุยสดกันบ้าง

    ทุกครั้ง..แม่ก็จะคอยเตือน..ให้ระวังสุขภาพของตัวเอง
    ตั้งใจทำงาน ..ไม่ต้องเป็นห่วงแม่
    ไม่ต้องกลับมาเยี่ยมบ่อยๆ
    เพราะจะสิ้นเปลืองเงินทอง
    ยิ่งพูด.. ก็ยิ่งซ้ำๆ ซากๆ
    ผมรู้ดีว่า..แม่เริ่มคิดถึงผมมาก



    จนกระทั่งปีนี้ ..แม่อายุ 75
    ผมจึงตั้งใจจะกลับไปเยี่ยมแม่
    โดยตั้งใจว่า..จะอยู่สัก 1 เดือน
    จะไม่ทำอะไร..เป็นพิเศษ
    แต่ขออยู่เป็นเพื่อนแม่..เพียงอย่างเดียว

    พอบอกข่าวนี้..ให้แม่ทราบ
    แม้จะมีเวลาอีกตั้ง 2 เดือนเศษ
    แม่ก็เริ่มเตรียมตัว
    ในการต้อนรับ..การกลับมาเยี่ยมบ้านของผม



    แม่ดึงเอาสมุดบันทึก..มาจดสิ่งที่ต้องตระเตรียม
    แม่เตรียมรายการอาหาร..ที่ผมชอบ
    ดึงเอาผ้าห่ม..ที่ผมเคยชอบห่ม...มาปะชุนใหม่
    สำหรับ..คนอายุ 75
    เรื่องแบบนี้..ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย



    ตอนอยู่บนเครื่องบิน ..ตั้งใจไว้ว่า..
    พอกลับถึงบ้าน ..จะขอกอดแม่..ให้ชื่นใจสักครั้ง
    แต่พอมาเห็นแม่ ..แม่ที่ยืนอยู่ตรงหน้า
    ผอมแห้ง.. หน้าตาเหี่ยวย่น
    ช่างไม่เหมือน..แม่คนก่อนหน้านี้เลย

    แม่ใช้เวลาทั้งชั่วโมง..เตรียมอาหารที่ผมเคยชอบ
    โดยที่หารู้ไม่ว่า..
    เดี๋ยวนี้..ผมไม่ได้ชอบอาหารแบบนั้นแล้ว
    และเพราะแม่ตาไม่ค่อยดี ..รสชาติอาหารจึงแย่มากๆ
    บางจาน ก็เค็มจัด.. บางจาน ก็จืดสนิท

    ผ้าห่ม..ที่แม่อุตส่าห์เตรียมให้
    ทั้งหนา..ทั้งหยาบ.. ไม่สบายกายเลย
    แม่หารู้ไม่ว่า..
    เดี๋ยวนี้..ผมนอนห้องแอร์..และใช้ผ้าห่มขนแกะแล้ว
    แต่ผมก็ไม่บ่นอะไร
    เพราะผมตั้งใจ..จะกลับมาอยู่เป็นเพื่อนแม่จริงๆ
    *
    *

    2-3 วันแรก
    แม่ยุ่งอยู่กับเรื่องจิปาถะ..จนไม่มีเวลาพักผ่อน
    พอเริ่มได้พัก.. แม่ก็เริ่มพูดมาก
    สอนโน่น.. สอนนี่.. พูดแต่ปรัชญาเก่าๆ
    ซึ่งปรัชญาเหล่านั้น.. 10 กว่าปีก่อน ..ก็เคยพูดแล้ว
    พอผมบอกให้ฟังว่า..
    ปรัชญาเหล่านั้น..ไม่ทันสมัยแล้ว

    แม่ก็เริ่มนิ่งเงียบ..และเศร้าซึม

    เหตุการณ์..เริ่มแย่ลงเรื่อยๆ
    ผมพบว่า..สุขภาพแม่แย่ลง ..โดยเฉพาะสายตา
    อาหารบางจาน..มีแมลงวันด้วย
    บางที..อาหารหกบนเตา.. แม่ก็เก็บใส่จานตามเดิม
    ครั้นผมพยายามชวนแม่..ไปกินข้าวนอกบ้าน
    แม่ก็บอกอาหารข้างนอก..ไม่สะอาด
    ของแปลกปลอมเยอะ



    เมื่อผมบอกแม่ว่า..
    จะหาคนรับใช้..มาช่วยแม่สักคน
    แม่ก็โวยวายว่า.. แม่เองยังสามารถทำงาน..เลี้ยงดูเด็กให้ผู้อื่นได้เลย
    ผมเลยพูดไม่ออก

    พอผมจะออกไปช้อปปิ้งกับเพื่อนๆ
    แม่ก็จะตามไปด้วย
    ทำเอาวันนั้นทั้งวัน.. พวกเราไม่ได้ไปช้อปปิ้งเลย


    พอพวกเรา...เริ่มคุยกันในเรื่องทันสมัย
    แม่ก็จะหาว่า..พวกเราเพี้ยน
    ผมก็เริ่มบอกแม่..อย่างไม่ค่อยเกรงใจว่า..

    "แม่ นี่มันสมัยใหม่แล้ว.. แม่ต้องหัดมองโลกในแง่ใหม่ๆ บ้าง"

    ช่วงครึ่งเดือนหลัง..ที่อยู่กับแม่
    ผมเริ่มขัดแม่..มากขึ้นเรื่อยๆ
    และรู้สึกรำคาญ..เพิ่มมากขึ้น
    แต่เราไม่เคยทะเลาะกันนะ
    พอผมขัดแม่ ..แม่ก็หยุดกึกลง
    ไม่พูดไม่จา.. ในตามีแววเหม่อลอย
    โลกซึมเศร้าแบบคนแก่ของแม่ ..ชักหนักขึ้นเรื่อยๆ



    ได้เวลาที่..ผมจะต้องเดินทางกลับ
    แม่ดึงกล่องกระดาษกล่องหนึ่งออกมา
    ในนั้น..เป็นข่าวหนังสือพิมพ์..ที่แม่ตัดเก็บไว้
    ในช่วงที่..ผมไปอยู่เมืองนอก

    แม่เริ่มสนใจข่าวต่างประเทศ ..เมื่อผมเดินทางไปนอก
    ทุกครั้ง..ที่มีข่าวตึงเครียด..ในประเทศนั้นๆ
    แม่จะตัดข่าวเก็บไว้
    ตั้งใจจะมอบให้ผม..ตอนที่ผมกลับมา

    แม่พูดอยู่เสมอว่า..
    อยู่นอกบ้านนอกเมือง..ต้องระวังตัวให้มากๆ

    ครั้งหนึ่ง..
    มีเรื่องคนญี่ปุ่น..ต่อต้านและข่มเหงคนจีน
    มีการปะทะกันด้วย
    แม่เป็นห่วงมาก
    ถามเพื่อนบ้านว่า..จะส่งข่าวไปเตือนผมที่ญี่ปุ่นได้อย่างไร
    ตอนนั้น..ผมสอนอยู่ที่ญี่ปุ่น

    แม่ดึงเอาปึกกระดาษข่าวนั้นออกมา ..อย่างยากลำบาก
    วางใส่ในมือผม..เหมือนของวิเศษชิ้นหนึ่ง
    มันหนักมาก
    ผมเริ่มรู้สึกลำบากใจ.. เพราะผมไม่อยากนำกลับไป
    มันไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว
    ผมรู้ว่า..แม่เก็บมันด้วยความยากลำบาก
    แม่สายตาไม่ค่อยดี ..ต้องใช้แว่นขยาย
    อ่านได้วันละ 2 หน้า ..ก็เก่งแล้ว
    นี่ยังตัดเก็บได้ขนาดนี้



    ทันใดนั้น ..
    มีข่าวแผ่นหนึ่ง.. ปลิวหลุดลงมา
    แม่รีบเอื้อมไปหยิบ
    แต่แทนที่..แม่จะเก็บเข้ากองเดิม
    แม่กลับพับเก็บไว้...ในกระเป๋าของตัวเอง
    ผมรู้สึกเอะใจ.. เลยถามว่า..
    "แม่ นั่นกระดาษอะไร ..ขอผมดูหน่อยนะ"
    แม่ลังเลอยู่ครู่หนึ่ง.. จึงล้วงออกมาวางบนข่าวปึกนั้น
    แล้วหุนหันเข้าครัว..ไปทำกับข้าวทันที

    ผมหยิบแผ่นข่าวนั้น..ขึ้นมาดู
    มันเป็นบทความบทหนึ่ง.. ชื่อว่า "เมื่อฉันแก่ตัวลง"
    ตัดจากหนังสือพิมพ์..เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2004
    เป็นช่วงที่..ผมเริ่มเถียงกับแม่..ถี่มากขึ้นทุกที

    บทความนั้น..
    คัดมาจากนิตยสารฉบับหนึ่งของเม็กซิโก.. ฉบับเดือนพฤศจิกายน
    ผมอ่านบทความนั้น..รวดเดียวจบทันที



    "เมื่อฉันแก่ตัวลง.. ไม่ใช่ฉันที่เคยเป็น
    ขอโปรดเข้าใจฉัน
    มีความอดทนต่อฉัน..เพิ่มขึ้นอีกสักนิด
    ตอนฉันทำแกงหกใส่เสื้อตัวเอง
    ตอนฉันลืมวิธีผูกเชือกรองเท้า
    ขอให้คิดถึง..ตอนแรกๆ
    ที่ฉันใช้มือสอนเธอทำทุกอย่าง



    ตอนฉันเริ่มพร่ำบ่นแต่เรื่องเดิมๆ ..ที่เธอรู้สึกเบื่อ
    ขอให้อดทนสักนิด.. อย่าเพิ่งขัดฉัน
    ตอนเธอยังเล็กๆ
    ฉันยังเคยเล่านิทานซ้ำๆ ซากๆ ..จนเธอหลับเลย



    ตอนฉันต้องการให้เธอช่วยอาบน้ำให้
    อย่าตำหนิฉันเลยนะ
    ยังจำตอนที่เธอยังเล็กๆ
    ฉันต้องทั้งออด ทั้งปลอบ ..เพื่อให้เธอยอมอาบน้ำได้ไหม



    ตอนฉันงงกับวิทยาการใหม่ๆ.. อย่าหัวเราะเยาะฉัน
    จำตอนที่ฉันเฝ้าอดทนตอบคำถาม "ทำไม ทำไม"
    ทุกครั้งที่เธอถามได้ไหม



    ตอนฉันเหนื่อยล้า.. จนเดินต่อไม่ไหว
    ขอจงยื่นมือที่แข็งแรงของเธอ.. ออกมาช่วยพยุงฉัน
    เหมือนตอนที่ฉันพยุงเธอให้หัดเดิน.. ในตอนที่เธอยังเล็กๆ



    หากฉันเผอิญลืมหัวข้อ..ที่กำลังสนทนากันอยู่
    ให้เวลาฉันคิดสักนิด
    ที่จริงสำหรับฉันแล้ว ..กำลังพูดเรื่องอะไร ..ไม่สำคัญหรอก
    ขอเพียงมีเธออยู่ฟังฉัน.. ฉันก็พอใจแล้ว



    ตอนเธอเห็นฉันแก่ตัวลง.. ไม่ต้องเสียใจ
    ขอให้เข้าใจฉัน.. สนับสนุนฉัน
    ให้เหมือนตอนที่..ฉันสนับสนุนเธอ
    ตอนเธอเพิ่งเรียนรู้ใหม่ๆ



    ตอนนั้น ..ฉันนำพาเธอ..เข้าสู่เส้นทางชีวิต
    ตอนนี้..ขอให้เธอเป็นเพื่อนฉัน ..เดินไปให้สุดเส้นทาง
    ให้ความรัก..และอดทนต่อฉัน
    ฉันจะยิ้ม..ด้วยความขอบใจ
    ในรอยยิ้มของฉัน
    มีแต่ความรัก..อันหาที่สิ้นสุดมิได้ของฉัน
    ที่มีให้กับเธอ"



    ผมอ่านบทความนั้น..รวดเดียวจบ
    เกือบกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่



    ตอนนั้น ..แม่เดินออกมา
    ผมแกล้งทำเป็น..ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    ตอนแรก..แม่คงอยากให้ผมได้อ่านบทความนี้
    หลังจากผมกลับไปแล้ว
    จึงคะยั้นคะยอ..ให้ผมนำข่าวปึกนั้นกลับไป

    ตอนผมจัดกระเป๋าเดินทาง
    ผมต้องสละ..ไม่เอาสูทกลับไป 1 ตัว
    จึงยัดเก็บปึกข่าวเหล่านั้น..เข้าไปได้
    รู้สึกแม่จะดีใจมาก
    เหมือนกับว่า.. หนังสือพิมพ์เหล่านั้น
    เป็นยันต์โชคลาภ ..สำหรับผม

    และเหมือนกับว่า..
    การที่ผมยอมรับ..หนังสือพิมพ์เหล่านั้น
    ผมได้กลับมาเป็นเด็กดีของแม่..อีกครั้งหนึ่ง

    แม่ตามมาส่งผม..จนถึงรถแท็กซี่เลยทีเดียว



    หนังสือพิมพ์..ที่ผมนำกลับมาเหล่านั้น
    ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์อะไรเลย
    แต่บทความ "เมื่อฉันแก่ตัวลง" บทนั้น
    ผมได้ตัดเก็บไว้ในกรอบ
    เอาไว้ข้างตัวผมตลอดไป
    *
    *


    ตอนนี้.. ผมขออุทิศบทความนี้
    ให้กับลูกพเนจรทั้งหลาย
    ตอนปีใหม่.. โทรไปหาท่านบ้าง
    บอกท่านว่า ..
    คุณอยากกินอาหาร..ที่ท่านทำเสมอ

    http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=623.0
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    การทำบุญ.....ที่ถูกลืม

    "คุณนายแก้ว" เป็น เจ้าของโรงเรียนที่ชอบทำบุญมาก เป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าทอดกฐินอยู่เนือง ๆ ใครมาบอกบุญสร้างโบสถ์วิหารที่ไหน ไม่เคยปฎิเสธ เธอปลื้มปิติมากที่ถวายเงินนับแสนสร้างหอระฆังถวายวัดข้างโรงเรียน แต่เมื่อได้ทราบว่ามีนักเรียนคนหนึ่งไม่มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียน ค้างชำระมาสองเทอมแล้ว เธอตัดสินใจไล่นักเรียนคนนั้นออกจากโรงเรียนทันที



    "สายใจ" พา ป้าวัย ๗๐ และเพื่อนซึ่งมีขาพิการไปถวายภัตตาหารเช้าที่วัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเจ้าอาวาสเป็นที่ศรัทธานับถือของประชาชนทั่วประเทศ เช้าวันนั้นมีคนมาทำบุญคับคั่ง จนลานวัดแน่นขนัดไปด้วยรถ เมื่อได้เวลาพระฉันเสร็จ ญาติโยมก็พากันกลับ สายใจพาหญิงชราและเพื่อผู้พิการเดินกระย่องกระแย่งฝ่าแดดกล้าไปยังถนนใหญ่ เพื่อขึ้นรถประจำทางกลับบ้าน ระหว่างนั้นมีรถเก๋งหลายสิบคันแล่นผ่านไป แต่ตลอดเส้นทางเกือบ ๓ กิโลเมตร ไม่มีผู้ใจบุญคนใดรับผู้เฒ่าและคนพิการขึ้นรถเพื่อไปส่งถนนใหญ่เลย


    เหตุการณ์ทำนองนี้มิใช่เป็นเรื่องแปลกประหลาดในสังคมไทย "ชอบทำบุญแต่ไ้ร้น้ำใจ" เป็น พฤติกรรมที่พบเห็นได้ทั่วไปในหมู่ชาวพุทธ ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า คนไทยนับถือพุทธศาสนากันอย่างไร จึงมีพฤติกรรมแบบนี้กันมาก เหตุใดการนับถือพุทธศาสนาจึงไม่ช่วยให้คนไทยมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ีที่ทุกข์ยาก การทำบุญไม่ช่วยให้คนไทยมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่นเลยหรือ


    หาก สังเกตุจะพบว่า การทำบุญของคนไทยมักจะกระทำต่อสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน เช่น พระภิกษุสงฆ์ วัดวาอาราม พระพุทธเจ้า เป็นต้น แต่กับสิ่งที่ถือว่าอยู่ต่ำกว่าตน เช่น คนยากจนหรือสัตว์น้อยใหญ่ เรากลับละเลยกันมาก (ยกเว้นคนหรือสัตว์ที่ถือว่าเป็น "พวกกู" หรือ "ของกู") แม้แต่เวลาไปทำบุญที่วัด เราก็มักละเลยสามเณรและแม่ชี แต่กุลีกุจอเต็มที่กับพระสงฆ์ อะไรทำให้เราชอบทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน ใช่หรือไม่ว่าเป็นเพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่อยู่สูงเหล่านั้น สามารถบันดาลความสุขหรือให้สิ่งดี ๆ ที่พึงปรารถนาแก่เราได้ เช่น ถ้าทำอาหารถวายพระ บริจาคเงินสร้างวัดหรือพระพุทธรูป ก็จะได้รับความมั่งมีศรีสุข มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ เป็นต้น หรือช่วยให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ มีความสุขสบายในชาติหน้า ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่อยู่ต่ำกว่าเรานั้นไม่มีอำนาจที่จะบันดาลอะไรให้เราได้ หรือไม่ช่วยให้เราสุขสบายขึ้น เราจึงไม่สนใจที่จะช่วยเหลือเผื่อแผ่ให้แก่สิ่งเหล่า
    นั้น


    นั่น แสดงว่าที่เราทำบุญกันมากมายก็เพราะหวังผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ ดังนั้น ยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น ผลคือ จิตใจยิ่งคับแคบ ความเมตตากรุณาต่อผู้ทุกข์ยากมีแต่จะน้อยลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทำบุญแบบนี้จะทำให้ได้บุญน้อยลงแน่ แน่นอนว่าประโยชน์ย่อมเกิดแก่ผู้รับอยู่แล้ว เช่น หากถวายอาหาร อาหารนั้นย่อมทำให้พระสงฆ์มีกำลังในการศีกษาปฎิบัติธรรมได้มากขึ้น แต่อานิสงส์ที่จะเกิดแก่ผู้ถวายนั้น ย่อมไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะเจือด้วยความเห็นแก่ตัว ยิ่งถ้าทำบุญ ๑๐๐ บาท เพราะหวังจะได้เงินล้าน บุญที่เกิดขึ้นย่อมน้อยลงไปอีกเพราะใช่หรือไม่ว่า นี่เป็นการ "ค้ากำไรเกินควร"


    บุญ ที่ทำในรูปของการถวายทานนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเงินก็ตาม จุดหมายสูงสุดอยู่ที่การลดความยึดติดถือมั่นในตัวกู ของกู ยิ่งลดได้มากเท่าไร ก็ยิ่งเข้าใกล้พระนิพพานอันเป็นประโยชน์สูงสุดที่เรียกว่า "ปรมัตถะ"ซึ่ง สูงกว่าสวรรค์ในชาติหน้า (สัมปรายิกัตถะ) หรือความมั่งมีศรีสุขในชาตินี้ (ทิฎฐธัมมิกัตถะ) แต่หากทำบุญเพราะหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน อยากได้เข้าตัวมาก ๆ แทนที่จะสละออกไป ก็ยิ่งห่างไกลจากนิพพานหรือกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นนิพพานด้วยซ้ำ อันที่จริงอย่าว่าแต่นิพพานเลย แม้แต่ความสุขในปัจจุบันชาติก็อาจเกิดขึ้นได้ยาก เพราะจิตที่คิดแต่จะเอานั้นเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์


    ในทานมหัปผลสูตร อังคุตตรนิกาย พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระสารีบุตรว่า ทานที่ไม่มีอานิสงส์มาก ได้แก่ "ทานที่ให้อย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างทีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ" รวมถึงทานที่ให้เพราะต้องการเสวยผลในชาติหน้า เป็นต้น พิจารณาเช่นนี้ก็พบ ว่าทานที่ชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ทำกันนั้นหาใช่ทานที่พระองค์สรรเสริญไม่ นอกจากทำด้วยความมุ่งหวังประโยชน์ในชาติหน้าแล้ว ยังมักมีเยื่อใยในทานที่ถวาย กล่าวคือ ทั้ง ๆ ที่ถวายให้พระสงฆ์ไปแล้ว ก็ยังไม่ยอมสละสิ่งนั้นออกไปจากใจ แต่ใจยังมีเยื่อใยในของชิ้นนั้นอยู่ เช่น เมื่อถวายอาหารแก่พระสงฆ์แล้ว ก็ยังเฝ้าดูว่าหลวงพ่อจะตักอาหารของฉัน "ฉัน" หรือไม่ หรือหากท่านไ่ม่ฉัน ก็รู้สึกไม่สบายใจ คิดไปต่าง ๆ นานา นี้แสดงว่ายังมีเยื่อใยยึดติดผูกพันอาหารนั้นว่าเป็นของฉันอยู่ ไม่ได้ถวายให้เป็นของท่านอย่างสิ้นเชิง


    เยื่อใยในทานอีกลักษณะหนึ่งที่เห็นได้ทั่วไปก็คือ การมุ่งหวังให้ผู้คนรับรู้ว่าทานนั้น ๆ ฉันเป็นผู้ถวาย ดังนั้น ตามวัดวาอารามต่าง ๆ ทั่วประเทศ ของใช้ต่าง ๆ ไม่ว่า ถ้วย ชาม แก้วน้ำ หม้อ โต๊ะ เก้าอี้ ตลอดจนขอบประตู หน้าต่างในโบสถ์ วิหาร และศาลาการเปรียญ จึงมีชื่อผู้บริจาคอยู่เต็มไปหมด กระทั่งพระพุทธรูปก็ไม่ละเว้น ราวกับจะยังแสดงความเป็นเจ้าของอยู่ หาไม่ก็หวังให้ผู้คนชื่นชมสรรเสริญตน การทำบุญอย่างนี้ จึงไม่ได้ละความยึดติดถือมั่นในตัวตนเลย หากเป็นการประกาศตัวตนอีกแบบหนึ่งนั่นเอง


    การ ทำบุญแบบนี้มีข้อดีตรงที่ช่วยอุปถัมภ์วัดวาอารามและพระสงฆ์ให้ดำรงอยู่ได้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ไม่ส่งเสริมให้ผู้คนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากหรือไร้อำนาจวาสนา ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เมืองไทยมีวัดวาอารามใหญ่โตและสวยงามมากมาย แต่เวลาเดียวกันก็มีคนยากจนและเด็กที่ถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนมาก ไม่นับสัตว์อีกนับไม่ถ้วนที่ถูกละเลย หรือถูกปลิดชีิวิ ตแม้กระทั่งในเขตวัด


    อัน ที่จริง ถ้ามองให้กว้างกว่าการทำบุญ ก็จะพบปรากฎการณ์ในทำนองเดียวกัน นั้นคือ คนไทยนิยมทำดีกับคนที่ถือว่าอยู่สูงกว่าตน แต่ไม่สนใจที่จะทำดีกับคนที่ถือว่าต่ำกว่าตน เช่น ทำดีกับเจ้านาย คนรวย ข้าราชการระดับสูง นักการเมือง ทั้งนี้ ก็เพราะเหตุผลเดียวกัน คือ คนเหล่านั้นให้ประโยชน์แก่เราได้ (หรือแม้เขาจะให้คุณได้ไม่มาก แต่ก็สามารถให้โทษได้) ประโยชน์ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นประโยชน์ทางวัตถุ อาจเป็นประโยชน์ทางจิตใจก็ได้ เช่น คำสรรเสริญหรือการให้ความยอมรับ ประการหลัง คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนไทยขวนขวายช่วยเหลือฝรั่งที่ตกทุกข์ได้ยากอย่าง เต็มที่ แต่กลับเมินเฉยหากคนที่เดือนร้อนนั้นเป็นพม่า มอญ ลาว เขมรหรือกระเหรี่ยง ใช่หรือไม่ว่าคำชื่นชมของพม่าหรือกระเหรี่ยง ความหมายกับเราน้อยกว่าคำสรรเสริญของฝรั่ง


    บุคคล จะได้ชื่อว่าเป็นคนใจบุญ ไม่ใช่เพราะนิยมทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตนเท่านั้น หากยังยินดีที่จะทำบุญกับสิ่งที่เสมอกับตนหรืออยู่ต่ำกว่าคนอีกด้วย แม้เขาจะไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ตนได้ ก็ช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้ เพราะมิได้หวังผลประโยชน์ใด ๆ นอกจากความปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ นี้คือกรุณาที่แท้ในพุทธศาสนา การทำดีโดยหวังผลประโยชน์หรือยังมีการแบ่งแยกและเลือกปฎิบัติอยู่ ย่อมไม่อาจเรียกว่าทำด้วยเมตตากรุณาอย่างแท้จริง


    จะ ว่าไปแล้ว ไม่เพียงความใจบุญหรือความเป็นพุทธเท่านั้น แม้กระทั่งความเป็นมนุษย์ก็วัดกันที่ว่า เราปฎิบัติอย่างไรกับคนที่อยู่ตำกว่าเราหรือมีอำนาจน้อยกว่าเรา หาได้วัดที่การกระทำต่อคนที่อยู่สูงกว่าเราไม่ ถ้าเรายังละเลยเด็กเล็ก ผู้หญิง คนชรา คนยากจน คนพิการ คนป่วย อุปถัมภ์พระสงฆ์มากมาย ก็ยังเรียกไม่ได้ว่าเป็นคนใจบุญ เป็นชาวพุทธหรือเป็นมนุษย์ที่แท้ ไม่ผิดหากจะกล่าวว่านี้เป็นเครื่องวัดความเป็นศาสนิกที่แท้ในทุกศาสนาด้วย แม้จะปฎิบัติตามประเพณี พิธีกรรมทางศาสนาอย่างเคร่งครัดแต่เมินเฉยความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ หรือยิ่งกว่านั้นคือกดขี่บีฑาผู้คนในนามของพระเจ้า ย่อมเรียกไม่ได้ว่าเป็นศาสนิกที่แท้ จะกล่าวไปใยถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์


    ใน แง่ของชาวพุทธ การช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ยากเดือนร้อน ทั้ง ๆ ที่เขาไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่เราได้เป็นเครื่องฝึกใจให้มีเมตตา กรุณาและลดละความเห็นแก่ตัวได้เป็นอย่างดี ยิ่งทำมากเท่าไร จิตใจก็ยิ่งเปิดกว้าง อัตตาก็ยิ่งเล็กลง ทำให้มีที่ว่างเปิดรับความสุขได้มากขึ้น ยิ่งให้ความสุขแก่เขามากเท่าไร เราเองก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น สมดังพุทธพจน์ว่า "ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข" เป็นความสุขที่ไม่หวังจะได้รับ แต่ยิ่งไม่อยากก็ยิ่งได้ ในทางตรงข้ามยิ่งอยากก็ยิ่งไม่ได้้


    เมื่อ ใจเปิดกว้างด้วยเมตตากรุณา เราจะพบว่าไม่มีใครที่อยู่สูงกว่าเราหรือต่ำกว่าเรา ถึงจะเป็นพม่า มอญ ลาว เขมร กระเหรี่ยง ลัวะ ขมุ เขาก็มีสถานะเสมอเรา คือเป็นเพื่อนมนุษย์ และเป็นเพื่่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายกับเรา แม้แต่สัตว์ก็เป็นเพื่อนเราเช่นกัน จิตใจเช่นนี้ คือจิตใจของชาวพุทธ และเป็นที่สถิตของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง การทำนุบำรุงพุทธศาสนาที่แท้ ก็คือการบำรุงหล่อเลี้ยงจิตใจเช่นนี้ให้เจริญงอกงามในตัวเรา ในลูกหลานของเรา และในสังคมของเรา หาใช่การทุ่มเงินสร้างโบสถ์ วิหารราคาแพง ๆ หรือสร้างพระพุทธรูปให้ใหญ่โตที่สุดในโลกไม่

    ดังนั้นเมื่อ ใดที่เราเห็นคนทุกข์ยาก ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน เชื้อชาติอะไร ต่ำต้อยเพียงใด อย่าได้เบือนหน้าหนี ขอให้เปิดใจรับรู้ความทุกข์ของเขา แล้วถามตัวเองว่าเราจะช่วยเขาได้หรือไม่และอย่างไร เพราะนี้คือโอกาสดีที่เราจะได้ทำบุญ ลดละอัตตาตัวตนและบำรุงพระศาสนาอย่างแท้จริง




    <HR>
    ขอบคุณที่มา: พระไพศาล วิสาโล
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    วันอาทิตย์นี้ (27 ก.พ. 54) เป็นวันทำกิจกรรมถวายภัตตาหารเช้าและบริจาคปัจจัยเพื่อใช้ในการรักษาสงฆ์อาพาธที่ รพ.สงฆ์ หากท่านใดอยากเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวกับผู้ร่วมกิจกรรมท่านอื่นของทุนนิธิฯ เพียงแต่เตรียมตัวกับหัวใจที่อยากจะช่วยประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์อาพาธ ทุกอย่างทุนนิธิฯ ได้เตรียมไว้ให้ท่านไว้หมดแล้ว ท่านเพียงแต่มีหน้าที่เข้าไปช่วยประเคนภัตตาหารที่เราเตรียมไว้ถึงเตียงท่านที่นอนอาพาธอยู่แล้วรอรับพรจากท่านเท่านั้นเป็นพอ แล้วพบกันเวลา 7.30 น.ที่โรงอาหารข้าง รพ.สงฆ์

    หากไม่ติดขัดอะไรอย่าลืมมาทำบุญถวายทานด้วยกัน พวกเราชาวทุนนิธิฯ ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความเต็มใจครับ

    พันวฤทธิ์
    21/2/54
     
  11. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293

    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2011
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    กิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ ประจำเดือนนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 ที่จะมาถึงนี้ โดยนัดพบเพื่อจัดเตรียมสังฆทานอาหารที่โรงอาหารด้านข้าง รพ.สงฆ์ในเวลา 7.30 น.-8.00 น.

    จึงขอแจ้งให้ผู้ที่สนใจได้ทราบทั่วกัน โดยผมและนายสติจะ ได้เบิกเงินจากบัญชีของทุนนิธิฯ มาเพื่อเตรียมการบริจาคเรียบร้อยแล้ว โดยมีรายละเอียดการบริจาคสำหรับเดือนนี้ตามประมาณการดังนี้


    1 รพ.สงฆ์

    - ถวายค่าสังฆทานอาหาร 6,000.- (ประมาณการพระสงฆ์ไว้ 200 รูป โดยจะถวายเป็นอาหารกล่องๆ ละ 30.-)
    - ถวายค่าเวชภัณฑ์ส่วนกลาง 5,000.-
    - ถวายค่าโลหิต 5,000.-
    รวม 16,000.-

    2 รพ.ภูมิภาค

    - รพ.แม่สอด จ.ตาก 8,000.-
    - รพ.สมเด็จพระยุพราช (ปัว) 5,000.-
    จ.น่าน
    - รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย 8,000.-
    จ.เลย
    - รพ.มหาราช จ.เชียงใหม่ 5,000.-
    - รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น 8,000.-
    - รพ.50 พรรษาฯ จ.อุบล 5,000.-
    - รพ.สงขลา จ.สงขลา 8,000.-
    - รพ.ปัตตานี จ.ปัตตานี 5,000.-
    รวม 52,000.-

    รวมเงินบริจาคตามข้อ 1.+2. = 68,000.- (หกหมื่นหกแปดพันบาทถ้วน)


    จึงแจ้งมาให้ทราบในเบื้องต้นก่อน ส่วนกิจกรรมเพิ่มเติมหลังจากได้ถวายสังฆทานเสร็จแล้ว อาจจะเป็นการสอนให้ดูพระสมเด็จสกุล 2408 ครบทั้ง 44 พิมพ์ จากศิษย์ต้นตำรับของ อ.ประถมฯ ครับ โดยในขณะนี้กำลังติดต่อท่านอยู่ ได้เรื่องยังไงจะได้แจ้งให้ท่านทราบกันอีกครั้งกิจกรรมนี้น่าสนใจมากครับเพราะ 2408 ของแท้หาชมยาก แถมได้ประวัติศาสตร์ในการสร้างพระพิมพ์สกุลนี้ด้วย

    พันวฤทธิ์
    23/2/54
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2011
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106

    หลักฐานการโอนเงินบริจาคตามประมาณการตามที่ได้แจ้งไว้ข้างต้นครับ นำมาลงเพื่อให้โมทนาบุญกัน

    [​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2011
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    อนุโมทนาและสาธุบุญกับทุกท่านข้างต้นด้วยครับ

    [​IMG]
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    ประวัติศาสตร์มีชีวิต ลองอ่านดูวิวาทะต่างๆ หลังจากเบื่อเรื่องเช่าพระก็คงจะเป็นปกิณกะทางความรู้ไม่น้อย ดังตัวอย่าง...

    พระที่นั่งอนันตสมาคมองค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่สอง องค์แรกสร้างครั้งรัชกาลที่ 4 หลังเบาริงก์ออกไป ประมาณ 2400 ท่านก็เริ่มสร้าง เพื่อใช้รับแขกเมืองอย่างตะวันตก เป็นหมู่พระที่นั่ง ซึ่งถ้าเรียกอย่างปัจจุบันก็คือคอมเพล็กส์ นั่นเอง นับว่าทรงทันสมัยล้ำยุคทีเดียว พระที่นั้งทั้งสิบหลังมีชื่อคล้องจองกันและมีหน้าที่ใช้สอยจำเพาะเจาะจง ผู้สนใจขอเชิญไปแสวงหาความรู้เอาจากประชุมพงศาวดารภาค 25

    รูปที่อาจารย์ขยายใหญ่ให้นี้ เป็นเพียงครึ่งเดียวของรูปต้นแบบที่เราส่งให้ฝรั่งวาดเข้ามา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพงศาวดารฉบับมีรูปภาพ ซึ่งจะทรงวางแผนไว้หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ผมสังเกตว่าน่าจะทรงตั้งพระทัยเป็นแนวนั้น จึงทรงอุดหนุนวัฒนธรรมการสร้างรูปบันทึกเหตุการณ์อย่างเป็นจริงเป็นจัง

    ในรูปที่ฝรั่งวาดเข้ามา จะเห็นสมเด็จเจ้าพระยา และสมเด็จกรมหลวงฯ วงษาฯ ออกท้องพระโรงด้วย นับว่าหาชมยาก และถ้าเราไม่มีต้นฉบับออกไป ฝรั่งที่ใหนจะนั่งเทียนเขียนเข้ามาได้

    ผมจึงออกจะดูถูกคนที่ดูหมิ่นบรรพชนว่า สั่งเขียนพระบรมรูปแบบมาตรฐานต่ำเข้ามา คนรุ่นนั้นฉลาดล้ำลึกกว่าที่เราคิด ไม่งั้นเราทุกวันนี้ได้เป็นขี้ข้าฝรั่งมาร้อยห้าสิบปีแล้วละครับ

    อุเหม่..อยากจะแช่งมันนัก

    .
    [​IMG]

    [​IMG]
    .

    ขยายขึ้นมาครับ จะได้ช่วยกันดูว่าผมไม่ได้ตาฝาด

    คนไทยสมัย ร.๔ ท่านไม่ได้แคร์พวกฝรั่งมันสักเท่าไรหรอก ดูท่านรับแขกเมืองปะไร...


    http://www.reurnthai.com/index.php?action=printpage;topic=1871.0
     
  17. san02

    san02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +145
    วันที่ 25 โอนเงินร่วมทำบุญ ประจำเดือน ก.พ.จำนวน 300 บาท
     
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    กราบขอบพระคุณและขอบคุณและโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ได้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อทำบุญกับทางทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ด้วยดีเสมอมา ในวันพรุ่งนี้ 27 กุมภาพันธ์ 2554 จะเป็นวันที่ทุนนิธิฯจะได้ทำบุญประจำเดือนนี้กันแล้วก็ขอ กราบเรียน เรียนเชิญ และเชิญ ทุกๆท่านที่มีเวลาว่างมาร่วมทำบุญกันโดยนัดพบเพื่อจัดเตรียมสังฆทานอาหารที่โรงอาหารด้านข้าง รพ.สงฆ์ในเวลา 7.30 น.-8.00 น.จำนวนพระสงฆ์ที่อาราธนารับสังฆทานอาหารในวันพรุ่งนี้มีจำนวน 160 รูปครับ

    กราบเรียน เรียนเชิญ และเชิญ ทุกๆท่านนะครับ
    โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ
     
  19. natta_pea

    natta_pea เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,515
    วันนี้ เวลา 16.43 น. ผมได้โอนเงิน 300.- บาท ร่วมทำบุญฯ
    ขอโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ
     
  20. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ภาพบรรยายการทำบุญทุนนิธิ เดือนกุมภาพันธ์ 54 ตอนที่ 1

    ขอเริ่มต้นด้วยการรูปร่วมกัน ณ หน้าตึกกัลยาณิวัฒนาครับ

    [​IMG]

    ช่วงเช้าของวันอาทิตย์ พวกเราก็จะจัดอาหารร่วมกันถวายครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ภาพสมาชิกตัวจิ๋ว เขาก็มาทำบุญกันนะ เริ่มแต่น้อย ดัดง่าย

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    เมื่อมาร่วมกันที่ตึกกัลยาณิวัฒนา เราจะขึ้นไปที่ชั้น 6 ก่อนเริ่มพิธี ก็อธิฐานจิตร่วมกัน

    [​IMG]

    [​IMG]

    สาธุครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0004.jpg
      DSC_0004.jpg
      ขนาดไฟล์:
      202 KB
      เปิดดู:
      359
    • DSC_0005.jpg
      DSC_0005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      219.5 KB
      เปิดดู:
      373
    • DSC_0007.jpg
      DSC_0007.jpg
      ขนาดไฟล์:
      229.1 KB
      เปิดดู:
      352
    • DSC_0008.jpg
      DSC_0008.jpg
      ขนาดไฟล์:
      174.2 KB
      เปิดดู:
      356
    • DSC_0011.jpg
      DSC_0011.jpg
      ขนาดไฟล์:
      202.4 KB
      เปิดดู:
      353
    • DSC_0027.jpg
      DSC_0027.jpg
      ขนาดไฟล์:
      206.9 KB
      เปิดดู:
      354
    • DSC_0030.jpg
      DSC_0030.jpg
      ขนาดไฟล์:
      242 KB
      เปิดดู:
      371
    • DSC_0032.jpg
      DSC_0032.jpg
      ขนาดไฟล์:
      233 KB
      เปิดดู:
      355
    • DSC_0033.jpg
      DSC_0033.jpg
      ขนาดไฟล์:
      230.8 KB
      เปิดดู:
      359
    • DSC_0023.jpg
      DSC_0023.jpg
      ขนาดไฟล์:
      366.4 KB
      เปิดดู:
      357
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กุมภาพันธ์ 2011

แชร์หน้านี้

Loading...