<TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD style="OVERFLOW: hidden" vAlign=top width="16%" rowSpan=2> </TD><TD vAlign=top width="85%" height="100%"><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center></TD><TD vAlign=center> </TD><TD style="FONT-SIZE: smaller" vAlign=bottom align=right height=20></TD></TR></TBODY></TABLE> </TD></TR></TBODY></TABLE> สร้อยข้าวต้มมัดหยก สร้อยเส้นบะหมี่ทองคำตะเกียบฝังเพชร หู้ๆๆๆ แถมมีแหวนไอติม เอิทร์เควก ด้วย โฆษณาให้สเวนเซ่นรึป่าวคะ เทรน จริงๆ คระ อิ อิ ทำบุญหวังผลขนาดนั้นจะได้บุญไหมอะนี่ เห็นละเครียดเเทนเลย มีการบอกว่าท่าไม่สวมใส่แหวนเครื่องประดับจะตกสวรรค์ ด้วย ไอ่เราก็หลงนึกว่าทำผิดถึงตกสวรรค์ แบบนี้ท่าหนูไม่มีตังค์ทำบุญไม่มีของพวกนี้ก็ไม่มีโอกาสได้ขึ้นสวรรค์เลยสิเนาะ -*- เฮ้อออ...
งานศพท่านพุทธทาส ยึดแนวทางปฏิบิติ "เป็นอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง" แม้แต่งานศพของอินทปัญโญก็ยังแฝงไว้ด้วยการสอนธรรมของตัวท่านใน พินัยกรรม ของท่านที่ทำไว้ก่อนมรณภาพ ท่านเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ให้เผาศพท่านในสามเดือนโดยจัดการอย่างง่ายที่สุด ไม่จัดงานพิธี โดยให้เผาศพในบริเวณเขาพุทธทอง โดยปักเสาสี่มุมและคาดผ้าขาวเป็นเพดานเท่านั้น นี่เป็นเจตนาของท่านที่ต้องการให้งานศพของท่านเป็นแบบอย่างเหมือนสมัยพุทธกาล โดยมุ่งหวังให้สงฆ์รุ่นหลังยึดถือปฏิบัติต่อไปในภายหน้า งานศพแบบสวนโมกข์ได้ปรากฏขึ้นแก่สายตาของพระ และฆราวาสจำนวนมากที่มาร่วมงานตามจุดประสงค์ของอินทปัญโญทุกประการ นี่เป็นการจัดการ ศพโดยวิธีเผากลางแจ้ง โดยตั้งโลงศพบนกองฟืน แล้วจุดไฟเผาต่อหน้าสายตาของผู้มาร่วมรับการสอนธรรมอย่างไม่มีสิ่งปิดบัง ในประเทศนี้มีชาวพุทธจำนวนนับไม่ถ้วนที่ได้พยายามด้วยวิธีการต่างๆ ตาม "ความจริง" และ "ความเชื่อ" ของตน เพื่อที่จะเข้าใกล้พระพุทธเจ้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่จะมีใครสักกี่คนกันที่สามารถเป็นผู้อยู่ใกล้พระพุทธองค์อย่างที่สุด เหมือนอย่างท่านผู้ที่กำลังถูกเผาไหม้อยู่เบื้องหน้านี้ <HR>
ถ้าได้ขึ้นสวรรค์ แล้วต้องแต่งตัวขนาดนี้ สำหรับตัวเรา...ขอเป็นผ้าถุงกับคอกระเช้าจะสะดวกกว่าค่ะ ขึ้นสวรรค์พ้นนรกมาก็ดีใจแล้ว แต่งแค่นี้ก็พอค่ะ
"ในเมืองมนุษย์เมื่อเนื้อหนังเหี่ยวย่นก็ควรรีบนำแหวนไปขายเอาเงินมาสร้างบุญ" สาธุ อย่ายึดติดทรัพย์นอกกาย เพราะสิ่งที่จะติดตัวเราไปได้มีแต่บุญกับบาปเท่านั้น
และมันคือการแสดงความกตัญญู ประกาศเกียรติคุณของผู้เป็นครูบาอาจารย์ ให้เป็นบุญกุศลของศิษย์ทั้งหลาย ได้บุญครั้งสุดท้ายกับผู้เป็นครู ใครมีความสามารถและกำลังเท่าไรก็ทำกันสุดกำลังเพราะท่านไม่ได้สั่งอะไรไว้
เนื่องจากทางเจ้าของกระทู้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในส่วนที่ข้าพเจ้าอธิบายในส่วนของภาพงานสลายร่างคุณยายอาจารย์แล้ว แต่ข้าพเจ้าจักยังคง ข้อมูลส่วนนี้ไว้เพื่อเป็นที่ประจักษ์หลักฐาน เพราะข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า ข้อมูลเหล่านี้ทางเจ้าของกระทู้ได้ไปพบจากบางส่วนในอินเทอร์เน็ท ดังนั้นข้าพเจ้าขอ ฝากข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงนี้ไว้ เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ กระต่ายตื่นตูม อีก เอาอีกแล้ว คุณยายอาจารย์ จันทร์ ขนนกยูงนั้นได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2543ครับ ไม่ใช่ปีที่แล้ว นี่ภาพบรรยากาศวันสลายร่างคุณยายครับ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2545 โดยก่อนหน้านี้ มีกำหนดพระสวดอภิธรรมติดต่อกันเป็นเวลา 500 วัน นี่คือภาพของ มยุรานาวากาศ จำลองมาจากราชรถทิพย์ของคุณยายอาจารย์ โดยญาณทัศนะอาศัยอานุภาพของพระธรรมกาย ไปรู้ไปเห็นครับ นี่ภาพงานวันคุ้มครองโลกปี2549 กำลังจะประกอบพิธีหล่อองค์พระธรรมกายที่จะประดิษฐานภายในมหาธรรมกายเจดีย์ 2 ภาพนี้เป็น งานวันวิสาขบูชา ปี 2552 ครับ 3ภาพนี้ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นวันฉลองมหาวิหารพระมงคลเทพมุนีครับ ภาพนี้เป็นวันงานวิสาขบูชา ที่ธุดงค์สถาน ที่เชียงใหม่ครับ ผมไม่ทราบว่าเจ้าของกระทู้มีเจตนาอะไร ที่นำข้อมูลเท็จมาลง อยากสร้างความแตกแยกในหมู่พุทธบริษัทสี่หรือยังไง ประวัติคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงครับ พระมงคลเทพมุนี สด จันทสโร คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงครับ อาจารย์แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2452 ซึ่งตรงกับ วันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ที่ อำเภอนครไชยศรี จ. นครปฐม ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้องชายหญิงทั้งหมด 9 คน มีบิดาชื่อ พลอย มีมารดาชื่อ พัน ซึ่งประกอบอาชีพทำนา ฐานะของครอบครัวจัดอยู่ในระดับปานกลาง<SUP id=cite_ref-0 class=reference>[1]</SUP> มารดาของอาจารย์แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง เป็นผู้ที่มีฐานะดีกว่าบิดา ในสมัยเด็กมีความใกล้ชิดกับมารดามากกว่าบิดา มารดาเป็นคนใจดี ชอบทำขนมให้ลูกๆ รับประทาน ส่วนบิดาเป็นคนติดสุรา จึงมักทะเลาะกับมารดาเสมอ ตั้งแต่วัยเด็ก ท่านมีอุปนิสัยเป็นคนว่านอนสอนง่าย รักสะอาด ขยัน อดทน คล่องแคล่วว่องไว ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญู เรียบง่าย ประหยัด มีระเบียบวินัยสูง เมื่อเจริญวัยเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ และ วัยอาวุโส ท่านเป็นผู้ให้ความสำคัญกับกฎระเบียบและความสะอาดของวัด รวมถึงเป็นผู้วางกฎระเบียบของวัดพระธรรมกาย เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยเหตุที่บิดาติดสุรา เมื่อมึนเมามักบ่นพึมพำ มารดารู้สึกรำคาญ จึงตะโกนออกไปว่า "ไอ้นกกระจอก อาศัยรังเขาอยู่" เมื่อบิดาของท่านได้ยินก็โกรธจัด จึงถามลูกๆ ว่าได้ยินที่แม่ด่าว่าพ่อไหม เด็กหญิงจันทร์ ไม่อยากให้บิดาและมารดาทะเลาะกันจึงกล่าวว่า มารดากล่าวเช่นนั้นคงไม่ได้หมายถึงบิดา ทำให้บิดาโกรธมากจึงแช่งว่าขอให้เด็กหญิงจันทร์หูหนวก 500 ชาติ ทำให้เด็กหญิงจันทร์กลัวมาก เพราะเชื่อว่าคำพูดของบิดามารดานั้นมีความศักดิ์สิทธิ์มาก หากแช่งลูกอย่างไรย่อมจะเป็นเช่นนั้น เมื่อเด็กหญิงจันทร์อายุได้ 13 ปี บิดาได้เสียชีวิตในวันที่เด็กหญิงจันทร์กำลังอยู่ในท้องนา ทำให้ไม่ได้มาขอขมาบิดาก่อนเสียชีวิต ซึ่งความรู้สึกกลัวนั้นยังคงติดอยู่ในใจของเด็กหญิงจันทร์ตลอดมา จนกระทั่งเวลาผ่านไปทำให้ได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำหรือที่รู้จักกันในอีกนามหนึ่งคือ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ว่าท่านสามารถสอนสมาธิเพื่อไปเยี่ยมญาติที่เสียชีวิตแล้วได้ ไปนรก สวรรค์ และนิพพานได้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้นางสาว จันทร์ ปรารถนาที่จะศึกษาวิธีการนั่งสมาธิเพื่อไปขอขมาบิดาในปรโลกเพื่อให้ตนไม่ต้องหูหนวกในชาติต่อๆ ไป
สำหรับที่วัดนี้ ภาพสวยงามดิฉันจำไม่ค่อยได้ จำได้อย่างเดียว คือ มีฟ้าผ่ามา 1 ครั้ง ในพิธีอะไรไม่ทราบ โดยส่วนตัวชื่นชมท่านเจ้าอาวาส ท่านสอนธรรมะได้เก่งมากค่ะ ส่วนอื่นดิฉัน no comment ค่ะ
คุณวงบุญพิเศษครับ ผมว่าคุณเจ้าของกระทู้คงไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้แตกแยกหรอกนะครับ ผมว่าสิ่งที่คุณเจ้าของกระทู้ต้องการจะแสดงออกก็คือว่า "ธรรมมะอยู่ที่ใจ" มากกว่า ลองดูรูปกลุ่มแรก ภายในงานไม่มีอะไรเลย แต่คนก็ยังมาชุมนุมกันมาก แล้วอีกรูป ดูหรูหราอลังการ และคนก็ยังมาชุมนุมกันเยอะ แล้วลองพิจารณาเพิ่มอีกอย่างคือ ในสมัยพุทธกาล อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้สาวกทั้งหลายออกบรรพชาตามพระพุทธองค์ นั่นล่ะครับคือสิ่งที่ควรจะพิจารณาในที่นี้ครับ ***อย่าส่งใจออกนอกครับ เพราะมันจะส่งผลต่อธรรมของคุณเอง ถ้าสิ่งที่เค้าทำแล้วถูกคนก็จะปฏิบัติตามเอง หรือถ้าผิดสังคมก้อจะบอกให้รู้เองล่ะครับ
นานาจิตตังคะ ท่าจะมองว่าต้องการให้แตกแยกก็มองได้ จะให้มองว่าให้เราปลงกับสังขารก็มองได้ ไม่ว่าจะยังไงชีวิตทุกชีวิตดับไป และก็เอาอะไรไปไม่ได้คะ หากข้าพเจ้าได้ล่วงเกินท่านใดไปก็ขออโหสิมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ ไม่ได้มีเจตนาอะไร เพื่อสร้างความแตกแยกในหมู่พุทธบริษัทสี่เลยสักนิดเดียว เพราะเชื่อว่าอย่าน้อยผู้ที่ได้มาอยู่ ณ จุดๆ นี้ต้องเป็นผู้ที่มีบุญได้มารับรู้เรื่อราวต่างๆ และได้ เป็นผู้มีบุญที่ได้มาเกิดใต้ร่มโพธิ์ ของพระพุทธศาสนา อนุโมทนาสาธุคะ
ยังไงก็ตามจากหลายๆความคิดเห็น ผมขออธิบายข้อมูลโดยย่อดังนี้ หมู่คณะเรามีเป้าหมายคือการรื้อวัฏฏะนี้ รื้อสังสาร คือจะมีการสร้างบารมีไปทุกพุทธธันดรเพื่อ "เก็บตก" สรรพสัตว์ในภายหลังไปเรื่อยจนกว่าจะถึงที่สุดแห่งธรรม หากยังไม่สิ้นสุดก็จะยังคงเดินทางไปเรื่อยๆ ใครก็ตามหากปรารถนานิพพานก็มิได้มีปัญหาอันใด ดังครูบาอาจารย์เราคือ คุณยายอาจารย์ท่านก็เคยกว่าว่า "ใครจะไปนิพพานยายก็อนุโมทนาด้วย แต่ยายจะขอปราบไอ้ดำให้สิ้นก่อน" ไอ้ดำคือพญามารนั่นเอง โดยเมื่อต้องเวียนว่ายจึงต้อ เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว ในการเดินทาจึงเกิดงานใหญ่ในการสรรสร้างบารมีเช่น ภายนอกประดิษฐานพระพุทธรูป 300,000 องค์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป 700,000องค์ สร้างจากวัสดุชั้นเลิศ จะมีอายุกว่าพันปี เราก็สร้างตามในพระไตรปิฎก ในอดีตมีการสร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเป็น16โยชน์ด้วยซ้ำไป โครงการอุปสมบทหมู่ 100,000รูป โครงการบวชอุบาสิกาแก้ว 1,000,000คน การนิมนต์พุทธบุตรทั้งแผ่นดิน 30,000วัด มารับไทยธรรม โครงการตักบาตรพระหนึ่งล้านรูปทั่วไทย เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การสร้างบารมี ที่เตรียมไว้เวียนว่ายสร้าง บารมี ปราบมาร และเก็บตกเหล่าสรรพสัตว์ที่ยังไม่นิพพาน โดยมีที่พักระหว่างทางคือ สวรรค์ชั้นดุสิต ในวงบุญพิเศษ เขตบรมโพธิสัตว์ ....ตรงนี้ใครจะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่ แต่เรามีครูบาอาจารย์ที่ร่วมสั่งสมบารมีมาร่วมกัน เราเชื่อในครูบาอาจารย์ของเรา
เรื่องหนังสือเล่มนี้ "มนต์เสน่ห์แห่งสวรรค์ ทัณฑ์ทรมานแห่งนรก" เป็นการใช้ญาณทัศนะ โดยอาศัยวิชชาธรรมกายไปรู้ไปเห็นมาโดยละเอียด บางคนอาจว่า "มันแปลกๆ" ผมคงแนะนำว่าควรไปถามผู้ทรงอภิญญาสายอื่นดู ว่าเห็นเหมือนกันไหม ส่วนตัวผม เป็นลูกศิษย์ของคุณแม่ชี ทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม ซึ่งท่านยืนยันว่า "เห็นดังนั้นจริง" และยังว่าให้ผมไปวัดพระธรรมกายด้วยซ้ำ ใครจะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่ แต่ทั้ง Case study ภาพนรก ภาพสวรรค์ ล้วนเป็นของจริงโดยใช้ญาณทัศนะตรวจดู
ในวันทอดกฐินทุกๆปี ที่วัดพระธรรมกาย จะมีการคัดเลือกบุคคล เพื่อสวมใส่เครื่องประดับชื่อ มหาลดาปสาธน์ ซึ่งเป็นเครื่องประดับของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ที่ทำเช่นนี้เพื่อเป็นการระลึกถึงบุพกรรมของนางที่ได้ถวายผ้าไตรจีวรไว้มาก ซึ่งสอดคล้องกับการถวายไตรจีวรผ้ากฐิน
ส่วนเรื่องการนำภาพงานของท่านพุทธทาส พระอริยสงฆ์ ไปเปรียบเทียบกับงานศพแม่ชีนั้นคงมีเหตุผลเพียงอย่างเดียว ผมก็จะขอเปรียบในเรื่อง "อัฐิ" บ้างน่ะครับ เถ้าอังคารของท่านพุทธแบ่งเป็น 3 ส่วนที่ให้นำไปลอยอังคาร คือ 1 เขาประสงค์ 2 ต้นน้ำ (แม่น้ำตาปี) 3 ช่องอ่างทอง ส่วนเถ้าอังคารขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือพระบรมสารีริกธาตุนั้น ทรงตรัสให้แบ่งไปบูชาทั่วทุกแคว้น และยังกล่าวอีกว่า "...อัฐิธาตุของบุคคลที่ควรบูชาได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระเจ้าจักรพรรดิเป็นการสร้างมงคลให้กับตนเองอย่างสูงสุด" เห็นได้ชัดเจนว่า "ให้สร้างเจดีย์" ถ้าอย่างนี้แล้ว ยังจะเปรียบเทียบเรื่อง "อัฐิเถ้ากระดูก ของท่านพระพุทธทาส กับของพระพุทธเจ้าอีกหรือไม่" ในที่สุดแล้ว มันขึ้นกับจุดประสงค์ที่ต้องการ ต้องการบารมีส่วนใดก็เติมส่วนนั้น ต่่างฝ่ายต่างทำถูก ต้องร่วมสนับสนุนกัน บางท่านว่า "ชอบทำวัดป่า ไม่ชอบวัดบ้าน" ใครจะคิดอย่างไรก็ตามแต่ แต่หมู่คณะของเรานั้นสนับสนุนทุกอย่างที่เป็นของสังฆมณฑล เราไม่ห่วงแต่วัดเราเอง เราห่วงทุกวัด ช่วยทุกวัด พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว พุทธบริษัทสี่ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว สิ่งที่ต้องสั่งสม คือ บุญกุศล What we need to accumulate is merit. สิ่งที่ต้องแสวงหา คือ พระรัตนตรัยภายใน What we need to seek is the Triple Gem within. เป้าหมายชีวิต คือ ที่สุดแห่งธรรม The ultimate life-goal is the Uttermost of Dhamma. ที่พักระหว่างทาง คือ ดุสิตบุรีวงบุญพิเศษ เขตบรมโพธิสัตว์ Our rest stop between lifetimes is the Special Merit Zone of the Tusita Realm in the district of Bodhisattas
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ไม่ทราบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ แต่มั่นใจว่าหลักธรรมคำสอนนั้นมีจริง... รู้ไม่พอ ต้องปฏิบัติด้วยค่ะ ไม่เช่นนั้นไม่เกิดประโยชน์ ...มองแต่แง่ดีเถิด... เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา จงเลือกเอา สิ่งดี เขามีอยู่ เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเอย ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง
ทรงเริ่มต้นใหม่ เดินทางสายกลาง พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้เราตึงเกินไป แต่ก็อย่าหย่อนเกินไป จงพิจรณา ด้วย สติ สัมปัญ ชัญญะ ของแต่ละบุคคลเองคะ
[SIZE=+2]ทางสายกลางของท่านพุทธทาส[/SIZE] [SIZE=+2][/SIZE] โดยผู้รับใช้ใกล้ชิด [SIZE=-1]คำบรรยายนี้แสดงแก่ผู้เข้าร่วมอบรมสมาธิภาวนาที่สวนโมกข์นานาชาติ บอกเล่าชีวิตและกิจวัตรประจำวันของท่านพุทธทาสภิกขุ ทำให้เห็นปฏิปทาอันสะอาดบริสุทธิ์ เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม และความดีงามของท่าน โดยผู้ใกล้ชิดที่เคยรับใช้เป็นเลขานุการส่วนตัวของท่านเป็นเวลานานปี [/SIZE] ท่านสาธุชนผู้สนใจในการฝึกสมาธิทั้งหลาย <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#fff8f0 width=70 align=middle>[SIZE=+5]วั[/SIZE]</TD><TD width=10 align=middle> </TD></TR></TBODY></TABLE> นนี้อยากจะพูดเรื่องราวเกี่ยวกับท่านเจ้าคุณอาจารย์ (พุทธทาส อินทปญโญ) เท่าที่ได้พบได้เห็น ให้ท่านทั้งหลายได้ทราบการใช้ชีวิตประจำวันของท่าน สิ่งที่สำคัญที่สุดในพุทธศาสนาก็คือการปฏิบัติและการปฏิบัตินั้นก็เน้นไปที่มัชฌิมา คือทางสายกลาง หรือเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา การปฏิบัติเป็นทางสายกลางซึ่งเป็นเรื่องยากมาก การปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น คือการดำรงอยู่ในความถูกต้องระหว่างวัตถุและจิต เรามีจิตอย่างเดียวไม่ได้ มีวัตถุอย่างเดียวไม่ได้ ชีวิตของเราต้องเกี่ยวข้องระหว่างวัตถุกับจิต ฉะนั้นพุทธศาสนานั้นได้ให้สิ่งสูงสุดสำหรับชีวิตของเรา นั่นคือระบบปฏิบัติที่เรียกว่าทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา เรียกชื่ออื่นก็ได้ เรียกอริยมรรคก็ได้ เรียกพรหมจรรย์ก็ได้ เรียกไตรสิกขาก็ได้ เขาเรียกว่าเป็นไวพจน์กัน เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ บางครั้งเราไปอ่านหนังสือแล้วไม่ได้พูดถึงทางสายกลาง แต่ใช้คำอื่นเช่น ไตรสิกขาบ้าง พรหมจรรย์บ้าง นั่นแหละทางสายกลาง ทางสายกลางนั้นเพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ ปฏิบัติไปเพื่อให้มันไม่มีทุกข์ ก็เพราะว่าเราทำถูกต้อง ทุกขั้นตอนของชีวิตโดยลำดับ ทางสายกลางนั้นตัวปฏิบัติของมันก็คือมรรคมีองค์ ๘ มรรคมีองค์ ๘ นั้นก็ขึ้นต้นด้วยสัมมาจนครบ ๘ ข้อ สัมมานั้นแปลว่า ความถูกต้อง ซึ่งเป็นคำที่ท่านเจ้าคุณอาจารย์เคยบอกว่า ไม่ทราบว่าจะแปลเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร เพราะว่าการใช้คำแปลนั้น มักจะไม่ถูกร้อยเปอร์เซ็นต์ ท่านจึงอยากจะให้ใช้คำว่าถูกต้องในภาษาไทยนี้ดีมาก หรือใช้คำเดิมคือคำว่าสัมมา แต่ถ้าจะใช้ให้เต็มรูปของความถูกต้อง ก็ต้องเป็นสัมมา ทั้ง ๑๐ ข้อ เรียกว่า สัมมัตตะ ๑๐ ซึ่งรายละเอียดโดยหัวข้อนั้น ท่านทั้งหลายสามารถจะไปดูในหนังสือได้ อยากจะให้ท่านทั้งหลายทราบโดยหลักว่า การปฏิบัติทางสายกลางนั้น ถ้าเราปฏิบัติอยู่ในระบบของมัน มันต้องเป็นไปเพื่อวิเวก คือความสงบ วิราคะคือจางคลาย นิโรธะคือความดับ โวสสัคคะปริณามิง คือน้อมไปเพื่อสละทิ้งเลิก ฉะนั้น ถ้าปฏิบัติอะไรแล้วมันยิ่งมาก ยิ่งหนัก ไม่สงบ ก็แสดงว่าไม่ใช่ ถึงแม้เราไม่รู้เรื่องของทางสายกลางเลย แต่เมื่อเราทำอะไรลงไปเกี่ยวข้องกับผู้ใด ดำเนินกิจการใดเสร็จแล้วมันสงบมันคลายปัญหา มันหมดเรื่อง เรื่องความยุ่งยากความเดือดร้อน นั่นแหละเรียกว่าเป็นทางสายกลาง มันจะกลางมากขึ้น ๆ ก็ต้องเข้ามาอยู่ในระบบมรรคมีองค์ ๘ ปัญหามันก็มีว่า เราทั้งหลายทุกคนก็มักจะมองว่าใครปฏิบัติเดินสายกลางได้แล้ว เราก็มักจะไปเดินตามเขา ข้อนี้นับว่าเป็นความผิดพลาด เพราะว่าทางสายกลางนั้นมันเป็นเฉพาะบุคคล เราไปทำตามเขาไม่ได้ <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#fff8f0 width=70 align=middle>[SIZE=+5]ท่[/SIZE]</TD><TD width=10 align=middle> </TD></TR></TBODY></TABLE> านทั้งหลายเคยศึกษานิทานอีสปมาบ้าง คงจะนึกถึงเรื่องจิ้งหรีดกับลา ลามันอยากจะมีเสียงไพเราะก็ไปถามจิ้งหรีด จิ้งหรีดมันก็บอกว่ากินน้ำค้างซิแล้วเสียงเพราะ ลามันก็ไม่ได้ดูตัวมันเอง มันก็จะเดินสายกลางบ้าง เพราะว่าจิ้งหรีดมันกินน้ำค้างแล้วเสียงเพราะ คือความถูกต้องของจิ้งหรีด เมื่อลาไปกินน้ำค้างบ้าง ผลสุดท้ายก็ไม่มีแรงแม้กระทั่งแต่จะเปล่งเสียง ต้องตายไป นิทานอีสปมันก็ดีตรงนี้ ตรงที่เราสามารถจะนำมาเปรียบเทียบให้มองเห็นได้ง่ายเข้า ฉะนั้นการปฏิบัติในพุทธศาสนานั้น เรามักจะมองว่าคนนั้นคนนี้เดินอย่างไร แล้วพยายามจะเดินไปตามแบบที่เขาปฏิบัติ เสร็จแล้วมันก็ไม่ได้ผล เพราะว่าเรื่องการปฏิบัติทางสายกลางนั้น มันต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ๘ องค์ ตั้งแต่อันแรกก็คือ ความเห็นถูกต้อง ความหวังถูกต้อง การพูดจาถูกต้อง การทำการงานถูก การดำรงชีพถูกต้อง ความพากเพียรถูกต้อง ความระลึกได้ถูกต้อง ความมีสมาธิตั้งมั่นถูกต้อง ครบ ๘ องค์ก็จะเกิดผลเป็นสัมมาญาณะ คือเป็นความรู้ที่ถูกต้อง แล้วได้ผลเป็นสัมมาวิมุตติ คือหลุดพ้นจากปัญหาทั้งปวง อันนี้มันเป็นของที่ต้องรวมกันเป็นสายเดียว มรรคมีองค์ ๘ ต้องรวมเป็นสายเดียว และเป็นเฉพาะบุคคล ซึ่งไม่สามารถจะนำของคนหนึ่งมาใช้กับอีกคนหนึ่งได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เราจะเอาแบบของใครมาสวมให้กับเราไม่ได้ นี่ก็นับว่าเป็นสิ่งซึ่งต้องพึงระวังไว้ เป็นของเฉพาะบุคคล แล้วก็มุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางเดียว นั่นก็คือนิพพาน ความสิ้นทุกข์ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ท่านบอกว่าทุกคนต้องเดิน จะเดินเมื่อไรก็ตามแต่ แต่ต้องเดิน ถ้าไม่เดินอยู่ในระบบที่ถูกต้อง หรือเรียกว่าทางสายกลางแล้ว ก็หาความสุขไม่ได้ ความสุขในที่นี้คือความสุขที่แท้จริง คือความสุขที่สงบ อย่างที่ท่านทั้งหลายกำลังเดินอยู่หลายวันมาแล้ว เดินโดยไม่ต้องใช้ขา บางคนหาความสงบไม่ได้ พยายามจนดึกดื่น เพื่อนนอนแล้วก็ออกมาเดิน เดินรอบอาคารก็แล้ว เดินกี่รอบมันก็ไม่สงบ เพราะว่าเราเคยแต่ใช้ขาเดิน แต่ว่าการใช้จิตเดิน มันเป็นเรื่องยาก สำคัญมาก ท่านเจ้าคุณอาจารย์นั้นท่านต้องประสบความสำเร็จแน่นอน แต่เราไม่อาจที่จะไปเดาหรือว่าคาดคิดเอาว่าท่านสำเร็จในระดับไหน แต่พฤติกรรมของท่านที่แสดงออกมาในชีวิตประจำวัน ที่อาตมาได้มีโอกาสเห็นอย่างน้อยก็หลายปี เพราะว่าอยู่กับท่านมาก็ ๑๐ กว่าปี ยิ่งมองก็ยิ่งเห็น แล้วก็ยิ่งงง คือไม่เข้าใจว่านี่หรือคือทางสายกลาง ข้อแรกก็คือว่า เราเคารพท่านเจ้าคุณอาจารย์ และเชื่อว่าท่านต้องปฏิบัติตามทางสายกลาง มรรคมีองค์ ๘ แล้วสิ่งที่เราเห็นนั่นก็คือผลผลิตที่ออกมาจากจิตใจของท่าน ซึ่งกระทำต่อคนนั้นคนนี้หลาย ๆ คน รวมทั้งกับสังคมด้วย ก็อยากจะลองเล่าให้ท่านทั้งหลายฟังดูว่า คนมีธรรมะที่เราเคารพ ท่านใช้ชีวิตอย่างไรในวันหนึ่ง ๆ และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในกรณีหนึ่ง ๆ นั้นท่านได้ตัดสินลงไปด้วยวิธีการอย่างไร ซึ่งเราก็เคยคุยกันในระหว่างเพื่อนสพรหมจารีด้วยกัน ก็คิดว่าไม่เข้าใจเหมือนกัน จึงคิดว่าทางสายกลางนั้นมันเป็นเฉพาะบุคคล ที่จะใช้ความสามารถอันนั้นเพื่อตัดสินปัญหา ท่านทั้งหลายลองนึกคิดแบบรวม ๆ ดูก็ได้ บุคลิกหน้าตา ถ้าคนหนึ่งมีความรู้ คนสองคนมีความรู้เท่ากัน ซึ่งมันก็เป็นไปไม่ได้ แต่เอาใกล้ ๆ ว่าเท่ากัน สามารถเท่ากัน แต่เมื่อไปสมัครงาน เขาให้อ่านข่าวออกทีวี คนที่มีความสามารถก็ออกไม่ได้ เพราะว่าบุคลิกหน้าตาไม่ดี คนที่บุคลิกหน้าตาดีก็มีสิทธิ์ได้ออก แล้วนี่และทางสายกลางอยู่ตรงไหน ความถูกต้องอยู่ตรงไหน ซึ่งมันเป็นปัญหาเหมือนกับว่าเป็นปัญหาโลกแตก ซึ่งเราทุกคนกำลังประสบกันอย่างยิ่ง แล้วก็มีสิ่งที่ตัดสินไม่ได้ตลอด จะลองบอกเล่าชีวิตของท่านอาจารย์ให้ฟัง สิ่งที่เราเห็นก็เห็นเพียงแต่ภายนอก จิตใจของท่านเราก็ไม่เห็น สติปัญญาของท่านเราก็ไม่เห็น เห็นแต่ว่าที่ท่านทำออกมาแล้ว แสดงออกมาแล้ว ท่านทำอย่างไร ชีวิตของท่านก่อนที่จะอาพาธในเดือนตุลา ๒๕๓๔ คือก่อนหน้านั้นราว พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๒๙ ท่านยังแข็งแรง เริ่มตั้งแต่ ๒๕๒๙ ท่านมีอายุ ๘๐ ปีบริบูรณ์ ท่านก็ยังแข็งแรง ยังมีอะไรที่ทำได้เต็มที่อยู่ ท่านอาจารย์ตื่นนอนแต่เช้าทุกวัน ตื่นก่อนระฆังตีสี่อีก ทำอยู่เป็นประจำ บางครั้งก็นอนดึก สี่ทุ่มแล้วที่เขานอนกัน ท่านดับไฟก่อนเดี๋ยวเผลอ ๆ ก็มาเปิดไฟอีกตอนห้าทุ่ม เที่ยงคืนทำงานต่อ แต่ท่านไม่เคยพูดว่าท่านทำงาน ถึงเราจะถามท่านก็บอกเปิดไฟมันอย่างนั้นเอง มาดูอะไรนิดหน่อย ไม่เคยบอก โอย วันนี้ทำงานมากเหลือเกิน กลางวันขอนอนหน่อย ไม่เคยพูด ไม่เคยเอาเป็นข้ออ้าง ท่านทำงานสม่ำเสมอตลอดมา <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#fff8f0 width=70 align=middle>[SIZE=+5]ตื่[/SIZE]</TD><TD width=10 align=middle> </TD></TR></TBODY></TABLE> นตีสี่ก็มักจะเห็นท่านนั่งอ่านหนังสือบ้าง พิมพ์อะไรบ้าง ตุ๊ก ๆ ติ๊ก ๆ พิมพ์สองนิ้วสัมผัสระบบจิ้ม แต่ถ้าพิมพ์ภาษาอังกฤษท่านจะใช้สัมผัสแบบ ๑๐ นิ้วได้ แต่ถ้าพิมพ์ภาษาไทยท่านจะใช้ ๒ นิ้วจิ้ม ก็เคยมองเห็นได้จากหน้าต่างที่ท่านไม่ได้ปิด คนละห้อง แต่ก็มองเห็น ท่านก้มหน้าก้มตาจิ้มไปเรื่อย เสียงก็ดังดีเหมือนกัน พอบางครั้งท่านก็พักผ่อน แต่ว่าไม่นอนแล้ว ใช้ขัดสมาธิเท้าคาง คิดว่าท่านทั้งหลายบางคนอาจจะเคยเห็น ท่านลองนั่งขัดสมาธิดูซิ คนไหนที่นั่งขัดสมาธิอยู่แล้วก็นำมือมาวางที่คาง แล้วก็เอาศอกสองข้างมายันอยู่ที่หัวเข่า จะเป็นท่าที่สบายที่สุดสำหรับอิริยาบถที่อยากจะพักผ่อนไม่อยากจะนอน ไม่อยากจะตื่น ท่านก็เคยทำอย่างนี้ให้ผู้ที่ฝึกสมาธิในรุ่นก่อน ๆ ดู แต่ไม่ทราบว่ามีใครได้ถ่ายรูปไว้บ้างหรือเปล่า เป็นรูปที่ท่านแนะนำว่า เมื่อเมื่อยจากการฝึกสมาธิ ก็ใช้วิธีเท้าคางอย่างที่บอกเมื่อตะกี้นี้ เป็นท่าพักที่ดีที่สุด แต่หลายคนก็บอกอีกว่ามั่นแหละ มันปัจจัตตัง คือท่านเท้าพอดี แต่เรามันเท้าไม่ได้ ของเรามันหลังยาวกว่าท่าน บางคนหลังยาว มันงอ บางคนก็เข่ายาวไป อย่างนี้เป็นต้น นั่นแหละทางสายกลาง อย่างนี้ก็เป็นเฉพาะท่านเหมือนกัน ถ้าใครบังเอิญว่าขนาดรูปร่างพอ ๆ กับเจ้าคุณอาจารย์ก็คงจะใช้วิธีนี้สำเร็จประโยชน์ <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#fff8f0 width=70 align=middle>[SIZE=+5]ป[/SIZE]</TD><TD width=10 align=middle> </TD></TR></TBODY></TABLE> ระมาณตีห้าท่านก็จะออกมาสรงน้ำ เท่าที่อยู่ด้วยกันมา ไม่เคยเห็นท่านสรงน้ำตอนที่พระอาทิตย์ขึ้น สรงน้ำเมื่อตอนที่พระอาทิตย์ตก ตีสี่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้นก็สรงน้ำแล้ว กลางคืนหนึ่งทุ่มพระอาทิตย์ตกแล้วก็สรงน้ำ ใช้ความมืดเป็นฝากั้นห้อง ท่านทั้งหลายไม่ทราบก็ไปฝั่งโน้น แล้วก็ไปสังเกตดู จะมีตุ่มอยู่ใบหนึ่ง เมื่อไปที่ท่านพักก็มีต้นกระท้อนต้นใหญ่อยู่ แล้วก็มองเข้าไปก็จะเห็นกุฏิเล็ก ๆ อยู่หลังหนึ่ง แล้วหลังกุฏินั้นก็มีตุ่มน้ำอยู่ตุ่มหนึ่ง กลางคืนท่านก็สรงที่นั่น ใช้ความมืดเป็นม่านกั้นอยู่ ได้ยินแต่เสียงน้ำน้อย ๆ ไม่มีโครมคราม แต่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้เพราะว่า มันเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม ก็เลยไม่ได้ถ่าย ท่านก็สรงน้ำยืนอยู่ข้างตุ่มน้ำ แล้วก็ใช้ขันทีมีด้ามเป็นกระบวย ตักแล้วก็รดกระบวยนี้ไม่ใช่ทำด้วยกะลา ทำด้วยวัสดุสมัยใหม่ ตักแล้วก็ใช้สบู่ สบู่ท่านก็ใช้ซันไรส์มาตลอด นี่ไม่ได้โฆษณา แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่ท่านแนะนำว่า ถ้าเป็นพระควรจะใช้แบบนี้ เพราะว่าฟอกตัวแล้ว ก็ฟอกสบงไปด้วย ซักผ้าอาบไปด้วย นี่อาบน้ำซักผ้าใช้น้ำทีเดียว ไม่ต้องไปแช่แฟ้บไปซักให้เปลืองน้ำ ท่านทำเป็นตัวอย่างตลอด แล้วท่านก็สรงน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง ต่อมาเมื่อท่านป่วยตั้งแต่ ๒๕๓๔ แล้วนั่นแหละตั้งแต่นั้นมาก็ไม่เคยสรงน้ำอีกเลย ใช้วิธีเช็ดตัวเอา แต่ก่อนถึงปี ๒๕๓๔ ท่านก็เริ่มไม่ค่อยสบาย ตอนเช้าก็ไม่ได้สรงน้ำเหมือนกัน แต่ก็ยังใช้ตอนกลางคืนสรงน้ำอยู่ ท่านไม่ได้ซักจีวร สบง อังสะบ่อยนัก ฉะนั้นคนที่มาบ่อย ๆ จะเคยเห็นอังสะท่านจะเลอะ ๆ อะไรต่าง ๆ หลาย ๆ อย่าง แล้วท่านก็ไม่ค่อยยอมให้ซัก ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด พระที่ทำหน้าที่ซักก็มีท่านสิงห์ทอง ทำหน้าที่ดูแลเรื่องนี้อยู่ แต่ว่าท่านไม่ค่อยให้ซัก ต้องไปแอบซักตอนท่านสรงน้ำ แล้วก็แอบไปดึงมา แล้วก็เอาผ้าใหม่ไปเปลี่ยน แล้วท่านก็จะถามว่าอันเก่าของเราไปไหน บอกเอาไปแช่น้ำแล้วครับ ท่านก็อ้าวอันใหม่ก็ได้ คือท่านพยายามจะไม่เบียดเบียนผู้ใด เมื่อท่านทำไม่ได้ท่านก็ไม่อยากจะใช้คนอื่นทำ นอกจากคนนั้นแสดงท่าทีด้วยความเคารพ ด้วยความที่อยากจะทำให้ ท่านทั้งหลายคอยระวังเรื่องนี้ให้ดี เราเป็นผู้ใหญ่ก็จริง แต่ว่าเด็กมันไม่เคารพ เราไปใช้มาก ๆ ระวังอย่างที่ลงข่าวหนังสือพิมพ์ เป็นคุณนายถือว่าเป็นนายจ้าง ไปด่าลูกจ้างบ่อย ๆ มันก็ได้เอาสากตีหัวเข้า อย่าใช้อำนาจ เพราะว่ากิเลสนี่มันเล่นกันลำบาก ท่านอาจารย์ท่านไม่ใช้ใคร เว้นแต่คนนั้นแสดงกิริยาอาการที่ต้องการจะทำจริง ๆ ท่านก็จะให้ทำ แต่ว่าก็ไม่ถึงกับจะให้คนนั้นลำบากด้วย แม้แต่จะไปซักผ้าให้ท่าน ก็ยังต้องไปขอท่าน ไม่ใช่ว่าท่านจะมาใช้ ** จากเว็ปไซค์ พุทธทาสศึกษา.. ขอบคุณ สำหรับบทความที่จะเป็นวิทยาทานสืบไปในเบื้อหน้าคะ
<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#fff8f0 width=70 align=middle>[SIZE=+5]เ[/SIZE]</TD><TD width=10 align=middle> </TD></TR></TBODY></TABLE> มื่อสรงน้ำเสร็จ ต่อมาท่านก็มานอนพักอยู่หน้าห้อง พอให้มีแสงอรุณขึ้น ประมาณ ๖ โมงเช้าก็ออกเดิน แต่ต้องวัดความดันก่อน ตามที่หมอแนะนำไว้ จดเป็นสถิติไว้ แล้วก็ออกไปเดิน แต่เชื่อไหมว่า ตอนเช้าปกติท่านไม่เดิน แต่ก่อนโน้นนานมาแล้ว ประมาณ ๒๕๑๔ เคยเจอท่าน แต่ว่าท่านก็เดินเล่น ๆ ตอนตีห้า เดินมืด ๆ ไปอย่างนั้นแหละ ใครไปเจอเข้าก็ไม่รู้ว่าพระหลวงตาที่ไหน แต่ท่านมาเดินจริงจังเอาเมื่อประมาณอายุ ๘๐ แล้ว คือช่วงนั้นท่านมีอาการตึงขาตึงสะโพก แล้วหมอก็แนะนำว่าวิธีจะแก้สิ่งเหล่านี้ ก็โดยวิธีบริหารหรือการเดิน เพราะท่านอาจารย์ท่านจะนั่งขัดสมาธิทั้งวัน คนที่จำได้จะนึกออก ที่นั่งอยู่ม้าหิน ไม่ได้นั่งห้อยเท้า ขัดสมาธิอยู่อย่างนั้น เช้าจนถึงเย็น วันหนึ่งนั่งอย่างน้อยประมาณ ๑๒ ชั่วโมง ทำให้เส้นมันตึงหมด ตกลงหมอก็ช่วยกันขอร้อง คุณหมอเสริมทรัพย์นี่ก็เป็นกำลังสำคัญคนหนึ่ง รวมทั้งอาจารย์รัญจวน รวมทั้งใคร ๆ เยอะแยะไปหมด หมอหลายคนก็ขอท่าน ท่านก็บอกว่าจะเดิน แต่แล้วท่านก็ไม่เดิน ก็เลยทุกเช้าก่อน ๖ โมงฝ่ายอุบาสิกาจะมานั่งคอยที่ม้าหิน ประมาณ ๕-๖ คนมาคอยนั่งคอยทุกวัน พออาจารย์ออกมาเจอเข้า ท่านบอกอ้าวเดี๋ยวขอนั่งก่อน เดี๋ยวค่อยเดิน ก็นั่งสนทนาธรรมะกันไป ไม่ได้เดินอีก ตกลงวันรุ่งขึ้นมาอีก ก่อน ๖ โมงเข้ามาอีกมานั่งคอยอีก ท่านก็ไม่เดิน ท่านก็ชวนคุยธรรมะไปหลายวัน ๆ เข้า ผลสุดท้ายก็ยอมแพ้ความตั้งใจจริงของคณะอุบาสิกาผู้ปฏิบัติธรรม เท่าที่สังเกตดูท่านอาจารย์จะยอมทำอะไรทั้งที่ทำก็เพื่อตัวท่านอาจารย์เองแหละ เพราะถ้าท่านไม่เดินท่านก็จะแย่ แต่ท่านก็จะทำตามคำขอร้องนั้น แต่ต้องเป็นคำขอร้องของผู้ปฏิบัติ ของผู้ที่ท่านมองเห็นแล้วว่า คนเหล่านี้ไม่ได้ขอร้องในลักษณะที่เป็นคำสั่งอยู่ข้างใน ท่านเคยสังเกตไหมว่า ขอร้องใครแต่มันเป็นคำสั่งอยู่ข้างใน เช่นว่าขอร้องนะออกไปหน่อย นั่นคือคำสั่งถ้าคุณไม่ออกไปผมก็จะใช้ความรุนแรง หลายอย่างเหมือนกับหลาย ๆ คนไปป้อนข้าวพ่อแม่ พ่อแม่แก่แล้ว หรือไม่สบาย อ้าวแม่กินหน่อย พ่อกินหน่อย แต่ในใจก็นึกว่าไม่กินก็ดีเหมือนกัน ไม่อยากให้ คือในส่วนลึกจริงมันมิได้ต้องการปรนนิบัติหรือว่าจะรับใช้ มันมีอะไรเป็นตัวตนอยู่มาก ฉะนั้นกว่าท่านจะเดินได้ก็หลายวันทีเดียว ผลสุดท้ายท่านก็ยอมเดิน รับปากว่า เอาล่ะ แต่นี้ไปเราจะเดิน แต่คณะอุบาสิกาก็ไม่ท้อถอย มาเดินอยู่กับท่านนานหลายวัน เดินอยู่จนกระทั่งแน่ใจว่า ท่านอาจารย์ท่านรับปากคำไหนต้องคำนั้น ท่านก็เดินมาตลอด อาตมาก็พลอยได้เดินกับท่านไปด้วย เช้า ๆ ก็เดินไปทุกวัน ๆ เส้นทางที่ท่านเดินเป็นเวลาหลายปีก็เดินออกจากม้าหิน ออกไปแล้วก็เลี้ยวซ้าย อ้อมศาลาธรรมโฆษณ์แล้วก็ผ่านไปที่สนาม ข้างหลังอวโลกิเตศวรจะมีถนนเล็ก ๆ อยู่ แล้วก็ไปเลี้ยวก่อนที่จะถึงโรงธรรม เลี้ยวซ้ายไปที่โรงฉัน แล้วก็เดินผ่านถนนหน้าสนามอวโลกิเตศวรไปจนถึงถนนที่จะขึ้น เลี้ยวซ้ายก็ขึ้นผ่านซุ้มสายหยุด เดินขึ้นไปข้างบนไปถึงที่ม้าหิน แล้วก็ไปนั่ง เดินประจำทุกวัน บางวันออกเดินก็เลี้ยวซ้าย บางวันก็ชวนท่านอาจารย์ครับวันนี้เลี้ยวขวาบ้าง อ้าว ๆ เลี้ยวขวาบ้าง คือเดี๋ยววันนี้ก็เลี้ยวซ้าย วันนี้ก็เลี้ยวขวาแต่ก็รอบเดิมนั่นแหละ แต่ว่าเดินกลับไปกลับมาอย่างนั้นแหละ ถนนที่เดินก็ไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไร ก็มีหินมีอะไร ท่านก็ไม่เคยบ่นเคยว่าให้คนอื่นที่ต้องทำถนนให้ท่าน ท่านบอกดีอย่างนี้ดี ท่านทั้งหลายเคยเดินถนนจากโรงฉันขึ้นไปโรงธรรม จะเห็นมีก้อนหินมากตลอดทาง เราอายุน้อยอยู่ เราไม่รู้หรอกว่าก้อนหินนั้นมันทรมานสังขาร ถามท่านผู้มีอายุลองเดินดูก็จะรู้ว่า มันมีความลำบาก ท่านก็บอกว่าดี อย่างนี้เราได้ออกกำลัง เดินให้ก้อนหินมันกลิ้งไปกลิ้งมา ท่านพยายามทดสอบกำลังตัวเองตลอด แม้แต่การเปิดกระป๋อง เราจะเปิดให้ท่านบอกไม่ต้อง เปิดเอง จะได้รู้ว่ากำลังยังมีไหมอยู่ไหม กระป๋องที่เขาใส่ขนมปังที่ต้องใช้ออกแรงพอสมควร ท่านก็เปิดเอง แล้วกุญแจห้อง ซึ่งเขาแนะนำว่าผู้สูงอายุควรจะใช้กุญแจห้องซึ่งมีด้ามกุญแจใหญ่เพื่อจะได้จับเต็มมือแล้วก็บิด ท่านไม่เอา ท่านก็ยังใช้สองนิ้วเหมือนเดิม เพื่อทดสอบกำลัง ท่านอาจารย์ท่านจะใช้ทุกส่วนของร่างกายด้วยสติสัมปชัญญะ เพื่อที่จะรู้ว่า ขณะใดร่างกายมันถอยไปเท่าไรแล้ว แล้วท่านก็รู้ประมาณตัวของท่านเองตลอด ท่านถึงบอกว่าท่านไม่ค่อยสบาย ก็เพราะว่าท่านสังเกตอย่างนี้ตลอดเวลา ขณะที่ท่านเดินนั่นแหละ ก็เป็นโอกาสดีสำหรับมือกล้องทั้งหลาย ก็คอยดักหน้าดักหลังถ่ายไปตลอด แต่ก็ถ่ายไปอย่างไรท่านก็ไม่ว่า ขอให้อย่าไปขวางการเดินของท่านก็แล้วกัน ตากล้องบางคนก็ไม่ได้เรื่อง ไปยืนอยู่ตรงหน้าจนท่านเดินไปถึงก็ยังหาโฟกัสไม่เจออยู่อีกนี่ก็ลำบาก ก็ไปดักถ่ายกันตลอด ขนาดมือกล้องอาชีพยังสยบต่อการมองมุมถ่ายของท่าน เพราะท่านเดินทุกวัน ท่านไม่ได้เดินแบบเรื่อยเปื่อย ท่านสังเกตไปเรื่อยว่าตรงไหน มุมไหนดี ท่านจะคอยสังเกต ถ้ามีกล้องและท่านพอจะรู้จัก ท่านก็จะแนะว่าถ่ายตรงนี้ต้องยืนตรงนี้ ถ่ายมาแล้วก็จะสวย มุมกล้องที่ท่านได้แนะช่างภาพถ่ายไปก็คือ ให้ถ่ายผ่านง่ามต้นมะม่วงที่อยู่ที่สนามอวโลกิเตศวร แล้วท่านก็จะไปยืนอยู่ตรงขอบบ่ออวโลกิเตศวร แล้วช่างกล้องจะถ่ายผ่านง่ามต้นมะม่วงไป แล้วก็จะมีท่านอยู่ตรงระหว่างง่ามพอดี แล้วก็เหนือศีรษะขึ้นไปก็จะมีรูปอวโลกิเตศวร รูปนี้ก็ยังมีแพร่หลายอยู่ ช่างกล้องมืออาชีพเองก็ยังยอมรับว่ามุมนี้ผมมองไม่ออกครับ ท่านบอกคุณไปถ่ายเถอะแล้วมันจะออกมาสวยมาก ถ่ายออกมาแล้วเหมือนกับอยู่ในหุบผาอะไรอย่างนี้สวยมาก แล้วท่านก็มีฝีมือมาก <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#fff8f0 width=70 align=middle>[SIZE=+5]ใ[/SIZE]</TD><TD width=10 align=middle> </TD></TR></TBODY></TABLE> นอาคารนี้มีรูปที่ท่านนั่งอยู่ที่บ่อบัว ตอนนี้บ่อบัวนี้เป็นบ่อแช่ปูนไปแล้ว ก็เลยไม่ได้ดู แต่ก่อนนี้ยังเป็นบ่อบัวอยู่ แล้วบ่อบัวก็เป็นศิลปะของท่านเอง ไม่ค่อยเหมือนคนอื่น ท่านบอกว่าบัวมันต้องอยู่เสมอกับพื้นดินไม่ใช่ยกขึ้นมาสูง ๆ ท่านจะฝังบ่อซีเมนต์อยู่กับดิน แล้วขอบบ่อซีเมนต์อยู่เสมอระดับดินพอดี แล้วก็ปลูกบัว เวลาบัวงาม ๆ ขึ้นมาก็ไปนั่งพิจารณาบัว เหมือนกับว่าบัวบานออกมา ก็เหมือนกับการตรัสรู้ เป็นการรู้ธรรม แล้วท่านก็ไปนั่งดูบัว หลายคนคงจะชอบดอกบัวแต่ไม่มีใครได้ยินดอกบัวพูด ท่านอาจารย์ท่านไปนั่งดูดอกบัวแล้วท่านได้ยินดอกบัวพูด ท่านเขียนไว้ในรูปนั้น เดี๋ยวท่านไปอ่านดู ท่านเขียนไว้ว่า ทำกับฉัน เหมือนกับฉัน นั้นยังอยู่ อยู่เป็นคู่ กันชั่วฟ้า ดินสลาย ทำกับฉัน อย่างกับฉัน นั้นไม่ตาย ท่านทั้งหลาย ก็อยู่กัน นิรันดร แล้วก็เซ็นชื่อพุทธทาสไว้ นั่นดูซิพื้นที่สวนโมกข์ทุกตารางนิ้ว ไปนั่งตรงไหนมันได้ยินธรรมะไปหมด นี่แหละท่านถึงพยายามจัดสถานที่ต่าง ๆ ไว้ ถ้าใครไม่ไปลบของท่านเสีย ก็จะได้ประโยชน์ตามที่ท่านได้ประโยชน์มาแล้ว มีดอกบ้างอะไรบ้าง ท่านใช้เป็นการศึกษาปฏิบัติธรรมตลอด ชีวิตท่านก็อยู่อย่างนี้ เรียบ ๆ ง่าย ๆ แต่ว่ามีอะไรออกมาลึกมาก ตรงนั้นก็มีต้นมะขามอยู่ต้นหนึ่ง ตอนนี้ก็งามขึ้นมาแล้ว ท่านบอกว่าต้นนี้อย่าให้มันสูงเดี๋ยวมันจะบังอวโลกิเตศวร ตอนนี้มันเริ่มสูงแล้ว เดี๋ยวจะต้องไปทำให้มันเตี้ยลงหน่อย เขาจะทำให้มันเตี้ยลงมา ถ้ามันออกฝักออกอะไรก็ไม่ต้องลำบากเก็บ แต่ให้มันเตี้ยไว้ ให้มันเป็นลักษณะไม้พุ่ม แล้วก็ต้นพิกุลท่านเคยสังเกตไหม ต้นพิกุลที่อยู่หน้าศาลาธรรมโฆษณ์ซ้ายมือ เดี๋ยวนี้ใหญ่โตแล้ว พอดีท่านเจ้าคุณอาจารย์ไม่ได้ไปดูเลยต้นโตใหญ่ แต่ก่อนนั้นเดินผ่านทุกวันไม่ได้โตหรอก ผ่านมา อ้าวนี่ เดี๋ยวไปทำให้มันเตี้ย ๆ หน่อย เพราะว่าถ้ามันใหญ่โตมันอาจจะล้มลงมาฟาดกุฏิก็ได้ ทำให้เป็นไม้พุ่ม ท่านมีความละเอียดอ่อน ท่านมีความสังเกตอะไรอยู่ตลอดเวลา ที่เดินไปเรื่อย ๆ <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#fff8f0 width=70 align=middle>[SIZE=+5]ใ[/SIZE]</TD><TD width=10 align=middle> </TD></TR></TBODY></TABLE> ดินไปเรื่อย ๆ แล้วก็กลับมานั่งที่มาหิน ช่วงนั้นเป็นเวลารับแขก ท่านมีแขกประจำมาทุกวัน พาครอบครัวมา แม่ไก่มาแล้ว พอท่านมานั่งปุ๊บก็มาแล้ว ครอบครัวไก่ กุ๊ก ๆ มา ลูกไก่ ๕-๖ ตัว มาประจำ เป็นขาประจำ ท่านก็เลี้ยง ๆ ๆ ตรงนี้แหละที่เราจะได้เห็นการปฏิบัติของท่าน ท่านไม่ใช่เป็นคนที่ปล่อยให้มันเป็นไปตามบุญตามกรรม สิ่งใดที่เข้าไปจัดได้ก็เข้าไปจัด ขณะที่เลี้ยงลูกไก่อยู่ มันมีไก่บางตัวที่เข้ามากินด้วย ท่านก็มีไม้เท้าที่คอยจะกันมัน อย่างไก่บางตัวมันเกเร มันจิกลูกเจี๊ยบบ้าง จิกอะไรบ้าง ท่านก็จะเอาไม้เท้านั้นเป็นไม้อาญาสิทธิ์ไล่มันไป บางครั้งไก่มันก็ดื้อเหลือเกิน ท่านก็ต้องใช้อย่างสมัยใหม่เรียกเพลงไม้เท้าบิน สำหรับไก่บางตัวที่ดื้อ ๆ มันจะกุ๊ก ๆ ไปไล่อยู่เรื่อย อาตมาเคยสงสัย เอ๊ะไม้เท้าท่านอาจารย์ทำไมมันชอบไปอยู่ ไกล ๆ อยู่ไกลออกไปเลย ห่างออกจากตัวท่านไป ๓-๔ วา วันหลังก็เลยมานั่งดูข้างหลัง อ้อ ! คือท่านช่วยลูกไก่ ไก่บางตัวมันดื้อ ไล่แล้วมันไปยังหันมามองหน้าอีก ก็เลยปล่อยไม้เท้าบิน ก็ไม่มีอะไร เพียงแต่ทำให้มันกลัว ต้องจัดการกับมันในสิ่งที่เราทำได้ ตรงต้นกระท้อนนั้นจะมีไก่มานอนมาก แต่ก่อนยังไม่ได้ทำที่สำหรับวางม้าหิน ต่อมาจึงมีม้าหิน ถ้าไก่มานอนก็จะขี้ลงมาทุกวัน ตอนเช้าก็เต็มไปหมด คนมาหาอาจารย์ก็ไม่ทันได้ดูหรอก อารามดีใจที่เห็นท่านอาจารย์ นั่งลงไปก็ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร นั่งลงไปแล้วก็ตามเลยไปเช็ดเอาทีหลัง ท่านอาจารย์ก็เลยต้องจัดการไก่ทั้งฝูงที่พักอยู่บนต้นกระท้อน เพื่อไม่ให้คนที่มาได้รับความลำบาก ก็ไล่มันไป ไล่กันอยู่นานเป็นอาทิตย์ พอตกเย็นปุ๊บมันก็จะขึ้นต้นกระท้อน ก็ต้องมาช่วยกัน พระหลาย ๆ องค์เอาไม้เอาอะไรบ้าง ช่วยกันตีไล่ให้ไปนอนข้างหลัง ไปนอนต้นจำปาอะไรนั่น ไล่กันทุกวันผลสุดท้ายก็สำเร็จ แต่เดี๋ยวนี้ก็ยังมี หลังสุดก่อนท่านอาพาธก็ยังมีไก่บางตัวรอดมาอีก อ้าวมาไล่มันไปที ใช้อะไรต่าง ๆ พอจะไล่มันได้ สุนัขทุกตัวที่อยู่ในบริเวณนั้น ท่านจะรู้ว่าตัวไหนมันเป็นตัวเก่า ตัวไหนมาใหม่ ตัวมาใหม่จะมากัดตัวเก่าไม่ได้ เพราะตัวเก่าหลายปีเข้ามันแก่ ตัวใหม่หลายปีเข้ามันหนุ่ม กำลังมันดี เขี้ยวมันคม มันจะมาขย้ำคอไอ้ตัวเก่า ท่านจะไม่ยอม ท่านถือว่ารังแกคนแก่ หรือทำนองว่า หนุ่มใหม่มาไล่คนเก่าไม่ได้ ท่านจะเข้าไปจัดการด้วยตัวเอง ซึ่งเราเป็นห่วงมากตอนนั้น เช้าวันหนึ่งบันทึกไว้วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นเช้าเผด็จศึก เจ้าสุนัขตัวหนึ่งซึ่งมันเป็นลูกสุนัข แล้วมันโตขึ้นมาแล้ว แล้วมันก็ไปกัดไอ้ตัวที่เคยอยู่ก่อนต่อหน้าท่าน ท่านก็จัดการด้วยไม้เท้าเก่าแก่มาก ไม้เท้านั้นท่านใช้มาเป็น ๒๐ ปีแล้วมั๊ง ก็สลัดตีไม้เท้าลงไปหัก ๓ ท่อนเลย เรานี้ใจวูบคิดว่าท่านอาจารย์ล้มลงไปแล้ว คิดว่าท่านล้มลงไป นี่เพราะว่าเราไม่ไล่ ก็เลยทำให้ท่านต้องลงไม้ลงมือ มันก็นับว่าเป็นบาปเหมือนกันที่เราไม่ได้ช่วยท่าน ท่านทำเอง ท่านไม่ง้อหรอก ถ้าท่านทำได้ คนเห็นอาจจะตกใจ ทำไมทำอย่างนี้หลวงพ่อ ดีแล้วหลวงพ่อไม่ได้เอาไม้เท้าตีหัวเราเข้า บอกแล้วว่าการปฏิบัติทางสายกลาง บางครั้งเราเห็นแล้วเราไม่เข้าใจ ทำไมต้องเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าเราเชื่อว่าท่านเป็นผู้ปฏิบัติธรรม สิ่งที่ท่านทำนั้นทำด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นความถูกต้องก็ยอมรับได้ แล้วไม้เท้านั้นก็ยังเก็บอยู่เป็นที่ระลึก <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#fff8f0 width=70 align=middle>[SIZE=+5]ท่[/SIZE]</TD><TD width=10 align=middle> </TD></TR></TBODY></TABLE> านนั่งรับแขกอยู่ตรงนั้นมันดี เพราะว่าแขกจะนั่งไม่นาน พอมีฝนตกมาก็เลิกกัน ไม่ต้องไล่แขก แล้วบางทีท่านก็ไม่ลุกนะ บางทีท่านพูดไปเฉย ๆ แขกไม่ลุกก็ช่างเพราะท่านมีร่ม ก็คุยไปเรื่อยทำไม่รู้เรื่อง ก็มีคนทนเหมือนกันแหละ ทนจนไม่ไหว บอกไม่ไหวแล้วหลวงพ่อ เพราะว่าฝนตก ทำแบบนั้น ท่านเอื้อเฟื้อในระดับที่เกิดความสมดุล ถ้าสมมุติว่าสร้างเป็นหลังใหญ่แบบนี้ โอ ท่านแย่ ฝนตกมันก็ไม่ไปใช่ไหม ตกลงไม่รู้จะทำอย่างไรถึงจะให้แขกไปได้ แต่ว่ารับแขกกลางแจ้ง ฝนตกก็เลิกกัน เหมือนบรรยายวันเสาร์ ฝนตกก็เลิก อย่างที่เห็นอยู่แล้วว่าฝนจะตก แต่ว่าบรรยายก่อน พอตกก็เลิก แต่พอไปตั้งไว้ที่เรือแล้ว ฝนตกก็ต้องบรรยายจนเลิก จนกว่าจะจบข้อความ จะเห็นว่าชีวิตของท่านใกล้ชิดธรรมชาติแล้วก็มีอะไร ๆ ที่มันเป็นไปโดยลำดับ ไม่ต้องทำความยุ่งยากลำบากต่อใคร ท่านอาจารย์ท่านอยู่ตรงนั้น บางคนตอนเช้าท่านเดินอยู่ ก็มาหาท่าน แล้วก็มันจะถูกท่านไล่ ท่านเคยบอกไว้บอกว่า คนถ้ามันไม่รู้กาลเทศะ ปฏิบัติธรรมะไม่ได้หรอก เวลานี้เราเดินอยู่มันยังมากราบขวางหน้าเรา แล้วแถมยังมาบอกหลวงพ่อขอถามปัญหาหน่อย มันไม่รู้ว่าเวลานี้เขาจะทำอะไร แสดงคนเหล่านี้ไม่มีทางที่จะรู้ธรรมะได้ เพราะว่าไม่รู้มารยาทพื้นฐาน แล้วก็ถูกไล่ไป ถ้าดีหน่อยก็บอกไปนั่งคอยที่นั่น เวลาแขกเข้ามา แม้กระทั่งพระภิกษุสามเณรก็เหมือนกัน ไม่ถอดรองเท้าในที่ไกล มาถอดรองเท้าข้างหน้า แล้วก็เอารองเท้ารองหัวเข่าแล้วก็กราบ พวกนี้ก็ยังไม่ไหวแล้ว เขาเรียกว่า สำอางกินไป หรือมักง่ายเกินไป ซึ่งเราทำกันประจำ บางคนกลัวเปื้อน เปื้อนกายนี้กลัวนัก แต่เปื้อนใจไม่ทันดู ท่านสังเกตคนเหล่านี้อยู่ คนที่มีท่าทางที่ไม่ค่อยจะถูกต้อง ท่านก็ไม่อยากจะคุยด้วย เพราะมันบ่งลักษณะบ้า ๆ อยู่เหมือนกัน มาถึงก็นั่งดูท่านอาจารย์ทั้งวัน นั่งดูอย่างนี้ บางทีท่านก็บอกว่าไปถามดูซิ เขามีธุระอะไร ไปถามว่าโยมมีธุระอะไร คนนั้นก็ไม่ทราบว่าอารมณ์ค้างหรืออารมณ์เสียอยู่ ถามว่า "ทำไมนั่งไม่ได้หรือไง" ความจริงก็เป็นห่วงคนไปนั่ง ตอนหลังก็เลยปล่อยเลย คนมาหลังก็เลยลำบากอีก โอ๊ยดิฉันมานั่งตั้งแต่เช้าแล้วน่ะค่ะ ยังไม่ได้ที่พักเลย อ้าว ! ใครจะรู้ล่ะ โยมมานั่งมีธุระอะไรหรือเปล่า เพราะว่าเราเคยไปถามก็โดนโยมดุเอาเสียอีก หาว่าไปรบกวนเขา เขาอยากจะนั่งชมท่านอาจารย์ บางคนมาแล้วอย่าไปนั่งเฉย ๆ ไปที่เคาน์เตอร์ที่มีพระเจ้าหน้าที่อยู่ ก็ไปถาม ถ้านั่งเฉย ๆ พระก็ปล่อยตามเรื่อง ไม่อยากไปรบกวนโยมที่นั่งอยู่หรอก เพราะว่าบางคนเขาก็นั่งอยู่โดยมีวัตถุประสงค์ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่านั่งโดยมีวัตถุประสงค์หรือเปล่า หรือว่านั่งคอยใคร ** จากเว็ปไซค์ พุทธทาสศึกษา.. ขอบคุณ สำหรับบทความที่จะเป็นวิทยาทานสืบไปในเบื้อหน้าคะ<!-- google_ad_section_end -->