พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เพิ่งกลับจากตราดครับ ขับเข้ากทมใช้เวลา ราว 3 ช.ม. แต่รถติดในกทม.เลยหาทางอ้อมโลกร่วม 2 ช.ม. รวม 5 ช.ม. กลับไปเที่ยวนี้พี่ชายของผบ.ทบ.นำพระของพ่อตาที่สมัยหนุ่มตระเวณไปทั่วเจ็ดย่านน้ำมาให้ชม เลยขอมาให้ชมได้ 4 องค์ อีกองค์เสียดายที่ไม่สามารถนิมนต์มาได้ หุ..หุ..แต่คงอีกไม่นาน 6s...6s...ของจะได้ก็ย่อมต้องได้วันยังค่ำ....เดี๋ยวคืนนี้มีเวลาจะนำมาให้ชมนะ...
     
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พี่สิทธิพรช่วยดูให้หน่อยครับ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010354.jpg
      P1010354.jpg
      ขนาดไฟล์:
      297.3 KB
      เปิดดู:
      90
    • P1010355.jpg
      P1010355.jpg
      ขนาดไฟล์:
      363 KB
      เปิดดู:
      84
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    องค์ที่ ๒ ...........
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010360.jpg
      P1010360.jpg
      ขนาดไฟล์:
      377.6 KB
      เปิดดู:
      62
    • P1010361.jpg
      P1010361.jpg
      ขนาดไฟล์:
      378.4 KB
      เปิดดู:
      69
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    องค์ที่ ๓ ................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010356.jpg
      P1010356.jpg
      ขนาดไฟล์:
      292.5 KB
      เปิดดู:
      68
    • P1010357.jpg
      P1010357.jpg
      ขนาดไฟล์:
      321.2 KB
      เปิดดู:
      73
  5. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ขอบพระคุณที่นำมาให้ชมนะครับพี่เพชร งามมากเลยนะครับ
     
  6. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 10 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 8 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> sithiphong, นายเฉลิมพล</td></tr></tbody></table>
    สวัสดีวันใหม่ วันเสาร์สุขสันต์ครับ


    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    มายืนยันอีกรอบครับ

    ขอบคุณครับ

    แต่สำหรับท่านที่มีตำแหน่ง คงเหนื่อยครับ เพราะต้องทำงานครับ

    คณะทีมงาน สู้งานกันตลอดแน่นอนครับ ผมเชื่อเช่นนั้นครับ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 5 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 4 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> sithiphong</td></tr></tbody></table>

    ผมไปพักผ่อนแล้วนะครับ

    พึ่งกลับจากงานเลี้ยง เริ่มง่วงแล้ว

    ราตรีสวัสดิ์ทุกๆท่านครับ



    .
     
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ประวัติ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
    วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร
    เรียบเรียงจากที่โพสท์ใน เว็บไซต์ saktaling.com

    [​IMG]

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) นามเดิมว่า เจริญ ในสกุล สุขบท เป็นบุตรอุบาสกทองสุข อุบาสิกาย่าง ตั้งบ้านเรือนอยู่สะพานแม่ย่าง ตำบลตลาดกลาง อำเภอบางปลาสร้อย จังหวัดชลบุรี เกิดในรัชกาลที่ 5 วันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศาสนกาล 2415 ตรงกับวันอังคารขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 อุตรษาฒ ปีวอก จุลศักราช 1234
    [​IMG]
    ในปีที่จะเกิดนั้นอุบาสกทองสุข ฝันว่า มีผู้นำช้างเผือกมาให้ ถึงเรื่องนี้จะเป็นเพียงความฝัน แต่โบราณก็ถือกันมาว่าเป็นมงคลนิมิตสำคัญอย่างหนึ่ง
    เมื่ออายุได้ 8 ขวบ ไปเป็นศิษย์ท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุนี (ปุณฺณโก พุฒ) แต่ยังเป็นพระอธิการวัดเขาบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
    ท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุนีนั้น เป็นสัทธิวิหาริก ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช เมื่อท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุนีบวชครั้งแรก เป็นที่สมุห์ฐานานุกรมของพระศรีวิสุทธิวงศ์ (สมณศักดิ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร ฟัก เมื่อครั้งบวชเป็นพระ ) ขณะที่บวชเป็นพระได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษพอประมาณ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลาผนวชและขึ้นครองราชย์ จึได้ลาสิกขาเข้ารับราชการ ได้เป็นขุนสาครวิสัย ในกรมมหาดเล็ก ครั้นออกจากราชการตอนปัจฉิมวัยจึงบวชอีกครั้งหนึ่ง สถิตย์อยู่วัดบุบผาราม ธนบุรี ครั้นจุลศักราช 123 รัตนโกสินทร์ศก 89 ตรงกับ พ.ศ. 2412 (สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ครองราชย์เป็นปีที่สอง) เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ได้อาราธนาพระอาจารย์พุฒ ปุณณกเถระ จากวัดบุบผาราม มาเป็นเจ้าอธิการ วัดเขาบางทราย ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรี ทรงทราบประวัติเดิมของท่านอธิการพุฒ ทรงพระราชดำริว่า ท่านอุตส่าห์สั่งสอนศิษย์มากและเป็นข้าหลวงเดิม จึงทรงตั้งเป็นพระครูชลโธปมคุณมุนี เจ้าคณะจังหวัดชลบุรี ต่อมาโปรดให้เลื่อนเป็นพระชลโธปมคุณมุนี ที่พระราชาคณะ
    <TABLE id=table12 border=0 width=0 bgColor=#ded6c2 align=right><TBODY><TR><TD width=0>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=0 align=middle>พระชลโธปมคุณมุนี
    (พุฒ ปุณฺณโก)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เล่าเรียนอักษรสมัยในสำนักท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุนี จนอายุย่างเข้าปีที่ 12 ไปบรรพชาเป็นสามเณรที่ศาลาในสวนของย่า ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ย่านิมนต์ท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุนีไปให้บรรพชาต่อเนื่องกับการอุปสมบทบุตรคนเล็กของย่า ครั้นบรรพชาเป้นสามเณรแล้วก็กลับมาเล่าเรียนที่วัดเขาบางทรายสืบต่ออีก จนกระทั่งอายุได้ 14 ปี เห็นว่าตนอาจเรียนวิชาชั้นสูงเพิ่มขึ้นได้ จึงเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรม อยู่ในสำนักท่านพระครูวินัยธร (ฉาย) ฐานานุกรมของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร วัดราชบพิธ ในพระนคร</SPAN>
    คืนวันรุ่งขึ้นที่จะมาฝากตัวอยู่กับท่านพระครูวินัยธร (ฉาย) ท่านพระครูวินัยธร (ฉาย) ก็ฝันทำนองเดียวกับอุบาสกทองสุขเคยฝันมานั้น คือฝันว่า มีผู้นำช้างเผือกมาให้
    ในระหว่างที่ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักท่านพระครูวินัยธร (ฉาย) ผู้เป็นอาจารย์ โรคเหน็บชาเกิดขึ้น เป็นดวงกลมเท่าปลายนิ้วชี้ ที่ริมน่องเท้าซ้าย ซึ่งที่จริงมีมาตั้งแต่ในขณะอายุราว 9 ขวบ แต่ไม่ได้รักษาเพราะเห็นว่าไม่ได้พิการอะไร เป็นอย่างคนธรรมดา แม้เมื่ออายุราว 15 ปี ก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าเท้าพิการ จนกระทั่งท่านพระครูวินัยธร (ฉาย) ผู้เป็นอาจารย์ เห็นท่านเวลาเดิน จึงบอกบอกว่า เท้าพิการ ท่านจึงได้รู้สึกตัว คือโรคดังกล่าวทำให้เส้นส้นหน้าแข้งแฟบ เดินปลายเท้าตก
    ต่อมาไปเล่าเรียนในสำนักท่านพระยาธรรมปรีชา (บุญ) จนอายุครบ 20 จึงได้กลับออกไปอุปสมบทที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี ในวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2435 มีนิยมนามตามภาษามคธว่า ญาณวโร โดยมี ท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุนีเป็นพระอุปัชฌายะ ท่านพระครูวินัยธร (ฉาย) เป็นพระอุปสัมปทาจารย์
    <TABLE id=table13 border=0 width=0 bgColor=#ded6c2 align=left><TBODY><TR><TD width=0>
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD width=0 align=middle>หม่อมเจ้าพระศรีสุคตคัตยานุวัตร</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็ได้กลับเข้ามาจังหวัดพระนคร มาอยู่วัดกันมาตฺยาราม เพื่อความสะดวกในการศึกษา เพราะใกล้ที่อยู่ของท่านพระยาธรรมปรีชา (บุญ) ผู้เป็นอาจารย์สอนพระปริยัติธรรม เรียนอยู่ 4 ปีเศษ ต่อมาไปเรียนในสำนักท่านเจ้าคุณศาสนโศภณ (อหึสโก อ่อน) แต่ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพกวี อยู่วัดพิชัยญาติการาม เรียนอยู่ 3 เดือนเศษ ถึงปีมะแม พ.ศ. 2438 เข้าสอบพระปริยัติธรรมในมหามกุฎราชวิทยาลัย ได้โดยลำดับจนถึงชั้นเปรียญตรี เทียบ 4 ประโยค
    ปีวอก พ.ศ. 2439 จึงมาอยู่วัดเทพศิรินทราวาส เพื่อเล่าเรียนพระวินัยปิฎก ในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น เป็นพระอาจารย์ ในปีนั้นเข้าสอบพระปริยัติธรรมในมหามกุฎราชวิทยาลัยได้โดยลำดับ จนถึงชั้นเปรียญเอก เทียบ 7 ประโยค ได้รับรางวัลที่ 1 ทุก ๆ ประโยคตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงชั้นที่สุด และได้รับตำแหน่งเป็นครูเอกโรงเรียนภาษาบาลีวัดเทพศิรินทราวาสสืบมา
    ถึงปีจอ พ.ศ. 2441 มีพรรษา 7 อายุเข้า 27 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระอมราภิรักขิต โปรดฯให้เป็นผู้อำนวยการศึกษา ในมณฑลปราจีนบุรี และในปีเดียวกันนั้น วันที่ 22 มกราคม สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงตั้งให้เป็นผู้กำกับวัดสัมพันธวงศ์อีกตำแหน่งหนึ่ง ถึงวันพุธที่ 25 มกราคม ศกนั้น หลังจากที่ หม่อมเจ้าพระศรีสุคตคัตยานุวัตร เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสในขณะนั้น ทูลลาออกจากหน้าที่เจ้าอาวาสเพื่อจะลาผนวชในปลายปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งท่านเป็นเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส
    ในตำนานวัดเทพศิรินทร์ (�� � � � � �� �� � � � � � � �) ยุคที่ 5 ได้กล่าวถึงท่านเมื่อครั้งได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสไว้ดังนี้
    “ในปีแรกเป็นเจ้าอาวาส ท่านมีอายุ ๒๗ ปี พรรษา ๗ อยู่ที่กุฏีหม่อมแย้มในคณะใต้ซึ่งอยู่มาแต่เดิมประมาณ ๓ ปี ภายหลังพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์นั้น มีกระแสรับสั่งให้ย้ายมาอยู่ที่กุฏีเจ้าพระยานรรัตน ฯ ในคณะกลาง เพื่อสะดวกในทางปกครอง เมื่อก่อนเป็นเจ้าอาวาสก็ได้โปรดให้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลปราจีนบุรีอยู่ตำแหน่งหนึ่งแล้ว ทั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โปรดให้เป็นผู้กำกับวัดสัมพันธวงศ์อีกส่วนหนึ่ง ท่านปฎิบัติการเป็นที่ต้องพระราชประสงค์โดยมาก ดังจะเห็นได้จากความในพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่งซึ่งสำเนาดังนี้

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 95%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #ffffe1; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" id=table1 class=MsoTableGrid border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>ที่ ๒๔ /๖๔๒
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon; BORDER-LEFT: maroon; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>
    พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top colSpan=2>
    วันที่ ๑๑ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๘

    กราบทูล กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
    หม่อมฉันได้รับหนังสือฉบับหมายเลขที่ ๑๐๘ ลงวันที่ ๙ เดือนนี้ ส่งรายงานพระอมราภิรักขิตตรวจจัดการศึกษามณฑลปราจีนบุรีนั้น ได้ตรวจดูตลอด แล้วเห็นว่า พระอมราภิรักขิตมีความสังเกตและความจดจำละเอียดนัก ทั้งได้เอาใจใส่ตริตรองในการที่จะทำมาก ควรจะสรรเสริญ และดูเป็นผู้เข้าใจปรุโปร่งในเขตแขวงเหล่านั้นมาก เพราะเป็นชาติภูมิ สมควรแก่ที่จะจัดการศึกษา และการในแถบนั้นให้เจริญได้ แต่จะเว้นเสีย ไม่แสดงความพอใจ อันเกิดขึ้นในใจแล้วอีกอย่างหนึ่งไม่ได้ คือ ดีใจว่า วัดเทพศิรินทร์ได้สมภารอันพึงหวังใจได้ดังนี้

    ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

    ( พระบรมนามาภิไธย ) สยามินทร์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมื่อเริ่มรับหน้าที่เจ้าอาวาสนั้น มีภิกษุที่อยู่ประจำวัด 46 รูป สามเณร 30 รูป ในการรับอุปสมบทกุลบุตรนั้น โดยที่ท่านมีพรรษา 7 เหตุนี้ในการอุปสมบทกรรม จึงเป็นแต่พระอุปสัมปทาจารย์ เพราะมีพรรษายุกาลยังไม่ถึงองค์กำหนดที่ควรจะเป็นพระอุปัชฌายะได้ ในระยะนี้จึงได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จมาเป็นพระอุปัชฌายะประจำ
    ครั้นถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2442 มีพระบรมราชโองการทรงตั้งเป็นกรรมการในมหามกุฎราชวิทยาลัย มีสำเนาทรงตั้งดั่งนี้
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 95%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #ffffe1; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" id=table2 class=MsoTableGrid border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม ผู้ปกครองอุปถัมภ์มหามกุฎราชวิทยาลัย โดยพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระบรมพุทธศาสนา และความหวังพระราชหฤทัยต่อการเชิดชูเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ตั้งพระอมราภิรักขิต เป็นกรรมการในมหามกุฎราชวิทยาลัย ขอพระคุณจงมีอัธยาศัยประกอบ​​ไปด้วยความกรุณา มีวิริยะอันแรงกล้าในการที่จะบำรุงวิทยาลัยให้เจริญ จำแนกพระปริยัติธรรมสรรพวิทยาศาสโนวาทให้แพร่หลายไพบูลย์ยิ่งขึ้น ด้วยความกตัญญูพระคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอให้พระคุณมีความผาสุกสิริสวัสดิ์ เจริญในพระบรมพุทธศาสนาสืบไปสิ้นกาลนาน ฯ เทอญ
    พระราชทานแต่ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน รัตนโกสินทร์สก ๑๑๘ เป็นปีที่ ๓๒ หรือวันที่ ๑๑๒๗๑ ในรัชกาลปัตยุบันนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ต่อมาปีขาล พ.ศ. 2445 ทรงเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระราชมุนี มีสำเนาดั่งนี้
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 95%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #ffffe1; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" id=table3 class=MsoTableGrid border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 492.7pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=657>ให้เลื่อนพระอมราภิรักขิต เป็นพระราชมุนีตรีปิฎกาลังการ สถิต ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง มีนิตยภัตต์ราคาเดือนละ 4 ตำลึง 1 บาท มีฐานานุศักดิ์ ควรตั้งฐานานุกรมได้ 3 รูปคือ พระครูปลัด 1 พระครูสมุห์ 1 พระครูใบฎีกา 1 รวม 3 รูป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ครั้นถึงวันที่ 19 กรกฎาคมในปีนั้น โปรดให้เป็นเจ้าคณะมณฑลมีสำเนาทรงตั้ง ดั่งนี้
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 95%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #ffffe1; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" id=table4 class=MsoTableGrid border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 0pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=660>สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม ผู้เป็นพระบรมพุทธศาสนูปถัมภก มีพระราชประสงค์จะทรงทำนุบำรุงสังฆมณฑลให้เจริญยิ่งขึ้นเป็นการสืบพระพุทธ ศาสนาให้รุ่งเรืองถาวรสืบไป
    มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาพระราชมุนี ตรีปิฎกาลังการ สถิต ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร เป็นเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี ขอพระคุณจงมีอัธยาศัยประกอบไปด้วยวิริยะอันแรงกล้า ในการที่จะจัดการคณะสงฆ์ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ และให้พระปริยัติธรรมสรรพวิทยาศาสโนวาทแพร่หลายไพบูลย์ยิ่งขึ้น ขอให้พระคุณมีความผาสุกสิริสวัสดิ์เจริญในพระบรมพุทธศาสนาสืบไปสิ้นกาลนาน เทอญ
    พระราชทานตำแหน่งนี้ แต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์สก ๑๒๑ เป็นปีที่ ๓๕ หรือวันที่ ๑๒๓๐๓ ในรัชกาลปัตยุบันนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ท่านที่มาพักอยู่เรียนในยุคนี้มีหลายรูป เมื่อปีขาล พ.ศ. 2445 พระญาณรักขิต (จันทร์ สิริจนโท) พระมหาทา กิตติวณโณ เปรียญเอก พระมหาอ้วน ติสโส เปรียญโท และพระครูโอภาสธรรมภาณ (สา คมภีโร) รวม 4 รูป มาจากจังหวัดอุบลราชธานี พักอยู่ที่วัดนี้พรรษาหนึ่ง แล้วกลับไปยังจังหวัดนั้นอีก แต่พระมหาทาอาพาธ ถึงมรณภาพวันที่ 12 ธันวาคม ศกนั้น
    <TABLE id=table9 border=0 width=0 bgColor=#ded6c2 align=right><TBODY><TR><TD width=0>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD width=0 align=middle>พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    (จันทร์ สิริจันโท)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระญาณรักขิต (จันทร์ สิริจนโท) แต่ก่อนเคยมาอยู่เรียนพระปริยัติธรรมที่วัดนี้ 2 ครั้ง คือครั้งแรกใน พ.ศ. 2423 สมัยนั้นท่านพระอริยมุนี (เอม) เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ มาอยู่เมื่ออายุได้ 24 ปี เรียนอยู่ 3 ปี ไม่ทันเข้าสอบ พอสิ้นท่านพระอริยมุนี (เอม) ก็ย้ายไปอยู่วัดบุปผาราม จังหวัดธนบุรี
    ครั้งที่ 2 เป็นพระครูวิจิตรธรรมภาณี มาจากนครจำปาศักดิ์ พักอยู่ในปลายยุคพระธรรมไตรโลกาจารย์ (เดช ฐานจาโร) เป็นเจ้าอาวาส ท่านมาช่วยสอนภาษาบาลีในสำนักนี้ด้วย สมณศักดิ์สุดท้าย คือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    พระมหาอ้วนนั้น พ.ศ. 2439 เคยมาเรียนคราวหนึ่ง ในสมัยนั้นหม่อมเจ้าพระศรีสุคตคัตยานุวัตร เป็นเจ้าอาวาส เมื่อสอบได้ชั้นเปรียญตรีแล้ว จึงย้ายไปอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร สมณศักดิ์สุดท้าย คือ สมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพฯ.
    <TABLE id=table10 border=0 width=0 bgColor=#ded6c2 align=left><TBODY><TR><TD width=0>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=0 align=middle>พระเทพสิทธาจารย์
    (จันทร์ เขมิโย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมื่อปีระกา พ.ศ. 2452 พระจันทร เขมิโย(เป็นศิษย์ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล) ก็มาอยู่เล่าเรียนอีกรูปหนึ่ง อยู่ 4 ปี เล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนสามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี ได้รับพัดตราธรรมจักรไว้เป็นประกาศนียบัตร ส่วนบาลี สอบไล่ได้ประโยค ป.ธ. 2 แล้วออกไปอยู่ที่วัดศรีเทพประดิษฐ์ ในจังหวัดนครพนม สมณศักดิ์สุดท้าย ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิทธาจารย์
    <TABLE id=table16 border=0 width=0 bgColor=#ded6c2 align=right><TBODY><TR><TD width=0>
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD width=0 align=middle>สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
    กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระจูม พนธุโล มาเล่าเรียนอีกรูปหนึ่ง พร้อมกับพระจันทร์ เขมิโย ผู้เป็นพระอาจารย์ ได้เป็นเปรียญตรี ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ที่ “พระครูสังฆวุฒิกร” ซึ่งเป็นฐานานุกรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ อยู่จำพรรษาที่วัดเทพศิรินทราวาส เป็นเวลานานถึง 15 ปี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ จึงได้ส่งท่านไปเป็นเจ้าวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี และเป็นอุปัชฌายะคณะธรรมยุตในมณฑลนั้น ออกจากบัญชีวัดนี้แต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2468 ต่อมาเป็นพระญาณดิลก แล้วเลื่อนขึ้นเป็นพระราชเวที เจ้าคณะมณฑลอุดร สมณศักดิ์สุดท้าย คือได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเจดีย์ ในปี พ.ศ.2488
    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ปฏิบัติการสนองพระเดชพระคุณได้ 3 ปี ประจวบกับโรคเบียดเบียนทำให้ทุพพลภาพไม่สามารถจะดำรงตำแหน่งนั้นต่อไป จึงทูลลาออก เพื่อพักผ่อนรักษาร่างกายตามควร
    ปีมะเมีย พ.ศ. 2449 โปรดเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวี มีสำเนาดั่งนี้
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 95%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #ffffe1; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" id=table5 class=MsoTableGrid border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 0px; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=660>ให้เลื่อนพระราชมุนี เป็นพระเทพกวี ศรีวิสุทธินายก ตรีปิฎกปรีชา มหาคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี สถิต ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง มีนิตยภัตต์ราคาเดือนละ 6 ตำลึงกึ่ง มีฐานานุศักดิ์ควรตั้งฐานานุกรมได้ 4 รูป พระครูปลัด 1 พระครูสังฆวิชัย 1 พระครูสมุห์ 1 พระครูใบฎีกา 1 รวม 4 รูป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ต่อมาปีมะแม พ.ศ. 2450 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตั้งท่านซึ่งมีพรรษา 15 ให้เป็นพระอุปัชฌายะ ในวัดเทพศิรินทราวาส กับทั้งวัดขึ้นของวัดนี้ และวัดธรรมยุตในมณฑลปราจีนบุรี วัดเสน่หา ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม วัดสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดเดียวกันนั้นด้วยแต่บางคราวท่านก็ยังได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เสด็จมาเป็นพระอุปัชฌายะในวัดนี้บ้าง เช่นในคราวอุปสมบทสามเณรที่เป็นเปรียญเป็นต้น
    ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2453 โปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ มีสำเนาประกาศดั่งนี้
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 95%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #ffffe1; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" id=table6 class=MsoTableGrid border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 0px; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=695>อนึ่งทรงพระราชดำริว่า พระราชาคณะที่ดำรงคุณธรรมปรีชาสามารถสมควรจะเลื่อนอิสริยยศและพระ สงฆ์ ที่สมควรจะเป็นพระราชาคณะมีอีกหลายรูป
    จึ่งทรงพระกรุณาโปรด เกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเทพกวี เป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ ปรีชาญาณดิลก ตรีปิฎกคุณาลงกรณ์ ยติคณิศร บวรสังฆารามคามวาสี สถิต ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง มีนิตยภัตต์ราคาเดือนละ ๒๘ บาท มีฐานานุศักดิ์ควรตั้งฐานานุกรมได้ ๖ รูป พระครูปลัด ๑ มีนิตยภัตต์เดือนละ ๔ บาท ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูสังฆพินิจ ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๖ รูป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2460 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตั้งให้เป็นแม่กองสอบวิชานักธรรมตรีในมณฑลปราจีนบุรี เป็นกรรมการในสนามหลวง สอบความรู้พระปริยัติธรรม เป็นกรรมการในมหาเถรสมาคมโดยลำดับ
    ในปีวอก พ.ศ. 2463 เป็นแม่กองสนามสาขาแห่งสนามหลวง และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตั้งให้เป็นแม่กองสอบนักธรรมสนามมณฑลจันทบุรีด้วยในปีนั้น
    ต่อมา เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2464 โปรดให้สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นที่พระสาสนโสภณ เจ้าคณะ รองคณะธรรมยุติกนิกาย จารึกนามในหิรัญบัฎ มีสำเนาประกาศดั่งนี้
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 95%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #ffffe1; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" id=table7 class=MsoTableGrid border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 0px; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=695>อนึ่งทรงพระราชดำริว่า พระธรรมไตรโลกาจารย์เป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกสุตาคมได้สอบไล่ได้ ถึงชั้นบาเรียนเอกในมหามกุฎราชวิทยาลัย ชั้นบาเรียนเอก 7 ประโยค มีความอุตสาหะวิริยภาพ รับภาระเป็นอาจารย์สอนพระปริยัติธรรมแก่ภิกษุ สามเณรในวัดเทพศิรินทราวาสมาแต่ในรัชกาลที่ 5 ภายหลังโปรดให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เป็นผู้มั่นคงในสมณปฏิบัติ มีศีลาจารวัตร์เป็นที่น่าเลื่อมใส มีความรอบรู้ในอรรถธรรม ชำนาญเชิงเทศนาโวหาร อรรถาธิบาย เป็นที่นิยมนับถือแห่งศาสนิกบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตเป็นอันมาก และเป็นผู้ที่ได้กระทำคุณประโยชน์ ในทางทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการศึกษาให้เจริญมาเป็นอันมาก มีอาทิ คือได้เป็นกรรมการแห่งมหามกุฎราชวิทยาลัย เป็นเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี และเป็นพระอุปัชฌายะให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตร ในวัดเทพศิรินทราวาส และในมณฑลปราจีนบุรี ฝ่ายธรรมยุตติกาทั่วไป ทั้งได้เป็นแม่กองสอบวิชานักธรรมชั้นตรี ในสนามมณฑลปราจีนบุรี และเป็นกรรมการในมหาเถรสมาคม เป็นกรรมการสอบความรู้พระปริยัติธรรมในสนามหลวง และเป็นแม่กองสนามสาขาแห่งสนามหลวง เป็นต้น พระธรรมไตรโลกาจารย์ มีความอุตสาหะปฏิบัติการในตำแหน่งต่าง ๆ โดยเรียบร้อยสม่ำเสมอ
    อีกประการหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธทรงผนวช ได้ทรงวิสาสะคุ้นเคยกับพระธรรมไตรโลกาจารย์ ก็ได้ตามเสด็จพระราชดำเนินในกระบวนด้วยตลอดทาง ได้ทรงมีโอกาสทรงทราบ คุณสมบัติของพระธรรมไตรโลกาจารย์ โดยตระหนักแน่ สมควรจะเพิ่มสมณศักดิ์ให้ดำรงตำแหน่งอันสูงได้
    จึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนา เลื่อนพระธรรมไตรโลกาจารย์เป็น พระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฎว่า พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุลย์ตรีปิฎก คุณประสาทนวิภูสิต ธรรยุติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี สังฆนายก สถิต ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง เจ้าคณะรองธรรมยุตติกนิกาย มีฐานานุศักดิ์ ควรตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป คือพระครูปลัดอรรถจริยานุกิจพิพิธธรรมโกศลวิมลสุตาคม อุดมคณานุนายก ตรีปิฎกญาณวิจิตร์ ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูธรรมธร ๑ พระครูพิสิษสรเวท ๑ พระครูพิเศษสรวุฒิ ๑ พระครูสังฆวุฒิกร ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๘ รูป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 ทรงตั้งให้เป็นเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี และมณฑลจันทบุรี
    ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2469 ทรงตั้งให้เป็นกรรมการในราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2471 ทรงตั้งให้เป็นกรรมการที่ปรึกษาในการทำนุบำรุงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถึงเดือนพฤศจิกายนในศกนั้นเอง โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ดำรงฐานันดรมหาสังฆนายก เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ จารึกนามในสุพรรณบัฎ มีข้อความประกาศสถาปนาตามใบกำกับสุพรรณบัฎดั่งนี้
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 95%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #ffffe1; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" id=table8 class=MsoTableGrid border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 0px; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=695>ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาลเป็นอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๗๑ พรรษา ปัจจุบันนสมัยสูรยคตินิยมนาคสมพัตสร พฤศจิกายนมาส ษัษฐสุรทิน มงคลวารโดยกาลบริจเฉท
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียมหาราชรวิวงศ อสัมภินพงศพีระกษัตร บุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสำศุทธเคราหณี จักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร มหามกุฎวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธอุต์กฤษฏนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินีร์หาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณวิจิตรเสาภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตษมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพาวดาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ มงคลลัคนเนมาหวัย สุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชนาวุธ วิชัยยุทธศาสตรโกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมจารภัทรภิชญานประติภานสุนทร ประวรศาสโนปสดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฐโสทรสมมตเอกราชชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิษิกต์ สรรพทศทิควิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชันยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนศรณารักษ์ วิศษฎศักดิอัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบันยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงพระราชดำริว่า พระสาสนโสภณ ดำรงในรัตตัญญูมหัตตาธิคุณ มีปรีชาญาณแตกฉานในมคธปริวรรตน์และอรรถธรรมวินัยด้วยดี ตั้งอยู่ในสพรหมจารีวิหารโดยสมณากัปปมรรยาท มั่งคงดำรงจาตุปาริศุทธศีลสมบัติไม่ท้อถอย เป็นที่บังเกิดประสาทการแก่พุทธมามกชนทุกชั้น มีอาตมาหิตและปาหิตกรณคุณตามความประกาศสถาปนาเป็นเจ้าคณะรองฝ่ายธรรมยุตติกนิกาย เมื่อพระพุทธศาสนายุกาล ๒๔๖๔ พรรษานั้นแล้ว ต่อมาพระสาสนโสภณยิ่งเจริญด้วยอุตสาหวีรยภาพไม่ย่อหย่อนในการประกอบศาสนา กิจให้รุ่งเรืองสมกับเป็นธรรมทายาท อนึ่ง พระธรรมเทศนามงคลวิเศษกถา เป็นเทศนาพิเศษอย่างหนึ่ง ซึ่งพระมหาเถรเจ้าผู้ถวายย่อมทรงคุณวุฑฒิอันมโหฬาร เป็นอุตตมคุรุสถานียบุทคลของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้พระสาสนโสภณถวายสืบจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระสาสนโสภณได้สนองพระเดชพระคุณมาจนรัชกาลปัจจุบันด้วยความเอาใจใส่ สอดส่องทั้งพระบรมพุทโธวาทและรัฎฐภิปาล นโยบายเป็นอย่างดี และเป็นผู้กระทำคุณประโยชน์ในทางบำรุงพระพุทธศาสนา และการศึกษาพระธรรมวินัยให้เจริญมาเป็นอันมาก มีอาทิคือ เป็นผู้อำนวยการสอบความรู้พระปริยัตติธรรมทุกประโยคในสยามรัฎฐ เป็นเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี และมณฑลจันทบุรี เป็นผู้ชำระพิมพ์พระบาลีไตรปิฎก อันควรแก้ไขพิมพ์ขึ้นใหม่ และเป็นธุระในการพิมพ์พระคัมภีร์อรรถกถา ชำระต้นฉบับให้ถูกต้องเป็นเบื้องต้น จนถึงตรวจใบพิมพ์เป็นที่สุด และยังพยายามสั่งสอนบรรพชิตคฤหัสถ์สัทธิวิหาริกอันเตวาสิก ตลอดประชาพุทธมามกชนทุกหมู่เหล่า ให้ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติเป็นสาธุชนสัตบุรุษ ต้องตามพระบรมพุทโธวาท เพราะความเป็นผู้ช่างขวนขวาย สำเหนียกความรู้ให้เทียมทันสมควรสมัย แสวงหาวิธีที่จะปลูกศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ให้เจริญงอกงามไพบูลย์ภีโยภาพแก่ชนนิกร อุตส่าห์แสดงธรรมสั่งสอนเป็นเนืองนิตย์ มีวิจารณในฉันทจริตอาศยานุศัยแห่งสรรพเวไนย จัดการให้ธรรมสวนมัยประโยชน์สำเร็จด้วยดีโดยนิยมแห่งกาละเทศะ ด้วยปรีชาฉลาดในเทศนาลีลาวิธี ดั่งที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ เป็นที่ทรงนับถือเป็นอันมาก อนึ่งนอกจากกิจพระพุทธศาสนาโดยตรง พระสาสนโสภณยังเอาใจใส่ในการศึกษาสยามอักษรศาสตร์แห่งกุลบุตรเป็นอย่างดี ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมการในราชบัณฑิตยสภา และสำหรับการบริหารพระอาราม ได้ทรงตั้งให้เป็นกรรมการที่ปรึกษาในการทำนุบำรุงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม บัดนี้พระสาสนโสภณ ก็เจริญด้วยพรรษายุกาลสถาวีรธรรม อันให้อุปสัมปาเทตัพพาทิกิจทวียิ่งขึ้นตามทางพระวินยานุญาตเป็นหลักอยู่รูปหนึ่งในธรรมยุตติกสงฆมณฑล มีพุทธสมัยวิมลญาณปรีชาและศีลาจารวัตรมั่นคงในธรรมปฏิบัติ เป็นที่นิยมนับถือแห่งพุทธุปาสิตบริษัททั่วพุทธเกษตรสากล มีนิสสิตานุยนต์แพร่หลายทั้งในสกรัฎฐ์ และวิเทศรัฎฐพุทธศาสนิกบัณฑิต สมควรจะเป็นอุตดรมหาคณิสสราจารย์ที่สมเด็จพระราชา คณะผู้ใหญ่สังฆนายก มีอิสริยยศยิ่งกว่าสมณนิกรคามวาสีอรัณยวาสีฝ่ายเหนือทั้งปวง เพื่อเป็นศรีแห่งพระบวรพุทธศาสนาสืบไป
    จึ่งมีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสูรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้สถาปนา พระสาสนโสภณ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ตรีปิฎกวิทยาคุณ วิบุลคัมภีร์ญาณสุนทร มหาอุตดรคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี สถิต ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๑๐ รูป คือพระครูปลัดสัมพิพัฑฒนศีลาจารย์ ญาณวิมล สกลคณิสสรอุตดรสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูธรรมธร ๑ พระครูเมธังกร พระครูคู่สวด ๑ พระครูวรวงศ์ พระครูคู่สวด ๑ พระครูธรรมราต ๑ พระครูธรรมรูจี ๑ พระครูสังฆวิจารณ์ ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑.
    ขอพระคุณผู้รับราชทินนามเพิ่มอิสริยยศในครั้งนี้ จงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ สามเณรในคณะและในพระอารามตามสมควรแก่กำลัง และอิสริยยศที่พระราชทานนี้ และขอจงจิรสถิติกาลเจริญอายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิวิรุฬหิไพบูลย์ในพระพุทธศาสนาเทอญ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ปีชวด พ.ศ. 2467 สามเณรเจ้าฟ้าฉายเมือง และสามเณรเจ้าฟ้าขุนศึก โอรสเจ้าฟ้าผู้ครองนครเชียงตุง มีประสงค์จะศึกษาพระปริยัติธรรมตามหลักสูตรที่นิยมในกรุงเทพ ฯ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า โปรดให้รับมาอยู่เล่าเรียนในวัดนี้ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม ศกนั้น และภิกษุอีก 2 รูป คือพระญี่หลวง พระญี่น้อย ซึ่งมากับสามเณรเจ้าฟ้าทั้งสอง ก็พักอยู่ด้วย พระธรรมธราจารย์ สังฆนายกแห่งสงฆ์ในแคว้นนั้น เป็นผู้กำกับและนำสามเณรเจ้าฟ้าทั้งสองมา เมื่อการเรียบร้อยแล้วจึงกลับออกไป ท่านผู้นี้ยังหนุ่มท่วงทีเป็นผู้สงบและแช่มชื่น
    <TABLE id=table15 border=0 width=0 bgColor=#ded6c2 align=left><TBODY><TR><TD width=0>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD width=0 align=middle>พระเจ้าวรวงศ์เธอ
    กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ครั้นถึงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2476 พระมหาเถระบรรดาที่เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมได้ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ ยกย่องท่านขึ้นเป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคม บัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สิ้นพระชนม์ จึงเป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์โดยตรงสืบมา เมื่อทรงพระกรุณาตั้งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์เทพวรารามขึ้นในปี พ.ศ. 2481 เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ จึงพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม รวมเวลาที่ท่านเป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์ 4 ปี 9 เดือน กับ 27 วัน
    ถึงสมัยประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 เปลี่ยนระบอบการปกครองคณะสงฆ์ให้สอดคล้องต้องกันกับทางบ้านเมือง ท่านก็ได้เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง และได้เป็นคณะวินัยธรชั้นฎีกา อันเป็นคณะวินัยธรชั้นสุดยอด ต่อมาได้เป็นหัวหน้าคณะวินัยธรคณะนี้และเป็นประธานคณะวินัยธรโดยตำแหน่ง ด้วย วันที่ 28 กรกฎาคม เป็นประธานสังฆสภา วันที่ 1 มิถุนายน 2489 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2493 ครบ 4 ปี ถึงกำหนดพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่โดยที่ท่านได้รับภาระบริหารการคณะสงฆ์มาด้วยความเรียบร้อย เป็นผลดีแก่พระศาสนา และเป็นพระมหาเถระที่เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรพรหมจริยคุณ เป็นที่เคารพสักการะของพุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก บริหารการคณะสงฆ์สืบต่อมาอีก และได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงวันที่มรณภาพ
    เป็นอันว่า เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญหลายตำแหน่ง อาทิเป็นผู้อำนวยการสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวงทั่วพระราชอาณาจักร 15 ปี เป็นเจ้าคณะมณฑล 2 คราว รวม 14 ปี เป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนา พระมงคลวิเสสกถา 25 ปี เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์ 5 ปี เป็นประธานสังฆสภา เป็นประธานคณะวินัยธร และที่สุดเป็นสังฆนายก 5 ปีเศษ เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส 50 ปีเศษ
    ในเวลาที่ท่านเป็นผู้อำนวยการสอบพระปริยัติธรรมเป็นแม่กองสนามหลวง เป็นแม่กองสนามมณฑล และเป็นเจ้าคณะมณฑลนั้น ท่านบริหารงานเหล่านี้ด้วยความเรียบร้อยไม่บกพร่องเสียหาย เป็นที่เคารพยำเกรงของผู้น้อยทั่วไป เป็นที่นิยมนับถือของพระเถรานุเถระผู้ร่วมงานทุกท่าน เป็นที่ไว้วางใจและได้รับความยกย่องชมเชยจากท่านผู้ใหญ่ให้เกิดผลดีแก่พระศาสนาอย่างยิ่ง เนื่องด้วยกิจการบางอย่างในตำแหน่งดังกล่าวแล้ว จำเป็นต้องมีรายจ่ายมาก เป็นต้นว่า ค่าเครื่องเขียน สิ่งพิมพ์ ค่าพาหนะ เจ้าหน้าที่ และผู้นำข้อสอบไปเปิดสอบตามจังหวัดต่างๆ ที่มีการสอบทั่วประเทศ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ในปีหนึ่ง ๆ จำนวนไม่น้อย แม้มีทางจะเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณที่ได้ ท่านก็มิได้เบิกตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด
    นับว่าได้ประหยัดเงินของ คณะสงฆ์ในการนี้เป็นจำนวนหลายหมื่นบาท ช่วยกิจพระศาสนาอันผู้ที่ยอมอุทิศกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังสติ ปัญญา ช่วยการพระศาสนาเช่นนี้ย่อมเป็นผู้หาได้ไม่ง่ายนัก.
    ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์ และดำรงตำแหน่งสังฆนายก อันเป็นตำแหน่งที่บริหารการคณะที่สำคัญยิ่ง ท่านก็ได้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อตรงเที่ยงธรรมรักษาวินัยระเบียบแบบแผน ประเพณี โดยเคร่งครัดระมัดระวังรอบคอบ ประกอบด้วยรู้จักผ่อนผันในสิ่งที่ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดวินัย ระวังความแตกร้าวไม่ให้เกิดมี สมานสามัคคีให้เกิดแก่พุทธบริษัททุกหมู่เหล่า นำกิจการหมู่คณะให้ดำเนินไปด้วยดี ไม่ให้ความระส่ำระสายเกิดมีขึ้นในสังฆมณฑล ยังความเรียบร้อยในสังฆมณฑลให้เป็นไปด้วยดี ด้วยปรีชาสามารถ ตลอดสมัยของท่าน
    ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส 50 ปีเศษ เอาใจใส่ดูแลรักษาวัดเป็นอย่างดี ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ของเก่า เช่นพระอุโบสถและกุฎิ เป็นต้น แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และปลูกสร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติม เป็นต้นว่า ที่อยู่ที่อาศัย สถานการศึกษา รวมค่าซ่อมแซมแลค่าก่อสร้างประมาณ 3,600,000.00 บาท ทำวัดให้สะอาดสะอ้านเรียบร้อย น่าดู น่าอยู่ น่าอาศัย เป็นทางนำมาซึ่งศรัทธาปสาทะแก่พุทธบริษัทเป็นอันมาก สังหาริมทรัพย์ แลอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ที่นา ที่สวน และเงินทุนของวัด เกิดเพิ่มพูนเป็นผลประโยชน์สำหรับบำรุงพระอาราม บำรุงภิกษุสามเณร บำรุงการศึกษา เป็นต้น ประมาณราคา 6,800,000.00 บาท ซึ่งเดิมเมื่อครองวัดมีเพียง 800 บาทเศษเท่านั้น ทั้งนี้กล่าวแต่เฉพาะรายใหญ่ ๆ เท่าที่นึกได้ พุทธบริษัทก็เพิ่มขึ้นโดยลำดับกาล ในวันธัมมัสสวนะ มีอุบาสก อุบาสิกามารักษาศีลและฟังธรรมอย่างมากถึงวันละ 800 คน ท่านเป็นพระอุปัชฌายะบวชภิกษุ 4,847 รูป เป็นอุปสัมปทาจารย์ 364 รูป เป็นพระอุปัชฌายะบวชสามเณร 1,455 รูป รวมทั้งสิ้น 6,666 รูป
    ท่านเป็นผู้ฉลาดสามารถในการปกครองในการแนะนำสั่งสอน มีความเพียรไม่เบื่อหน่ายในการที่จะอบรมศิษยานุศิษย์ และแสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัท ท่านถือเป็นกิจวัตรที่สำคัญ ไม่จำเป็น ไม่ขาดเลย เป็นผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติของผู้ปกครองครบครัน คือมีอัธยาศัยเยือกเย็น หนักแน่น มีเมตตา กรุณา มุทิตา โอบอ้อมอารี มีใจเป็นห่วงในความเป็นอยู่แลความประพฤติของศิษย์ หวังเจริญสวัสดีแก่ศิษย์ หมั่นอบรมสั่งสอนเป็นนิตย์ แม้สึกหาลาเพศไปแล้ว ก็ยังหวังดีอุตส่าห์ตักเตือนพร่ำสอนเมื่อมีโอกาส มีของกินของใช้ก็แบ่งเฉลี่ยให้ตามกาล เมื่ออาพาธป่วยไข้ก็หมั่นเยี่ยมเยียนถามอาการ หาหมอมาพยาบาลรักษา ช่วยค่ายาค่ารักษา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่เคารพนับถือสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์สาธุชน ผู้ได้รับอุปการคุณนั้น ๆ ทั่วกันไม่คืนคลาย
    ท่านเป็นผู้ไม่สะสม พอใจในการสละสิ่งของที่ได้มา บริจาคเป็นบุญเป็นกุศลแทบทั้งสิ้น แจกภิกษุสามเณรในวัดบ้าง ศิษย์วัดบ้าง ตามควรแก่บรรดามีบ้าง ให้หาเพิ่มเติมบ้าง จัดเป็นเครื่องบูชา มีแจกัน พาน กระถางธูป เชิงเทียนเป็นต้นชุดละ 50 ชิ้นเป็นอย่างน้อย ส่งไปถวายวัดที่ขาดแคลนในต่างจังหวัด วัดละชุดบ้าง 2 ชุดบ้าง บางวัดก็ถึง 3 ชุด ประมาณ 270 วัด พิมพ์หนังสือแจกเป็นธรรมทานด้วยทุนของท่านบ้างผู้อื่นช่วยบ้าง ประมาณ 100 เรื่อง คิดเป็นเล่มหนังสือประมาณ 400,000 เล่ม พิมพ์ไหว้ 5 ครั้ง แจกกรม กอง หน่วยราชการ ทหาร พลเรือน นักเรียน ประชาชน ตลอดถึงผู้ต้องขังทั่วราชอาณาจักรประมาณ 1,500,000 แผ่น นอกจากนี้ยังได้กระทำประโยชน์อันเป็นสาธารณะอีกมาก กล่าวเฉพาะส่วนใหญ่คือ
    ขุดสระขังน้ำฝนที่วัดเขาบางทราย และชาวตำบลอื่นที่ใกล้เคียงได้อาศัยบริโภคใช้สอยตลอดหน้าแล้งและหน้าฝน เพราะตำบลเหล่านั้นใกล้ทะเล มีแต่น้ำเค็ม กันดารน้ำจืด
    สร้างโรงเรียนเป็นตึกคอนกรีต 2 ชั้น 2 หลัง อยู่ในเขตวัดเขาบางทราย ชลบุรี มอบให้ทางการ เปิดสอนนักเรียน ตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ 1 ถึงปีที่ 6
    <TABLE id=table14 border=0 width=0 bgColor=#ded6c2 align=right><TBODY><TR><TD width=0>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD width=0 align=middle>พระอุโบสถวัดเขาบางทราย ชลบุรี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ซ่อมพระอุโบสถวัดเขาบางทราย ชลบุรี เปลี่ยนแปลงจากเดิมขยายให้กว้างขวางงดงามยิ่งขึ้น ประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำลงรักปิดทองประดับกระจก เขียนลายผนัง ติดดาวเพดาน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบประกอบช่อฟ้าใบระกา
    สร้างตึกผ่าตัดให้แก่โรงพยาบาลจังหวัดชลบุรี 1 หลัง เป็นคอนกรีตทั้งหลัง มีเครื่องใช้เครื่องมือและเครื่องอุปโภคในการผ่าตัดทันสมัยอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังช่วยปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมกุฎี วิหาร ศาลา ถนนหนทาง และโรงเรียนเป็นต้น ทั้งที่วัดเขาบางทรายและวัดอื่น ๆ ในจังหวัดชลบุรีอีกหลายแห่ง ทั้งหมดนี้ด้วยทุนทรัพย์ส่วนขององค์ท่านตามกำลังเป็นส่วนมาก มิได้เคยออกปาก เรี่ยไรผู้อื่น เมื่อผู้อื่นทราบมีศรัทธาเลื่อมใสก็บริจาคร่วมสมทบด้วย แม้กุฎีที่อยู่อาศัย จะปฏิสังขรณ์หรือเพิ่มเติม เช่นติดกระเบื้องฝา ทาสี เป็นต้น หรืออื่นใด ท่านก็ทำไปด้วยทุนทรัพย์ส่วนองค์เอง มิได้ออกปากใคร ต่อเมื่อมีผู้เห็นเข้า ศรัทธาก็ถวายช่วยด้วย เรื่องจะเอาเปรียบบุคคล เอาเปรียบวัด เอาเปรียบศาสนา แม้โดยปริยายไร ๆ ท่านไม่นิยม ดังนั้นเวลาถึงมรณภาพลง จตุปัจจัยส่วนองค์เองจึงไม่มีเหลืออยู่เลย
    ท่านเป็นผู้ที่เจ้านาย ข้าราชการ คฤหบดี เลื่อมใสเป็นส่วนมาก แลเป็น กุศลปก คือเป็นพระประจำพระตระกูลของเจ้านายลางพระองค์ ถึงอย่างนั้นไม่มีธุระเป็นก็ไม่ไปเฝ้าหรือไปมาหาสู่ จะไปก็ไปเป็นกิจจะลักษณะ ท่านปลูกแลทำนุบำรุงศรัทธาเลื่อมใสของท่านนั้น ๆ ด้วยคุณธรรมแท้ ๆ จึงเป็นแท่นบูชาแห่งคุณธรรมความดีโดยส่วนเดียวของสาธุชน โวหารลางอย่างที่โลกนิยมใช้กัน เช่น มีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง คำว่า เป็นอย่างยิ่ง ท่านก็ไม่ใช้ โดยอ้างถึงเจตนาว่า ไม่รู้สึกอย่างยิ่งเช่นนั้น ท่านเป็นผู้นิยมความกตัญญูกตเวทีนัก แลถือเป็นข้อหนึ่งสำหรับอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ ท่านเคยอ้างว่า องค์ท่านเองได้เจริญรุ่งเรืองมาเช่นนี้ ก็เพราะดีต่อโยม ใครเคยมีคุณมามักประกาศคุณนั้น ๆ ให้ปรากฏไม่ลืมเลือน แลหาทางสนองคุณสมนาคุณในโอกาส.
    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นผู้ถือเคร่งครัดในพระวินัย ไม่ยอมประพฤติล่วงพระบัญญัติ แม้ในสิ่งที่ผู้อื่นโดยมากเห็นว่าเล็กน้อย เป็นผู้มีศีลาจารวัตรอันงาม ไม่บกพร่องด่างพร้อยแต่ประการไร กิจวัตรนอกจากสวดมนต์ไหว้พระทำกัมมัฏฐานภาวนาที่กุฏีที่อยู่ แล้วสวดมนต์ไหว้พระประจำวันทุกเช้าเย็น ไม่จำเป็นท่านไม่ยอมขาด ทำตนเป็นผู้นำที่ดียิ่งและยังได้แนะนำชักชวนภิกษุสามเณรในวัดให้ปฏิบัติโดยเคร่งครัด ตลอดถึงได้ชักชวน เพื่อนสหพรหมจารีต่างวัดให้ช่วยกันทำนุบำรุงกิจวัตรแผนกนี้ ซึ่งถึงจะเป็นกิจวัตรพื้น ๆ แต่ก็นับว่าสำคัญประการหนึ่ง อยู่เสมอในเมื่อมีโอกาส
    การฟังพระปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน ตั้งแต่อุปสมบทจนถึงวันมรณภาพ ขาดเพียง 2 ครั้ง ในเวลาอาพาธหนักไม่สามารถจะลุกนั่ง แลพลิกองค์เองได้แล้ว ท่านก็ยังแสดงความประสงค์จะลงฟังพระปาฏิโมกข์เมื่อวันอุโบสถมาถึงเข้า แต่ไม่มีผู้ใดจะปฏิบัติตามความประสงค์ของท่านได้ เพราะเห็นว่าท่านอาพาธหนักมาก ถ้านำท่านลงไปอาจถึงเป็นอันตรายได้
    การงานทุกอย่างที่ท่านทำ มีระเบียบเรียบร้อยสม่ำเสมอ เป็นเวลาไม่มากก็น้อย สิ่งไรที่ท่านทำเองได้ ท่านไม่รบกวนผู้อื่น แม้แต่ศิษย์ ด้วยความเกรงใจ แม้ศิษย์จะสมัครใจยินดีทำถวายลางอย่าง เช่นช่วยถือบริขารเครื่องใช้สอย เป็นต้นว่าย่ามติดตาม เมื่อไม่จำเป็น ท่านก็ไม่ยอม โดยอ้างว่า ใคร ๆ เขาจะเห็นว่าเป็นเจ้ายศเจ้าอย่างไป กิจการลางประการ ซึ่งต้องใช้พระเดช อันท่านเอง ก็สมควรแล้วที่จะใช้ได้ทุกประการ ท่านก็มักผ่อนลงมาเป็นใช้พระคุณโดยมาก โดยปรารภว่า วาสนาบารมีน้อย ไม่ควรแก่พระเดชนัก อันผู้สูงศักดิ์มีวาสนาบารมี เมื่อจะทำกิจการไร ๆ ยังหวนระลึกถึง อตฺตญฺญฺตา มตฺตญฺญฺตา รู้ตน รู้ประมาณอันเป็นสัปปุริสธรรม ทั้งต่อหน้าแลลับหลังเช่นนี้ น่าเคารพบูชาของสาธุชนทั้งหลายนัก
    ท่านเป็นผู้ไม่มัวเมาในยศศักดิ์ตำแหน่งหน้าที่การงาน ไม่เห็นแก่อามิสลาภยศชื่อเสียง ไม่ขวนขวายที่จะได้ตำแหน่งหน้าที่การงานนั้น ๆ แต่ด้วยเห็นแก่พระศาสนาจึงยอมรับตำแหน่งหน้าที่อันมาถึงตามกาลตามสมัย เมื่อรับทำสิ่งไรแล้วก็ตั้งใจจะทำจริงไม่ทอดทิ้ง ทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยความแช่มชื่น ไม่ฝืนใจทำ มีความเพียรอดทนไม่ท้อถอย ทำตามกำลังสามารถ ลางอย่าง ลางโอกาส ถึงออกปากว่า ถ้าไม่ไหวก็ขอคืน ไม่ฝืนไว้ด้วยอาลัย
    ท่านไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ สิ่งไรทำพลาด เป็นผู้รู้จัก ผิดเป็น ยอมทำใหม่แก้ไขให้ถูก ยอมเปลี่ยนแปลงแก้ไข ในเมื่อมีผู้ทักท้วง มีเหตุผลเป็นธรรมเป็นวินัย ไม่ปล่อยให้สิ่งผิดแล้วเลยตามเลย หรือขืนทำไปทั้ง ๆ ที่เห็นว่าผิด
    ท่านจึงเป็นผู้รู้อย่างที่กล่าวยกย่องว่า ไม่เมาในความรู้ ไม่มีชนิดที่เรียกว่า เอาสีข้างเข้าดัน อันเป็นมลทินของผู้รู้ แต่ว่าเป็นผู้ถ่ายถอนถือเอาแต่ยุติที่ชอบด้วยเหตุผล เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นประมาณ มีธรรมวินัยเป็นใหญ่ มีธรรมวินัยเป็นธงชัย ไม่ยอมให้มานะทิฐิหรือเล่ห์กลใด ๆ เข้ามาปะปนแฝงอยู่ จึงเป็นหลักในความรู้และความเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้สนิท เป็นผู้ตรงไปตรงมาไม่มีแง่งอนมายาเป็นปฏิปทาของสาวกสงฆ์ข้อ อุชุปฏิปนฺโน คือเป็นผู้ปฏิบัติตรง
    ท่านเป็นผู้มีความอดกลั้นเป็นอย่างดี มีความสงบเสงี่ยม ไม่เคยแสดงอาการผลุนผลันให้ปรากฏ ไม่เคยพูดคำหยาบ กล่าวแต่คำอ่อนหวาน ไม่พูดให้เจ็บใจคนอื่น ไม่พูดเสียดสีกระทบกระทั่งนินทาว่าร้ายผู้อื่น องค์ท่านเคยปรารภเป็นเชิงสอนว่า คนเรานั้นมีอาวุธพิเศษสำหรับป้องกันตัวอย่างหนึ่งคือนิ่ง ไม่ต่อปากต่อคำ ต่อความยาวสาวความยืด อันเป็นเหตุให้เรื่องนั้น ๆ ไม่สุดสิ้น ปฏิปทานี้ท่านถือเป็นแนวปฏิบัติประการหนึ่ง จึงนิยมในการรู้แล้ว เลิกแล้วกันไป ไม่ถือสาหาความอีก ไม่มีเวรไม่มีภัยกับใคร ๆ แม้ผู้ที่ถือโกรธท่าน ๆ ก็ไม่โกรธตอบ กลับหาทางสมัครสมานคืนดี เรื่องไม่ดีของผู้อื่นเป็นไม่พูด ถึงมีผู้พูดก็ห้ามเสีย เรื่องการบ้านการเมือง รบราฆ่าฟัน อันไม่ใช่กิจสมณะไม่พูดเกี่ยวถึงเลย มีผู้พูด ถ้าเป็นผู้น้อยก็ห้ามเสีย ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ท่านก็ยิ้ม ๆ รับฟังโดยมารยาท ท่านมีอาการสงบสม่ำเสมอ ไม่โลเลสับปลับ ไม่พูดถ้อยคำไร้สาระ พูดแต่สิ่งที่เป็นงานเป็นการ ประกอบด้วยอรรถด้วยธรรม มีประโยชน์ ไม่พูดเล่นตลกคะนองแต่ไหนแต่ไรมา.
    <TABLE id=table17 border=0 width=0 bgColor=#ded6c2 align=left><TBODY><TR><TD width=0>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่านทำองค์ของท่านเป็นเนติแบบอย่าง สมกับเป็นผู้นำหมู่คณะ เป็นผู้ปกครองศิษยานุศิษย์ บริษัท บริวาร ตลอดถึงคณะสงฆ์ เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของคนทุกชั้น สิ่งไรที่ท่านสอนให้คนอื่นละเว้นไม่ให้ทำไม่ให้ประพฤติ องค์ท่านเองย่อมละเว้น ไม่ทำไม่ประพฤติด้วย ไม่เป็นแต่เพียงสอนหรือห้ามผู้อื่นฝ่ายเดียวเท่านั้น ท่านเป็นผู้เคารพนับถือผู้ใหญ่เหนือตน ปฏิบัติตามบังคับบัญชาในสิ่งที่ถูก ที่เป็นธรรม อย่างครบถ้วน แต่ถ้าสิ่งไรเป็นผิด เป็นเสียแล้ว ก็ไม่ยอมร่วมด้วย ระเบียบแบบแผนประเพณีอันใดที่ทางคณะสงฆ์บัญญัติไว้เป็นธรรมเป็นวินัย ท่านถือว่าปฏิบัติตามโดยไม่บกพร่อง นี้เป็นเนติอีกประการหนึ่งคือ ดีทั้งปกครองเขา แล เขาปกครองก็ดีด้วย
    ทราบว่าเมื่อครั้งท่าน สอบไล่ภาษาบาลีในมหามกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1 ทุกชั้นเป็นลำดับมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งว่า ตาบุญ ( คือพระยาธรรมปรีชา ผู้เป็นอาจารย์ภาษาบาลีของเจ้าพระคุณ ) มอบช้างเผือกส่งเข้ามา จึงได้เป็นผู้ที่ทรงโปรดปราน เป็นผู้ที่ทรงปรึกษาทางด้านวิทยาการ แลด้านการปกครองคณะสงฆ์องค์หนึ่ง จนกาลที่สุด คือเมื่อจวนจะสิ้นพระชนม์ ก็ยังโปรดให้เจ้าพระคุณ ซึ่งในเวลานั้นดำรงตำแหน่งฐานันดรสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์ เข้าเฝ้าถวายธรรมลางประการเป็นครั้งสุดท้าย
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ นอกจากมีความเชี่ยวชาญภาษาบาลีและพระไตรปิฎกแล้ว ยังมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี นับเป็นพระมหาเถระที่ก้าวหน้าทันสมัยในยุคนั้น ดังที่ท่านพุทธทาสได้กล่าวถึงท่านไว้ในหนังสือเรื่องเล่าไว้เมื่อวัยสนธยาว่า “สมเด็จวัดเทพศิรินทร์ ดูจะเป็นคนก้าวหน้าที่สุด ถ้ามีเรื่องเกี่ยวกับฝรั่งมังค่าอะไรต้องไปทางนั้น ตอนนั้น ยังไม่ได้เป็นสมเด็จเป็นพระสาสนโสภณ” เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้แสดงความรู้ทางภาษาอังกฤษให้เป็นที่ปรากฏโดยท่านได้แปลพุทธประวัติภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยไว้เล่มหนึ่ง ชื่อ “พุทธประวัติวิเทศ” ครั้งหนึ่งมีโปรเฟสเซอร์ ชาวเดนมาร์ค เข้ามาเมืองไทยและใคร่จะรู้เรื่องพระพุทธศาสนา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงโปรดให้มาสนทนากับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณ โปรเฟสเซอร์ท่านนั้นได้มาสนทนากับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อยู่ 8 ครั้ง ครั้นกลับไปประเทศของตนแล้ว ได้ส่งหนังสือมาถวายเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เล่มหนึ่งพร้อมเขียนคำสรรเสริญเป็นภาษาบาลีอักษรโรมันว่า
    " อจฺฉริยํ ภนฺเต สาสนโสภณ, อพฺภุตํ ภนฺเต สาสนโสภณ, อติจิตฺรานิ ปญฺหปฏิภานานิ วิสชฺชิตานิ, ยทิ พุทฺโธ ติฏฺเฐยฺย, สาธุการํ ทเทยฺย, สาธุ สาธุ สาสนโสภณ, อติจิตฺรานิ ปญฺหปฏิภานานิ วิสชฺชิตานิ "
    แปลความว่า ท่านพระสาสนโสภณ น่าอัศจรรย์, ท่านพระสาสนโสภณ น่าประหลาด, ปฏิภาณแก้ปัญหาวิจิตรนัก อันท่านวิสัชนาแล้ว. หากว่าพระพุทธเจ้าจะพึงดำรงอยู่ไซร้, ก็จะพึงประทานสาธุการว่า พระสาสนโสภณ ดีแล้ว ดีแล้ว, ปฏิภาณแก้ปัญหาวิจิตรนัก อันเธอวิสัชนาแล้ว".
    ในเรื่องนี้แสดงว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ กับโปรเฟสเซอร์ดังกล่าวคงสนทนากันด้วยภาษาบาลีหรือภาษาอังกฤษ จึงทำให้โปรเฟสเซอร์เกิดความประทับใจมากดังแสดงออกด้วยข้อความดังกล่าวนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีอัธยาศัยชอบการอ่านการเขียน ได้นิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมากเท่าที่รวบรวมได้มีถึง 75 เรื่อง เช่น คู่มือนาค คู่มืออุบาสก คำถามคำตอบศีลสมาธิปัญญา บันทึกธรรม พุทธประวัติวิเทศ แว่นธรรมวินัย ไหว้พระ 5 ครั้ง พระมงคลวิเสสกถา เป็นต้น ในการชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกในรัชกาลที่ 7 เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับหน้าที่ชำระพระไตรปิฎกท่านหนึ่งโดยได้ชำระพระวินัยปิฎกทั้งหมด รวม 8 เล่ม และพระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ รวม 3 เล่ม รวมทั้งสิ้น 11 เล่ม
    <TABLE id=table18 border=0 width=0 bgColor=#ded6c2 align=right><TBODY><TR><TD width=0>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD width=0 align=middle>อาคารที่พักของสมเด็จที่วัดเขาบางทราย ชลบุรี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อาพาธเป็นโรคเนื้องอกที่ตับ มีอาการเบื่ออาหารและอ่อนเพลียมาโดยลำดับ นายแพทย์ได้ตรวจพบเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2494 พักรักษาตัวอยู่ ณ วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรีประมาณเดือนเศษ อาการไม่ดีขึ้น ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ทางคณะสงฆ์กรมการศาสนาและกรมการแพทย์ ส่งนายแพทย์ไปรับท่านมารักษาพยาบาล ณ วัดเทพศิรินทราวาส นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญเป็นต้นว่า หลวงนิตยเวชวิศิษฐ์ พระอัพภันตราพาธพิศาล นายแพทย์ใช้ ยูนิพันธ์ ได้ถวายการรักษาพยาบาลจนสุดความสามารถ แต่โรคชนิดนี้ยังไม่พบวิธีที่จะรักษาให้หายได้ เป็นโรคที่ทรมาน เท่าที่ปรากฏ ผู้ที่เป็นโรคชนิดนี้มักได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส แต่องค์ท่านแม้ได้รับทุกขเวทนาเห็นปานนั้น ก็สงบระงับไม่ยอมให้ทุกขเวทนานั้นครอบงำ มีสติสัมปชัญญะ ส่อให้เห็นคุณธรรมลางประการ อันท่านได้อบรมมาเป็นเวลานาน ไม่ครั่นคร้ามต่อ มรณภัยอันคุกคามอยู่ สู้อุตส่าห์แนะนำพร่ำสอนโดยย่อ ๆ ถึงคุณพระรัตนตรัย แลความจริงของสังขาร กับทั้งความน่าเบื่อหน่ายในชาติภพ แลให้ศีลให้พรแก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยียนแลรักษาพยาบาล จนที่สุดถึงมรณภาพด้วย อาการอันสงบ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.30 น. คำนวณอายุได้ 80 ปี โดยปีพรรษา 59
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานน้ำสรงศพ และพระราชทานโกศไม้สิบสอง ประดับพุ่มและพู่เฟื่อง ฉัตรเครื่องสูง มีแตร จ่าปี่ จ่ากลองและกลองชนะ ประโคมเป็นเกียรติยศ ประดิษฐานโกศ ณ กุฎีที่อยู่วัดเทพศิรินทราวาส มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเป็นของหลวง 3 วัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประกอบการพระราชกุศลทักษิณานุสรณ์ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในสัตมวารแรก ต่อจากนั้นมีเจ้านาย คณะรัฐมนตรี ข้าราชการ คณะสงฆ์ ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือ ได้ทรงบำเพ็ญ และบำเพ็ญกุศลถวาย ติดต่อกันมา เป็นลำดับ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2495 และเสด็จพระราชดำเนินทั้งสองพระองค์
    ประวัติและคุณสมบัติทั้ง ส่วนอัตตสมบัติแลปริหิตปฏิบัติของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถระ เท่าที่ได้รำพันมานี้ชี้ให้เห็นว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้อาศัยความเป็นผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้วในกาลก่อน เป็น ปุพฺเพกตปุญญตา อันท่านผู้รู้เรียกว่า วาสนาแรกเริ่มนำให้มาอยู่ในถิ่นอันสมควร เป็น ปฏิรูปเทสวาสคบหาศึกษาวิทยาการกับผู้ทรงคุณวุฒินั้น ๆ เป็น สปฺปุริสูปสฺสย คือคบสัตบุรุษกับทั้งตั้งองค์ท่านเองไว้ในที่ชอบ ประกอบด้วยสุจริตธรรมสัมมาปฏิบัติ เป็น อตฺตสมฺมาปริธิศิริรวมเป็นจักรธรรมครบ 4 ประการ เป็นจักรสมบัติ พัดผันนำองค์ท่านไปสู่วัฒนะ เจริญรุ่งเรืองสุดวาสนาบารมี กับทั้งยังประกอบด้วยญาณปรีชาอันประเสริฐ เป็นเหตุสำคัญนำองค์ท่านให้ผ่านพ้น อุปสรรคภยันตรายฝ่ายหายนะ รอดตลอดจนสุดชนม์ชีพด้วยประการฉะนี้
    [​IMG]
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="ประวัติ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://hits.truehits.in.th/data/i0017685.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://lvs.truehits.in.th/func/th_donate_1.8.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://lvs.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT>ที่มา:����ѵ� ����稾�оط����Ҩ���� (���ԭ �ҳ�����) �Ѵ෾���Թ������ �Ҫ�������

    เมื่อได้ทราบถึงประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯท่าน แล้วบทนิพนธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯท่านมีมากกว่าไหว้พระ ๕ ครั้ง เห็นควรว่าน่าจะรวบรวมสืบหานำออกเผยแพร่ให้เพื่อนๆชาวพระวังหน้าได้ทราบ และศึกษากัน
    <SCRIPT src="http://lvs.truehits.in.th/func/th_donate_1.8.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://lvs.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT>
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    องค์ที่ ๔ .....องค์นี้ฝากคุณน้องนู๋ เขาว่าเทียนแยงตาแท้ อันนี้ไม่แยงตาแท้ไม่แท้บ่...รุ่นแยงตาเขียนว่าสมเด็จพระบรมครู แต่องค์นี้เขียนว่า หลวงพ่อกบ ด้านหลัง ทองหนึ่ง ไม่ใช่ ๑๑๑๑๑ ๔ตัวเรียงที่เขาว่าแท้ ส่วนองค์นี้เป็น ๑๑๑ ๓ตัวเรียง และ ๑ ตัวข้างบน...แต่ที่แน่ๆคือพ่อตาผมเขาเดินทางไปจังหวัดไหนจะต้องหาโอกาสไปบูชาจากวัดที่ไปขายของอย่างน้อย ๑ องค์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010358.jpg
      P1010358.jpg
      ขนาดไฟล์:
      321.2 KB
      เปิดดู:
      121
    • P1010359.jpg
      P1010359.jpg
      ขนาดไฟล์:
      327.3 KB
      เปิดดู:
      84
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    การไหว้ 5 ครั้ง ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ )

    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาไร ตามแต่เหมาะต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวนั้น ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ


    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประณมมือว่า

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ 3 หน

    แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ

    หยุด ระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตามของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ


    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ

    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโน สนฺทิฆฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติ ฯ

    หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ


    ครั้งที่ 3 ว่าพระสังฆคุณ คือ
    สุ ปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโยทกฺขิเนยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติฯ

    หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ ของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    นั่งพับเพียบประณมมือตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้ว กราบลงหน 1 ฯ

    ข้า ฯ ขอ กราบไหว้คุณท่านบิดาและมารดา
    เลี้ยงลูกเฝ้ารักษา แต่คลอดมาจึงเป็นคน
    แสนยากลำบากกายไป่คิดยากลำบากตน
    ในใจให้กังวลอยู่ด้วยลูกทุกเวลา
    ยามกินพอลูกร้องก็ต้องวางวิ่งมาหา
    ยามนอนห่อนเต็มตาพอลูกร้องก็ต้องดู
    กลัวเรือดยุงไรมดจะกวนกัดรีบอุ้มชู
    อดกินอดนอนสู้ ทนลำบากหนักไม่เบา
    คุณพ่อแม่มากนักเปรียบน้ำหนักยิ่งภูเขา
    แผ่นดินทั้งหมดเอามาเปรียบคุณไม่เท่าทัน
    เหลือที่ จะแทนคุณ ของท่านนั้น ใหญ่อนันต์
    เว้นไว้ แต่เรียนธรรม์ เอามาสอนพอผ่อนคุณ
    สอนธรรมที่จริงให้ รู้ไม่เที่ยงไว้เป็นทุน
    แล้วจึงแสดงคุณ ให้เห็นจริงตามธรรมดา
    นั่นแหละจึงนับได้ ว่าสนองซึ่งคุณา
    ใช้ค่าข้าวป้อนมาและน้ำนมที่กลืนกิน ฯ

    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผุ้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์และครูบาอาจารย์ เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ข้า ฯ ขอนอบน้อมคุณแด่ท่านครู ผู้อารี
    กรุณาและปรานีอุตส่าห์สอนทุก ๆ วัน
    ยังไม่รู้ ก็ได้รู้ ส่วนของครูสอนทั้งนั้น
    เนื้อความทุกสิ่งสรรพ์ดีชั่วชี้ ให้ชัดเจน
    จิตมากด้วยเอ็นดูอยากให้รู้เหมือนแกล้งเกณฑ์
    รักไม่ลำเอียงเอนหวังให้แหลมฉลาดคม
    เดิมมืดไม่รู้แน่เหมือนเข้าถ้ำเที่ยวคลำงม
    สงสัยและเซอะซมกลับสว่างแลเห็นจริง
    คุณส่วนนี้ควรไหว้ ยกขึ้นไว้ ในที่ยิ่ง
    เพราะเราพึ่งท่านจริงจึงได้รู้ วิชาชาญ ฯ

    (บท ประพันธ์สรรเสริญคุณมารดาบิดา และ ครูบาอาจารย์ของ ท่านอาจารย์ จางวางอยู่ เหล่าวัตร วัดเทพศิรินทราวาส ลิขสิทธิ์เป็นของ ท่านเจ้าคุณพระโศภนศีลคุณ (หลวงปู่หลุย พาหิยาเถร) วัดเทพศิรินทราวาส)

    ต่อ ไปนี้ไม่ต้องประณมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่อง และร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้งพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณมีมารดาบิดา เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือพระมหากษัตริย์ ทั้งเทพยดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

    การ ไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยกมือไม่ขึ้น ก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้เป็นเครื่องพยุงตนให้เป็นคนดี ไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดี ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และ ตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มขั้นของตน ๆ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ


    .


    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญญาณวรเถระ )

    http://72.14.235.104/search?q=cache:...h&ct=clnk&cd=7

    [​IMG]

    สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ นามเดิม เจริญ สุขบท เกิดในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2415 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรนาย ทองสุก และนางย่าง

    เมื่ออายุ 8 ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุณี (พุฒ ปุณณกเร) ปฐมวัยอาวาสวัดเขาบางทราย เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาที่วัดเขาบางทราย

    และเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชบพิธอุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2435 ที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2439 ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกในสำนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่วัดเทพศิรินทราวาส

    "ตาบุญ (พระยาธรรมปรีชา) ผู้เป็นอาจารย์สอนบาลีของ
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มอบช้างเผือกส่งเข้ามาให้ "

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งเมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร) สอบไล่ภาษาบาลี ในมหามงกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1ทุกชั้นเป็นลำดับมา

    พ.ศ.2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะที่พระอัมราภิลักขิต เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลปราจีนบุรี ต่อมาได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้เลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา พ.ศ.2471 โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    พ.ศ.2476กรรมการเถรสมาคมมีมติให้ท่าน เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระสังฆราชเจ้าซึ่งสิ้นพระชนม์ ประมวลเกียรติคุณพิเศษสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร)เป็นพระเถระบริหารงานพระศาสนาถึง 5 แผ่นดิน คือแต่รัชกาลที่ 5-9 เป็นพระราชาคณะแต่อายุ 28 ปี เป็นสมเด็จพระราชาคณะแต่อายุ 57 ปี นับเป็นพระเถระที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พรรษาน้อยกว่า พระเถระหลายรูปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่อายุ 28 ปี ถึง 80 ปีรวม 53 ปี นับว่ายาวนานที่สุดไม่มีใครเทียบได้
    เมื่อสอบนักธรรม หรือบาลีจะสอบได้ที่ 1 ทุกชั้นทุกประโยคเป็นรูปเดียวในสังฆมณฑล ดำรงตำแหน่งแม่กองธรรมสนามหลวง แม่กองบาลีสนามหลวง องค์เดียวกัน

    ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2494เวลา 10.30 น. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเระ)มรณภาพด้วยโรคเนื้องอกที่ตับรวมอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

    ความคิดเห็นส่วนตัวผม
    ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ท่านบอก กับผู้ที่ไปกราบท่านว่า ขอให้ทุกๆวันได้ไหว้ 5 ครั้ง จะได้เป็นศิริมงคลกับตนเอง จะเหมือนกับชื่อของท่าน (เจริญ) ครับ ท่านเจ้าคุณนรเอง ก็มีความเคารพในท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)มาก โดยท่านเจ้าคุณนรเอง เวลาเดินผ่านกุฎิของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)ทุกครั้ง ท่านเจ้าคุณนร ก็จะก้มลงกราบที่กุฎิอยู่ทุกครั้งครับ

    วันที่ 14 สิงหาคม 2550
    ขอเพิ่มเติมเรื่องราว ไหว้ 5 ครั้ง
    http://www.saktalingchan.com/index.p...icle&Id=262016

    [​IMG]


    เจ้าพระคุณสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร​

    เจ้าพระคุณสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร
    วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร

    1. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงนี้ เมื่อพระคุณท่านมีอายุเพียง 27 ปี มีพรรษา 7 ยั่งยืนตลอดมาเป็นเวลาช้านานถึง 53 ปีฯ

    2. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ นั้นมีอายุเพียง 56 ปี เท่านั้น ฯ

    3. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งธรรมเนียมการเทศนาธรรมในวันอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก เริ่มเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2471 ติดต่อกันมาถึงปัจจุบันนี้ นับเป็นเวลา 45 ปี ล่วงแล้ว ฯ

    4. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์สมเด็จพระ สังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ แลบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรงสืบต่อมาเป็นเวลา 5 ปี ( ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2481 ) ฯ

    5. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถาติดต่อกันถึง 4 รัชกาล คือตั้งแต่รัชกาลที่ 6-7-8-9 เป็นเวลาถึง 25 ปี ฯ

    6. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ มีสัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก มากที่สุดถึง 6,666 องค์ ฯ

    7. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นต้นกำเนิดตำราไหว้ 5 ครั้งให้ศิษยานุศิษย์ปฏิบัติตาม หากผู้ใดไหว้ครบ 1 ปี เป็นกำหนด ผู้นั้นจักได้รับรูปที่ระลึกจากองค์ท่านด้านหน้าเป็นรูปองค์ท่าน ด้านหลังเป็นรูปยันต์ภควัม จากกรึกนามองค์ท่านเป็นอักษรย่อ โดยลำดับแห่งราชทินนามนั้น ๆ กระทั่งครั้งสุดท้ายได้จารึก 3 อักษรว่า พ.ฆ.อ. ซึ่งย่อจากราชทินนามว่า พุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระราชาคณะ ฯ

    8. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่มีอายุยืนยาวที่สุด คือ ท่านเจ้าคุณพระโศภณศีลคุณ ( หลวงปู่หลุย พาหิยเถร ) ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 23 ปัจจุบันอายุ 92 ปี พรรษา 67 ( เกิด 9 สิงหาคม 2426 ) ยังเดินลงโบสถ์ลงสวดมนต์ทำวัตรได้เป็นประจำทุก ๆ วัน เป็นพระเถราจารย์องค์สำคัญ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือยิ่งของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ

    9. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่ประพฤติปฏิบัติยอดเยี่ยม และเป็นพระเถระองค์สำคัญที่มีเกียรติคุณโด่งดังในปัจจุบัน คือ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ธมมฺวิตกฺโก ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 1740 ฯ

    ไหว้ 5 ครั้ง ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส

    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาใด ตามแต่เหมาะ ต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวกัน ถ้ามีดอกไม้ ธูปเทียน ก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ

    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประนมมือว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสฺมพุทฺธสฺส ฯ 3 หน แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ อิติปิ โส ภควา อรหสมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสาน&deg; พุทฺโธ ภควาติ ฯ หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตาม ของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ สฺวากฺขาโต ภควตา ธฺมโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺ จตฺต เวทิตพฺโพ วิญฺญหีติ ฯ หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ครั้งที่ 3ว่าสังฆคุณ คือ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ยทิทฺ จฺตตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐ ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสฺงโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนฺยโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรฺ ปุญฺญกฺเขตตฺ โลกสฺสาติ ฯ หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    นั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ

    พุทฺธสรณคจฺฉามิ
    ธมฺมสรณคจฺฉามิ
    สงฺฆสรณคจฺฉามิ ฯ
    ทุติยมฺปิ พุทฺธสรณคจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ ธมฺมสรณคจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ สงฺฆสรณคจฺฉามิ ฯ
    ตติยมฺปิ พุทฺธสรณคจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ ธมฺมสรณคจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ สงฺฆสรณคจฺฉามิ ฯ

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผู้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์ และครูบาอาจารย์เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ต่อนี้ไปไม่ต้องประนมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่องและร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพราก จากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้นพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณ มีบิดามารดาเป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์ ทั้งเทพดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

    การ ไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้หนี้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยอมือไม่ขึ้นก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้ เป็นเครื่องหยุดตนให้เป็นคนดีไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดีไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอจนตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มชั้นของตน ฯ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ

    ปัจฉิมโอวาท
    ของ
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรมหาเถระ
    วัดเทพศิรินทราวาส

    ไม่ตายควาวนี้ ก็ตายคราวหน้า อย่างเศร้าโศก เสียทีที่ศึกษาปฏิบัติมา ร้องให้เศร้าโศก ก็ร้องไห้เสร้าโศกสังขารที่
    เกิดแก่เจ็บตายนั้นเอง ที่ไม่ร้องไห้เศร้าโศกนั้นมิใช่จะเป็นคนใจไม้ใส้ระกำอะไร

    ธรรมของพระก็คือ
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
    ย่นลงก็ สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา แล้วปรินิพพาน
    ไม่ต้องเกิดมาแก่ มาเจ็บ มาตายอีก

    (มีบัญชาให้บันทึกไว้เมื่อเช้าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๙๔)



    .



    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG] [​IMG]

    ผมเคยมีเหรียญ(น่าจะเป็นเหรียญลักษณะนี้) หลวงพ่อกบ ไปได้มาจากข้างทาง 2 เหรียญ (เห็นแล้วนึกถึงหลวงปู่ขรัวขี้เถ้า)

    นำมาให้.....ช่วยดูให้ ปรากฎว่า เหรียญทั้งสองเหรียญเป็นเหรียญปลอม ปรากฎว่า ตอนนั้น หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า ท่านอยู่ที่นั่นด้วย ....บอกให้ผมนำเหรียญใส่มือแล้วพนมมือไว้ สักพักก็บอกให้นำมือลง

    ...... มาเฉลยต่อว่า หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าท่านอธิษฐานจิตเหรียญในมือให้ผม

    กราบขอบพระคุณหลวงปู่ขรัวขี้เถ้าครับ

    กราบ กราบ กราบ กราบ กราบ
    sithiphong


    .
     
  16. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ตามข้อมูลที่ท่านเพชรว่าอ่ะครับ เป็นเหรียญหายากจริงๆว่าจะยืมลุงข้างบ้านมา ด้านหลังมี2แบบ ความคมชัดต่างกัน แต่เหรียญนี้ก็ใช่ว่าจะเรียกว่าเก๊ ต้องบอกว่าทำยุคหลังมากกว่าครับแต่ก็น่าจะมีผู้อธิษฐานจิตครับ
     
  17. sittiporn.s

    sittiporn.s เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +748

    พอดีผมไม่ศึกษา ไม่มีความรู้ เลยไม่สามารถตอบได้ ครับ
    ( เมตตา แคล้วคลาด โชคลาภ )
     
  18. Pinkcivil

    Pinkcivil เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    425
    ค่าพลัง:
    +1,644
    หน้าตาชัดสวยมากเรย เสียดายวงแขนอย่างเดียว :cool:
     
  19. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ตอนนี้มาถึงหาดใหญ่โดยสวัสดิภาพแล้ว รอน้องปฐมมารับเข้าสงขลาและอัญเชิญพระบรมฯ

    พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่านองค์นี้สวยมากครับ ชักอยากให้ถึงวันที่ 30 ,จะได้เดินทางกลับ กท. ไปรับพระพิมพ์หลวงปู่ทวด 1 ใน 9 องค์ใต้ฐานพระบูชาที่ท่านพี่สิทธิพร มีเมตตาฝากพี่หนุ่มมาให้ผมเร็วๆจังครับ หุหุ
     
  20. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    อยู่ไกลและมีสปิริต รักษาสุขภาพด้วยนะครับพี่ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...