นิทรรศการ'เครื่องรางของขลัง' วัฒนธรรมพุทธ-ในสุวรรณภูมิ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 7 พฤศจิกายน 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [FONT=Tahoma,]นิทรรศการ' เครื่องรางของขลัง' วัฒนธรรมพุทธ-ในสุวรรณภูมิ



    <table align="left" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"><tbody><tr bgcolor="#400040"><td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>ความ เชื่อในเรื่อง 'เครื่องรางของขลัง' มีมาตั้งแต่โบราณ แม้ในตำราพิชัยสง คราม บันทึกไว้ว่านัก รบสมัยโบราณจะมีเครื่องรางของขลังติด ตัวไว้เป็นมงคล เครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ มีหลายชนิด และมีความเชื่อต่อเครื่องรางของขลังและพระเกจิที่สร้างเครื่องรางอย่างมั่น คง เครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันในการออกศึกสงครามของคนโบราณ เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง

    ผีสางเทวดาและสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งบันดาลอำนาจเหนือธรรมชาติ มีอิทธิพลต่อความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ทั้งทางดีและทางร้าย แม้ศาสนาพราหมณ์และพุทธจะเผยแผ่เข้ามาในไทยกว่าพันปีแล้ว

    แต่ความเชื่อในศาสนาทั้งสองกลับถูกผสมผสานกับความเชื่อเดิมจนกลมกลืนกันไปจนยากที่ที่จะแยกจากกัน

    จึงไม่แปลกอะไรที่เราจะเห็นปรากฏการณ์ความรุ่งเรืองของวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังอย่างเช่นปัจจุบัน

    สถาบัน พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ได้ขยายผลองค์ความรู้สู่สาธารณชน หลังประสบความสำเร็จจากเวทีสัมมนาวิชาการ "เครื่องรางของขลัง วัฒนธรรมชาวพุทธในสุวรรณภูมิ" เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เปิดตัวนิทรรศการใหม่ล่าสุด "เครื่องรางของขลัง" เพื่อนำเสนอตำนาน เรื่องราว และความเป็นมาของเครื่องรางของขลังในมิติวิชาการ <table align="right" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"><tbody><tr bgcolor="#400040"><td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>

    เผยให้เห็นรูปแบบของความเชื่อในวัฒนธรรมไทยที่เกิดจากการผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม และความเชื่อทางพุทธศาสนา

    นาย ราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) เปิดเผยว่า "นิทรรศการเครื่องรางของขลัง" จัดขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวของระบบความเชื่อท้องถิ่นของกลุ่มคนใน สุวรรณภูมิรวมถึงคนไทย ที่เกิดจากการหลอมรวมกับความเชื่อทางศาสนาฝังแน่นอยู่ในระบบความเชื่อของคน ไทย และแสดงออกมาในรูปแบบของเครื่องรางของขลังชนิดต่างๆ เกิดเป็นวัตถุมงคลที่มีคุณค่ายึดเหนี่ยวทางจิตใจและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ มหาศาล

    "ความเชื่อเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องงมงาย แต่ในมุมมองทางวิชาการกลับพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับหลักธรรมทางศาสนา ซึ่งถูกมองข้ามหรือไม่สามารถเข้าถึงได้ สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจและควรนำมาขยายผลโดยจัดแสดงในรูปแบบของ นิทรรศการ เพื่อให้เห็นทั้งรูปแบบและเนื้อแท้ของระบบความเชื่อดังกล่าวอย่างชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมต่อไป" <table align="left" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"><tbody><tr bgcolor="#400040"><td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>

    อาจารย์ จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ราชบัณฑิต กล่าวว่าเครื่องรางของขลังเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของคนสมัยโบราณ เป็นกุศโลบายให้คนมุ่งเข้าหาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา

    "น่า เสียดายว่าคนในยุคสมัยนี้กลับไม่สนใจที่จะค้นหาและสืบทอดแก่นที่แท้จริงของ ความรู้เหล่านี้ แต่หันไปมุ่งเน้นในเรื่องผลที่จะได้รับหรือผลด้านไสยศาสตร์ และผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทั้งผู้ที่จัดสร้างและผู้ที่นำไปบูชา ทำให้ภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงกับหลักคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนาที่มีคุณค่ากลาย เป็นความเชื่อที่งมงายไร้สาระ"

    นิทรรศการเครื่องรางของขลัง จะเปิดมุมมองใหม่ของศาสตร์อันลี้ลับในมิติวิชาการผ่านเรื่องราวในหัวข้อ ต่างๆ อาทิ ทำไมมนุษย์ต้องสร้างเครื่องราง, ไสยศาสตร์, ของขลังของผี, ไม่เชื่ออย่าลบหลู่...แต่ต้องให้รู้ด้วยปัญญา, ของขลัง... ของ(ราคา)สูง, จากเพราะความกลัวต่อสิ่งเร้นลับ...เป็น...เพราะอยากได้ กลัวไม่มี ฯลฯ

    โดย นิทรรศการจะเผยให้เห็นถึงแก่นของ ความคิดต่อสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจจากความหวาดกลัวในสิ่งลึกลับที่ มองไม่เห็น และพัฒนาต่อเนื่องมาอย่างแนบแน่นกับความเชื่อ

    ระหว่าง พุทธ-พราหมณ์-ผี อย่างแยกไม่ออก ซึ่งรูปแบบความเชื่อเหล่านี้ได้แปรสภาพมาเป็นวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังที่ มีคุณค่าและมูลทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลในปัจจุบัน

    นอกจากองค์ความรู้ เกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งเร้นลับในแง่มุมวิชาการแล้ว ภายในงานยังจัดให้มีการจัดแสดงเครื่องรางของขลังนานาชนิดที่เกิดจากความ ศรัทธาและความเชื่อของชาวสุวรรณภูมิและคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่ความเชื่อเรื่องภูตผี ปีศาจ เทพเจ้า

    รวมไปถึงวัตถุมงคล อันทรงคุณค่าที่มีประวัติ ศาสตร์ และเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา อาทิ ผ้ายันต์, ผ้าประเจียด, ตะกรุด ฯลฯ ที่หาชมได้ยาก และพระเครื่องต่างๆ โดยเฉพาะสุดยอดวัตถุมงคลล้ำค่าของคนไทย "พระเครื่องชุดเบญจภาคี"

    "นิทรรศการ เครื่องรางของขลัง" มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 10.00-18.00 น. ณ ห้องจัดนิทรรศการชั่วคราว และห้องพิพิธเพลิน 1 สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ท่าเตียน กรุงเทพฯ เข้าชมฟรี

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) โทร.0-2225-2777 ต่อ 413, 414




    -----------
    ข่าวสดออนไลน์
    �Է��ȡ��&#039����ͧ�ҧ�ͧ��ѧ&#039 �Ѳ�����ط�-�����ó���� : ����ʴ�͹�Ź�
    [/FONT]
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ขอบคุณสำหรับการแจ้งข่าวดีๆนะครับ.....
     
  3. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,864
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,512
    อนุโมทนาด้วยคะ

    ________________



    การศึกษาวิเคราะห์พระเครื่อง ในฐานะเป็นกุศโลบายในการปฏิบัติธรรม<!-- google_ad_section_end -->


    <TABLE cellPadding=3 width=700 bgColor=#f1f1f1 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD class=m10 width=156>ชื่อวิทยานิพนธ์ :</TD><TD class=m10 width=574>การศึกษาวิเคราะห์พระเครื่องในฐานะเป็นกุศโลบายในการปฏิบัติธรรม </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=m10 width=156>ชื่อผู้วิจัย : </TD><TD class=m10 width=574>รอบทิศ ไวยสุศรี </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=m10 width=156>ปริญญา : </TD><TD class=m10 width=574>พุทธศาสตรมหาบัณฑิต( พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต )</TD></TR><TR><TD class=m10 colSpan=2>คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=156></TD><TD class=m10 width=574>พระสุธีวรญาณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ) ป.ธ.๘,M.A., Ph.D.,ร.ศ.
    รศ.ดร. วัชระ งามจิตรเจริญ ป.ธ.๙,พธ.บ.,M.A.,อ.ด.





    </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=m10 width=156></TD><TD class=m10 width=574></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#f1f1f1>[​IMG]</TD><TD bgColor=#f1f1f1 align=right>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 align=center><TBODY><TR><TD class=m12 bgColor=#f1f1f1 align=middle></TD></TR><TR><TD bgColor=#f1f1f1><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="99%" align=center><TBODY><TR><TD class=m10>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์พระเครื่องในฐานะเป็นกุศโลบายในการปฏิบัติธรรม จากผลการวิจัยพบว่า คำว่า “พระเครื่อง” นั้น มาจากคำว่า “พระเครื่องราง” หมายถึง พระพุทธรูปองค์เล็กๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตราย โดยในสมัยเริ่มแรกนั้น ถูกสร้างขึ้นในลักษณะของพระพิมพ์ที่สร้างไว้เพื่อสืบอายุพระศาสนา แต่ไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่า ในประเทศไทยนั้น มีคติความเชื่อในการนำพระพิมพ์ต่างๆไปปลุกเสกสร้างเป็นพระเครื่องกันตั้งแต่สมัยใด แต่หากศึกษาจากตำนานการสร้างพระรอดลำพูนก็จะพบว่า คติความเชื่อในการสร้างพระเครื่องนั้นมีมายาวนานนับพันปีแล้ว โดยได้อิทธิพลในการสร้างมาจากการผสมผสานแนวคิดในพระพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายาน ร่วมกับแนวคิดในลัทธิบูชาบรรพบุรุษ ลัทธิวิญญาณนิยม ลัทธิบอน ที่เชื่อในเรื่องผีสางเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆในธรรมชาติ รวมทั้งแนวคิดความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ในศาสนาพราหมณ์

    การสร้างพระเครื่องให้ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักที่โบราณจารย์ได้วางเอาไว้นั้น มีกระบวนการในการสร้างที่ละเอียดซับซ้อนหลายขั้นตอน เช่น การเตรียมมวลสารต่างๆในการผสมสร้างพระเครื่อง การลงอักขระเลขยันต์ในแผ่นทอง การรวบรวมว่านศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ ชนิด การบวงสรวงไหว้ครูบาอาจารย์เพื่อขอบารมีให้มาช่วยในการสร้างพระเครื่อง การปลุกเสกพระเครื่องด้วยการทำสมาธิภาวนาท่องบ่นมนต์คาถาต่างๆ ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ตามที่ต้นการ เป็นต้น

    พระเครื่องมีบทบาทอยู่ในวิถีชีวิตและความเชื่อของคนไทยเป็นอย่างมาก บางคนบูชาพระเครื่องในฐานะเป็นเครื่องรางของขลังที่สามารถช่วยคุ้มครองป้องกันอันตราย พกพาไปไหนก็เป็นที่รักใคร่ของผู้ที่พบเห็น บางคนบูชาพระเครื่องในฐานะเป็นปูชนียวัตถุทางพระพุทธศาสนาเป็นอนุสสติ เป็นสัญลักษณ์เครื่องระลึก ไว้ให้ผู้ใช้พระเครื่องได้มีโอกาสกราบไหว้บูชาระลึกถึงพระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่งสูงสุดของเหล่าผู้นับถือพระพุทธศาสนา บางคนก็บูชาพระเครื่องในฐานะเป็นกุศโลบายในการปฏิบัติธรรม ที่จะช่วยโน้มน้าวดึงดูดให้ผู้ใช้พระเครื่องหันไปปฏิบัติธรรมเช่นใช้พระเครื่องแล้วรักษาศีลด้วย ใช้พระเครื่องแล้วต้องสวดมนต์ภาวนาทำสมาธิอยู่เสมอ เป็นต้น

    เมื่อนำกระบวนการสร้างและการใช้พระเครื่องมาพิจารณาวิเคราะห์เทียบเคียงกับหลักการปฏิบัติธรรมต่างๆที่สำคัญในพระพุทธศาสนา เช่น หลักบุญกิริยาวัถุ หลักไตรสิกขา เป็นต้น พบว่า กระบวนการสร้างและการใช้พระเครื่องนั้น เป็นกุศโลบายที่แฝงเอาไว้เพื่อดึงดูดให้ผู้สร้างและผู้ใช้พระเครื่องได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมตามหลักบุญกิริยาวัตถุ หรือหลักไตรสิกขาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้

    ๑) การสร้างและใช้พระเครื่องกับหลักบุญกิริยาวัตถุ – ผู้สร้างพระเครื่องจะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อยทุกครั้งในการทำพิธีปลุกเสกสร้างพระเครื่อง (สีลมัย) หรือได้มีโอกาสสั่งสอนธรรมะต่างๆให้แก่ผู้มารับแจกพระเครื่อง (ธัมมเทสามัย) เป็นต้น ส่วนผู้ใช้พระเครื่อง เมื่อเข้าวัดไปบูชาพระเครื่อง ย่อมมีโอกาสได้บริจาคทานแก่วัด (ทานมัย) หรือได้มีโอกาสฟังธรรมศึกษาหาความรู้จากพระเกจิอาจารย์ต่างๆ (ธัมมัสสวนมัย) เป็นต้น

    ๒) การสร้างและใช้พระเครื่องตามหลักไตรสิกขา – ผู้สร้างพระเครื่องจะต้องฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนาอย่างยิ่งยวดให้ได้ในระดับฌาน ๔ เป็นอย่างน้อย จึงจะสามารถปลุกเสกสร้างพระเครื่องให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ได้ (อธิจิตตสิกขา) เป็นต้น ส่วนผู้ใช้พระเครื่อง เมื่อบูชาพกพาพระเครื่องติดตัวอยู่เสมอ คนผู้นั่นย่อมไม่กล้าทำผิดศีลเพราะกลัวจะผิดข้อห้ามในการบูชาพระเครื่อง เมื่อรักษาศีลไปอย่างสม่ำเสมอนานเข้า ศีลนั้นก็จะกลายเป็นนิสัยตามธรรมชาติในชีวิตไป ไม่อยากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น ไปด้วยตนเอง ไม่ต้องรักษาศีลอีกต่อไป เพราะมีศีลเป็นปกติในชีวิตและจิตใจอย่างสมบูรณ์แล้ว (อธิสีลสิกขา) เป็นต้น

    ดังนั้น พระเครื่องจึงไม่ใช่เรื่องของความงมงายในอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆดังที่คนทั่วไปเข้าใจ แต่กลับเป็นกุศโลบายอันลึกซึ้งที่เหล่าโบราณจารย์สร้างเอาไว้ เพื่อดึงดูดให้ผู้สร้างและผู้ใช้พระเครื่องหันมาเข้าวัด และโน้มน้าวให้ผู้สร้างและผู้ใช้พระเครื่องได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมตามหลักบุญกิริยาวัตถุ หรือหลักไตรสิกขา ซึ่งถือเป็นหลักการปฏิบัติธรรมที่สำคัญในพระพุทธศษสนาได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.mcu.ac.th/site/thesisdeta...?thesis=255237
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. *~*Sea Anemone*~*

    *~*Sea Anemone*~* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2010
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +9,121
    อนุโมทนา สาธุ น่าแวะเข้าไปดู เปิดให้ชมฟรีด้วย ขอบคุณค่ะที่แจ้งข่าวสารดีๆ ให้ทราบ
     
  5. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,369
    น่าแวะไปดูจริงๆ น่าสนใจๆ ^^
     
  6. Natthakorn

    Natthakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,003
    ค่าพลัง:
    +7,078
    ไว้จะชวนเพื่อนๆลองไปแวะชมดูครับ^^
     
  7. makotokub

    makotokub เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +242
    บางทีมันก็เป็นเส้นบางๆ ระหว่าง การเตือนสติ กับ ความงมงาย นะครับ...
    ..ผมว่า การยึดถือในวัตถุบางครั้งก็ทำให้เราห่างเหินพระธรรมได้ง่ายๆ เช่นกัน
    ..ผมเองก็มีวัตถุมงคลที่ใครต่อใครให้มาก็ไม่รู้ครับ เต็มไปหมดเลย ซึ่งผมก็ไม่ได้สนใจหรอกว่าปลุกเสกมาหรือยัง หรือว่าใครปลุึก ผมแค่"เชื่อ" ว่าท่านศักสิทธิ์และคอยเตือนสติให้เราอยู่ในศีลในธรรม แค่นี้ก็เจอพุทธคุณบ่อยๆ อยู่แล้วล่ะครับ
    ...โดยความเชื่อส่วนตัว ผมว่าการปลุกเสกต้องทำโดยผู้ที่อยู่ในฐานะเหนือว่า แต่หากเป็นพระพุทธรูป หรือครูบาอาจารย์ต่างๆ นี่ผมก็ค่อนข้างมั่นใจว่าคงไม่มีใครเหนือกว่าท่านกระมังครับ
    ....ผมว่าไม่ใช่แค่สุวรรณภูมิ แต่สมัยก่อนทางอินเดียก็คงมีของขลังแนวนี้เช่นกัน (เอาแค่ศิวลึงค์ก็อลังการกว่าปลัดขิกมากมาย) แต่ที่แน่ๆ เราก็ต่างรู้กันนะครับว่า "พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนเรื่องการปลุกเสกเครื่องรางของขลังเหล่านี้...เลย"
     
  8. hangdong

    hangdong Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +70
    ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นเทคโนโลยีครับ ความรู้ อุปกรณ์ เครื่องมือ ใดที่ถูกสร้างด้วยหลักความรู้บริสุทธิที่อาจดูยุ่งยากให้สามารถใช้ได้โดยง่าย ตรงตามวัตถุประสงค์เฉพาะ เทคโนโลยีล้ำสมัยเหล่านี้ สามารถควบคุมพฤติกรรมของคน ให้รู้สึกละอายที่จะกระทำเรื่องน่าละอาย กลัวที่จะกระทำผิดหรือบาป หรือผิดต่อคำสั่งของครูบาอาจารย์ "แม้จะเป็นในที่ลับตาคน" หรือแม้กระทั่ง กรณีผู้ที่ออกคำเตือนหรือคำสั่งไว้นั้นได้ล่วงลับไปแล้ว หรือล่วงลับไปนานมากแล้วก็ตาม เทคโนโลยีนี้นอกจากจะรักษาระดับความดี ของพฤติกรรมเฉพาะตัวบุคคลแล้ว ยังรักษาสิ่งดีๆอื่นๆได้อีกมาก อาทิ อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ แก้ปัญหายาเสพติด แก้พฤติกรรมฉ้อราษฏร์บังหลวง หรือคอรัปชั่น วัตถุชิ้นเล็กๆบางชิ้นอาจรักษาเงินภาษีอากรให้เราได้นับหมื่นล้านก็อาจเป็นได้นะครับ
     
  9. thaiput

    thaiput เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    9,528
    ค่าพลัง:
    +27,656
    อนุโมทนาสาธุๆๆๆๆๆ ขอบคุณครับ..

    thaiput007@hotmail.com
     
  10. 108

    108 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    401
    ค่าพลัง:
    +2,275
    นิทรรศการดีนะครับ เคยไปร่วมฟังบรรยายก่อนการจัดนิทรรศการนี่ด้วย
    ประโยชน์ดีทีเดียวครับ
     
  11. เด็กสร้างบ้าน

    เด็กสร้างบ้าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,195
    ค่าพลัง:
    +538
    งานนี้ต้องไปดูให้ได้ครับ
     
  12. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    อยากไปจังเลยค่ะ............
     
  13. ืnoui004

    ืnoui004 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +104
    สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ท่าเตียน กรุงเทพฯ

    คือ มิวเซียมสยามใช่ใหมครับ
     
  14. moopanda_kae

    moopanda_kae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    546
    ค่าพลัง:
    +1,107
    [​IMG] เป็นงานที่ชอบมากยังไม่ได้ไปเลยค่ะ
    ไม่ได้จดรายละเอียดไว้เลยหาไม่เจอ พอดีเปิดมาเจอข้อมูลที่กระทู้นี้ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ ^ ^
     
  15. วีระชัยมณี

    วีระชัยมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,128
    ค่าพลัง:
    +2,548
    ผู้รู้รบกวนช่วยบอกด้วยครับว่าอยู่ที่ไหน อยากจะไปดูบ้างครับ..
     
  16. วีระชัยมณี

    วีระชัยมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,128
    ค่าพลัง:
    +2,548
    อยากไปจัง แต่อยู่ไหนหว่า...
     

แชร์หน้านี้

Loading...