พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ดีจังเลยครับพี่ท่าน องค์กรที่ทำงานเจริญแน่ๆเลยนะครับ แหมเมื่อกี้ไปทานข้าวผมก็นั่งเรื่อยๆ เห็นโต๊ะข้างๆเป็นข้าราชการพอผมจะกลับมองดูนาฬิกาบ่าย2แล้ว ถึงได้คิดว่าข้าราชการสมัยนี้พักเที่ยงยาวจัง หุหุหุ
     
  2. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    ขอบคุณครับ
    ทุกอย่างผมคิดว่าเองนะครับ ซึ่งบางทีเอกชนรายอื่นๆคงคิดแบบอื่น
    สำหรับผมที่จริงรับงานเป็นที่ปรึกษาด้าน IT กับทางเทศบาลนครหาดใหญ่และที่อื่นๆอีกหลายแห่งในกท. พอมาได้งานที่นี่ก็จำต้องคืนงานให้เขาหาคนอื่นมาดูแลต่อ ทั้งๆที่ตัวเองสามารถทำได้ทั่วไทยและทีมงานเขาก็ยอมรับเรา (กว่าจะทำให้เขายอมรับได้เหนื่อยมากๆ) แต่ผมมันประเภททำงานให้ใครแล้วต้องให้เขาเต็มที่ ไม่ใช่ทำหลายที่ รับเงินหลายทาง ก็ไม่รู้จะเอารวยไปทำไมหน่ะครับ หุหุ พอเพียงดีกว่าเนอะ... :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2010
  3. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    แหมตอนพี่ท่านอยู่หาดใหญ่ไม่รู้จักกันนะครับหุหุหุ เสียสละให้คนอื่นได้มีงานทำบ้างหายากครับพี่ท่าน :cool:
     
  4. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    ไม่เป็นไรครับ รู้จักกันผ่านพระพิมพ์วังหน้าเป็นทางเชื่อมก็ยังไม่สายและดีกว่าผ่านทางสายงานหรือมิตรภาพทั่วไปนะครับ :)
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่บอกว่า ได้ร่วมทำบุญกับเจ้าสัว

    เจ้าสัวที่ว่า ต่อให้แก๊งบัวใต้น้ำทั้งแก๊ง ตายแล้วเกิดใหม่อีก 100 ล้านชาติ ก็ยังมีเงินไม่เท่ากับดอกเบี้ยที่เจ้าสัวกลุ่มนี้ได้เดือนเดียวเลย

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  8. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    เอ้พี่หนุ่มพักร้อนยังไงกันรึคับ อยู่ที่ทำงานหุหุหุ ขยันจริงๆเลยนะครับพี่ท่าน
     
  9. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    แล้วคุณเฉลิมพลเป็นยังไงบ้างละครับพี่หนุ่ม ขอเอาใจช่วยให้น้ำลดเร็วๆและฝนอย่าตกซ้ำเลยนะครับ หาดใหญ่ก็เคยเจอน้ำท่วมใหญ่แต่ตอนนี้ไม่ท่วมแล้วละครับเพราะพระบารมีของในหลวงท่าน ให้ทำแก้มลิงแก้ ตั้งแต่นั้นไม่เคยท่วมอีกเลยครับ เพราะพระบารมีของพระองค์ท่านโดยแท้
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    คุณเฉลิมพล แจ้งว่า ตอนนี้น้ำยังไม่ท่วม

    แต่กรมชลประทาน แจ้งมาว่า น้ำกำัลังมา

    คุณเฉลิมพล น่าจะเตรียมตัวพร้อมครับ
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    เมื่อ วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมานี้ ผมและผบทบ.ได้ร่วมทำบุญกับพี่สาวพี่ใหญ่ ซึ่งรายนามผู้ที่เป็นประธาน หรือ รองประธาน หรือกรรมการ ล้วนแต่เป็นเจ้าสัวตัวจริงทั้งนั้น

    ได้ร่วมทำบุญในการสร้างฐาน เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ที่จังหวัดพิจิตร

    และผมและผบทบ.ได้ร่วมทำบุญกับพระอาจารย์วิชัย กับพี่เอื้อย ในการสร้างจตุรมุข (จำวัดและจังหวัดไม่ได้)

    มาร่วมโมทนาบุญกันครับ


    .---------------------------------------

    ประธานกรรมการ
    คุณสริยา สิวายุ
    คุณงามนิจ เรืองศร

    ประธานอุปถัมภ์
    คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร
    คุณหญิงโรส บริบาลบุรีภัณฑ์
    คุณหญิงจินดา จรุงเจริญเวช
    คุณประสิทธิ-คุณประพิศ เหตระกูล
    ดร.ชมนาถ รัตนมณี
    คุณสายพิน พหลโยธิน
    คุณลัดดา วิศวผลบุญ
    คุณบุญยนุช-คุณกาญต์ จงวณิช
    คุณมนวิภา ประชันคดี
    ดร.เกล้าทรวง สุพงษ์ธร

    รองประธานกรรมการ
    ศาสตร์จารย์สิทธิโชค - คุณวารุณี ศรีเจริญ
    คุณสุทธิชัย - คุณนงลักษณ์ ศรีเจริญ
    คุณประไพศรี เผ่าพันธ์

    เป็นต้น

    เป็นเจ้าภาพร่วมทอดกฐินสามัคคี กรุงเทพ - พิจิตร

    โมทนาบุญทุกประการครับ


    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รู้จักภัยน้ำท่วม และวิธีการรับมือน้ำท่วม


    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    เมื่อ ย่างเข้าสู่ปลายเดือนพฤษภาคม สายน้ำแห่งความชุ่มฉ่ำ จะค่อย ๆ ไหลรินลงมาจากก้อนเมฆบนท้องฟ้า นั่นหมายความว่า กำลังเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งสายฝนจะตกโปรยปรายลงมาให้ชุ่มฉ่ำ พืชผลทางการเกษตร ดอกไม้ ใบหญ้า จะได้สัมผัสกับน้ำฝนอย่างเต็มที่ เหล่าพายุต่าง ๆ แห่แหนพัดผ่านอยู่เนือง ๆ จนกว่าจะหมดฤดูในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งก่อนที่น้ำฝนจะเทลงมาในฤดูฝนนั้น เกษตรกรในแถบที่ราบสูงของไทย ต้องเผชิญกับความแห้งแล้งแสนสาหัส ถึงขนาดที่ต้องพึ่งพาโครงการฝนหลวง เพื่อให้ผลผลิตการเกษตรยังคงออกดอกออกผลอยู่ได้ แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนในปีนี้ ความดีใจของเกษตรกรกลับเปลี่ยนแปลงเป็นความทุกข์ใจอีกครั้ง เพราะฝนที่ยังคงตกอย่างต่อเนื่องไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ได้เปลี่ยนให้แผ่นดินที่แห้งแล้ง ต้องเผชิญกับน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมสูงจนทะลักเข้าสู่ที่พักอาศัย

    อุทกภัย หรือ ที่เราเรียกติดปากว่า น้ำท่วม คือ มหันตภัยร้ายที่เกิดขึ้นโดยเงื้อมมือของธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยน้ำท่วมออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้




    [​IMG]

    1. น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน เนื่อง จากฝนที่ตกติดต่อกันหลายชั่วโมง จนผืนดินไม่สามารถดูดซับน้ำได้ทัน น้ำฝนที่เทลงมาจึงไหลลงสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเกิดขึ้นในที่ราบสูง และไหลลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า จนทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน และทรัพย์สินเสียหาย

    2. น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง เพราะ ฝนที่ตกอย่างหนักทำให้พื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำออกได้ อีกทั้งน้ำในแม่น้ำลำคลองยังมีปริมาณมากจนล้นตลิ่ง และอาจทะลักเข้าถึงบ้านเรือนได้

    ในประเทศไทย เคยเกิดเหตุน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้งทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบภาคเหนือ และภาคอีสาน ไม่เว้นแม้แต่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครเอง ก็เคยประสบภัยน้ำท่วมมาแล้วเช่นกัน


    [​IMG]


    ย้อนรอยน้ำท่วม


    จ.ลพบุรี ที่ ราบสูงตอนกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี เพราะมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน โดยเฉพาะแม่น้ำสายสำคัญ อย่างแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ปัญหาน้ำท่วมจึงมีให้เห็นเป็นประจำอยู่ทุกปี แม้จะมี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ คอยกักเก็บและควบคุมปริมาณน้ำอยู่ก็ตาม ในปี 2553 นี่ก็เช่นกัน จ.ลพบุรี ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก ต้องปิดโรงเรียน และระดมหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลายครัวเรือน

    จ.ลำปาง หนึ่ง ในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่ อ.แจ้ห่ม ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำ ที่มีแม่น้ำแม่สอย และแม่น้ำวัง ไหลผ่านมาบรรจบกัน อีกทั้งสภาพภูมิศาสตร์ จ.ลำปาง ยังเป็นพื้นดินต่ำ มีภูเขาล้อมรอบ จนถูกเรียกว่า อ่างลำปาง โดยล่าสุดน้ำป่าไหลหลากและน้ำจากแม่น้ำก็ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนใน อ.แจ้ห่ม และบริเวณรอบ ได้รับความเสียหาย มีระดับน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร มีผู้ประสบภัยนับ 1,000 หลังคาเรือน

    จ.เชียงราย คือจังหวัดใหญ่ทางภาคเหนือ ที่แม้จะอยู่เหนือสุดของประเทศไทย แต่ก็ยังต้องประสบภัยน้ำท่วมอย่างหนักในปีนี้ เนื่องจากฝนที่ตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากทะลักล้นเข้าสู่บ้านเรือน ใน 5 อำเภอ ที่ได้รับความเดือดร้อนหนัก คือ อ.ดอยหลวง, อ.พญาเม็งราย, อ.แม่จัน , อ.แม่ฟ้าหลวง และ อ.เวียงเชียงรุ้ง อีกทั้งล่าสุดอ่างเก็บน้ำห้วยพลู ก็ยังแตกออกจนเป็นเหตุให้น้ำทะลักและดินทรุดตัวลง รวมถึงถนนขาดออกจากกันอีกด้วย

    กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ก็เคยประสบปัญหาน้ำท่วมมาแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะในปี 2538 น้ำท่วมขังอยู่นานราว 2 เดือน คนเมืองหลวงต่างต้องใช้ชีวิตท่ามกลางน้ำท่วมขัง ถือเป็นภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้สาเหตุมาจากกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต่ำและกำลังทรุดตัวลงอยู่เรื่อย ๆ ประกอบกับน้ำทะเลที่ค่อย ๆ หนุนสูงขึ้นทุกปี

    นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางจังหวัดของประเทศไทย ที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก และยังคงมีอีกหลายจังหวัดที่ยังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วม จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่ประชาชนจะต้องรับรู้ไว้ เพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้

    วิธีรับมือน้ำท่วม

    1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น

    2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ไฟฉาย และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม

    3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)

    4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง

    5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน

    6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ

    7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม

    8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

    9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด

    10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด

    11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน

    12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที

    หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมและหมายเลขสอบถามข้อมูลน้ำท่วมต่าง ๆ

    1. กรมอุตุนิยมวิทยา

    - เว็บไซต์ tmd.go.th

    - สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา หมายเลขโทรศัพท์ 1182, 02-398-9830

    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) หมายเลขโทรศัพท์ 02-383-9003-4, 02-399-4394

    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 044-255-252

    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 055-284-328-9

    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 038-655-075, 038-655-477

    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 076-216-549

    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 077-511-421

    2. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    - เว็บไซต์ disaster.go.th

    - สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784

    - ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่ disaster.go.th

    - หรือสามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่ง

    3. ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา

    - สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-342652-4 และ 044-342570-7

    4. ศูนย์รับบริจาคเงิน-สิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัยเนชั่น

    - หมายเลขโทรศัพท์ 02-338-3333 และ 02-338-3000 กด 3


    5. ครอบครัวข่าวช่อง 3 ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53

    - ชื่อบัญชี "ครอบครัวข่าว ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53" บัญชีกระแสรายวัน หมายเลข 014-3-003-689 ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม 4 อาคารมาลีนนท์

    6. สน.ประชาชน ทีวีไทย รับแจ้งข้อมูลน้ำท่วม และร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย

    - หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-1385-7

    7. ศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ที่โคราช รายการเช้าข่าวข้น+อสมท.

    - สามารถนำไปให้ที่อสมท.เช่น อาหารแห้ง, เรือ, ผ้าอนามัย, ไฟฉาย หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-6000 ที่อยู่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)‎ 63/1 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 แผนที่ mcot.net

    8. มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน

    - รวบรวมสิ่งของบริจาค ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม หมายเลขโทรศัพท์ 02-465-6165

    9. ททบ.5

    - ชื่อบัญชี "กองทัพบก โดยททบ.ช่วยภัยน้ำท่วม" บัญชีธนาคารทหารไทย สาขาสนามเป้า บัญชีออมทรัพย์ 021-2-69426-9 หรือสามารถส่งความช่วยเหลือได้ที่สถานีททบ.5

    10. จส. 100

    - สอบถามน้ำท่วมถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-242-047 ต่อ 21, 044-212-200, 037-211-098, 036-461-422, 036-211-105 ต่อ24

    11. การรถไฟแห่งประเทศไทย

    - สอบถามการเดินรถไฟได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1690, ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน หมายเลขโทรศัพท์ 1669
    12. บริษัทขนส่ง

    - สอบถามการเดินรถได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1490

    13. ร.พ.มหาราช จ.นครราชสีมา

    - หมายเลขโทรศัพท์ 086-251-2188 ตลอด 24 ชั่วโมง

    - ทางโรงพยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก

    - สามารถโอนเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา เลขบัญชี 3013165804 และ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาหัวทะเล นครราชสีมา เลขบัญชี 7902605487

    14. สภากาชาดไทย

    - หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603


    - สามารถบริจาคเงิน ได้ที่หมายเลขบัญชี สภากาชาดไทย ชื่อบัญชี สภากาชาดไทย เพื่อการรับบริจาคเงินต่าง ๆ เลขที่บัญชี 045-2-88000-6 บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ หมายเลขโทรสาร 02-252-7795 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4047


    - สามารถบริจาคสิ่งของ ได้ที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และ ประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976


    - สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือสอบถามรายละเอียดที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603

    15. Facebook

    - รวมพลังไปช่วยน้ำท่วมกัน (กรุณากดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยคะ)







    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ, สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8, ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ, สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ, สภากาชาดไทย


    .

     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ค่ำนี้มีพระพิมพ์ลอยองค์มาฝาก..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010142.JPG
      P1010142.JPG
      ขนาดไฟล์:
      203.8 KB
      เปิดดู:
      65
    • P1010143.JPG
      P1010143.JPG
      ขนาดไฟล์:
      142.8 KB
      เปิดดู:
      50
    • P1010144.JPG
      P1010144.JPG
      ขนาดไฟล์:
      118.5 KB
      เปิดดู:
      59
    • P1010145.JPG
      P1010145.JPG
      ขนาดไฟล์:
      201.9 KB
      เปิดดู:
      59
    • P1010146.JPG
      P1010146.JPG
      ขนาดไฟล์:
      202.9 KB
      เปิดดู:
      66
    • P1010147.JPG
      P1010147.JPG
      ขนาดไฟล์:
      198.6 KB
      เปิดดู:
      71
  14. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เป็นวงรอยก้นหอย แห้งซะอย่างนั้น s6..s6..:cool:
     
  16. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    สวยจังเลยนะครับพี่เพชร ขอบพระคุณที่นำมาให้ชมนะครับ
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สมเด็จพระวันรัต(ทับ) วัดโสมนัส กับ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์


    ภาพปริศนา ? "พระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก" ความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อน
    http://palungjit.org/showthrea...2445&page=1268

    [​IMG]

    ใคร ก็ตามที่ผ่านสายตาไปยังหนังสือซึ่งรวบรวมเรียบเรียงเรื่องราวของสมเด็จพระพุ ฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม มาบ้างแล้ว อย่างน้อยต้องพบภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก

    ภาพที่เข้าใจกันว่าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    อัน เป็นภาพที่ปรากฏบนหน้าหนังสือเกี่ยวกับอัตโนประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่บ่อยๆ จนมีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนตลอดมา แท้จริงภาพนี้มีการเข้าใจผิดมาอย่างเนิ่นนาน

    ในนิตยสาร "ชุมนุมจุฬาฯ" ปีที่ 14 เล่มที่ 3 ฉบับ 23 ตุลาคม พ.ศ.2503 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพนี้ทั้งบรรยายว่า

    "พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิยมหาราช เมื่อทรงพระเยาว์กำลังทรงพระอักษรกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม

    ภาพโดยความเอื้อเฟื้อของ พล.ร.ต.หลวงสุวิชาแพทย์"

    หาก สังเกตจะพบว่าสมณศักดิ์ของท่านนั้นผิด สมณศักดิ์ของท่านซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" ในปี พ.ศ.2395 ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 64 ปีแล้ว

    ในปี พ.ศ.2397 ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระเทพกวี" จนกระทั่งปี พ.ศ.2407 ทรงสถาปนาเป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์"

    ขณะ เดียวกัน ในคำแถลงจากสาราณียกรของหนังสือ "ชุมนุมจุฬาฯ" ดังกล่าว ก็ว่า "พระบรมฉายาลักษณ์ขององค์สมเด็จพระปิยมหาราชในสมัยยังทรงพระเยาว์อันเป็นพระ บรมฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยาก อัญเชิญมาประดับเป็นศรีแก่เล่ม เนื่องในวาระสำคัญนี้ด้วย" ยิ่งเสริมความเชื่อเป็นอันมากว่า คือ พระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ครั้งทรงพระเยาว์

    แท้ จริงภาพนี้มีที่มาในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2524 หน้า 33 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพใบนี้ พร้อมคำอธิบายจาก "นิวัติ กองเพียร" ว่า รูปนี้ไม่ใช่รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ เหตุผลประกอบดังนี้

    1. รูปนี้ได้มาจากหนังสือฝรั่งชื่อ "SIAM"

    2. พัดรองที่วางพิงผนังอยู่นั้น เป็นพัดที่นิยมทำก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาไม่มีความนิยมในการทำพัดรองอีกเลย

    3. ถ้ารูปนั้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์จริง ท่านต้องห่มดองและรัดประคดอก มิใช่อย่างที่เห็นในรูป แม้แต่พระรุ่นเก่าที่วัดระฆังโฆสิตาราม ที่เคยเห็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็ยืนยันว่ามิใช่สมเด็จแน่

    4. เจ้านายหลายพระองค์ ที่เป็นพระธิดาหรือพระโอรสก็ยืนยันว่า มิใช่พระราชบิดาแน่นอน

    หนังสือ ฝรั่ง "SIAM" ที่ว่า ก็คือ หนังสือชื่อยาวเฟื้อยว่า "TWENTIETH CENTURY IMPRESSION OF SIAM : ITS HISTORY, PEOPLE COMMERCE, INDUSTRIES, AND RESOURCES WITH WHICH IS INCORPORATED AN ABRIDGED EDITION OF TWENTIETH CENTURY IMPRESSIONS OF BRITISH MALAYA"

    แปล ชื่อเป็นไทยว่า "เรื่องน่ารู้ของสยามในศตวรรษที่ 20 ว่าด้วยประวัติศาสตร์ พลเมือง พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และทรัพยากร รวมเรื่องน่ารู้ของบริติชมลายาในศตวรรษที่ 20 โดยสังเขป" อันเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2452 อันเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ทั้งยังให้คำอธิบายรูปนี้ไว้ว่า "Buddhist Priest and Disciple"



    นอก จากนี้ ในการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระกรุณาประทานภาพส่วนพระองค์ อันเกี่ยวเนื่องกับประเทศสยามให้กับผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ด้วย

    อย่าง ไรก็ตามแต่ ในหนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ.2507 ในเรื่อง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)" อันเขียนโดย อธึก สวัสดิมงคล ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเป็นภาพที่เข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน ดังในหน้า 11 ที่ให้ข้อมูลความเป็นมาของภาพใบนี้จากลายพระหัตถ์หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ว่า

    "สม เด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้นไม่ช้าจะเป็นอะไรๆ สักร้อยอย่างเป็นเรื่องหากินทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ใครอยากรู้อะไร ก็นั่งวิปัสสนาเอาได้ ไม่ช้าคงต้องร้อนถึงทางการเข้าเล่นด้วยเป็นแน่ มีผู้เอาภาพพระแก่กับเด็กลูกศิษย์สอนหนังสือกัน ฉันจำได้ว่า "โรเบิร์ต เลนส์" ขอประทานให้เสด็จพ่อทรงช่วยทำโปสการ์ดเผยแพร่เมืองไทย และท่านได้ถ่ายรูปฉันแต่งลาวน่าน หญิงเหลือส่องกระจก พร้อมกับทำรูปนี้ด้วย แต่บัดนี้กลายเป็นรูปสมเด็จโตสอนหนังสือพระพุทธเจ้าหลวง แย่จริงๆ น่ากลัวพงศาวดารจะเลอะเทอะกันใหญ่เสียแล้ว"

    สำหรับ โรเบิร์ต เลนส์ เป็นช่างภาพชาวเยอรมัน เจ้าของห้องถ่ายรูปโรเบิร์ต เลสน์ ดำเนินธุรกิจถ่ายรูป เมื่อ พ.ศ.2437 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เป็นช่างภาพราชสำนักรัชกาลที่ 5

    นอก จากนี้ ยังมีผู้กล่าวว่า พระภิกษุในภาพคือ พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งภาพดังกล่าวอาจจะไม่ได้ถ่ายที่ชัยนาท ถ้าหากเป็นหลวงปู่ศุขจริง อาจจะถ่าย ณ ตำหนักเหลืองในวังพลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ก็เป็นไปได้

    ทั้ง นี้ เพราะหลวงปู่ศุข จะมาพำนักที่ตำหนักเหลืองเป็นประจำทุกปี เพื่อมาร่วมงานในพิธีไหว้ครูประจำปีของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งทรงเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข

    อย่าง ไรก็ตาม ไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นภาพของหลวงปู่ศุข ทั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล เมื่อครั้งทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ก็มิได้เอ่ยถึงว่าเป็นพระภิกษุรูปใด

    .......บทความคัดลอกจาก มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1302
    .



    .



    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG]

    พระประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ


    http://www.dharma-gateway.com/monk/m...ja-09-hist.htm


    สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว)


    วัดราชประดิษฐ์


    นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๐


    [​IMG]

    เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) เป็นชาวตำบลบางไผ่ (๑) จังหวัดนนทบุรีประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๑๗๕ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๖ ในรัชกาลที่ ๒ โยมบิดาชื่อ จันท์ โยมมารดาชื่อ สุข มีพี่น้องชายหญิงรวมด้วยกัน ๕ คนคือ
    ๑. หญิงชื่อ อวบ
    ๒. ชายชื่อ ช้าง ภายหลังได้รับพระทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระสุภรัตกาสายานุรักษ์
    ๓. ชายคือ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา)
    ๔. ชายชื่อ สัง ได้อุปสมบทอยู่วัดบวรนิเวศวิหารและได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระสมุทรมุนี ภายหลังลาสิกขา
    ๕. หญิงชื่อ อิ่ม
    กล่าวกันว่าโยมบิดาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นชาวตำบลบางเชิงกราน จังหวัดราชบุรี ได้เคยบวชเรียน จนเป็นผู้ชำนาญในการเทศน์มิลินท์และมาลัย แม้เมื่อลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาสแล้วก็ยังเรียกกันติดปากว่า “จันท์มิลินท์มาลัย” ส่วนโยมมารดาเป็นชาวตำบลบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี (๒) สำหรับโยมบิดานั้น นอกจากจะได้เคยบวชเรียนเป็นนักเทศน์มีชื่อแล้ว คงจักได้เล่าเรียนมีความรู้ในทางพระปริยัติธรรมมาเป็นอย่างดีด้วย ถึงได้เป็นอาจารย์บอกหนังสืออยู่ในพระราชวังบวรด้วยท่านหนึ่ง (๓)
    เนื่องจากโยมบิดาเป็นผู้มีความรู้ดีในด้านอักษรสมัยและในทางพระปริยัติธรรม ถึงขั้นเป็นอาจารย์บอกหนังสือ (คือสอนหนังสือ) ในพระราชวังบวร การศึกษาในเบื้องต้นของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงเข้าใจว่าคงศึกษากับโยมบิดานั่นเอง และเรื่องที่ศึกษาเล่าเรียนก็คงจะหนักไปทางด้านพระศาสนาอันเป็นวิชาที่โยม บิดาถนัด นี้ก็อาจจะเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่นำให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีอุปนิสัยน้อมไปในทางบรรพชา จนเป็นเหตุให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรแต่ยังเยาว์ในเวลาต่อมา
    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้บรรพชาเป็นสามเณรแต่ยังเยาว์ ในรัชกาลที่ ๓ เดิมอยู่ที่วัดใหม่บางขุนเทียน ต่อมาได้ย้ายมาอยู่วัดสังเวชวิศยารามเพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ส่วนการเรียนพระปริยัติธรรมนั้น เข้าไปเรียนในพระราชวังบวรกับอาจารย์อ่อน (ฆราวาส) และกับโยมบิดาของพระองค์ท่านเอง ซึ่งเป็นอาจารย์บอกหนังสืออยู่ในพระราชวังบวรนั้นด้วยกัน (๔)
    ครั้น พ.ศ. ๒๓๖๙ พระชนมายุได้ ๑๔ ปี ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรก แปลได้เพียง ๒ ประโยค จึงยังไม่ได้เป็นเปรียญ แต่เรียกกันว่า “เปรียญวังหน้า” ที่เรียกกันว่าเปรียญวังหน้านั้น ก็ด้วยเหตุที่ว่า ประเพณีการแปลพระปริยัติธรรมในสมัยนั้น ผู้เข้าแปลทีแรกต้องแปลพระธรรมบทให้ได้ครบ ๓ ประโยคในคราวเดียวจึงนับว่าเป็นเปรียญ ถ้าไม่ได้ครบทั้ง ๓ ประโยค เข้ามาแปลคราวหน้าก็ต้องแปลแต่ประโยค ๑ ไปใหม่ ครั้งนั้น กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ มีพระประสงค์จะทรงอุปการะแก่พระภิกษุสามเณรที่เล่าเรียน มิให้ท้อถอยจากความเพียรไปเสีย ถ้ารูปใดแปลได้ ๒ ประโยคก็ทรงรับอุปการะไป จนกว่าจะเข้าแปลใหม่ได้เป็นเปรียญ พระภิกษุสามเณรที่ได้รับพระราชทานอุปการะเหล่านั้น จึงพากันเรียกว่า เปรียญวังหน้า
    ต่อมา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ แต่ครั้งยังเป็นสามเณร ได้เข้าถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเมื่อทรงผนวชประทับอยู่ ณ วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อ และได้ทรงศึกษาเล่าเรียนสืบมาในสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น กระทั่งพระชนมายุได้ ๑๘ ปี จึงได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง และครั้งนี้ทรงแปลในคราวเดียวได้หมดทั้ง ๙ ประโยค ได้เป็นเปรียญเอกแต่ยังทรงเป็นสามเณร(๕) นับเป็นสามเณรองค์แรกที่เป็นเปรียญ ๙ ประโยคในยุคกรุงรัตนโกสินทร์(๖)
    เป็นที่น่าสังเกตว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ถวายตัวศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ณ วัดราชาธิวาสเพียง ๔ ปีเท่านั้น ก็มีความรู้แตกฉานในพระปริยัติธรรม จนสามารถแปลพระปริยัติธรรมได้ในคราวเดียวหมดทั้ง ๙ ประโยค อันแสดงให้เห็นว่า เพราะทรงได้พระอาจารย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในทางพระปริยัติธรรม คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบกับพระวิริยะอุตสาหะ และพระสติปัญญาอันเฉียบแหลมส่วนพระองค์ด้วยนั่นเอง จึงทรงมีความรู้แตกฉาน ในสิ่งที่ทรงศึกษาเล่าเรียน เพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น ซึ่งน้อยคนนักที่จะทำได้
    ครั้นถึงปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖ มีพระชนมายุครบ ๒๐ ปี เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็อุปสมบท ณ วัดราชาธิวาส มีพระนามฉายาว่า ปุสฺโส แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ว่าพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์คือใคร แต่ตามทางสันนิษฐานว่า ในเวลาที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา) มีพระชนมายุครบอุปสมบทนั้น เป็นเวลาที่พระสงฆ์ธรรมยุตนิยมพระอุปัชฌาย์รามัญ ซึ่งมีพระสุเมธาจารย์ (เกิด) เป็นพระอุปัชฌาย์อยู่ด้วยรูปหนึ่ง และเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์อยู่ ฉะนั้น จึงน่าเป็นไปได้ว่า พระอุปัชฌาย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในการอุปสมบทครั้งนั้น คือพระสุเมธาจารย์ (เกิด) พระกรรมวาจาจารย์ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(๗)
    พ.ศ. ๒๓๗๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชอยู่ ให้เสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นพระเปรียญเอกพรรษา ๔ ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารด้วย
    ครั้น พ.ศ. ๒๓๘๒ พรรษา ๖ ทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระอมรโมลี (ไม่พบประกาศทรงแต่งตั้ง) จะเห็นได้ว่าทรงได้รับยกย่องให้ดำรงอยู่ในฐานะพระเถระผู้ใหญ่ตั้งแต่ทรงมี อายุพรรษา ๖ (คือพระชนมายุ ๒๖) เท่านั้น ทั้งนี้ก็คงเนื่องด้วยทรงมีพระปรีชาแตกฉาน ในพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัยเป็นมูลนั่นเอง
    การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จจากวัดราชาธิวาส มาครองวัดบวรนิเวศวิหารนั้น นับเป็นครั้งแรกที่พระสงฆ์ธรรมยุตได้มีวัดเป็นสำนักของตนเองเป็นเอกเทศ เพราะก่อนแต่นั้นพระสงฆ์ธรรมยุตก็ยังคงอยู่รวมในวัดเดียวกันกับพระสงฆ์เดิม
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เมื่อมีสำนักเป็นเอกเทศขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงปรับปรุงระเบียบปฏิบัติด้านต่าง ๆ ของพระสงฆ์ในปกครองของพระองค์ได้อย่างเต็มที่ เช่น ทรงตั้งธรรมเนียมนมัสการพระเช้าค่ำ ที่เรียกกันทั่วไปว่า ทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ เป็นประจำวันขึ้น พร้อมทั้งทรงพระราชนิพนธ์คำนมัสการพระรัตนตรัยเป็นภาษามคธ (ภาษาบาลี) ขึ้นใหม่ ที่เรียกกันว่า บททำวัตรเช้าค่ำ ดังที่ใช้สวดกันทั่วไปในบัดนี้ ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) มีการแสดงพระธรรมเทศนาแก่พุทธศาสนิกชนเป็นต้น ในด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงส่งเสริมการเรียนพระปริยัติธรรมให้รุ่งเรือง โดยพระองค์ทรงบอกพระปริยัติธรรม (คือสอน) ด้วยพระองค์เอง มีพระภิกษุสามเณรเป็นศิษย์เข้าแปล (คือสอบในสนามหลวง) ได้เป็นเปรียญประโยคสูงถึงประโยค ๙ หลายรูป
    การเรียนพระปริยัติธรรมของสำนักวัดบวรนิเวศวิหารในยุคนั้นรุ่งเรืองมาก พระเปรียญพูดภาษามคธได้คล่อง และคงเนื่องด้วยเหตุนี้เอง วัดบวรนิเวศวิหารในครั้งนั้น จึงต้องทำหน้าที่รับรองพระสงฆ์ลังกาที่เข้ามาเจริญศาสนไมตรีกับไทย ถึงกับต้องมีเสนาสนะหมู่หนึ่งไว้รับรองที่วัดบวรนิเวศวิหาร เรียกว่าคณะลังกา (ปัจจุบันรื้อไปแล้ว)(๘)
    ในส่วนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์ก็ทรงศึกษาภาษาละตินและภาษาอังกฤษกับชาวต่างประเทศ จนทรงสามารถตรัส เขียน อ่านได้อย่างคล่องแคล่ว(๙) แม้พระภิกษุสามเณรที่เป็นศิษย์ในพระองค์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ก็เข้าใจว่าคงได้รับการส่งเสริมให้เรียนภาษาต่างประเทศที่นอกเหนือไปจากภาษา มคธด้วยเช่นกัน ดังปรากฏในประวัติของพระอมราภิรักขิต (อมโร เกิด) ซึ่งเป็นศิษย์หลวงเดิมท่านหนึ่ง และได้เป็นสมณทูตไปลังกาถึง ๒ ครั้ง ว่า สามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว จนชาวลังกายกย่องเป็นอันมาก (๑๐) เป็นตัวอย่าง
    เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชก็คงจะเช่นเดียวกัน นอกจากจะทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจนมีความแตกฉานคล่องแคล่วในภาษามคธแล้ว ก็คงจักได้ศึกษาภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ด้วย ตามความนิยมของสำนักวัดบวรนิเวศวิหารในครั้งนั้น ดังปรากฏในคำประกาศทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ตอนหนึ่งว่า “มีสุตาคมปัญญารอบรู้ในอักษรแลภาษาซึ่งเปนสกะไสมยปะระไสมย คือ ขอม ไทย แลสิงหฬ รามัญ สังสกฤตพากย์ เป็นต้นโดยพิศดาร(๑๑)
    เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงอยู่ในฐานะพระเถระผู้ใหญ่ ผู้เป็นต้นวงศ์แห่งคณะธรรมยุตรูปหนึ่งในจำนวน ๑๐ รูป ดังที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์สมณศาส์นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงผนวชอยู่ พระราชทานไปยังพระสงฆ์ในประเทศลังกา ว่า

    ทส คณิสสรา เถรา ธมฺมยุตฺติกวํสิกา
    ตนฺนิกายิกสงฺเฆน สพฺพกิจฺเจสุ สมฺมตา
    อเนกภิกฺขุสตานํ ปิตโร ปริณายกา
    ตสฺเสว ภูปตินฺทสฺส ปิโย กนิฏฺภาตุโก
    เถโร วชิรญาโณ จ ปาโมกฺโข คณเชฏฺโก
    เถโร พฺรหฺมสโร เจว เถโร ธมฺมสิริวฺหโย
    เถโร พุทฺธสิริ เจว เถโร ปญฺญาคฺคนามโก
    เถโร ธมฺมรกฺขิโต จ เถโร จ โสภิตวฺหโย
    เถโร พุทฺธิสณฺหนาโม เถโร ปุสฺสาภิธานโก
    เถโร สุวฑฺฒโน จาปิ สพฺเพ สมานฉนฺทกา
    ฯลฯ​

    พระ เถระเจ้าคณะฝ่ายธรรมยุตติกวงศ์ อันพระสงฆ์นิกายนั้นสมมติ (แต่งตั้งให้เป็นผู้บริหาร) ในกิจทั้งปวง เป็นบิดา เป็นปริณายกแห่งภิกษุหลายร้อยรูป พระเถระทรงพระนามว่าวชิรญาณะ ผู้เป็นพระกนิฐภาดาที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น เป็นผู้ใหญ่ในคณะ เป็นประธาน ๑ พระเถระนามว่า พรหมสระ ๑ พระเถระนามว่า ธัมมิสิริ ๑ พระเถระนามว่า พุทธสิริ ๑ พระเถระนามว่า ปัญญาอัคคะ ๑ พระเถระนามว่า ธัมมรักขิตะ ๑ พระเถระนามว่า โสภิตะ ๑ พระเถระนามว่า พุทธิสัณหะ ๑ พระเถระนามว่า ปุสสะ ๑ พระเถระนามว่า สุวัฑฒนะ ๑ ทุกรูปเป็นผู้มีฉันทะเสมอกัน ฯลฯ (๑๒)
     

แชร์หน้านี้

Loading...