ความลับของจักรวาล ในพระไตรปิฏก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย pokemonni03, 16 มิถุนายน 2010.

  1. pokemonni03

    pokemonni03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +161
    ความลับของจักรวาล ในพระไตรปิฏก


    ขนาดของจักรวาล


    จักรวาลอันหนึ่ง โดยยาวและโดยกว้าง ประมาณ ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร)
    ส่วนโดยรอบปริมณฑลทั้งสิ้น (ของจักรวาลนั้น) ประมาณ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์


    ขนาดหนาของแผ่นดิน ในจักรวาลนั้น
    แผ่นดินนี้ กล่าวโดยความหนา มีประมาณถึงเท่านี้ คือ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์


    ขนาดหนาของน้ำรองแผ่นดิน สิ่งที่รองแผ่นดินนั้นหรือ
    คือน้ำอันตั้งอยู่บนลม โดยความหนามีประมาณถึงเท่านี้ คือ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์


    ขนาดความหนาของลมรองน้ำ
    ลมอัน (พัดดัน) ขึ้นฟ้า (โดยความหนา) มีประมาณ ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ นี่เป็นความตั้งอยู่พร้อมมูลแห่งโลก


    ขนาดภูเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ) และต้นไม้ประจำทวีป
    อนึ่ง ในจักรวาลที่ตั้งอยู่พร้อมมูลอย่างนี้นั้น มี
    ภูเขาสิเนรุอันเป็นภูเขาสูงที่สุด หยั่ง (ลึก) ลงไปในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไป (ในฟ้า) ก็ประมาณเท่ากันนั้น
    ภูเขาใหญ่ทั้งหลาย คือภูเขายุคันธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวีกะ ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธระ
    ภูเขาวินตกะ ภูเขาอัสสกัณณะ อันตระการไปด้วยรัตนะหลากๆ ราวกะภูเขาทิพย์ หยั่ง (ลึก) ลงไป
    (ในมหาสมุทร) และสูงขึ้นไป (ในฟ้า) โดยประมาณกึ่งหนึ่งแต่ประมาณแห่งภูเขาสิเนรุไปตามลำดับ
    ภูเขาใหญ่ทั้ง ๗ นั้น (ตั้งอยู่) โดยรอบภูเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ (จาตุ)มหาราช เป็นที่ๆ เทวดา และยักษ์อาศัยอยู่


    ภูเขาหิมวาสูง ๕๐๐ โยชน์ ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ (เท่ากัน) ประดับไปด้วยยอดถึง ๘๔,๐๐๐ ยอด
    ต้นชมพู (หว้า) ชื่อนคะ วัดรอบลำต้นได้ ๑๕ โยชน์ ลำต้นสูง ๕๐ โยชน์ และกิ่ง (แต่ละกิ่ง)
    ก็ยาว ๕๐ โยชน์ แผ่ออกไปวัดได้ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ และสูงขึ้นไปก็เท่ากันนั้น ด้วยอานุภาพของ
    ต้นชมพู (นี้) ไรเล่า ทวีปนี้จึงถูกประกาศชื่อว่า ชมพูทวีป
    ก็แลขนาดของต้นชมพูนี้ใด ขนาดนั้นนั่นแหละเป็นขนาดของต้นจิตรปาฏลี (แคฝอย) ของพวกอสูร
    ต้นสิมพลี (งิ้ว) ของพวกครุฑ ต้นกทัมพะ (กระทุ่ม) ในอมรโคยานทวีป ต้นกัปปะในอุตตรกุรุทวีป
    ต้นสิรีระ (ซึก) ในบุพพวิเทหทวีป ต้นปาริฉัตตกะ ในดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้นแล ท่านโบราณจารย์จึงกล่าวไว้ว่า
    (ต้นไม้ประจำภพและทวีป คือ) ต้นปาฏลี ต้นสิมพลี ต้นชมพู ต้นปาริตฉัตตะของพวกเทวดา
    ต้นกทัมพะ ต้นกัปปะ และต้นที่ ๗ คือ ต้นสิรีสะ ดังนี้




    ขนาดภูเขาจักรวาล

    ภูเขาจักรวาล หยั่ง (ลึก) ลงไปในมหาสมุทร ๘๒,๐๐๐ โยชน์
    สูงขึ้นไป (ในฟ้า) ก็เท่ากันนั้น
    ภูเขาจักรวาลนี้ตั้งล้อมโลกธาตุทั้งสิ้นนั้นอยู่


    ขนาดของภพและทวีป
    ในโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ภพดาวดึงส์ ๑๐,๐๐๐ โยชน์ ภพอสูร มหานรกอเวจี และชมพูทวีปก็
    เท่ากันนั้น อมรโคยานทวีป ๗,๐๐๐ โยชน์ บุพพวิเทหทวีปก็เท่านั้น อุตตรกุรุทวีป ๘,๐๐๐ โยชน์ อนึ่ง ในโลกธาตุนั้น
    ทวีปใหญ่ๆ ทวีป ๑ ๆ มีทวีปน้อยเป็นบริวาร ทวีปละ ๕๐๐
    สิ่งทั้งปวง (ที่กล่าวมานี้) นั้น (รวม) เป็นจักรวาล ๑ ชื่อว่า โลกธาตุอัน ๑ ๑ในระหว่างแห่งโลกธาตุ
    ทั้งหลายมีโลกันตนรก (แห่งละ ๑)


    ๑. มหาฎีกาว่า จักรวาล ก็คือโลกธาตุ โลกธาตุได้ชื่อว่า จักรวาล ก็เพราะมีภูเขาจักรวาล ซึ่งสัณฐานดังกง
    รถล้อมอยู่โดยรอบเท่านั้นเองไม่ใช่จักรวาลอัน ๑ โลกธาตุอัน ๑
    ๒. ท่านว่าจักรวาลหรือโลกธาตุนั้นมีมากนัก ช่องว่างในระหว่างจักรวาล ๓ จักรวาลต่อกัน มีโลกันตนรก ๑
    ทุกแห่งไป โดยนัยนี้ คำว่า โลกันตนรก ก็แปลว่า นรกอันตั้งอยู่ในช่องระหว่างจักรวาล ๓ อันนั่นเอง



    พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "จูฬนีสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๒๑๕ เล่ม ๒๐ ว่า
    จักรวาล ประกอบด้วยดวงจันทร์ โลก ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจร ไปร่วมกัน
    จะมีขุนเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ) (เป็นภูเขาทิพย์ที่เห็นได้เฉพาะผู้มีอภิญญา) ทวีปต่างๆ ที่ตั้งชื่อกันในสมัย
    นั้นคือ ชมพูทวีป อปรโคยานทวีป อุตรกุรุทวีป และปุพพวิเทหทวีป มหาสมุทรทั้ง ๔ (นับกันได้ในสมัยนั้น)
    มีนรกขุมต่างๆ สวรรค์ชั้นต่างๆ และพรหมโลกชั้นต่างๆ
    โลกธาตุ มี ๓ ขนาด คือ โลกธาตุอย่างเล็กมีจำนวนพันจักรวาล โลกธาตุอย่างกลางมีจำนวนล้านจักรวาล
    โลกธาตุอย่างใหญ่มีจำนวน แสนโกฏิจักรวาล

    ทั้งโลกธาตุอย่างเล็กก็ดี อย่างกลางก็ดี อย่างใหญ่ก็ดี ยังมีอีกจำนวนมากมาย
    "ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับไปในที่สุด"
    กำเนิดของโลกพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "อัคคัญญสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๖๑ เล่ม ๑๑ ว่า
    เกิดมีน้ำขึ้นในห้วงอวกาศอันมืดมิดก่อนแล้วนานๆไปเกิดการรวมตัวงวดเข้าเป็นง้วนดิน แล้วพัฒนาเป็นกระบิดิน
    ต่อไปเป็นเครือดิน จากนั้นมีต้นข้าวและพืชทั้งหลายเกิดขึ้น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หมู่ดาว
    นรกขุมต่างๆ เทวโลก และพรหมโลกชั้นต่างๆ ก็เกิดขึ้นเอง

    กำเนิดชีวิตพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า "เพราะมีความอยาก จึงมีการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลขึ้นมา
    เมื่อไม่มีความอยากการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลก็ไม่มี"

    กำเนิดชีวิตในจักรวาลอื่น ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่มี ?
    และยังคงไม่มีใครสามารถสร้างเครื่องมือติดต่อค้นหาเพื่อตอบคำถามนี้ได้
    แต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แน่นอนมากว่าสองพันปีแล้วว่า "มี"


    นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า "ดวงอาทิตย์ มีเส้นผ่าศูยน์กลางประมาณ ๑,๔๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร
    หรือโตกว่าโลกประมาณ ๑๐๙ เท่า มีน้ำหนักประมาณ ๒ x ๑,๐๓๐ กิโลกรัม (หรือ ๒๐ ตามด้วย ๐ จำนวน ๓๐ ตัว)
    เนื้อตัวทั้งหมดของดวงอาทิตย์เป็นธาตุไฮโดรเจนซึ่งเป็นธาตุเบา เผาไหม้ตัวเองด้วยปฏิกิริยา
    เทอร์โมนิวเคลียร์ จากภายในใจกลางออกมาไม่ใช่เผาไหม้เฉพาะพื้นผิว
    สิ้นมวลของตัวเองวินาทีละ ๔ ล้านตัน เผาไหม้อย่างนี้มาแล้ว ๕,๕๐๐ ล้านปี
    และจะเผาไหม้อย่างนี้ต่อไปอีก ๕,๕๐๐ ล้านปี" เมื่อเป็นเช่นนี้ลองคิดดูว่าวันหนึ่งมีกี่วินาที ?
    ต่อให้ดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์นั้นใหญ่โตขนาดไหนก็ตาม น่าจะย่อยยับหมดสิ้นภายในวันเดียว
    แต่ดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์นั้นก็ยังอยู่ยืนยาวมานานนับพันๆล้านปี โดยยังมีขนาดเท่าเดิม "
    นี้คือความมหัศจรรย์ที่ยังคงเหนือการพิสูจน์



    อีกอย่างหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนว่า "เวลาอันยาวนานในอนาคต
    ดวงอาทิตย์จะขยายตัวบวมขึ้นจนมีขนาดโตถึงวงโคจรของโลก
    แล้วกลืนกินโลกและดาวเคราะห์วงในทั้งหมด และเมื่อเวลายาวนานอีกต่อไป
    ก็จะค่อยๆยุบตัวลงกลายเป็นดาวแคระ คือจะมีขนาดเล็กลงเท่าโลกแต่มีความร้อนจัด
    ดาวฤกษ์บางดวงก็ยุบตัวลงเป็นดาวนิวตรอนที่มีขนาดเส้นผ่าศูยน์กลางเพียง ๒๕-๓๐
    กิโลเมตร และดาวฤกษ์บางดวงก็ยุบตัวลงเป็นหลุมดำ"


    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ในอนาคตอันยาวไกลในสุริยะจักรวาล จะมีดวงอาทิตย์เกิดขึ้น
    เองเพิ่มขึ้นทีละดวงๆ จนครบ ๗ ดวง แล้วเผาไหม้โลกและดาวเคราะห์บริวารทั้งหมด
    นรกทุกขุม สวรรค์ทุกชั้น และพรหมโลกชั้นต่ำๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์ทั้ง ๗ ดวงนั้น
    ก็พินาศไปด้วย แล้วก็จะมีแต่ความมืดมิดจนนานแสนนาน ก็ก่อตัวขึ้นมาใหม่อีก" (สุริยะสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้า ๘๓)


    นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย คือปุถุชนผู้ที่ยังมีกิเลสตัณหา ตั้งทฤษฎีมาจากการคาดคะเน
    การนึกคิด การเดา การสันนิษฐาน การค้นคว้าทดลอง การสังเกตจดจำ
    การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก แต่ทฤษฎีเหล่านั้นก็ยังไม่ตายตัว
    พร้อมที่จะถูกลบล้างได้ตลอดเวลา
    พระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือบุคคลพิเศษ วิเศษ เป็นอัจฉริยะมนุษย์ เป็นบุคคลเอก
    ที่ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นผู้สิ้นกิเลสตัณหา เป็นผู้มีญาณวิเศษรู้อดีต ปัจจุบัน
    และอนาคต เป็นผู้ตรัสรู้ เป็นผู้รู้แจ้งโลก ดังนั้นพระสูตรหรือทฤษฎีต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว
    จึงตายตัวไม่มีใครลบล้างได้



    ลักษณะของจักรวาล คือ มีเขาสิเนรุเป็นแกนกลาง มี เขาสัตตบริภัณฑ์ คือ เขาล้อมรอบ ๗ ชั้น
    ซึ่งมี สีทันดรมหาสมุทร คั่นอยู่ในระหว่าง ตั้งเป็นรูปร่างขึ้นไว้ก่อน ภูมิสวรรค์อยู่พ้นทวีปทั้งหลาย
    ซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ เช่น ชมพูทวีปซึ่งมีอินเดียเป็นศูนย์กลาง จึงอยู่พ้นป่าหิมพานต์
    พ้นภูเขาหิมวันตะหรือ หิมาลัย พ้นมหาสมุทรแห่งทวีปทั้งปวง แล้วถึงภูเขาสัตตบริภัณฑ์
    ตั้งต้นแต่ภูเขาสุทัสสนะ จนถึงภูเขาอัสสกัณณะ จึงเป็นอันถึงสวรรค์ชั้นที่ ๑ เพราะยอดเขา
    สัตตบริภัณฑ์เหล่านี้เองเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราช ๔ องค์กับบริวาร นับเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๑ เรียกว่า จาตุมหาราชิก


    ท้าวมหาราช ๔ องค์นี้ แบ่งกันครอบครอง ดั่งนี้

    ๑)ด้านทิศตะวันออกของเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ ท้าวธตรัฏฐะ
    มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร (ถัดออกไปเป็นปุพพวิเทหทวีป)

    ๒)ด้านทิศใต้เป็นที่อยู่ของ ท้าววิรุฬหก มีพวกกุมภัณฑ์เป็นบริวาร
    (ถัดออกไปเป็นชมพูทวีป) พวกกุมภัณฑ์นี้ ท่านอธิบายว่าได้แก่ ทานพรากษส

    ๓)ด้านทิศตะวันตกของเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ ท้าววิรูปักข์ มีพวกนาคเป็นบริวาร (ออกไปเป็น อมรโคยานทวีป)

    ๔)ด้านทิศเหนือของเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ ท้าวกุเวร มีพวกยักษ์เป็นบริวาร (ถัดออกไปเป็นอุตตรกุรุทวีป)


    ท้าวมหาราชที่ ๔ ครองอยู่ ๔ ทิศของเขาสิเนรุ มีกล่าวถึงใน อาฏานาฏิยสูตร
    หน้าที่ของท้าวมหาราชที่ ๔ และบริวารตามที่ได้กล่าวไว้ คือเป็นผู้รับด่านหน้า
    ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อป้องกันพวกอสูรซึ่งเป็นศัตรูของเทพชั้นดาวดึงส์จะ
    ยกมาตีเอาถิ่นสวรรค์ชั้นนั้น แต่ใน สุตตันตปิฎก ติกนิบาต ได้มีแสดงหน้าที่ให้
    เป็นผู้ตรวจ ซึ่งเป็นที่อยู่ของหมู่มนุษย์อีกด้วย แสดงเป็นพระพุทธภาษิตมีความว่า
    ในวัน ๘ ค่ำแห่งอมาตย์บริษัทของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลก ในวัน ๑๔ ค่ำแห่งปักข์
    บุตรทั้งของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลก ในวัน ๑๕ ค่ำแห่งปักษ์
    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตรวจดูโลกเองว่าพวกมนุษย์พากันบำรุงบิดามารดา
    บำรุงสมณพราหมณ์ เคารพนบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล รักษาอุโบสถ ทำบุญกุศล
    มีจำนวนมากด้วยกันอยู่หรือ เมื่อตรวจดูแล้ว ถ้าเห็นว่ามีจำนวนน้อย ก็ไปบอกแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์
    ซึ่งประชุมกันใน สุธรรมสภา พวกเทพชั้นดาวดึงส์ เมื่อได้ฟังดั่งนั้นก็มีใจหดหู่ว่า ทิพยกายจักลดถอย
    อสุรกายจักเพิ่มพูน แต่ถ้าเห็นว่าพวกมนุษย์พากันทำดี มีบำรุงมารดาบิดาเป็นต้น เป็นจำนวนมาก
    ก็ไปบอกแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์เหมือนอย่างนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์ก็พากันมีใจชื่นบานว่า
    ทิพยกายจักเพิ่มพูน อสุรกายจักลดถอย ๑




    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีหน้าที่เป็น จตุโลกบาล คือ เป็นผู้คุ้มครองโลกทั้ง ๔ ทิศ
    ตามที่เชื่อถือกันมาเก่าก่อนพระพุทธศาสนา แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแล้ว
    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง ธรรมเป็นโลกบาล คือ คุ้มครองโลกไว้ ๒ ข้อ คือ หิริ
    ความละอายใจ ที่จะทำชั่ว โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว เพราะเหตุนี้
    จึงไม่กล่าวให้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่คุ้มครองโลกโดยตรง จะไม่กล่าวถึงเลย
    ก็จะขัดขวางต่อความเชื่อของคนทั้งหลายจนเกินไป จึงกล่าวเปลี่ยนไปให้มีหน้า
    ที่เที่ยวตรวจดูโลกมนุษย์ ว่าได้พากันทำดีมากน้อยอย่างไร แล้วก็นำไปรายงาน
    พวกเทพชั้นดาวดึงส์ พวกเทพชั้นนั้นได้รับรายงานแล้วก็เพียงแต่มีใจชื่นบานหรือ
    ไม่เท่านั้น เห็นได้ว่าท่านผู้รวบรวมร้อยกรองเรื่องนี้ไว้ในพระสุตตันตปิฎก ต้องการ
    จะรักษาเรื่องเก่าที่คนส่วนมากเชื่อถือ ด้วยวิธีนำมาเล่าให้เป็นประโยชน์ในทางตักเตือนให้ทำดี
    เหมือนอย่างที่มีคำเก่ากล่าวไว้ว่า ถึงคนไม่เห็น เทวดาก็ย่อมเห็น คือ สดงจตุโลกบาลที่
    เขาเชื่อกันอยู่แล้วในทางที่อาจเข้าใจเป็นธรรมาธิษฐาน ซึ่งเป็นข้อมุ่งหมายโดยตรง
    ถึงจะเชื่อว่ามีตัวตนอยู่จริงและคอยมาตรวจดูโลกว่า ใครทำดีไม่ดีอย่างไรก็ไม่เสียหาย
    กลับจะดีเพราะจะได้เกิดละอายกลัวเกรงว่า จตุโลกบาลจะรู้จะเห็นว่าทำไม่ดี หรือไม่ทำดี
    เป็นอันหนุนให้เกิดหิริโอตตัปปะขึ้นได้ ผู้ที่ไม่ยอดเชื่อเสียอีกอาจจะร้ายกว่า
    เพราะไม่มีที่ละอายยำเกรง เว้นไว้แต่จะมีภูมิธรรมในจิตใจดีอยู่แล้ว หรือมีที่ละอายยำ
    เกรงอย่างอื่นแทนอยู่ วันที่ท่านกล่าวว่าจตุโลกบาลมาตรวจดูโลก เดือนหนึ่งมีไม่กี่วัน
    ดูเหมือนจะน้อยไป แต่คงไม่หมายความว่าตรวจกรรมของคนเฉพาะวันนั้น วันอื่นไม่เกี่ยวข้องด้วย
    ควรเข้าใจว่า ตรวจดูรู้ย้อนไปถึงวันอื่นๆ ในระหว่างที่ไม่ได้ลงมานั้นด้วย ตัวของเราเองทุกๆ
    คนนึกย้อนตรวจดูกรรมของตนเองภายใน ๗ วันยังจำได้ ไฉนโลกบาลจะไม่รู้กรรมที่ตนเองทำ
    แม้จะลืมไปแล้ว โลกบาลก็ต้องรู้ เมื่อเชื่อว่าโลกบาลมีจริง ก็ควรจะเชื่ออย่างนี้ด้วย
    จึงจะเป็นโลกบาลที่สมบูรณ์ สรุปลงแล้วทำความเข้าใจว่า โลกบาลมาตรวจตราดูที่จิตใจนี้เอง
    จะเกิดประโยชน์มาก.

    ตามหลักในการจัดภูมิต่างๆ สัตว์ดิรัจฉานเป็นอบายภูมิต่ำกว่าภูมิมนุษย์และสวรรค์
    พระอาจารย์จึงกล่าวว่าในสวรรค์ไม่มีสัตว์เดียรัจฉาน การเกิดในสวรรค์ เกิดโดยอุปปาติก
    กำเนิดอย่างเดียว จึงน่ามีปัญหาว่า พวกนาคซึ่งเป็นบริวารของท้าวมหาราชจะจัดว่าเป็นภูมิอะไร
    นอกจากนี้ บริวารของท้าวมหาราชจำพวกอื่น เช่น พวกกุมณฑ์ ก็มีลักษณะพิกล
    ยักษ์บางพวกก็ดุร้าย เป็นผีเที่ยวสิงมนุษย์ก็มี ดูต่ำต้อยกว่าภูมิมนุษย์
    แต่ก็อยู่ในสวรรค์ชั้นหนึ่งนี้ด้วย ตามที่กล่าวมานี้ น่าเห็นว่าเก็บเอามาจากเรื่องเก่าๆ
    จึงฟังไม่สนิทตามหลักการจัดภูมิต่าง ๆ ดั่งกล่าว



    ชมพูทวีป หมายถึง โลกมนุษย์ทั้งหมด ไม่ใช่อินเดีย-เนปาล
    อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ ดังมีหลักฐานที่พระพุทธเจ้าแสดงดังนี้


    ทวีปต่างๆในจักรวาล

    ๑) ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)

    -มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว
    -มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง ๔ ศอก มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี (อาจตายก่อนอายุได้ ไม่แน่นอน)
    -มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
    -สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระวิปัสสี" มนุษย์ในชมพูทวีปมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี
    -สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระเรวะตะ" มนุษย์ในชมพูทวีปมีความสูงถึง ๘๐ ศอก
    -แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง จิตใจหยาบช้าลง อาหารเลวลง อายุก็ลดลง ร่างกายก็เตี้ยลง
    -ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี เท่านั้น และตัวจะเตี้ยถึงขนาด
    ต้องสอยมะเขือกิน เรียกยุคนั้นว่า "ยุคทมิฬ" เป็นยุคที่เสื่อมที่สุดของ "ชมพูทวีป"
    -ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป"
    เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู"
    -ชมพูทวีป เป็นทวีปเดียวที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต้องมาตรัสรู้ที่ทวีปนี้เท่านั้น


    ๒) อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
    -เป็นแผ่นดินกว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ ประกอบด้วยเกาะ และแม่น้ำใหญ่น้อย
    -มีธาตุแก้วผลึกอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุแก้วผลึกทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอมรโคยานทวีปมีสีแก้วผลึก
    -มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ คนหน้าเหมือนดั่งเดือนแรม จมูกโด่ง คางแหลม
    -มนุษย์ที่อมรโคยานทวีป มีความสูง ๖ ศอก มีอายุ ๕๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
    -ดอกไม้ประจำอมรโคยานทวีปคือ "กะทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)"


    ๓) ปุพพวิเทหะทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
    -เนื้อที่กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ มีเกาะ ๔๐๐ เกาะ
    -มีธาตุเงินอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุเงินทำให้ทองฟ้า
    และมหาสมุทรของปุพพวิเทหะทวีปมีสีเงิน
    -มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์เต็มดวง คนหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์
    มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร
    -มนุษย์ที่ปุพพวิเทหะทวีป มีความสูง ๙ ศอก มีอายุ ๗๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
    -ดอกไม้ประจำปุพพวิเทหะทวีปคือ "สิรีสะ (ไม้ทรึก)"


    ๔) อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
    -มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เนื้อที่กว้าง ๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นที่ราบ
    -มีธาตุทองคำอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุทองคำทำให้ทองฟ้า
    และมหาสมุทรของอุตรกุรุทวีปมีสีเหลืองทอง
    -มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ รูปร่างงาม มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ
    ไม่ยึดถือสมบัติ บุตร ภรรยา สามี ว่าเป็นของๆตน
    -มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป มีความสูง ๑๓ ศอก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
    -มีต้นไม้นานาชนิด ดอกไม้ประจำอุตรกุรุทวีปคือ "กัปปรุกขะ (กัลปพฤกษ์)"
    ถ้าอยากได้อะไร ก็ไปนึกเอาที่ต้นกัลปพฤกษ์ จะสมปรารถนา
    -มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป เมื่อตายจากทวีปนี้ ทุกคนจะได้ไปเกิดใน "เทวภูมิ ชั้นตาวติงสาห์ภูมิ" ทุกๆคน เป็นกฏตายตัว
    -ในภาษาบาลี "อุตร" แปลว่า "เหนือ" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกทวีปนี้ว่า "อุตรกุรุทวีป"
     
  2. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,354
    อ่านแล้วนึกภาพไม่ออกเลยว่าขนาดไหน

    จริงๆแล้วคงจะหาที่สิ้นสุดมิได้ หรือป่าว

    เพราะมันใหญ่มากกกกกก
     
  3. isme404

    isme404 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +301
    กว้างจนหาที่สุดไม่เลย... :(
     
  4. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,700
    ค่าพลัง:
    +51,933
    ความคิดมนุษย์ ไม่รู้จักสิ้นสุด

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  5. texsum

    texsum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +1,511
    ข้อมูลดีมากครับ ขอขอบคุณจริงๆ บางเรื่องอาจจะดูไม่น่าเชื่อแต่เราก็ไม่เคยเห็นจะรู้ได้ไงว่ามันมีไม่มี ส่วนตัวผม ผมเชื่อ !
     
  6. Army56

    Army56 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,098
    ค่าพลัง:
    +1,862
    จากการพิจารณาด้วยปัญญาของกระผมคับ(ความเห็นส่วนตัว)

    เราคงจะโทษผู้นำคำศัพท์ภาษาบาลีมาประยุกต์เป็นภาษาไทยมาใช้ในช่วงแรกๆไม่ได้

    แต่ความผิดพลาดในการนำภาษามาใช้มีดังนี้

    1. จักรวาล หรือ จักรวาฬ

    ถ้าแปลตามความหมายของศัพท์แล้ว จักรวาฬ คือ จักรอันใหญ่มหาศาล

    ดังนั้นตามที่คนปัจจุบันเห็น จักรอันใหญ่นี้พระองค์น่าจะหมายถึง Galaxy

    ดังนั้นถ้าหากมีการปรับปรุงการใช้ศัพท์เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

    จักรวาล = Galaxy เอกภพ = Universe

    เพราะในเอกภพ ยังมีหลายๆจักรวาล

    2. ทวีป

    ถ้าเราอ่านให้ดี มนุษย์ทวีปต่างๆนั้นก็คือ มนุษย์ที่อยู่โซนต่างๆของ

    จักรวาล โดยมีเขาพระสิเนรุอยู่ใจกลาง ดังนั้นทวีปจึงถือว่ามีขนาดใหญ่เป็น 1

    ใน 4 ของจักรวาล ซึ่งผิดจากความเข้าใจในการใช้ภาษาที่ว่าทวีปคือแผ่นดิน

    ต่างๆบนโลกใบเล็กใบนี้ เพราะจากคำให้สัมภาษณ์ของมนุษย์ต่างดาวใน

    สารคดีเกี่ยวกับจานบินตกที่รอสเวลปี 1950 ตรงกับไตรภูมิพระร่วงคือ

    ปกครองกันด้วยระบบอาวุโส มีอายุ 800 - 1000 ปี ตายตามอายุขัย

    มีอายุ
     
  7. moderntof

    moderntof Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +81
    นี่บอกความจริงไปด้วย ชื่นชมไปด้วย ว่าไปด้วย ทุกคนเป็นคนสำคัญทั้งนั้น! ไม่มีใครด้อยกว่าใคร วิชาทางโลกก็เป็นคำตอบได้ในหลายๆ กรณี ตามแต่สถานการณ์ ขออภัย เป็นความรู้สึกส่วนตัว
     
  8. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ความคิดเห็นของเรา

    จักรวาล หรือ จักรวาฬ มีอยู่หลายๆจักรวาล
    แต่ละจักรวาลนั้นๆมีลักษณ์เป็นวงเวียน มีหลายๆมิติแล้วแต่จะยึดมิติไหนเป็นมาตรฐาน
    ส่วนใหญ่แล้วจะยึดหลักแบบตัวตนเป็นพื้นและหมุนตามเข็มนาฬิกา แต่ถ้าหากอยู่อีกด้านที่ตรงกันข้าม จักรวาลนั้นจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา มุมมองจะแตกต่างกันไปโดยสิ้นเชิง
    ความเข้าใจก็จะถูกทำลายลงและเริ่มประยุกต์กันใหม่เรียนรู้ใหม่

    จักรวาลใหญ่หรือเล็กย่อมมีวงจรของจักรวาลนั้นๆเฉพาะของตัวเอง แต่รูปแบบจะคล้ายๆกันไป รูปแบบที่ว่านี้คือเริ่มต้น อยู่ในการเดินทาง ถึงปลายทาง แล้วกลับมาเริ่มใหม่ เรียกว่าวัฏจักร ขอบเขตุที่มีอย่างจำกัดในการอ้างอิง เนื่องจากเราต้องใช้ทฤษฏีต่างๆประกอบ รวมไปถึงต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงจึงจะเป็นที่ยอมรับ

    คราวนี้มาดูนี่กันครับ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=17jymDn0W6U&feature=player_embedded"]YouTube - The Known Universe by AMNH[/ame]

    หลังจากจิตนาการแบบ 4D (๔มิติ) ไปถึงที่สุดแล้ว หากเอกภพทั้งหมดอยู่ในลูกกลมๆ แล้วถ้ามีลูกกลมๆที่ข้างในทีเอกภพและจักรวาลเหมือนเอกภพของเรามีมากกว่าหนึ่งนั้น ใครคิดว่ามันสิ้นสุดที่ใดบ้าง ?

    หลังจากเจอคำถามนั้นแล้วคราวนี้กลับมาทางจิตบ้าง จิตนี่และความคิดนี่แหละจะพาคุณไปในจักรวาลของคุณๆขึ้นอยู่กับว่าใครจะกำหนดจักรของใครเป็นยังไงไปสิ้นสุดที่ใด มีลักษณะแบบใดบ้าง ซึ่งตรงนี้นั้นไม่สามารถบรรยายความกว้างของจิตนาการออกมาให้เป็นมโนภาพได้เลย เพราะการที่จะมโนภาพได้ของมนุษย์จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ที่เคยผ่านพบมาแล้ว จากนั้นก็ให้นิยามร้อยเรียงเป็นคำพูดเพื่อจะส่งสารถึงผู้รับสารได้ แต่ขอบเขตุของมนุษย์มีจำกัด เนื่องประสบการณ์ของมนุษย์นั้นมีความจำกัดเพียงแค่ในเอกภพของตัวเองและขีดความสามารถด้านศักยภาพอวกาศเรายังไปไม่ถึงซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่เป็นอุปสรรคนั้นคืออายุขัยและเทคโนโลยีในการสำรวจ

    เฉกเช่นกับความที่ไม่เคยหยุดนิ่งเป็นเวลานานของสภาวะจิต นี่ก็จักรวาลของจิตเช่นเดียวกัน ขอบเขตุของการทยานออกไม่มีที่สิ้นสุดนี้ จิตเป็นเหมือนพลังงานชนิดหนึ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดหลายๆประการ และกำลังดำรงตนอยู่ด้วยกรรม
    ฉนั้นจิตจะพ้นสภาพที่ถูกครอบคุมของเครื่องร้อยรัดต่างๆของกิเลสได้ก็ย่อมมีการปฏิบัติในรูปแบบที่เรียกว่าดับกิเลส เมื่อดับกิเลสแล้วจึงเป็นการตัดขาดจากกรรมทั้งปวงได้
    จิตที่วนเวียนเป็นกุศลและอกุศลก็ดี หากพิจารณาสังเกตุพฤติกรรมแต่ละประเภทของจิตแล้ว
    จะเกิดจิตที่หลุดออกมาคล้ายกับสภาวะที่เป็นในวีดีโอ คือเป็นเครื่องรู้ เพียงสถานเดียว เป็นเหมือนเครื่องมือที่เก็บภาพมาให้เราดูในคลิปนั่นคือหมายความว่า จะเห็นพฤติจิตแต่ละขณะได้ชัดเจนและหลุดออกมาจากความวุ่นวายในเอกภพของจิต จึงเปรียบเทียบจักรวาลทางดาราศาสตร์และจักรวาลของจิตด้วยการมโนภาพเข้าด้วยกัน เมื่อแยกแยะออกมาก็สามารถจำแนกได้เป็นระหว่างรูปธรรมและนามธรรม แต่มีลักษณะรูปแบบคล้ายๆกันแต่ไม่เหมือนกัน

    ดังนั้นหากจะสามาเข้าใจจักวาลของเอกภพได้ จำเป็นอย่างยิ่งซึ่งจะต้องเข้าใจสภาพของจิตแต่ละสภาวะ เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะถูกเปิดเผยออกมาได้ก็ด้วยสัจจธรรมอันเป็นความจริงทั้งปวงของจักรวาล

    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2010
  9. รพินทร์ไพรวัลย์

    รพินทร์ไพรวัลย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +1,122
    ขนาดของจักรวาล


    จักรวาลอันหนึ่ง โดยยาวและโดยกว้าง ประมาณ ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร)
    ส่วนโดยรอบปริมณฑลทั้งสิ้น (ของจักรวาลนั้น) ประมาณ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์

    ขนาดจักวาลมันเล็กไปหรือเปล่าเนี่ยท่าน ขนาดวัดเป็นปีแสงยังได้หลายๆๆๆๆล้านปีแสง

    คำว่า ปีแสง (Light year) คือ การวัดระยะแสง (หรือการแผ่รังสีใดๆ) เดินทางใน
    สูญญากาศเท่ากับ 1 ปี (ของเขต Tropical zone) โดยมีความเร็ว 300,000 กม.
    เพราะฉะนั้นแสงเดินทาง 1 ปีเท่ากับ 9,500,000,000,000 กม.

    แล้วทำมัย มีขนาดแค่3.610.350 โยชน์ เองละท่าน ผมว่าจำนวนของดวงดาวในจักรวาลนี้ก็น่า จะเกิน 3 ล้านแล้วนา
    หรือผมเข้าใจผิดตรงไหน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 มิถุนายน 2010
  10. รพินทร์ไพรวัลย์

    รพินทร์ไพรวัลย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +1,122
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD class=style72 bgColor=#cccccc height=25 width=450>ขนาดของจักรวาล : Scale of the Universe [หน้า 1/3]

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10></TD></TR><TR><TD height=10 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=300 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    การกล่าวถึงขนาดของจักรวาล นั้นคือ กำลังกล่าวถึงสิ่งที่ใหญ่ที่สุด และถ้าถาม
    ว่าจักรวาลมีขนาดใหญ่ แค่ไหนกัน คงตอบได้ว่าลึกเข้าไปถึง 14 พันล้านปีแสง
    (ข้อมูลที่มนุษย์สำรวจได้ด้วยเครื่องมือขณะนี้)​

    คำว่า 14 พันล้านปีแสง คงนึกยากอยู่เหมือนกันว่า จะอภิมหาไพศาลเพียงใด
    ดังนั้นจึงขยายคำตอบให้ชัดขึ้น ว่ามีสิ่งใดบ้าง บรรจุอยู่ในพื้นที่ ขนาด 14 พันล้าน
    ปีแสง เพื่อจะมองเห็นขนาดความยิ่งใหญ่ สัดส่วนต่างๆในจักรวาลได้ชัดเจนขึ้น ​

    อวกาศ มีความลึกและไกล ในวันนี้เชื่อว่ามีระยะทาง 14 พันล้านปีแสง เดิมที่เดียว
    ในอดีตจักรวาล ปรากฎขึ้นหลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ (Big bang) เริ่มจากการ
    ก่อตัวของดาว ดวงแรกเพียงดวงเดียว หลังจากนั้นจึงมี การวิวัฒน์อย่างสืบเนื่อง
    ของจักรวาล มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และขยายตัวต่อเนื่องทุกวินาที ​


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    ระยะทางที่เราสามารถมองเห็น จากการสำรวจ

    มองออกไปยังท้องฟ้า กาแล็คซี่ ระยะไกล 7 พันล้านปีแสง ภาพที่เห็นกำลังแสดง
    กาแล็คซี่ อายุเท่ากับจักรวาลเกิดมา ครึ่งทาง คือ 6.7 พันล้านปี (จักรวาลปรากฎ
    หลังจากการระเบิดของ Big Bang 13.7 พันล้านปี) ​

    ถ้ามองออกไปยัง กาแล็คซี่ ระยะไกลไปอีก 12 พันล้านปีแสง ภาพที่เห็นกำลัง
    แสดงกาแล็คซี่ อายุเท่ากับจักรวาลเกิดมา 1.7 พันล้านปี ​

    ระยะที่ไกลไปกว่า 14 พันล้านปีแสง ไม่สามารถที่จะเห็นอะไรได้เลย ไม่มีคลื่น
    คลื่นแสงใดๆ เพราะเป็นเวลาก่อนจักรวาลเกิด​

    ดังนั้นการมองออกไปข้างนอกในอวกาศ เท่ากับเห็นเหตุการณ์อดีตเพราะภาพที่
    เห็นนั้น เดินทางด้วยแสงมาสู่สายตาเรา ยิ่งไกลมากยิ่งเป็นเหตุการณ์อดีตมากขึ้น
    ไปเรื่อยๆตามลำดับ ​


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    คำว่า ปีแสง (Light year) คือ การวัดระยะแสง (หรือการแผ่รังสีใดๆ) เดินทางใน
    สูญญากาศเท่ากับ 1 ปี (ของเขต Tropical zone) โดยมีความเร็ว 300,000 กม.
    เพราะฉะนั้นแสงเดินทาง 1 ปีเท่ากับ 9,500,000,000,000 กม. ​

    ดังนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากมาก หากกล่าวว่า Andromeda Galaxy มีระยะทางห่างจาก
    โลก 23,000,000,000,000,000,000 กม. จึงต้องใช้บอกระยะทางแบบ ปีแสง
    เพื่อให้สะดวกต่อการเข้าใจและการเขียน ว่า Andromeda Galaxy มีระยะทางห่าง
    จากโลกเท่ากับ 2.3 ล้านปีแสง ​

    สำหรับ Astronomical Unit (AU) เป็นหน่วยวัดระยะทางดาราศาสตร์ คิดจากค่า
    เฉลี่ยระยะทางระหว่าง โลกและดวงอาทิตย์ เท่ากับ 1 AU. (150 ล้านกม. หรือ
    93 ล้านไมล์) ซึ่งใช้บอกระยะทางในระบบสุริยะ เช่น ดาวพูลโต (Pluto) มีระยะ
    ทางห่างจากดวงอาทิตย์ 40 AU.​

    เช่น ดวงอาิทิตย์มีระยะทางห่างจากโลก 150 ล้านกิโลเมตร แสงใช้เวลาเดินทาง
    มาสู่โลก 8.3 นาที เท่ากับภาพดวงอาทิตย์ มิใช่เวลาปัจจุบันเท่ากับโลก แต่เป็น
    เหตุการณ์อดีต ที่ผ่านมาแล้ว 8.3 นาที​

    ในทำนองเดียวกัน Sirius ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเรา 8 ปีแสง ระยะทางดังกล่าวเท่ากับ
    แสงเดินทาง 8 ปีเมื่อแสง จึงมองเห็นดาว Sirius แต่เป็นภาพของอดีต 8 ปีที่แล้ว​

    อีกกรณี เช่น บริเวณ Orion nebula มีกลุ่มดาวเพิ่งเกิดใหม่ เมื่อ 1,500 ปี ที่ผ่าน
    มาเวลาบนโลกขณะนั้น คือยุคอาณาจักร Roman หากเราอยู่ในยุคนั้นไม่สามารถ
    เห็นกลุ่มดาวเกิดใหม่เหล่านั้นได้เลย ทั้งๆดาวนั้นปรากฏขึ้นแล้วเพราะการเดินของ
    แสงต้องใช้เวลา ​

    และถ้าระยะ 1,000,000 ปีแสง ของบางกาแล็คซี่ (Galaxy) ก็กำลังมองอดีตที่
    ผ่านมาเท่ากับระยะ การเดินทางของแสงคือ อดีต 1,000,000 ปี มาแล้ว ​

    ไม่ว่าภาพถ่ายใดๆ ที่เราเห็นทั้งหมดของจักรวาล เป็นสิ่งปรากฏขึ้นในอดีตแต่จะ
    นานเพียงใด ขึ้นอยู่กับระยะ ของตำแหน่งกลุ่มวัตถุนั้นๆ ​


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=348 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD height=10 width=430></TD></TR><TR><TD width=20></TD><TD width=430>
    เปรียบเทียบขนาดวัตถุใกล้ตัวและไกลตัว

    เริ่มจาก ระบบสุริยะ ส่วนใหญ่คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าประกอบ ไปด้วย ดวงอาทิตย์
    ดาวเคราะห์ต่างๆ รวมถึง วัตถุขนาดเล็ก ของระบบสุริยะลองมาเปรียบเทียบขนาด
    ของดาวเคราะห์ต่างๆ ที่คุ้นเคยว่ามีขนาดแตกต่าง กันอย่างไรบ้าง ระหว่างโลก
    ดาวศุกร์ (Venus) ดาวอังคาร (Mars) ดาวพุธ (Mercury) และดาวพูลโต (Pluto) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ


    </TD></TR><TR><TD width=20></TD><TD height=10 width=430></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=378 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    กลุ่มแรก เมื่อนำมาเปรียบเทียบเรียงขนาด ตามมาตราส่วน รวม 5 ดวง เห็นว่าโลก
    มีขนาดใหญ่กว่า ดาวศุกร์ เล็กน้อย ส่วนอีก 4 ดวง คือ ดาวอังคาร ดาวพุธ และ
    ดาวพลูโต มีขนาดเล็กกว่าลงตามลำดับ​

    พอนำกลุ่มแรกไปเทียบมาตราส่วน กลุ่มที่สอง คือ ดาวพฤหัส (Jupiter) ดาวเสาร์์
    (Saturn) ดาวยูเรนัส (Uranus) ดาวเนปจูน (Neptune) ผลปรากฎโลกเล็กไปถนัด
    ตาเลย ส่วน ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน มีขนาดกลางๆ แต่ก็ใหญ่กว่าโลกหลายเท่า​

    ข้อสรุป เบื้องต้นในระบบสุริยะ ดาวพฤหัส เป็นดาวเคราะห์ มีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วน
    ดาวพูลโต เป็นดาวเคราะห์แคระ(น้ำแข็ง) ที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งในความจริงดาว
    เคราะห์แคระ สำรวจพบอีกเป็นจำนวนมากในบริเวณสุดขอบสุริยะที่หนาวเย็นจัด
    เรียกว่าพิภพน้ำแข็ง (Ice worlds) แต่ในที่นี้ยกตัวอย่างเพียงดาวพูลโต​


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=378 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=378 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=10 width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    ถ้าลองเทียบนำมาเปรียบเทียบขนาดกันทั้งระบบสุริยะ ปรากฏว่า ดวงอาทิตย์ใหญ่
    ที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนโลกเห็นเป็นจุดเล็กๆเท่านั้น ดาวพูลโตแทบมองไม่เห็น
    ทั้งหมดเป็นสัดส่วน ตามมาตราส่วน ​

    ดาวพฤหัส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 เมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ แต่ในกรณีเห็นจาก
    โลก ดาวพฤหัสกลับเล็กกว่าดวงจันทร์ด้วยซ้ำ ทั้งที่ดวงจันทร์ยังเล็กกว่าโลก ทั้งนี้
    เพราะจุดมองจากโลก ดวงจันทร์ใหญ่เพราะใกล้โลก ส่วนเห็นดาวพฤหัสเล็กกว่า เพราะระยะที่ไกลกว่านั่นเอง การมองไปมองโลกจากดาวดวงอื่นก็จะเห็นขนาด
    โลกเล็กต่างกันไปตามระยะทางที่มองมา เช่นกัน ​


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=378 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    คราวนี้เอาดวงอาทิตย์ ไปประกวดประชันกับดวงอาทิตย์ กับระบบสุริยะอื่น จะพบ
    ว่าดวงอาทิตย์ ตกไปอยู่อันดับสุดท้าย​

    ทำนองเดียวในตอนกลางคืนจะเห็น ดาว Sirius สว่างสุกใสมาก เมื่อมองจากโลก
    โดยมองเห็นขนาดใหญ่กว่า ดาว Arcturus ทั้งที่ดาว Sirius เล็กกว่ามาก (เทียบ
    ตามสัดส่วนในภาพ) เพราะว่าดาว Sirius อยู่ใกล้โลกกว่า Arcturus​

    ความเป็นจริงดาวในจักรวาล ส่วนมากจะมีขนาดใหญ่ (ขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์
    ก็พบบ้างแต่น้อย และส่วนใหญ่เล็กกว่าดวงอาทิตย์ มักเป็นประเภท Hot Jupiters
    (ดาวมีความร้อนคล้ายดาวพฤหัส)

    สำหรับบางกรณีที่กล่าวว่าใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ เพราะเป็นลักษณะพัฒนาการซึ่ง
    มีการขยายตัว ด้วยการเผาไหม้ตนเอง ยิ่งมีขนาดใหญ่ยักษ์ เรียกว่า ดาวยักษ์
    สีแดง (Red giants) บางครั้งใหญ่มากๆ เรียกว่า Supergiants ทั้งหมดนี้แสดงว่า
    กำลังเข้าสู่วัยชราจะกลายเป็นดาวหมดอายุขัย (The End of Stars) สิ้นสภาพ
    ในที่สุด​

    สำหรับดาวกำเนิดใหม่ (Stars Birth) มีการสำรวจพบอยู่บ้างซึ่งมีขนาดใหญ่ยักษ์
    มากเช่นกัน เรียกว่า Hypergiant Star อาจมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 30-70 เท่า ​


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=365 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    ตอนนี้นำมาเปรียบเทียบกับดาวอื่นๆ (ตามมาตราส่วน) ขนาดของดวงอาทิตย์เท่า
    กับจุดๆเดียวแทบมองไม่เห็น ดาวที่ยกตัวอย่างเปรียบเทียบป็นดาวที่นักดาราศาสตร์
    รู้จักกันดี เช่น Betelgeuse - Atares - Rigel - Pollux เป็นต้น​

    เมื่อ ค.ศ.2006 ได้สำรวจพบ ดาวขนาดยักษ์ใหญ่กว่า ระบบสุริยะมาก ที่เรียกว่า
    Hypergiant Star ตำแหน่งอยู่ห่างจากกาแล็คซี่ Milky Way ราว 170,000 ปีแสง
    บริเวณ Large Magellanic Cloud ขนาดดาว กว้างกว่าดวงอาิทิตย์ถึง 100 เท่า
    มีมวลมากกว่า ดวงอาทิตย์ 30-70 เท่า เป็นประเภท O stars จัดอยู่ในกลุ่มแบบ
    เดียวกับดาวดวงแรกในจักรวาล (First Generation of Stars) มักมีขนาดใหญ่
    แต่อายุขัยจะสั้นเพียง 1-3 ล้านปีเท่านั้น ​

    ดังนั้นข้อมูลสำรวจพบ Hypergiant Star เมื่อรวมวงแหวนแล้ว มีขนาดกว้างใหญ่
    กว่าระบบสุริยะทั้งระบบ นับว่าเป็นประเภทดาวที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่มนุษย์รู้จักขณะนี้
    ส่วนดาวใหญ่ยักษ์ประเภท Supergiants Star พบเมื่อเร็วๆนี้ จำนวน 7 ดวง มี
    ตำแหน่งอยู่ใกล้กับทางช้างเผืิอก มีใหญ่โตเช่นกัน จัดอยู่ในประเภทเดียวกับดาว
    ดวงแรกของ จักรวาลเีรียกว่า Blue supergiant star​


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=288 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    กลับมาทบทวนภาพรวม ระบบสุริยะกันอีกที ว่ามีอะไรบ้างในอาณาเขตนี้นอกจาก
    ดาวเคราะห์ต่างๆ ซึ่งในระบบสุริยะ มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง โดยวงโคจรชั้นใน
    มีดาวพุธดาวศุกร์โลกและดาวอังคารตามลำดับนั้น ยังสามารถพบวัตถุอื่นๆ ได้อีก
    มากมาย เช่น ​


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=225 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=515 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    ระหว่างวงโคจรดาวอังคาร กับดาวพฤหัส ยังมี กลุ่มดาวเคราะห์น้อย (Asteroid)
    โคจรห้อมล้อมเป็นจำนวนมาก นับล้านวัตถุเรียกว่า แถบดาวเคราะห์น้อย (Main Asteroid Belt) และยังมี อีกกลุ่มใหญ่ บริเวณด้านหน้าด้านหลัง ตามแนววงโคจร
    ดาวพฤหัส กลุ่มนี้เรียกว่า Trojan Asteroids ดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ มีขนาดเส้น
    ผ่าศูนย์กลางเล็กไม่กี่เมตร จนระดับเป็นร้อยกิโลเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ
    1,000 กม.​

    บางครั้งวัตถุประเภทนี้ มีอันตรายต่อโลก ด้วยการโคจรเข้าใกล้โลก ด้วยแรงดึง
    ดูดของดวงอาทิตย์และแรงผลักจากดาวพฤหัส หรือจากกลไกอื่นๆในระบบสุริยะ
    อย่างไรก็ตาม หากมีโอกาสพุ่งชนปะทะโลก หรือเฉียดโลกสามารถทราบล่วง
    หน้าได้อย่างน้อย 100-1,000 ปี กลุ่มวัตถุเหล่านี้ เป็นวัตถุใกล้โลก (Near-Earth
    Objects)


    ที่อาจทำอันตรายต่อโลกได้

    ส่วนใหญ่มีรูปร่าง เหมือนหัวมันฝรั่ง บางส่วนมีวงโคจรที่อ่อนแอไม่เสถียรด้วยแรง
    เพราะขาดพลังงานจากภายในแกนของวัตถุนั้นๆเอง​

    ถัดไประบบสุริยะชั้นนอก บริเวณใกล้แนวเส้นทางโคจรของดาวพูลโต บริเวณนั้น
    เรียกว่าแถบไคเปอร์ (Kuiper betl) ทั้งหมดคล้ายแผ่นแบนโดยรอบกลม มีความ
    หลายหลากของวัตถุ เต็มด้วยของเศษซาก น้ำแข็ง​

    นอกนั้นยังมี ดาวหาง (Comet) ที่โคจรมาจากบริเวณเมฆออร์ต (The Oort Cloud) (ระหว่างชายแดนสุริยะ) อีกจำนวนมาก ประมาณ 1,000,000,000,000 ดวง ​

    บริเวณขอบสุริยะเชื่อว่า เป็นแหล่งกำเนิดดาวหาง เป็นจำนวนมาก มีวงโคจรระยะ ไกลมาก จากบริเวณดังกล่าวเข้าสู่ระบบสุริยะ และเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ดังนั้นมัก
    จะได้รับรายงานข่าว เช่น ดาวหางโคจรเข้ามาใกล้โลกจะพบเห็นได้ใหม่ แต่ละครั้ง
    นับหลายสิบปีหรือนับร้อยปี ด้วยระยะไกลของวงโคจรนั่นเอง​


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    เตรียมพร้อม เดินทางสู่การสำรวจ

    วิธีที่ให้ทราบ ขนาดความไกลยิ่งใหญ่ ของจักรวาลนั้น SunflowerCosmos จะชวน
    โดยสารไปกับยานสำรวจ Voyager2 ของ NASA มีความเร็วในอวกาศ มากกว่า 35,000 ไมล์ต่อชั่วโมง (ค.ศ.2008 ยานสำรวจ New Horizons มีความเร็วมากกว่า)​

    พร้อมนำแผ่นบันทึก ข้อมูลทองคำ ขนาด 12 ” ไปด้วยเผื่ออาจพบอารยะธรรมที่
    ไม่รู้จัก ก็อาจเป็นประโยชน์ในการบอกเล่าถึง ความเป็นอยู่ของโลกมนุษย์​

    แผ่นบันทึกนี้บรรจุภาพ เสียงธรรมชาติบนโลก 115 รายการ เช่น เสียงลม เสียงนก
    เสียงดนตรี แต่ละวัฒนธรรมแต่ละยุค บันทึกภาษาพูดของมนุษย์ 55 ภาษาพร้อม
    ข้อความจากประธานาธิบดีอเมริกา​

    นอกจากนั้นยังมีข้อมูล ด้านวิศวกรรมการก่อสร้าง ข้อมูลด้านเครื่องจักรกล
    รูปแบบงานด้านสถาปัตยกรรม ฯลฯ ของมนุษย์บันทึกไปด้วย โดยได้ออกแบบให้
    แผ่นบันทึกนี้ สามารถจะเปิดด้วยระบบต่างๆทุกระบบ เท่าที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน​


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=400 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=450>
    ก่อนจะเดินทางไปกับยานสำรวจ Voyager 2 มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ระยะทาง
    ระหว่าง โลกกับดวงอาทิตย์ ประมาณ 83 ล้านไมล์ (150 ล้านกม.หรือเท่ากับ 1 AU.)
    แสงใช้เวลาเดินทาง 8.3 นาที แต่ยานสำรวจ Voyager 2 ใช้เวลาประมาณ 110 วัน
    หรือเพื่อให้มองเห็นภาพชัดขึ้น ระยะทางดังกล่าว สมมุติเดินทางด้วยรถยนต์ความ
    เร็ว 100 กม./ชั่วโมง โดยไม่หยุดพักจากโลกถึงดวงอาทิตย์ จะต้องใช้เวลาเดินทาง
    ราว 170 ปี ​

    เป้าหมายแรกการเดินทางสำรวจจักรวาล เพื่อเข้าใจความกว้างใหญ่ไพศาลของ
    ระบบสุริยะ จะไปยังกลุ่มดาวซึ่งใกล้โลก มากที่สุด คือ Proxima Centauri (เป็น
    ดาวดวงแรกถัดออกไปจากดวงอาทิตย์) อยู่ในระบบของ Alpha Centauri system

    สมมุติ ว่าถ้าดวงอาทิตย์เท่ากับลูกเทนนิส โลกจะมีขนาดเท่า กรวดเล็กๆ 1 เม็ด
    เทียบแล้วมีระยะห่าง 19 ฟิต ส่วน Proxima Centauri จะไกลจากโลกถึง 890 ไมล์​


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=320 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=331 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    ด้วยความเร็ว 35,000 ไมล์ต่อชั่วโมง ยาน Voyager 2 มีภาระกิจใช้เวลาเดินทาง
    อีก 20,000 ปี ไปถึงครึ่งทางบริเวณขอบสุริยะ เพื่อสำรวจแหล่งกำเนิดดาวหาง ​

    ต่อจากนั้นจะต้องใช้เวลา อีก 20,000 ปี สู่จุดหมาย ดาว Proxima Centauri
    ในปี ค.ศ.41,977 จากนี้ เทียบเป็นระยะห่าง 4.3 ปีแสง รวมประมาณ 40,000 ปี ​

    ในความเป็นจริงยาน Voyager 2 ถูกส่งออกไป ตั้งแต่ ค.ศ. 1977 ใช้เวลาเดินทาง
    12 ปี ถึง ดาวเนปจูน รายงานล่าสุดจาก NASA เมื่อ ค.ศ. 2003 มีระยะเดินทางห่าง
    จากดวงอาทิตย์แล้ว 10,657,000,000 กม. ​

    รายงานล่าสุด (30 สิงหาคม 2007) Voyager 2 ได้เดินทางไปอยู่ในตำแหน่งที่
    เรียกว่า Heliosheath boundary (บริเวณปลายสุดของ พายุสุริยะปะทะกับมวล
    สสารระหว่างดวงดาว) เป็นชายแดนรอยต่อระบบสุริยะ กับเขตด้านนอกของ
    ระบบหรือเรียกว่า เขตสิ้นสุดแสงตะวัน ​

    การเดิน ยาน Voyage -2 ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ดังนั้นภาระกิจต้องขึ้นอยู่
    กับการรับพลังงานจากแสง การรับคลื่นสัญญานวิทยุ ต้องใช้เวลาการเดินทาง
    ของคลื่นเสียงเช่นกัน หากยิ่งไกลออกไป ยิ่งรับสัญญานได้ช้าและนานลงไป
    ตามลำดับ (เพียงระหว่างโลกกับดาวอังคาร การส่งสัญญานไป-กลับ ใช้เวลารวม
    1 ชั่วโมง) ​

    เพียงระยะทางในบริเวณสุริยะเท่านั้น ก็ยังรู้สึกห่างไกล ใช้เวลาเป็นหมื่นปี ต่อไป
    จะเริ่มออกไปนอกระบบสุริยะ เพื่อไปยังขอบจักรวาล ว่าต้องใช้เวลาเดินทางนาน
    และยาวไกลเท่าใด ด้วยความเร็วของ ยาน Voyage -2​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD class=style83 width=430>เริ่มต้นการสำรวจ ระยะ 12.5 ปีแสง

    ห้วงระยะทางนี้ มีดาวที่รู้จักแล้ว 33 ดวง โดยถือว่าเป็นกลุ่มดาวใกล้เรามากที่สุด
    ถ้าลองคำนวณดูระยะเวลาเดินทางด้วย ยานสำรวจ Voyager 2 ต้องใช้เวลาถึง
    116,000 ปี จึงผ่านระยะทาง 12.5 ปีแสง อันเป็นด่านแรกแห่งการสำรวจของ
    มนุษย์ สู่จักรวาลอันยิ่งใหญ่​

    โดยข้อเท็จจริง มนุษย์ยังไม่มีความสามารถ เดินทางในอวกาศได้ในระดับเช่นนี้
    ด้วยความไม่ปลอดภัย และยังไม่เข้าสภาพของอวกาศอย่างแท้จริง แม้แต่การ
    วางแผนเดินทางสู่ดาวอังคาร ยังต้องกลับไปดวงจันทร์ก่อนไปดาวอังคาร เหตุ
    ต้องทดสอบระบบยานอวกาศ และความพร้อมด้านต่างๆอย่างใหญ่หลวง ​

    ยิ่งการเดินทางออกนอกระบบสุริยะ นับว่ายังเป็นเรื่องห่างไกล โดยมีข้อคัดค้าน
    เช่น ความเป็นอยู่มนุษย์นับร้อยปีบนยาน กว่าที่จะเดินไปถึงเป้าหมาย และเรื่อง
    พลังงานของยานสำรวจ หากพ้นจากแสงดวงอาทิตย์ จะขับเคลื่อนอย่างไร หรือ
    เรื่องหลุมดำ ความต่างมิติที่อาจซ่อนอยู่ซึ่งมองไม่เห็น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
    การพัฒนาทางเทคโนโลยี่ อาจช่วยให้จุดมุ่งหมาย ต่อการเดินทางระยะไกลมี
    ความเป็นไปได้เร็วขึ้น ​

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>Proxima Centauri เป็นดาวในระบบของ Alpha Centauri มีเงื่อนไขด้วยร่วม
    วงโคจร 3 ดวง (Three Co-orbiting) คือ Proxima Centauri ดาวประเภท M5
    มีขนาดใหญ่กว่าโลก Alpha Centauri-A ดาวประเภท G2 (ประเภทเดียวกับ
    ดวงอาทิตย์) และ Alpha Centauri-B ดาวประเภท KO ทั้งคู่เล็กกว่าดวงอาทิตย์

    อยู่บริเวณระยะ 4.3 ปีแสงจากโลก โดยข้อมูลการสำรวจเบื้องต้น ว่ามีระบบคล้าย
    คลึงกับระบบสุริยะ ยังเชื่อว่ามีดาวเคราะห์อยู่ในบริเวณนั้นอีกมายที่น่าสนใจ

    Barnard's star อยู่ห่างจากโลกราว 5.94 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าโลกเล็กน้อย
    โดยมีระบบของตนเองเช่นกันแต่จะสังเกตุยากจากโลก เพราะมีขนาดเล็กและมืด
    กว่าดาวอื่นๆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=192 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    Sirius เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป สำหรับระบบ Sirius มีระยะทางห่างจากโลก 8.6

    ปีแสง ประกอบด้วย Sirius-A ดาวประเภท A1 และ Sirius-B จัดอยู่ในประเภท
    ดาวแคระขาว (White dwarf stars) มีขนาดเล็กกว่าโลก แต่ความหนาแน่นของ
    มวล มากกว่าดวงอาทิตย์​

    เมื่อมองจากโลกด้วยตาเปล่า โดยเฉพาะ ดาว Sirius-A และ Sirius-B จะสุกสว่าง
    เป็นประกายแฉกสวยงาม เหตุเพราะวงวงโคจรซ้อนทับกัน ทำให้เหมือนเห็นเพียง
    ดวงเดียวด้วยระยะไกล ​

    Procyon ในระบบมี 2 ดวง คือ Procyon-A ดาวประเภท F5 และ Procyon-B
    ประเภท ดาวแคระขาว (White dwarf stars) ทั้งสองดวงมีระยะทางห่างจากโลก
    ราว 11.4 ปีแสง ทั้งนี้ Procyon-A มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ราว 2 เท่า ​

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    เข้าสู่การสำรวจ ระยะ 20 ปีแสง


    ห้วงระยะทางนี้ ข้อมูลสำรวจพบดาวแล้วราว 171 ดวง ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 10
    ล้านปีขึ้นไป จำนวนดังกล่าว รวมทั้งดาวแคระขาว (White dwarfs) และดาวแคระ
    สีน้ำตาล (Brown dwarfs)

    Altair รูปทรงสันฐานดาวแปลกตาออกไป ด้วยไม่กลมแต่มีทรงคล้ายไข่เป็ดและ
    มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ราว 1.6 เท่า เป็นดาวประเภท A7 มีตำแหน่งห่างจาก
    โลกประมาณ 16.7 ปีแสง ​

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    36 Ophiuchi ในระบบมีด้วยกัน 3 ดวงคือ 36 Ophiuchi-A และ 36 Ophiuchi-B

    ทั้งคู่เป็น ดาวประเภท K1 ส่วน 36 Ophiuchi-C ดาวประเภท K5 ทั้งหมดมีขนาด
    เล็กกว่าดวงอาทิตย์ราว 20% ตำแหน่งห่างจากโลกราว 19 ปีแสง ​

    ระยะทางที่สำรวจขณะนี้ ห่างจากดวงอาทิตย์ 20 ปีแสง แต่ถ้าคิดเวลาเดินทางจาก
    ครั้งแรก ได้ใช้เวลาเดินทางด้วยยาน Voyager 2 ถึง 186,000 ปี​

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>เข้าสู่การสำรวจ ระยะ 250 ปีแสง

    ให้นึกมโนภาพว่า เห็นดวงอาทิตย์ อยู่ข้างหลังเล็กมากตามลำดับ โดยห้วงระยะ
    ตั้งแต่ระยะ 50 ปีแสง ยานสำรวจ Voyager 2 ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 465,000 ปี
    โดยบริเวณอาณาเขต 50 ปีแสงนี้ สำรวจพบดาว 970 ดวง

    และห้วงระยะ 250 ปีแสง ยังสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ริบรี่ อยู่ข้างหลังยาน
    สำรวจ Voyager 2 ระยะทางนี้ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 2,325,000 ปี และสำรวจ
    พบดาวราว 260,000 ดวง เช่น

    Vega ดาวประเภท AO ห่างจากโลก 25.3 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์
    ราว 2.26 เท่า

    Arcturus ดาวประเภท K1 ห่่างจากโลก 36.7 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์
    ราว 25 เท่า

    Aldebaran ดาวประเภท K5 ห่างจากโลก 65 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์
    ราว 44 เท่า

    ดาว 3 ดวง ที่ยกตัวอย่าง เมื่อมองขึ้นไปบนท้องฟ้า สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า
    ได้ โดยเห็นขนาดใกล้เคียงกัน แต่ความเป็นจริงมีขนาดต่างกันมากเหตุผลเพราะ
    ดวงที่เล็กแต่อยู่ใกล้โลก ส่วนดาวที่อยู่ไกลกว่านั้นมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>Achernar ดาวประเภท B3 ห่างจากโลก 143 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์
    ราว 10 เท่า มีลักษณะแปลกไปจากดาวอื่นๆอีกเช่นกัน ความแปลกดังกล่าวเกิด
    จากกลไกการก่อตัวของดาว และสภาพแวดล้อม ผลแรงดึงดูดจากดาวข้างเคียง
    และโครงสร้างภายในทำให้รูปทรงผิดรูปออกไปและมีการพบลักษณะดังกล่าว
    อยู่เสมอ

    Bellatrix ดาวประเภท B2 ห่างจากโลก 242 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์
    ราว 5.7 เท่า
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    ตลอดทางที่ผ่านมา หากสังเกตสีของดาว มีความแตกต่างกัน บางดวงมีสีขาวสุกใส

    บางดวงมีสีส้มแดง บางดวงสีฟ้า เหตุด้วยเป็นลักษณะ การเผาไหม้ของก๊าซบนผิว
    ดาว ทำให้เราทราบถึง อายุกำเนิดของดาวได้ว่าเป็น ดาวเิกิดใหม่ หรือดาวเก่าแก่
    กำเนิดมาหลายพันล้านปีแล้ว ตามลำดับชั้นดาวสามัญ

    ส่วน ดาวเคราะห์ ที่อยู่ในจักรวาลนั้น ยิ่งมีเป็นจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ แต่จะมอง
    ไม่เห็นเพราะดาวเคราะห์ ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ส่วนใหญ่มักโคจรรอบๆ ดาวกฤษ์
    ในระบบสุริยะพิเศษ (ระบบสุริยะอื่น) อาจเรียกว่า Host star (ดาวหลักหรือบาง
    เรียกว่า ดาวแม่) ​

    สำหรับ ดวงจันทร์ ในระบบสุริยะอื่นๆ ก็มีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ในจักรวาลเรายัง
    ไม่สามารถสำรวจได้ครบถ้วน เพราะความมืด ระยะไกล และขนาดวัตถุเหล่านั้น
    เล็กเกินไปที่จะค้นได้ถูกต้อง​

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>เข้าสู่การสำรวจ ระยะ 2,000 ปีแสง

    การสำรวจเริ่มลึกจากรอยต่อ 250 ปีแสง เข้าสู่ห้วงระยะ 2,000 ปีแสงตามลำดับ
    ในห้วงระยะทางนี้ยานสำรวจ Voyager 2 ต้องใช้เวลาถึง 18,604,000 ปี พื้นที่อัน
    กว้างใหญ่นี้ มีดาวหนาแน่นขึ้น จำนวนราว 80 ล้านดวง เช่น

    Mimosa ดาวประเภท BO ห่างจากโลก 352 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์
    ราว 8 เท่า
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    Polaris ที่รู้จักกันในชื่อ ดาวเหนือ เป็น ดาวประเภท F7 ห่างจากโลก 430 ปีแสง

    ในระบบสำรวจพบ 3 ดวง คือ Polaris-A, Polaris-AB , Polaris-B โดยเฉพาะ
    Polaris-A มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ราว 30 เท่า​

    Rigel ดาวประเภท B8 ห่างจากโลก 772 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มาก
    ราว 78 เท่า จากระยะที่ไกลแต่มีขนาดใหญ่ ทำให้มองเห็นด้วยตาเปล่าได้​

    Deneb ดาวประเภท A2 ห่างจากโลก 3,227 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์
    มากราว 108 เท่า จากระยะที่ไกลแต่มีขนาดใหญ่ ทำให้มองเห็นด้วยตาเปล่าได้​

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    ระยะทาง 2,000 ปีแสง อาณาเขตนี้ ยังเป็นบริเวณแนวแขน (Arm) ทางช้างเผือก

    แหล่งชุมนุมการกำเนิดดาวอีกแหล่ง หนาแน่นไปด้วยกลุ่มฝุ่นหมอกอวกาศ (Cloud
    of gas and dust) ​

    ดังนั้นการสำรวจ จะเริ่มพบกับ Nebula (กลุ่มฝุ่นหมอกและรังสีอวกาศ) เช่น
    California Nebula, Orion Nebula และ Trifid Nebula เป็นต้น การผ่านเข้าใกล้
    กลุ่ม Nebula มีอันตรายสูงสภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยรังสี ความกดดัน ความร้อน
    สูง แต่เป็นแหล่งต้นกำเนิดก่อตัวของดวงดาว ที่ฟูกฟักและพัฒนาการโดยใช้เวลา
    นับล้านปี ​


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    เข้าสู่การสำรวจ ระยะ 5,000 ปีแสง


    หากมองกลับไปดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ของการเดินทางขณะนี้ ตำแหน่งการ
    เดินทาง 5,000 ปีแสง ขณะนี้ก็ยังอยู่ในแนวแขน (Arm) ทางช้างเผือกเหมือนเดิม
    ห้วงระยะทางดังกล่าว ยานสำรวจ Voyager 2 ใช้เวลาเดินทางถึง 46,510,000 ปี
    และอาณาเขตนี้มีดาว รวมกันถึง 600 ล้านดวง​

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=450>
    นอกจากดาวที่มีอย่างมากมาย จะพบกับ Nebula ในรูปแบบต่างๆ เช่น Lagoon

    Nebula, Crab Nebula ​

    ทางช้างเผือก เป็นอาณาเขตที่กว้างใหญ่ จากระยะทาง 5,000 ปีแสง แม้จะเข้าสู่
    ระยะ 10,000 ปีแสงก็ยังเป็นพื้นที่ของ ภายในทางช้างเผือกเช่นเดิม มีจำนวนดาว
    บริเวณนี้ราว 50 พันล้านดวง ​

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    เข้าสู่การสำรวจ ระยะ 50,000 ปีแสง


    บรรยากาศทางช้างเผือกนั้น อยู่ท่ามกลางความหนาแน่นด้วยกระจุกดาว หมุนวน
    โคจรล่องลอยไปด้วยเม็ด-ละอองฝุ่น หรือสสารระหว่างดวงดาว (Interstellar dust grains) เป็นเวลานับล้านปี ปะปนจากการแผ่รังสีความร้อน ของดาวและวัตถุต่างๆ
    บางบริเวณมีความหนาทึบและดำมืดอย่างไม่น่าเชื่อ จนแสงไม่สามารถผ่านได้​

    ระยะ 50,000 ปีแสงถัดมาการสำรวจยังอยู่ในบริเวณเขต กาแล็คซี่ทางช้างเผือก
    (Milky Way Galaxy) หรือเปรียบว่า ยังคงเพียงเดินทางจากโลกมาครึ่งทางของ
    ทางช้างเผือกเท่านั้น ซึ่งระยะ 50,000 ปีแสง มีดาวราว 200 พันล้านดวง และคง
    ไม่ต้องกล่าวถึงการใช้เวลาเดินทางอีกแล้ว เพราะเป็นตัวเลขที่มากมายขึ้น ​

    ในทางช้างเผือกนั้น เต็มไปด้วยกระจุกดาว (Star Clusters) ที่สำรวจและรู้จักราว 200 กระจุกใหญ่ โดยมีสมาชิกดาวแต่ละกระจุก ตั้งแต่ 10,000-1,000,000 ดวง
    เช่น ​

    M15 จัดอยู่ในประเภท กระจุกดาวทรงกลม (Globular Clusters) ขนาดเส้นผ่า
    ศูนย์กลาง 122 ปีแสง ระยะทางห่างจากโลก 34,000 ปีแสง ​

    M3 จัดอยู่ในประเภท กระจุกดาวทรงกลม (Globular Clusters) ขนาดเส้นผ่า
    ศูนย์กลาง 165 ปีแสง มีจำนวนดาวไม่น้อยกว่า 50,000 ดวง อายุกำเนิดประมาณ
    6.5 พันล้านปี ระยะทางห่างจากโลก 35,000 ปีแสง​

    M2 จัดอยู่ในประเภท กระจุกดาวทรงกลม (Globular Clusters) ขนาดเส้นผ่า
    ศูนย์กลาง 151 ปีแสง ระยะทางห่างจากโลก 40,000 ปีแสง ​

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=style83 width=430>
    เข้าสู่การสำรวจ ระยะ 100,000 ปีแสง


    ทางช้างเผือกมีลักษณะเป็นแผ่นจานแบน ส่วนตรงกลางจะเป็นรูปทรงที่โป่งออกมา
    ถ้ามองจากพื้นโลก เท่ากับเราจะอยู่ในท่ามกลาง กลุ่มดาว เพราะระบบสุริยะเราอยู่
    ใน Milky Way Galaxy หรือทางช้างเผือกนั่นเอง การสำรวจผ่านระยะทาง 100,000
    ปีแสง กำลังมุ่งหน้าสู่ด้านลึกเข้าไปในจักรวาลต่อไป​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เอามาฝากครับ ไม่ใช่ความลับอะไร กูเกิ้ลหามาให้ง่ายๆ อภิญญาพรานใหญ่ ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 มิถุนายน 2010
  11. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
  12. vergo shaka

    vergo shaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +835
    ความจริงในร่างกายมนุษย์ก็คล้ายๆจักรวาลแบบย่อส่วน....รอผู้มีความรู้มาอธิบาย
    เคยได้ยินมาเกี่ยวกับ พลังจักรวาลและร่างกายมนุษย์
     
  13. moderntof

    moderntof Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +81
    จักรวาลคล้ายจินตนาการ ไม่มีที่สิ้นสุด ไร้ขอบเขตๆๆๆ... และไม่มีไรเรยๆๆๆ...

    เราเป็นเหมือนความฝัน สิ่งที่เห็นเป็นเพียงมายา

    พลังผู้สร้างกลับด้านกับเรา รู้เท่ากับเรา

    ความจริงที่โลกมี เพื่อสะกิดเรา มีผู้ช่วยทยอยมายกระดับเรา

    ไม่มีวันที่เราจะ... รู้ไม่ได้หรอก เชื่อเถอะ ข้อมูลในวันนี้ จริงสำหรับวันนี้!
     
  14. chartz

    chartz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +223
    สาธุๆๆๆ :mad:

    แบบนี้พระไตรปิฏกก็ยืนยันว่ามนุษย์ต่างดาวมีจริงสิครับ

    ???
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2010
  15. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    มนุษย์ต่างดาว ในพระสูตรไม่มีกล่าว
    แต่ที่กล่าวไว้นั้นหมายถึงภพภูมิต่างๆ ในจักรวาล

    ขออนุญาติขยายความคิดนึงนะครับ ตามความคิดเห็นของตัวเองไม่ได้อ้างอิงจากอากู๋ (กูเกิ้ล)

    โลกของเรา อยู่ในบริวารของดวงอาทิตย์ซึ่งสมาชิกมีดังนี้

    [​IMG]



    นี่คือระบบสุริยะจักรวาล ซึ่งระบบสุริยจักวาลนี้เป็นสมาชิกหนึ่งที่อยู่ภายใต้ จักรวาลกาแลคซี่ ทางช้างเผือก

    [​IMG]



    นอกจากจะมีสุริยะจักรวาลของเราอยู่ในกาแล็คซี่ทางช้างเผือกซึ่งกาแล็คซี่เป็นแบบคล้ายๆเรานี้ ยังมีอีกมากมายจนนับไม่ได้อย่างชัดเจน(เพราะยังมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ) ที่อาศัยอยู่ภายใต้เอกภพนี้ ณ.ปัจจุบัน

    [​IMG]

    มนุษย์ได้กล่าวมาถึงแค่ตรงนี้
    หากจะจิตนการไปกว่า เอกภพแบบนี้ยังจะมีอีกหรือไม่ภายใต้อะไรซักอย่างนั้น ตรงจุดนี้ยังติดที่ขีดความสามารถในการพิสูจน์ ได้แค่การจินตนาการและร้อยเรียงภายใต้หลักเกณฑ์และทฤษฏี ซึ่งสรุปผลออกมาได้แค่ 50/50 ของทฤษฏีความน่าจะเป็น เชิงสถิติ


    ก็ตรงนี้แหละที่บอกว่าการจิตนาการนั้นมันก็ไม่สิ้นสุดเสียที การจิตนาการคือการสร้างมโนภาพในสมอง สร้างแล้วลบ สร้างแล้วลบ วนเวียนๆๆเป็นลูกโซ่ความคิด มันก็จะหักล้างกันเอง มีทั้งตั้งคำถามและตอบ ตรวจสอบคำตามสุดท้ายก็ ฮื่อ..มันจริงหรือเปล่าวะ เป็นวงจรของกระบวนการแห่งความคิด

    แต่จิตมีอีกลักษณะหนึ่งคือการรับรู้จากสารบางอย่างในสมองที่อยู่นอกเหนือจากกระบวนการคิดใดๆหรือการจิตนาการใดๆ "ภาษาพระได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า ปัญญา" ปัญญาตัวนี้เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ผ่านกระบวนการของความคิด แต่ก็ใช่ว่าจู่ๆจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ฉนั้นการเกิดของปัญญาจึงคลายกับหมดน้ำที่หยุดลงมาตรงกับวัตถุที่รองรับ ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญญานี้นั้นทางพุทธศาสนาได้มีแบบแผนในการเข้าถึงไว้แล้ว
    ใครอยากทดลองก็ต้องศึกษาและนำไปดำเนินการทำวิจัยกันเอง ก่อนที่ศาสนาพุทธจะถูกบิดเบือนของผู้ที่ไม่หวังดีโดยเจตนาและโดยไม่เจตนาก็ตาม ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงได้เช่นกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...