สร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะรับมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐ ปี

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 13 มีนาคม 2008.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เห็นว่ามีความเกี่ยวพันกับเรื่องราวของพระร่วงเจ้าที่เคยนำเสนอก่อนหน้านี้หลาย post ขึงนำ copy มาบันทึกไว้ที่นี่อีกครั้ง เพื่อเจริญศรัทธาของผู้มีจิตศรัทธาพระร่วงเจ้าเช่นกัน..

    มีเรื่องราวเล่าสู่กันฟังอีกแล้วครับเพื่อนๆ เมื่อวานนี้ผมได้ไปงานสัปดาห์หนังสือที่ศูนย์ประชุมสิริกิตต์ ผมตั้งใจไปที่บูธหนังสือเก่า(ป้ายสีเหลือง)เท่านั้น ด้วยความรู้สึกว่าจะได้พบอะไรบางอย่างที่น่าสนใจ ที่ตามหามานาน และก็พบจริงๆครบทุกรายการที่เคยต้องการมาก่อน แต่เวลา หรือวาระยังไม่ใช่ หรือยังไม่ได้เวลานั่นแหละครับ อาการที่พบคล้ายกับเมื่อหลายปีก่อนพบบาตรน้ำมนต์ที่สร้างเป็นที่ระลึกหอสมุดสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส คือพบบาตรก่อน แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดที่มาที่ไปว่าใครสร้าง สร้างที่ไหน จำนวนเท่าไหร่ ทำด้วยมวลสารอะไรบ้าง และพิธีใด สร้างเมื่อไหร่ จนหลัง ๖ เดือนที่ได้บาตรน้ำมนต์แล้ว จึงพบตำราการสร้างบาตรน้ำมนต์ซ่อนอยู่ในชั้นหนังสือตั้งวางซ้อนๆกัน และเป็นวันสุดท้ายของการจัดมหกรรมหนังสือ อีกทั้งเหลือเวลาอีกครึ่งชม.ร้านหนังสือก็จะปิดแล้ว ผมยกกองหนังสือขึ้นเพียงครั้งเดียว ก็พบหนังสือเล่มนี้วางอยู่ หยิบดูแต่ไม่ได้เปิดซองพลาสติก เพียงเห็นว่าบาตรน้ำมนต์สมเด็จโตเท่านั้น จากนั้นก็ไม่เคยได้เปิดดูว่าตำรานั้นเเขยนไว้ยังไงด้วยความไม่สนใจยังไงยังงั้น วันหนึ่งเปิดออกดู ก็พบว่า คือรายละเอียดประกอบบาตรน้ำมนต์ใบนี้นั่นเอง...

    เมื่อวานนี้ไปที่ร้านแรกพบตำราโหราศาสตร์เล่มหนึ่ง ที่ครั้งหนึ่งจำได้ว่าหมอกฤษณ์ คอมเฟิร์มเคยพูดถึงวิชาบริเฉจเจ็ดดารา ซึ่งรุ่นพี่ที่รู้จักท่านว่า คือภาคหนึ่งของสิบลัคนาของอจ.อรุณ เทศถมทรัพย์ ศิษย์ผู้หนึ่งของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่หลวงพ่อท่านเคยมอบให้ทำนายในเรื่องต่างๆ แต่ตำราท่านกระจายไปไม่ทราบสารทิศใด ปัจจุบันยังเก็บกลับไม่ครบ คนขายบอกว่า เมื่อวานมีคนหาเล่มนี้ แต่สุดท้ายก็มาอยู่ที่ผม...


    เล่มที่ ๒ นี้อยู่ร้านติดกัน มีความรู้สึกว่า ตำราที่ต้องการอยู่มุมซ้ายล่าง ลองรื้อดูพบดั่งคาด เป็นตำราของพระธุดงค์รูปหนึ่งที่บันทึกเป็นกระดาษข่อย มอบให้ท่านผู้หนึ่งไว้ จนท่านได้มอบถวายพ่อท่านคล้าย วัดจันดี ซึ่งเวลานี้ได้บรรจุไว้ภายในเจดีย์หินอ่อนแล้วในปี ๒๕๑๑ ฉบับที่อยู่กับผมนี้เป็นสำเนา คุณป้าร้านหนังสือเก่าท่านหนึ่งพอได้เห็นสภาพหนังสือท่านบอกว่า ไม่น่าเชื่อว่าจะสมบูรณ์ขนาดนี้ ตั้งแต่ขายหนังสือเก่ามานานหลายสิบปี ยังไม่เคยพบหนังสือเล่มนี้เลย...

    เล่มที่ ๓ นี้อยู่ห่างไปอีก ๒ ล๊อค ช่วงที่ผ่าน ๒ บูธนี้ใจพาไปที่ร้านนี้ เหมือนจะพาไปเอาอะไรบางอย่าง ซึ่งไม่รู้ว่าคืออะไร เหลือบตาดูข้างบน ใจนี้แป้วเลยครับ "ตำราพระร่วง" ของคุณพร้อม สุทัศน์ ณ อยุธยาเป็นผู้เขียน และรวบรวมไว้ เล่มนี้เปิดไม่ระวังขาดแน่ๆครับ ภายในมีประวัติของพระร่วงเจ้า ที่ละเอียดอย่างที่หาอ่านที่ไหนไม่ได้ พร้อมภาพเก่าโบราณพระร่วง พระลือ วัดตระพังทองครั้งสุโขทัยนั่นเอง ต่างจากที่ไปชมมาแล้วมากมายจริงๆ อีกทั้งแผนที่เมืองสวรรคโลก ก่อนรวม และหลังรวมกับสุโขทัย ทั้งที่เมื่อไม่กี่วันนี้เกิดความรู้สึกคิดถึงองค์พระร่วงเจ้าพระอาจารย์อย่างมาก และได้ post พระพิมพ์ท่านใน board นี้....

    ปฏิบัติการตามหา"ของ"บางอย่าง สงสัยจะจบกิจแล้ว เพราะรู้สึกเบาโหวงจริงๆ กระแสความศรัทธาโน้มนำให้ได้ไปพบเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกัน เกี่ยวข้องกับความสงสัยใจ คล้ายการต่อ jigsaw ยังไงยังงั้น สุดท้ายผมขอยืนยันว่าหากสร้างศรัทธาจนตอกย้ำเข้าไปในจิตใต้สำนึกได้ กระแสคลื่นที่ส่งออกไป จะไป attune กับคลื่นที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ส่งออกมาก่อนแล้ว เพียงแต่เวลายังไม่ได้เท่านั้นเอง เมื่อเวลาได้ แทบจะไม่ต้องไปเหนื่อยหาเลยครับ...
     
  2. พระอดุลย์ อตุโล

    พระอดุลย์ อตุโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    912
    ค่าพลัง:
    +1,162
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เรื่องราวของ"พระร่วงเจ้า"มีความเป็นมาที่น่าสนใจ แต่หาบันทึกที่จะระบุให้ชัดลงไปถึงความจริงนั้นยากมาก ความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ทั้งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ล้วนแล้วแต่เป็นไปตามพุทธวัจจะ และมาจนถึงยุคปัจจุบันผู้คนก็ไม่อยากจะไปตามหา หรือค้นหาความจริงกันว่าสมัยนั้นเป็นอย่างไร เป็นเรื่องจริง หรือเพียงเรื่องเล่า หรือเป็นนิทานคติสอนใจเท่านั้น...

    เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องย้อนกลับมายังผู้ที่มีความเชื่อ และยังมีความศรัทธาในพระร่วงเจ้า ผมเชื่อว่าเพียงมีความสนใจ ก็ย่อมจะค้นคว้าหาข้อมูลกัน สมัยหนึ่งผมจำได้ว่ามีบันทึกเรื่องราวของพระเร่วงจ้า และเรื่องราวในชาติต่างๆของพระร่วงเจ้า ตั้งแต่ก่อนเป็นพระร่วงเจ้า สมัยที่เป็นพระร่วงเจ้า และสมัยหลังจากพระร่วงเจ้าลุไปแล้ว ท่านจุติ และเสด็จลงเกิดเป็นใครต่อใครในชาติต่างๆทำไม? เพื่อวัตถุประสงค์อะไร? ทั้งนี้ไม่ได้เพื่อให้เราท่านยึดติดในภพชาติ หลงภพ หลงชาติอันใดไม่ แต่จะเพื่อการใด อยากให้เพื่อนๆที่สนใจในความเป็นมาของพระร่วงเจ้าได้ศึกษาผ่านบันทึกของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ลูกศิษย์ของท่าน ๒ ท่านได้แกะเทปพิมพ์เป็นหนังสืออนุสรณ์ถวายเนื่องในวันเกิดของหลวงพ่อเดือนตุลาคม ๒๕๒๔ เมื่อเร็วๆนี้ก็ได้หยิบขึ้นมาอ่านใหม่อีกรอบ ขออนุโมทนาบุญกับผู้เผยแพร่เรื่องราวนี้ในเวป "พระรัตนตรัย ดอท คอม"ด้วยครับ ซึ่งได้จัดทำเป็น file PDF ไว้แล้ว..

    http://www.praruttanatri.com/v1/spec...jing_piset.pdf<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2009
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เมื่อต้นเดือนพี่แอ๊วได้เกริ่นเรื่องของการปิดทองพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ที่พระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง พระอาจารย์นิลท่านก็ใช้ความละเอียดกับการปิดทองพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ การก่อสร้างพระเจดีย์ และรายละเอียดภายในเจดีย์ และรอบๆพระเจดีย์ล้วนมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้งานลุล่วงถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา ซึ่งได้นายช่างผู้ชำนาญงานมาดำเนินการ เพียงทองคำเปลวบริสุทธิ์ที่ใช้ปิดองค์พระทั้ง ๕ องค์ ผมคิดว่าไม่น้อยแน่ เพราะไม่สวยงามท่านก็ให้ปิดใหม่ ปิดทับ

    พี่แอ๊วได้บอกเล่ารายละเอียดของการปิดทองพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ให้ฟังก็เลยมาถึงเรื่องงานลงรัก และปิดทองบุษบกฯ ซึ่งคาดว่าจะให้นายช่างเสร็จจากงานปิดทองพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์เสียก่อนจึงจะมารับงานลงรัก และปิดทองบุษบก ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ฤกษ์การดำเนินการลงรักปิดทองในเร็วๆนี้เสียที(ทางพี่แอ๊วคาดว่าน่าจะในราวเดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งก็ต้องยอมรับกันว่า ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นจากช่วงที่ดำเนินการสร้างบุษบกจากบาทละ 14,600-14,700 บาท(http://www.ranthong.com/webboard) จนเวลานี้บาทละ 17,300-17,400 ก็ยังไม่มีที่ท่าว่าจะลดลงมาถึงระดับเดิมอีกเลย เอาไว้ให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากนี้อีกก็จะแจ้งกันให้ทราบต่อไป

    เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมีความจำเป็นต้องนำเอาพระบูชาเก่าเก็บเช่นพระสิบสอง พระสิบแปด พระกาบกล้วย หรืออาจจะเป็นพระรอด จำนวนหนึ่งมาให้บูชาเพื่อการเตรียมงานลงรัก และปิดทองให้บุษบกหลังนี้แล้วเสร็จให้ได้ ซึ่งพระพิมพ์พระบูชาเหล่านี้มีเพียงไม่กี่ชิ้นเท่าที่ผมเก็บรักษาไว้เท่านั้น สิ่งที่กังวลใจคือหากบางท่านมีความสนใจ และได้รับไปอาจจะไปตั้งวางบูชาไม่ได้เนื่องจากรูปทรงของพิมพ์พระไม่เหมือนกับสมัยนี้ จึงกำลังคิดว่าน่าจะนำไปให้ช่างแกะสลักไม้ทำฉลุไม้ ทำเป็นซุ้มเรือนแก้วของพระบูชานี้ไปเลย หรืออาจจะแนะนำให้กับผู้บูชาไปดำเนินการเอาเองเนื่องจากค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง...
     
  5. กล่องเปล่า

    กล่องเปล่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +189
    บุญนี้ผมยังร่วมปัจจัยได้อยู่ใช่ไหมครับ

    อนุโมทนา สาธุ
     
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ กล่องเปล่า [​IMG]
    บุญนี้ผมยังร่วมปัจจัยได้อยู่ใช่ไหมครับ

    อนุโมทนา สาธุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ก็ยังสามารถร่วมบุญสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะได้อยู่ครับ ซึ่งผมก็ให้ผ่านไปตามวาระ โอกาสของแต่ละท่าน หากทีมช่างที่ดำเนินการปิดทองพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ที่พระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งเรียบร้อยแล้ว พี่แอ๊วก็จะทาบทามให้ดำเนินการลงรักปิดทองบุษบกหลังนี้ต่อเลย นอกจากนี้ทางน้องๆของพี่แอ๊ว และลูกสาวบุญธรรมก็จะเข้ามาช่วยสร้างผ้าห่มคลุมองค์พระ ซึ่งตั้งใจว่าหลังปีใหม่คงได้พากันไปนมัสการกราบพระกันที่วัด เพื่อบอกกล่าวเจตนาขออนุญาตพระท่านถึงการสร้างผ้าห่มคลุมองค์พระ ซึ่งเมื่อราว ๒ เดือนก่อน ผมได้เดินทางไปที่วัด ก็พบว่า ช่วงพระพักตร์ท่านยิ่งแตกร้าวมากขึ้น เนื่องจากการพุทธบริษัทนำทองคำเปลวไปปิดด้วยความไม่ระมัดระวัง หากยิ่งดำเนินการช้าเกินไปจะยิ่งเสียหายขึ้น แต่เราก็ว่ากันไปตามเวลา ไปเร่งก็ไม่ได้ เพราะช่างมีฝีมือก็หายากเย็นกันจริงๆ ตัวบุษบกยังไม่เสร็จ ทางเพื่อนๆ(คุณก้านบัว)ที่จะสร้างเบาะยางพาราถวายเพื่อรองรับน้ำหนักองค์พระก็ยังดำเนินการไม่ได้ แม้ว่าจะทราบขนาดกว้างxยาวxความหนาของเบาะยางพาราแล้วก็ตามที ส่วนผ้าห่มคลุมองค์พระที่พี่แอ๊ว และน้องๆจะร่วมกันสร้างถวายนั้นก็ยิ่งต้องรอให้องค์พระได้ลงรัก ปิดทอง และประดิษฐานภายในบุษบกเสียก่อน จึงจะทราบขนาด เนื่องจากพระหัตถ์ที่ยกวันทานั้น ก็เป็นความยากของงานชิ้นหนึ่ง ยังไม่ทราบว่า จะออกมาในลักษณะใดจึงจะเหมาะสมเลยครับ แต่ผมเชื่อว่า ผู้จัดสร้างเป็นลูกหลานของท่านย่า ท่านแม่ จึงต้องออกมางดงามอย่างแน่นอน หากได้ไปชมพานดอกไม้ธูปเทียนแพที่วิหารร้อยเมตรของวัดท่าซุงกันแล้ว มีงานบางชิ้นเป็นฝีมือของทีมนี้ ไปเห็นดอกไม้สดบูชาพระที่ซอยสายลมตรงบันไดก่อนจะขึ้นไปฝึกกรรมฐาน ไปแต่ละครั้งก็สวยงามวิจิตรไม่มีที่ติจริงๆ ดังนั้นวางใจว่าออกมาเนี๊ยบอย่างแน่นอนครับ

    ปัจจัยที่จะร่วมก็แล้วแต่ความสะดวกครับ ไม่ได้ไปจำกัด และหากปรารถนาในพระกรุเก่าของลำพูนก็ยังพอให้บูชาตามรายการที่เหลือ บางรายการไม่ได้เพิ่มเติมเนื่องจากว่า ของหมด ผมก็ได้เล่าให้บางท่านฟังถึงกรุพระลำพูนนี้ว่าคือกรุวัดใดทาง PM เนื่องจากไม่ต้องการสร้างราคาเมื่อทราบชื่อกรุพระนี้แล้ว เป็นความง่ายครับ หากเราไม่ทราบชื่อกรุพระวัดใด แล้วเรียกกรุพระลำพูน ซึ่งก็ไม่ผิด และก็สบายใจดี แต่หลังจากได้บูชากันไปแล้ว หากสอบถามผมก็จะบอกเล่าให้ฟังว่าคือกรุใด เพื่อสามารถจะบอกเล่าให้ชนรุ่นหลังได้ทราบ เอาไว้หลังปีใหม่จะ upload ภาพพระบูชาของกรุลำพูนนี้ให้ชม และบูชากันครับ

    ส่วนDVD สามารถขอมาได้ตลอดเวลา ค่าจัดส่งฟรีครับ เนื่องจากว่า เพื่อนๆทั้ง ๑๐ ท่านได้ช่วยกันดำเนินการมอบปัจจัยสร้างธรรมทานพิเศษนี้เพื่อเป็นที่ระลึกกับผู้ร่วมสร้างบุษบกนี้ทุกท่าน เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพระโมคคัลลานะ ตั้งใจว่าจะมอบให้กับพี่แอ๊ว และทีมงาน คุณก้านบัว และทีมงาน เพื่อแจกจ่ายผู้ร่วมบุญทุกท่านเป็นที่ระลึก ก็ยังเหลืออยู่จำนวนหนึ่งไม่มากแล้วครับ หลังจากที่ได้มอบให้ทางซอยสายลมไปแล้ว ๑๐ ชุดสำหรับผู้ทำบุญสังฆทานชุดละ ๒,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นการมอบให้เพิ่มเติมจากหนังสือธรรมะที่ทางวัดมอบให้ตามปกติอยู่แล้วครับ...
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ๓ เดือนนี้(๑๘ ม.ค. ๒๕๕๓-๑๗ เม.ย. ๒๕๕๓)คงจะต้องรีบเร่งระดมปัจจัยเพื่อเตรียมการลงรัก ปิดทอง บุษบกหลังนี้ และนำปัจจัยสมทบทุนจัดสร้างผ้าห่มคลุมองค์พระ และเบาะยางพารา และเครื่องไทยทาน ซึ่งรอทางด้านพี่แอ๊วเสร็จจากงานลงรักปิดทองพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ไปพร้อมกัน ผมจึงนำพระบูชาเก่ากรุลำพูนมาให้บูชาเพื่อการดังกล่าว พระบูชาที่ผมมีอยู่ไม่ได้มีมากมาย เพียงแบบพิมพ์ละ ๑-๓ องค์เท่านั้น จึงสามารถแบ่งปันให้กับเพื่อนผู้ปรารถนาจะมีพระบูชาของลำพูนไว้บูชา

    พระบูชาองค์ที่ ๑ แม่พระคง มอบให้ ๑ องค์ เมื่อร่วมบุญ ๔๐,๐๐๐ บาท..
    เข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์
    สาขา สุขุมวิท ซอย 3/1
    ชื่อบัญชี คุณอภิวัฒน์ ชัฎอนันต์ เพื่อสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ
    เลขที่บัญชี 074-2-14149-7


    การสร้างพระคง

    หลังเสร็จศึกขุนหลวงมิลังก๊ะ ปีพ.ศ. ๑๒๑๖ ด้วยดำริของพระคุณเจ้าได้เห็นว่าเมืองหริภุญไชยรอดพ้นจากภยันตรายเพราะพระรอด จึงคิดจะทำให้บ้านเมืองมั่นคงสืบไป ได้ปรึกษากับพระสหาย ครูบาอาจารย์ มีพระแม่จามเทวีเป็นองค์ประธาน

    ดินที่ใช้ในการจัดสร้างนั้นเกิดจากนิมิตของพระแม่จามเทวีที่ได้นิมิตในคืนที่หลังจากอธิษฐานจิตบอกกล่าวพระแม่ธรณี และเทพเทวาทั้งหลายขอดินที่เหมาะแก่การสร้างพระที่ทำให้บ้านเมืองมีความมั่นคงสืบไป ในนิมิตความฝันได้มีเทวดามาพบ และบอกให้ไปนำดินที่ดอยโหยด มาสร้างพระ ดินนี้เป็นดินที่เต่าเผือกคู่หนึ่งได้ดำน้ำลงไปในท้องน้ำที่ลึกมาก และช่วยกันคาบขึ้นมากองสร้างที่อยู่อาศัย เสร็จแล้ว ก็ดำน้ำช่วยคาบมากองไว้ใกล้รังที่อยู่อาศัยอีกกองหนึ่ง ให้นำกองดินข้างรังที่อยู่อาศัยนี้ไปสร้างพระ เมื่อตื่นจากบรรทม จึงได้พิจารณาความฝันตามนิมิต และปรึกษากับพระโหราจารย์ พร้อมกันไปทอดพระเนตรยังที่ดอยโหยดนั้นก็พบรังที่อยู่อาศัย และดินกองข้างรังที่อยู่อาศัยของเต่าเผือกคู่นั้นตามที่นิมิตฝันทุกประการ จึงได้นิมนต์พระสงฆ์ สวดชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่กองดินนั้น พระแม่จามเทวีได้วางดอกไม้ธูปเทียนยังกองดินนั้น และบอกกล่าวขอดินต่อเต่าเผือกคู่นั้น และพระแม่ธรณีเทพเทวาที่รักษา ให้เสนาอำมาตย์ช่วยกันขุด และแบกหามขนดินกลับมายังตำหนัก พร้อมกับทรงชุบเลี้ยงเต่าเผือกคู่นั้น

    ดินที่นำมาเกลี่ยตากให้แห้ง แล้วบดทับให้เป็นผงละเอียด จากนั้นผสมว่านศักดิ์สิทธิ์ บริกรรมพระคาถาไปด้วยจนว่านกับดินเข้ากันสนิท หมักในหม้อ ๑ เดือน จึงนำมากดพิมพ์พระ

    พิธีกดพิมพ์พระคง ได้จัดปะรำพิธีขึ้นภายในตำหนักพระแม่จามเทวี ก่อนเริ่มการกดพิมพ์พระคง พระสงฆ์ได้สวดมนต์ ปะพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั่วบริเวณพิธี ช่วยกันกดพิมพ์พระทั้งคฤหัสถ์ คนบ้าน บรรพชิต แต่เฉพาะคฤหัสถ์ต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์จึงจะเข้าร่วมในพิธีกดพิมพ์พระได้ ห้ามใช้วาจาที่ไม่เป็นมงคล และห้ามถ่มน้ำลายในบริเวณพิธี จัดสร้างเพียง ๑๐,๘๐๐ องค์

    เมื่อกดพิมพ์พระเสร็จแล้ว ต้องทำการเผา พระคุณเจ้าได้กำหนดฤกษ์ยาม และสถานที่คือทิศเหนือบริเวณวัดพระคงฤาษีนั่นเอง ก่อเป็นเตาอบจัดวางพระคงลงในเตาอบ จัดอาสนะสงฆ์โดยรอบสี่ทิศพร้อมทั้งราชวัตรฉัตรธง ครั้นได้ฤกษ์ยามมงคลที่ได้กำหนด พระคุณเจ้าทำพิธีขอขมาลาโทษต่อพระแม่ธรณี จากนั้นนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นนั่งบนอาสนะ และเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมทั้งจุดไฟในเตาเผา พระสงฆ์สลับหมุนเวียนเปลี่ยนกันขึ้นไปเป็นเวลา ๕ วัน ๕ คืน ก็หยุดปล่อยให้คลายความร้อนพอจับต้องได้ นำพระคงออกจากเตาเผา ปะพรมด้วยน้ำสุคนธรส จนหอมฟุ้งไปทั้งบริเวณ จากนั้นนำพระคงทั้งหมดไปที่ตำหนักพระแม่จามเทวี รอทำพิธีอบอธิษฐานต่อไป

    ระหว่างที่รอการอบอธิษฐานโดยนำเก็บยังที่เก็บรักษานั้น พระฤาษีทั้งหลายจะใช้อำนาจฌานบารมีปกป้องไม่ให้สิ่งอาถรรพ์เข้ามาแอบแฝงยังองค์พระ พระฤาษีสุเทวะผู้ชำนาญเตโชกสิณ(กสิณไฟ) จะเพ่งแผ่เตโชกสิณเข้าสู่องค์พระ จนเห็นเป็นรัศมีรุ่งโรจน์แผ่คลุมทั้งหมดที่วางรวมกองกัน

    พิธีอบอธิษฐานนี้ ทำให้สิ่งที่ถูกอบมีกลิ่นหอมเปรียบได้กับกิตติศัพท์ กิตติคุณ ที่หอมฟุ้งกระจายไปทั่วทิศ การอบนั้นจัดในเมืองหริภุญไชยทางด้านทิศตะวันออก ตรงบริเวณด้านเหนือวัดธงสัจจะ ใช้ไม้มะค่าในการอบนาน ๕ วัน พระคุณเจ้าให้ชื่อว่า "พระคง" ส่วนหนึ่งบรรจุไว้ที่วัดพระคงฤาษี ที่เหลือแจกจ่ายแก่คนทั่วไป และผู้ประสงค์จะมีไว้สักการะบูชา

    อิทธคุณแห่งพระคง เพื่อความมั่นคงแห่งเมืองหริภุญไชย การผ่านเตโชกสิณนี้ให้อิทธิคุณด้านการรักษา คุ้มกัน จากการศึกษาในตำรา พบว่า โรคภัยไข้เจ็บสามารถจะหายขาดได้หากใช้เตโชกสิณกำกับในตำแหน่งของโรคภัยนั้น ดังนั้นพระคงนอกจากจะมีอิทธิคุณด้านความมั่นคง การปกป้อง แล้วยังหวังผลในด้านการคุ้มกันรักษาอีกด้วย..

    สรุปจากการเรียบเรียงของคุณประสิทธิ์ เพ็ชรรักษ์ ซึ่งเรียบเรียงจากนิมิตของคุณไพศาล แสงไชย

    ว่ากันว่า พระคง มีจำนวนมาก ในวงการก็สันนิษฐานไปได้เรื่อยๆ ว่าถูกไฟไกล ใกล้กันบ้าง บางอย่างก็ไม่สามารถอธิบายได้ก็จะพยายามอธิบาย ผมคิดว่า ต้องลองหาคำอธิบายจากส่วนนี้น่าจะเข้าเค้ากว่าครับว่า เหตุใดที่ยอดธงไชยเฉลิมพลในสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงติดพระคงดำ ไม่ติดพระคงสีพิกุล หรือพระคงเขียว ฯลฯ

    เรื่องราวของพระคงดำที่ผู้คนใฝ่ฝันค้นหากันที่วัดพระคงฤาษี พระคงดำอันเป็นพระหาได้ยากยิ่งของเมืองหริภุญไชย พระคงดำไม่ใช่เกิดจากความบังเอิญที่เกิดขึ้นในเตาเผาโดยที่พระถูกเผาจนสุกที่สุดมีความแข็งแกร่งที่สุด ถ้าเผาต่ออีกพระจะสลายตัวไม่เกาะกัน แต่พระคงดำเป็นพระที่ผสมผงใบลานและ ว่านลงไปด้วยอย่างจงใจโดยมุ่งหวังกฤตยาคมทางด้านคงกระพันชาตรี คนรุ่นปู่รุ่นทวดท่านรู้มาตั้งนมนานแล้ว ในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ พระองค์ท่านได้พระราชทานธงไชยเฉลิมพลโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม แสงชูโต)ไปปราบฮ่อ พระองค์ท่านได้ทรงบรรจุสิ่งของมงคลไว้ ๓ ประการ หนึ่งในสามนั้นคือได้อัญเชิญพระคงดำประดิษฐานบนยอดธงไชยเฉลิมพล

    ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของธงไชย(ชัย)เฉลิมพล http://www.rtaf.mi.th/news/a04/jan_25/jan_25.htm

    "ธงชัยเฉลิมพล"เป็นธงประจำหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ธงชัยเฉลิมพล ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ที่ทหารทุกคน จะต้องเคารพสักการะและพิทักษ์รักษาไว้ด้วยชีวิต การปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับธงชัยเฉลิมพล ทุกขั้นตอน ต้องเป็นไปตาม พิธีการระเบียบ แบบแผนที่วางไว้อย่างเข้มงวดกวดขัน และโอกาสที่จะเชิญออกประจำ จะต้องเป็นพิธีการ ที่มีความสำคัญ เกี่ยวกับเกียรติยศ และเชิดหน้าชูตาเท่านั้น เช่น พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตน และไปราชการสงคราม เป็นต้น ธงชัยเฉลิมพล เริ่มมีในกองทัพบก แต่เดิมจำแนกได้ เป็นสองชนิด ชนิดแรก คือธงชัยเฉลิมพล ประจำกองทัพ อันได้แก่ ธงจุฑาธุซธิปไตย และธงมหาไพชยนต์ธวัช และ ธงชัยเฉลิมพล ชนิดที่สอง คือ ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร
    [​IMG]
    ธงจุฑาธุซธิปไตย
    ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทัพ สมัยรัชกาลที่ 5


    ธงชัยจุฑาธุซธิปไตย นับเป็นธงชัยเฉลิมพลประจำกองทัพ ธงแรกของไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้สร้างขึ้นพระราชทาน แก่กองทัพไทย เมื่อพุทธศักราช 2418 เพื่อแทนพระองค์ ไปในกองทัพที่ยกไปปราบ พวกฮ่อที่เข้ามาก่อการจลาจล ในแคว้นหัวพันทั้งห้าทั้งหก และสิบสองปันนา

    นำมาสรุปไว้อีกครั้งครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010586.JPG
      P1010586.JPG
      ขนาดไฟล์:
      307.5 KB
      เปิดดู:
      102
    • P1010588.JPG
      P1010588.JPG
      ขนาดไฟล์:
      302.8 KB
      เปิดดู:
      90
    • P1010589.JPG
      P1010589.JPG
      ขนาดไฟล์:
      304.7 KB
      เปิดดู:
      75
    • P1010587.JPG
      P1010587.JPG
      ขนาดไฟล์:
      302.4 KB
      เปิดดู:
      85
    • P1010590.JPG
      P1010590.JPG
      ขนาดไฟล์:
      338.8 KB
      เปิดดู:
      95
    • P1010591.JPG
      P1010591.JPG
      ขนาดไฟล์:
      284.5 KB
      เปิดดู:
      77
    • P1010592.JPG
      P1010592.JPG
      ขนาดไฟล์:
      325 KB
      เปิดดู:
      86
    • P1010593.JPG
      P1010593.JPG
      ขนาดไฟล์:
      296 KB
      เปิดดู:
      86
    • P1010594.JPG
      P1010594.JPG
      ขนาดไฟล์:
      299.2 KB
      เปิดดู:
      80
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระบูชาองค์ที่ ๒ แม่พระรอดพุทธคยา มอบให้ ๑ องค์ เมื่อร่วมบุญ ๔๐,๐๐๐ บาท..
    เข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
    สาขา สุขุมวิท ซอย 3/1
    ชื่อบัญชี คุณอภิวัฒน์ ชัฎอนันต์ เพื่อสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ
    เลขที่บัญชี 074-2-14149-7


    การสร้างพระรอด

    หลังการขึ้นครองราชย์ราว ๑ เดือน ด้วยดำริของพระคุณเจ้าได้เห็นว่าเมืองหริภุญไชยมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหาร ทรัพย์สินเงินทอง ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เครื่องทองมีค่าต่างๆ อีกทั้งเจ้าผู้ครองนครยังเป็นอิสตรีที่มีความเลอโฉม เกรงว่าจะมีภัยจากเมือง หรือแคว้นอื่นยังความเดือดร้อนแก่อาณาประชาราษฎร์ อาจทำให้เจ้าเมืองอื่นซึ่งเป็นบุรุษเพศจะจาบจ้วงมาล่วงเกินเอาตามอำนาจกิเลสตัณหาไม่คำนึงถึงศีลธรรมความถูกต้อง อาจเกิดศึกสงครามฆ่าฟันกันขึ้น ผลที่สุดบ้านเมืองที่สร้างขึ้นมานี้ อาจถึงกาลพินาศได้

    ด้วยเมตตาจิตที่บังเกิดขึ้นนี้ พระฤาษีจึงได้คิดถึงคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ จึงคิดที่จะทำการสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นเป็นองค์แทนพระรัตนตรัยที่จะยังความเคารพนับถือของชาวเมือง พระคุณเจ้าจึงได้นิมนต์พระสงฆ์ที่มีศีลาจารวัตรที่งดงาม ประพฤติพรต บำเพ็ญเพียรจนมีตบะที่แก่กล้าร่วมกันอธิษฐานจิตแผ่พลังอำนาจประจุลงในวัตถุมงคล แผ่บารมีคุ้มครองสรรพสัตว์ตลอดจนวัตถุทั้งหลายให้แคล้วคลาดจากภยันตราย ส่วนหนึ่งเก็บไว้รักษาบ้านเมือง ส่วนหนึ่งแจกจ่ายเสนาบดี อำมาตย์บ่าวไพร่ และชาวบ้านทั่วไปเพื่อกราบไหว้สักการะเป็นสิริมงคล เมื่อถึงคราวที่เภทภัยอันตรายมาสู่บ้านเมือง พลังอันเร้นลับศักดิ์สิทธิ์ที่ประจุไว้แล้วนี้จะเปรียบเสมือนกำแพงปราการป้องกันสรรพภัยให้พ้นจากอันตรายที่เข้ามาย่ำยีได้

    วัตถุมงคลที่ประจุพลังนี้ต้องจัดสร้างให้มีขนาดเล็ก อันสามารถที่จะพกพาติดตัวได้ วัตถุมงคลชิ้นเล็กนี้คือ"พระรอด"นั่นเอง พระฤาษีสุพรหมณะอินโท ดอยเขาพระงาม เวียงละกอน เป็นผู้คิดแบบพระที่จะจัดสร้าง พระฤาษีขัตติยรัตนา เขาสมอคอน เมืองละโว้เป็นผู้ปั้นแกะต้นแบบ พระฤาษีสุเทวะเป็นผู้ให้ชื่อพระพิมพ์นี้ว่า "พระรอด" พระฤาษีได้ตกลงใจใช้ดินที่มีความละเอียด ปราศจากมด ปลวก สัตว์เล็กๆ ไม่มีผู้ใดไปเหยียบย่ำ อยู่ที่ดอยอักขระคีรี(ดอยม่อนมะหินเหล็กไฟ ทิศใต้อำเภอป่าชาง จ.ลำพูน)

    การไปขุดดินเพื่อนำมาสร้างพระรอดนี้ พระแม่จามเทวีได้นิมนต์พระสงฆ์ ๔ รูป พร้อมเสนาอำมาตย์ไปแผ้วถางผืนดินบริเวณที่จะพลีดิน และวางธูปเทียนดอกไม้ บอกกล่าวแก่พระแม่ธรณีขอเนื้อขอหนังพระแม่ธรณีไปเพื่อยังความสิริมงคลแก่บ้านเมือง นิมนต์พระสงฆ์ประจำทิศทั้ง ๔ แล้วสวดพระชัยมงคลคาถาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ พร้อมด้วยน้ำสุคนธรสของหอมต่างๆ ให้เหล่าเสนาอำมาตย์ขุดดิน และห้ามพูดจาที่เป็นอัปมงคล ห้ามถ่มน้ำลายลงบนพื้นดินบริเวณนั้น เมื่อได้ดินปริมาณตามต้องการจึงให้เหล่าเสนาอำมาตย์แบกหามดินนั้นมายังพระตำหนัก นำดินมาเกลี่ยตากแห้ง บดเป็นผงผสมกับว่าน บริกรรมพระคาถากำกับขณะผสมดินกับว่านให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใส่หม้อดินเผาหมักไว้ ๑ เดือน จากนั้นนำมากดพิมพ์พระรอด

    พิธีกดพิมพ์พระรอด ได้จัดปะรำพิธีขึ้นภายในตำหนักพระแม่จามเทวี ก่อนเริ่มการกดพิมพ์พระรอด พระสงฆ์ได้สวดมนต์ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั่วบริเวณพิธี ช่วยกันกดพิมพ์พระทั้งคฤหัสถ์ คนบ้าน บรรพชิต แต่เฉพาะคฤหัสถ์ต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์จึงจะเข้าร่วมในพิธีกดพิมพ์พระได้ ห้ามใช้วาจาที่ไม่เป็นมงคล และห้ามถ่มน้ำลายในบริเวณพิธี ใช้เวลากดพิมพ์พระรอดทั้งสิ้น ๑ เดือน กับ ๙ วัน จัดสร้าง๘๔,๐๐๐ องค์ เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์

    เมื่อกดพิมพ์พระเสร็จแล้ว ต้องทำการเผา พระคุณเจ้าได้กำหนดฤกษ์ยาม และสถานที่คือทิศเหนือบริเวณวัดพระคงฤาษีนั่นเอง ก่อเป็นเตาอบจัดวางพระรอดลงในเตาอบ นำไม้รกฟ้ามาทำฟืน จัดอาสนะสงฆ์โดยรอบสี่ทิศพร้อมทั้งราชวัตรฉัตรธง ครั้นได้ฤกษ์ยามมงคลที่ได้กำหนด พระคุณเจ้าทำพิธีขอขมาลาโทษต่อพระแม่ธรณี จากนั้นนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นนั่งบนอาสนะ และเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมทั้งจุดไฟในเตาเผา พระสงฆ์สลับหมุนเวียนเปลี่ยนกันขึ้นไปเป็นเวลา ๕ วัน ๕ คืน ก็หยุดปล่อยให้คลายความร้อนพอจับต้องได้ นำพระรอดออกจากเตาเผา ประพรมด้วยน้ำสุคนธรสของหอมจนหอมฟุ้งไปทั้งบริเวณ จากนั้นนำพระรอดทั้งหมดไปที่ตำหนักพระแม่จามเทวี รอทำพิธีอบอธิษฐานต่อไป

    ระหว่างที่รอการอบอธิษฐานโดยนำเก็บยังที่เก็บรักษานั้น พระฤาษีทั้งหลายจะใช้อำนาจฌานบารมีปกป้องไม่ให้สิ่งอาถรรพ์เข้ามาแอบแฝงยังองค์พระ พระฤาษีสุเทวะผู้ชำนาญเตโชกสิณ(กสิณไฟ) จะเพ่งแผ่เตโชกสิณเข้าสู่องค์พระ จนเห็นเป็นรัศมีรุ่งโรจน์แผ่คลุมทั้งหมดที่วางรวมกองกัน

    พิธีอบอธิษฐานนี้ ทำให้สิ่งที่ถูกอบมีกลิ่นหอมเปรียบได้กับกิตติศัพท์ กิตติคุณ ที่หอมฟุ้งกระจายไปทั่วทิศ การอบนั้นจัดในเมืองหริภุญไชยทางด้านทิศตะวันออก ตรงบริเวณด้านเหนือวัดธงสัจจะ ก่อนการอบจะทำ"พิธีข่มศัตราวุธ"ไปในพิธีด้วย

    พิธีข่มศัตราวุธ พระแม่จามเทวีให้เสนาอำมาตย์ ชาวบ้านช่วยกันแผ้วถางพื้นที่บริเวณพิธีที่จะทำพิธีข่มศัตราวุธ หลังจากปัดกวาดเรียบร้อย จึงจะนิมนต์พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบบริเวณ จึงปลูกโรงพิธีใหญ่เต็มบริเวณ ให้ผู้คนขนศัตราวุธมาวางบนพื้นเรียงกัน ทั้งมีด หอก ดาบ หลาว เหลน ด้ามไม้ ฯลฯ ที่เป็นอาวุธทั้งหลายในการศึกสงครามในสมัยนั้นทุกชนิด จากนั้นทำแท่นคล่อมไว้เป็นการข่มศัตราวุธทุกชนิด บนแท่นวางพระรอดนั้นให้วางดอกไม้ของหอม วางเกลี่ยเต็มแท่น คลุมทับด้วยผ้าขาว แล้วจึงนำพระรอดทั้ง ๘๔,๐๐๐ องค์ มาวางทับบนผ้าขาว คลุมทับพระรอดทั้ง ๘๔,๐๐๐ องค์อีกชั้นด้วยดอกไม้ของหอมอีก ๑ ชั้น แล้วนำผ้าขาวมาลาดปูทับดอกไม้ของหอมนั้นเป็นชั้นสุดท้าย รอบแท่นขัดด้วยราชวัตรฉัตรธง วางสะตวงเซ่นสรวงพระแม่ธรณี ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ องค์ โดยวางไว้ครบ ๔ ทิศ ภายในสะตวงได้วางรูปปั้นสัตว์นานาชนิดเพื่อเป็นการบอกกล่าวกับสรรพสัตว์ทั้งหลายให้รับรู้ไว้ จึงเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีข่มศัตราวุธ

    พิธีอบอธิษฐานนี้ ได้นิมนต์พระสงฆ์รวม ๑๙ องค์ อบอธิษฐานติดต่อกัน ๙ วัน ๙ คืน พระสงฆ์สลับหมุนเวียนเปลี่ยนกันขึ้นไป โดยใช้สะหลุงเจาะก้นให้น้ำไหล แต่นำไปลอยในอ่างน้ำใหญ่ หากจมเมื่อไหร่ คนที่เฝ้าก็จะตีฆ้องกลองสัญญาณขึ้น พระสงฆ์ก็จะขึ้นไปสลับหมุนเวียนเปลี่ยนกันขึ้นไป ตลอดเวลา ๙ วัน ๙ คืนนี้ พระแม่จามเทวี และชาวเมืองหริภุญไชยก็จะทำบุญใส่บาตรถวายอาหารพระตลอด ๙ วันเช้านั้น

    เมื่อเสร็จจากพิธีอบอธิษฐานแล้ว ก็ได้นำ"พระรอด"ออกแจกจ่ายเหล่าเสนาอำมาตย์ ชาวบ้าน ชาวเมือง ผู้ที่มาร่วมบุญ ช่วยเหลือพิธี ส่วนหนึ่งนำไปบรรจุที่วัดมหาวัน พร้อมทั้งได้สาปแช่งไว้ว่า หากผู้ใดมาลักขุดเจาะเอาพระรอดออกไปจากพระเจดีย์ ขอให้มันผู้นั้น และผู้ครอบครองพระที่ได้ไปโดยไม่ถูกต้อง จงประสบแต่ความฉิบหาย และความวิบัติ อย่าได้มีความสุขความรุ่งเรือง ให้ตกต่ำยากไร้จนถึงที่สุด ส่วนผู้ที่ได้ไปโดยชอบธรรมขอให้มีความสุข ความเจริญรุ่งเรือง รอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง พระรอดจำนวน ๕,๐๐๐ องค์ ได้ทำพิธีบรรจุไว้ในถ้ำใต้ดิน ภายในวัดมหาวัน และผูกพยนต์ไว้คุ้มครอง หากผู้ใดที่ไปนำพระรอดออกมา จะต้องมนต์พยนต์ตัดร่างกายขาดเป็นท่อนๆ พระรอดทั้ง ๕,๐๐๐ องค์นี้ เอาไว้ป้องกันเมืองหริภุญไชย ป้องกันภัยพิบัติที่จะเกิดกับอาณาประชาราษฏร์ เกิดการอยู่เย็นเป็นสุข ไปจนตราบเท่าอายุพระพุทธศาสนาครบ ๕,๐๐๐ ปี

    อิทธิคุณแห่งพระรอด เพื่อการปกป้องเมืองหริภุญไชยให้แคล้วคลาดจากอริราชศัตรู จึงเน้นเรื่องของความแคล้วคลาด มหาอุด คงกระพัน ศิลปการสร้างพระรอดนั้นได้จำลองตำแหน่งแห่งที่ของวัดสี่มุมเมืองไว้ที่องค์พระรอดด้วย ลักษณะรูปทรงของพระรอดเป็นรูปทรงของเมืองหริภุญไชย เป็นพระที่จัดสร้างไว้องค์เล็กเพื่อการพกติดตัว และมีอิทธิคุณสูง

    สรุปจากการเรียบเรียงของคุณประสิทธิ์ เพ็ชรรักษ์ ซึ่งเรียบเรียงจากนิมิตของคุณไพศาล แสงไชย


    หาค้นหาตำราพระเครื่อง พระรอดมักจะได้รับการบอกกล่าวถึงที่มาของพระรอดมหาวันเท่านั้น แต่อยากให้พิจารณา ณ เวลานี้การจะได้พระรอดมหาวันมาซักองค์นั้นต้องยอมรับกันว่า ยากเย็นจริงหากพิจารณาดูที่ราคาประกอบกันไปด้วย เราๆท่านๆต่างไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของกันและที่เคยกล่าวว่า พระรอดมีที่วัดมหาวันที่เดียวหรือ? เช่นกันกับคำถามพระสมเด็จที่ทันสมเด็จโตท่านเสก มีเพียง ๓ วัดหลักๆหรือ? ดังนั้นการพิจารณาพระพิมพ์ที่พอจะหาได้ในอายุที่รองลงมา (อายุพระรอดมหาวันอยู่ที่๑,๓๐๐ ปี)ราคาย่อมเยานั้นจึงถูกนำมาพิจารณา..
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มูลเหตุของการสร้างพระรอด<O:p</O:p
    นับแต่เมืองหริภุญไชยก่อสร้างขึ้นมาด้วยความช่วยเหลือของพระฤาษีโดยพระแม่จามเทวีเป็นองค์อัครปฐมกษัตริย์ การศึกสงครามในสมัยนั้นก็ยังมีระหว่างเมืองต่างๆต่างก็ต้องการจะยึดครองเมืองหริภุญไชย เนื่องจากข้าวปลาอาหาร ดิน น้ำ สมบูรณ์ อีกทั้งหากสามารถยึดเมืองหริภุญไชยได้ก็จะได้พระแม่จามเทวีที่มีสิริโฉมงดงามเป็นมเหสีอีกด้วยจึงเป็นที่หมายปองของเมืองต่างๆ พระฤาษีสมัยนั้นเปรียบเสมือนที่ปรึกษากองทัพ และที่ปรึกษาด้านพุทธศาสนาไปในตัวจึงเห็นสมควรให้สร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งเมือง แห่งแคว้นจึงได้ให้ช่างสิบหมู่ร่วมกันสร้าง"พระรอด"โดยช่างสิบหมู่ออกแบบองค์พระให้มีความสวยงาม ผสานแนวคิดทางปรัชญาต่างๆลงไปในองค์พระ โดยเลือก"พระปางมารวิชัย"(อ่านว่ามาร-ละ-วิ-ชัย) ซึ่งแปลว่า "ชนะมาร" นั่นเองพระพักตร์ของพระปางมารวิชัยนี้ได้แย้มพระโอษฐ์ของชัยชนะ(ชัยชนะทางธรรมคือการชนะกิเลส ชัยชนะทางโลกคือชัยชนะต่อข้าศึก คล้ายความหมายของ"พระไพรีพินาศ")จุดต่างๆบนองค์พระรอดนี้ได้มีจุดที่แสดงอาณาเขต อาณาบริเวณความยิ่งใหญ่ของเมืองหริภุญไชย จุดสำคัญๆทางศาสนาเช่นตำแหน่งวัด ๔ วัดมุมเมือง(สันนิษฐานว่าเมื่อคราวราชาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์ พระแม่จามเทวีได้สร้างวัดไว้ ๔ วัดตามทิศ เพื่อรองรับการเดินทางมาของพระสงฆ์ พระฤาษี โหราจารย์ราชบัณฑิต เพื่อพักตามทิศทางที่เดินทางมา) คือวัดมหาวัน วัดพระคงฤาษี วัดประตูลี้ วัดดอนแก้ว

    <O:p</O:pพระรอดสร้างจากดินเหนียวที่มีธาตุเหล็ก อลูมิเนียม ส่วนผสมอื่นๆเช่น โพลงเหล็กไหล พระธาตุ อิฐกำแพงเก่า ๔ มุมเมือง ผงตะไบพระโลหะ เกษรดอกไม้ ๑๐๘ น้ำทิพย์จากดอยคำม้อ และสถานที่อื่นๆ เหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ ว่านคงกระพัน ๑๐๘ ดินเสาหลักเมือง ดินจากบาดาล ศาสตราวุธ

    จากบางส่วนของหนังสือปทานุกรม พระเบญจภาคี ของศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ อรรคเดช กฤษณะดิลก ขอขอบพระคุณอาจารย์มา ณ ที่นี้ เพื่อการเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010608.JPG
      P1010608.JPG
      ขนาดไฟล์:
      263.4 KB
      เปิดดู:
      87
    • P1010612.JPG
      P1010612.JPG
      ขนาดไฟล์:
      260.9 KB
      เปิดดู:
      80
    • P1010667.JPG
      P1010667.JPG
      ขนาดไฟล์:
      270.3 KB
      เปิดดู:
      88
    • P1010609.JPG
      P1010609.JPG
      ขนาดไฟล์:
      281.8 KB
      เปิดดู:
      80
    • P1010610.JPG
      P1010610.JPG
      ขนาดไฟล์:
      273.6 KB
      เปิดดู:
      82
    • P1010611.JPG
      P1010611.JPG
      ขนาดไฟล์:
      286.2 KB
      เปิดดู:
      72
    • P1010615.JPG
      P1010615.JPG
      ขนาดไฟล์:
      294.2 KB
      เปิดดู:
      92
    • P1010674.JPG
      P1010674.JPG
      ขนาดไฟล์:
      310.2 KB
      เปิดดู:
      95
    • P1010616.JPG
      P1010616.JPG
      ขนาดไฟล์:
      305.4 KB
      เปิดดู:
      85
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2010
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระบูชาองค์ที่ ๓ พระสิบสอง มอบให้ ๑ องค์ เมื่อร่วมบุญ ๔๐,๐๐๐ บาท..
    เข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
    สาขา สุขุมวิท ซอย 3/1
    ชื่อบัญชี คุณอภิวัฒน์ ชัฎอนันต์ เพื่อสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ
    เลขที่บัญชี 074-2-14149-7


    พระสิบสอง พระพิมพ์มีลักษณะคล้ายพระเจดีย์ ดังภาพ ขอขอบคุณคุณkam สำหรับข้อมูลพระลำพูนที่ให้เป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจพระลำพูนครับ

    ภาพพระสิบสองนี้ ใช้แสงธรรมชาติ


    พระสิบสอง เป็นพระพิมพ์ขนาดใหญ่ ศิลปะหริภุญไชย(ชัย)ที่มีความงดงามอลังการมาก พบในหลายแหล่ง แม้กระทั่งที่ลพบุรี บ่งชี้ว่ามีความเกี่ยวพันทางสิลปะระหว่างหริภุญไชย(ชัย) และละโว้ในอดีต ถือได้ว่าลพบุรีเป็นเมืองพ่อ และลำพูนเป็นเมืองลูก

    พระสิบสองนี้ บรรดาผู้คนต่างๆก็มีความเชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัยที่มีพร้อม และเชื่อกันว่า องค์พระชนิดนี้มีพระพุทธานุภาพพลานุภาพมีความศักดิ์สิทธิ์มากมายสูงส่ง และน่าบูชาควรค่าแกรเสาะแสวงหายิ่ง ในสมัยโบราณชาวบ้านบางคนจะนำพระสิบสองติดตัวไปโดยวิธีใช้ผ้าห่อไว้เป็นอย่างดี สำหรับไว้ป้องกันตัวเองเวลาเดินทงไกล เพื่อทำการติดต่อค้าขายกับคนต่างบ้านต่างเมือง ตลอดจนนำติดตัวไปในยามศึกสงคราม ทุกคนมีความเชื่อมั่น และมั่นใจในพระพุทธานุภาพ และพระพุทธองค์ในองค์พระด้วยความศรัทธายิ่ง ซึ่งผลลัพธ์ก็มีให้เห็นประจักษ์ชัดแก่ตนเป็นอย่างดี คือความปลอดภันในตนเอง และกลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ พระสิบสองเป็นพระพิมพ์เนื้อดินที่มีหลายขนาด แต่ค่อนข้างจะมีขนาดใหญ่ไม่สะดวกต่อการพกพา ขนาดใหญ่จะมีความกว้าง ๘ ซ.ม. สูง ๑๑ ซ.ม. หนา ๓ ซ.ม. ขนาดเล็กสุดจะมีความกว้าง ๖ ซ.ม. สูล ๙ ซ.ม. หนา ๑ ซ.ม. สีสันของพระสิบสองนั้นจะมีสีสันเหมือนกันกับพระชุดสกุลลำพูนโดยทั่วไป คือ สีเขียวหินครก สีแดงหม้อใหม่ สีดอกจำปา สีดอกพิกุล สีขาวดินดิบ สีดำ สีน้ำตาล สีมันปู สีเทา ฯลฯ

    ศิลปะในองค์พระของพระสิบสองเป็นศิลปะที่คมชัดงดงามอลังการมาก องค์พระที่เป็นองค์ประธานจะสวยสง่างดงามจะมีลักษณะของพระทรงเครื่อง ทรงมงกุฎเป็นกลีบ ๕ กลีบหรือที่เรียกกันว่ากลีบมะเฟือง หรือที่กันว่าเทริดขนนกลักษณะเดียวกับองค์พระประธานของพระแม่จามเทวีทรงบัลลังก์(พระเลี่ยงเล็ก) มีต่างหูยาวเป็นสร้อยห้อยย้อยลงมาพาดบ่าทั้ง ๒ ข้าง ทรงทับทรวงมีลวดลายประดับอย่างน่าชมยิ่ง หน้าอกเปลือยเปล่า วงหน้าของพระประธานพระสิบสองด฿ดุดัน เข้มขลัง คิ้วติดกันเป็นรูปปีกกา ดวงตากร้าวแข็ง จมูกเป็นสันโด่ง ปลายจมูกจะบานเล็กน้อย ปากดูหนาแบะออกเป็นลักษณะของศิลปะขอมละโว้ชัดเจน จากส่วนประกอบโดยรวมทั้งหมดทำให้ดูว่า พระสิบสองนั้นมีความขลังอยู่ในองค์พระทั้งหมดอย่างน่าทึ่ง และน่าชื่นชมยิ่ง

    พระพุทธปฎิมาขนาดจิ๋วรวม ๕ พระองค์รายล้อมซุ้มเรือนแก้ว อันหมายถึงพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ที่ทรงอุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นี้ประทับอยู่บนอาสนะแบบเสาบัว หรือมีกอบัวรองรับอยู่ นักเลงพระรุ่นใหม่ๆที่หาพระกรุ เช่นพระรอดแท้ๆไม่ได้ จะนำเอาพระสิบสองที่แตกหักชำรุด เหลือองค์พระปฎิมาเล็กๆนี้มาตัดใช้แทนพระรอด เรียกกันว่า "พระรอด ยอดพระสิบสอง" ยอดบนสุดของซุ้มประดับจะมีลักษณะเป็นรูปปราสาทพุทธคยา มีองค์พระพุทธเจ้าประทับเด่นอยู่ตรงกึ่งกลางปลายยอด โดยมีคนถือดอกบัวนั่งชันเข่าเล็กๆประดับอยู่ ๒ ข้างรายล้อมไปด้วยเสาหงศ์ที่มีหงส์ตัวเล็กๆ เรียงรายอยู่โดยรอบลดหลั่นเป็นชั้นๆ ได้จังหวะ เป็นสัดส่วนลงตัวอย่างมีศิลปะรวม ๖ ตัว

    รายละเอียดยังมีอีกมากมาย สามารถจะค้นหาจากตำราที่ชื่อว่า "รวมสุดยอดพระเครื่องเมืองลำพูน" ซึ่งค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียงโดย"คุณ สำราญ กาญจนคูหา" หรือรู้จักกันในนาม "นายโบราณ"


    [​IMG]

    ส่วนเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพระฤาษีทั้งห้า มีปรากฎในพงศาวดารหริภุญไชย วัดสี่มุมเมือง เป็นวัดที่พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างขึ้นประจำทิศทั้งสี่ของนครหริภุญไชย เพื่อเป็นพุทธปราการปกป้องคุ้มครองพระนครดังนี้

    วัดพระคงฤาษี หรืออาพัทธาราม ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือ เป็นวัดโบราณมาแต่เดิม บริเวณวัดกว้างขวางมาก ต่อมาถูกลุกล้ำจากชาวบ้าน ทำให้บริเวณวัดเล็กลง เป็นวัดที่มีชื่อเสียงจากพระพิมพ์ที่เรียกว่า "พระคง"

    บริเวณวัดพระคง มีเจดีย์ที่มีลักษณะแปลกออกไปจากเจดีย์องค์อื่น ๆ ในเมืองลำพูน เชื่อว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดนี้ ต่อมาได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในหลายยุคหลายสมัย แต่ยังคงรูปแบบเดิมไว้ คือ มีลักษณะเป็นเจดีย์เหลี่ยม มีซุ้มคูหาสี่ด้าน ประดิษฐานรูปฤาษีสี่ตน คือ ด้านเหนือ สุเทวฤาษี ด้านใต้ สุกกทันตฤาษี ด้านทิศตะวันออก สุพรหมฤาษี ด้านทิศตะวันตก สุมณนารกฤาษี ต่อมาได้มีการซ่อมแซมและดัดแปลงพระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในสมัยเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าหลวงลำพูนองค์ที่แปด ได้ให้ช่างพอกหุ้มฤาษีทั้งสี่ แล้วแปลงให้เป็นพระพุทธรูป

    ในสมัยเจ้าหลวงอินทยงยศเกิดอัคคีภัยในเมืองลำพูนครั้งใหญ่ จนคุ้มหลวงที่อยู่ตรงศาลากลางจังหวัดในปัจจุบันถูกไฟไหม้หมด ชาวเมืองต่างโจษขานกันว่า เหตุที่ไฟไหม้ครั้งนี้เกิดจาก การที่เจ้าหลวงองค์ที่แปดได้พอกฤาษีทั้งสี่ตนดังกล่าว
    ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ได้เกิดอสุนีบาตต้องเจดีย์วัดพระคงฤาษี พระพุทธรูปปูนปั้นที่พอกเค้าแกนเดิมของรูปฤาษีทั้งสี่ได้แตกออก เห็นรูปฤาษีที่เป็นโครงศิลาแลงปรากฏออกมา จึงให้มีการดัดแปลงเจดีย์วัดพระคงเสียใหม่ โดยตัดมุมเจดีย์ทั้งสี่ด้าน แล้วประดิษฐานรูปฤาษีสี่ตนไว้ประจำด้านละตน และปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปที่แตกชำรุดไว้เช่นเดิม

    วัดต้นก๊อ ตั้งอยู่ติดกับวัดต้นแก้ว ที่บ้านเวียงยองตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง ฯ ปัจจุบันเป็นวัดร้างไม่ปรากฏประวัติ โบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงเจดีย์ที่อยู่ในบริเวณวัดต้นแก้ว

    ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์ เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ส่วนฐานล่างสุดเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยมจตุรัสซ้อมกันสามชั้น รองรับชั้นฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อเก็จ ส่วนกลางประกอบด้วยชุดบัวถลาแปดเหลี่ยม รองรับองค์ระฆัง ซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมมากตั้งแต่ประมาณครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ส่วนบนเป็นบัลลังก์ย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนยอดทำเป็นปล้องไฉน เจดีย์ต้นก๊อ ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘

    วัดดอนแก้ว หรือวัดอรัญญิกรัมมการาม เป็นวัดสำคัญและเก่าแก่มาก ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง ฯ ในสมัยพระนางจามเทวีถือว่าเป็นวัดในเมือง ภายหลังสายน้ำปิง และแม่กางได้เปลี่ยนทางเดินโดยพระยามังราย จึงทำให้วัดนี้อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำกวง ปัจจุบันวัดดอนแก้วเป็นวัดร้าง มีการขุดพบซากโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิที่ชำรุด ซึ่งได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์ แล้วนำมาประดิษฐานไว้บนฐานเจดีย์ ในวัดพระธาตุหริภุญไชยทั้งสามองค์ พระพุทธรูปหินทรายดังกล่าวเป็นพระพุทธรูปศิลปะทวาราวดี มีลักษณะพุทธศิลป์แบบคุปตะ ซึ่งเป็นต้นเค้าของพระเครื่อง หรือพระพิมพ์ขนาดเล็ก คือ พระคง พระบาง พระเปิม นอกจากพระพุทธรูป และพระพิมพ์ต่าง ๆ ที่ขุดค้นพบในบิรเวณวัดแห่งนี้แล้ว ยังพบศิลาจารึกต่าง ๆ อีกมาก
    ในอดีตวัดดอนแก้วได้รับการเอาใจใส่จากกษัตริย์ในราชวงศ์จามเทวีวงศ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระเจ้าสรรพสิทธิ์ธรรมิกราช ได้ทรงผนวช และบำเพ็ญที่วัดนี้พร้อมกับพระโอรสสององค์ ดังมีเรื่องราวที่ปรากฎในศิลาจารึกที่ขุดพบ

    วัดประตูลี้ หรือวัดมหารัตนาราม ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ เป็นวัดที่มีพระพิมพ์ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่มากมาย เช่น พระเหลี้ยมหลวง พระเหลี้ยมหม้อ พระเหลี้ยมเล็กพิมพ์นิยม พระลือหน้ามงคล พระบางจิ๋ว พระสามท่ากาน พระสามแบบซุ้มกระรอกกระแต พระสิบแปด พระสิบสอง พระหูยาน นอกจากนี้ยังพบพระพิฆเนศซึ่งทำด้วยหินทรายแกะสลักขนาดใหญ่

    เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ ได้พบโถโบราณเนื้อดินเผา มีรูปลักษณะคล้ายตะเกียงโบราณแบบโรมัน มีฐานเป็นชั้น ๆ ตรงกลางปอง มีคอยาวเรียวขึ้นไปถึงบริเวณปาก ภายในโถบรรจุพระเหลี้ยมหลวงประมาณ ๓๐๐ องค์ เป็นพระพิมพ์ดินเผาเนื้อค่อนข้างหยาบ

    วัดมหาวัน หรือวัดมหาวนาราม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง เป็นวัดสี่มุมเมืองที่มีสถาพสมบูรณ์ที่สุด โบราณวัตถุที่มีอยู่คู่กับวัดมาตั้งแต่เดิมคือ พระพุทธสักขีปฏิสากร หรือพระหินศิลาดำ หรือที่เรียกกันในนามว่า พระรอดหลวง หรือแม่พระรอด ปัจจุบันประดิษฐานนอยู่บนแท่นแก้วหน้าองค์พระประธาน ในวิหารหลวงที่สร้างขึ้นใหม่

    พระหินศิลาคำนี้ พระนางจามเทวีได้อัญเชิญมาจากกรุงละโว้ กับพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์คือ พระเจ้าละโว้ และพระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) เมื่อครั้งเสด็จมาครองเมืองหริภุญไชย

    กษัตริย์ที่ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดมหาวันคือ พญาสรรพสิทธิ์ ได้สร้างวัดมหาวันกับเจดีย์ และให้สร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งคือ พระประธานของวัดมหาวัน มีพุทธลักษณะที่งดงาม

    วัดมหาวัน มีพระรอดซึ่งเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ และยังมีการขุดพบพระพิมพ์ชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูป พระบูชาสมัยโบราณต่าง ๆ อีกมาก

    http://www.amulet2u.com/board/q_view.php?c_id=3&q_id=1927&PHPSESSID=8c66862fad6fae79a



    พระรอดยอดพระสิบสอง เป็นพระองค์บนสุดที่อยู่เหนือเศียรองค์พระประธานของพระสิบสอง ซึ่งเป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นชุดเดียวกัน กับพระรอดกรุวัดมหาวัน พระคงและพระสกุลลำพูน มีทั้งแบบที่ตัดก่อนบรรจุกรุและที่นำพระสิบสองที่หักชำรุดมาตัดแต่งภายหลัง พระแตกกรุออกมาแล้ว นิยมเล่นหาแบบที่ตัดก่อนลงกรุมากกว่าพระที่นำมาตัดภายหลัง

    ชาวล้านนาเชื่อกันว่าองค์พระประธานของพระสิบสองหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “พระยอดขุนพลหริภุญไชย(ชัย) หรือยอดขุนพลเมืองเหนือ” นั้นสร้างแทนองค์พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นที่มีพระประปรีชาสามารถ ในการรบทัพจับศึกมาก ส่วนพระด้านข้างทั้งสองก็แทนบรรดาขุนศึกคู่บารมีของพระองค์ โดยที่ขุนศึกทุกคนมีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่เคารพเหมือนกันคือ ศาสนา โดยมีตัวแทนคือ องค์พระปฎิมาองค์เล็กๆ ซึ่งก็คือ พระรอดที่เป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองลำพูนนี้เอง นับว่าเป็นกุสโลบายและมันสมองที่ชาญฉลาดของช่างผู้แกะพิมพ์พระในสมัยก่อน พระรอดยอดพระสิบสองนี้จึงจัดเป็นพระที่อยู่ในสกุลสูงมาก มีพุทธคุณเฉกเช่นเดียวกับพระรอดกรุวัดมหาวันทุกประการ แต่สนนราคานั้นย่อมเยาว์กว่ามากอยู่ในหลักหมื่นไม่เกินแสนเท่านั้น แต่จำนวนพระมีน้อยมากไม่ค่อยมีพระหมุนเวียนให้เห็นเท่าใด แต่ถ้าท่านมีวาสนาได้พบเจอแล้วมีกำลังพอก็ไม่ควรจะปล่อยโอกาสอันดีผ่านมือไปเป็นอันขาด เพราะพระรอดแห่งเมืองลำพูนไม่ใช่เพียงกรุวัดมหาวันเพียงกรุเดียวเท่านั้น ซึ่งราคาก็สูงเกินคนทั่วไปจะไขว่คว้าไว้ได้ แล้วท่านจะจ่ายแพงกว่าทำไมล่ะครับ
    Untitled Document
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010619.JPG
      P1010619.JPG
      ขนาดไฟล์:
      315.2 KB
      เปิดดู:
      83
    • P1010620.JPG
      P1010620.JPG
      ขนาดไฟล์:
      305.1 KB
      เปิดดู:
      93
    • P1010625.JPG
      P1010625.JPG
      ขนาดไฟล์:
      867.5 KB
      เปิดดู:
      89
    • P1010631.JPG
      P1010631.JPG
      ขนาดไฟล์:
      818.8 KB
      เปิดดู:
      106
    • P1010635.JPG
      P1010635.JPG
      ขนาดไฟล์:
      288.6 KB
      เปิดดู:
      80
    • P1010636.JPG
      P1010636.JPG
      ขนาดไฟล์:
      313.3 KB
      เปิดดู:
      80
    • P1010637.JPG
      P1010637.JPG
      ขนาดไฟล์:
      266.6 KB
      เปิดดู:
      87
    • P1010638.JPG
      P1010638.JPG
      ขนาดไฟล์:
      280.1 KB
      เปิดดู:
      69
    • P1010639.JPG
      P1010639.JPG
      ขนาดไฟล์:
      280.2 KB
      เปิดดู:
      88
    • P1010624.JPG
      P1010624.JPG
      ขนาดไฟล์:
      302.8 KB
      เปิดดู:
      76
    • P1010626.JPG
      P1010626.JPG
      ขนาดไฟล์:
      315.1 KB
      เปิดดู:
      73
    • P1010628.JPG
      P1010628.JPG
      ขนาดไฟล์:
      276.2 KB
      เปิดดู:
      94
    • P1010629.JPG
      P1010629.JPG
      ขนาดไฟล์:
      269.9 KB
      เปิดดู:
      93
    • P1010630.JPG
      P1010630.JPG
      ขนาดไฟล์:
      322.4 KB
      เปิดดู:
      73
    • P1010627.JPG
      P1010627.JPG
      ขนาดไฟล์:
      244.8 KB
      เปิดดู:
      72
    • P1010634.JPG
      P1010634.JPG
      ขนาดไฟล์:
      278.7 KB
      เปิดดู:
      91
    • P1010632.JPG
      P1010632.JPG
      ขนาดไฟล์:
      728.5 KB
      เปิดดู:
      80
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2010
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระบูชาองค์ที่ ๔ พระสิบแปด มอบให้ ๑ องค์ เมื่อร่วมบุญ ๔๐,๐๐๐ บาท..
    เข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
    สาขา สุขุมวิท ซอย 3/1
    ชื่อบัญชี คุณอภิวัฒน์ ชัฎอนันต์ เพื่อสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ
    เลขที่บัญชี 074-2-14149-7


    พระสิบแปด

    พระสิบแปด จ.ลำพูน เป็นพระพิมพ์ในยุคสมัยหริภุญไชย(ชัย) อายุราว ๘๐๐-๑,๒๐๐ ปี ขนาดโดยประมาณ ฐาน ๑๐.๕ ซ.ม. สูง ๑๗.๕ ซ.ม. จัดเป็นพระในตำนานอีกพิมพ์ เนื่องจากพบสภาพสมบูรณ์เต็มพิมพ์น้อยมาก ส่วนใหญ่จะบิ่นหักไม่เต็มพิมพ์

    ลักษณะทรงพิมพ์มีความคล้ายกับพระสิบสอง เพียงแต่ว่า องค์ซ้ายขวาชั้นล่างไม่มีฐานบัวรองรับ บ้างว่าไม่ใช่พระพุทธเจ้า ส่วนพระสิบแปดนั้นมีพระพุทธเจ้าอยู่ ๓ ชั้น ชั้นที่ ๑(ชั้นล่าง) มี ๗ พระองค์ ชั้นที่ ๒ (กลาง) มี ๗ พระองค์ ส่วนชั้นที่ ๓ (ชั้นบนสุด) มี ๑ พระองค์ รวมเป็น ๑๘ พระองค์ ชั้นบนสุดนี้บ้างก็เรียกว่าพระรอดยอดพระสิบแปด ใช้แทนพระรอด มหาวัน

    พระสิบแปดองค์นี้ หากสังเกตด้านหลังองค์พระได้บรรจุเส้นผมเอาไว้ ๑ เส้น หากสามารถตรวจอายุเส้นผมนี้ได้ ก็จะทราบอายุที่แท้จริงขององค์สิบแปดองค์อย่างแน่นอนครับ..


    ไขปริศนา พิมพ์พระสิบแปด

    หลายวันก่อนมีโอกาสไปดูสถานที่ขุดพบพระสิบแปด หลังจากได้ข่าวลือมาว่า มีพระแตกกรุขึ้นมาเมื่อกลางเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมา ข่าวว่าชาวบ้านได้พระบูชาและพระลำพูน จำนวนหนึ่ง ตอนนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้ใส่ใจมากนัก เพราะมีข่าว แต่ไม่มีของ กลัวจะเป็นพระเก๊ยัดกรุ จนอาทิตย์ก่อนมีชาวบ้านส่งรูปพระสิบแปดมาให้ดู แถมยังท้าให้ไปดูของจริงว่า เก่า แท้ แน่นอนอีกด้วย ผู้เขียนจึงได้เดินทางไปดูสถานที่พระแตกกรุ บ้านท้ง ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน บริเวณที่พบเป็นวัดร้างเก่า เป็นกู่ร้าง ติดแม่น้ำปิง ในสวนลำใยของชาวบ้าน เนื่องจากดินถูกน้ำเซาะจนทรุดตัวลง ทำให้เจดีย์พังลงไปในแม่น้ำปิง ตอนไปดู (ก่อนน้ำท่วม) เหลือเพียง ซากฐานเจดีย์ไม่ถึงครึ่ง ส่วนใหญ่จมลงไปในน้ำ ทำให้พระที่บรรจุอยู่ในเจดีย์หายไป ชาวบ้านจึงพากันแตกตื่นงมหาพระในแม่น้ำปิง

    ตามรอยพระแม่จามเทวีกันก็จะพบว่า พระพิมพ์ขนาดใหญ่หลายพิมพ์เช่นพระสิบสอง พระสิบแปด คล้ายการจำลองพระธาตุเจดีย์มาไว้บนพระพิมพ์ เช่นพระธาตุเจดีย์กู่กุด ฯลฯ

    วัดจามเทวี
    วัดจามเทวี เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีความเก่าแก่มากวัดหนึ่งในจังหวัดลำพูนตั้งอยู่ถนนจามเทวี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๒ ไร่ ๑ งาน ๕ ตารางวา

    โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัดกู่กุด ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด ส่วนใหญ่เป็นการสันนิษฐานจากเอกสารชั้นหลัง ประกอบกับตำนานและนิยาย ซึ่งกล่าวกันว่า พระราชโอรสของพระนางจามเทวี คือ พระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศ โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเพลิง แล้วโปรดให้สร้างเจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทอง เรียกชื่อว่า สุวรรณจังโกฏิ แต่จากการที่ได้พบศิลาจารึกวัดกู่กุด บริเวณเชิงพระธาตุเจดีย์กู่กุด (ศิลาจารึกลำพูนหลักที่สอง ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน) ศิลาจารึกหลักนี้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์รัตนเจดีย์กู่กุด ที่ได้หักพังลงเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ได้เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฉะนั้นลักษณะทางศิลปกรรมของพระเจดีย์ที่วัดกู่กุดนี้ น่าจะอยู่ในสมัยของพระเจ้าสรรพสิทธิ์ คือ พุทธศตวรรษที่ ๑๗ และน่าจะไม่เก่าเกินรัชกาลพระเจ้าสววาธิสิทธิ์ หลังจากนั้นวัดนี้ก็คงถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ได้อาราธนาครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา มาช่วยก่อสร้างโบสถ์ วิหาร กุฏิ ตลอดจนบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด แล้วสถาปนาวัดจามเทวีขึ้นใหม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐ มีชื่อว่า วัดจามเทวี จนกระทั่งทุกวันนี้

    โบราณสถานที่สำคัญในวัดจามเทวี
    ๑. พระเจดีย์กู่กุด ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมก่อด้วยศิลาแลง ฐานล่างทำเป็นหน้ากระดานสามชั้น องค์เจดีย์มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปห้าชั้น แต่ละชั้นจะมีซุ้มจระนำ ด้านละสามซุ้ม ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางประธานอภัย เป็นพระพุทธรูปปั้นหุ้มศิลาแลงแบบนูนสูง รวมทั้งหมด ๖๐ องค์ ซุ้มจระนำทำเป็นซุ้มโค้งแบบสองหยัก ซึ่งเป็นลักษณะซุ้มสมัยทราวดีตอนปลาย กระหนกปั้นเป็นกระหนกผักกูด ตัวเหงาที่ปลายซุ้มเป็นแบบทราวดี บริเวณมุมทั้งสี่ของแต่ละชั้นยกเว้นชั้นบัวกลุ่ม และปล้องไฉน ส่วนยอดบนสุดได้หักหายไปจึงมีการเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า เจดีย์กู่กุด พระเจดีย์องค์นี้ ถือเป็นแบบถาปัตยกรรม ที่มีความสำคัญในศิลปกรรมหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ มีรูปแบบคล้ายกับสัตตมหาปราสาทที่เมืองโบลนนาลุวะ ประเทศศรีลังกา และเป็นแบบที่แพร่หลาย เคยพบร่องรอยเจดีย์แบบนี้ที่ เวียงท่ากาน เวียงมโน และนิยมสร้างกันในสมัยต่อมา ในแคว้นล้านนาและสุโขทัย เช่น วัดเจดีย์เหลี่ยม จังหวัดเชียงใหม่ วัดพญาวัด จังหวัดน่าน วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย

    ๒. เจดีย์แปดเหลี่ยม ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีแผนผังเป็นรูปแปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป สามารถแบ่งได้เป็นสามส่วนคือ ส่วนฐานประกอบด้วยฐานแปดเหลี่ยมซ้อนกันสองชั้น ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวถลารองรับองค์เรือนธาตุ โดยส่วนล่างของเรือนธาตุทำเป็นฐานลดท้องไม้ลงเล็กน้อยจากระดับผนังของเรือนธาตุ ส่วนเรือนธาตุมีผังเป็นรูปแปดเหลี่ยมทรงสูง ประดับซุ้มจระนำภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ซุ้มมีลักษณะเป็นวงโค้งสามวง ภายนอกประกอบด้วยทรงฟักเพกา หรือเรียกว่า ซุ้มเคล็กส่วนสันมุมทั้งแปดจะก่อเรียงอิฐยื่นออกมาจากผนังได้ระดับเดียวกับกรอบซุ้ม เป็นการแบ่งขอบเขตของแต่ละด้าน ส่วนยอดถัดจากตัวเรือนธาตุขึ้นไป เป็นบัวถลาลดท้องไม้สองชั้น ขนาดเล็กลดหลั่นกันขึ้นไปเล็กน้อย รองรับฐานแปดเหลี่ยมเตี้ยๆ มีลักษณะลดท้องไม้เช่นกันแต่ที่บริเวณท้องไม้แต่ละด้านจะมีซุ้มทรงสามเหลี่ยม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ถัดขึ้นไปเป็นชั้นลวดบัวรองรับองค์ระฆังทรงกลม ส่วนยอดบนสุดหักหายไปแล้ว เทคนิคการก่อสร้าง เจดีย์แปดเหลี่ยมนี้ ก่อด้วยอิฐทั้งหลัง ภายนอกฉาบปูนและปั้นปูนประดับ มีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง ส่วนโครงสร้างมีการซ่อมเสริมจนเต็มรูปเจดีย์ทั้งสององค์ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ และ เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๑๖๗ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๒


    ********************************************************
    ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544
    http://www.rd.go.th/lamphun/58.0.html

    อ่านเนื้อความแล้วอาจจะไม่เห็นภาพ ก็ชมภาพประกอบเอานะครับ ไม่ค่อยจะมีผู้นำมาให้ชมเสมือนกับได้เดินทางไปเองหรอกครับ ก็ถือว่าเป็นธรรมทานเพื่อเผยแพร่ให้ได้เห็น ให้ได้รู้จัก และเป็นข้อมูลให้ผู้สนใจได้ศึกษาต่อไปครับ



    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET><!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010588.JPG
      P1010588.JPG
      ขนาดไฟล์:
      280.7 KB
      เปิดดู:
      74
    • P1010597.JPG
      P1010597.JPG
      ขนาดไฟล์:
      274.7 KB
      เปิดดู:
      74
    • P1010589.JPG
      P1010589.JPG
      ขนาดไฟล์:
      304.6 KB
      เปิดดู:
      87
    • P1010591.JPG
      P1010591.JPG
      ขนาดไฟล์:
      302.7 KB
      เปิดดู:
      75
    • P1010592.JPG
      P1010592.JPG
      ขนาดไฟล์:
      278 KB
      เปิดดู:
      75
    • P1010593.JPG
      P1010593.JPG
      ขนาดไฟล์:
      313.5 KB
      เปิดดู:
      81
    • P1010590.JPG
      P1010590.JPG
      ขนาดไฟล์:
      309.2 KB
      เปิดดู:
      68
    • P1010594.JPG
      P1010594.JPG
      ขนาดไฟล์:
      291.2 KB
      เปิดดู:
      77
    • P1010596.JPG
      P1010596.JPG
      ขนาดไฟล์:
      273.5 KB
      เปิดดู:
      76
    • P1010595.JPG
      P1010595.JPG
      ขนาดไฟล์:
      287.2 KB
      เปิดดู:
      73
    • P1010598.JPG
      P1010598.JPG
      ขนาดไฟล์:
      262.9 KB
      เปิดดู:
      87
    • P1010599.JPG
      P1010599.JPG
      ขนาดไฟล์:
      302.1 KB
      เปิดดู:
      82
    • P1010600.JPG
      P1010600.JPG
      ขนาดไฟล์:
      260.9 KB
      เปิดดู:
      88
    • P1010601.JPG
      P1010601.JPG
      ขนาดไฟล์:
      252.8 KB
      เปิดดู:
      84
    • P1010605.JPG
      P1010605.JPG
      ขนาดไฟล์:
      272.3 KB
      เปิดดู:
      79
    • P1010606.JPG
      P1010606.JPG
      ขนาดไฟล์:
      254.1 KB
      เปิดดู:
      80
    • P1010607.JPG
      P1010607.JPG
      ขนาดไฟล์:
      303.1 KB
      เปิดดู:
      146
    • P1010604.JPG
      P1010604.JPG
      ขนาดไฟล์:
      268.8 KB
      เปิดดู:
      99
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2010
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระบูชาองค์ที่ ๕ พระแม่จามเทวีทรงบัลลังก์ พิมพ์ใหญ่ใบโพธิ์ มอบให้ ๑ องค์ เมื่อร่วมบุญ ๒๕,๐๐๐ บาท..
    เข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
    สาขา สุขุมวิท ซอย 3/1
    ชื่อบัญชี คุณอภิวัฒน์ ชัฎอนันต์ เพื่อสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ
    เลขที่บัญชี 074-2-14149-7


    พระแม่จามเทวีทรงบัลลังก์ พิมพ์ใหญ่ใบโพธิ์ หรือพระเลี่ยง

    ไม่ได้มีเพียงพิมพ์ฐานเหลี่ยม และฐานบัวกลมเท่านั้น แต่องค์นี้มีขนาดที่ใหญ่มาก ลักษณะคล้ายใบโพธิ์ ไม่สามารถเลี่ยมแขวนคอบูชาติดตัวได้เลย ต้องตั้งบูชาเท่านั้นครับ

    ประวัติการสร้างตามบันทึกน่าสนใจมาก ผมเคยพิมพ์ไว้ประกอบพระพิมพ์พระแม่จามเทวีทรงบัลลังก์พิมพ์เล็กที่เปิดให้ทำบุญกันเพียง ๗ องค์ ก็หมดลงในชั่วพริบตา เอาไว้จะหาเวลาเรียบเรียงขึ้นใหม่นะครับ


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    พระแม่จามเทวีทรงบัลลังก์(พระเลี่ยง) พิมพ์ฐานบัวเหลี่ยม จำนวน ๗ องค์


    เป็นพระพิมพ์ที่สะดุดตา และสะดุดใจผมมากที่สุด เนื่องจากรูปทรงคมเรียวชลูดที่มีความคล้ายคลึงกับสมเด็จองค์ปฐมลอยองค์ รุ่น ๑-๓ มากนั่นเอง พระพิมพ์นี้มีกลคิดที่แยบคายมาก เอาไว้เมื่อพระพิมพ์นี้มีผู้บูชาไปครบทั้ง ๗ องค์แล้ว ผมจึงจะบอกว่า ที่ว่าแยบคายนี้แยบคายยังไง? นะครับ (จากไปก่อน แล้วค่อยทำให้อยาก ไม่ได้ทำให้อยากแล้วจากไป) การบูชาพระพิมพ์นี้จึงเป็นเรื่องของศรัทธาล้วนๆครับ


    พี่แอ๊วได้เปิดกระทู้นี้ในช่วงเวลาบ่าย และในเวลาเดียวกันก็ได้โทรศัพท์เข้ามาจองไว้แล้ว ๑ องค์(ผมขอเลือกองค์ที่ L1 ให้ครับ) ทั้งๆที่พี่ท่านนี้ ยังไม่เคยเห็นพระพิมพ์ และยังไม่ทราบอัตราการบูชาเลยนะครับ นับว่าท่านใจถึงมาก และมีใจที่เสียสละอย่างมาก ผมจึงขอมอบเป็นพระพิมพ์นี้ให้อีกเป็นการส่วนตัวอีก ๑ องค์ รวมเป็น ๒ องค์ สรุปคือ คงเหลือพระพิมพ์พระแม่จามเทวีทรงบัลลังก์(พระเลี่ยง) พิมพ์ฐานบัวเหลี่ยม เพียง ๖ องค์(L2-L7)เท่านั้นครับ

    L1->พี่แอ๊ว
    L2->คุณdragonn
    L3->คุณdragonlord
    L4->คุณyosshi
    L5->คุณหมอSumanas
    L6->คุณnongnooo(เพื่อนได้ฝากจองเข้ามา)
    L7->คุณ kwok

    มอบให้ ๑ องค์ เมื่อร่วมบุญ ๓,๐๐๐ บาท
    เข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์
    สาขา สุขุมวิท ซอย 3/1
    ชื่อบัญชี คุณอภิวัฒน์ ชัฎอนันต์ เพื่อสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ
    เลขที่บัญชี 074-2-14149-7




    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]




    </FIELDSET>
    พระพิมพ์พระแม่จามเทวีทรงบัลลังก์ พิมพ์ฐานบัวเหลี่ยมทั้ง ๗ องค์นี้ ในที่สุดก็มีเจ้าของครบทุกองค์แล้วนะครับ เลยไม่ทราบว่า เพราะพระพิมพ์เอง หรือเพราะอยากฟังเรื่องราวของพระพิมพ์มากกว่า...เอาเป็นว่าคืนนี้จะเล่าให้ฟังครับ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010614.JPG
      P1010614.JPG
      ขนาดไฟล์:
      305.7 KB
      เปิดดู:
      92
    • P1010619.JPG
      P1010619.JPG
      ขนาดไฟล์:
      303 KB
      เปิดดู:
      74
    • P1010615.JPG
      P1010615.JPG
      ขนาดไฟล์:
      355.7 KB
      เปิดดู:
      77
    • P1010616.JPG
      P1010616.JPG
      ขนาดไฟล์:
      304.9 KB
      เปิดดู:
      79
    • P1010617.JPG
      P1010617.JPG
      ขนาดไฟล์:
      330 KB
      เปิดดู:
      75
    • P1010622.JPG
      P1010622.JPG
      ขนาดไฟล์:
      351.3 KB
      เปิดดู:
      75
    • P1010620.JPG
      P1010620.JPG
      ขนาดไฟล์:
      344.8 KB
      เปิดดู:
      80
    • P1010621.JPG
      P1010621.JPG
      ขนาดไฟล์:
      327.1 KB
      เปิดดู:
      81
    • P1010624.JPG
      P1010624.JPG
      ขนาดไฟล์:
      277.6 KB
      เปิดดู:
      77
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระบูชาองค์ที่ ๖ พระกวาง มอบให้ ๑ องค์ เมื่อร่วมบุญ ๒๕,๐๐๐ บาท..
    เข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
    สาขา สุขุมวิท ซอย 3/1
    ชื่อบัญชี คุณอภิวัฒน์ ชัฎอนันต์ เพื่อสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ
    เลขที่บัญชี 074-2-14149-7


    พระกวาง
    จากการสำรวจ และขุดค้นแหล่งโบราณคดีในเขตจังหวัดลำพูน ของกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยศิลปากร และโบราณวัตถุที่ชาวบ้านพบโดยบังเอิญ ซึ่งได้มีการพบโบราณวัตถุเนื่องในพุทธศาสนาประเภทพระพิมพ์จำนวนหนึ่งคือพระพิมพ์ซุ้มพุทธคยาพระกวาง พระลือหน้ามงคล พระแปด(ความจริงคือพระสิบสอง แต่บุคคลบางกลุ่มได้ตั้งข้อสัณนิษฐานว่าไม่ใช่พระ ๔ คน(ตน) อยู่ ๒ ข้างซ้ายขวา จึงเหลือเพียง ๘ องค์ แต่คนทั่วไปรู้จักกันในนามพระสิบสอง) และพระสิบแปด โดยจะขุดพบในชั้นวัฒนธรรมสมัยล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๑ )แต่จากการศึกษาเปรียบเทียบด้านรูปแบบศิลปะของพระพิมพ์แล้วพบว่า พระพิมพ์ซุ้มพุทธคยา มีรูปแบบเหมือนพระพิมพ์ที่แพร่หลายอยู่ในประเทศพม่า ที่เมืองพุกาม และพะโค ช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๑๖

    ส่วนพระลือหน้ามงคล พระเลี่ยง พระเลี่ยงหลวง และพระกวาง นั้น เป็นกลุ่มพระพิมพ์ศิลปหริภุญไชย(ชัย) แบบมอญ อิทธิพลทวาราวดี และมอญรามัญเดิม ที่มีอายุอยู่ในช่วง พุทธศตวรรษ ที่ ๑๕ - ๑๖ เช่นกัน โดยเป็นกลุ่มพระพิมพ์ที่มีคติและรูปแบบมาจากเรื่องราวในพุทธประวัติสองตอนคือ ตอนตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ที่พุทธคยา และตอนแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (สวนกวาง) ซึ่งเป็นภาพพุทธประวัติที่นิยมสร้างกันในประเทศอินเดีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในสกุลช่างคุปตะ (พุทธศตวรรษ ที่ ๑๙-๑๑) และสกุลช่างปาละ (พุทธศตวรรษ ที่ ๑๒-๑๔)สำหรับ พระลือหน้ามงคล ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มปรกโพธิ์ (กลุ่มพระรอด พระคง พระเพิ่ม(เปิม) และพระบัง(บาง)) สร้างตามคติและรูปแบบที่แสดงเรื่องราวในพุทธประวัติตอนตรัสรู้ และปฐมเทศนา ซึ่งแสดงภาพพระพุทธเจ้าปางมารวิชัย (ปางตรัสรู้) และมีกวางสองตัวหมอบอยู่ข้างๆ(สัญลักษณ์ของการแสดงปฐมเทศนาที่ป่ากวาง) แสดงว่าอิทธิพลพุทธศาสนาที่ปรากฏในเมืองหริภุญไชย(ชัย)นั้น มาจากหลายสายมีอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ผ่านวัฒนธรรมทวาราวดีเข้ามาทางหนึ่ง และคตินิยมของชาวพื้นเมืองผสมผสานเข้าไปจึงปรากฏรูปแบบพระพิมพ์ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากต้นแบบ กลายเป็นแบบเฉพาะของชุมชนในวัฒนธรรมหริภุญไชย(ชัย)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010644.JPG
      P1010644.JPG
      ขนาดไฟล์:
      281.2 KB
      เปิดดู:
      72
    • P1010645.JPG
      P1010645.JPG
      ขนาดไฟล์:
      270.9 KB
      เปิดดู:
      81
    • P1010648.JPG
      P1010648.JPG
      ขนาดไฟล์:
      334.3 KB
      เปิดดู:
      82
    • P1010651.JPG
      P1010651.JPG
      ขนาดไฟล์:
      326.5 KB
      เปิดดู:
      76
    • P1010654.JPG
      P1010654.JPG
      ขนาดไฟล์:
      353.4 KB
      เปิดดู:
      75
    • P1010652.JPG
      P1010652.JPG
      ขนาดไฟล์:
      324.5 KB
      เปิดดู:
      79
    • P1010653.JPG
      P1010653.JPG
      ขนาดไฟล์:
      286.9 KB
      เปิดดู:
      68
    • P1010646.JPG
      P1010646.JPG
      ขนาดไฟล์:
      277 KB
      เปิดดู:
      77
    • P1010647.JPG
      P1010647.JPG
      ขนาดไฟล์:
      241.4 KB
      เปิดดู:
      82
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระบูชาองค์ที่ ๗ พระปลีกล้วย มอบให้ ๑ องค์ เมื่อร่วมบุญ ๒๕,๐๐๐ บาท..
    เข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
    สาขา สุขุมวิท ซอย 3/1
    ชื่อบัญชี คุณอภิวัฒน์ ชัฎอนันต์ เพื่อสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ
    เลขที่บัญชี 074-2-14149-7


    พระปลีกล้วย
    เป็นพระที่ขุดได้เป็นจำนวนมาก ในเมืองลำพูน ศิลปะองค์พระดูคล้ายไปทางขอมละโว้ ซึ่งก็เคยพบว่ามีการขุดพระดังกล่าวได้ในหลายที่ของลพบุรี เช่น พระจามเทวีทรงบัลลังก์หลวง(เลี่ยงหลวง) พระสามท่ากาน พระซุ้มปรางค์ครุฑแบก ฯลฯ

    ประวัติของพระพิมพ์พระปลีกล้วยค่อนข้างมีน้อยมาก หนังสือตำราที่ใช้อ้างอิงก็มีน้อยเล่มที่จะนำมาเปิดเผย เช่น รวมสุดยอดพระเครื่องลำพูน ของคุณสำราญ กาญจนคูหา หรือรู้จักกันในนามของ "นายโบราณ" ก็รอเพียงเพื่อนผู้สนใจค้นคว้ากันต่อไป เพื่อสืบตำนานพระเครื่องเมืองหริภุญไชย(ชัย)กันครับ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010640.JPG
      P1010640.JPG
      ขนาดไฟล์:
      269.9 KB
      เปิดดู:
      92
    • P1010641.JPG
      P1010641.JPG
      ขนาดไฟล์:
      260.9 KB
      เปิดดู:
      90
    • P1010643.JPG
      P1010643.JPG
      ขนาดไฟล์:
      266.3 KB
      เปิดดู:
      96
    • P1010649.JPG
      P1010649.JPG
      ขนาดไฟล์:
      316.3 KB
      เปิดดู:
      73
    • P1010650.JPG
      P1010650.JPG
      ขนาดไฟล์:
      287.3 KB
      เปิดดู:
      80
    • P1010646.JPG
      P1010646.JPG
      ขนาดไฟล์:
      288.1 KB
      เปิดดู:
      69
    • P1010647.JPG
      P1010647.JPG
      ขนาดไฟล์:
      309.5 KB
      เปิดดู:
      79
    • P1010648.JPG
      P1010648.JPG
      ขนาดไฟล์:
      293.8 KB
      เปิดดู:
      77
    • P1010651.JPG
      P1010651.JPG
      ขนาดไฟล์:
      281 KB
      เปิดดู:
      72
    • P1010644.JPG
      P1010644.JPG
      ขนาดไฟล์:
      267.8 KB
      เปิดดู:
      85
    • P1010645.JPG
      P1010645.JPG
      ขนาดไฟล์:
      269.9 KB
      เปิดดู:
      78
    • P1010658.JPG
      P1010658.JPG
      ขนาดไฟล์:
      243.3 KB
      เปิดดู:
      96
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]

    ปัจจัยที่ร่วมสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ จะนำไปใช้ในการสร้าง และดำเนินการดังนี้

    ๑) บุษบก ได้ดำเนินการไปแล้ว
    ๒) ลงรัก ยังรอดำเนินการ
    ๓) ปิดทอง ยังรอการดำเนินการ
    ๔) ผอบแก้ว ๙ ใบ ได้ดำเนินการไปแล้ว
    ๕) ถ้วยเบญจรงค์บรรจุพระธาตุโมคคัลลานะยังบุษบก ๑ ใบ ได้ดำเนินการไปแล้ว
    ๖) อาสนะรองรับองค์พระโมคคัลลานะ ยังรอการดำเนินการ
    ๗) ผ้าห่มคลุมองค์พระ ยังรอการดำเนินการ
    ๘)เครื่องไทยทาน ยังรอดำเนินการ

    กิจกรรมที่ได้ร่วมบุญกันในระหว่างการสร้างบุษบก
    ๑)ธรรมทาน DVD กรรมฐานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระโมคคัลลานะ จำนวน ๙๙ ชุด(คงเหลือ ๒๕ ชุดที่จะนำไปมอบให้กับผู้ไปร่วมงานถวายบุษบกเมื่อดำเนินการเรื่องบุษบกเรียบร้อยทั้งหมด) ร่วมกับเพื่อน ๑๐ ท่านดำเนินการมอบเป็นธรรมทานพร้อมมอบพระรอดพิมพ์ใหญ่ และพระเปิดโลก พิมพ์ละ ๑ องค์ รวม ๒๐ องค์ พร้อมDVD ธรรมทานท่านละ ๑ ชุด
    พี่แอ๊ว-คณdragonn-คุณพุทธันดร-คุณdragonlord-คุณnaraiyana-คุณศิษย์ต่างแดน-คุณประนังโชค-คุณkwok-คุณchaipat-คุณPichet-m
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]

    http://palungjit.org/threads/สร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะรับมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐-ปี.118352/page-2


    ๒)ไถ่ชีวิตโค-กระบือโดยโอนไปทำบุญกับคุณ hacknok(บัญชีศิริชัย เชื้อตาพระ) โดยตรงเมื่อได้รับ PM ขอให้ช่วยเหลือเรื่องไถ่ชีวิตโค-กระบือ ร่วมกับหลวงปู่บุญพิณ กตปุญโญ เจ้าอาวาสวัดผาเทพนิมิต โดยตรงจำนวน ๖,๐๐๐ บาท โดยได้มอบพระแม่จามเทวีทรงบัลลังก์จำนวน ๒ องค์(สร้างบุญโดยคุณdragonlord และคุณหมอ sumanas)และDVD ธรรมทาน ๒ ชุด









    <TABLE class=tborder id=post cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>hacknok<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 04:01 AM
    วันที่สมัคร: Nov 2007
    ข้อความ: 129
    ได้ให้อนุโมทนา 34 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 567 ครั้ง ใน 96 โพส
    พลังการให้คะแนน: 65 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

















    </TD><TD class=alt1 id=td_post_ style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid">ด่วน..เรื่องไถ่ชีวิตโค-กระบือ
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1>วันนี้ไปดูบัญชีมาบัญชีตอนนี้มียอดเงินรวมทั้งหมดอยู่ที่ 3,400 บาทและตอนนี้ยังขาดปัจจัยอยู่ที่ 4,999 บาทและระยะเวลาก็ใกล้เข้ามาทุกขณะเหลือเวลาไม่นานจะปิดรับบริจาควันที่ 25 เดือนมีนาคม พ.ศ.2551 เวลา 12.00 น. ฉนั้นข้าพเจ้าขอเชิญพี่ๆน้องๆชาวเวปวัดถ้ำเมืองนะทุกๆท่านช่วยสละมหาทานด้วยกันกับผมหน่อยนะครับ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://palungjit.org/threads/สร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะรับมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐-ปี.118352/page-20
    <LEGEND>
    </LEGEND>[​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]

    ๓)มอบพระธาตุพระแม่กวนอิมจำนวน ๓๖ องค์ ให้กับเพื่อนๆ ๓๖ ท่าน
    [​IMG]
    http://palungjit.org/threads/สร้างบ...ับมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐-ปี.118352/page-37
    รายชื่อเพื่อนๆ ๓๖ ท่านที่รับมอบพระธาตุพระแม่กวนอิม
    No.1 guawn
    No.2 คุณ das999
    No.3 คุณ tatra
    No.4 คุณ ชวภณ
    No.5 คุณ พุทธันดร
    No.6 คุณ chaipat
    No.7 คุณ ศิษย์ต่างแดน
    No.8 คุณ Supattara
    No.9 คุณ thanyaka
    No.10 คุณ ต้นแก้ว
    No.11 คุณ นว
    No.12 คุณ aries2947
    No.13 คุณ dragonlord
    No.14 คุณ manote
    No.15 คุณ atha
    No.16 คุณ onimaru_u
    No.17 คุณ kittipongc
    No.18 คุณ hippobankza
    No.19 คุณ jairlinethai
    No.20 คุณ Specialized
    No.21 คุณ naraiyana
    No.22 คุณ Pukky_ka
    No.23 ถวายหลวงพี่เอ
    No.24 คุณแดงลูกศิษย์หลวงพี่เอ
    No.25 พี่แอ๊ว
    No.26 คุณหนูดี
    No.27 น้องแอ้ม
    No.28 คุณสุพิตรา
    No.29 คุณbabekids
    No.30 คุณsithiphong เพื่อบรรจุพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง
    No.31 คุณixy
    No.32 คุณkwok
    No.33 คุณยุภาภรณ์
    No.34 คุณkato_king
    No.35 คุณสุวัชชัย
    No.36 คุณแมว
    http://palungjit.org/threads/สร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะรับมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐-ปี.118352/page-42

    ๔)ร่วมบุญกับมูลนิธิพระดาบสโดยมอบพระฤาษีวาสุเทพ และสุกกทันตฤาษี ให้ผู้ร่วมทำบุญไม่จำกัดจำนวนเงินที่บริจาคโดยตรงกับทางมูลนิธิพระดาบส จำนวน ๖๐ องค์

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    http://palungjit.org/threads/สร้างบ...บมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐-ปี.118352/page-104

    ๕)มอบพระร่วงเปิดโลกจำนวน ๙ องค์ให้กับผู้ทำสมาธิในระหว่าง ๒๑.๐๐-๒๑.๐๕ น.โดยถือสัจจะทำต่อเนื่อง และสม่ำเสมอตลอดชีวิต
    [​IMG][​IMG]
    สรุปรายชื่อของผู้จองพระเปิดโลก ๙ องค์ ตามลำดับของแต่ละวัน

    องค์ที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๕ ก.ค. คุณkhunsa
    องค์ที่ ๒ วันอาทิตย์ที่ ๖ ก.ค. คุณchantasakuldecha
    องค์ที่ ๓ วันจันทร์ที่ ๗ ก.ค. ไม่มีผู้ได้รับ
    องค์ที่ ๔ วันอังคารที่ ๘ ก.ค. คุณgnip
    องค์ที่ ๕ วันพุธที่ ๙ ก.ค. คุณkato_king
    องค์ที่ ๖ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ ก.ค. คุณnaraiyana
    องค์ที่ ๗ วันศุกร์ที่ ๑๑ ก.ค. ไม่มีผู้ได้รับ
    องค์ที่ ๘ วันเสาร์ที่ ๑๒ ก.ค. ไม่มีผู้ได้รับ
    องค์ที่ ๙ วันอาทิตย์ที่ ๑๓ ก.ค.ไม่มีผู้ได้รับ


    ๖)ร่วมกันถวายพระปางอุ้มบาตร เนื้อสำริด ความสูงประมาณ ๓ ฟุตครึ่ง อายุราว ๑๕๐ ปี เพื่อประดิษฐานเหนือบุษบกจำนวน ๑๕,๐๐๐ บาทโดยมอบพระอุ้มบาตรเล็ก รวม 5 พระธรรมทูต และน้ำสรงพระโมลีธาตุ(กระโหลกศีรษะส่วนขมับขวา)ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากพระธาตุศรีจอมทองให้กับทุกท่าน
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]

    http://palungjit.org/threads/สร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะรับมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐-ปี.118352/page-67

    [​IMG][​IMG][​IMG]
    รายชื่อผู้ร่วมบุญถวายพระปางอุ้มบาตรเหนือบุษบกพระโมคคัลลานะ ณ สถานะปัจจุบัน ก่อนการแก้ไขชื่อน้อง Pukky_ka จำนวน ๒๐๐ บาท

    ๑) คุณ :::เพชร::: ๑,๐๐๐ บาท
    ๒) คุณ nongnooo ๕๐๐ บาท
    ๓) คุณ guawn ๑๐๐ บาท
    ๔) คุณ kwok ๔๐๐ บาท
    ๕) คุณ sithiphong - ภรรยา และทั้ง ๒ ครอบครัว ๕๐๐ บาท
    ๖) คุณ newcomer ๓๐๐ บาท
    ๗) คุณ พิมพาภรณ์ ๑๐๐ บาท
    ๘) คุณ aries2947 - ภรรยา และครอบครัว ๒๐๐ บาท
    ๙) คุณ marcbangkok ๕๐๐ บาท
    ๑๐)คุณ sira ๒๐๐ บาท
    ๑๑)คุณ ตั้งจิต และครอบครัว ๒๐๐ บาท
    ๑๒)คุณ นายคัง และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท
    ๑๓)คุณ hongsanart ๑,๐๐๐ บาท
    ๑๔)คุณ ศิษย์ต่างแดน ๕๑๗.๓๘ บาท
    ๑๕)คุณ พรสว่าง_2008 ๓๐๐ บาท
    ๑๖)คุณ chaipat และภรรยา ๑๑๙ บาท
    ๑๗)คุณ พุทธันดร ๕๐๐ บาท
    ๑๘)คุณ ชวภณ-ภรรยา และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท
    ๑๙)คุณ ชาญณวิทย์ และภรรยา ๕๐๐ บาท
    ๒๐)คุณ pondkantana - ภรรยา และครอบครัว ๑,๕๐๐ บาท
    ๒๑)คุณ littlelucky ๑๐๐ บาท
    ๒๒)คุณ จาตุรงค์ ๒,๐๐๐ บาท
    ๒๓)คุณ ตา ๒,๐๐๐ บาท
    ๒๔)คุณจินตนา ๒๖๓.๖๒ บาท(ร่วมบุญสร้างบุษบกฯ ถ้วยเบญรงค์ของเก่าสมัยรัชกาลที่ ๕ ผอบบรรจุพระธาตุฯ อาสนะรองรับ และผ้าห่มคลุมองค์ท่าน จำนวน ๒๐๐.๓๘ บาท)
    ๒๕)คุณjirautes ๑๐๐ บาท(ร่วมบุญสร้างบุษบกฯ ถ้วยเบญรงค์ของเก่าสมัยรัชกาลที่ ๕ ผอบบรรจุพระธาตุฯ อาสนะรองรับ และผ้าห่มคลุมองค์ท่าน จำนวน ๒๐๐ บาท)
    ๒๖)คุณพรเทพ ๑๐๐ บาท(ร่วมบุญสร้างบุษบกฯ ถ้วยเบญรงค์ของเก่าสมัยรัชกาลที่ ๕ ผอบบรรจุพระธาตุฯ อาสนะรองรับ และผ้าห่มคลุมองค์ท่าน จำนวน ๔๐๐ บาท)
    http://palungjit.org/threads/สร้างบ...ับมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐-ปี.118352/page-68

    ๗)ถวายบรรจุพระธาตุโมคคัลลานะยังพระธาตุเจดีย์ ๙ แห่ง(ดำเนินการไปแล้ว ๒ แห่ง) ท่านที่ได้บรรจุครบ ๙ แห่ง รับมอบ เหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ ๑๒ ราศี
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ร่วมบุญสร้างบุษบกนี้ได้อานิสงค์ครอบคลุมการจัดสร้างทุกรายการที่สุดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  15. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    โมทนาบุญทั้งหมดทั้งมวลกับพี่เพชรและคณะด้วยครับ
    สาธุๆๆ
     
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขอบคุณคุณน้องนู๋ที่ได้แนะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์
     
  17. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ยินดีและโมทนาบุญใหญ่เป็นอย่างยิ่งครับ หุ หุ
     
  18. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    ใกล้จะได้ลุยงานใหญ่อีกครั้งนึงครับ
    พร้อมๆๆๆๆ เชียร์ๆๆๆๆๆ
     
  19. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อาจจะเป็นการทำให้อยากแล้วจากไปก็ได้นะครับ..
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระรอด องค์กลางในพระสิบสอง นี้สำคัญมาก บางท่านที่หาพระรอดกรุวัดมหาวันไม่ได้ จะนำพระรอดตรงส่วนบนตรงกลางนี้มาคล้องคอแทน แต่ลักษณะของการได้พระรอดองค์กลางส่วนนี้มามีที่มาที่ไปที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบตรวจสอบดูเสียก่อน แต่หากเป็นองค์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบนี้ เราคงไม่มีเหตุผลใดจะไปตัดออก ...

    หากพบพระรอดที่ถูกตัดออกจากพระสิบสอง ขอให้พิจารณาว่าเป็นการแตกหัก หรือถูกตัดก่อนเข้ากรุเมื่อหลายๆร้อยปีที่ผ่านมา หรือ ตัดออกเอง แล้วไปเข้ากรุในภายหลัง การเช่าหาจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษครับ<!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010104.JPG
      P1010104.JPG
      ขนาดไฟล์:
      266.3 KB
      เปิดดู:
      40
    • P1010106.JPG
      P1010106.JPG
      ขนาดไฟล์:
      274.9 KB
      เปิดดู:
      45
    • P1010107.JPG
      P1010107.JPG
      ขนาดไฟล์:
      276.3 KB
      เปิดดู:
      49
    • P1010108.JPG
      P1010108.JPG
      ขนาดไฟล์:
      309.3 KB
      เปิดดู:
      36
    • P1010109.JPG
      P1010109.JPG
      ขนาดไฟล์:
      313.6 KB
      เปิดดู:
      64
    • P1010110.JPG
      P1010110.JPG
      ขนาดไฟล์:
      308.3 KB
      เปิดดู:
      39

แชร์หน้านี้

Loading...