ขอเชิญพี่น้องพลังจิตร่วมจุดเทียนชัยถวายแด่พ่อผ่านเวบกสท

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย deedeeman, 2 ธันวาคม 2009.

  1. deedeeman

    deedeeman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2006
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +258
    ที่ลิ้งค์นี้เลยครับจุดแสงทอง ส่องทั่วหล้า

    [​IMG]

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.780780/[/MUSIC]


    ทรงพระเจริญ

    <TABLE class=forumline cellSpacing=1 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=row1 vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    พระจักรวรรดิวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    โดย พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์

    ประเทศไทยนับว่า เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคนี้
    ที่ได้รับอารยธรรมมาจากประเทศอินเดียตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๓
    เชื่อกันว่า ในช่วงเวลานั้น กษัตริย์อินเดียแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ได้ทรงปกครองอาณาจักรสยามด้วย และในโอกาสนี้ พระพุทธศาสนา
    จึงได้แผ่เข้ามาในอาณาจักรสยามด้วยเช่นกัน

    อันสืบเนื่องมาจากอารยธรรมของอินเดีย
    และโดยอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
    ซึ่งมีลักษณะการบริหารประเทศโดยมีกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ สืบเนื่องกันมาเป็นเวลานานตั้งแต่ก่อนพุทธกาล จึงได้มีการวาง รูปแบบการปกครองและการบริหารของประเทศ
    ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ไว้ว่า

    "....กษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ ทรงมีอำนาจไม่มีขอบเขต....
    ทรงเป็นจอมทัพ...ทรงเป็นประมุขด้านตุลาการ....
    ทรงเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหลายในราชอาณาจักร......
    ...แต่กษัตริย์ก็มิได้ทรงเป็นราชาที่มีอำนาจเด็ดขาด

    เพราะในวันประกอบพิธีบรมราชาภิเษกนั้น
    กษัตริย์จะต้องปฏิญาณพระองค์ต่อประชาชนว่า

    ....ความสุขและสวัสดิภาพ
    ของกษัตริย์อยู่ที่ความสุขและสวัสดิภาพของประชาชน สวัสดิภาพของกษัตริย์มิได้อยู่ที่ความสุขของกษัตริย์เอง
    แต่อยู่ที่ ความสุขของประชาชนของกษัตริย์
    สิ่งใดที่ให้ความสุขแก่กษัตริย์จะถือว่าสิ่งนั้นมิใช่สิ่งดีงาม แต่สิ่งใดที่ให้ความสุขแก่ ประชาชนจะถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งดีงาม....

    ข้อความดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า

    "...กษัตริย์ไม่ทรงเป็นเผด็จการ
    ไม่ทรงทำ ความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน
    ไม่ทรงถือเอาผลประโยชน์จากประชาชนตามพระประสงค์ หรือตามพระทัยของพระองค์เอง

    แต่กษัตริย์จะต้องทรงส่งเสริมสวัสดิการของประชาชน ต้องทรงถือพระองค์ว่า เป็นผู้รับใช้ของรัฐ...... "

    [​IMG]

    โดยหลักการบริหารประเทศดังกล่าว
    ได้มีการวางรูปแบบการปกครอง
    และการบริหารของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์
    ไว้เป็นหลักใหญ่รวม ๓ ประการ คือ

    ๑. ทศพิธราชธรรม

    หรือ ธรรมะในการปกครองประเทศ ๑๐ ประการ
    เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์ร่มเย็นเป็นสุขบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง

    ๒. ราชสังคหะ

    หรือ ธรรมะในการทำนุประชาราษฎร์ ๔ ประการ

    ๓. จักรวรรดิวัตร

    ธรรมะในการคุ้มครองป้องกันอาณาประชาราษฎร์

    ดังนั้น เจ้าชายองค์รัชทายาทซึ่งมีสิทธิ์ที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ในอนาคต
    แม้กระทั่ง เจ้าชายสิทธัตถะ แห่งราชวงศ์ศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์
    ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    หรือเจ้าชายจันทรคุปต์ ซึ่งต่อมาได้เป็นพระเจ้าจันทรคุปต์ แห่งราชวงศ์เมารยะ จอมจักรพรรดิ์ผู้ปลดแอก กู้ชาติอินเดียให้พ้นจากการปกครองของขนขาติกรีก เมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช

    (น่าเชื่อว่า เป็นพระองค์เดียวกับพระจันทโครพ
    ในนิยายจักร์ๆ วงศ์ๆ ของเรา....ผู้เขียน)

    จำเป็นจะต้องศึกษาวิชาต่างๆ ตั้งแต่พระชนมายุประมาณ ๑๖ ปี
    ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ในห้วข้อ วิชาต่างๆ
    ซึ่งประกอบด้วย พระเวท และศิลปศาสตร์รวม ๑๘ อย่าง ได้แก่ การคำนวณ ภูมิศาสตร์ วิชาช่าง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
    การค้าขาย การขับร้องดนตรี ดาราศาสตร์ การใช้ศรและธนู โบราณคดี แพทยศาสตร์ โหราศาสตร์ การแต่งกาพย์ ฉันท์ ตรรกวิทยา
    เกษตรศาสตร์และปศุสัตว์ พิชัยสงคราม เวทมนตร์คาถา การสื่อสารมวลชน และความรู้ทั่วไป

    สถาบันการศึกษาที่สำคัญในยุคนั้นแห่งหนี่ง
    ได้แก่ มหาวิทยาลัยตักศิลา
    โดยต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาประมาณ ๘ ปี
    โดยรูปแบบการปกครองและการบริหารของประเทศที่ได้วางไว้

    [​IMG]

    เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว
    กษัตริย์จะต้องทรงปฏิบัติพระองค์ในลักษณะธรรมราชา
    ปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้กินดีอยู่ดี
    มีความร่มเย็นเป็นสุขบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง
    บนพื้นฐานที่มาจากความเชื่อว่า
    ราชาที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งธรรมะสำคัญที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม"

    (มีต่อ)




    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=row1 vAlign=bottom noWrap></TD></TR><TR><TD class=spacerow colSpan=2 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=row2 vAlign=top align=middle rowSpan=2>






    </TD><TD class=row2 vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=postdetails></TD><TD vAlign=top noWrap align=right></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    ทศพิธราชธรรม ประกอบด้วยหลักธรรม ๑๐ ประการ ได้แก่

    ๑. ทาน

    ได้แก่ การเอาใจใส่สงเคราะห์อนุเคราะห์
    ให้ประชาราษฎร์ได้รับประโยชน์สุข ความสะดวกปลอดภัย
    ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ เดือดร้อน ประสบทุกข์
    และให้การสนับสนุนแก่คนทำความดี

    พระมหากษัตริย์จะทรงยินดีจ่ายพระราชทานทรัพย์
    ให้แก่ข้าราชการ และราษฎรผู้สมควรได้รับในคราวที่ควร
    ตลอดจนถึงการจ่ายเพื่อบำรุงกิจการ
    เพื่อให้ความสะดวกและความสมบูรณ์แก่ราษฎร

    พระมหากษัตริย์จะทรงชุบเลี้ยงพระราชวงศานุวงศ์
    และข้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วยพระราชทาน
    พระราชทรัพย์ เครื่องอุปโภค บริโภคภัณฑ์ตามฐานะของบุคคลนั้น

    ซึ่งได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณ
    และพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่องค์การหรือ
    บุคคลและราษฎรเมื่อถึงคราวอันสมควร
    รวมทั้งพระราชทานจตุปัจจัยแก่บรรพชิตผู้ประกอบกิจพระศาสนา

    ๒. ศีล

    ได้แก่ การรักษาความสุจริต มีความประพฤติดีงาม
    สำรวมกายและวจีกรรม ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี
    ให้เป็นที่เคารพนับถือ ของประชาราษฎร์
    พระมหากษัตริย์จะทรงประพฤติพระจริยาทางพระกาย
    พระวาจาให้สะอาดตามขัตติยราชประเพณี
    ดำรงด้วยดีในเบญจศีลให้เป็น คุณสมบัติในพระองค์

    [​IMG]

    ๓. บริจาคะ

    ได้แก่ การเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
    และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
    พระมหากษัตริย์จะทรงสละบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นต้น
    ตลอดจนความสุขส่วนพระองค์
    เพื่อความสุขของประชาราษฎร์ ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

    ๔. อาชชวะ

    ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
    มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน
    พระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชอัธยาศัยประกอบด้วยความซื่อตรง
    ดำรงในความสัตย์สุจริตต่อพระราชสัมพันธมิตร
    และพระราชวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองพระบาททั้งปวง
    ไม่ทรงคิดลวงประทุษร้ายโดยอุบายอยุติธรรม

    ๕. มัททวะ

    ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัย
    พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงดื้อดึงถือพระองค์ด้วยอำนาจมานะ
    เมื่อมีผู้กราบทูลตักเตือนโต้แย้งด้วยข้ออรรถข้อธรรมที่กอปรด้วยเหตุผล
    ซึ่งเป็นวิสัยของบัณฑิตชนกมิได้ทรงห้ามปรามคัดค้าน
    ทรงวิจารณ์โดยถ้วนถี่ ถ้าดีชอบก็ทรงยินดีด้วยแล้วทรงอนุวัตรตาม
    โดยไม่ทรงถือ พระองค์ด้วยอำนาจมานะ

    ไม่ทรงเย่อหยิ่งหยาบคายกระด้าง ถือพระองค์
    มีความงามสง่าอันเกิดจากท่วงทีกิริยาสุภาพนุ่มนวลละมุนละไม
    ทรงมีสัมมาคารวะอ่อนน้อมแก่ท่านผู้เจริญโดยวัย และเจริญโดยคุณ

    [​IMG]

    ๖. ตปะ

    ได้แก่ การบำเพ็ญความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้าน และความชั่ว

    พระมหากษัตริย์จะต้องทรงตั้งพระราชหฤทัยกำจัดความเกียจคร้าน
    และการทำผิดหน้าที่
    ทรงตั้งพระราชอุตสาหะวิริยภาพปฏิบัติ
    พระราชกรณียะให้เป็นไปด้วยดีเพื่อคุ้มครองไพร่ฟ้าประชาชน

    ๗. อักโกธะ

    ได้แก่ การไม่เกรี้ยวกราด
    ไม่วินิจฉัยข้อความและกระทำด้วยอำนาจความโกรธ มีเมตตาประจำใจ
    พระมหากษัตริย์จะต้องทรงมีพระราชอัธยาศัยประกอบด้วยพระเมตตา
    ไม่ทรงปรารถนาก่อเวรก่อภัยให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
    ไม่ทรงพระพิโรธ ด้วยเหตุที่ไม่ควร

    แม้จะมีเหตุที่ให้ทรงพิโรธ ก็จะทรงข่มเสียให้สงบระงับอันตรธาน
    และทรงปฏิบัติด้วยพระสติรอบคอบ

    ๘. อวิหิงสา

    ได้แก่ การไม่หลงระเริงอำนาจ ไม่บีบคั้นกดขี่
    มีความกรุณา ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาชญา
    แก่ประชาราษฎร์ผู้ใดด้วย ความอาฆาตเกลียดชัง

    พระมหากษัตริย์จะต้องทรงมีพระราชอัธยาศัยกอปรด้วยพระมหากรุณา
    ไม่ทรงปรารถนาก่อโทษก่อทุกข์แก่ผู้หนึ่งผู้ใด
    ไม่ทรงเบียดเบียน พระราชวงศานุวงศ์
    ข้าทูลละอองธุลีพระบาทและอาณาประชาราษฎร์
    ให้ลำบากด้วยเหตุอันไม่ควร
    ทรงปกครองประชาชนดังบิดาปกครองบุตร

    [​IMG]

    ๙. ขันติ

    ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นต่อความโลภ
    ความทะเยอทะยานอยากได้
    ความโกรธความพยาบาทมุ่งร้าย ความหลงงมงาย
    หลงระเริงในอารมณ์ที่ยั่วให้เกิด

    ไม่ยอมละทิ้งกิจกรณีย์ที่ได้บำเพ็ญโดยชอบธรรม
    พระมหากษัตริย์จะต้องทรงมีความอดทนอดกลั้น
    ไม่หวั่นไหวต่อความโลภ ความโกรธ
    และความหลงที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์

    ทรงมีความอดทน ต่อเวทนามีเย็นร้อนเป็นต้น
    ทรงอดทนต่อถ้อยคำที่มีผู้กล่าวชั่ว
    ทรงรักษาพระราชหฤทัยและพระอาการกายวาจาให้สงบเรียบร้อย

    ๑๐. อวิโรธนะ

    ได้แก่ การวางตนให้เป็นหลัก หนักแน่น
    สถิตมั่นในธรรมทั้งส่วนยุติธรรม และนิติธรรม
    ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหวเพราะ ถ้อยคำดีร้าย
    ลาภสักการะ อิฏฐารมณ์ หรือ อนิฏฐารมณ์
    โดยยึดถึงประโยชน์สุข และความดีงามของรัฐและราษฎร์เป็นที่ตั้ง






    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=row2 vAlign=bottom noWrap></TD></TR><TR><TD class=spacerow colSpan=2 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=row1 vAlign=top align=middle rowSpan=2></TD><TD class=row1 vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=postdetails></TD><TD vAlign=top noWrap align=right></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    พระมหากษัตริย์จะต้องทรงตั้งอยู่ในขัตติยประเพณี
    ไม่ทรงประพฤติผิดจากราชจรรยานุวัตร (ราชสังคหะ ๔ ประการ)
    นิติศาสตร์ และ ราชศาสตร์

    ทรงอุปถัมภ์ผู้ที่มีคุณความชอบ
    ทรงบำราบผู้ที่กระทำความผิดด้วยความเป็นธรรม
    ไม่ทรงอุปถัมภ์ยกย่อง หรือบำราบบุคคล ด้วยอำนาจอคติ ๔ ประการ
    คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ
    ไม่ทรงหวั่นไหว สะทกสะท้านต่อโลกธรรม

    ในส่วนที่เกี่ยวกับ ราชสังคหะ
    หรือ ประการการทำนุประชาราษฎร์ด้วยหลักธรรม ๔ นั้น จะประกอบด้วย

    [​IMG]

    ๑. สัสสเมธะ

    ได้แก่ พระปรีชาสามาถในเรื่องการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร
    ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์

    ๒. ปุริสเมธะ

    ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการสงเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์
    และข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ประกอบราชกิจ ฉลองพระคุณ
    ทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน
    โดยทรงยกย่องพระราชทานยศ ฐานันดร
    ตำแหน่งหน้าที่โดยสมควรแก่กุลวงศ์
    วิทยาสามารถ และความชอบในราชการ

    ๓. สัมมาปาสะ

    ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการส่งเสริมอาชีพ
    เช่น การจัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในพาณิชยกรรม เกษตรกรรม
    หรือดำเนินกิจการต่างๆ
    เพื่อมิให้บังเกิดช่องว่างในสังคมมากจนเกินไป

    ๔. วาจาไปยะ

    ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการใช้พระวาจาที่เตือนสติแก่ผู้ฟัง
    ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ ดูดดื่มใจ
    รวมทั้งจะไม่ทรง รังเกียจเบื่อหน่ายที่จะทรงทักทายปราศรัย
    ถามไถ่ทุกข์สุขของประชาราษฎร์ทุกระดับชั้นโดยสมควรแก่ฐานะ

    [​IMG]






    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    และภาวะสำหรับ จักรวรรดิวัตร
    หรือธรรมะในการคุ้มครองป้องกันอาณาประชาราษฎร์นั้น
    มีรายละเอียดครอบคลุมเรื่องที่เกี่ยวกับการปกครอง ไว้อย่างกว้างขวาง
    ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ใน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย
    มีแนวทางปฏิบัติของพระมหากษัตริย์สำคัญที่น่าสนใจดังนี้

    ๑. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงพิทักษ์ชีวิตและทรัพย์สมบัติของประชาชน

    ๒. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงอนุเคราะห์ประชาชนชาวนิคมชนบทโดยฐานานุรูป

    ทรงแนะนำชักนำให้ประชาชนตั้งอยู่ใน กุศลสุจริต
    ประกอบอาชีพโดยชอบธรรม

    หากชนใดไม่มีทรัพย์พอเลี้ยงชีพโดยสัมมาอาชีวะ
    จะพระราชทานทรัพย์เจือจาน
    ให้เลี้ยงชีพด้วยวิธีอันเหมาะสม ไม่ให้แสวงหาด้วยทุจริต

    ๓. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงช่วยชีวิตของประชาชน
    ในยามเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ


    เช่น อุทกภัย วาตภัย ดินฟ้าอากาศแห้งแล้ง
    ฝนไม่ตกตามฤดูกาล รวมทั้ง โรคระบาด อัคคีภัย

    [​IMG]

    ๔. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างลึกซึ้ง

    ด้วยการผูกพระราชไมตรีสมานราชสัมพันธมิตรกับกษัตริย์
    ประธานาธิบดี และผู้นำของประเทศต่างๆ
    เพื่อให้ราชอาณาจักรอยู่รอดปลอดภัย

    ๕. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงส่งเสริมศิลปะและการศึกษา
    รวมทั้งสุขภาพ อนามัย สุขาภิบาล


    ทรงให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ ปลดเปลื้องภาระคนยากจน
    ตลอดจนการกระทำอันเป็นบุญกุศลซึ่งได้แก่
    การสร้างโรงพยาบาล บ้านพักคนชรา คนกำพร้า คนอนาถา เป็นต้น

    [​IMG]

    ๖. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงอุปการะสมณชีพราหมณ์ผู้มีศีลประพฤติชอบ

    โดยพระราชทานไทยธรรม บริขารเกื้อกูลแก่ ธรรมปฏิบัติ ฯลฯ

    หากได้นำพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ได้ทรงปฏิบัติต่อประเทศชาติ ต่อส่วนรวม
    ต่อพสกนิกรประชาชนคนไทย มาโดยตลอด

    นับตั้งแต่วันที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์มาอย่างต่อเนื่อง
    เป็นเวลานานเกินกว่าครึ่งศตวรรษ
    มาเปรียบเทียบกับหลักการปกครอง
    และบริหารประเทศตามตำราอรรถศาสตร์
    ซึ่งถือเป็นตำรามาตรฐานในการปกครอง
    และบริหารประเทศตามอำนาจหน้าที่ของพระมหากษัตริย์
    มาแต่โบราณกาลดังกล่าวข้างต้น

    [​IMG]

    จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติตามแนวทางเหล่านั้นมาโดยตลอด
    โดยไม่มีขาดตกบกพร่องจากเลยแม้แต่ข้อเดียว


    ถึงแม้ว่า พระองค์ท่านจะมิได้ทรงมีโอกาสเข้ารับการศึกษา
    ตามหลักสูตรที่ได้กำหนดไว้ในตำรา อรรถศาสตร์
    ดังกล่าวเช่นเดียวกับเจ้าชายรัชทายาท
    อันเนื่องมาจากกาลเวลา และสภาพสังคมที่ได้ปลี่ยนแปลงไป
    กับการที่ต้องเสด็จขึ้น ครองราชย์โดยกระทันหัน
    ด้วยเหตุการณ์ที่มิได้คาดคิด

    [​IMG]

    ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ยืนยันได้อย่างแน่ชัดว่า
    ถึงความเป็นพหูสูตของพระองค์ท่าน

    ไม่เพียงเท่านั้น ประชาชนคนไทยนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีโชคดี
    ที่พระมหากษัตราธิราชซึ่งทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม
    ทรงมีพระปรีชาสามารถ
    ทรงมีพระราชอัจฉริยภาพสูงส่ง
    ทรงมีความเป็นพหูสูต ในสาขาวิชาการต่างๆ
    และทรงมีพระมหากรุณาแก่พวกเราอย่างมากมายเหลือคณานับ


    [​IMG]

    ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลแห่งพิธีการเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา
    และพระราชพิธีฉัตรมงคลเวียนมาบรรจบอีกครั้งในปี ๒๕๕๑

    จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคนจะได้ร่วมกันตั้งสัจจบารมี
    กำหนดจิตอธิษฐานถวายพระพรให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
    เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรประชาชนคนไทยตลอดไป


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    (ที่มา : พระจักรวรรดิวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    โดย พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ : เอกสารอ้างอิง "ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ",
    ดนัย ไชยโยธา, บริษัทอักษรเจริญทัศน์ฯ)
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2009
  2. GSS

    GSS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +181
    จุดเทียนแล้วค่ะ ขอบคุณนะค่ะ
     
  3. พรรณกานต์

    พรรณกานต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2009
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +231
    จุดเทียนชัยถวายแด่ในหลวงแล้วค่ะ ขอบคุณสำหรับนำสิ่งดี ๆ มาให้ค่ะ
     
  4. นิพ_พาน

    นิพ_พาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,984
    ค่าพลัง:
    +7,810
    ขอบคุณค่ะคุณ deedeeman
    นำสิ่งดีๆสู่สังคม โมทนาค่ะ
     
  5. deedeeman

    deedeeman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2006
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +258
    สื่อต่างชาติสงสัยทำไมคนไทยรัก “ในหลวง” สุดหัวใจ

    สื่อต่างชาติสงสัยทำไมคนไทยรัก “ในหลวง” สุดหัวใจ



    [​IMG]
    [​IMG]
    พวกเราลืมกันแล้วหรือยังว่า “วันมหามงคลของคนไทย” เมื่อ 9 มิถุนายน 2549 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระราชพิธีฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เพื่อรับการถวายพระพรจากพสกนิกรทั่วประเทศที่สวมเสื้อสีเหลืองอร่าม และโบกธงทรงพระเจริญปลิวไสว นอกจากจะสร้างความปีติแก่ชาวไทยจนน้ำตาไหล เปล่งเสียงถวายพระพร “ทรงพระเจริญ” กึกก้องยาวนานแล้ว เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ยังได้สร้างความฉงน ฉงาย ทึ่ง แปลกใจให้กับสื่อต่างประเทศอย่างมาก
    ความทึ่ง และแปลกใจนี้ ส่งผลให้สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักจำเป็นต้องเสริมข้อเขียนเกี่ยวเนื่อง กับราชพิธีครั้งนี้ ออกไปจากที่ตั้งใจไว้ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาคำตอบว่า เหตุใดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในโลก จึงได้รับความเคารพรัก และเทิดทูนจากชาวไทยมากมายขนาดนั้น

    ผู้สื่อข่าว บีบีซี นิวส์ แห่งประเทศอังกฤษ แสดงสีหน้าแปลกใจไม่น้อยเมื่อได้รับคำตอบจากสาวรุ่นชาวไทยผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังเดินออกมาหลังจากใช้เวลาเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จฯออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา คำตอบเป็นภาษาอังกฤษกระท่อนกระแท่น แต่จับใจความได้ว่า “รักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาก รักจนตายแทนพระองค์ท่านได้ทุกเมื่อ ทุกเวลา”

    “ร็อบ โคเฮน” ผู้สื่อข่าวของวิทยุเสียงอเมริกา (วีโอเอ) ปักหลักรายงานข่าวพิธีเฉลิมฉลองครั้งนี้ จากกรุงเทพมหานคร ข้อเขียนชิ้นหนึ่งของผู้สื่อข่าวอเมริกันผู้นี้ นำเสนอในเว็บไซต์ของวีโอเอเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา สะท้อนถึงความพยายามที่จะอธิบายต่อบุคคลภายนอกที่ยังไม่กระจ่างชัดนักว่า เหตุใดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทย จึงได้รับความภักดีอย่างถึงที่สุดจากปวงชนชาวไทย พร้อมๆ กับที่ได้รับคำสรรเสริญอย่างยิ่งใหญ่จากต่างประเทศ
    “พระมหากษัตริย์ของไทย ซึ่งฉลองวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปีในสัปดาห์นี้ เป็นที่รู้จักกันในประเทศของพระองค์ว่าทรงเป็น “กษัตริย์นักพัฒนา” จากการที่ทรงให้การสนับสนุนโครงการ เพื่อการพัฒนาในชนบทต่างๆ เป็นจำนวนมาก การอุทิศพระองค์ เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวทรงได้รับความเคารพ และยกย่องจากทุกๆ ภาคส่วนของสังคมไทย”
    ย่อหน้าถัดมาผู้เขียนบอกเอาไว้ว่า ในการเสด็จพระราชดำเนินออกมหาสมาคม มีคนไทยเรือนล้านเข้าร่วมรับเสด็จฯ และคาดว่าจะมีคนไทยอีกหลายล้านคนร่วมในพิธีฉลองยิ่งใหญ่ในช่วง 3 วันนี้
    [​IMG]“ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะความพระอุตสาหะพยายามของพระองค์ในการขจัดความยากจน ให้กับคนในประเทศของพระองค์ ทำให้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับความเคารพเทิดทูนอย่างกว้าง ขวาง และนอกจากนั้นยังทรงเป็นองค์ประกอบสำคัญอันทำให้สังคมไทยยังคงความเป็นปึกแผ่น เป็นเอกภาพอยู่ในขณะนี้ “
    “ร็อบ โคเฮน” ระบุเอาไว้ในข้อเขียนว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ มากกว่า 3000 โครงการ ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาแหล่งน้ำ และการส่งเสริมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพการอยู่อาศัย

    “ในปี 2493 กษัตริย์หนุ่มให้การสนับสนุนความพยายามในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ ของอหิวาตกโรค นับตั้ง แต่บัดนั้นโครงการของพระองค์ได้วิวัฒน์ขึ้นไปหลากหลายตั้ง แต่การให้ความช่วยเหลือในยามฉุกเฉินเรื่อยไปจนถึงการพัฒนาเกษตรกรรม โครงการต่างๆ เหล่านี้ รวมถึงความพยายามของพระองค์ในอันที่จะเพิ่มขีดผลผลิตในการทำนาข้าว การปรับปรุงการผสมพันธุ์ปศุสัตว์ และโครงการที่มีนัยสำคัญในด้านแหล่งทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำ โครงการแพทย์ประจำหมู่บ้าน โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ แม้กระทั่งการที่ทรงคิดค้นกระบวนการทำฝนเทียม เพื่อใช้ในระหว่างหน้าแล้งยาวนานในประเทศไทย ล้วนแล้ว แต่ได้รับความสนับสนุนจากพระองค์ท่านทั้งสิ้น”
    โคเฮนระบุว่า ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” อันหมายถึงการส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างได้สมดุลในระยะยาว และยืนนานคือหัวใจของพระราชภาระเหล่านี้ เพราะกว่าครึ่งหนึ่งของคนไทย 64 ล้านคน ยังคงใช้ชีวิตของตนขึ้นอยู่กับผลผลิตที่ได้จากผืนดิน แม้ว่าอีกส่วนหนึ่งของประเทศจะแปรผันไปเป็นอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วแค่ไหนก็ตาม
    “สังคมไทยแทบทั้งหมด ได้รับผลประโยชน์จากพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาขององค์พระมหา กษัตริย์ไทย ไม่เว้นแม้กระทั่งชนกลุ่มน้อยชาวเขาทั้งหลายทางตอนเหนือของประเทศ โครงการปลูกพืชทดแทนต่างๆ สำหรับชาวเขาเหล่านี้ ส่งผลให้ไทย ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นประเทศแหล่งผลิตเฮโรอีนแหล่งใหญ่ เกือบจะปลอดจากการปลูกฝิ่นแล้วในขณะนี้ ในขณะที่อีกหลายโครงการกระตุ้นให้ชาวเขาเหล่านี้ ยุติการตัดไม้ทำลายป่า เผาพื้นที่ป่า เพื่อทำการเกษตร” ข้อเขียนของ ร็อบ โคเฮน ระบุ
    [​IMG]พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการทูลเกล้าฯถวายรางวัลอันเนื่องมาจากผลงานการพัฒนาชนบทของพระองค์มากมาย รวมทั้ง รางวัลล่าสุดที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯถวายจาก นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งกล่าวสดุดีพระองค์ไว้ในโอกาสดังกล่าว ว่า
    “พระองค์ทรงเอื้อมพระหัตถ์เอื้อไปยังบรรดาผู้ที่ยากจนที่สุด และเปราะบางที่สุดในสังคมไทย ทรงรับฟังปัญหาของพวกเขาเหล่านั้น และให้ความช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นให้สามารถยืนหยัดดำรงชีวิตของตนเองต่อไป ได้ด้วยกำลังของตัวเอง… โครงการ เพื่อการพัฒนาชนบทต่างๆ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังประโยชน์ให้กับประชาชนนับเป็นล้านๆ ทั่วทั้งสังคมไทย”
    นั่นไม่เพียงทำให้พระองค์ทรงดำรงสถานะเป็น “กษัตริย์นักพัฒนา” ในสายต่างๆ ของบุคคลภายนอกประเทศเท่านั้น หาก แต่ยังส่งผลให้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสถิตอยู่ในดวงใจของคนไทยทั้งปวงไปตลอดกาลนาน

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในทรรศนะของชาวต่างประเทศ

    เดวิด โมห์เซนี่ -นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
    “กษัตริย์ของประเทศไทย เป็นพระประมุขพระองค์เดียวที่ยังคงสามารถรักษาอำนาจอธิปไตยของประเทศของพระองค์ไว้ได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งพิเศษมากสำหรับประเทศไทย นอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชบัลลังก์อยู่ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ พระองค์ใดเท่าที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ดูเหมือนว่าคนไทยมีเหตุผลดีพอที่จะรักพระองค์อย่างไม่จางหาย… “

    แอนดี้ แคนฟีลด์ ร้อยเอ็ด
    “ผมใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย และผมจะสวมเสื้อเหลืองในวันนี้ (9 มิถุนายน 2549) พระมหากษัตริย์ไทยของเราเป็นบุคคลอัศจรรย์ เป็นนักบุญ สามารถเทียบเคียงได้กับองค์ทะไลลามะ หรือองค์พระสันตะปาปา พระองค์ทรงพระราชทานแรงบันดาลใจทุกอย่างให้กับเรา แม้กระทั่งกับผู้ ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับผม ที่ถือกำเนิดในดินแดนอื่น แต่มาใช้ชีวิตอยู่ที่นี้ “

    เดวิด-ยอร์ก สหราชอาณาจักร
    “ควรตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ในขณะที่คนไทยนั้นให้ความเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสูงสุด แต่กลับเป็นบุคลิกภาพ และการอุทิศพระองค์ โดยปราศจากเงื่อนไขขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่กอรปกันขึ้นเป็นรากฐานของความชื่นชมเคารพ ยกย่องในพระองค์อย่างลึกซึ้ง และใหญ่หลวงอย่างที่พระองค์สมควรได้รับ”

    สตีฟ-ลอนดอน สหราชอาณาจักร
    “ผมใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯมาเป็นเวลา 4 ปี และผมคงจำเป็นต้องบอกว่า การแสดงออกถึงความเคารพ และเทิดทูนที่คนไทยมีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยนั้น เป็นบางสิ่งบางอย่างที่ประชาชนสหราชอาณาจักรควรเรียนรู้จากพวกเขาให้มากเข้า ไว้”

    โธมัส บราวน์-ว็อกซอลล์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร
    “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระองค์อย่างชนิดที่ควรค่าอย่างยิ่งต่อการได้รับความเคารพรักจากปวง ชนชาวไทย พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมที่คนไทยทุกคนสามารถพึ่งพิงได้ ไม่ว่าจะมีความแตกต่างระหว่างกันเองมากมาย แค่ไหนก็ตาม ซึ่งไม่มีใครอื่นสามารถทำได้เช่นนี้ … ผมคิดว่าพระมหากษัตริย์ไทยทรงแสดงบทบาทในแง่ของการให้ความคุ้มครอง และยึดถือรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ผู้ที่ปฏิเสธเสรีภาพ ผมอยากให้ทหารของเราต่อสู้ เพื่อพระราชาหรือพระราชินี และประเทศชาติ แทนที่จะเป็นรัฐสภา และรัฐบาล”


    ศาสตราจารย์แมนเฟรด คราเมส เยอรมัน

    ผมรู้สึกสงสารพระองค์อย่างสุดซึ้ง เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นเพียงบุคคลเพียงคนเดียวที่พยายามจะ พัฒนาประเทศชาติ ในขณะที่คนอื่นๆ ในชาติได้แต่เฝ้ารอให้สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นโดยที่มิได้ดำเนินตามรอยพระบาท ของพระองค์ ซึ่งผมคิดว่าการพัฒนาประเทศในรูปแบบนี้ไม่น่าจะนำพาไปสู่ความสำเร็จได้
    ผมมีโอกาสได้อ่านบทความมากมายในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับอดีตนายกรัฐมนตรีของ ประเทศไทยท่านหนึ่ง ผู้ที่นำพาประเทศไทยเข้าสู่สนามแห่งธุรกิจ เราพบเห็นนักการเมืองส่วนมากในเอเชียที่หลังจากครองอำนาจและได้ผลประโยชน์ แล้วก็ไม่ช่วยเหลืออะไรประชาชนเลย นั่นทำให้ผมรู้สึกสงสารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะคำสอนของพระองค์ตรงข้ามกับสิ่งที่นักการเมืองเหล่านั้นกำลังเป็นอยู่ พวกเขาจึงทำให้พระองค์ทรงทุกข์ใจ โดยเสแสร้งว่าซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงการสร้างภาพไม่ใช่ความจริง พวก เขาเพียงแค่ต้องการจะใช้ภาพแห่งความจงรักภักดีนี้เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนเท คะแนนให้ในการเลือกตั้ง และขึ้นสู่อำนาจในเวลาต่อมาเท่านั้น
    กล่าวถึงความรู้สึกต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของชาวต่างชาติที่อยู่รอบตัวผม สำหรับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานาน พวกเขาจะชื่นชมในพระปรีชาสามารถของพระองค์อย่างมาก โดยพื้นฐานแล้วชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในประเทศไทยมีทัศนคติในด้านบวกกับพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพียงแต่เราไม่ได้เทิดทูนในลักษณะเดียวกับที่คนไทยเป็นอยู่


    มาร์ติน วีลเลอร์ สหราชอาณาจักร

    คนไทยโชคดีมากๆ ที่ได้ในหลวงเป็นผู้นำ พระองค์ท่านเป็นคนที่ทำงานหนักมากเพื่อช่วยให้คนคิดได้ ช่วยให้คนอยู่ได้ จะหากษัตริย์ในประเทศอื่นไม่ค่อยมีแบบนี้ ปัญหาคือคนไทยส่วนมากนับถือในหลวง แต่ ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสอนของในหลวง พระองค์ท่านบอกมา ๒๗ ปีถึงเศรษฐกิจพอเพียง แต่คนไทยก็ไม่รู้จักพอเพียง เอาอย่างเดียว ถึงยกมือไหว้ในหลวง แต่เวลาดำรงชีวิตไม่ได้ทำตามในหลวง ก็ในหลวงบอกไว้แล้วว่าไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเสือ ขอให้มีอยู่มีกินไว้ก่อน
    ถ้าทุกคนเริ่มคิดจริงๆ ถึงสิ่งที่ในหลวงพูด เราน่าจะช่วยให้ประเทศไทยอยู่ได้ เพราะความคิดของในหลวงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต้องอาศัยพลังแผ่นดิน ทำได้เฉพาะประเทศไทยนะ เศรษฐกิจพอเพียง ที่อื่นทำไม่ได้หรอก เพราะเขาไม่มีที่ดิน ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะเหมือนประเทศไทย


    Darryl N. Johnson จาก LATIMES สหรัฐอเมริกา

    ที่ได้กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีบทบาทในการปกครองประเทศ อันที่จริงแลัวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิทรงใช้อำนาจในการปกครองและมิทรง เลือกข้างทางการเมือง เฉกเช่นเดียวกับสมเด็จพระราชินีอังกฤษและสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเพียงสัญญลักษณ์และมีหลักธร รมาภิบาล มิได้เป็นอำนาจเพื่อการเมืองการปกครอง แม้ในครั้งที่พระองค์ทรงเข้าแทรกแซงในการเผชิญหน้าทางการเมือง ดังเช่นที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ก็ ทรงทำเพื่อมิให้เกิดการนองเลือดและเพื่อให้เกิดการรอมชอมและความสมัครสมาน สามัคคีของคนในประเทศ แต่มิได้ทรงมีพระบรมราชโองการว่าให้ดำเนินนโยบายอย่างไรหรือผู้ใดควรเป็นผู้ ปกครองประเทศ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุด ในโลกที่มีพระชนม์ชีพในปัจจุบันและยาวนานที่สุดในโลกทั้งหมด จากการครองราชย์ยาวนานกว่า 62 ปี พระองค์ทรงได้รับความชื่นชมและความจงรักภักดีจากพสกนิกรของพระองค์ในแบบ อย่างที่ชาวตะวันตกยากจะอธิบายได้ พระองค์ทรงมีบทบาทเฉพาะในสังคมไทยในอันที่ทรงดำรงตนเป็นแบบอย่างแก่ประชาชน ทั้งประเทศ ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ เป็นลุงผู้อารีผู้ส่งเสริมให้กำลังใจประชาชนทั้งในยามสุขและในยามทุกข์ยาก เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นผู้นำทางจิตใจในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา


    Anthony Bailey จาก The Guardian สหราชอาณาจักร

    ผู้ที่เคยไปประเทศไทยมาแล้วจะรู้ว่าประเทศไทยมีมากกว่าชายหาดและหมู่บ้านชาวเขา ที่ งดงาม แต่ถึงกระนั้นดูเหมือนว่ามุมมองของนักวิจารณ์ชาวตะวันตกบางคนจะได้รับ อิทธิพลจากภาพยนตร์เพลง The King and I ของผู้สร้าง Rodgers และ Hammerstein และ ความสับสนทางการเมืองในประเทศไทยในช่วงสองปีหลังนี้ดูราวกับเป็นสงคราม กลางเมืองอังกฤษในแบบที่เกิดขึ้นในโลกตะวันออก ซึ่งสงครามกลางเมืองอังกฤษนั้นเป็นการสู้รบระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุน Oliver Cromwell (Roundheads หรือ Parliamentarians) และกลุ่มผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ล ที่ 1 แห่งอังกฤษ (Cavaliers หรือ Royalists) ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มิได้ใกล้เคียงความเป็นจริงเลย
    ในทางตรงกันข้าม ในขณะที่บรรดานักการเมืองยังคงขัดแย้งกันและเหล่าผู้ชุมนุมประท้วงออกมายัง ท้องถนน ประชาชนไทยไม่ว่าอยู่ทางทิศใด ไม่ว่ามีความเกี่ยวข้องทางการเมืองฝ่ายใด ได้มองหาการแนะทางออกจากพระมหากษัตริย์ของพวกเขา พระมหากษัตริย์ผู้ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ประชาชนชาวไทยมีความจงรักภักดีและศรัทธาในองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช เป็นอย่างมาก มากจนหลายคนได้หวังว่าพระองค์จะทรงเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้บ้านเมืองได้กลับ เข้าสู่ความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ราชวงศ์ตระหนักว่าการเข้าแทรกแซงหรือไม่เข้าแทรกแซงของพระองค์ย่อมถูก วิพากษ์วิจารณ์โดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญชาวตะวันตก และราชวงศ์ก็ตระหนักเช่นกันว่าเหตุผลเบื้องหลังของการครองราชย์อันยาวนาน นั้นก็มาจากการใช้ดุลยพินิจด้วยความรอบคอบและการนำตนเองให้แยกออกจากการ เมืองที่เต็มไปด้วยความเลวร้าย
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับความชื่นชมในการวางพระองค์ตามกฎหมายรัฐ ธรรมนูญ พระองค์ทรงไม่ตอบรับต่อเสียงเรียกร้องจากผู้ที่อ้างว่ากระทำไปเพื่อพระองค์ และทรงวางพระองค์ออกห่างจากเรื่องดังกล่าว และในขณะนี้ที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มจะดีขึ้นและรัฐบาลใหม่ได้มีการจัด ตั้ง การวางพระองค์ตัดสินพระทัยในการทำหรือไม่ทำสิ่งใดๆ ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม

    หมายเหตุ - คัดบางตอนจากการแสดงความคิดผ่านทางเว็บไซต์ของ บีบีซี นิวส์ 9 มิถุนายน 2549
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2009
  6. deedeeman

    deedeeman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2006
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +258
    ในหลวงทรงปลื้มพระทัย จดหมายตัวแทนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง

    ในหลวงทรงปลื้มพระทัย จดหมายตัวแทนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง


    [​IMG]


    ได้รับการเปิดเผยจากท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ว่าตัวแทนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านจันทร์ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ได้เขียนจดหมายถึงท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ศาลารวมใจ อ.แม่แจ่ม เพื่อแสดงความรู้สึกถึงข่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร กองราชเลขานุการฯได้นำจดหมายดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งประทับเฝ้าพระอาการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงอ่านจดหมายดังกล่าวถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลื้มพระทัย และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงขอพระบรมราชานุญาตนำมาเผยแพร่ต่อประชาชน ดังนี้

    ศาลารวมใจบ้านจันทร์
    16 ตุลาคม 2552
    เรื่อง พ่อหลวงไม่สบาย ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง รัก เป็นห่วงมาก
    เรียนท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล
    เมื่อทราบข่าวว่าพ่อหลวงไม่สบาย ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตั้งจิตอธิษฐาน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในบ้านจันทร์ คุ้มครองรักษาพ่อหลวงหายจากอาการไม่สบายโดยเร็ว อยู่คู่กับคนไทยไปนานๆ พ่อหลวงองค์เดียวของแผ่นดิน พ่อองค์เดียวนี้หาไม่มี เมื่อพ่อหลวงสุขสบาย กะเหรี่ยงยิ้มแย้ม มีกำลังใจ เมื่อพ่อหลวงไม่สบาย กะเหรี่ยงเมื่อยล้า หมดแรง อบอุ่นใดไม่เหมือนอบอุ่นอยู่กับพ่อหลวงของเรา กะเหรี่ยงเกิดมาร่วมชาติกับพ่อหลวงไม่มีอะไรตอบแทน นอกจากขอเป็นคนดีของคนไทย รักและเป็นห่วงพ่อหลวงมาก
    ลงชื่อนางวราภรณ์ คำมิสอน
    ตัวแทนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง
    <SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-6342128072412513";/* 728x90, ถูกสร้างขึ้นแล้ว 6/1/09 */google_ad_slot = "9161957571";google_ad_width = 728;google_ad_height = 90;//--></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
     
  7. pevex

    pevex เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +114
    ขอบคุณ คุณ "deedeeman" ค่ะที่นำเพลงเพระ ๆ กับบทความดี ๆ มาให้อ่าน
    อ่านไปพร้อม ๆ กับฟังเพลง.. ทำน้ำตาซึม..เลยทีเดียว
    เหตุผลที่คนไทยรักในหลวง.. คำตอบหาได้จากภาพพระกรณียกิจของพระองค์ค่ะ
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ...

    ร่วมจุดเทียน..เพื่อแสดงความจงรักภักดีค่ะ... ^^
     
  8. law of karma

    law of karma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    251
    ค่าพลัง:
    +1,043
    รักในหลวงมากเลยคะ ... โชคดีของคนที่เกิดในประเทศไทย ที่มีกษัตริย์แบบท่าน...

    อยากให้คนไทยรักและสามัคคีกันจัง...
     
  9. deedeeman

    deedeeman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2006
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +258
    คำถวายสัตย์ปฎิญาณปฎิบัติตามพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


    [​IMG]
    ข้อมูลจากคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศาสนาขอเชิญชวนชาวไทยร่วมทำความดีถวายแด่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยการถวายสัตย์ปฎิญาณประพฤติปฎิบัติตามพระราชดำรัส คุณธรรม๔ประการ
    ส่วนกลาง ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
    ส่วนภูมิภาค ณ ศาลากลางจังหวัด อำเภอกำหนด

    เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ๕ ธันวาคม๒๕๕๒


    ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสในอันที่จะกล่าวสัจวาจาว่า จะน้อมนำพระราชดำรัสซึ่งใต้ฝ่าละอองธุลีพนะบาทได้พระราชทานไว้ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ๖๐ปี ณ ระที่นั่งอนันตสมาคม ในวันศุกร์ที่๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ ให้แก่ประชาชนเป็นแนวทางปฎิบัติในการรักษาความคิดจิตใจไว้อย่างเหนียวแน่น เพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคงและร่มเย็นเป็นสุข ประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการ ดังนี้

    ๑.เมตตาธรรม ข้าพระพุทธเจ้า จะคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตามุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน

    ๒.สามัคคีธรรม ข้าพระพุทธเจ้า จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กันให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ

    ๓.สุจริตธรรม ข้าพระพุทธเจ้า จะประพฤติปฎิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกาและในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน

    ๔.เที่ยงธรรม ข้าพระพุทธเจ้า จะทำความคิดความเห็นขิงตนให้ถูกต้องเที่ยงตรงและมั่นคงอยู่ในเหตุในผล ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง จะยึดถือคุณธรรมที่พระราชทานไว้เป็นหลักประจำกายและใจ ตลอดจนจะปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามไปชั่วลูกชั่วหลาน



    ด้วยเกล้าด้วยกะหม่อม ขอเดชะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ร.9.jpg
      ร.9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      3.4 KB
      เปิดดู:
      414
    • 6-6-254912012.jpg
      6-6-254912012.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.1 KB
      เปิดดู:
      678
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2009
  10. สายฝนฉ่ำเย็น

    สายฝนฉ่ำเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,474
    ค่าพลัง:
    +7,070
    อนุโมทนา สาธุค่ะ
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ ขอพระองค์ทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย Long Live the King
    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
     
  11. deedeeman

    deedeeman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2006
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +258
    ร่วมกันอธิษฐานถวายอายุขัยแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



    มาร่วมใจกันน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายอายุขัย ของตนเองแด่พระองค์ท่านกันครับ

    1ปีแห่งอายุขัยของพวกเราพสกนิกรแม้ ได้น้อมเกล้าถวายพระองค์ท่านได้อีก 1ทิวาราตรีวาร

    พสกนิกร พันคน หมื่นคน แสนคน ก็ต่อเวลาได้อีกยาวนานนักเพื่อถวายแด่พ่อหลวงให้พระองค์ทรงพระชนมายุ ตราบ 120 พรรษาด้วยเทอญ

    "ข้าพเจ้า ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายอายุขัย ชีวิตแห่งข้าพระบาทในชาติปัจจุบันนี้ของ ข้าพระพุทธเจ้า 1ปี เพื่อสืบพระชะตาวารแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแม้เพียงเพิ่มอีก 1 วันก็ดี

    ขอหมื่นคำอธิฐาน แสนคำอธิฐานนี้ จงสืบต่อพระชนมวารพระองค์ท่านตราบ 120 พระพรรษา จนเป็นผลด้วยเทอญ

    ด้วยอำนาจแห่งสัจจาธิษฐาน และแรงกตัญญูกตเวทิตาของข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอเทพยดาทั้งปวง จงโปรดเมตตาอวยพรให้คำอธิฐานของข้าพเจ้าสัมฤทธิ์ อย่างอัศจรรย์ ขอพระอาการประชวรจงปราศนาการไปอย่างฉับพลันด้วยเทอญ"<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2009
  12. deedeeman

    deedeeman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2006
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +258
    วันนี้เห็นพระองค์ท่านเสด็จออกจากรพ.ศิริราช เพื่อออกมหาสมาคมที่พระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย ปลื้มจนน้ำตาซึม ขอทรงพระเจริญ อนุโมทนากับญาตธรรมทุกท่านที่ถวายกุศลและพลังแห่งความดีแด่พระองค์ท่านครับ
     
  13. gapook

    gapook สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +7
    จุดเทียนชัยถวายแด่ในหลวงแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะคุณ"deedeeman"<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...