พระไตรปิฎก: บทนำพระอภิธรรมปิฎก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 23 พฤศจิกายน 2009.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    พระไตรปิฎกภาษาไทย
    มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    เล่มที่ ๓๔
    พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี

    บทนำ


    พระอภิธรรมปิฎก เป็นปิฎกว่าด้วยเรื่องจิต เจตสิก รูป นิพพาน และบัญญัติ อันว่าโดยปรมัตถ์ก็ได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมอันยิ่ง ธรรมอันพิเศษ ธรรมอันละเอียดสุขุมลุ่มลึกและประเสริฐยิ่งกว่าธรรมทั้งปวงที่จะยังสัตว์ให้ไปสู่สรรค์และนิพพาน เหมือนฉัตรอันยิ่งใหญ่ที่ประเสริฐกว่าฉัตรทั้งหลาย เพราะมิได้กล่าวถึงสัตว์ บุคคล สถานที่และเหตุการณ์ต่างๆ เข้ามาประกอบแต่อย่างใดทั้งสิ้น นับเป็นเรื่องของวิชาการทางพระพุทธศาสนาล้วนๆ โดยแบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ คือ ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน จัดเป็นหมวดธรรมได้ ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

    พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ นี้ในพรรษาที่ ๗ โดยมีเรื่องกล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถาอัฏฐสาลินีว่า เมื่อพระพุทธเ้จ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ทรมานเดียรถีย์นิครนถ์ ณ ภายใต้ควงไม้คัณฑามพพฤกษ์แล้ว ทรงดำริว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว เสด็จจำพรรษา ณ ที่ใด เมื่อทรงทราบด้วยพระญาณว่า เสด็จอยู่จำพรรษา ณ ภพดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอธิธรรม ๗ คัมภีร์โปรดพระพุทธมารดาตลอดไตรมาส ซึ่งเป็นพุทธประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต

    เมื่อพระองค์ทรงทราบเช่นนี้ จึงทรงดำริว่ พระชนนีของตถาคตนี้มีคุณูปการรักใคร่ในตถาคตมาก ทรงตั้งความปรารถนาไว้แต่ครั้งพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าประมาณแสนกัปล่วงมาแล้วว่า ขอให้ได้เป็นพระมารดาของตถาคต บัดนี้ควรที่ตถาคตจะเสด็จไปภพดาวดึงส์เพื่อแสดงพระอภิธรรมสนองพระคุณ จากนั้นจึงเสด็จลงจากพุทธอาสน์ เหล่าเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายได้ถวายอภิวาทโดยเคารพแล้ว ทรงยกพระบาทเบื้องขวา เหยียบเหนือยอดไม้คัณฑามพพฤกษ์ พระบาทคำรบสอง เหยียบเหนือยอดภูเขายุคนธร และพระบาทคำรบสาม ก้าวถึงภพดาวดึงส์อันเป็นที่สถิตของท้าวอมรินทราธิราช ประทับเหนือบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ภายใต้ควงไม้ปาริฉัตตกพฤกษ์

    ท้าวอมรินทราธิราชได้มีเทวราชโองการป่าประกาศแก่ทวยเทพนิกรทั้งปวง ขอให้ออกจากวิมานไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เทพบุตรเทพธิดาต่างก็ออกจากทิพยวิมานถือผอบทองเต็มไปด้วยบุปผชาติของหอมอันเป็นทิพย์ มาเฝ้าท้าวอมรินทราธิราชแล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กระทำการสักการบูชาแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร แม้เทพยดาทั้งหลายอื่นในหมื่นจักรวาล ต่างก็ถือเครื่องสักการบูชาไปยังมงคลจักรวาลอันเป็นที่สมควร ต่างเนรมิตกายเท่าอณูและปรมาณู แม้พื้นที่เท่าปลายขนทรายจามรีก็อยู่ได้สิบองค์บ้าง ยี่สิบองค์บ้าง ถึงแสนองค์ก็มี

    เมื่อเทพยดามาประชุมกันอย่างนี้แล้ว พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรดู มิได้ทรงเห็นพระมารดาเสด็จมา จึงตรัสถามท้าวอมรินทราธิราชว่า มหาบพิตร พระสิริมหามายามารดาของตถาคตมิได้เสด็จมาด้วยหรือ ท้าวอมรินทราธิราชได้สดับพระพุทธดำรัส ก็ทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาครั้งนี้ ทรงมีพระประสงค์จะตรัสพระธรรมเทศนาโปรดพระมารดา จึงรีบเสด็จไปยังภพดุสิตอันเป็นที่สถิตของพระสิริมหามายา ครั้นเสด็จถึงก็ถวายอภิวาทโดยเคารพ แล้วทูลว่า ข้าแต่พระสิริมหามายา บัดนี้พระพุทธเจ้าเสด็จมายังภพของข้าพระองค์ ประทับ ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ควงไม้ปาริฉัตตกพฤกษ์ ทรงคอยท่าเพื่อตรัสพระธรรมเทศนาขอเชิญเสด็จไปเผ้าโดยเร็วเถิด

    พระสิริมหามายา ทรงสดับดังนั้นก็ทรงโสมนัส เสด็จจากภพดุสิตไปยังภพดาวดึงส์พร้้อมด้วยเทพอัปสรบริวาร ขณะนั้น พระพุทธเจ้าทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาตรัสเชิญพระสิริมหามายาพุทธมารดาเข้าไปใกล้ ให้เป็นประธานเทพยดาทั้งหลาย แล้วจึงโปรดประทานพระธรรมเทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ ตามลำดับ จนครบไตรมาสในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑

    พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นี้ทั้งกลางคืนและกลางวัน มิได้มีระหว่างเว้นสักเวลาเลย เป็นเวลาถึง ๓ เดือนเต็ม เป็นเวลาของมนุษยโลกในระหว่างที่ทรงแสดงพระอภิธรรมนี้ เมื่อถึงเวลาบิณฑบาต เวลาเสวยและเวลาทรงพักผ่อนในกลางวันพระองค์ก็เสด็จไปตามพุทธกิจ โดยทรงบันดาลพระพุทธนิมิตไว้แสดงพระอภิธรรมแทนพระองค์

    ครั้งถึงวันมหาปวารณา วันออกพรรษาขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ พระพุทธองค์จึงเสด็จลงจากเทวโลกไปยังเมืองสังกัสสนคร ซึ่งต่อมาได้ถือเป็นประเพณีทำบุญ วันเทโวโรหณะ หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า ตักบาตรเทโว บางแห่งก็เลื่อนวันเทโวโรหณะไปเป็นแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ก็มี ชึ่งหมายถึงว่า พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกภายหลังจากที่เสด็จจากมนุษยโลกไปเป็นเวลาสามเดือน

    พระอภิธรรมนี้ ชาวพุทธถือว่าออกจาพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ดังที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอัฏฐากถาอัฏฐสาลินี หน้า ๔๖๖ เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาโปรดเทพยดา มีพระพุทธมารดาเป็นประธาน เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธมารดา สำหรับในมนุษยโลกนี้ ทรงแสดงพระอภิธรรมแก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรอัครสาวกเป็นครั้งแรกที่ป่าไม้จันทน์แดงใกล้สระอโนดาตแล้วพระสารีบุตรได้นำมาสั่งสอนแก่ศิษย์ต่อๆ มา พระอภิธรรมจึงเป็นหลักการศึกษาพระพุทธศาสนาจนตราบเท่าทุกวันนี้








     
  2. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ธัมมสังคณี

    ธัมมสังคณี เป็นคัมภีร์แรกของพระอภิธรรมปิฎก และเป็นคัมภีร์สำคัญที่สุดเพราะเป็นคัมภีร์ที่แสดงหัวข้อธรรมหรือเนื้อหาหลักของพระอภิธรรมปิฎกที่เีรียกว่า มาติกา ไว้เป็นเบื้องต้น จากนั้นจึงนำไปแสดงขยายออกไปเป็ฯ ๔ กัณฑ์ คือ จิตตุปปาทกัณฑ์ รูปกันฑ์ นิเขปกัณฑ์และอัฏฐกถากันฑ์ ตามลำดับ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทราบความพิศดารของพระอภิธรรมปิฎกสวนนี้มากยิ่งขึ้น

    ความหมายของธัมมสังคณี

    พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเพื่อวิมุตติสุข แก่มวลมนุษย์และเทวดาในโลกทั้ง ๓ นั้น จำแนกได้ ๓ ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ในปิฎกทั้ง ๓ นั้น เฉพาะพระอภิธรรมปิฎกมี ๗ คัมภีร์ โดยธััมมสังคณี นี้เป็นคัมภีร์แรก และเป็นคัมภีร์สำคัญที่สุดเพราะเป็นคัมภีร์ที่แสดงเนื้อหาหลักแห่งพระอภิธรรม

    เมื่อคราวทำปฐมสังคายนา พระมหากัสสปเถระเป็นปุจฉกะผู้ถามพระอภิธรรม พระอานนทเถระเป็นสัสัชกะผู้ตอบ ได้รวบรวมพระอภิธรรมปิฎกไว้เป็นหมวดหมู่ พระอภิธรรมจึงเป็นคลังวิชาการทางพระพุทธศาสนาทั้ง ๗ คัมภีร์ คือ
    ๑. ธัมมสังคณี
    เป็นคัมภีร์รวบรวมปรมัตถธรรมทั้งหมดไว้เป็นหมวดหมู่

    ๒. วิภังค์
    ป็นคัมภีร์แจกหรือกระจายปรมัตถธรรมออกเป็นส่วนๆ

    ๓. ธาตุกถา
    เป็นคัมภีร์ที่จัดปรมัตถธรรมไว้เป็นพวกๆ โดยสงเคราะห์เข้ากันได้ และสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ โดย ขันธ์ อายตนะ และธาตุเป็นต้้น

    ๔. ปุคคลบัญญัติ
    เป็นคัมภีร์ที่แสดงพระอภิธรรมโดยบัญญัติ โดยยกบุคคลขึ้นแสดงมากกว่าสิ่งอื่น

    ๕. กถาวัตถุ
    เป็นคัมภีร์ที่แสดงพระอภิธรรมขึ้นโต้ตอบ โดยทำนองปุจฉาวิสัชนาเป็นเรื้่องต่างๆ มีอยู่ ๑,๐๐๐ เรื่องเป็นสกวาทะ ๕๐๐ ปรวาทะ ๕๐๐

    ๖. ยมก
    เป็นคัมภีร์ที่ยกปรมัตถธรรมขึ้นแสดงเป็นคู่ๆ มีอนุโลมปุจฉาและปฏิโลมปุจฉาเป็นต้น

    ๗. ปัฏฐาน
    แสดงปรมัตถธรรมแผ่กว้างขวางพิศดารแจกไปตามปัจจัย ๒๔ มีเหตุปัจจัย เป็นต้น

    คำว่า "ธัมมสังคณี" นี้เป็นบทสมาส ประกอบด้วยธัมมะ + สังคณี (สงฺคณี > สํ + คห + อน + อี > สงฺคหนี > สงิคณี อึกนัยหนึ่ง มาจาก สํ + คณ + อี = สงฺคณี)

    ธัมมะ หมายถึงสภาวธรรมล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับอัตตา ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา

    สังคณี หมายถึง การรวบรวม การประมวล หรือ การนับ

    ดังนั้น เมื่อรวมเป็น ธัมมสังคณี จึงหมายถึง คัมภีร์ที่ประมวลสภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมล้วนๆ มาไว้เป็นหมวดหมู่ อีกนัยหนึ่ง หมายถึง คัมภีร์ที่แสดงการนับจำนวนสภาวธรรม

    ที่จริงแล้วความหมายของคำว่า ธัมมสังคณี นี้ได้แสดงให้เห็นถึงเนื้อหาสาระ่ว่า มีอะไรบ้างอยู่ในคัมภีร์นี้ และบอกวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้โดยลักษณะอย่างไร สำหรับผู้ที่มีความเข้าใจความหมายของคำแล้วก็จะไม่เกิดปัญหาอะไร ส่วนผู้ที่ยังไม่เข้าใจก็จะเกิดความสงสัยได้ เพราะฉะนั้น จะขออธิบายความหมายของแต่ละคำในคำว่า ธัมมสังคณี พอสังเขป

    ความหมายของธัมมศัพท์

    ในวรรณกรรมบาลีทั่วไปนั้น ธัมมศัพท์ กินความกว้างขวางมาก เฉพาะที่ทรงแสดงในสูตรต่างๆ นั้นมีอรรถหรือความหมายแตกต่างกันออกไปหลายนัย เช่น

    ๑. ปริยัตติ มีความหมายว่า หมวดถ้อยคำที่ควรศึกษา
    ๒. ปกติ มีความหมายว่า ธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านาน
    ๓. เหตุ มีความหมายว่า สาเหตุ
    ๔. สัจจะ มีความหมายว่า สัจธรรม (ความจริง)
    ๕. คุณะ มีความหมายว่า ผลแห่งความดีและความชั่ว
    ๖. เญยยะ มีความหมายว่า ธรรมที่พึงรู้ได้ด้วยปัญญา
    ๗. สภาวะ มีความหมายว่า สภาวธรรมที่มีอยู่จริง

    สำหรับธัมมศัพท์ที่ทรงแสดงในธัมมสังคณ๊นี้ มีความหมายว่า สภาวธรรมที่มีปรากฎตามความเป็นจริง อันได้แก่ปรมัตถธรรมนั่นเอง

    สำหรับลักษณะการรวบรวมหมวดธรรมในธรรมสังคณีนี้ จะแสดงพอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
    ๑. พระพุทธองค์ทรงย่อสภาวธรรมทั้งหมดที่มีอยู่ให้เหลือเป็น ๓ ชนิด คือ
    ก. หมวด "กุศล" ซึ่งเป็นหมวดธรรมฝ่ายกรรมดี
    ข. หมวด "อกุศล" ซึ่งเป็นหมวดธรรมฝ่ายกรรมชั่ว
    ค. หมวด "อัพยากฤต" ซึ่งเป็นหมวดธรรมที่เหลือทั้งหมด

    ๒.ทรงย่อสภาวธรรมทั้งหมดที่มีอยู่ให้เหลือเป็น ๒ ชนิด เช่น ธรรมที่เป็นเหตุและธรรมที่มิใช่เหตุ

    ด้วยเหตุนี้ คัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นปฐมฤกษ์แห่งพระอภิธรรมจึงได้ชื่อว่า ธัมมสังคณี และนอกจากจะทรงย่อสภาวธรรมเข้าด้วยกันแล้ว ยังทรงแสดงองค์ธรรมของหมวดธรรมที่ทรงย่อไว้แล้วนั้นโดยละเอียดอีกด้วย เช่น ในข้อธรรมที่ว่า กุสลา ธมฺมา (ธรรมฝ่ายดี) ทรงจำแนกไว้เป็นชั้นๆ ดังต่อไปนี้
    ๑. ทรงจำแนกเป็นภูมิ ๔ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ

    ๒. ในภูมิ ๔ นั้น ทรงจำแนกแต่ละภูมิออกไปอีก เช่นในกามวจรภูมิประกอบด้วยอกุศลจิต ๑๒ ประเภท เป็นต้น

    ๓. ในจิตแต่ละประเภทก็ทรงจำแนกออกไปอีก เช่น จิตแต่ละประเภทประกอบด้วยเจตสิกอะไรบ้าง ดังนี้เป็นต้น

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2009
  3. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ลักษณะวิธีที่ทรงแสดง
    ลำดับมาติกา

    มาติกา หมายถึง แม่บทหรือหัวข้อธรรม ที่ทรงแสดงไว้ในเบื้องต้น ในพระอภิธรรมท่านแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
    ๑. ติกมาติกา หัวข้อธรรมที่ทรงแสดงปรมัตถ์โดยแบ่งเป็นหมวด หมวดละ ๓ หัวข้อ

    ๒. ทุกมาติกา หัวข้อธรรมที่ทรงแสดงปรมัตถ์โดยแบ่งเป็นหมวด หมวดละ ๒ หัวข้อ

    ในมาติกาทั้ง ๒ นั้น พระองค์ทรงจำแนกทุกมาติกาไว้เป็น ๒ นัย คือ อภิธรรมนัยและสุตตันตนัย

    ดังนั้น มาติกา จึงอาจแบ่งได้ ๓ นัยคือ
    ๑. ติกมาติกา มี ๒๒ ติกะ โดยทรงเิริ่มต้นด้วย กุสลติกะ เป็นต้น
    ๒. ทุกมาติกา ทรงแสดงทุกมาติกาโดยนัยแห่งพระอภิธรรม รวมทั้งหมดมี ๑๐๐ ทุกกะ เริ่มต้นด้วย เหตุทุกะ เป็นต้น
    ๓. สุตตันติกทุกมาติกา ทรงแสดงทุกมาติกาโดยนัยพระสูตร รวมทั้งหมดมี ๔๒ ทุกะ เริ่มต้นด้วย วิชชาภาคีทุกะ เป็นต้น

    ลำดับกัณฑ์
    เมื่อทรงวางหัวข้อมาติกาแล้วจึงทรงแสดงคัมภีร์ธัมมสังคณี โดยแบ่งเป็น ๔ กัณฑ์ คือ ๔ ปริจเฉท หรือ ๔ ตอน ซึ่งประกอบด้วย
    ๑. จิตตุปปาทกัณฑ์ กัณฑ์ที่แสดงเรื่องจิตและเจตสิก
    ๒. รูปกัณฑ์ กัณฑ์ที่แสดงเรื่องรูป
    ๓.นิกเขปกัณฑ์ กัณฑ์ที่แสดงทั้งติกะและทุกะรวมกันด้วยวิธีการที่ไม่ย่อไม่พิสดารจนเกินไป
    ๔. อัฏฐกถากัณฑ์ กัณฑ์ที่แสดงเพื่อเก็บองค์ธรรมของติกะและทุกะทั้งหมด ยกเว้นสุตตันติกะทุกะ
    ในกัณฑ์ใหญ่ๆ ทั้ง ๔ กัณฑ์นี้ จิตตุปาทกัณฑ์ และรูปกัณฑ์ ทรงแสดงเพื่อขยาย กุสลติกมาติกาอย่างพิสดาร

    ส่วน นิกเขปกัณฑ์ นั้น นิกเขปะ แปลว่า ละทิ้ง หมายความว่า เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงจิตุปปาทกัณฑ์และรูปกัณฑ์เพื่อขยายกุสลติกะให้พิสดารแล้ว ทรงประสงค์ที่จะแสดงติกะและทุกะที่เหลือโดยไม่พิสดารนัก เพาะถ้าทรงแสดงโดยพิสดารทั้งหมด คัมภีร์ธัมมสังคณีก็หาได้จบสิ้นไม่ ดังนั้น จึงทรงละทิ้งวิธีพิสดารและทรงแสดงโดยพอประมาณ นี้แหละคือเหตุความเป็นมาแห่งนิกเปกัณฑ์

    สำหรับกัณฑ์สุดท้าย คืออัฏฐกถากัณฑ์ นั้น อฏฺฐ หรืออตฺถ อัตถะในที่นี้หมายถึง "องค์ธรรม" กถา หมายถึง "กล่าวแสดง" ฉะนั้น อัฏฐกถากัณฑ์จึงหมายถึงกัณฑ์ที่แสดงองค์ธรรมของติกะ และทุกะทั้งหมด เว้นสุตตันติกทุกะ


    ๑. จิตตุปปาทกัณฑ์

    ในเบื้องต้นทรงแสดงจิตตุปปาทกัณฑ์ โดยยึดกุสลติกมาติกาเป็นหลัก เรียงตามลำดับ ดังนั้น
    ๑. กุสลา ธมฺมา ได้แก่กุศลจิต และเจตสิกที่สัมปยุต (ประกอบ)
    ๒. อกุสลา ธมมา ได้แก่ อกุศลจิตและเจตสิกที่สัมปยุต
    ๓ อพฺยากตา ธมฺมา ได้แก่ วิปากจิต กิริยาจิต เจตสิก รูป และนิพพานรวมทั้งปรมัตถธรรมทั้งหมดที่เหลือ

    ต่อจากนั้นทรงจำแนกกุศลธรรมโดยยึดภูมิเป็นหลักในการแบ่ง เรียกแนวการแบ่งนี้ว่า ภูมิเภทนัย โดยจัดลำดับดังต่อไปนี้
    ๑. กุศลธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดในกามภูมิ เรียกว่ กามาวจรกุศล
    ๒. กุศลธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดในรูปภูมิ เรียกว่า รูปาวจรกุศล
    ๓. กุศลธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดในอรูปภูมิ เรียกว่า อรูปาวจรกุศล
    ๔. กุศลธรรมที่นำไปเกิดในภูมิ ๓ เรียกว่า เตภูมิกกุศล
    ๕. กุศลธรรมที่เป็นปัจจัยให้ออกจากภูมิทั้ง ๓ เรียกว่า โลกุตตรกุศล

    (๑) กามาวจรกุศล
    แม้ในกามาวจรกุศลก็ทรงจำแนกจิตเป็น ๘ ชนิด (ดวง) โดยชนิดที่ ๑ เรียกว่า ปฐมจิต, ชนิดที่ ๒ เรียกว่า ทุติยจิต ดังนี้เป็นต้น นอกจากนั้น ยังทรงจำแนกจิตทั้ง ๘ ชนิดดังกล่าวเป็น ๓ วาระ คือ
    ๑. ธัมมววัฏฐานวาระ (ธัมมะ =ธรรม, ววัฏฐานะ = การกำหนด, วาระ = ช่วง, ตอน) ตอนที่ว่าด้วยการกำหนดกามาวจรมหากุศลจิตดวงที่ ๑ กับเจตสิกที่สัปมยุต
    ๒. โกฏฐาสวาระ (โกฏฐาสะ = กอง, ส่วน, หมู่) ตอนที่ว่าด้วยการรวมจิต เจตสิก ที่ทรงแสดงไว้แล้วในธัมมววัฏฐานวาระมาแสดงไว้เป็นหมวดหมู่ โดยจำแนกเป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุเป็นต้น ซึ่งรวมทั้งหมดแล้วมี ๒๓ วาระ
    ๓. สุญญตวาระ (สุญญตะ = ความว่างเปล่าจากอัตตา) ช่วงที่ว่าด้วยการแสดงหมวดธรรมซึ่งได้แสดงไว้แล้วในโกฏฐาสวาระ โดยเพิ่มหมวดธัมมวาระมาอีกหมวดหนึ่ง รวมเป็น ๒๔ หมวด โดยเน้นให้เห็นสภาวธรรรมล้วนๆ ที่เกิดมาจากเหตุปัจจัย มิได้มีอัตตาตัวตนแต่อย่างใด
    อนึ่ง ในวาระทั้ง ๓ นั้น ทรงแบ่งธัมมววัฏฐานะเป็น ๒ วาระ คือ อุทเทสวาระ วารที่แสดงโดยสังเขป และนิทเทสวาระ วาระที่แสดงโดยพิสดาร

    จากนั้น ทรงแบ่งอุเทสวาระเป็น ๑๗ วาระ โดยนัยมีผัสสปัญจกเภทะเป็นต้น และใน ๑๗ วาระเหล่านี้ ทรงแสดงตามลำดับดังต่อไปนี้
    ๑. ผัสสปัญจกเภทนัย นัยที่ว่าด้วยธรรม ๕ อย่าง มีผัสสะ เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการที่จะทำให้จิตเกิดขึ้น เช่น ก่อนที่จิตดวงหนึ่งๆ จะเกิดขึ้นนั้น ต้องอาศัยผัสสะคือการกระทบกับอารมณ์ก่อน เช่น ก่อนที่จิตดวงหนึ่งๆ จะเกิดขึ้นนั้น ต้องอาศัยผัสสะคือการกระทบกับอารมณ์ก่อน จิตจึงจะเกิดขึ้นได้ ดังนี้เป็นต้น

    ๒. ญานเภทนัย นัยที่ว่าด้วยองค์ฌาน ๕ มีวิตก เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการที่จะทำให้ผัสสปัจมกธรรม ซึ่งได้กล่าวไว้ในข้อที่่่ ๑ เกิดขึ้น อธิบายว่า ถ้าหากไม่มีวิตกเป็นต้นมาช่วยยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แล้ว จิตกับผัสสเจตสิกเป็นต้นก็ไม่สามารถเกิดขึ้นไป ดังนั้นจึงทรงแสดงนัยนี้ต่อจากผัสสปัญจมกนัย

    ๓. อินทริยเภทนัย นัยที่ว่าด้วยอินทรีย์ ๘ ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการที่จะทำให้ฌานเภทธรรมเกิดขึ้น อธิบายว่า การที่ฌานธรรมมีวิตกเป็นต้นจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องอาศัยอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้น ดังนั้น จึงทรงแสดงนัยนี้ต่อจากฌานเภทนัย

    ๔. มัคคเภทนัย นัยที่ว่าด้วยองค์มรรค ๕ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการที่จะทำให้อินทรีย์เกิดขึ้น อธิบายว่า ศรัทธาความเชื่อย่อมเกิดขึ้นในจิตของบุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิคือความเห็นที่ถูกต้องเท่านั้น ดังนั้น จึงทรงแสดงนัยนี้ต่อจากอินทริยเภทนัย

    ๕. พลเภทนัย นัยที่ว่าด้วยธรรมอันด้ชื่อว่า พละมีศรัทธาเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในกาที่จะทำให้องค์มรรคเกิดขึ้น อธิบายว่า องค์มรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นได้เฉพาะในสันดาน (ในจิต) ของบุคคลผู้มีศรัทธามั่นคงเท่านั้น ดังนั้นจึงทรงแสดงนัยนี้ต่อจากมัคคเภทนัย

    ๖. มูลเภทนัย นัยที่ว่าด้วยธรรมอันเป็นรากเหง้า ต้นตอ ได้แก่ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการที่จะทำให้พละอันมีศรัทธาเป็นต้นเกิดขึ้น อธิบายว่า การที่จะเกิดศรัทธาเป็นต้นได้นั้น จะต้องมีเมล็ดบุญคือเคยสั่งสมบุญมาก่อน ดังนั้น จึงทรงแสดงนัยนี้ต่อจากพลเภทนัย

    ๗. กัมมปถเภทนัย นัยที่ว่าด้วยกรรมบถ ๓ ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการที่จะทำให้รากเหง้าของกุศลเกิดขึ้น อธิบายว่า ธรรมที่เป็นรากเหง้าของกุศลจะเกิดขึ้นเฉพาะในตัวบุคคลผู้ที่ได้ทำบุญให้ทาน รักษาศีล บำเพ็ญภาวนา ด้วยจิตที่ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เท่านั้น ดังนั้น จึงทรงแสดงนัยนี้ต่อจากมูลเภทนัย

    ๘. โลกปาลเภทนัย นัยที่ว่าด้วยธรรมอันได้ชื่อว่า ธรรมคุ้มครองดลก ได้แก่ หิริ และโอตตัปปะ ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการที่จะทำให้กุศลกรรมบถเกิดขึ้น อธิบายว่าบุคคลผู้มีความเกรงกลัวละอายบาปเท่านั้นจึงจะสามารถทำกุศลได้ ดังนั้น จึงทรงแสดงนัยนี้ต่อจากกัมมปถเภทนัย

    ๙. ปัสสัทธิยุคฬาทิเภทนัย นัยที่ว่าด้วยธรรมอันเป็นคู่ๆ มีคู่แห่งปัสสัทธิ เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการที่จะทำให้ธรรมคุ้มครองโลกเกิดขึ้น อธิบายว่า ความเกรงกลัวละอายบาปจะไม่มีแก่บุคคลผู้ที่มีร่างกายและจิตใจเร่าร้อน จะมีได้ก็เฉพาะบุคคลผู้มีร่างกายและจิตใจสงบเท่านั้น ดังนั้น จึงทรงแสดงนัยนี้ต่อจากโลกปาลเภทนัย

    ๑๐. สติสัมปชัญญนัย นัยที่ว่าด้วยสติและสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการที่จะทำให้ธรรมมีปัสสัทธิเป็นต้นเกิดขึ้น อธิบายว่าความสงบทั้งกายและใจนั้น จะเกิดได้เฉพาะกับบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะเท่านั้น ดังนั้น จึงทรงแสดงสติสัมปชัญญนัยต่อจากปัสสัทธิยุคฬาทิเภทนัย

    ๑๑. สมถวิปัสสนานัย นัยที่ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนา ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการที่จะทำให้สติและสัมปชัญญะเกิดขึ้น อธิบายว่า ความดำรงมั่นและความรู้ทันอารมณ์ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาเท่านั้น ดังนั้น จึงทรงแสดงสมถวิปัสสนานัยต่อจากสติสัมปชัญญนัย

    ๑๒. ปัคคาหอวิกเขปนัย (วิริยสมาธินัย) นัยที่ว่าด้วยปัคคาหะ คือความเพียรและอวิกเขปะคือความตั้งมั่น ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการที่จะทำให้สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาเกิดขึ้น อธิบายว่ เมื่อบุคคลได้จัดระดับความเพียรและสมาธิให้อยู่ในระดับเดียวกันได้แล้วเท่านั้น สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาจึงจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้น จึงทรงแสดงปัคคาหอวิกเขปนัยต่อจากสมถวิปัสสนานัย

    แท้ที่จริงแล้ว ธรรม ๕๖ ชนิดมีผัสสะเป็นต้น ต่างก็เกิดพร้อมกับจิต ไม่มีธรรมใดที่เกิดขึ้นก่อน หรือหลังจิตเลย การที่จะพูดแยกแยะโดยกำหนดให้เป็นเหตุเป็นผลของกันและกันนั้นเป็นไปได้ยาก ส่วนที่แสดงโดยสังเขปข้างต้นนั้นได้อาศัยนัยแห่งอรรถกถาอัฏฐสาลินีพอเป็นแนวทางเท่านั้น

    อนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงแยกแยะสภาวธรรมในมหากุศลจิตดวงที่ ๑ ไว้ ๑๗ นัย หรือ ๕๖ ประการ แต่ยังมิใช่ทั้งหมด เพราะยังมีองค์ธรรมอื่นๆ ที่ประกอบในจิตดวงนี้ ซึ่งมิได้ทรงระบุออกมา แต่ทรงแสดงไว้โดยใช้ศัพท์ว่า "เยวาปน" เท่านั้น ซึ่งธรรมที่ทรงแสดงด้วยศัพท์ที่ว่านี้ พระอรรถกถาจารย์ท่านเรียกว่า เยวาปนกธรรม หรือ เยวาปนกเจตสิก ในมหากุศลจิตดวงที่ ๑ มีเยวาปนกเจตสิกดังต่อไปนี้ คือ ฉันทะ อธิโมกข์ มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา กรุณา มุทิตา สัมมาวจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

    ในเจตสิกทั้ง ๙ ดวงนี้ วีรติเจตสิก ๓ และอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ท่านเรียกว่า "อนิยตเจตสิก" เพราะประกอบไม่แน่นอน ส่วนเจตสิกท ๔ ดวงที่เหลือได้ชื่อว่า "นิยตเจตสิก" เพราะประกอบแ่น่นอนในมหากุศลจิตดวงที่ ๑

    อนึ่ง ในนิยตเจตสิก ๔ ดวงเหล่านั้น ฉันทเจตสิก พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้หลายแง่หลายมุม เช่น ทรงแสดงอกุศลฉันทะโดยทรงใช้คำว่า ฉันทาธิปเตยยะ แทนฉันทะในกามาวจรกุศลและในโลกุตตรกุศล ซึ่งถ้าหากจะแยกแยะธรรมเหล่านี้โดยละเอียดนั้นก็จะทำให้คัมภีร์กว้างขวางเกินที่จะกำหนดได้



     
  4. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    (๒) รูปาวจรกุศล

    พระพุทธองค์ทรงแสดงรูปาวจรกุศล ต่อจากกามาวจรกุศล โดยจำแนกเป็นฌาน ๕ คือ
    ๑. กสิณฌาน ฌานที่ได้มาจากการเพ่งกสิณ
    ๒. อภิภายตนฌาน ฌานที่ได้มาจากการข้าพ้นกสิณ
    ๓. วิโมกขฌาน ฌานที่หลุดพ้นจากข้าศึกคือกิเลส
    ๔. พรหมวิหารฌาน ฌานที่ได้จากการเจริญพรหมวิหาร ๔
    ๕. อสุภฌาน ฌานที่ได้จากการเจริญอสุภะ ๑๐

    ๑. กสิณฌาน
    ต่อจากนั้น ทรงแบ่งกสิณฌานออกเป็น ๘ ประเภท คือ
    ๑. ปฐวีกสิณฌาน ฌานที่ได้โดยการเจริญปฐวีกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิต
    ๒. อาโปกสิณฌาน ฌานที่ได้โดยการเจริญอาโปกสิณ ที่เป็นปฏิภาคนิมิต
    ๓. เตโชกสิณฌาน ฌานที่ได้โดยการเจริญเตโชกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิต
    ๔. วาโยกสิณฌาน ฌานที่ได้โดยการเจริญวาโยกสิณ ที่เป็นปฏิภาคนิมิต
    ๕. นีลกสิณฌาน ฌานที่ได้โยการเจริญนีลกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิต
    ๖. ปีตกสิณฌาน ฌานที่ได้โดยการเจริญปีตกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิต
    ๗. โลหิตกสิณฌาน ฌานที่ได้โดยการเจริญโลหิตกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิต
    ๘.โอทาตกสิณฌาน ฌานที่ได้โดยการเจริญโอทาตกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิต

    อนึ่ง ในมัชฌิมนิกาย เล่ม ๑๓ ข้อ ๒๕๐ หน้า ๒๙๘ มหาสกุลุทายิสูตร ได้ทรงแสดงกสิณฌานไว้ ๑๐ อย่าง โดยเพิ่มวิญญากสินและอากาสกสิณ เข้ามา แต่ที่ไม่ทรงแสดงไว้ในพระอภิธรรมเพราะทรงเห็นว่า วิญญาณกสิณนั้นเป็นกสิณที่นับเข้าในอรูปฌาน ส่วนอากาสกสิณเป็ฯฌานที่นับเข้าได้ทั้งในรูปฌานและอรูปฌาน สำหรับอาโลกกสิณ ไม่ได้แสดงไว้ ณ ที่นี้ ก็เพราะเป็นกสิณที่นับเข้าในโอทาตกสิณแล้ว

    ในกสิณฌานทั้ง ๘ นั้น พระพุทธองค์ทรงแบ่งปฐวีกสิณฌานออกเป็นฌานจตุกกนัย ๔ และฌานปัญจกนัย ๕ (การนับฌานมี ๒ วิธี คือนับแบบปัญจกนัย สำหรับมันทบุคคล (ผู้มีปัญญาน้อย) ซึ่งนัยนี้เป็นนัยที่เข้าใจกันโดยทั่วๆ ไป ส่วนอีกนัย คือการนับแบบจตุกกนัย คือนัยที่นับฌานได้เพียง ๔ ฌาน สำหรับติกขบุคคล (ผู้มีปัญญาเฉียบแหลม) สามารถละวิตกและวิจารได้ในเวลาเดียวกัน เป็นเหตุให้ต้องรวมทุติยฌานกับตติยฌานให้เหลือเป็นฌานเดียว คือทุติยฌาน เพราะฉะนั้น จึงนับเป็นฌาน ๔ ) รวมแล้วเป็นฌาน ๙ อย่าง

    จำแนกโดยปฏิปทา ๔

    แม้ในฌาน๙ อย่างนั้น ทรงแบ่งฌานแต่ละฌานโดยปฏิปทา ๔ ดังนี้
    ๑. ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาฌาน ฌานที่ปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า
    ๒. ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาฌาน ฌานที่ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว
    ๓. สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาฌาน ฌานที่ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า
    ๔. สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาฌาน ฌานที่ปฏิบัติสะดวกและรู้ได้เร็ว

    อีกนัยหนึ่ง ทรงจำแนกฌานทั้ง ๙ นั้นโดยอารมณ์ ๔ ดังนี้

    ๑. ปริตตปริตตารัมมณฌาน ฌานที่มีคุณน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย
    ๒. ปริตตอัปปมาณารัมณเาน ฌานที่มีคุณน้อย แต่มีอารมณ์หาประมาณมิได้ (เป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องสูง)
    ๓. อัปปมาณปริตตารัมมณฌาน ฌานที่มีคุณมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย
    ๔. อัปปมาณอัปปมาณารัมมณฌาน ฌานที่มีคุณมากและมีอารมณ์ไพบูลย์

    โสฬสักขัตตุกนัย
    ทรงจำแนกเป็น ๑๖ นัยโดยการผสมปฏิปทา ๔ เข้ากับอารมณ์ ๔ หมายความว่าทรงเพิ่มอารมณ์ทั้ง ๔ เข้าไปในแต่ละปฏิปทา เพราะฉะนั้น จึงได้ฌาน ๑๖ ประเภทขึ้นมา และการที่ทรงแสดงนัย ๑๖ ประเภทเช่นนี้ เพระทรงมีพระประสงค์ให้รู้ว่าการที่ดยคาวจรบุคคลจะปฏิบัติให้ได้ฌานนั้น จะไปเน้นหนักเอาแต่ทางปฏิปทาอย่างเดียวไม่ได้ หรือจะไปเน้นหนักแต่ในอารมณ์ก็ไม่ได้ ทางที่ถูกแล้วจะต้องรู้จักผสมผสานปฏิปทาและอารมณ์ทั้ง ๒ นี้ให้สม่ำเสมอกัน จึงจะสามารถบรรลุฌานได้

    ๒. อภิภายตนฌาน

    ทรงจำแนกอภิภายตนฌานเป็น ๘ อย่างดังนี้
    ๑. ปริตตรูป ฌานที่ได้ด้วยการละทิ้งอารมณ์รูปกสิณขนาดเล็ก
    ๒. ปริตตสุวัณณทุพพัณณรูป ฌานที่ได้ด้วยการละทิ้งอารมณ์รูปกสิณขนาดเล็กซึ่งมีสีงามและไม่งาม (มีสีเข้มและจาง)
    ๓. อัปปมาณรูป ฌานที่ได้ด้วยการละทิ้งอารมณ์รูปกสิณขนาดใหญ่
    ๔. อัปปมาณสุวัณณทุพพัณณรูป ฌานที่ได้ด้วยการละทิ้งอารมณ์รูปกสิณขนาดใหญ่ ซึ่งมีสีงามและไม่งามดี
    ๕. นีละ เานที่ได้ด้วยการละทิ้งอารมณ์รูปนีลกสิณ
    ๖. ปีตะ ฌานที่ได้ด้วยการละทิ้งอารมณ์รูปปีตกสิณ
    ๗. โลหิตะ ฌานที่ได้ด้วยการละทิ้งอารมณ์รูปโลหิตกสิณ
    ๘. โอทาตะ ฌานที่ได้ด้วยการละทิ้งอารมณ์รูปโอทาตกสิณ
    นอกจากนี้ยังทรงจำแนกอภิภายตนะฌานทั้ง ๘ ฌาน เป็น ๙ ประการ คือ จตุกกนัย ๔ และปัญจกนัย ๕

    หลังจากนั้นทรงจำแนกฌาน ๙ ประการในแต่ละฌาน ดังต่อไปนี้ คือ ทรงจำแนกฌานจตุกกนัย (ปฐมอภิภายตนฌาน- จตุตถอภิภายตนฌาน) โดยปฏิปทา ๔, โดยอารมณ์ ๒ โดยการผสมอารมณ์เข้ากับปฏิปทาเป็น ๘ นัย (ในบาลีจริงๆ แล้ว จะเห็นว่าทรงแสดงปฏิปทา ๔ และอารมณ์ ๔ ถึงกระนั้นก็ตามพระพุทธองค์ทรงแสดง "อฏฺฐกฺขจฺตุกเทสนา" โดยจำแนกอารมณ์ ๔ เป็น ๒ เท่านั้น) สำหรับในอภิภายตนะ ๔ มี นีละ ปีตะ เป็นต้นที่เหลือ พึงทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแสดง เป็น "โสฬสกฺขตฺตุกเทสนาไ เหมือนกันกสิณฌานนั้นนั่งเอง

    อภิภายตนฌานนี้ นอกจากจะเป็นนัยที่ค่อนข้างจะสับสนยุ่งยากแล้ว ยังมีความหมายที่รู้ได้ยากพอสมควร อาจารย์ทั้งหลายได้ให้ความหมายของอภิภายตนะฌาน ตามนัยแห่งไวยากรณ์ว่า "ฌานอันได้มาเพราะสามารถข่มอารมณ์" สำหรับลักษณะการข่มอารมณ์นั้นพึงทราบด้วยอุปมาดังต่อไปนี้ คือ บุคคลผู้มีระบการย่อยอาหารดีนั้น การได้อาหารแม้เพียงเล็กน้อยมา ย่อมสามารถรับประทานให้หมดได้แม้ด้วยคำๆ เดียว ฉันใด แม้โยคาวจรบุคคลได้อารมณ์เป็นรูปกสิณขนาดเล็ก ย่อมสามารถเข้าฌานข่มอารมณ์นั้นได้ ฉันนั้น โดยนัยเดียวกัน บุคคลผู้ตะกละในอาหารถึงแม้ว่าจะได้อาหารจานใหญ่ ก็ไม่อาจเพียงพอกับความต้องการ สามารถรับประทานอาหารจานแล้วจานเล่าได้หมด ฉันใด แม้โยคาวจรบุคคลได้อารมณ์ป็นรูปกสิณขนาดใหญ่ ก็สามารถเข้าฌานข่มอารมณ์นั้นได้ ฉันนั้น เช่นกัน

    สรุปแล้ว อภิภายตนฌานนี้ เป็นฌานชนิดที่บุคคลผู้มีปัญญาหลักแหลมได้มาแบบรวดเร็ว พร้อมกับการปรากฎของกสิณนิมิตนั้นนั่นเอง





     
  5. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๓. วิโมกขฌาน

    พระพุทธองค์ทรงจำแนกวิโมกขฌาน (ซึ่งเป็นฌานที่หลุดพ้นจากเงื้อมมือศัตรู คือกิเลส ก่อให้เกิดความอภิรมณ์ในอารมณ์รูปกสิณ) ไว้ ๓ ประการ ดังนี้
    ๑. ฌานที่ได้มาโดยการเพ่งเฉพาะกสิณภายในและภายนอกเป็นอารมณ์ (รูปี รูปานิ ปสฺสติ)

    ๒. ฌานที่ได้มาโดยการเพ่งเฉพาะกสิณภายนอกเท่านั้นเป็นอารมณ์ (พหิทฺธารูปานิ ปสฺสติ)

    ๓. ฌานที่ได้มาโดยการเพ่งวรรณกสิณที่มีแสงเจิดจ้าเป็นอารมณ์ (สุภ)
    พีงทราบว่า แม้ในวิโมกขฌานนี้ก็เป็น "โสฬสกฺขตฺตุกเทสนา" คือนัย ๑๖ อย่าง ซึ่งเป็นนัยที่ทรงแสดงโดยการผสมอารมณ์เข้ากับปฏิปทา ซึ่งเคยแสดงไว้แล้วในกสิณฌาน

    สำหรับ วิโมกข์ ศัพท์นี้ นักปราชญ์ทั้งหลายแปลกันว่า
    ฌานที่หลุดพ้นจากศัตรูคือกิเลสแล้วก่อให้เกิดความยินดีในอารมณ์รูปกสิณ
    ก็เมื่อแปลอย่างนี้จึงสามารถทำให้ผู้ศึกษาคิดได้ว่า แม้ฌานอื่นซึ่งเป็นฌานที่ไม่ได้ระบุว่าหลุดพ้นก็เป็นฌานที่หลุดพ้นจากกิเลสเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น ยังจะทำให้คิดได้อีกว่า แม้แต่ อภิภายตนฌาน ก็เป็นฌานที่ได้มาโดยการข่มอารมณ์ แต่จะอย่างไรก็ตาม ตามความเป็นจริงแล้วไม่ว่าจะเป็นกสิณฌาน อภิภายตนฌาน หรือ วิโมกขฌาน ก็ล้วนแต่เป็นชื่อของฌานเหมือนกัน คือเป็น รูปาวจรฌาน เหตุที่มีชื่อแตกต่างกันออกไป เป็นเพราะมีลักษณะความแตกต่างกันโดยอาการที่เกิดขึ้น โดยอารมณ์ และโดยสภาพของฌานนั้น คงเพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงแสดงไว้โดยความหมายที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

    ที่ชื่อว่า กสิณฌาน เพราะว่า เกิดขึ้นโดยอาศัยอารมณ์ คือรูปกสิณกลมๆ เต็มดวงบริบูรณ์

    ที่ชื่อว่า อภิภายตนฌาน เพราะว่าสามารถข่มอารมณ์ โดยอาศัยภาวนาพิเศษซึ่งมีอานุภาพในการข่ม หรือมีความสามารถในการที่จะให้เข้าถึงฌานได้โดยรวดเร็ว

    ที่ชื่อว่า วิโมกขฌาน เพราะว่าหลุดพ้น คือหลุดพ้นโดยอาศัยลักษณะของการหลุดพ้นจากกิเลสที่ยอดเยี่ยมเหนือชั้นกว่าฌานอื่นๆ ก็ถ้าหากผู้ใดมีความประสงค์ที่จะค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง อภิภายตนฌานและวิโมกขฌานทั้ง ๒ นี้ พึงรักษาได้จากพระบาลีเหล่านี้คือ ในสังคีติสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มหาสกุลุทายิสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, วิโมกขสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต และในพระบาลีที่อื่นๆ พร้อมทั้งคัมภีร์อรรถกถาและฎีกาดัวย

    ๔-๕. พรหมวิหารฌาน - อสุภฌาน

    แม้ในพรหมวิหารฌานและอสุภฌาน ก็ทรงแสดงโสฬลักขัตตุกเทสนา หรือนัย ๑๖ อย่าง ไว้เช่นเดียวกันกับวิโมกขฌานทุกประการ

    เหตุที่ทรงเรียกรูปาวจรกุศลจิตว่า "ฌาน"

    หากเราได้ศึกษาตอนที่ว่าด้วยการเกิดขึ้นของปฐมฌานจิตฝ่ายรูปาวจรกุศลแล้ว จะเห็นได้ว่ามีนัย ๑๗ นัย ซึ่งประกอบด้วยผัสสปัญจมกนัยเป็นต้น ตลอดถึงสัมปยุตตเจตสิก ๕๖ ดวง ซึ่งได้แสดงไว้ในมหากุศลจิตดวงที่ ๑ นั้นนั่นเอง เพียงแต่ว่าจิตทั้ง ๒ มีอารมณ์ไม่เหมือนกัน คือ มหากุศลจิตดวงที่ ๑ นั้น อาศัยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอารมณ์ทั้ง ๖ เกิดขึ้น ส่วนปฐมฌานจิตฝ่ายรูปาวจรกุศลนั้นอาศัยกสิณบัญญัติเป็นอารมณ์เกิดขึ้น นอกจากนั้น ในหมู่่เจตสิกที่ประกอบในปฐมฌานฝ่ายรูปาวจรนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้โดยให้ความสำคัญเฉพาะวิตกวิจาร ปีติ สุขและเอกัคคตาเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากว่าการที่จะได้ปฐมฌานนั้น จำเป็นต้องมีธรรม ๕ ประการเหล่านี้เป็นธรรมนำหน้าธรรมเหล่าอื่น เช่นอินทรีย์ องค์มรรค และพละเป็นต้น ซึ่งถ้าเราได้ศึกษาเรื่องของฌานให้ละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป ก็จะสามารถเข้าใจถึงภาวะความเป็นผู้นำของธรรม ๕ ประการเหล่านั้นโดยแจ่มแจ้งได้ ดังต่อไปนี้
    (ก) การทำฌาน หมายถึง การประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียวอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ซึ่งเป็นบัญญัติ อันได้แก่ ปฐวีกสิณบัญญัติ เป็นต้น ก็ในภารกิจนี้ หน้าที่ในการผลักดันจิตหรือยกระดับจิตให้เข้าถึงอารมณ์กสิณบัญญัตินั้น เป็นหน้าที่ที่สำคัญทีุ่สุด ซึ่งในการนี้ วิตกเจตสิก ป็นผู้รับภาระไป เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงวิตกเจตสิกให้อยู่ในฐานะผู้นำธรรมเหล่าอื่น
    (ข) เมื่อวิตกได้ทำหน้าที่ผลักดันจิตให้เข้าถึงอารมณ์แล้ว ภารกิจรองที่ควรทำต่อไปก็คือ การพิจารณาไตรตรองอารมณ์ ซึ่งรับหน้าที่โดยวิจารเจตสิก ดังนั้นจึงทรงแสดงวิจารต่อจากวิตก

    (ค) เพื่อมิได้จิตที่เข้าถึงอารมณ์แล้วเกิดความเบื่อหน่าย จำเป็นต้องมีผู้ให้กำลังใจ การที่วิจารจะตั้งอยู่ได้นานนั้น จำเป็นต้องอาศัยกำลังใจหรือความพอใจที่จะทำในการนี้ ปีติเจตสิก เป็นผู้ตอบสนองนโยบายโดยรับหน้าที่อันนี้ไปทำ ด้วยเหตุนี้ จึงทรงแสดงปีติไว้ถัดจากวิจาร

    (ฆ) เมื่อมีความอิ่มใจหรือพอใจในอารมณ์เหล่านั้นแล้ว จิตก็จะเกิดความสงบสุข ซึ่งเจตสิกที่ทำหน้าที่นี้ ได้แก่เวทนาเจตสิก ดังนั้น จึงทรงแสดงสุขไว้ถัดจากปีติ

    (ง) การที่จิตดังกล่าวจะอยู่ได้อย่างสงบโดยไม่แล่นไปหาอารมณ์อันนั้น จำเป็นต้องพบความสุขในอารมณ์ของตน (คือกสิณบัญญัติ) เสียก่อน ก็เจตสิกที่ทำหน้าที่รักษาความสงบจิตนั้น ได้แก่ สมาธิ หรือ เอกัคคตาเจตสิก ดังนั้น จึงทรงแสดง เอกัคคตาเจตสิก (สมาธิ)ไว้ถัดจากสุข
    ที่กล่าวมานี้เป็นภารกิจสำคัญขององค์ฌาน ๕ ซึ่งนำโดยวิตก เรียกภารกิจนี้ว่า อุปนิชฌานกิจ เป็นกลุ่มธรรมที่ทำหน้าที่คอยกระตุ้นผลักดันให้จิตดิ่งลงในอารมณ์ของภาวนา เพราะฉะนั้น จึงได้ขนานนามกลุ่มธรรมเหล่านี้ว่า "ฌาน"

    นอกจากนี้กลุ่มธรรมเหล่านี้ยังทำหน้าที่เผานิวรณ์ ซึ่งเป็นข้าศึกของเานให้วอดวาย โดยแบ่งภาระกันอย่างนี้ คือ
    วิตก เผาถีนะและมิทธนิวรณ์ (วิตกฺโก ถินมิทฺธสฺส ปฏิปกฺโข = วิตกเป็นข้าศึกต่อถีนมิทธะ) ธรรมชาติของถีนมิทธะ คือ ท้อถอย เซื่องซึม เปรียบเหมือนกับคนเกียจคร้านสิ้นคิด ส่วนวิตกนั้นเป็นะรรมชาติที่ขัยนโดยพยายามประคับประคองสมปยุตตะรรมให้เข้าถึงอารมณ์ตามที่ต้องการจนได้ เปรียบเหมือนกับคนที่ีความคิดริเริ่มในการทำงาน ด้วยเหตุนี้ วิตกจึงเป็นข้าศึกต่อถีนมิทธะโดยตรง วิตกคอยทำหน้าที่ขจัดถีนมิทธะมิให้เข้ามาสู่กระแสจิต พร้อมกันนั้นก็ทำให้จิตเข้าถึงอารมณ์แห่งภาวนา

    วิจาร เผา วิจิกิจฉานิวรณ์ ด้วยว่าศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของวิจาร ก็คือวิจิกิจฉานิวรณ์ (วิจาโร วิจิกิจฺฉาย ปฏิปกฺโข= วิจารเป็นข้าศึกต่อวิจิกิจฉา) ธรรมชาติของวิจิกิจฉา คือความสงสัยไม่แน่ใจ ไม่กล้าตัดสินใจในอารมณ์ เพราะฉะนั้น ถ้าจิตซึ่งมีวิตกทำหน้าที่ผลักดันมาแล้ว ถ้ามีวิจิกิจฉามารบกวนก็จะทำให้จิตตกจากอารมณ์นั้นได้ ส่วนธรรมชาติของวิจารนั้น คือทำหน้าที่ไตรตรองหรือทดสอบอารมณ์เพื่อให้สัมปยุตตธรรมเกิดความมั่นใจในอารมณ์แล้วจะได้ไม่ต้องท้อถอยหรือผละหนีจากอารมณ์นั้น ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าวิจารกับวิจิกิจฉานั้นเป็นข้าศึกต่อกันและกันโดยตรง ที่ใดมีวิจาร ที่นั้นจะไม่มีวิจิกิจฉา ที่ใดมีวิจิกิจฉา ที่นั้นจะไม่มีวิจาร

    ปีติ เผา พยาปาทนิวรณ์ ซึ่งเป็นศัตรูของตน (ปีติ พฺยาปาทสฺส ปฏิปกฺขา = ปีติเป็นข้าศึกต่อพยาบาท) โดยปรมัตถ์แล้ว พยาบาท ได้แก่ โทสะ ธรรมชาติของโทสะคือดุร้ายไม่พอใจในอารมณ์ ส่วนธรรมชาติของปีติ คือความพอใจในอารมณ์ จะเห็นได้ว่า ธรรม ๒ ประการนี้ เป็นข้าศึกต่อกันและกันโดยตรง เพราะฉะนั้น (ในการทำฌานนี้) ถึงแม้ว่าวิจารจะเป็นตัวไตร่ครองทดสอบอารมณ์อยู่ก็ตาม ถ้าหากมีพยาบาทเข้ารบกวนแล้ว จะทำให้จิตเกิดความไม่พอใจในอารมณ์แล้วผละหนี ไม่ยอมไตรตรองต่อไป จึงจำเป็นต้องนำปีติซึ่งเป็นองค์ของฌานมาปราบพยาบาทมิให้เข้ามาสู่กระแสแห่งวิถีจิตได้ ซึ่งปีติก็สามารถทำหน้าที่ทั้ง ๒ ได้อย่างสมบูรณ์ คือทางหนึ่งทำให้สัมปยุตตธรรมเกิดความอิ่มใจไม่เบื่อหน่าย อีกทางหนึ่งทำหน้าที่เผาพยาบาทซึ่งเป็นไฟร้ายที่คอยเผาผลาญจิตให้วอดวาย

    สุข เผา อุทธัจนิวรณ์และกุกกุจจนิวรณ์ ซึ่งเป็นศัตรูของตน (สุขํ อุทฺธจฺจ กุกฺกุจฺจสฺส ปฏิปกฺขํ = ความสุขเป็นข้าศึกต่อความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) ธรรมชาติของอุทธัจจะเป็นสภาพที่ฟุ้งซ่านไม่สงบ กุกกุจจะเป็นธรรมชาติที่เดือดร้อนใจ เสียใจภายหลัง ส่วนสุขนั้นเป็นธรรมชาติที่เสวยอารมณ์โดยอาการอันสงบเยือกเย็น ดังนั้นจะเห็นว่าสภาวธรรมเหล่านี้เป็นปฏิปักษ์กันโดยตรง เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าปีติจะทำหน้าที่ทำให้จิตมีความอิ่มเอิบใจในอารมณ์อยู่ก็ตาม ถ้าหากมีสิ่งรบกวน เช่นอุทธัจจะและกุกกุจจะเข้ามาแทรก จะทำให้ตั้งอยู่ในอารมณ์ได้ไม่นาน จึงจำเป็นต้องนำองค์ฌานคือ สุขเข้ามาปราบ สุขซึ่งเชี่ยวชาญในหน้าที่นี้อยู่แล้ว จึงทำการเผาผลาญอุทธัจจนิวรณ์และกุกกุจจนิวรณ์ทันที

    สมาธิและเอกัคคตา เผา กามฉันทนิวรณ์ ซึ่งเป็นศัตรูของตน ก็กามฉันทะนี้โดยองค์ธรรม หมายถึง โลภะ ตัณหา เป็นธรรมชาติที่ติดใจยินดีในกามคุณอารมณ์ ส่วนเอกัคคตาหรือสมาธินั้น เป็นธรรมชาติที่ตั้งมั่นในอารมณ์เดียวโดยไม่วอกแวก ไปในอารมณ์อื่นๆ ดังนั้น สภาวะของธรรมเหล่านี้จึงตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้ (ในการทำฌานนั้น) เมื่อใดที่กามฉันทะเข้ามารบกวน เมื่อนั้นก็จะทำให้จิตใจหวั่นไหวหลุดออกจากอารมณ์กสิณได้โดยง่าย จึงจำเป็นต้องสรรหามือปราบคือเอกัคคตาเข้ามาช่วย เพราะเห็นว่าเป็นศัตรูกันอยู่แล้ว ส่วนทางเอกัคคตานั้นเล่า เมื่อเห็นกามฉันทะก็รีบจัดการเผาผลาญทันที นับเป็นวิธีการที่ทรงใช้ธรรมให้รบกับธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

    การทำฌาน (โดยปัญจกนัย)
    (ก) ปฐมฌาน ประกอบด้วยเจตสิก ๕๖ ดวง มีผัสสะเป็นต้น ซึ่งกล่าวมาแล้ววในมหากุศลจิตดวงที่ ๑

    (ข) ทุติยฌาน นั้นขาดผู้นำคือวิตกไป เพราะตอนที่ยังไม่บรรลุฌานนั้น ถึงแม้ว่าวิตกจะสำคัญสักแค่ไหน แต่เมื่อได้บรรลุปฐมฌานแล้ว ก็เกิดความช่ำชองขึ้น เมือพยายามที่จะขึ้นไปอีกขั้น จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยวิตกคอยยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ดังนั้นความสำคัญของวิตกจึงไม่จำเป็น เมื่อบรรลุทุติยฌานจึงตัดวิตกออกไปทันที เป็นเหตุให้ทุติยฌานไม่มีวิตกประกอบ

    (ค) ตติยฌาน ไม่มีวิตกและวิจารประกอบอยู่ ด้วยว่าในการพยายามเพื่อเข้าถึงตติยฌานนั้น เมื่อวิจารทำหน้าที่พิจารณาไตรตรองอารมณ์กลับไปกลับมาจนช่ำชองแล้ว จะทำให้จิตเกิดความสงบ และเมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวแล้ว การพิจารณาไตร่ตรองซึ่งเป็นหน้าที่ของวิจาร จึงหมดความสำคัญลง และเมื่อได้บรรลุตติยเานตามต้องการแล้ว วิจารจึงถูกตัดออกไป

    (ฆ) จตุตถฌาน ไม่มีปีติประกอบ โดยปกติแล้วจิตที่ปราศจากวิตก วิจารเป็นจิตที่สงบอย่างยิ่ง แต่ก็ยังไม่ถึงขีดสูงสุด เพราะยังมีปีติคอยรั้งเอาไว้ เพราะฉะนั้นเมื่อต้องการที่จะให้จิตสงบอย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องตัดปีติออกไปเสีย อนึ่ง ความสุขที่ปราศจากปีตินั้น เป็นความสุขที่ประณีตที่สุด ไม่มีความสุขในโลก (โลกียสุข) อันใดที่จะมาเปรียบกับความสุขชนิดนี้ได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงมิได้แสดงการประกอบปีติไว้ในจตุตถฌาน

    (ง) ปัญจมฌาน ไม่มีสุขประกอบ จริงอยู่ การทำฌานนั้นมีจุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่การทำจิตให้สงบโดยบริบูร์ ถ้าจะมัวแต่ไปหลงติดอยู่กับความสุขในจตุตถฌานซึ่งเป็นความสุขสูงสุดในบรรดาโลกิยสุขทั้งหลาย ก็จะทำให้จิตสงบอย่างแท้จริงไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงต้องละความสุขนั้นเสีย เพื่อทำจิตให้เข้าถึงจุดสูดยอดแห่งความสงบ ซึ่งเป็นความสงบที่สะอาด หมดจด ปราศจากคลื่นกระแสธรรมอื่นมารบกวน ประดุจจันทร์เพ็ญในราตรีอันหมดจดฉันนั้น เป็นจิตที่มีความผ่องใสมาก แสงซ่านออกเป็นระยิบระยับงดงามยิ่ง ด้วยเหตุนี้เองพระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ไม่มีสุขในปัญจมฌาน"

    นี้เป็นเพียงการแสดงแนวทางการศึกษาสภาวะของเจตสิกซึ่งประกอบในจิตเท่านั้น การที่จะยกอุปมาอุปไมยมาเปรียบเทียบเหมือนกับที่ได้แสดงยุทธวิธีการรบของกามาวจรกุสลจิตดวงที่ ๑ นั้น เป็นภารกิจที่ค่อนข้างจะหนักพอสมควร เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนกว่ากัน โดยเฉพาะสงครามรูปาวจรนี้ เป็นการรบขั้นที่ ๒ ซึ่งยากกว่าขั้นที่ ๑ แต่ถ้าจะสรุปดดยคร่าวๆ แล้ว จะเห็นว่ากองทัพทั้งกองทัพนั้น ล้วนเป็นกองทัพทั้ง ๑๗ เหล่าทัพที่เคยผ่านสมรภูมิกามาวจรมาแล้วทั้งนั้น แต่ที่น่าอัศจรรย์ก็คือ เหล่าเสนาทหารทั้งหลายล้วนมีการพัฒนาฝีมือของตนขึ้นไปถึงขั้นอาชาไนย และที่แปลกกว่านี้ก็คือ ในการรบขั้นที่ ๒ นี้ จึงแม้ว่าจะมีอาวุธ คือสมถวิปัสสนารวมอยู่ด้วยก็ตาม แต่ก็ยังมิได้ใช้วิปัสสนาแต่อย่างใด เพราะเพียงแค่ใช้สมถะเข้าคุกคามฝ่ายตรงกันข้ามก็บอบช้ำพอควรอยู่แล้ว จึงยังไม่ใช้ยุทธวิธีขั้นเด็ดขาดชนิดถอนรากถอนโคนกับฝ่ายตรงกันข้าม ด้วยข้อความข้างต้นนี้จะเห็นว่าอานุภาพแห่งสมถะและวิปัสสนานั้นแตกต่างกันมาก เพราะว่าสมถะถึงจะร้ายแรงเพียงไรก็ยังไม่สามารถบดขยี้ศัตรูชนิดถอนรากถอนโคนได้



     
  6. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    (๓) อรูปาวจรกุศล

    ทรงแสดงอรูปาวจรกุศลฌานต่อจากรูปาวจรกุศลฌาน โดยทรงจำแนกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
    ๑. อากาสานัญจายตนฌาน มีอากาสบัญญัติอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์
    ๒. วิญญาณัญจายตนฌาน มีปฐมอรูปวิญญาณอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์
    ๓. อากิญจัญญายตนฌาน มีนัตถิภาวบัญญัติ (ความไม่มีแห่งปฐมอรูปวิญญาณนั้น) เป็นอารมณ์
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (เป็นจิตที่ไม่มีสัญญาชนิดหยาบแต่ยังมีสัญญาชนิดละเอียดอยู่) มีตติยอรูปวิญญาณเป็นอารมณ์

    ลำดับการเกิดขึ้นของอรูปฌาน
    (ก) ตามความเป็นจริงแล้ว อรูปาวจรกุศลฌานนี้ ถ้าหากนับโดยวิธีจตุกกนัยแล้ว หมายถึง รูปาวจรจตุตถฌาน และถ้านับโดยวิธีปัญจกนัยแล้ว หมายถึงรูปาวจรปัญจมฌานนั่นเอง แต่จะอย่างไรก็ตาม อรูปาวจรฌาน (อรูปฌาน) นี้ เหตุี่ที่ท่านเรียกว่า ปัญจมฌาน เพราะว่ามีองค์ฌานเท่ากับปัญจมฌานในรูปาวจร ธรรมชาติของอรูปาวจรฌานนี้ คือการละทิ้งอารมณ์กสิณ (รูปสัญญา) ซึ่งเป็นอารมณ์ของรูปาวจรฌาน เป็นเหตุใ้ห้อากาสบัญญัติกล่าวคือความว่างจากอารมณ์กสิณปรากฏเป็นอารมณ์ของอรูปฌานขั้นที่ ๑ ซึ่งเพ่งอากาสบัญญัติ (ที่ที่ว่างเปล่าโดยปราศจากสสาร) เป็นอารมณ์ โดยลักษณะที่ว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" ท่านเรียกฌานนี้ว่า อากาสานัญจายตนฌาน และเพราะเหตุที่ข้ามพ้น (ละ) "รูปสัญญา" ซึ่งเป็นอารมณ์ของรูปาวจรฌานได้ จึงเรียกว่า อรูปาวจรฌาน

    (ข) ยิ่งกว่านั้น เมื่อพระโยคาวจรปรารถนาที่จะเข้าฌานชั้นสูงขึ้นไปอีก จำเป็นต้องละแม้อารมณ์ที่กำหนดอยู่คือ อากาศบัญญัติแล้วกำหนดปฐมอรูปวิญญาณเป็นอารมณ์ ก็ปฐมอรูปวิญญาณนั้น เดิมทีเคยมีอากาสบัญญัติอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น เมื่อตนเองกลับกลายมาเป็นอารมณ์ของจิตอื่น (คือทุติยอรูปวิญญาณจิต) จึงเป็นวิญญาณอันไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน ส่วนทุติยอรูปวิญญาณจิตนั้นเป็นจิตที่เพ่งปฐมอรูปวิญญาณเป็นอารมณ์ จึงได้ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนฌาน

    (ค) ยิ่งกว่านั้น เมื่อพระโยคาวจรปรรถนาที่จะเลื่อนขึ้นสู่ฌานชั้นสูงไปอีก แม้แต่ปฐมอรูปวิญญาณซึ่งเป็นอารมณ์ที่ตนกำหนดอยู่ ก็จำเป็นต้องละ ครั้นละแล้วก็เท่ากับว่าอารมณ์คือปฐมอรูปวิญญาณไม่มีจึงปรากฏเป็น "นัตถิภาวบัญญัติ" ขึ้นมาแทน (นัตถิภาวะ หมายถึงความไม่ปรากฏแห่งปฐมอรูปวิญญาณ เมื่อวิญญาณไม่ปรากฎ จึงต้องเพ่งนัตถิภาวะว่า "นัตถิ กิญจิ ไม่มีอะไรเลย) ก็ฌานจิตที่เพ่งนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์นี้ ท่่านเรียกว่า อากิญจัญญายตนฌาน

    (ฆ) ยิ่งกว่านั้น เมื่อพระโยคาวจรปรารถนาที่จะเลื่อนขึ้นสู่ฌานชั้นสูงไปอีก ก็จำเป็นต้องละนัตถิภาวบัญญัติ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ตนเพ่งกำหนดอยู่ และเมื่อละอารมณ์นั้นแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะนำมาเป็นอารมณ์ จึงต้องนำตติยอรูปวิญญาณมาเป็นอารมณ์ ก็ฌานที่เพ่งตติยอรูปวิญญาณเป็นอารมณ์นี้เป็นฌานที่ละเอียดอ่อนที่สุด ยากที่จะรู้ได้ว่ายังมีสัญญาอยู่หรือไม่ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเรียกฌานนี้ว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    เมื่อพระโยคาวจรเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนญานนี้แล้ว ถ้าเป็นพระอริยบุคคลชั้นอนาคามี หรือพระอรหันต์ก็สามารถคอยเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ คือเนวสัญญานสัญญายตนะ ซึ่งเป็นปัจจัยให้ดับสัญญาและเวทนาได้

    (๔) เตภูมิกกุศล

    เมื่อพระองค์ทรงจำแนกกามาวจรกุศล รุปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศลเป็นอย่างๆ แล้ว ได้ทรงนำกลุ่มกุศลทั้ง ๓ เหล่านั้นมาตรัสใหม่ว่า "เตภูิมิกกุศล = กุศลเป็นเหตุให้ไปเกิดในภูมิ ๓" โดยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้
    ๑. กุศล ชนิดหยาบ เรียกว่า หีนกุศล
    ๒. กศลชนิดกลาง เรียกว่า มัชฌิมกุศล
    ๓. กุศลชนิดสูง เรียกว่า ปณีตกุศล


    ต่อจากนั้นทรงจำแนกกุศลเป็ฯ ๔ ชนิดคือ
    ๑. ฉันทาธิปเตยยกุศล กุศลที่มีฉันทะเป็นอธิบดี
    ๒. วิริยาธิปเตยยกุศล กุศลที่มีวิริยะเป็นอธิบดี
    ๓. จิตตาธิปเตยยกุศล กุศลที่มีจิตตะเป็นอธิบดี
    ๔. วิมังสาธิปเตยยกุศล กุศลที่มีปัญญาเป็นอธิบดี

    ทรงแบ่งอธิปเตยยกุศลทั้ง ๔ เหล่านั้น อย่างละ ๑๒ ด้วยการนำอธิปเตยยกุศลแต่ละชนิดมาแบ่งเป็น หีนะ มัชฌิมะ และปณีตะ ดังนั้น ในเรื่องของเตภูมิกกุศลนี้ ไม่ว่าจะเป็นกามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล หรืออรูปวจรกุศลก็ตาม ถ้าหากอธิบดีกรรม คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะและวิมังสา อ่อนแอ ค่าของกุศลก็อยู่ในระดับหีนะ ถ้าอธิบดีธรรมมีกำลังปานกลาง กุศลก็อยู่ในรดับมัชฌิมะ และถ้าอธิบดีธรรมมีพลังสูง กุศลก็อยู่ในระดับปณีตะ ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นกุศลชนิดเดียวกัน แต่ก็มีระดับที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะเป็นเหตุให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมที่เป็นเหตุได้ตามสภาพที่เป็นจริง (ยถาภูตสภาวะ) อย่างนี้ว่า "ถึงแม้เราจะเกิดเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่เป็นเพราะกรรม (เหตุ)ที่ทำมานั้น มีระดับที่แตกต่างกันจึงงทำให้ระดับของคนแตกต่างกัน และแม้ในเทวโลกตลอดพรหมโลกก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน " ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการอธิบายเพื่อให้เข้าใจถึงจุดประสงค์ที่ทรงแสดงหีนติกธรรมผสมเข้ากับอธิบดีธรรมเท่านั้น


     
  7. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    (๕.) โลกุตตรกุศล

    ครั้นทรงแสดงเตภูมิกกุศลแล้วได้ทรงแสดงโลกุตตรกุศล (กุศลอันเป็นเหตุให้หลุดพ้นจากโลกทั้ง ๓) เป็นลำดับต่อไป โดยทรงแบ่งเป็น ๔ ระดับ ดังนี้
    ๑. ปฐมภูมิ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค
    ๒. ทุติยภูมิ ได้แก่ สกทาคามิมรรค
    ๓. ตติยภูิมิ ได้แก่ อนาคามิมรรค
    ๔. จตุตถภูมิ ได้แก่ อรหัตตมรรค

    ต่อจากนั้นทรงแสดงมหานัย ๒๐ อย่าง ไว้ในแต่ละภูมิ ดังนี้
    ๑. ฌาน
    ๒. มรรค
    ๓. สติปัฏฐาน
    ๔. สัมมัปปธาน
    ๕. อิทธิบาท ฯลฯ
    จากนั้นก็ทรงแบ่งมหานัย ๒๐ อย่าง โดยแต่ละนัยแบ่งเป็นฌาน ๔ ระดับ ทั้งนี้โดยอาศัยวิธีการแบ่งอย่างจตุกกนัย และแบ่งเป็น ๕ ระดับ โดยอาศัยวิธีการแบ่งอย่าง ปัญจกนัย รวมแล้วแต่ละนัยมีฌาน ๙ ฌาน และบรรดาฌาน ๙ ฌานนั้น ฌานหนึ่งๆ ทรงแบ่งเป็น ๓๐ นัย ดังนี้
    (๑) ปฏิปทาล้วนๆ ๔ นัย
    (๒) สุญญตะล้วนๆ ๑ นัย
    (๓) สุญญตะ+ปฏิปทา ๔ นัย
    (๔) อัปปณิหิตะล้วนๆ ๑ นัย
    (๕) อัปณิหิตะ + ปฏิปทา ๔ นัย
    (๖) อธิบดี + ปฏิปทา ๑๖ นัย

    เหตุที่ไม่ทรงแสดงอนิมิตตมรรค
    อนิจจานุปัสสนา กำหนดละนิจจนิมิต (นิมิตที่หลงยึดมั่นว่า สังขารทั้งหลายเป็นสภาพเที่ยง) จึงมีชื่อว่า อนิมิตตวิปัสสนา แต่ว่าตัวอนิมิตตวิปัสสนาเองยังไม่หลุดพ้นจากขอบข่ายของสังขาร จึงถือว่ายังเป็น "สนิมิตตะ" ดังนั้น จึงไม่สามารถเรียกมรรคที่บรรลุด้วยอนิมิตตวิปัสสนาว่า อนิมิตตมรรค (มรรคที่เกิดจากวิปัสสนาที่มีความไม่เที่ยงเป็นอารมณ์) ได้โดยตรง ดังจะเห็นได้จากการที่พระพุทธองค์ไม่ทรงแสดง "อนิมิตตมรรค" ไว้ในพระอภิธรรมนี้เลย

    ชื่อว่า มรรค นี้ บุคคลจะสามารถบรรลุได้ก็ต่อเมื่อเจริญวิปัสสนาได้ถึงขั้นสุดยอดแล้ว แม้ว่าการเจริญวิปัสสนานั้น จำเป็นต้องไ้ด้นิมิตเป็นอารมณ์ เพราะถ้าไม่ได้นิมิตเป็นอารมณ์ วิปัสสนาก็เจริญไม่ได้ เมื่อเจริญวิปัสสนาไม่ได้ ก็บรรลุมรรคไม่ได้เช่นกัน

    ตามความเป็นจริงแล้ว การที่เรียกวิปัสสนาว่า "อนิมิตตวิปัสสนา" (มรรคที่เกิดจากวิปัสสนาที่มีความไม่เที่ยงเป็นอารมณ์) นั้น เพราะวิปัสสนาเป็นภารกิจที่ต้องทำลายล้างนิจจสัญญา ส่วนการที่เรียกมรรคนี้ว่า "อนิมิตตมรรค" เป็นการเรียกโดยความเป็นผลของการเจริญวิปัสสนา (การเจริญวิปัสสนาเป็นเหตุ ส่วนมรรคเป็นผลที่ได้จากการเจริญวิปัสสนา วิปัสสนาได้ชื่อว่า อนิมิตตะโดยตรง ส่วนมรรคได้ชื่อว่า อนิมิตตะโดยอ้อม)

    ดังนั้น จะเห็นว่าพระพุทธองค์มิได้ทรงแสดง "อนิมิตตมรรค" ในพระอภิธรรมโดยตรง แต่ทรงแสดงโดยอ้อมตามแนวพระสูตรไว้เหมือนกัน เช่น ทรงเรียกมรรคที่บรรลุด้วยปนัตตานุปัสสนาว่า "สุญญตมรรค" เรียกมรรคที่บรรลุด้วยทุกขานุปัสสนาว่า "อัปปณิหิตมรรค" และเรียกมรรคที่บรรลุด้วยอนิจจานุปัสสนาว่า "อนิมิตตมรรค" ดังนี้

    อนึ่ง ลำดับเทศนาที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้ พึงทราบว่าเป็นนัยแห่งพระบาลีเท่านั้น ส่วนนัยแห่งอรรถกถาอัฏฐสาลินี หน้า ๒๙๗ มี ๔,๐๐๐ นัย ดังต่อไปนี้

    นัยแห่งอรรถกถา ๔,๐๐๐ นัย

    ในคัมภีร์อรรถกถาท่านได้แสดงวิธีการนับโลกุตตรจิตโดยไม่ได้ผสมกับฌาน ไว้ ๔,๐๐๐ นัย ดังนี้
    สุญญตะ (ล้วนๆ) ๑ อัปปณิหิตะ ๑ = ๒
    คูณด้วยปฏิปทา ๔ = ๘
    นำ ๒ มาบวกกับ ๘ (๒+๘) =๑๐
    นำมหานัย ๒๐ มาคูณ (๑๐x๒๐) = ๒๐๐
    นำอธิบดี ๔ มาคูณ (๒๐๐x๔) = ๘๐๐
    นำมหานัย ๒๐๐ มาบวกอธิบดี ๘๐๐ (๒๐๐+๘๐๐) = ๑,๐๐๐
    นำมาคูณด้วยมรรค ๔ (๑,๐๐๐x๔) =๔,๐๐๐
    สรุปแล้ว โลกุตตรจิตที่ไม่ระคนกับฌานซึ่งแสดงไว้ในอรรถกถามีนัยทั้งหมด ๔,๐๐๐ นัย ซึ่งก็เป็นเพียงตัวอย่างแห่งสังขยาวาระของพระอภิธรรม ซึ่งกว้างขวางพิสดารมาก ยิ่งถ้ามีภูมิปัญญามากเพียงใด ก็จะสามารถนับสังขยาวาระได้มากเพียงนั้น


    ลักษณะพิเศษแห่งนยเทสสนาในโลกุตตรจิต

    ปัญญินทรีย์

    ในชั้นโลกุตตรปฐมภูมิหรือชั้นโสดาปัตติมรรคนี้ มีการแสดงนัยแห่งเจตสิกเหมือนกับที่ทรงแสดงไว้ในปฐมกามาวจรจิต คือมีนัยรวม ๑๗ นัยเหมือนกัน แต่ว่าในธรรม ๕๖ ประการ ที่ทรงจำแนกออกมานั้น จะเห็นว่า มีอนัญญาตัญญัสสามิตินรีย์ เพิ่มเข้ามาในอินทรียเภทนัย ซึ่งถ้าได้ศึกษาแล้วจะเข้าใจทันทีว่า ในภูมิชั้นนี้เป็นภูมิที่ทำให้บรรลุคุณวิเศษซึ่งยังไม่เคยรู้มาก่อนเลย

    มัชฌิมาปฏิปทา

    นอกจากนี้จะเห็นว่าในมัคคเภทนัยนั้น มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ซึ่งเพิ่มเข้ามาให้ครบองค์มรรค ๘ พอดี ข้อนี้จะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจได้ว่าทางแห่งความหลุดพ้นจากวัฏฏทุกข์นั้น จะหย่อนยานเกินไปไม่ได้ หรือจะตึงเกินไปก็ไม่ได้ ที่จริงแล้วจะต้องเป็นมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง

    ธรรมสำคัญที่ควรละ

    นอกจากนี้จะเห็นว่าอกุศลธรรมอื่นๆ เช่นโลภะ โทสะ และมานะเป็นต้น ซึ่งเป็นธรรมที่ควรละในโลกุตตรปฐมภูมินี้มีอยู่ เหตุไฉนจึงทรงแสดงเจาะจงเอาเฉพาะ ทิฏฐิเจตสิก ตัวเดียวเป็นตัวนำหน้าว่า "ทิฏฺฐิคตานํ ปหานาย= เพื่อละทิฏฐิทั้งหลาย" ดังนี้เล่า? คำตอบก็คือ ถ้าได้ศึกษาคัมภีร์แล้วจะทำให้รู้ว่า ในบรรดาภารกิจทั่วไปที่เกี่ยวกับการหลุดพ้น ภารกิจที่สำคัญที่สุด คือการละทิฏฐิ

    ในการละทิฏฐินั้น ถึงแม้ไม่ได้ระบุว่าเป็นทิฏฐิอันไหน ในจำนวนทิฏฐิ ๖๒ แต่ก็สามารถรู้ได้ว่า เป็นสักกายทิฏฐิ เพราะมีการแสดง สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นตัวละ มิจฉาทิฏฐิ ไว้เป็นชั้นๆ แล้ว ดังนี้ กามาวจรสัมมาทิฏฐิ รูปาวจรทิฏฐิ และ อรูปาวจรสัมมาทิฏฐิ (สัมมาทิฏฐิ มี ๒ คือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ และโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิมิได้ด้วยการละมิจฉาทิฏฐิ แต่สำหรับโลกียสัมมาทิฏฐิเป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ดังนั้น ถึงแม้จะสามารถละปริยุฏฐานทิฏฐิได้ แต่ก็ยังไม่สามารถละอนุสัยทิฏฐิได้ ส่วนโลกุตตรสัมมาทิฏฐินั้นปราศจากอนุสัยทั้งปวงเพราะฉะนั้น ทิฏฐิในคำว่า "ทิฏฐิคตานํ ปหานาย" จึงหมายถึง สักกายทิฏฐิซึ่งเป็นอนุสัย เป็นรากเหง้าของทิฏฐิทั้งปวง)

    จริงอยู่ สักกายทิฏฐินั้น กล่าวโดยรวมหมายถึง ความเห็นที่เข้าไปยึดติดว่า "ขันธ์นี้มีอัตตาตัวตน" ถ้ามีความยึดมั่นเช่นนี้แล้ว เมื่อขันธ์ที่ตนหลงยึดติดนั้น เกิดมีความวิปริตเปลี่ยนแปลง เช่น แตกสลายหรือตายไป เกิดความเห็นแตกแยกกัน คือ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า "ในขันธ์นี้มีอัตตาตั้งอยู่ตลอดไป " (สัสสตทิฏฐิ) อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า "ขันธ์นี้ไม่มีอัตตาที่เที่ยงแท้ ดับแล้วย่อมขาดสูญ" (อุจเฉททิฏฐิ) และเมื่อความเห็นผิดทั้ง ๒ อย่างนี้เกิดขึ้น ทิฏฐิทั้งหลายที่เหลือก็ชื่อว่าเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน

    อนึ่ง เมื่อเราได้ศึกษาธรรมตามที่ทรงแสดงไว้ในธัมมสังคณีนี้แล้ว จะทำให้เกิดความสังเวชสลดใจว่า การที่บุคคลจะถอนสักกายทิฏฐิด้วยการให้ทาน รักษาศีลเจริญสมถภาวนา โดยยังมีความยึดมั่นในความสุขในภพต่อๆ ไป หรือเพื่อฤทธิ์เดชต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่ยังห่างไกลจากความเป็นจริงยิ่งนัก

    เมื่อมรรคญาณเกิดขึ้น

    เมื่อสามารถกำหนดจิตให้ตั้งมั่นได้แล้ว ก็จะเกิดญาณ มองเห็นสภาพการเกิดดับของรูปนาม ไม่หลงยึดมั่นในบัญญัติเหมือนแต่ก่อน และเมื่อเพ่งพินิจดูรูปนามเหล่านั้นด้วยวิปัสสนาญาณ ก็จะเห็นแต่ความเกิดดับอยู่ทุกขณะ ไม่มีรูปนามอันใดตั้งอยู่เลย ครั้นเห็นแจ้งอย่างนี้แล้ว ย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนาม เห็นเป็นสภาพ "สูญ ว่างเปล่า ปราศจากสาระ ปราศจากอัตตา" ยิ่งเมื่อได้กำหนดพิจารณามากเพียงใด ก็จะทำให้เกิดความสว่างยิ่งๆ ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะทำให้เข้าใจรูปนามได้ทะลุปรุโปร่งว่า ไม่มีผู้ใดสามารถเนรมิตให้ความสุขที่แท้จริงได้ เพราะธรรมชาติหรือสภาวะของขันธ์นี้ก็คือทุกข์แท้ๆ นั่นเอง นี้เป็นการทำกิจของ สัมมาทิฏฐิมรรคญาณ ซึ่งทันทีที่ญาณนี้เกิดขึ้น ความหลงติดในรูปนาม ในชั้นที่หนึ่งก็ถูกปลดออก ก็การปลดเปลื้องความหลงติดในรูปนามนี้ ท่านเรียกว่า การละสักกายทิฏฐิ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่เฉพาะทิฏฐิเจตสิกเท่านั้นที่ถูกปลดออก แม้แต่อกุศลธรรมทั้งปวงที่เป็นเหตุนำไปสู่อบายก็ถูกปลดออกเช่นเดียวกัน

    ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการปูทางไปสู่พระบาลีธัีมมสังคณี ซึ่งได้หยิบยกการละทิฏฐิมาแสดงไว้แถวหน้า แต่แท้ที่จริงแล้ว ธรรมที่ปฏิบัติหน้าที่ปลดเปลื้องทิฏฐินั้นเป็นธรรมที่ควรจะต้องมาำอธิบายขยายความจากพระสูตรต่างๆ ซึ่งกระจายอยู่ในนิกายทั้ง ๕ นั่นเอง

    ในชั้น ทุติยภูมิ หรือที่เรียกว่า สกทาคามิมรรค นั้น ได้เบนเข็มมุ่งไปปะหาณโทสะกับกามราคะ แต่ก็ทำได้เพียงให้เบาบางลงเท่านั้น และนอกจากจะทำให้โทสะและกามราคะเบาบางลงแล้ว ยังสามารถทำให้กิเลสต่างๆ ที่เหลือเบาบางไปด้วย

    ในชั้น ตติยภูมิ หรือที่เรียกว่า อนาคารมิมรรค นั้น ไ้ด้ลงมือปฏิบัติการขั้นเด็ดขาดกับกามราคะและโทสะ ถึงขั้นถอนรากถอนโคนกันทีเดียว พร้อมกันนั้นก็ได้ปฏิบัิตการทำลายล้างกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดขึ้นในกามภูมิ เช่น โลภะจนหมดสิ้น

    ส่วนในชั้นจตุตถภูมิ หรือที่เรียกว่า อรหัตตมรรคนั้น ได้ทำการบดขยี้กิเลสทั้งหลาย เช่น รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ซึ่งเป็นกิเลสที่ยังไม่หมดฤทธิ์เดชให้หมดสิ้นไปจากจิตสันดานตลอดไป

    เมื่อรากเหง้าของกิเลสถูกตัดขาดแล้ว รูปนามก็ถือว่าไม่มีทางทีจะเกิดขึ้นได้อีก ดุจไฟที่หมดเชื้อฉันนั้น นั่นย่อมหมายความว่า สังขารทั้งปวงได้ถึงซึ่งการดับแล้วนั่นเอง

    อนึ่ง ในมรรคญาณทั้ง ๔ ดังกล่าวนั้น มีอริยสัจ ๔ เกิดขึ้นอย่างละ ๔ ครั้ง (คือทุกขสัจ สมุทยสัจ มรรคสัจและนิโรธสัจ)

    ความหมายของธรรมอื่นๆ ในจิตตุปปาทกัณฑ์นี้ เช่นอกุสสลา ธมฺมา, อพฺยากตา ธมฺมา ก็พึงศึกษาโดยอาศัยนัยของ กุสลา ธมฺมา ที่ได้แสดงมาแล้วข้างต้น

    อ่านต่อ (๒) รูปกัณฑ์



     
  8. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๒. รูปกัณฑ์

    ในจิตตุปปาทกัณฑ์ที่ผ่านมาทรงจำแนก กุศลจิต อกุศลจิต อัพยากตจิต พร้อมทั้งเจตสิกที่ประกอบในจิตนั้นๆ ไว้แล้วโดยละเอียด โดยวิธีการอนุวัตไหลไปตามหัวข้อเทศนา แต่ยังมิได้ทรงกล่าวถึง รูป และ นิพพาน ซึ่งทั้ง ๒ ประการนี้ ก็จัดเข้าใน อัพยากตธรรม เหมือนกัน ดังนั้น เมื่อทรงประสงค์จะแสดง "รูป" โดยละเอียด จึงได้ตรัส รูปกัณฑ์ นี้ขึ้นมา (ส่วนนิพพานนั้น เป็นธรรมที่ไม่มีประเภทจึงมิทรงแสดงรวมไว้ในรูปกัณฑ์) โดยทรงจำแนกรูปเป็น ๑๑ นัย อันมี เอกกนัย รูปมีอย่างเดียว ทุกนัย รูปมี ๒ อย่าง ฯลฯ เอกาสทสกนัย รูปมี ๑๑ อย่าง

    แม้ว่ารูปจะมีหลายนัยก็ตาม แต่เมื่อรวมเฉพาะรูปซึ่งมีสภาพเดียวกันมาสงเคราะห์เข้าเป็นกลุ่มเป็นประเภทแล้ว ก็จะได้เพียง ๒๗ ประเภทเท่านั้น (เพราะไม่นับหทัยวัตถุ ดังที่ในคัมภีร์ธัมมสังคณีมูลฎีกา (หน้า ๑๙๓) และอนุฎีกา (หน้า ๑๗๕, ๒๐๓) ได้อธิบายถึงเหตุที่พระพุทธองค์มิทรงแสดงหทัยวัตถุไว้ในคัมภีร์ธัมมสังคณีนี้ ผู้ปรารถนาพึงศึกษาค้นคว้าได้จากคัมภีร์เหล่านั้น)

    ๓. นิกเขปกัณฑ์

    ในธัมมสังคณีมีติกะทั้งหมด ๒๒ มีทุกะ ๑๔๒ แต่ใน ๒ กัณฑ์แรกที่ผ่านมานั้น พระพุทธองค์ได้ทรงจำแนกเฉพาะกุสลติกะ เท่านั้น ส่วนติกะและทุกะที่เหลือยังมิได้ทรงแสดงไว้ ซึ่งความเป็นจริงแล้วติกะและทุกะที่เหลือนั้นเป็นธรรมที่พระพุทธองค์จะต้องนำมาแสดงโดยพิสดารเช่นกัน แต่พระองค์ก็มิได้ทรงกระทำเช่นนั้น แต่ทรงประสงค์ให้ข้อความของธรรมที่เหลือเหล่านั้นมีเนื้อหาไม่ย่อหรือพิสดารจนเกินไป จึงได้ตรัสนิกเขปกัณฑ์นี้ไว้เพียงพอเหมาะพอควร

    คำว่า นิกเขปกัณฑ์ นี้ เป็นกัณฑ์ที่แสดงติกะและทุกะทั้งหมดไว้อย่างสมบูรณ์ (รวมทั้งติกะที่ทรงแสดงไปแล้วในจิตตุปปาทกัณฑ์และรูปกัณฑ์ด้วย) ถึงแม้ว่าข้อปลีกย่อยจะแตกต่างกันออกไปตามหัวข้อของแต่ละเรื่องก็ตาม แต่โดยส่วนมากแล้ว ธรรมในกัณฑ์นี้ต่างก็ตั้งอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกัน ๘ ประการ คือ
    ๑. โดยมูล (เหตุ, รากเหง้า)
    ๒. โดยขันธ์ (หมู่, กอง)
    ๓. โดยทวาร (ประตูรับอารมณ์)
    ๔. โดยภูมิ (สถานที่อุบัติ)
    ๕. โดยอรรถ (ความหมาย)
    ๖. โดยธรรม (องค์ธรรม)
    ๗. โดยนาม (ชื่อ)
    ๘. โดยลิงค์ (ศัพท์, ลิงค์)

    ใน ๔ ข้อแรกนั้น มิได้มีความเกี่ยวข้องกับติกะและทุกะทั้งหมด ส่วน ๔ ข้อสุดท้ายล้วนมีความเกี่ยวข้องกับติกะและทุกะทั้งสิ้น ผู้ใดปรารถนาอยากจะรู้ ๔ ข้อแรก อันได้แก่ มูล, ขันธ์, ทวารและภูมิ ขอเพียงแต่ศึกษากุสลติกะและเวทนาติกะเท่านั้น ก็สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน

    ๔. อัฏฐกถากัณฑ์

    อนึ่ง สำหรับมาติกาหรือสารบัญของคัมภีร์ธัมมสังคณีนี้ ประกอบด้วยติกะ ๒๒ และทุกะ ๑๔๒ หัวข้อด้วยกัน ซึ่งทั้งหมดนี้พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงอธิบายไว้หมดแล้วใน ๓ กัณฑ์ที่ผ่านมา จึงถือได้ว่าการอธิบายหัวข้อมาติกานั้นไ้ด้จบลงแล้ว แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม สำหรับนักศึกษาพระอภิธรรมบางท่านแล้วยังเป็นการยากที่จะสามารถนับหรืออธิบายองค์ธรรมให้ถูกต้องได้ ด้วยว่าในจิตตุปปาทกัณฑ์และรูปกัณฑ์นั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงจิต เจตสิก และรูปไว้โดยกระจายไปทั่ว ซึ่งเป็นการยากที่เราจะเก็บองค์ธรรมให้ถ้วนถี่ได้ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงมีพระประสงค์ที่จะอธิบายความของจืต เจตสิก และรูปเหล่านั้นให้ครบถ้วนน จึงได้ตรัส อัฏฐกถากัณฑ์ ซึ่งเป็นกัณฑ์สุดท้ายในคัมภีร์ธัมมสังคณีนี้

    อนึ่ง ที่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวไว้ในอรรถกถาอัฏฐสาลินี หน้า ๔๐๓ ว่า "นิกเขปกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่อธิบายเนื้อหาของติกะและทุกะโดยไม่ย่อและไม่พิสดาร ส่วนอัฏฐกถากัณฑ์นี้ เป็นกัณฑ์ที่อธิบายเนื้อหาเดียวกันแต่เป็นการแสดงโดยย่อ" ดังนี้นั้น เป็นคำที่ท่านกล่าวโดยอ้างความมากน้อยของหน้าหนังสือพระบาลี และอ้างการที่อัฏฐกถากัณฑ์นั้นไม่ได้แสดง สุตตันติกมาติกาไว้ แต่จริงๆ แล้ว ในเรื่องที่เกี่ยวกับการประกาศสภาวธรรมของจิต เจตสิกนั้น อัฏฐกถากัณฑ์ถือได้ว่าเป็นกัณฑ์ที่พิสดารกว่านิกเขปกัณฑ์มากทีเดียว

    ตัวอย่างเช่น ในการอธิบายเวทนาติกะ ในนิกเขปกัณฑ์ พระองค์ทรงแสดงจิตเจตสิกที่เป็นไปได้มาไว้รวมกันเป็นภูมิ ขันธ์ ส่วนในอัฏฐกถากัณฑ์นั้นทรงแสดงจิต เจตสิกที่สหรคตด้วยสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอุเบกขาเวทนา พร้อมจำนวนองค์ธรรมด้วย

    นอกจากนี้ในการที่ทรงแสดงวิตักกติกะในนิกเขปกัณฑ์นั้น ทรงแสดงโดยแบ่งเป็นภูมิ เป็นขันธ์ แต่มิได้กล่าวองค์ธรรมโดยละเอียด เหมือนในอัฏฐกถากัณฑ์นี้ ซึ่งทรงแสดงโดยระบุชื่อจิต เจตสิกไว้อย่างละเอียด แม้ในกรณีของปีติติกะเป็นต้น ก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในบางที่ของนิกเขปกัณฑ์ เช่นตอนที่ว่าด้วยอาสวะ นิวรณ์ สังโยชน์ ฯลฯ นั้น จะเห็นว่ามีความยาวพิสดารกว่าอัฏฐกถากัณฑ์อยู่บ้างเล็กน้อย แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้แสดงจิต เจตสิก ไว้โดยละเอียดแต่ประการใด ยิ่งถ้าได้ศึกษาอารัมมณติกะในอัฏฐกถากัณฑ์แล้ว จะสามารถรู้ได้เลยว่านิกเขปกัณฑ์นั้นแสดงไว้ย่อกว่าอัฏฐกถากัณฑ์มาก ยกตัวอย่างเช่นน ในข้อธรรมว่า "ธรรมที่มีกามเป็นอารมณฺ์" ในนิกเขปกัณฑ์มิได้ทรงแสดงโดยระบุจิต เจตสิกไว้เลย แต่ตรงกันข้าม ในอัฏฐกถากัณฑ์นั้นได้แสดงโดยระบุจิต เจตสิกไว้โดยละเอียด

    สรุปแล้ว ทั้งนิกเขปกัณฑ์และอัฏฐกถากัณฑ์นี้ ล้วนแต่เป็นกัณฑ์ที่แสดงอธิบายองค์ธรรมของติกะและทุกะด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่มีในบางส่วนบางตอนแห่งแัฏฐกถากัณฑ์ซึ่งมีความลึกซึ้งกินความกว้างขวางกว่านิกเขปกัณฑ์มาก อีกทั้งทางด้านนิกเขปกัณฑ์เองก็แสดงไว้โดยย่อจนเกินไป ดังนั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระพุทธองค์จึงต้องนำองค์ธรรมของติกะและทุกะจากนิกเขปกัณฑ์กลับมาแสดงในอัฏฐกถากัณฑ์อีก ส่วนเหตุผลที่ไม่ทรงนำสุตตัติกมาติกา จากนิเขปกัณฑ์มาแสดงในกัณฑ์นี้อีกนั้น เป็นเพราะว่า ในอัฏฐกถากัณฑ์นี้พระองค์มีพระประสงค์ที่จะแสดงเฉพาะนัยแห่งอภิธรรมเท่านั้น ถ้าเราศึกษาสภาวะแห่งพระอภิธรรมจนเข้าใจดีแล้ว จะทำให้เราสามารถมองเห็นภาพแห่งความลุ่มลึกของอัฏฐกถากัณฑ์นี้ได้ว่า

    เป็นศูนย์รวมเนื้อหาสาระแห่งพระอภิธรรมจากปิฏกทั้ง ๓ เป็นสายเลือดสำคัญของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เป็นนิสสัย (ที่พึี่งพิง) ของพระอรรถกถาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์วัณณนาแห่งพระ อภิะรรมได้เป็นอย่างดี ดังนี้ จึงมีพระอรรถกถาจารย์บางท่านได้เขียนสรรเสริญอัฏฐกถากัณฑ์ ยกย่องประหนึ่งเป็นปิฎกทั้ง ๓

    ******************
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...