ทดลองอ่านพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Kob, 24 พฤศจิกายน 2009.

  1. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894



    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑
    </CENTER>[๔๔๑] ข. (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน
    ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อ
    เสียด มีมาแต่อะไร ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้นมีมา
    แต่อะไร?




    <CENTER>ว่าด้วยความทะเลาะวิวาท
    </CENTER>[๔๔๒] ชื่อว่า ความทะเลาะ ในคำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ... มีมาแต่อะไร?
    ความว่า ความทะเลาะ และความวิวาททั้ง ๒ นั้นเป็นอย่างเดียวกัน โดยอาการเดียวกัน คือ ความ
    ทะเลาะใด ความทะเลาะนั้นเป็นความวิวาท ความวิวาทใด ความวิวาทนั้นเป็นความทะเลาะ.
    อีกอย่างหนึ่ง โดยอาการอื่น ความวิวาทที่เป็นเบื้องต้นแห่งความทะเลาะ เรียกว่า ความวิวาท
    กล่าวคือ แม้พระราชาก็วิวาทกับพวกพระราชา แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาทกับพวกกษัตริย์ แม้พวก
    พราหมณ์ก็วิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้พวกคฤหบดีก็วิวาทกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกับ
    บุตร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่น้องชายก็
    วิวาทกับพี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงก็วิวาทกับพี่น้องชาย แม้สหายก็วิวาทกับสหาย นี้ชื่อว่า
    ความวิวาท. ความทะเลาะเป็นไฉน? พวกบุคคลผู้ครองเรือนขวนขวายหาโทษกัน ก็ทำความทะเลาะ
    กันด้วยกาย ด้วยวาจา พวกบรรพชิตต้องอาบัติอยู่ ก็ทำความทะเลาะกันด้วยกาย ด้วยวาจา นี้
    ชื่อว่า ความทะเลาะ. คำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท มีมาแต่อะไร? ความว่า พระพุทธนิมิตสอบ
    ถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประกาศ ซึ่งมูล เหตุนิทาน เหตุเกิด แดน
    เกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัยสมุทัยแห่งความทะเลาะและความวิวาทว่า ความทะเลาะ
    และความวิวาทมีมา คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือ มีอะไร
    เป็นนิทาน เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความ
    ทะเลาะ ความวิวาทมีมาแต่อะไร?




    <CENTER>ว่าด้วยความรำพัน
    </CENTER>[๔๔๓] ชื่อว่า ความรำพัน ในคำว่า ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความว่า
    ความเพ้อถึง ความรำพัน กิริยาที่เพ้อถึง กิริยาที่รำพันถึง ความเป็นผู้เพ้อถึง ความเป็นผู้รำพัน
    ถึง ความพูดเพ้อ ความบ่นเพ้อ ความพร่ำเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ ความเป็นผู้พร่ำเพ้อ ของคน
    ที่ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งโภคสมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูก
    ความเสื่อมเพราะโรคกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อม
    แห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด
    อย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง.




    <CENTER>ว่าด้วยความโศก
    </CENTER>ชื่อว่า ความโศก คือ ความเศร้าโศก กิริยาเศร้าโศก ความเป็นผู้เศร้าโศก ความ
    เศร้าโศกภายใน ความตรมตรอมในภายใน ความเดือดร้อนในภายใน ความเร่าร้อนในภายใน
    ความตรอมเตรียมแห่งจิต ความโทมนัส ลูกศรคือความเศร้าโศก ของคนที่ถูกความเสื่อมแห่งญาติ
    กระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งโภคสมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมเพราะโรคกระทบ
    เข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่
    ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง.




    <CENTER>ว่าด้วยความตระหนี่
    </CENTER>ชื่อว่า ความตระหนี่ ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความตระหนี่อาวาส ความ
    ตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่เห็น
    ปานนี้ กิริยาที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่างๆ ความเหนียวแน่น
    ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ในการให้ นี้เรียกว่า
    ความตระหนี่ อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี
    นี้เรียกว่า ความตระหนี่. ความมุ่งจะเอา ก็เรียกว่า ความตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความรำพัน
    ความโศก ความตระหนี่.




    <CENTER>ว่าด้วยความถือตัว
    </CENTER>[๔๔๔] ชื่อว่า ความถือตัว ในคำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด
    พึงทราบอธิบายดังนี้ บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความถือตัวให้เกิดโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง
    โดยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง โดยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง โดยทรัพย์บ้าง โดยการปกครอง
    บ้าง โดยหน้าที่การงานบ้าง โดยหลักแหล่งแห่งศิลปศาสตร์บ้าง โดยวิทยฐานะบ้าง โดยการ
    ศึกษาบ้าง โดยปฏิภาณบ้าง โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง.




    <CENTER>ว่าด้วยความดูหมิ่น
    </CENTER>ชื่อว่า ความดูหมิ่น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดย
    โคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง.




    <CENTER>ว่าด้วยการพูดส่อเสียด
    </CENTER>ชื่อว่า ความพูดส่อเสียด คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือ
    ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อ
    ทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกันแล้วบ้าง ชอบ
    ผู้ที่เป็นก๊กกัน ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินคนที่เป็นก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำเป็นก๊กกัน นี้
    เรียกว่า ความพูดส่อเสียด. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ
    คือ นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำ
    ส่อเสียดเข้าไป ๑.
    บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร? บุคคลนำคำส่อเสียดเข้า
    ไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่สนิท เป็นภายใน
    เป็นที่ดีใจ ของบุคคลนี้.
    บุคคลผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างไร? บุคคลผู้มีความ
    ประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า ชนเหล่านี้ พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน เป็นสองเหล่า
    สองพวก สองฝ่าย ชนเหล่านี้ พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบากไม่ผาสุก ด้วยอุบาย
    อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด.


    [๔๔๕] คำว่า ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้น มีมาแต่อะไร?
    ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประกาศ
    ซึ่งมูล เหตุ นิทาน เหตุเกิด แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย สมุทัย แห่งกิเลส ๘
    ประการนี้ว่า กิเลส ๘ ประการนี้ คือ ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก
    ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด มีมา คือ เกิด เกิดพร้อม
    บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น
    ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร. คำว่า ขอเชิญ
    พระองค์จงตรัสบอก คือ ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอก ตรัสตอบ แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย
    จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้นมี
    มาแต่อะไร. เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า
    ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่
    ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียดมีมาแต่อะไร? ขอเชิญ
    พระองค์จงตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร?
    [๔๔๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน
    ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูด
    ส่อเสียด มีมาแต่สิ่งที่รัก ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความ
    ตระหนี่ และเมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี.




    <CENTER>ว่าด้วยความทะเลาะ ... มาจากสิ่งที่รัก
    </CENTER>[๔๔๗] ชื่อว่า สิ่งที่รัก ในคำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก
    ความตระหนี่ ... มีมาแต่สิ่งที่รัก ได้แก่ วัตถุเป็นที่รัก ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑.
    สัตว์ผู้เป็นที่รักเป็นไฉน? ชนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นผู้ใคร่ความเจริญใคร่ ประโยชน์
    ใคร่ความสบาย ใคร่ความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส คือ เป็นมารดา เป็นบิดา เป็นพี่น้องชาย
    เป็นพี่น้องหญิง เป็นบุตร เป็นธิดา เป็นมิตร เป็นพวกพ้อง เป็นญาติ หรือเป็นสาโลหิต
    ชนเหล่านี้ชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นที่รัก. สังขารเป็นที่รักเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    ที่ชอบใจเหล่านี้ชื่อว่า สังขารเป็นที่รัก.
    ชนทั้งหลาย แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมทะเลาะกัน คือ
    เมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมทะเลาะกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อม
    ทะเลาะกันบ้าง. แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมทะเลาะกัน คือ
    เมื่อวัตถุที่รักกำลังแปรปรวนไป ย่อมทะเลาะกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมทะเลาะ
    กันบ้าง. แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมวิวาทกัน คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลัง
    ถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมวิวาทกันบ้าง. แม้ผู้มี
    ความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมวิวาทกัน คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลัง
    แปรปรวนไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมวิวาทกันบ้าง. แม้ผู้มีความ
    หวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมรำพัน คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมรำพัน
    บ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง. แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวน
    ไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมรำพัน คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลังแปรปรวน ย่อมรำพันบ้าง เมื่อวัตถุที่รัก
    แปรปรวนไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง. แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมเศร้าโศก
    คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อม
    เศร้าโศกบ้าง. แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมเศร้าโศก คือ
    เมื่อวัตถุที่รักกำลังแปรปรวนไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมเศร้าโศก
    บ้าง. และย่อมรักษา ปกครอง ป้องกัน หวงห้าม ตระหนี่วัตถุที่รัก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้าโศก ความตระหนี่ มีมาแต่สิ่งที่รัก.
    [๔๔๘] คำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด ความว่า ชนทั้งหลาย
    ย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รัก ย่อมยังความดูหมิ่นให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รัก.
    ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างไร? ชนทั้งหลายย่อมยัง
    ความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างนี้ว่า พวกเรามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    ที่ชอบใจ.
    ชนทั้งหลาย ย่อมยังความดูหมิ่นให้เกิด เพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างไร? ชนทั้งหลาย
    ย่อมยังความดูหมิ่นให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างนี้ว่า พวกเรามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส
    โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ. ส่วนชนเหล่านี้ ไม่ได้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ.
    คำว่า ความพูดส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือ
    ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ ฯลฯ บุคคลเป็นผู้มีความประสงค์ให้เขา
    แตกกันอย่างนี้ว่า ... ชนเหล่านี้พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก ด้วยอุบาย
    อย่างไร ก็นำคำส่อเสียดเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความ
    พูดส่อเสียด.
    [๔๔๙] คำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่ ความว่า กิเลส ๗
    ประการนี้ คือ ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้าโศก ความถือตัว ความดูหมิ่น
    และความพูดส่อเสียด ประกอบ ตกแต่ง เนื่อง สืบเนื่อง ในความตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
    ว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่.
    [๔๕๐] คำว่า เมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี ความว่า เมื่อความ
    วิวาทกันเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว ชนทั้งหลายย่อมนำคำส่อเสียด
    เข้าไป คือ ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมา
    บอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตก
    กันแล้วบ้าง ชอบผู้ที่เป็นก๊กกันบ้าง ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินคนที่เป็นก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจา
    ที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่า ความพูดส่อเสียด. อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อมนำคำส่อเสียด
    เข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความ
    ประสงค์ให้เขาแตกกันจึงนำคำส่อเสียดเข้าไป ๑.
    ชนทั้งหลาย นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร? ชนทั้งหลาย
    นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า พวกเราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็น
    ที่สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจของบุคคลผู้นี้.
    ชนทั้งหลาย ผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันจึงนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างไร? ชน-
    *ทั้งหลายผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า ชนเหล่านี้พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน
    เป็นสองเหล่า เป็นสองพวก เป็นสองฝ่าย ชนเหล่านี้พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก
    ไม่ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร ก็นำคำส่อเสียดเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อความวิวาทกัน
    เกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า.
    ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้าโศก ความตระหนี่
    ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด มีมาแต่สิ่งที่รัก
    ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่ และเมื่อความวิวาท
    กันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี.

    ที่มา : http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=29&A=5617&Z=6384

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.770392/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • playlist2.txt
      ขนาดไฟล์:
      219 bytes
      เปิดดู:
      208
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2009
  2. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- google_ad_section_start -->เล่มนี้เนื้อหาแต่ละหัวข้อค่อนข้างยาว ได้คุณเดรตช่วยอ่านไปแล้ว 10 หัวข้อ เหลืออีก 6 หัวข้อ
    ใครอยากช่วยอ่านสักหัวข้อ 2 ห้วข้อ แจ้งได้นะคะ<!-- google_ad_section_end -->
     
  3. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    ขออนุโมทนา น้อง Hanashi มาแบ่งไปอ่าน 3 หัวข้อ ค่ะ
     
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑</CENTER><CENTER></CENTER>
    [๔๔๑] ข. (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน
    ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด มีมาแต่อะไร
    ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร?​


    มหาอนุโมทนา สาธุการ
    คุณพี่ Kob คุณ kindred และคุณ Hanashi ค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2009
  5. Putthathida

    Putthathida เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +210
    ยินดีช่วยค่ะ ไม่ทราบว่ายังได้อยู่รึเปล่า
     
  6. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894

    ขออนุโมทนาค่ะ ส่งรายละเอียดไปให้ทางข้อความส่วนตัวแล้วค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...