ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    วันนี้มีข่าวดี ครับ
    เพื่อนธรรม แจ้งว่า หลวงปู่ท่านย้ายเข้าห้องปกติแล้ว แต่ก็ยังห้ามเยี่ยม ครับ

    อนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เช้านี้นึกถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เลยนำเวบของเครือข่ายกาญจนามาลงให้ทราบกัน เผื่อใครอยากฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์และค้นคว้าในเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับพระองค์ท่าน

    [​IMG]

    <TABLE width=610 border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD vAlign=center align=left>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=right>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width=610 border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD background=../images/template/dot.gif>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=150 bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=150 bgColor=#000000><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#c9b49a>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi][​IMG][/FONT]
    [FONT=AngsanaUPC, Thonburi][FONT=Arial, Helvetica]ENGLISH VERSION[/FONT]

    หน้าแรก <HR SIZE=1>พระราชประวัติ
    พระราชพิธีกาญจนาภิเษก
    พระราชกรณียกิจ
    โครงการพระราชดำริ
    พระราชดำรัส
    พระราชอัจฉริยภาพ

    เพลงพระราชนิพนธ์ <HR SIZE=1>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

    สยามบรมราชกุมารี
    <HR SIZE=1>หน่วยงาน
    ในเครือข่ายกาญจนาภิเษก


    หน่วยงานที่ร่วมเสนอผลงาน <HR SIZE=1>เกี่ยวกับเครือข่ายกาญจนาภิเษก <HR SIZE=1>ความรู้เพื่อคนไทย <HR SIZE=1>[FONT=Arial, Helvetica]Site map[/FONT]
    [FONT=Arial, Helvetica]Milestones[/FONT]
    [FONT=Arial, Helvetica]Feedback[/FONT]
    [/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=left>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=430>
    [FONT=AngsanaUPC, Thonburi][​IMG] [/FONT]

    [FONT=AngsanaUPC, Thonburi]<CENTER>บทเพลง<WBR>พระราชนิพนธ์[/FONT]
    [FONT=AngsanaUPC, Thonburi]ใน<WBR>พระบาทสมเด็จ<WBR>พระ<WBR>ปรมินทร<WBR>มหาภูมิพล<WBR>อดุลยเดช<WBR>มหาราช [/FONT][FONT=AngsanaUPC, Thonburi]</CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]1. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]แสงเทียน (Saeng Tien)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]2. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Candlelight Blues[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]3. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]ยามเย็น (Yarm Yen)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]4. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Love at Sundown[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]5. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]สายฝน (Sai Fon)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]6. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Falling Rain[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]7. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]ใกล้รุ่ง (Klai Roong)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]8. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Near Dawn[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]9. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]ชะตาชีวิต (Chata Cheewit)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]10. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]H.M. Blues[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]11. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]ดวงใจกับความรัก (Duang Jai Kap Kwarm Ruk)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]12. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Never Mind the Hungry Men's Blues[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]13. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]อาทิตย์อับแสง (Artit Up Saeng)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]14. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Blue Day[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]15. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]เทวาพาคู่ฝัน (Dewa Pa Ku Fun)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]16. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Dream of Love Dream of You[/FONT]</TD><TD></TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]17. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]มหาจุฬาลงกรณ์ (Maha Chulalongkorn)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]18. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]คำหวาน (Kam Warn)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]19. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Sweet Words[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]20. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]แก้วตาขวัญใจ (Kaew Ta Kwan Jai)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]21. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Lovelight in My Heart[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]22. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]พรปีใหม่ (Porn Pee Mai)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]23. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]รักคืนเรือน (Ruk Kuen Ruen)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]24. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Love over Again[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]25. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]ยามค่ำ (Yarm Kam)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]26. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Twilight[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]27. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]ยิ้มสู้ (Yim Soo)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]28. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Smiles[/FONT]</TD><TD></TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]29. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]มาร์ชธงไชยเฉลิมพล (Tong Chai Chalerm Pon)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]30. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]เมื่อโสมส่อง (Muer Soam Song)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]31. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]I Never Dream[/FONT]</TD><TD></TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]32. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]ลมหนาว (Lom Naw)[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]33. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Love in Spring[/FONT]</TD><TD></TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]34. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]ศุกร์สัญลักษณ์ (Suk Sanyaluk)[/FONT]</TD><TD></TD></TR><TR vAlign=center align=left><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]35. [/FONT]</TD><TD>[FONT=AngsanaUPC, Thonburi]Friday Night Rag[/FONT]</TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ลิขสิทธิ์ในบทเพลงทั้งหมดเป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช

    <HR width="50%" SIZE=1>สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๒ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗
    ห้ามนำข้อมูลของเครือข่ายนี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาต
    http://kanchanapisek.or.th/royal-music/index.th.html
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    "15 ปีที่ผ่านมา อะไรบ้างที่ทำให้ “ในหลวง” ทรงพระสำราญ" <!--sizec--><!--/sizec--><!--colorc--><!--/colorc-->


    "15 ปีมานี้ มีอะไร และใครบ้างที่ทำให้ท่านทรงสำราญ"

    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/RG4RKp3v5VI width=480 height=385 type=application/x-shockwave-flash wmode="transparent"></EMBED>

    แม้จะเป็นแค่เพียงคำพูด แต่เมื่อคนไทยทุกคน เมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว คงจะต้องคิดกันให้หนักว่า ตลอดเวลา 15 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคตนั้น มีใครบ้างที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานั้น ทรงมีความสุขพระทัยได้บ้าง
    "15ปีมานี่ 15ปีที่แล้วท่านทำพระหทัย เส้นเลือดมีแคลเซี่ยมเกาะ ก็เข้าไปทรงทำ บอลลูน ต้องเข้าไปเคาะเอาแคลเซี่ยมนี้ออกมา เมื่อเข้าไปเคาะเอาแคลเซี่ยมนี้ออกมา ท่านเจ็บมาก เจ็บเหมือนมีช้าง 10 เชือกเหยียบไปบนหน้าอก หลังจากนั้นปีนึง สมเด็จย่าสวรรคต สมเด็จย่าทรงดูแลพระเจ้าอยู่หัวมา เป็นทั้ง ขอพูดแบบสามัญชน เป็นทั้งพ่อ เป็นทั้งแม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวมาตั้งแต่พระชนมายุ 1 ขวบ อันนี้ความเสียหายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รุนแรงแค่ไหน ไม่ต้องไปพรรณาเลย หลังจากนั้นก็ทรงมีกระดูกทับเส้นประสาท เทคโนโลยี่อาจจะไม่ดีนัก และความเสี่ยงสูงมาก ถ้าผ่าตัด อาจจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ก็ทรงรอ จนในที่สุด ผมคิดว่าทรงทนไม่ได้แล้ว ก็เลยต้องทำ และทำแล้วถามว่า ณ.วันนี้เป็นยังไงบ้าง ดังนั้นผมถามว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้พระองค์ทรงพระสำราญ และปีที่แล้วมีอะไรเกิดขึ้น พี่สาวองค์เดียว ที่มีในครอบครัว ก็หมดไป"

    จากคำกล่าวของหม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาดอยตุงมูลนิธิโครงการแม่ฟ้าหลวง ได้ช่วยจุดประกาย ให้ค่ำคืนนี้ของเรา สำนักข่าว T-NEWS ได้ขอนำคำพูดของท่าน มาขยายความให้เป็นรูปธรรม ให้มากที่สุด เพื่อย้ำและเตือนสติคนไทยทุกคน เราเคยรู้หรือไม่ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์ท่าน ทรงต้องสะเทือนพระทัยมากน้อยแค่ไหน ตลอดช่วงระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา

    ย้อนกลับไปในปี 2538 คนไทยทั้งประเทศต้องใจหาย เมื่อสำนักพระราชวังออกแถลงการว่า สมเด็จย่า มีพระอาการพระหทัยกำเริบ ต้องเสด็จไปประทับรักษาพระองค์ ที่โรงพยาบาลศิริราช สิ่งที่คนไทยเราได้เห็นตอนนั้นก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จไปเฝ้าที่โรงพยาบาลทุกวัน ที่โรงพยาบาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะประทับข้างแท่น ทรงกุมพระหัตถ์สมเด็จแม่ และรับสั่งเล่าเรื่องต่างๆให้สมเด็จแม่ฟังโดยตลอด

    ความรัก ความผูกพันของราชนิกูลมหิดลทั้งสี่พระองค์ ยิ่งใหญ่ เกินที่จะหาคำมาพรรณาได้

    วันนี้รายการเจาะข่าวร้อนล้วงข่าวลึก ขอย้อนรำลึกถึงความผูกพันธ์ที่ยิ่งใหญ่นั้น จากภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่หาชมได้ยาก เหตุการณ์บรรจุพระบรมอัฐิของพระบรมชนก

    เมื่อสิ้นพระบรมชนก สมเด็จกรมหลวงสงขลานครินทร์ สี่ชีวิตในราชสกุลมหิดล ก็อยู่ใต้ไออุ่นและความรักของย่า สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า แต่ความสุขในช่วงเยาว์วัยในวังสระปทุมของเจ้านายเล็กๆทั้ง 3 พระองค์และแม่ สมเด็จพระบรมราชชนนี ซึ่งในขณะนั้นดำรงพระยศเป็นเพียงหม่อมสังวาลย์ ก็ดำรงอยู่ได้ไม่นาน เมื่อเหตุการณ์ปฎิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ทำให้สมเด็จพระพันวัสสา ตัดสินพระทัยส่งพระนัดดาทั้ง3 ที่พระองค์รักยิ่งกว่าดวงใจ ไปพำนักรักษาพระองค์ที่ต่างประเทศ

    เรืออเมริกันเพรสซิเด็นท์เพียซ นำ 4 ชีวิตในราชสกุลมหิดลบ่ายหน้าออกจากแผ่นดินแม่ จุดหมายคือเมืองเล็กๆในสวิสเซอร์แลนด์ เมืองโลซาน ที่นั้นเอง ที่สมเด็จพระบรมราชชนนี ต้องทรงเป็นทั้งแม่และพ่อ ให้กับพระธิดาและพระโอรสทั้ง 2 พระองค์ ในขณะที่สมเด็จพระพันวัสสาที่ยังทรงเป็นกังวล เรื่องพระนัดดาเป็นที่สุดได้ตรัสถึงสมเด็จพระบรมราชชนนี ที่ต้องทรงแบกภาระอันหนักอึ้งในขณะนั้นว่า " บุญของฉัน มาได้ลูกสะใภ้เช่นนี้ บุญของหลานที่มีแม่ที่เลิศ ไม่มีใครจะมาดูถูกได้ว่าเลวทราม ฉันพูดนี้ปลื้มใจด้วยเศร้าใจด้วยจนน้ำตาไหล "

    ถ้อยคำต่อไปนี้ย่อมสะท้อนความรู้สึกที่สมเด็จย่าทรงมีต่อสมเด็จพระพี่นาง ในหลวงรัชกาลที่ 8 และ 9 ได้เป็นอย่างดีที่สุด " ลูกของหม่อมฉัน หม่อมฉันรักอย่างดวงใจ และหม่อมฉันมีความตั้งใจอยู่เสมอ ที่จะนำลูกไปในทางที่ถูกที่ดี สำหรับจะได้ประโยชน์แก่ตัวเอง ญาติและบ้านเมือง "

    ชีวิตของ 4 พระองค์ในต่างแดนเป็นชีวิตที่เรียบง่าย ทรงเป็นอยู่อย่างสามัญชน และมีความสุข ความสะดวกสบายตามสมควร สำหรับครอบครัวเล็กๆในราชสกุล ที่ไม่ได้อยู่ในสายแห่งการสืบสันตติวงศ์ แต่เป็นอีกครั้งที่ความสุขความรื่นรมย์ ที่ทุกพระองค์ได้รับก็มิอาจอยู่ได้นาน ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสละราชสมบัติ

    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro--><!--sizeo:3--><!--/sizeo-->15 ปีที่ผ่านมา อะไรบ้างที่ทำให้ “ในหลวง” ทรงพระสำราญ 2<!--sizec--><!--/sizec--><!--colorc--><!--/colorc-->



    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/26-epikOJ54 width=480 height=385 type=application/x-shockwave-flash wmode="transparent"></EMBED>

    แรงกดดัน และความหนักพระทัยได้ถาโถมใส่สมเด็จพระบรมราชชนนีอย่างมิอาจประมาณได้ เห็นได้ชัดที่สุด จากที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า

    " ทั้งลูกและหม่อมฉันไม่มีความต้องการยศและลาภเลย แต่การต้องนันต้องรับเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็เพราะเห็นว่าเป็นหน้าที่ต่อบ้านเมือง เพราะฉะนั้นจะทำอะไรขอให้พูดกันดีดีอย่าบังคับ และตัดอิสรภาพจนเหลือเกิน การที่นันจะต้องมาเล่นละครเป็นกษัตริย์น่ะ ไม่ดีต่อเส้นประสาทเลยแต่เมื่อจำเป็นจริงๆก็ต้องทำ" แต่ความกดดันนั้นก็ไม่มีทางเทียบกับฟ้าที่ผ่าลงกลางพระทัยของทุกพระองค์ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2489

    ความสูญเสียพระทัยของพระบาทฯเมื่อพระเชษฐาของพระองค์เสด็จลับเลือนหายไปนั้น ท่านผู้หญิงเกหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ได้บันทึกเอาไว้อย่างน่าสะเทือนใจว่า

    " ด้วยพระชนมายุเพียง 18 พรรษา 6 เดือนในขณะนั้น ดูเหมือนทุกสิ่งทุกอย่างที่ล้อมรอบพระองค์จะมีความเย็นชาไปชั่วขณะ ก่อนที่ความทุกข์โทมนัสจะทับถมลงมา เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ที่พระสติยังคงรับรู้ได้ แม้ครั้งที่ทรงสูญเสียสมเด็จพระราชบิดา ก็ยังไม่ทรงซาบซึ้งถึงความทุกข์ เพราะยามนั้นทรงเยาว์พระชันษานัก แต่ในขณะที่ทรงพบเหตุการณ์เฉพาะพระพักตร์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ในความสำนึกที่ต้องสูญเสียพระมหากษัตริย์ สูญเสียพี่ที่เป็นเพื่อนเล่นด้วยกันตั้งแต่เล็กจนโต จะประทับด้วยกันไปไหนไปด้วยกัน ทุกแห่งทุกหน ประดุจลูกแฝดตลอดจนแทบจะเป็นส่วนหนึ่งของพระองค์เอง ฉะนั้นในสายตาของผู้ที่ได้พบเห็น จึงเสมือนพระองค์ถูกแยกไปแล้วครึ่งหนึ่ง อย่างไม่มีวันจะกลับคืนมาอีกแล้ว คงเหลือที่จะทรงทนได้ เมื่อทอดพระเนตร เห็นภาพสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช บรรทมนิ่งอยู่บนพระแท่น "

    เมื่อรัฐสภาเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ที่อัญเชิญเสด็จขึ้นครองราช จึงเป็นการต่อสู้ครั้งแรกและสำคัญที่สุด ที่ต้องทรงกำพระชะตาด้วยพระองค์เอง จึงทรงกล้าที่จะตัดสินพระทัยตอบรับแผ่นดินไทย จากประชากรชาวไทยในครั้งนั้น ซึ่งผิดจากการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์พระองค์ใดทั้งสิ้น ก็ว่าได้ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากความไม่คาดคิดมาก่อน อย่างทารุณ เกิดขึ้นจากความไม่ปรารถนา ฉะนั้น ในการตัดสินพระทัยในการรับพระราชภาระจากพระบรมเชษฐา จะต้องตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เอง ไม่มีใครที่จะทรงถามความเห็นได้ หันพระพักตร์ไปทางไหนก็ทรงเห็นแต่ความโศกเศร้า สมเด็จพระราชชนนีได้ทรงพระกรรแสง ไม่เสวย ไม่บรรทม แม้พระองค์เองก็แทบจะหมดพระสติ ทุกสิ่งเต็มไปด้วยความสับสน สิ่งที่ทรงรำลึกถึงอย่างเดียวในขณะนั้น ก็คือสมเด็จพระบรมเชษฐา เมื่อยามเสด็จมาเมืองไทย ทุกพระองค์ทรงตื่นเต้นรื่นเริงที่จะได้กลับบ้าน แต่เมื่อยามเสด็จกลับ อีกพระองค์หนึ่ง เสด็จจากไปแล้วอย่างไม่มีวันจะเสด็จกลับมาอีก จึงเป็นการเดินทางที่เงียบสงบ และสิ่งที่ไม่พ้นจากสายตาก็คือ ความทุกข์โทมนัสอย่างใหญ่หลวง ที่ปรากฏให้เห็นจากทุกพระองค์

    จากครอบครัวเล็กๆที่มีเพียงแม่และพี่ด้วยการมาเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอนชั่วคราว ไม่ได้เตรียมตัวไปมากกว่านั้น มีชุดผ้าสีขาว กางเกงหลวมโพรกเพรก หมวกสานใบนึง กับกล้องถ่ายรูป รู้สึกจะมีสมบัติเพียงเท่านี้ แต่ก็เต็มไปด้วยความอบอุ่น

    ก้าวแรกของการย่างพระบาท เยี่ยงพระมหากษัตริย์ของในหลวง เป็นก้าวที่สมเด็จพระบรมราชชนนี แทบสลายพระทัย เพราะความรักของแม่ที่กลัวจะสูญเสียซ้ำแล้วซ้ำเล่า

    แม่ ในโลกนี้ย่อมเข้าใจความรู้สึกของหัวใจในความเป็นแม่ด้วยกันว่า เมื่อต้องประสบกับเหตุการณ์อย่างที่เกิดขึ้น จะเป็นความทุกข์ที่แสนสาหัสเพียงใด พระโอรสที่ยังเหลือ จึงเป็นความหวังที่จะต้องทรงปกป้องเอาไว้ ไม่ยอมให้สูญเสียไปอีก เพียงขอมีความสุขที่เหลืออยู่บ้าง ตามประสาแม่ลูกเท่านั้น ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ด้วยพระพักตร์ที่เรียบเฉย ไม่มีใครรู้ ว่าส่วนลึกของพระราชหฤทัยนั้นจะทรงเป็นความทุกข์โทมนัสเพียงใด พระองค์ทรงเก็บความรู้สึกส่วนพระองค์ไว้ในส่วนลึก และทรงทำหน้าที่พระมหากษัตริย์ โดยไม่ทรงเอาพระอารมณ์มาปะปน ระวังพระองค์ให้อยุ่ในกรอบของความยุติธรรม ศีลธรรม มโนธรรม และครองพระธรรม ความเปลี่ยนแปลงแห่งพระชะตา ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีการรู้ล่วงหน้า จากพระอนุชาที่ทรงร่าเริงแจ่มใส แต่หลังจากวันแห่งวิปโยคผ่านไป ไม่มีใครจะได้พบรอยแย้มพระสรวลอย่างที่เคยเห็นแม้แต่น้อยอีกเลย

    พระบาทพระเจ้าอยู่หัวในพระชนมายุ 18 พรรษา ไม่ได้มีวัยแห่งความสนุก ความเป็นอิสระที่วัยรุ่นทั่วไปมี ทรงต้องต่อสู้กับความทุกข์ เรียกพระสติ ความอดทน และเข้มแข็งให้กลับคืนสู่พระองค์เพราะขณะนั้นทรงเป็นหัวหน้าครอบครัวที่มีแม่และพี่ ที่จะทรงคุ้มครองให้ปลอดภัย

    นับจากเวลานั้นจนถึงปี 2538 ตลอด 50 ปี ไม่ว่าพระองค์จะทรงงานหนักมากเพียงใด ภาพความรักความผูกพันระหว่างสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จแม่ สมเด็จพระบรมราชชนนี ก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ จวบจนกระทั่งถึงวินาทีสุดท้ายที่ทรงอยู่ด้วยกัน

    สมเด็จย่าท่านเคยรับสั่งนานมาแล้ว อย่างน้อยสิบปี รับสั่งว่า " แม่นี่นะ เกิดมานานแล้วก็แก่มากแล้ว ตอนนั้นแก่มากคือแปดสิบกว่าก็นับว่าแก่ แต่ทูลว่าแก่อย่างนี้ดี ยิ่งแก่ยิ่งดี เพราะว่าลูกหลานนี่นะ ถ้าพ่อหรือแม่แก่ ก็เป็นกำลังใจสำหรับลูกหลานว่าเค้ามีแม่ที่อายุยืน เราก็คงอายุยืนเหมือนกัน มีแม่ที่แข็งแรง เราก็คงแข็งแรงเหมือนกันก็เลยทูลแม่ว่า แม่ต้องรักษาตัว ทูลว่าแม่ต้องเสวยเพราะตอนนั้นเสวยนิดเดียวก็บอกว่าอิ่มแล้ว ท่านก็ผอมลงทุกที หมดแรงไม่หิว แล้วก็รับสั่งว่าแก่แล้วจะอยู่ทำไม ก็ทูลว่า อยู่สิ เป็นประโยชน์เป็นกำลังใจให้กับลูกหลาน "

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระพี่นาง ทรงจับชีพจรของสมเด็จย่าตลอดเวลา เพราะชีพจรค่อยๆอ่อนลง ขณะที่พระชีพจรกำลังจะหยุดเต้น พอสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเสด็จเข้าไปยังห้องประทับ พระชีพจรกลับเต้นแรงขึ้นเหมือนทรงทราบว่าหลานรักเสด็จมา

    เมื่อเวลา 21 นาฬิกา 17 นาที จึงสวรรคต ด้วยพระอาการสงบ ทรงหมดลมหายใจ ขณะที่พระกรของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงจับอยู่ตลอดเวลา

    " ไปเฝ้าที่โรงพยาบาลเกือบทุกวัน และพระอาการไม่ค่อยดีนัก ในที่สุดพระอาการไม่ดีขึ้น หมดหนทางที่จะถวายเยียวยา หมอเราทำเต็มที่ก็เยียวยาอะไรไม่ได้ จนสวรรคต แต่ว่าเมื่อสวรรคตก็ดีใจอยู่อย่างว่าลูกของท่านทั้งสองก็อยู่ด้วย จับพระหัตถ์อยู่ แล้วหลานที่ท่านรักที่สุดเพราะว่าท่านเลี้ยงมาและหลานนั้นก็เลี้ยงท่าน ก็มาจับพระหัตถ์ด้วย ก็สามคนท่านก็สวรรคตอย่างสงบ "


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro--><!--sizeo:3--><!--/sizeo-->15 ปีที่ผ่านมา อะไรบ้างที่ทำให้ “ในหลวง” ทรงพระสำราญ 3<!--sizec--><!--/sizec--><!--colorc--><!--/colorc-->



    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/kg8HMPojBp0 width=480 height=385 type=application/x-shockwave-flash wmode="transparent"></EMBED>

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ต้องทนทุกข์พระวรกายจากพระอาการที่พระปิฐิกัณฐกัฐิ หรือกระดูกสันหลังมานานนับสิบปี
    ในปี 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระอาการก้าวพระบาทขวาไม่ถนัด คณะแพทย์ได้ถวายการตรวจพระวรกายพบว่า มีการกดทับเล็กน้อยของเส้นประสาท ที่แยกออกจากไขสันหลังระดับบั้นพระองค์

    ปี 2546 แพทย์พบว่าช่องทางเดินของเส้นประสาทไขสันหลัง ระหว่างปล้องของกระดูกสันหลังแคบ

    ปี 2548 แพทย์ได้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยวิธีกายภาพบำบัดจนถึงปี 2549

    หลังจากงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสะดุดล้มลงขณะออกพระวรกาย หน้าตำหนักจิตรลดา แต่ทรงลุกยืนขึ้นด้วยพระองค์เอง ต่อมาคณะแพทย์จึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ถวายการผ่าตัดขยายช่องทางเดินประสาท ของพระปิฐิกัณฐกัฐิ ระดับบั้นพระองค์ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2549

    จนถึงเดือน ตุลาคม 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องเสด็จเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลศิริราชด้วยอาการอ่อนพระวรกายด้านขวา แพทย์ตรวจพบผิวพระสมองด้านซ้ายขาดเลือด แต่เป็นปลายปีนั่นเอง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องสะเทือนพระทัยครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

    พี่สาวเคยบอกว่าถึงเวลาอายุ 80 ไม่ไหว ท่านอายุ 84 ท่านไม่ค่อยสบายก็เลยต้องพูดถึงท่าน ขอให้ท่านสบายและมีความสำเร็จในการรักษาตัว เดี๋ยวนี้มีเค้าเป็นผู้ใหญ่อยู่พระองค์เดียวคือพี่สาว คนอื่นไม่เป็นผู้ใหญ่แล้ว

    ตลอดเวลาที่สมเด็จพระพี่นาง เสด็จเข้ารับการรักษาพระองค์ สิ่งที่เราเห็นมิได้ขาด คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมแทบทุกวัน ไม่ต่างจากเมื่อครั้ง ที่พระองค์เสด็จเยี่ยมสมเด็จย่า จนถึงวันที่ 2 มกราคม 2551 ที่สายใยสุดท้ายของสี่พระองค์ในราชสกุลมหิดล ก็ได้หลุดลอยไปจากพระองค์

    63 ปีที่ในหลวงทรงงานอย่างหนักเพื่อคนไทย ไม่เป็นที่กังขาเลยว่า ตลอดระยะเวลานั้น สิ่งที่ทำให้ในหลวงทรงแย้มพระสรวลได้ก็คือ รอยยิ้มพสกนิกรในแผ่นดินของพระองค์นั่นเอง

    " โครงการพระราชดำริ ดำริเพื่อใคร ไม่ใช่สมเด็จพระนางเจ้า ไม่ใช่สมเด็จพระบรม สมเด็จพระเทพ หรือเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์อย่างนี้เป็นต้น ไม่ใช่ แต่เพื่อประชาชน ถึงเวลาที่เราต้องลุกขึ้นมา คิดถึงตัวเรา ว่าเราจะทำอะไร ถวายท่านได้บ้าง "

    ในค่ำคืนนี้เราสำนักข่างทีนิวส์ขอเป็นสื่อกลางบอกกล่าวถึงพี่น้องคนไทยทุกคนว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อเฉลิมฉลองวันมหามงคลวันที่ 9 เดือน 9 เวลา 9 นาฬิกา 9 นาที ขอเราทั้งหลายได้โปรดร่วมกันถวายความสุขตอบแทนแด่พระองค์บ้างด้วยสิ่งง่ายๆก็คือ ช่วยกันสร้างรอยยิ้มให้กลับคืนสู่สังคมไทยด้วยการก้าวข้ามหัวใจที่มีอคติต่อกัน และนั่นคงเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ง่ายๆ เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่เคารพสักการะยิ่งของพวกเราทุกคน


    บทความจาก
    http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?showtopic=2900]15
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2009
  4. โอลีฟ

    โอลีฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +257
    ขอร่วมทำบุญกับทุนนิธิ จำนวน 200 บาท

    ยอดโอน 200.59 บาท เงินจะเข้าบัญชีทุนนิธิวันที่ 29 กันยายน นี้ ช่วงเย็นค่ะ
    รายชื่อขออนุญาตแจ้งทาง pm กับพี่โสระค่ะ

    ขออนุโมทนากับทุกท่าน และคณะกรรมการค่ะ
     
  5. ก้าวพ้น

    ก้าวพ้น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2008
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +390
    ขอร่วมทำบุญ400.02บาทจะโอนจาก ธ.ไทยพานิชย์ประมาณ19.10ของวันที่25ก.ย.นี้ครับ ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ อิทังโน ยาตินัง โหนตุ ด้วยอำนาจบุญกุศลทั้งหลายขอเราข้ามพ้นสังสารวัฒนี้ด้วย สาธุ ขอเกาะบุญพี่ๆด้วยคน
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    <div class="postbody">เมื่อพระอรหันต์ยกชาติ
    โดย...รณธรรม ธาราพันธุ์


    สถานภาพ ของประเทศไทยในทุกวันนี้เป็นที่รู้กันทั่วว่าย่ำแย่ถึงขีด ใช่จะวุ่นวายเพียงปุถุชนคนหาเงิน แม้พระสงฆ์องค์เจ้าหลายต่อหลายรูปก็ร้อนใจทนดูอยู่เฉยไม่ได้ ต้องขวนขวายหาทางช่วยเหลือประเทศชาติ ไม่ได้ทางตรงก็ทางอ้อม

    ท่านคิดว่าดีกว่าไม่ทำ<!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> <!--คำอธิบาย: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด
    --> หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด

    [​IMG]
    <!-- 01-11.jpg [ 31.21 KiB | เปิดดู 350 ครั้ง ] -->



    หลวง ตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ก็เป็นพระเถระอีกรูปหนึ่งซึ่งไม่อาจดูดาย นั่งเท้าคางมองชาติแผ่นดินเกิดของท่านและลูกหลานหลายล้านชีวิตพินาศล่มจมลง ต่อหน้าต่อตา จึงยอมแบกภาระที่เกือบจะปลงวางในอีกไม่กี่วันข้างหน้ามาบอกบุญพี่น้องชาวไทย ให้ตะเกียกตะกายแหวกว่ายทั้งที่บางทีจะว่ายไม่เป็น

    ก็ดีกว่างอมืองอเท้าให้ตายเปล่า

    สำหรับ บางคนที่ไม่รู้จักความเป็นหลวงตามหาบัวถ่องแท้ อาจคลางแคลงใจ พระอะไรมานั่งบอกบุญปาว ๆ อยากดังงั้นหรือ มีอะไรกับรัฐบาลงั้นหรือ และคงอีกหลาย ‘หรือ’ ถ้ายังไม่รู้จักท่าน

    วันนี้ผมจะเล่า

    หลวงตามหาบัว เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นมหาบุพพาจารย์ในพระฝ่ายอรัญวาสีและด้วยการประกอบความเพียรชนิด ‘ธรรมนั้นอยู่ฟากตาย’ ของหลวงตา ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นให้อยู่รับใช้ใกล้ชิดถ่าย ทอดอรรถธรรมแก่ท่านอย่างถึงพริกถึงขิงด้วยเวลา 8 ปีเต็ม

    ก่อนที่หลวงปู่มั่นจะเข้าสู่โลกที่ปุถุชนไปไม่ถึง ได้ฝากฝังมรดกธรรมชั้นครูไว้สองท่าน หนึ่งนั้นถือเป็น ‘ธรรมทายาท’ เปรียบประดุจพี่ชายใหญ่ในวงศ์กัมมัฎฐาน คือ พระราชนิโรธรังสี คัมภีร์ปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี) อีกหนึ่งนั้นเป็น ‘เนติ’ แบบอย่างและที่พึ่งอันควรถือตามคือ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (บัว ญาณสัมปันโน)

    สองท่านนี้ที่หลวงปู่มั่นออกปากอย่างมีประจักษ์พยาน

    หลวงตามหาบัว ท่านเริ่มเรียกองค์ท่านเองว่า ‘หลวงตา’ มาแต่ไหนผมจำไม่ถนัดทราบเพียงว่าท่านปรารถถึงคำ ‘หลวงตา’ ใช้เรียกพระผู้เฒ่าธรรมดา หามีอันใดวิเศษกว่าใครไม่ สานุศิษย์ผู้เลื่อมใสจึงขอโอกาสเรียกตามคำท่านโดยศรัทธา

    ผู้เข้าถึง ความถ่อมตัวถ่อมใจเพียงนี้ย่อมมีคุณธรรมอยู่ภายในอย่างหนักแน่นแน่แท้ ปรารถนาดำเนินชีวิตไปอย่าง ‘คนธรรมดา’ ไม่จำเป็นต้องวิเศษวิโส เด่นดัง เสริมบารมีอะไรแก่ตน

    เพราะบำเพ็ญบารมีแท้จริงเต็มเปี่ยม

    หลวงตากรุณาเล่าให้ฟังถึงวัน ‘สิ้นโลก เหลือธรรม’ ว่าเกิดขึ้นที่วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปี พ.ศ.2493 วันนั้นกิเลสชั้นละเอียดที่เรียกตามศัพท์ว่า ‘อวิชชา’ อันเป็นจอมกษัตริย์วัฎฎจิตได้พังทลายอย่างราบคาบลงจากหัวใจของท่านโดยมหาสติมหาปัญญา

    เกิดความบริสุทธิ์อย่างแท้จริงขึ้นในดวงจิตดวงเดิม หากจะว่าเคยสกปรกตรงนั้น ครั้นชะล้างเข้าไปก็สะอาดขึ้นมา ณ ที่นั้นก็ไม่ผิด

    นับแต่วันเพ็ญเดือน 6 ที่กิเลสตัณหาม้วนเสื่อลงจากหัวใจดวงวิเศษ ทำให้หลวงตามหาบัวครองธรรมชนิด ‘นัตถิทานิปุนัพพโว...ภพใหม่ต่อไปอีก ไม่มีแล้วสำหรับเรา’ มาตลอด และยังมีกรุณาธิคุณอบรมพร่ำสอนมหาชนผู้เลื่อมใสทั้งพระ-เณร อุบาสก อุบาสิกา ให้ได้ดีอย่างท่านมากมาย

    ผู้เคยกราบนมัสการหลวงตาจะไม่แปลกใจเลยหากได้ยิน พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) กล่าวว่า “ใครอยากดูหลวงปู่มั่น ให้ไปดูหลวงปู่มหาบัว” ด้วยการถอดแบบข้อวัตรของหลวงปู่มั่นชนิดทุกกระเบียด ทำให้หลวงตาเป็นที่ชื่นชมในหมู่นักปฏิบัติธรรมที่ตรงต่อธรรมจริง ๆ เป็นที่เลื่อมใสฝากเป็นฝากตาย ฝากชีวิตการบำเพ็ญภาวนาไว้กับธรรมะทุกคำของท่าน แล้วน้อมนำมาปฏิบัติตามได้อย่างลงใจ ไม่หวาดระแวงว่าจะเป็นธรรมลวงโลก

    วัด ป่าบ้านตาด ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา ไม่มีโบสถ์ปูนใหญ่โตหรูหรา ไม่มีกุฏิปูนงามสง่า ไม่มีอะไร ๆ ที่โลกอยากมี ที่นี้คงสภาพแห่งธรรมวิถีที่พระพุทธเจ้าพาดำเนินมาอย่างเรียบง่าย ปราศจากความโอ่อ่า ฟุ่มเฟือย แต่บริบูรณ์ด้วยคุณธรรมแลศักดิ์ศรีแห่งความเป็นพุทธบุตรผู้ขึ้นตรงต่อพระ พุทธเจ้าองค์เดียวโดยแท้

    คนรู้จักผมหลายคยบ่นว่า ถ้าท่านเป็นพระอรหันต์จริง ไม่น่าฉันหมาก บางคนเลยถึงหลวงปู่แหวนว่าเห็นจะไม่ใช่เพราะสูบบุหรี่

    สงสัย เหลือเกินว่าคุณธรรมของพระมหาเถระสองรูปที่บำเพ็ญเกือบตายนี้จะแพ้แค่หมาก ไม่กี่คำ บุหรี่ไม่กี่มวน และเราผู้สงสัย...จนเชื่อตัวเองเลยเถิดไปตัดสินคุณธรรมของท่านเหล่านั้นเรา บำเพ็ญอะไรมาบ้าง ชื่อว่า ‘สมาธิธรรม’ คือความสงบใจขั้นพื้น ๆ เพียงนี้เคยสัมผัสไหม หากยัง..ก็น่าจะอยู่แบบคน ‘ธรรมดา’ ไปก่อนดีกว่า

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เคยปรารภถึงเรื่องนี้กับพระผู้ใหญ่หลายรูปในวงศ์กัมมัฎฐานว่า

    “หมากและบุหรี่ ไม่ใช่มัคคาวรณ์ และสัคคาวรณ์”
    แปลว่า หมากและบุหรี่ ไม่ใช่เครื่องกั้นสวรรค์และนิพพาน

    อย่าสงสัยถ้ายังไม่เป็น

    หลวง ปู่ขาว อนาลโย เคยเตือนศิษย์ถึงการปรามาสพระอรหันต์ว่า “ต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก 500 ชาติ แล้วมาเป็นสัตว์เดียรฉานอีก 500 ชาติ” ตลอด 1,000 ชาตินี่....

    เอาดีไม่ได้เลย!

    หลวง ตามหาบัว เป็นพระมหาเถระอีกรูปหนึ่งที่ผมเชื่อมั่นอย่างแน่นแฟ้นสนิทใจว่าท่านเป็นพระ ที่ไม่กลับมาเกิดอีกร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือจะมีกี่เปอร์เซ็นต์ก็ให้เต็มตามเปอร์เซ็นต์นั้น ๆ ไปอย่างไม่สะดุดใจ ความเห็นนี้ถูกรับรองโดยพระมหาเถระหลายสิบรูป โดยเฉพาะหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เมื่อผมกราบเรียนถามว่า ในชีวิตหลวงพ่อนี้ มั่นใจคุณธรรมครูบาอาจารย์องค์ไหนมากที่สุด ท่านตอบทันทีว่า

    “มีอยู่สามองค์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี และ หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน”

    ทั้ง นี้ทั้งนั้นมิได้หมายความว่าครูอาจารย์องค์อื่นจะไม่เป็น แต่หมายถึงพระที่หลวงพ่อพุธเคยสัมผัส เคยคลุกคลีใกล้ชิด ท่านจึงกล้าออกปากได้อย่างสนิทใจ

    โดยนิสัยของหลวงตาไม่เคยปรากฏมี สิ่งนอกศาสนาเข้ามาข้องแวะ อันใดที่ขัดต่อการประพฤติธรรมของพระ เณร และสาธุชนทั้งหลาย เป็นอันว่าไม่ได้เข้ามาอยู่ในวัดป่าบ้านตาด อย่าว่าแต่การสร้างและเสกวัตถุมงคลใด ๆ เลย แม้แต่การสร้างโบสถ์ วิหาร ลานเจดีย์ ท่านก็ไม่ปรารถนา

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระ มหาจักรพรรดิในหัวใจคนไทยนี่แหละ เคยปรารภกับหลวงตาถึงการสร้างโบสถ์วัดป่าบ้านตาด ซึ่งพระองค์จะทรงรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยลำพังพระองค์เดียว

    หลวงตาปฏิเสธ

    ทรง ออกพระโอษฐ์ถึง 3 ครั้ง 3 หน หลวงตาปฏิเสธและถวายพระพรถึงเหตุผลว่าหากมีการสร้างโบสถ์ ประตูวัดที่เคยปิดกั้นสัตว์ใหญ่ อาทิ สุนัขเข้ามากัดสัตว์อ่อนแอเช่น กระแต กระรอก กระต่าย ไก่ป่าในวัด ก็ต้องเปิดตลอด รถบรรทุกวิ่งเข้าวิ่งออกทั้งวัน คนงานชาย-หญิงเต็มวัด และโบสถ์ 1 หลังใช่จะสร้างเดือนสองเดือนเสร็จ ใช้เวลาเป็นปี คนงานชายหญิงมาอยู่กันนาน ๆ ก็เกิดครอบครัวขึ้นในวัด ไม่เหมาะสมหลายอย่าง

    โดยเฉพาะความสงบ ตอกนั่น ตีนี่ ดังสนั่น ขัดต่อการปฏิบัติธรรมภาวนา เฉพาะศาลาที่ใช้ทำสังฆกรรมอยู่นี่ก็พอเป็นไปไม่ติดขัดอะไรอยู่แล้ว

    เมื่อ หลวงตาถวายพระพรตอบไปดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงรับฟัง และไม่ตรัสขอซ้ำอีกเลย เห็นได้ถึงความทรงพระปรีชาญาณยิ่งที่เข้าพระทัยถึงความจำเป็นของวิถีชีวิตใน วัดป่าบ้านตาดอย่างแท้จริง

    ผมซึ้งใจในหลวงตานัก ถ้าเป็นพระที่ชอบหน้าชอบตาคงดีใจหลายที่ในหลวงขอสร้าง มากต่อมากวัดที่ผมเห็นสร้างโบสถ์ใหญ่โต แต่ไม่มีพระ-เณรเข้าไปทำวัตรสวดมนต์ มีเพียงนกพิราบกับจิ้งจกพอได้อาศัยแพร่พันธุ์และขับถ่ายให้เป็นบุญกับคน สร้างแค่นั้นเอง

    ดังนั้น ทุกสิ่งทุกประการในวัดป่าบ้านตาด จึงเกิดขึ้นตามลำดับความจำเป็น ตามเหตุอันสมควร หาได้ตามใจกิเลสตัณหาใครไม่ แม้กฐินผ้าป่าทุก ๆ ปี ทางวัดก็ไม่เคยบอกบุญใคร ไม่เคยมีซอง ไม่มีคำประกาศเชิญชวนจากหลวงตาและตัวแทนของวัดแม้สักครั้ง

    คงมีเพียง ผู้เลื่อมใสขอจองกฐิน-ผ้าป่า และเลยไปชวนพรรคพวกเพื่อนฝูงมาสร้างมหาทานบารมี แต่คงยึดหลักปฏิบัติที่ห้ามแจกซองบอกบุญประเภทโฆษณาประชาสัมพันธ์ และห้ามมีวัตถุมงคลใด ๆ ตอบแทน

    เป็นทานที่เกิดจากใจดวงศรัทธาแท้ ไม่ปรากฏการเคลือบแฝงทำทานเพราะประสงค์ ‘เพิ่มหน้า’ หรือหาของขลัง จึงเป็นทานชนิดที่พระพุทธเจ้าวางแบบไว้จริง

    อานิสงส์ประมาณไม่ได้

    แนว ทางดังกล่าวทั้งหมดนั้น หลวงตาพาดำเนินมาเป็นระยะเวลากว่า 49 ปี ท่านไม่เคยล่วงเกินและไม่อนุญาตให้สิทธิพิเศษใครล่วงเกิน แต่วันนี้ท่านยอมหักปฏิปทาออกหน้ามาบอกบุญคนไทยทั้งชาติ ให้เร่งรีบขวนขวายยกชาติไทยขึ้นก่อนจะตกต่ำลงเป็นข้าเป็นบ่าวต่างชาติ

    ผมจะเล่าที่มาให้ฟัง

    เช้า วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 หลวงตาปรารภหลังฉันถึงการละสังขารของท่านว่าจะมีขึ้นในต้นฝนปีหน้า แต่เมื่อคืนนี้ท่านได้เข้าที่ภาวนาหันกลับมาดูโลกเป็นครั้งสุดท้าย โดยกำหนดจิตออกจากเมืองไทยไปดูทั่วกันหมด ลงทุกชาติทุกแห่ง จิตจับลงที่ใดขณะนั้นจะรู้ความเป็นไปของสถานที่นั้นว่าเป็นมาอย่างไร ต่อไปจะเป็นอย่างไร รู้หมดในขณะจิตเดียว

    ท่านพิจารณาถึงความเป็นไป ของ "โลกสงสาร" จนรอบแล้วกลับมายังประเทศไทย ท่านเล่าว่า แทนที่จะเห็นประเทศชาติเป็นปกติธรรมดา กลับแลเห็นเป็นร่างแหสีดำขนาดใหญ่ครอบประเทศไทยไว้อย่างมิดชิด ท่านแปลกใจมากว่ามันเป็นอะไร จึงกำหนดพิจารณาจนรู้ชัดถึงที่มาของนิมิตที่ท่านเห็น

    จึงได้เข้าที่ภาวนาดูวิธีแก้ไขและขอนิมิตคนที่จะแก้ไขสถานการณ์เลวร้ายอันนี้ได้ ท่านพิจารณาหาคนคนนั้นอยู่ถึง 3 วัน

    ไม่ปรากฏใครเลย

    ท่าน จึงคิดว่าหากท่านเองก็วางเฉยไม่ลงมือทำแล้วชาติบ้านเมืองเห็นทีจะไม่รอด จึงปรารภกับคณะศรัทธาทั้งปวงในตอนเช้าว่า ขณะนี้ท่านมีความคิดที่จะทำอะไรสักอย่าง แน่นอนว่าพวกปากหอยปากปูจะต้องออกมาค้าน แต่เราไม่ถือสา ขออย่างเดียวคนที่นี่ (คณะศิษย์) อย่าค้านก็แล้วกันลงถ้าคนกันเองค้านล่ะก็จบ

    เมื่อท่านหยุดพูด คนทั้งหลายทั้งปวงที่ยังไม่รู้ว่าเรื่องอะไร ก็พากันสาธุการดังลั่น ด้วยเชื่อในคุณธรรม สัมมาปฏิบัติของหลวงตาว่าพาทำอันใดต้องเป็นสิ่งที่ชอบควร ท่านจึงบอกว่าอีกสองสามวันท่านจะลงกรุงเทพฯ เพื่อสอบถามเรื่องจากผู้ใหญ่ในบ้านเมือง

    อีกสามวัน ท่านลงมาสวนแสงธรรมที่พุทธมณฑล ให้ศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ไปเชิญผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อประเทศชาติมาถาม ท่านเล่าไปซักไปถึงสถานการณ์ของชาติถูกต้องหมดทุกประการ ทั้งนี้ตอนนั้นเรื่องเศรษฐกิจเลวร้ายยังไม่ปรากฏกว้างขวาง คงรู้กันเพียงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบชั้นสูงเท่านั้น เป็นเหตุให้คนเหล่านั้นเกรงบารมีหลวงตานักหนา

    เมื่อเหตุการณ์ถูกต้อง ตามความจริง ท่านจึงกลับวัดป่าบ้านตาดและเริ่มจัดโครงการช่วยชาติขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ.2541 โดยมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เป็นองค์ประธานสนับสนุนฝ่ายคฤหัสถ์ มีสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เป็นองค์ประธานสนับสนุนฝ่ายบรรพชิต
    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> <!--คำอธิบาย: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์
    นมัสการพระราชญาณวิสุทธิโสภณ ณ สวนแสงธรรม พุทธมณฑล ทรงสดับพระธรรมเทศนา
    และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสมทบในโครงการช่วยชาติ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ.2541
    --> พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์
    นมัสการพระราชญาณวิสุทธิโสภณ ณ สวนแสงธรรม พุทธมณฑล ทรงสดับพระธรรมเทศนา
    และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสมทบในโครงการช่วยชาติ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ.2541

    [​IMG]
    <!-- 01.jpg [ 38.44 KiB | เปิดดู 352 ครั้ง ] -->



    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ก็ ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อร่วมสมทบในโครงการช่วยชาติด้วย ขนาดพระประมุขของชาติยังมองเห็นความสำคัญอย่างยิ่งของการนี้ แล้วเราล่ะ?

    ลองคิดดู

    บาง คนบอกว่าหลวงตาทำถูกแล้ว น่าเห็นใจที่ท่านต้องมาเหนื่อยเพราะคนโกงบ้านกินเมืองไม่กี่คน แต่เห็นว่าหลวงตาจะหนื่อยเปล่า เพราะหนี้สินที่มีมากมายเหลือเกิน เงินที่หาได้มันช่างเล็กน้อยประมาณว่าเป็นหนี้เจ็ดล้านแต่ส่งหนี้เจ็ดร้อย

    คิดถูกเหมือนกัน แต่ไม่ทั้งหมด

    ถ้าผมเป็นหนี้คุณ 5 หมื่น แล้วผมส่งคืนเดือนละ 500 กับเงียบไปเฉย ๆ ปราศจากการขวนขวายใด ๆ

    แบบไหนดีกว่ากัน!

    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> [​IMG]
    <!-- 01.jpg [ 39.62 KiB | เปิดดู 348 ครั้ง ] -->


    สิ่ง ที่หลวงตาพาพวกเราทำอยู่นั้น แน่นอนว่ายากจะหาใช้หนี้เขาได้ในเพียงกระพริบตา แต่จะให้เป็นหนี้แล้วอยู่เฉย นอนงอมืองอเท้ารอเขาเอาเข้าตะราง คงไม่ใช่คนผู้ฉลาดคิด นัยแห่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ งานอันยิ่งใหญ่นี้จะเป็นดุจพลังสำคัญที่ขับเคลื่อนสามัญสำนึกที่ดีของคนไทย ให้ไหวตัวออกมา ให้รู้ซึ้งว่าการเป็นหนี้เป็นสินใครนั้นไม่ใช่เรื่องดี เป็นแล้วไม่ใช้คืน..ไม่รู้สึกที่จะดิ้นรนรับผิดชอบยิ่งแย่ใหญ่

    หากจะ ว่าหนี้นี้เราไม่ได้เป็นผู้ก่อ ก็ถูกอีก แต่เมื่อเราอยู่ในเมืองไทยที่เปรียบเสมือนเรือใหญ่บรรทุกคนนับพัน และวันนี้เรือปรากฏรูรั่วนับไม่ถ้วน ถ้าต่างคนต่างเฉย คิดว่าธุระไม่ใช่ ข้าไม่ได้เป็นคนทำรั่ว ปล่อยให้เรือล่มจมลง

    ใครเป็นคนตาย!!!

    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> [​IMG]
    <!-- 07.jpg [ 31.19 KiB | เปิดดู 347 ครั้ง ] -->


    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> [​IMG]
    <!-- 05.jpg [ 33.47 KiB | เปิดดู 346 ครั้ง ] -->



    ขอ เรียนให้ทราบว่าโครงการช่วยชาติของหลวงตามหาบัวนั้น อาจไม่ใช่ที่สุดของการใช้หนี้ต่างประเทศให้สิ้นไป แต่แน่นอนว่าจะเป็นชนวนสำคัญที่ปลุกเร้าให้ผู้มีตาปัญญาหลายฝ่ายตื่นตัว ประสานงาน ดำเนินการรวมหัวใจคนไทย เดินหน้าใช้หนี้ต่อไป แม้วันข้างหน้าจะไม่มีหลวงตาเป็นผู้นำที่อุ่นใจให้กับเรา
    <!--แนบไฟล์:
    --> [​IMG]
    <!-- 03.jpg [ 51.1 KiB | เปิดดู 346 ครั้ง ] -->


    หาก ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันจริง ทำไมจะใช้หนี้ไม่หมด คิดดูว่าคนละ 1 บาท 60 ล้านคนก็ 60 ล้านบาทต่อวัน เก็บวันละบาท 30 วันจะได้เท่าไหร่ ทยอยส่งไป ทำไปสุดท้ายก็หมดเอง แต่นี่ไม่เป็นอย่างนั้น ต่างคนต่างว่าไม่น่าจะดี ไม่น่าได้ผล เลยไม่ทำ มันเลยไม่ได้ผลจริง ๆ

    คนไทยสร้างหนี้ให้ตัวเอง ได้หลายทาง เครื่องสำอางต่าง ๆ เครื่องใช้ไม้สอย กระเป๋าถือ เสื้อกางเกง ยี่ห้อดัง รวมทั้งเพลงต่างประเทศ หนังต่างประเทศที่เข้าฉาย ล้วนเป็นเงินไหลออกซึ่งมีตัวเลขที่น่าตกใจ คงไม่สามารถขอให้เลิกละได้ นอกจากจะขอให้เพลา ๆ ลง

    ท่านที่ รักชาติ รักญาติพี่น้อง ไม่อยากให้ตกเป็นเมืองขึ้นของใครเพราะหนี้สิน โปรดช่วยกันสละทรัพย์ตามกำลังที่มีไปยังสถานที่ที่ลงยังหนังสือ ผมขออนุโมทนาล่วงหน้าก่อนเลย

    ไม่มีบุญใดจะยิ่งใหญ่ไปกว่าบุญยกชาติหรอกครับ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตเรารวมอยู่ใน “ชาติ” นี้หมด



    บทความนี้ได้ตีพิมพ์เมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541

    http://www.navaraht.com/forum/forum15/topic1454.html



     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ค่ำคืนวันศุกร์แก่ๆ วันนี้ ขอนำเสนอพระเครื่องของพระอริยเจ้ารูปหนึ่ง ซึ่งดูเหมือนว่า จะมีคนรู้จักท่านน้อยไปนิดนึง อาจจะเป็นเพราะว่าท่านไม่ค่อยให้ได้ลูกศิษย์ลูกหาสร้างพระเครื่องของท่านมากนัก แต่หากในท้องถิ่น จ.อุดร นั้น ท่านนับว่าเป็นผู้อาวุโสมากรูปหนึ่งเช่น ลองมาดูเรื่องราวและพระเครื่องของท่านกันดีกว่าครับ...


    [​IMG]
    <!-- 125.jpg [ 65.5 KiB | เปิดดู 770 ครั้ง ] -->


    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

    อภิญญาของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    โดยอาจารย์วีระ น้ำฟ้า


    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านเป็นศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    เป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอน
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้ชาวบ้านในแถบจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ละเลิกนับถือผี หันมาเคารพในพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นทางอันเกษมและเป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์ได้จริง
    เป็นที่เลื่องลือในหมู่ศิษย์ของท่านว่า ขณะหลวงปู่อ่อนอบรมธรรมแก่พระภิกษุ ญาติโยม
    ท่านจะนั่งหลับตาเทศน์ โดยมิได้ลืมตาเลย
    ธรรมแท้ที่ปรากฏจากใจอันบริสุทธิ์ของท่านจะไหลดุจดั่งน้ำเยือกเย็นและต่อเนื่อง
    บางครั้งบางคราเป็นเวลากว่า 6 ชั่วโมง
    เล่ากันว่าพอท่านลืมตามาอีกครั้ง พบว่ามีสุนัขเพียงตัวเดียวที่นอนอยู่ใต้แคร่ที่ท่านนั่งแสดงธรรม

    ท่านมีความเด็ดเดียวและจริงจังในการปฎิบัติภาวนามาก
    พระเณรต่างกล่าวกันว่าท่านมีอำนาจมาก
    แค่มองด้วยสายตาปราดเดียวก็ยอมสยบราบให้กับท่านแล้ว
    อำนาจจิตของท่านเป็นที่กล่าวขานมากรูปหนึ่ง

    ในด้านการสร้างรูปเหรียญต่างๆ ครูบาอาจารย์ในสายนี้น้อยองค์ที่ท่านจะยอมให้ศิษย์สร้างวัตถุมงคล
    ซึ่งในบางครั้งอาจกล่าวได้ว่าที่ยอมให้เป็นเพราะลูกตื้อของศิษย์จนใจอ่อนแล้วก็อ่อนใจ
    นานๆครั้งจึงจะได้ยินว่า มีงานพุทธาภิเษกเหรียญหรือรูปเหมือนหลวงปู่องค์นั้นหรือท่านพระอาจารย์องค์นี้
    เพราะโดยปกติเมื่อศิษย์สร้างมาถวายท่าน ท่านมักจะอธิษฐานให้
    เสร็จแล้วท่านก็หยิบแจกที่เหลือก็รอแจกในวันต่อๆไป

    ศิษย์ในสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตที่มีรูปเหรียญมากมายหลายรุ่น
    ในสมัยท่านดำรงขันธ์อยู่ก็เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    มาปัจจุบันกลับหาเหรียญรูปของท่าน (ที่แท้ๆ) ยากเย็น
    ที่พบกลายเป็นพวกพิมพ์มาช่วยเฉยๆ หลังจากที่รุ่นก่อนๆหายาก
    เนื่องด้วยเป็นของที่มีคุณค่าด้านจิตใจสูงมากสำหรับศิษย์และผู้ที่เคารพ
    ยิ่งที่ได้รับกับมือด้วยแล้ว ก็เป็นอันว่าเก็บเข้าฝัก เรื่องเช่าซื้ออันเป็นเลิกคิดได้

    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีวัตถุมงคลของท่าน
    ท่านดำริให้ทำขึ้นมาแจกกับญาติโยมเพื่อตอบแทนในการทำบุญสร้างโบสถ์และศาลาวัดป่านิโครธาราม
    มีทั้งเหรียญรูปท่าน พระชินราช พระผง พระสมเด็จและก็ผ้ายันต์ (ยันต์นกคุ้ม)


    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> [​IMG]
    <!-- l1.jpg [ 90.01 KiB | เปิดดู 773 ครั้ง ] -->


    โดยเฉพาะพระชินราชนั้น
    ท่านให้นำขี้เหล็กไหลที่ท่านเก็บมาจากภูเขาควาย มาหล่อรวมผสมกับตะกั่วและเหล็ก
    ท่านทดลองหล่อขึ้นที่วัดองค์หนึ่ง สูงประมาณ 1 ศอกแต่แตกร้าวทั้งองค์
    ท่านจึงให้พระมหาเดวิด ชาวโคราชไปดำเนินการ
    โดยนำเม็ดขี้เหล็กไหลที่ว่านำไปหลอมรวมและสร้างขึ้นมา
    โดยไม่ทราบจำนวน การสร้าง แจกของท่านไปเรื่อยๆ แต่ทุกองค์เลี่ยมพลาสติกทั้งหมด
    ซึ่งมี 2 แบบ ทั้งแบบหนาและแบบบาง

    อย่างไรก็ตามพระชินราชรุ่นนี้ก็ยังแตกหักง่าย
    ซึ่งมีญาติโยมเคยปรารภถวายท่าน ท่านก็สั่งว่าให้เก็บไว้
    ถึงแม้ว่าจะหักๆ อย่างนั้น แต่เจ้าของก็มิยอมยกให้ใครง่ายๆเช่นกัน
    เพราะเชื่อมั่นในหลวงปู่อ่อนมาก
    (ขี้เหล็กไหลนี้ มีหลวงปู่ครูบาอาจารย์ในสายกรรมฐานหลายรูปได้นำมาแจกให้กับญาติโยม
    โดยเฉพาะทหาร ตำรวจ ซึ่งในสมัยนั้นประเทศไทยยังมีปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ
    จากความเข้าใจในการปกครองที่แตกต่างกัน
    หลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต ท่านแจกเม็ดเท่าหัวไม้ขีดไฟใส่ในลูกปืนให้กับทหารเป็นที่เลื่องลือในความแคล้วคลาด คงกะพัน
    สำหรับเม็ดขี้เหล็กไหลของหลวงปู่จันทร์นี้ ท่านได้มาจากขณะธุดงค์บนเทือกเขาภูพาน
    ท่านนั่งภาวนาอยู่บนพลาญหิน ท่านสังเกตว่าบริเวณแถบนี้ไม่ปรากฏว่ามีลูกระเบิดและลูกปืนล่วงล้ำเข้ามาได้เลย
    หรือบางลูกก็ด้านไม่ระเบิด
    ท่านก็เข้าที่พิจารณาปรากฏเห็นเม็ดขี้เหล็กไหลอยู่เต็มพลาญหินไปหมด
    และขี้เหล็กไหลนี้เองมีอานุภาพในการป้องกัน ท่านจึงเก็บมาแจกศิษย์ท่าน รวมทั้งทหารและตำรวจตะเวนชายแดน
    จนเป็นที่มาของความเลื่องลือในอานุภาพของเม็ดขี้เหล็กไหลดังกล่าว ที่เก็บมาและแจกจ่ายให้กับญาติโยม
    ภายหลังท่านมรณภาพ ปรากฏว่า อัฐิท่านแปรสภาพประดุจดั่งพระธาตุอันเป็นเครื่องยืนยันในภูมิธรรมของท่าน
    แต่สิ่งที่ท่านทำก็ทำตามสมมติโลกและด้วยเมตตาของท่าน
    ท่านคงเห็นและทราบในความสำคัญของขี้เหล็กไหลนี้จึงนำมามอบให้กับศิษย์)


    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> [​IMG]
    <!-- l2.jpg [ 91.31 KiB | เปิดดู 773 ครั้ง ] -->


    หลวงปู่อ่อนเป็นพระที่มีอำนาจจิตเข้มแข็งและสูงส่งมากรูปหนึ่งในสายกรรมฐาน
    ชาวหนองบัวบานเลื่องลือจนปัจจุบัน
    มีครั้งหนึ่งมีต้นไม้ใหญ่ใกล้กุฎิของหลวงปู่อ่อนเอนลงมาจะล้มทับกุฎิหลวงปู่
    ท่านเดินจงกลมข้างๆกุฎิ ท่านเดินกลับไปกลับมา
    ญาติโยมมองดูด้วยความเป็นห่วงจึงเข้าไปเรียกท่าน
    ท่านนิ่งเฉยและเดินจงกลมต่อ
    เรียกท่านอีก ท่านจึงเอ็ดเอาว่าไป เรากำลังพิจารณาอยู่
    ต้นไม้ที่เอนลงมาจะทับกุฎิท่าน กลับพลิกล้มไปอีกด้านหนึ่ง เป็นที่น่าอัศจรรย์
    รวมเวลาที่ท่านเดินจงกลมประมาณ 1 ชั่วโมงกว่า

    คุณลุงเลิศ กุหลาบวงศ์ คนขับรถหลวงปู่อ่อนเล่าว่า
    หลวงปู่มีพระลีลาเนื้อชินตะกั่วเรียกว่าพระกำแพงศอกด้วย
    ท่านแจกน้อยมากและมิค่อยได้แจก ท่านมีจำนวนสิบเท่านั้น

    เมื่อปลายปี 2547 ทางวัดป่านิโครธารามได้ทำการจัดเก็บกุฎิของหลวงปู่อ่อนที่ถูกกิ่งไม้ใหญ่หักทับโค่น
    (แปลก ตรงที่กุฎินี้ปลวกขึ้น พระทั้งวัดท่านไม่ทราบว่าจะสั่งให้โยมทำอย่างไร
    เพราะถ้าสั่งก็เท่ากับฆ่าปลวก หลังจากนั้น 3 สัปดาห์กิ่งไม้ใหญ่ก็หักมาทับโค่นกุฎิพอดี
    และที่แปลกมากคือห้องนอนหลวงปู่ไม่ถูกกระทบ พระเณรจึงเข้าไปทำความสะอาด
    ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีพระรูปใดเข้าไปรื้อค้นหรือเข้าไปพักเลย ด้วยความเคารพในองค์ท่าน
    การทำความสะอาดดังกล่าวได้พบXXบเหล็กหนึ่งใบได้ยกออกมาและเก็บไว้จนปลายปี 2548 จึงได้มาเปิดดูกัน
    หลังจากคุณลุงเลิศ กุหลาบวงศ์ มาถามพระว่ายังเห็นอยู่หรือไม่ ภายในนั้นพบพระกำแพงศอก 14 องค์
    แต่สมบูรณ์แค่ 6 องค์ นอกนั้นหักทั้งหมด
    ผ้ายันต์นกคุ้ม 2-300 ผืน เป็นยันต์แบบเดียวกันกับของหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
    ซึ่งเป็นยันต์เฉพาะของหลวงปู่สิงห์ ท่านเรียกยันต์นี้ว่า ยันต์นะหมอมหาวิเศษ
    เป็นยันต์ที่ปรากฏในนิมิตของหลวงปู่สิงห์
    มีอานุภาพมากเป็นยันต์ที่คุ้มครอง ป้องกันภัย และแคล้วคลาด โดยเฉพาะเรื่องไฟ

    มีชาวบ้านมาเล่าให้ฟังว่า ไฟไหม้มาทุกหลังคาเรือนเว้นไว้ที่บ้าน ไฟแฉลบมาอีกทางไปไม่ถึง
    ทั้งบ้านบูชายันต์นี้ของหลวงปู่อ่อน

    ยันต์นี้หลวงปู่อ่อนคงประสบมากับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ท่านจึงนำมาเป็นยันต์ประจำองค์ท่านด้วย

    และพบเหรียญหลายๆรุ่นรวมกันจำนวนไม่เกิน 20 องค์
    พระสมเด็จรุ่น 2 จำนวน 200 องค์ และพระชินราช จำนวน 30 กว่าองค์
    สำหรับพระชินราชของหลวงปู่อ่อนนั้น มีคนจำนวนน้อยมากที่ทราบว่า
    ท่านทำแจกโดยแจกตั้งแต่ปี 2513-2514 ในการเริ่มสร้างโบสถ์
    หลวงปู่ท่านมอบให้กับผู้ศรัทธาถวายท่าน 1,000 บาท
    ท่านคงเห็นศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ท่านไม่มีสิ่งใดตอบแทน จึงมอบพระชินราชให้ 1 องค์
    ทำให้ศิษย์ท่านอื่นๆ เข้าใจว่า ถ้าอยากได้พระชินราช ต้องถวายเงิน 1,000 บาท
    (ซึ่งปี 2513-2514 เงินจำนวน 1,000 บาทนั้น ถือว่ามากเลยทีเดียว)
    แต่เท่าที่ทราบจากชาวบ้านหนองบัวบาน ทำให้ทราบว่าบางครั้งถวายให้เพิ่มแค่ 50 บาท

    เพิ่นก็เมตตาแจกให้ พระชินราชท่านมี 2 พิมพ์ พิมพ์ใหญ่กับพิมพ์เล็ก
    จุดแตกต่างของ 2 พิมพ์ อยู่ที่ฐานบัวข้างล่าง พิมพ์ใหญ่จะเป็นรูปบัวคว่ำ บัวหงายชัดเจน
    พิมพ์เล็กฐานบัวคว่ำ บัวหงายเป็นเพียงรูปตัดสี่เหลี่ยมธรรมดา
    และเนื้อพระมีความแตกต่างกัน เนื่องจากการผสมมวลสารทุกครั้งไม่เท่ากัน
    ท่านสั่งให้ทำมาหลายครั้ง บางองค์เป็นประกายสีน้ำเงิน, สีเงิน และบางองค์ก็ดำสนิท
    แต่เท่าที่ทราบมา ท่านให้เลี่ยมพลาสติกทุกองค์ เพราะพระเนื้อเมฆพัตรเปราะแตกหักง่าย
    แต่โบราณกาลท่านกล่าวกันว่า ทำยากผู้ทำต้องประกอบไปด้วยอำนาจจิตที่แข็งแกร่งสูงส่ง
    ซึ่งสำหรับหลวงปู่อ่อน ญาณสิรินั้น พวกเราเป็นที่แน่ใจและสงสัยในคุณธรรมของท่าน
    ดังที่ได้จัดแสดงพระธาตุของท่านไว้ ณ พิพิธภัณฑ์ที่วัดป่านิโครธาราม
    สำหรับพระกำแพงศอกครั้งแรกเข้าใจว่าท่านได้มาจากที่อื่น
    แต่ท่านอาจารย์ยืนยันว่าท่านสร้างเอง เป็นพระปางลีลาที่อ่อนช้อยมาก
    และที่แปลกไปกว่าที่อื่นก็คือ ใต้ฐานพระมีลักษณะเป็นปางพระป่าเลไลย์
    ซึ่งอาจหมายถึงผู้บูชาจะประสบแต่ความสุข
    แม้ยามคับขันก็จะมีบุคคลอื่นมาช่วยเหลือเกื้อกูลเปรียบประดุจพระพุทธองค์คราวเสด็จหนีจากหมู่สงฆ์ เ
    มื่อคราวที่มีข้อวิวาทกัน หลีกเล้นอยู่ในป่าลำพังพระองค์เดียว
    ก็ยังมีลิงและช้างซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์มาคอยอุปัฎฐากดูแล (ผู้เขียน)
    พระลีลานี้มีจำนวนไม่กี่สิบองค์ จึงนับเป็นของหายาก
    มีลักษณะเป็นเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งแตกหักง่ายเช่นกัน
    ผู้ที่มีไว้ต่างหวงแหนและไม่ได้เปิดเผย
    ทำให้ศิษย์รุ่นหลังไม่ทราบกันมาก่อนว่าหลวงปู่อ่อนได้สร้างพระพิมพ์นี้ไว้


    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> [​IMG]
    <!-- l3.jpg [ 94.29 KiB | เปิดดู 770 ครั้ง ] -->



    เมื่อประมาณเดือนมกราคม 2548
    ชาวหนองบัวบานต่างตะลึงและอัศจรรย์กับสายสิญจน์ของหลวงปู่อ่อนมาแล้วครั้งหนึ่ง
    จนโจษขานกันทั้งหมู่บ้าน เนื่องด้วยมีชายคนหนึ่งเสียชีวิตอย่างกะทันหัน
    ทางครอบครัวจึงได้นำด้ายดิบบนหิ้งพระมามัดตราสังข์ จนถึงวันฌาปนกิจศพ
    ปรากฏว่าร่างผู้เสียชีวิตได้มอดลงจนเหลือแต่กระดูก
    ที่น่าแปลกด้ายดิบที่มัดตราสังข์ ไม่ไหม้ไฟแม้แต่นิดเดียว
    จนพ่อตามาพบเข้าและร้องอุทานว่า นี่มันด้ายสายสิญจน์ของหลวงปู่อ่อน
    ท่านแจกให้ตอนปลุกเสกเหรียญของท่านเมื่อปี 2517 เมื่อเสร็จพิธีแล้วท่านตัดแจก
    พวกชาวบ้านนำมาเก็บไว้ สายสิญจ์ที่ว่าพวกชาวบ้านช่วยกันทำจากเส้นฝ้ายดิบ
    ดังนั้นจึงแตกต่างจากสายสิญจน์ที่ซื้อขายกันตามท้องตลาด และจากคำพูดสิ้นสุดลง
    ก็ไม่เหลือด้ายสายสิญจน์ที่ว่านั่นอยู่บนกองกระดูกแม้แต่เส้นเดียว
    จึงเป็นที่มาของความอัศจรรย์ในองค์หลวงปู่อ่อนเป็นอย่างมาก
    และนั่นเป็นเพียงสายสิญจน์ที่ใช้ในงานพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของท่าน
    ซึ่งมีทั้งเหรียญ รูปเหมือน ผ้ายันต์ของท่าน
    ดังนั้น ถ้าเป็นวัตถุมงคลของท่านโดยตรงในพิธีเดียวกันของท่านนั้น พวกเราคงบอกได้คำเดียวว่า “ยอด”


    ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวผมเอง
    เมื่อหลายปีก่อนมีรุ่นน้องคนหนึ่งโทรมาเล่าว่า เพิ่งมีคนให้เหรียญพระพุทธชินราชกับเขามา เป็นเหรียญยุคก่อนปี2500
    เมื่อคุยกันจบผมก็นึกขึ้นมาได้ว่า ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชษโฐ ท่านเคยกล่าวว่า พระ กรรมฐานสายหลวงปู่มั่นส่วนใหญ่จะเคยเกิดเป็นลูกหลานพระอินทร์ทั้งนั้น ให้สังเกตุดูสิวัดไหนมีหลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นพระประธานวัดนั้นแหละ เคยเกิดเป็นลูกหลานพระอินทร์


    พอนึกขึ้นได้ก็ได้อธิฐานต่อตู้พระที่หอพัก(ตอนนั้นเรียนต่อโท ที่จุฬาฯ) ว่า ถ้าหากผมเคยเกิดเป็นลูกหลานพระอินทร์ ผมขอพระเครื่องหลวงพ่อพระพุทธชินราชไว้ซักองค์ แต่ขอรุ่นที่ได้มาแล้วผมอยากห้อย

    วันรุ่งขึ้นรุ่นพี่ที่รู้จักมาจากเชียงใหม่มาเยี่ยมที่หอพัก ด้วยความที่เป็นคนชอบแจก จึงหยิบพระเครื่องให้รุ่นพี่คนนี้ไปนับสิบองค์
    พอตอนจะกลับพี่เขาจึงล้วงพระที่คอออกมา แล้วบอกว่า กูมาไม่ได้เตรียมตัวมา เลยแขวนพระมาแค่องค์เดียว เอ้านี้กูให้มึง
    ผมกล้าพูดได้เลยว่าไม่ทราบจริงๆว่าพี่เขาแขวนพระพุทธชินราชขี้เหล็กไหลหลวงปู่อ่อนมา
    และไม่รู้ด้วยว่าพี่แกมี และไม่ได้เล่าเรื่องคำอธิฐานให้พี่แกฟัง
    และผมก็ปฏิเสธไม่รับพระเพราะรู้ว่าพระองค์นี้สูงค่าเพียงใด
    แต่พี่แกบอกว่า มึงเอาไปเถอะกูมีหลายองค์ นั่นแหละครับจึงได้รับมา
    ผมยังจำได้ตอนที่พระหล่นใส่มือขนผมลุกซู่ตั้งแต่แขนจนถึงหัวเลย
    นั่นแค่วันเดียวจริงๆ หลังจากที่อธิฐานขอ
    หลังจากรับพระแล้วผมจึงเล่าเรื่องที่อธิฐานไว้ให้รุ่นพี่ท่านนี้ฟัง

    พระชินราชหลวงปู่อ่อนรุ่นนี้หละครับที่ พระอินทร์ให้ผมมา


    ขอบพระคุณอ.bonมากครับ สำหรับข้อมูลที่มีค่า "ควรเมือง" เช่นนี้ เพราะคนที่ยังไม่มีพระแล้วคิดแสวงหาก็จะได้ตั้งเข็มทิศถูกทาง ส่วนคนที่มีอยู่ในมือแล้วก็จะเห็นคุณค่ามหาศาลมากยิ่งขึ้นไปอีก
    [​IMG]



    ส่วนที่ว่าพระสมเด็จนี้อยู่กับหลวงปู่อ่อนมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2517 นั้นก็เห็นควรเป็นข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดอยู่ เพราะผมเคยคุยกับพี่บุญส่ง หาญพาณิชย์ ซึ่งท่านผู้นี้เป็นเจ้าของร้านอาหารก้านตองที่ลาดกระบัง เป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่ฝั้น อาจาโร มากท่านหนึ่ง และปัจจุบันก็เป็นศิษย์ในมือของท่านพ่อเมือง พลวัฑโฒ เลยทีเดียว

    พี่บุญส่งเคยเล่าว่าหลวงปู่ฝั้นให้คำรับรองและยกย่องในคุณธรรมของหลวงปู่อ่อนมาก....มากเสียจนพี่แกทนไม่ไหวต้องเดินทางไปกราบเพราะอยากจะดูองค์จริงว่าเป็นอย่างไรหลวงปู่ฝั้นถึงยกย่องเป็นนักหนา
    [​IMG]



    พอไปถึงก็พบว่าทางวัดป่านิโครธารามกำลังสร้างอุโบสถอยู่ ที่สำคัญคือมีตู้วัตถุมงคลเล็ก ๆ ให้บูชาพระเสียด้วย วัตถุมงคลที่สำคัญชิ้นหนึ่งซึ่งแกได้หมายตาไว้คือ "พระสมเด็จ หลังอัฐบริขาร" เหตุที่แกจับจ้องเป็นพิเศษเพราะพี่บุญส่งเป็นนักนิยมพระ เมื่อหยิบพระสมเด็จขึ้นมาพิจารณาดูแล้วปรากฏว่าเนื้อหามวลสารเหมือน "พระสมเด็จหลังอุ" ของท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทรฯ ไม่ผิดเพี้ยน ที่สำคัญบล็อคหน้าแทบว่าจะเป็นบล็อคเดียวกัน

    พี่แกจึงลงมือเช่าบูชาแบบ "เหมา" หมดทั้งตู้ที่ยังเหลืออยู่ประมาณ 70 องค์ ขณะที่กำลังดำเนินการเช่านั้นหลวงปู่อ่อนได้เขม้นมองมาที่พี่บุญส่งตาไม่กะพริบ พี่บุญส่งสบตาเข้าก็ใจหายวาบ ใครเคยได้กราบองค์จริงท่านหรือได้เห็นรูปท่านก็จะนึกออกว่าสายตาของหลวงปู่อ่อนเวลาจะ "กำราบ" นั้นน่าเกรงขามเพียงไหน
    [​IMG]



    พี่บุญส่งจึงรีบพนมมือกราบเรียนปากคอสั่นว่า "เช่าไปบูชาครับหลวงปู่ เช่าไปแจกจ่ายญาติพี่น้องและเพื่อน ๆ ครับ ไม่ได้เอาไปขายครับ"

    นั่นแหละ... "มหาอำนาจ" ที่พวยพุ่งออกจากสองตาท่านจึงอ่อนแสงลง

    ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517

    พี่บุญส่งเก็บ พระทั้งหมดไว้ในตู้เซฟใบยักษ์เป็นอย่างดี วันที่หยิบถวายท่านพ่อและให้คณะศิษย์ได้ถือครองกันนั้น เราได้เห็นว่าเนื้อพระและองค์พระอยู่ในสภาพดีเยี่ยม 100 % เลยทีเดียว มีความหนึกนุ่ม มีความเก่าแบบเก่าเก็บมิใช่เก่าใช้งาน ยิ่งดูยิ่งซึ้ง ยิ่งดูยิ่งงาม และเมื่อพูดถึงคุณธรรมความเป็นหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ แล้วก็ยิ่งทำให้พระสมเด็จเนื้อน้ำอ้อยชุดนี้ทวีค่ายิ่งจนประมาณไม่ได้

    โดยเฉพาะเมื่ออ.bonมาต่อยอดว่าเป็นของหลวงปู่ขาว อนาลโยและหลวงปู่ฝั้น อาจาโร อธิษฐานพรนำทางมาก่อนจะถึงมือพระเดชพระคุณหลวงปู่อ่อน
    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--><!-- re1.jpg [ 19.02 KiB | เปิดดู 608 ครั้ง ] --> <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--><!-- re2.jpg [ 16.81 KiB | เปิดดู 607 ครั้ง ] --> <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--><!-- .jpg [ 33.77 KiB | เปิดดู 605 ครั้ง ] --> พระอรหันต์แห่งหนองบัวบาน...


    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> [​IMG]


    ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณ bon แห่งเวบ
    http://www.navaraht.com

    <!-- .jpg [ 70.89 KiB | เปิดดู 603 ครั้ง ] -->

     
  8. rawats_99

    rawats_99 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,020
    ค่าพลัง:
    +1,947
    ผมขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำงานครั้งนี้และกับทุกๆท่านที่ได้สละทรัพย์เข้าโครงการนี้..ผมขอร่วมด้วยครับ..ขอเริ่มสิ้นเดือน..เอาชัย
     
  9. PRIN_A

    PRIN_A Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +34
    ได้บริจาคแล้ว

    ผมและภรรยา ได้ บริจาคแล้วในนาม ปริญญาและอำพัน มีนะ 700 บาทเพื่อเสริมบารมีจากอาจารย์เกจิทุกท่าน และเพื่อพระภิกสงฆือาพาจทุกท่าน สาธุ สาธุ สาธุ
     
  10. PRIN_A

    PRIN_A Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +34
    แจ้งที่อยู่

    18/295 ม เปี่ยมสุข(วัดกู้) ถ สุขาประชาสรรค์2 บางพูด ปากเกร็ด นนทบุรี 11120
     
  11. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ขอโมทนาบุญกับสมาชิกจากเว็บ วิชาการด้วยครับ

    ความเห็นเพิ่มเติมที่ 74 24 ก.ย. 2552 (18:51) แจ้งลบความเห็นนี้ [​IMG]
    ผมได้โอนเงินร่วมบริจาคแล้ว ปริญญาและอำพัน มีนะ / เพื่อช่วยทำนุพระสงฆ์ พระพุทรศาสนาให้อยู่ถึง ๕๐๐๐ ปี และเราทั้งสองขอจิตเพื่อเสริมสร้างบารมีเพิ่มขึ้นจากครูอาจารย์ทุกท่าน บริจาก ๗๐๐ บาท ขอให้พระอรหันต์ อาจารย์ทุกท่าน เทพ เทวา พระอินทร์ ทุกองค์ร่วมอนุโมทณาในการครั้งนี้ สาธุ สาธุ สาธุ

    prin&vhi [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  12. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    [​IMG]

    ถาม : ถ้าเกิดเป็นสัตว์กินเนื้อ สัตว์มีชีวิต จะมีวิบากกรรมให้เสื่อมจากการเป็นอริยะ หรือไม่

    หลวงพ่อ : ในเมื่อถึงความเป็นอริยบุคคลแล้วไม่มีทางเสื่อม การกินเนื้อไม่ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมเสื่อมจากคุณธรรม อันนี้มีปัญหาอยู่ว่า มีบางท่านถามว่า การกินเนื้อสัตว์นี้เป็นการส่งเสริมปาณาติบาต หรือไม่ ทีนี้ถ้าเราจะพิจารณาโดยหลักธรรมชาติของมนุษย์ การฆ่าสัตว์เป็นอาหารนี้ มีมาแต่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิดแล้ว แต่ปัญหาเฉพาะหน้า ถ้าหากว่าสงสัยว่า รับประทานเนื้อสัตว์เป็นการส่งเสริมปาณาติบาต ขืนรับประทานเข้าไปเป็นบาป แต่ถ้าใครไม่สงสัยแล้วเชิญรับประทานไปเถิด

    มีหลักพระภิกษุจะต้องอาบัติ
    ๑. ต้องอาบัติเพราะแกล้ง ๆ ต้องอาบัติ
    ๒. สงสัยแล้วขืนทำลง ก็ต้องอาบัติ เช่นอย่างสมมติว่า เขาทำกับข้าวมาด้วยเนื้อ แล้วก็มาสงสัยว่า เขาแกงเนื้อมนุษย์มาให้เราฉัน (กิน) ทั้ง ๆ ที่สงสัยอยู่นั่นแหละ พอฉันเข้าไปแล้ว ต้องอาบัติทุกกฎ อันนี้เรียกว่า สงสัยแล้วขืนทำลง
    เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมนี้อย่าไปสงสัย ถ้าเราเกิดระแวงสงสัยอยู่แล้ว เราจะไม่พบความจริง เพราะฉะนั้น ตัดข้อข้องใจสงสัยไว้ก่อน
    อีกอย่างหนึ่ง ในข้อที่ว่า พระพุทธเจ้าเทศน์ว่า ให้ละความชั่ว ประพฤติความดี ทีนี้การละความชั่วนี้ การละความชั่วตามคำสั่งของพระพุทธเจ้า ในเมื่อคำสั่งนี้เป็นคำสั่ง การละความชั่วนั้นจะต้องมีความตั้งใจที่จะละความชั่วที่จะพึงละได้ด้วยความตั้งใจ สำหรับคฤหัสถ์ทั่วไปมีศีล ๕ ข้อ ถ้าใครจะละกิเลสด้วยความตั้งใจ ให้ละตามหลักของศีล ๕ ข้อ ปฏิบัติศีล ๕ ข้อให้บริสุทธิ์ สะอาด ได้ชื่อว่าละความชั่วอย่างเด็ดขาด เพราะจะเป็นการรักษาความดีอันนั้นไว้ให้มั่นคงในจิตใจ ท่านสอนให้ทำสมาธิ เมื่อทำสมาธิแล้ว เพื่อให้ใจตั้งมั่นต่อการประพฤติความดี เรียกว่า เป็นความดี
    ทีนี้ทำปัญญาให้เกิด ปัญญานั้นถ้าไปเกิดแล้วทำให้ผู้ปฏิบัติ รู้เหตุรู้ผล รู้ว่าสุข นี้มาจากเหตุอะไร รู้ว่าทุกข์นี้มาจากเหตุอะไร แล้วทำอย่างไรจิตใจจึงจะบริสุทธิ์สะอาด กิเลสภายในใจนี้ไม่มีใครตั้งใจจะละเอาเองได้ นอกจากจะทำ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้ประชุมพร้อมกันเป็นอริยมรรค จนกระทั่งจิตเปลี่ยนสภาพ เช่นอย่างจะละ ความโลภ ความโกรธ ความหลงนี้ ในเมื่อเราทำศีลให้บริสุทธิ์ ทำสมาธิให้มุ่งตรงต่อสัมมาสมาธิ ทำปัญญาให้เกิดขึ้นมุ่งตรงต่อสัมมาทิฏฐิ ในเมื่อ ๓ อย่างนี้ประชุมพร้อมกันแล้ว มันก็จะกลายเป็น เจตสิก อยู่ในจิต เมื่อจิตอาศัยคุณธรรมคือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็น อริยมรรค นี้ จิตย่อมจะรู้ ๆ ว่าการอยู่กับสิ่งนี้มันสงบเยือกเย็นสบาย
     
  13. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    [​IMG]

    ถาม : เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล การพรมน้ำมนต์ การเป่าหัว การเจิม หรือการสักยันต์ สิริมงคลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย มีความจริง หรือไม่ เพราะเหตุใด
    หลวงพ่อ : เรื่องคำถามที่ถามมานี้ เป็นเรื่องไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์กับพุทธศาสตร์ นี้มันเป็นสิ่งที่แฝงมาอยู่ด้วยกัน ความจริงของไสยศาสตร์ เขาก็มีอยู่ตามขั้นตอนของเขา แต่มันเป็นความจริงที่ไม่อยู่ในขั้นอมตะ ความเป็นจริงของสิ่งที่เป็นมงคล หรือน้ำมนต์ ของขลังศักดิ์สิทธิ์อะไรต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้มันจะขลังศักดิ์สิทธิ์อยู่ได้ชั่วระยะเวลาที่เรามีความเชื่อมั่น ถ้าผู้ใช้ขาดความเชื่อมั่น มงคลเหล่านั้นก็ไม่มีความหมายอะไร และถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์ช่วยได้ มันก็เป็นบางครั้งบางคราวไม่แน่นอน เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าพระองค์ว่า ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ละชั่ว ประพฤติดี ทำจิตให้บริสุทธิ์ สะอาดนี้ เป็นมงคลอมตะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าใครทำได้ มงคล เช่น น้ำมนต์เป่าหัวทั้งหลาย เจิมอะไรเหล่านี้ มันเป็นมงคลที่เราต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น ในเมื่อผู้อื่นเขาไม่พอใจ แล้วเขาไม่ช่วยเราก็หมดท่า เพราะฉะนั้น ทุกคน ควรจะได้แสวงหาที่พึ่งกับตัวเองด้วยการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
    การทำสิ่งเหล่านี้ สิ่งที่ถามนี้ เช่นอย่างการทำมงคล หรืออะไรดังที่ว่านี้ เป็นการผิดไหม เป็นการงมงายไหม อันนี้ สิ่งใดที่เรายังยึดถืออยู่ สิ่งนั้นเป็นเรื่องงมงายหมด แม้แต่การปฏิบัติสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานนี้ ถ้าปฏิบัติด้วย อุปาทาน ด้วยความยึดมั่น ถือมั่น อยากเป็นผู้ดีวิเศษ เป็นเรื่องของความงมงายหมด ทีนี้เรื่องวัตถุมงคลต่าง ๆ การพรมน้ำมนต์ การเป่าหัวอะไรเหล่านี้ มันเป็นการให้กำลังใจกันตามความนิยมของสังคม แต่ถ้าพูดถึงขั้นปรมัตถ์แล้ว ไม่มีความหมายใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น การเข้าใจธรรมะนี้ เราต้องเข้าใจเป็น ๒ ขั้นตอน ขั้นโลกียธรรม ขั้นโลกุตตรธรรม
    ขั้นโลกียธรรมนี้ ย่อมมีอัตตา ตัวตน มีสมมติบัญญัติ มีผู้ชาย ผู้หญิง มีเรา มีเขา มีทรัพย์สมบัติ มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ อันนี้เรื่องของโลกีย์ เราปฏิเสธไม่ได้
    แต่ว่าถ้าจิตของเราขึ้นไปอยู่ขั้นโลกุตตระ ไปถึงในระดับเพียงแค่ว่ามีความรู้สึกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนี้ มีแต่ความเกิดขึ้น ดับไป เกิดขึ้น ดับไปเฉย ๆ นี้ อย่างในท้ายธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ที่ท่านอัญญาโกณฑัญญะ รู้ธรรม เห็นธรรม ถ้าภูมิจิตไปสัมผัสถึงขั้นนี้แล้ว คำว่า อัตตา ตัวตน ผู้ชาย ผู้หญิง ไม่มีสมมติ ไม่มีบัญญัติ ไม่มีเรา ไม่มีเขา มีแต่สัจจธรรมความจริงปรากฏอยู่เท่านั้น
    ในขณะที่ท่านอัญญาโกณฑัญญะ รู้ ๆ ๆ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิดขึ้นดับไป เป็นธรรมดา ในขณะนั้นจิตอยู่ในสมาธิอย่างแน่วแน่ ในขณะนั้นท่านอัญญาโกณฑัญญะไม่ติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก มีความรู้สึกเฉพาะภายในจิตอย่างเดียว และสิ่งที่ท่านรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดานั้น เป็นการรู้อย่างไม่มีสมมติบัญญัติ มีแต่สัจจธรรมความจริง แต่เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะได้บวชแล้ว ก็ปรากฏว่า ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ต้องถือบาตรไปบิณฑบาตกับญาติโยม นี่ส่อแสดงให้เห็นว่า ในขณะที่จิตอยู่ในขั้นภูมิของโลกุตตระ ท่านไม่สัมผัสกับใครเลย แต่เมื่อจะทำธุรกิจกับชาวโลกนี้ เอาเรื่องของชาวโลกเข้ามาทันที เพราะอะไร เพราะเบญจขันธ์ของท่านก็เป็นของโลก ยังจะต้องอาศัยปัจจัย ๔ จากญาติโยม เพราะฉะนั้น ในเมื่อท่านหวนกลับมาสัมผัสกับโลกแล้ว จึงมีสมมติบัญญัติ ยอมรับว่า ฉันคืออัญญาโกณฑัญญะ ท่านหนึ่งในจำนวนภิกษุปัญจวัคคีย์นะ ฉันเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้านะ อันนี้คือสมมติบัญญัติที่ท่านจะยอมรับ เพราะฉะนั้น การรู้ธรรมนี้ต้องรู้ ๒ ฝั่ง ฝั่งโลกีย์ กับ ฝั่งโลกุตตระ ทำความเข้าใจให้ดี
     
  14. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" align=center border=0 valign="top"><TBODY><TR><TD class=alt>
    [​IMG]
    ใบอนุโมทนาบัตรในการลดหย่อนภาษี โดย แม่ชีทศพร
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top height=100 wrap>"บางคนใจบุญ โอ้... ไปทำบุญมาได้ใบอนุโมทนาบัตร บางคนทำไปเยอะ พอถึงเวลาต้องชำระภาษีประจำปี ทางโลกเขาอนุญาตให้กับคนที่ทำบุญ สามารถเอาใบอนุโมทนาบัตรไปลดหย่อนภาษีได้ ทางโลกแม้จะอนุญาตไม่ผิดกฎหมาย แต่ทางธรรมถือว่าเรายังโลภในบุญ มันส่งผลให้การค้าที่เราทำอยู่มันลง ตกฮวบไปเลย แบบนี้ถือว่าเป็นการให้ไม่เต็มที่ เพราะเงินภาษีเหล่านั้นเอาไปเป็นถนน ไฟฟ้า ระบบสาธารณูปโภค เอามาใช้เป็นเงินเดือนของตำรวจ ครู พยาบาล เป็นต้น"
    โดย แม่ชีทศพร บุญเทวาพิทักษ์ธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    พรุ่งนี้เป็นวันทำกิจกรรมถวายสังฆทานอาหารและบริจาคปัจจัยให้ รพ.สงฆ์ พร้อมทั้งพบปะพูดคุยกันในหมู่ผู้บริจาคด้วยกัน ใครติดขัดปัญหาทางจิตทางพระพิมพ์ ก็จะมีเรื่องคุยกันครบรสชาด สำหรับจำนวนพระที่จะถวายสังฆทานในวันพรุ่งนี้่ เท่าที่ตรวจสอบยอดเมื่อวานตอนบ่ายมีทั้งหมด 134 รูปครับ จึงขอเรียนเชิญท่านผู้ที่ทำบุญเดิม และท่านผู้อ่านเจอในกระทู้ที่มีเข้ามาใหม่ๆ ให้ไปร่วมกิจกรรมด้วยกันครับ ไปดูว่าคณะทุนนิธิฯ มีการทำกิจกรรมอย่างไร และจะทำอะไรต่อไป และหากมีอะไรติดไม้ติดมือไปร่วมทำสังฆทานด้วยก็จะดี เช่นนมกล่อง หรือผลไม้ หรือขนมไว้ทานยามที่มาพบปะพูดคุยกันครับ หรือจะไปตัวเปล่าเพื่อช่วยกันประเคนสังฆทานอาหารเช้าให้พระสงฆ์ที่อาพาธบนตึกก็ได้ครับ วันพรุ่งนี้เวลา 7.30 -8.00 นัดเจอกันที่โรงอาหารของ รพ.สงฆ์สุดทางซ้ายมือ คณะกรรมการฯ รอทุกท่านร่วมบุญด้วยกันครับ


    พันวฤทธิ์
    26/9/52


    [​IMG]

    [​IMG]

    ต่อมาก็อธิฐานจิตร่วมกันครับ

    [​IMG]


    [​IMG]

    แล้วก็เริ่มพิธีกันครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    ช่วยกันถวายและรับพรร่วมกันครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ภาพการทำบุญถวายสังฆทานในเดือนสิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2009
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    [​IMG]

    “ทาน” ควรเลือกให้หรือไม่ควร?
    โดย อาจารย์วศิน อินทสระ


    ทาน ตามตัวอักษรแปลว่า การให้ จำแนกเป็น

    • การให้สิ่งของเป็นเครื่องอุปโภค เรียก อามิสทาน

    • การให้ธรรม-คำแนะนำสั่งสอนชักจูงใจในทางที่ดี เรียก ธรรมทาน

    • การให้อภัยไม่ถือโทษล่วงเกินของผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อเขารู้สึกสำนึกผิดแล้วมาขอโทษ เรียก อภัยทาน การงดเว้นไม่เบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นก็เป็นอภัยทานเหมือนกัน

    อามิสทาน การให้วัตถุสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค รวมเรียกว่าปัจจัย ๔ นั้น เป็นความจำเป็นสำหรับผู้อยู่ร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เป็นการแสดงน้ำใจต่อกัน ทำให้มีใจผูกพันกันในด้านความสำนึกคุณ เป็นสาราณียธรรมข้อหนึ่ง... สาราณียธรรม คือสิ่งอันก่อให้เกิดความระลึกถึงซึ่งกันและกันในด้านคุณ ด้วยเหตุนี้เราจึงนิยมให้ของที่ระลึกกันในโอกาสต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่, แต่งงาน, วันเกิด และโอกาสอื่นๆ เท่าที่โอกาสจะเปิดให้ทำความดีต่อกันได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า การให้ย่อมผูกมิตรหรือไมตรีไว้ได้ (ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ)

    • การให้ด้วยวัตถุประสงค์ ๓ อย่าง

    การให้วัตถุสิ่งของ ผู้ให้ย่อมมีวัตถุประสงค์ต่างกัน ให้เพื่ออนุเคราะห์บ้าง ให้เพื่อสงเคราะห์บ้าง หรือให้เพื่อบูชาคุณบ้าง

    การ ให้แก่คนยากจนแร้นแค้นลำบากหนัก เข้ามาพึ่งพิงขอความช่วยเหลือ การให้แก่ผู้น้อย ช่วยเหลือเขาให้พ้นความลำบากด้วยความกรุณา เรียกว่า ให้เพื่ออนุเคราะห์

    การให้แก่คนที่เสมอกันเพื่อรักษาไมตรีและน้ำใจกันไว้ เป็นการแบ่งปันเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันตามโอกาสที่มาถึง เรียกว่า ให้เพื่อสงเคราะห์

    การ ให้สิ่งของแก่มารดาบิดา อุปัชฌาย์อาจารย์ ครูผู้สั่งสอนอบรม นักพรตผู้ประพฤติธรรม ด้วยความสำนึกคุณของท่านที่มีต่อตัวเราหรือมีต่อโลกต่อสังคม เรียกว่า ให้เพื่อบูชาคุณ แม้ท่านจะไม่ขาดแคลนก็ควรให้บ้างตามกาล ตามความเหมาะสม เพื่อให้ท่านได้ปลื้มใจและทำหน้าที่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

    บุคคล ที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว ย่อมมีผู้ที่ตนต้องอนุเคราะห์และต้องบูชาอยู่ด้วยกันทุกคน มากบ้างน้อยบ้างสุดแล้วแต่ความผูกพันเกี่ยวข้องของแต่ละคน ผู้หวังความเจริญในธรรม ควรตั้งใจทำให้สมบูรณ์เท่าที่กำลังความสามารถของตนมีอยู่

    • ทาน ๓ ประเภท หรือทายก ๓ จำพวก

    ๑. ทานทาสะ บางทีเรียกว่า “ทาสทาน” ท่านหมายถึงการให้ของเลวเป็นทาน คำว่าเลวนั้นหมายถึงเลวกว่าที่ตนบริโภคใช้สอยเอง ที่ท่านเรียกว่าทาสทาน เพราะอธิบายว่าตกเป็นทาสของความตระหนี่ ถึงอย่างไรการให้ของเลวกว่าที่ตนบริโภคใช้สอยเองแก่คนที่ควรได้รับ เพียงแค่นั้นก็ยังนับว่าดี ดีกว่าการไม่ให้อะไรเสียเลย เช่น การให้แก่คนรับใช้ ให้แก่ขอทาน ให้เสื้อผ้าซึ่งตนไม่ใช้แล้วแก่คนยากจน ให้อาหารเหลือกินแก่สุนัข เป็นต้น ผู้ให้ของดังกล่าวท่านเรียกว่า “ทานทาโส” การให้ของที่เขาต้องการจำเป็นแก่เขา ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่ควรจัดเป็นการให้ที่เลว

    ๒. ทานสหาย บางทีเรียกว่า “สหายทาน” หมายถึงการให้ของที่เสมอกันอย่างเดียวกับกับที่ตนใช้สอย ตนบริโภคใช้สอยอย่างไร เมื่อถึงคราวจะให้ผู้อื่นก็ให้อย่างนั้น เหมือนการให้แก่เพื่อนฝูง ผู้ให้ของเช่นนั้นท่านเรียกว่า “ทานสหาโย”

    ๓. ทานสามี บางทีเรียก “สามีทาน” การให้ของที่ดีกว่าตนบริโภคใช้สอย ส่วนมากเมื่อจะให้แก่ผู้ที่ควรเคารพ ทายกมักให้ของดีเท่าที่ตนจะพอหาได้ เช่น ของที่นำไปให้มารดาบิดา ครูอาจารย์ พระสงฆ์ หรือนักพรตผู้ประพฤติธรรม

    อนึ่ง ท่านผู้บริจาคทานด้วยความไม่ตระหนี่ บริจาคด้วยเจตนาอย่างแท้จริง ท่านเรียกผู้เช่นนั้นว่า “ทานบดี” ผู้เป็นใหญ่ในทาน

    [​IMG]

    • ประเภทของอามิสทาน

    กล่าวโดยย่อที่สุด ท่านจัดทานไว้ ๒ ประเภท ทานที่เจาะจงบุคคลเรียก “ปาฏิบุคลิกทาน” ทานที่ไม่เจาะจงให้เรียก “สังฆทาน” การให้แก่สงฆ์ หรือให้แก่หมู่คณะ

    คน ส่วนมากเข้าใจสังฆทานผิดไป คือไปเข้าใจสังฆทานตามพิธีการ ได้แก่ จัดเครื่องไทยธรรมให้ครบตามประเพณีนิยม เช่น ต้องมีข้าวของอะไรบ้างในการทำสังฆทานนั้น แต่ตามความเป็นจริงแล้ว สังฆทานมีความหมายไปในทางให้เจาะจงหรือไม่เจาะจง ถ้าให้เจาะจงบุคคล แม้จะจัดข้าวของมโหฬารอย่างไร ก็หาเป็นสังฆทานไม่

    ตัวอย่าง บุคคลผู้หนึ่งต้องการทำสังฆทาน ไปนิมนต์พระเองหรือส่งคนไปนิมนต์พระ แต่เจาะจงว่า พระ ก. ข. ค. ... แม้จะนิมนต์สักร้อยรูป ทานนั้นไม่เป็นสังฆทาน คงเป็นปาฏิบุคลิกทาน ถ้าไปนิมนต์กับเจ้าหน้าที่จัดพระ (ภัตตุตเทสก์) หรือกับพระที่ตนคุ้นเคยว่า ต้องการทำบุญที่บ้านหรือที่วัดก็ตาม ขอนิมนต์พระ ๑ รูป หรือ ๒ รูป (สุดแล้วแต่ต้องการ) ขอให้จัดพระให้ด้วย ไม่เจาะจงว่าเป็นใคร ทานนั้นเป็นสังฆทานเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยนัยนี้การทำบุญใส่บาตรตอนเช้า จึงเป็นสังฆทานเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์

    อนึ่ง ใน การทำสังฆทานนั้นท่านสอนให้ทำใจให้ยินดีในบุญกุศล ไม่ยินดีในบุคคลผู้รับ ทำใจให้ตรงแน่วแน่ต่อคุณพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ทานอย่างนี้แหละมีอานิสงส์มาก มีผลมาก เพราะเป็นการขัดเกลาจิตใจของตนไปด้วย พระพุทธเจ้าเคยตรัสกับพระอานนท์ ปาฏิบุคลิกทานจะมีผลมากกว่าสังฆทานไม่ได้เลยไม่ว่ากรณีใดๆ ตัวอย่างเช่น ถวายทานแก่พระพุทธเจ้าเป็นการเจาะจง ก็มีอานิสงส์สู้ถวายสังฆทานไม่ได้ แต่ต้องเป็นสังฆทานที่ถูกต้อง ไม่ใช่สังฆทานตามความเข้าใจของคนทั้งหลายหรือสังฆทานตามประเพณีนิยม ที่แปลว่าหมู่หรือคณะ สังฆทานย่อมหมาย ถึงการให้แก่ส่วนรวม เมื่อมุ่งถึงประโยชน์แล้วการให้แก่ส่วนรวมย่อมอำนวยประโยชน์กว้างกว่าการให้ เป็นส่วนตัว ผู้ให้จึงได้รับอานิสงส์มากไปด้วย ถ้าหมู่นั้นเป็นหมู่ที่ดีมีศีลธรรม เช่น พระอริยะด้วยแล้วอานิสงส์ก็ย่อมจะเพิ่มพูนขึ้น

    • ควรเลือกให้ หรือไม่ควรเลือกให้

    บาง คนเข้าใจว่าเมื่อจะทำบุญทำทานแล้วไม่ควรเลือกให้ คือ เห็นว่าเมื่อเป็นพระแล้วก็เป็นพระเหมือนกันทั้งนั้น ความเห็นนี้ไม่ตรงตามหลักพระพุทธภาษิต เพราะพุทธองค์ตรัสว่า “ควรเลือกให้” (วิเจยฺย ทานํ ทาตพฺพํ) ในที่ที่จะมีผลมาก (ยตฺถ ทินฺนํ มหา ปฺผลํ)

    ความ จริงแล้วเป็นพระเหมือนกันก็จริง แต่ก็ไม่เหมือนกันในด้านคุณภาพ ก็เหมือนคนเรานี่แหละ ซึ่งเป็นคนเหมือนกันแต่ก็ไม่เหมือนกันในด้านคุณภาพ บางคนดีมาก บางคนดีน้อย แม้ในคนธรรมดาเราก็ควรเลือกคนที่ควรได้รับการสงเคราะห์ ไม่ใช้ให้ตะพึดตะพือไป อันจะเป็นการก่อโทษมากกว่าก่อคุณ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า “ให้แก่ผู้มีธรรมย่อมมีผลมากกว่าให้แก่ผู้ไม่มีธรรม”

    เพราะ ฉะนั้นการให้ทานเจาะจงบุคคล (ปาฏิบุคลิกทาน) ถ้าหวังอานิสงส์มากก็ควรเลือกให้แก่คนดีมีศีลธรรมหรือเป็นคนที่ควรได้รับการ ช่วยเหลือ ถ้าให้แก่หมู่คณะก็ควรเป็นหมู่ที่ดีเช่นเดียวกัน


    คัดลอกมาจาก :
    หนังสือ...สิ่งที่ควรทำความเข้าใจกันใหม่ เพื่อความถูกต้อง
    จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 106 กันยายน 2552 โดย อ.วศิน อินทสระ
     
  17. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    วันนี้ได้โอนเงินจำนวน11207บาทเพื่อทำบุญสงฆ์อาพาธโดยมีรายชื่อดังนี้
    คุณสุนารี ตั้งธาราวิฒน์
    คุณอนันต์ ตั้งธาราวิวัฒน์ 1000บาท
    คุณวิศัลย์ ณ ระนอง 1000บาท
    คุณพลภัทร ตั้งธาราวิวัฒน1000บาท
    คุณปิยะวัฒน์ วรัทเศรษฐ์ 1000บาท
    คณสงวนชัย อัครวิทยาภูมิ1000บาท
    คุณนาลดา อมรพัชระ
    ด.ช วิภูช์ ตั้งธาราวิวัฒน์ 400บาท
    คุณพิชญ์ธนัน อนันธรสิริและเพื่อนๆ 5607บาท
    คุณชมพู่ ดิษฐ์ประเสริฐ 200 บาท

    รวมเป็นเงิน11207บาท

    โมทนาครับ
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    1. พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ นามะรูปัง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง นามรูป
    อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา (ใจ – กาย) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    ไม่ใช่ตัวตน


    2. ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ นามะรูปัง ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง นามรูป
    อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา (ใจ – กาย) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    ไม่ใช่ตัวตน


    3. สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ นามะรูปัง ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง นามรูป
    อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา (ใจ – กาย) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    ไม่ใช่ตัวตน


    4. พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
    นามะรูปัง อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา นามรูป (ใจ – กาย) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์
    เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน


    5. อะนันตัง พะละวัง พุทธัง พระพุทธเจ้ามีพระกำลังหาที่สุดมิได้
    อะนันตัง โคจะรัง ธัมมัง พระธรรมคำสอนเป็นอารมณ์หาที่สุดมิได้
    อะนันตัง อะริยัง สังฆัง พระสงฆ์สาวกมีจำนวนหาที่สุดมิได้
    อะนันตัง โพธิมุตตะมังฯ พระโพธิญาณอันสูงสุดก็หาที่สุดมิได้


    ( ภาวนาสวดมนต์ประจำวันละ 3 – 5 – 7 จบ ภาวนาประจำจะดีมาก )
    จะทำให้ทำมาหากินคล่อง มีทรัพย์ ปราศจากโรค มีอายุยืน ไม่แก่ง่าย มีสุขภาพแข็งแรง

    ภาวนาอยู่เสมอ ๆ
    1. ขอให้พ้นจากความทุกข์
    2. ขอให้พ้นจากกิเลส
    3. ขอให้มีปัญญา

    ตำนานคาถาพระอรหันต์

    ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพระท่านเข้าไปธุดงค์ในรัฐกะเหรี่ยง ท่านได้ไปปักกรดอยู่ที่ชายป่า ไม่ไกลจากหมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่หนึ่ง รุ่งเช้าได้มีอุบาสิกาคนหนึ่งจากหมู่บ้านนั้นได้มาถวายอาหารบิณฑบาต ท่านได้พักอยู่ที่นั้นสองสามวัน

    วันที่ท่านจะเดินทางต่อ หลังจากได้รับอาหารบิณฑบาตจากโยมอุบาสิกาคนนั้นอีกครั้งหนึ่ง ท่านจึงได้กล่าวปฏิสันถารพูดคุยกับอุบาสิกานั้น ถามถึงว่า อยู่สุขสบายดีหรืออายุเท่าไหร่ แล้วทำมาหากินอะไร เป็นต้น
    อุบาสิกาคนนั้นก็ตอบว่า “อยู่สุขสบายดีเจ้าค่ะ ที่หมู่บ้านนี้ก็อยู่กันอย่างสงบ ๆ ตามประสาบ้านนอก ช่วยเหลือเจือจานกันตามฐานะ ส่วนอายุนั้นดิฉันไม่ได้นับมานานแล้วเจ้าค่ะ ไม่ทราบเดี๋ยวนี้เท่าไรแล้ว

    สามีดิฉันอายุร้อยกว่าเสียไปนานแล้ว
    คำพูดของอุบาสิกาซึ่งดูแล้วอายุประมาณสัก 40 – 50 ปีเท่านั้น กลับบอกว่าอายุเท่าไรจำไม่ได้แล้ว ทำให้พระสนใจ จึงถามว่า “คุณโยม
    มีของดีอะไรหรือ จึงมีอายุยืน ?” มีเจ้าค่ะ อุบาสิกาเรียนถวาย “ดิฉัน
    เองก็อยากถวายท่านเพื่อท่านจะได้ไปบอกคนอื่น ๆ เป็นธรรมทาน หากเขามีศรัทธานำไปปฏิบัติ ก็อาจได้รับผลอย่างที่ดิฉันได้รับอยู่ก็ได้

    เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อตอนที่ดิฉันเป็นสาวในวันที่แต่งงานได้นิมนต์พระมาในงานพิธี พระองค์ที่เป็นประธานสงฆ์ซึ่งชาวบ้านส่วนมากเลื่อมใส ศรัทธาท่านว่าเป็นพระอรหันต์ ท่านได้เมตตาให้พระคาถาไว้สวดมนต์ภาวนา จึงขอเรียกพระคาถานี้ว่า พระคาถาพระอรหันต์โดยให้สวดจำนวนจบเท่ากับอายุ

    ทุกวัน ดิฉันมีความเลื่อมใสจึงได้ท่องบ่นภาวนาทุก ๆ วัน ถ้ามีเวลาว่างเมื่อไหร่ก็สวดอยู่เสมอเป็นประจำไม่ขาด อานิสงฆ์ที่ได้ก็เท่าที่ท่านเห็นนี่แหละเจ้าค่ะ ดิฉันมีสุขภาพดี อายุมากแล้วก็ยังแข็งแรง สามีของดิฉันเขาไม่ค่อยเชื่อ สวดบ้างไม่สวดบ้าง ตอนนี้เสียชีวิตไปนานแล้ว ตอนที่เสียชีวิตอายุร้อยปีเศษ
    “แล้วคุณโยมทำมาหากินอะไรเล่า”
    “ขายข้าวสารเจ้าค่ะ” อุบาสิกาตอบ “ที่บ้านขายข้าวสาร โอ่งข้าวสารของดิฉันพอตักขายแล้ว มันก็กลับเต็มขึ้นมาอีกทุกครั้ง ดิฉันก็ได้อาศัยรายได้จากการขายข้าวสารนี่แหละเจ้าค่ะ กินบ้าง ใช้บ้าง ทำบุญบ้าง นี่ก็เป็นอานิสงฆ์จากการที่ดิฉันได้สวดมนต์ภาวนาคาถาพระอรหันต์นี้เป็นประจำ จึงขอถวายพระคาถานี้แด่พระคุณเจ้าเพื่อที่จะนำไปบอกกล่าวแก่ผู้ที่สนใจ มีศรัทธาในการจะสวดมนต์ภาวนาต่อไป”

    หมายเหตุ อาตมาได้พระคาถานี้มาจากประเทศพม่า เมื่อคราวไปอยู่ที่นั้นระหว่าง พ.ศ. 2503 – 2506 เห็นว่าพระคาถานี้มีประวัติดีและตัวพระคาถาก็มีความหมายดี รู้คำแปลแล้วสวดอยู่เสมอ ก็เป็นการเจริญกรรมฐานไปในตัวด้วย จึ่งได้นำมาเผยแพร่ ญาติโยมหลายท่านนำไปใช้ ก็บอกว่าได้ผลดี หากท่านมีศรัทธาก็จงท่องบ่นภาวนาสวดคาถานี้เป็นประจำเถิด

    พระเมธีวรญาณ
    สลับ เทวินทรภักติ
    เยาวลักษณ์ เนียมสวัสดิ์
    กรองทอง อนุกานนท์
    กันยารัตน์ ไกรอักษร
    นที อนุกานนท์
    พิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน


    (OFFLINE) Board Offline
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    หลวงปู่สี อรหันต์แห่งตาคลี ท่านเป็นใคร หลายคนสงสัย ว่าทำไมถึงแรงจัง ?

    [​IMG]

    หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค

    ย่นระยะทางไปพบสหายธรรม

    [FONT=&quot]ใน สมัยที่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่สีมักจะเดินทางไปสนทนาธรรมกันอยู่บ่อยครั้ง ในบางครั้งหลวงปู่ศุขก็เดินทางไปพบหลวงปู่สี และบางครั้งก็ไปพบกับหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ ทั้งสามท่านมีความผูกพันกันมาก มักจะผลัดเปลี่ยนเวียนกันไปพบซึ่งกันและกัน และในบางครั้งก็ออกธุดงค์ไปตามป่าดงพงเขาด้วยกันในบางครั้งบางคราว[/FONT]


    [FONT=&quot]หลวง ปู่กลั่น หลวงปู่ศุข หลวงปู่สี พระสหธรรมทั้งสามเกิดปี พ.ศ.ใกล้เคียงกัน หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ เกิดปี พ.ศ.๒๓๙๐ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรฯ เกิดปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ส่วนหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ เกิดปี พ.ศ. ๒๓๙๒ ซึ่งอ่อนกว่าทั้งสองท่านเพียง ๒ ปี แต่พระอาจารย์ทั้งสามท่านก็มีความผูกพันกัน ธุดงค์และศึกษาปฏิบัติธรรมด้วยกัน มีอะไรก็แลกเปลี่ยนกัน[/FONT]<o></o>

    [FONT=&quot]
    ในครั้งที่หลวงปู่ศุข เป็นเจ้าอาวาส อยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่สีได้เดินทางไปเยี่ยมและอยู่สนทนาธรรมกัน หลังจากที่ออกพรรษาแล้วหลายวัน หลวงปู่สีก็คิดว่าจะออกเดินธุดงค์ต่อไป แต่หลวงปู่ศุขก็ขอร้องให้หลวงปู่สีรออยู่ที่วัดก่อน เช้า วันนั้นหลวงปู่ศุขท่านก็ออกบิณฑบาต ฝ่ายหลวงปู่ลี พอเห็นหลวงปู่ศุขไปแล้วท่านก็เก็บของของท่านที่จำเป็นแล้วออกเดินทางไป เมื่อหลวงปู่ศุขกลับจากบิณฑบาต ทราบจากพระในวัดว่าหลวงปู่สีท่านไปแล้ว หลวงปู่ศุขจึงให้พระเณรฉันข้าวก่อน เดี๋ยวจะกลับมาฉันด้วย ต่อจากนั้นท่านก็เข้ากุฏิ นำพระคัมภีร์ ๓ เล่ม ตามไปให้หลวงปู่สี ปรากฏว่าพระอาจารย์ทั้งสองรูปมาพบกันที่ตาคลี จากนั้นหลวงปู่ศุขท่านก็เดินทางกลับวัดที่ชัยนาท ไปฉันอาหารร่วมรับพระเณรจนเสร็จ
    [/FONT]<o></o>

    [FONT=&quot]
    พระอาจารย์ทั้งสามรูปนี้ ท่านสำเร็จ อภิญญาชั้นสูง จึงสามารถย่นระยะทางไปไหนมาไหนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระยะทางจากชัยนาทมาถึงตาคลี ระยะทางประมาณ ๔๐-๕๐ กิโลเมตร ถ้านั่งรถก็ต้องใช้เวลาเกือบชั่วโมงเห็นจะได้ ใน เรื่องฤทธิ์เดชต่างๆ นี้ เวลาที่ลูกศิษย์ถามหลวงปู่สี ท่านจะแกล้งล้มตัวลงนอน ไม่ตอบคำถามของลูกศิษย์ แต่หากถามเรื่องธรรมะต่างๆ ท่านก็จะขยายข้อธรรมให้อย่างชัดเจน เพราะท่านไม่ต้องการให้ลูกศิษย์โดยเฉพาะพระภิกษุไปติดในเรื่องเดชฤทธิ์อำนาจ ท่านต้องการให้ใฝ่ใจในเรื่องการปฏิบัติธรรม
    [/FONT]<o></o>
    <table width="960"> <tbody> <tr align="left"> <link href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CSukit%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml" rel="File-List"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning /> <w:ValidateAgainstSchemas /> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables /> <w:SnapToGridInCell /> <w:ApplyBreakingRules /> <w:WrapTextWithPunct /> <w:UseAsianBreakRules /> <w:DontGrowAutofit /> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style type="text/css"> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> </tr> </tbody> </table>
    [​IMG]

    ปาฏิหารย์ แยกกายโปรดโยม<o></o>
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อราวต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางวัดเขาถ้ำบุญนาค ตาคลี ได้จัดให้มีงานประจำปีขึ้น ซึ่งไปตรงกับงานอีกวัดหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ซึ่งทางวัดก็ได้นิมนต์หลวงปู่สี ไปโปรดญาติโยมชาวจังหวัดชลบุรีซึ่งหลวงปู่สี ท่านก็รับปากว่าจะไป ในวันที่ ๑๘ มีนา ๒๕๑๙<o></o>[/FONT]

    [FONT=&quot]
    งานวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙ ที่วัดในจังหวัดชลบุรีที่ได้นิมนต์หลวงปู่ไว้ หลวงปู่ท่านก็ไปประพรมน้ำมนต์ให้ญาติโยมในงานที่วัดชลบุรี ตามคำนิมนต์ ต่อ มาวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๙ ชาวจังหวัดชลบุรี ก็เหมารถมาเที่ยวที่วัดเขาถ้ำบุญนาค ตั้งใจมากราบหลวงปู่สี เพราะติดใจหลวงปู่สี ที่ได้กราบรับพรจากหลวงปู่เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙ ที่วัดในจังหวัดชลบุรี
    <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
    <!--[endif]--><o></o>
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ข่าว หลวงปู่เดินทางไปจังหวัดชลบุรี ในวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙ แพร่ออกไป เหล่าลูกศิษย์หลวงปู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาค ต่างก็แปลกใจและงงไปตามๆ กัน เพราะว่าทุกคนก็เห็นว่าวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙ นั้นหลวงปู่ท่านไม่ได้ไปไหน ท่านอยู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาคตลอดเวลา เพราะว่าทางวัดมีงาน มีคนมากราบไหว้หลวงปู่อยู่ตลอดเวลาพระและลูกศิษย์ที่วัดเขาถ้ำบุญนาคจึงไป กราบถามหลวงปู่ว่า [/FONT][FONT=&quot]“หลวงปู่ครับ เมื่อวานหลวงปู่ไปเมืองชลบุรีมาหรือครับ” หลวงปู่ท่านไม่ตอบ พอมีคนมาถามนัก ท่านก็เลยล้มตัวลงนอน เลยไม่มีใครกล้าถามอะไรท่านอีก[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [​IMG]
    [​IMG]
    <table width="90%"><tbody><tr><td class="smalltext"><link href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CSukit%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml" rel="File-List"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning /> <w:ValidateAgainstSchemas /> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables /> <w:SnapToGridInCell /> <w:ApplyBreakingRules /> <w:WrapTextWithPunct /> <w:UseAsianBreakRules /> <w:DontGrowAutofit /> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style type="text/css"> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เหรียญมหาลาภ ตอกโค๊ต “สี”[/FONT]




    [​IMG]
    [​IMG]
    <table width="90%"> <tbody> <tr> <td class="smalltext">
    </td></tr></tbody></table>​
    <!--166141-->
    ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

    http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=10&qid=143883
    </td></tr></tbody></table>​
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เกร็ดเบื้องหลังธรรมะของครูอาจารย์

    พบศิษย์จังหวัดเลย (ปี พ.ศ. ๒๔๕๓) ในคำบันทึกบอกเล่าของหลานและศิษย์หลวงปู่ลีและจากคำบอกเล่าของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เกิด ๑๖ มกราคม ๒๔๓๐ มีจิตใจใฝ่ในธรรม อายุ ๑๒ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ชัย บ้านโป่ง จังหวัดเลย พออายุได้ ๒๒ ปี ในพ.ศ.๒๔๕๒ อุปสมบทที่วัดสร้างถ่อ อำเภอเกษมสีมา (ปัจจุบันเป็นอำเภอม่วงสามสิบ) จังหวัดอุบลราชธานี พระภิกษุแหวน สุจิณโณ ได้ออกจาริกธุดงค์ไปแต่ลำพังผู้เดียว โดดเดี่ยวดั้นด้นเข้าสู่ป่าเขาลำเนาไพรด้วยดวงใจอันเด็ดเดี่ยว พระภิกษุหนุ่มแหวนท่องเที่ยวจาริกไปเรื่อย ๆ หยุดพักตามโคนต้นไม้ชายทุ่งบ้าง ชายป่าห่างไกลจากหมู่บ้านบ้าง เข้าไปในป่าลึก พักบำเพ็ญเพียรตามชะโงกเขาบ้าง ตามเงื้อมผาหรือในถ้ำบ้าง บางวันก็ออกมาโคจรบิณฑบาต บางครั้ง ๒-๓ วัน ถึงบิณฑบาตครั้งหนึ่ง อาหารที่บิณฑบาตได้ส่วนมากเป็นข้าวเหนียวนึ่งเป็นปั้นๆ เมื่อได้มาแล้วก็นำมาฉันตามมีตามเกิด เป็นการฉันหรือกินข้าวด้วยความไม่มีอุปาทาน คือไม่มีเจตนากินให้อร่อย แต่เป็นการกินเพื่อให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ได้ เพื่อใช้กรรมตามกฎแห่งนามธรรม เมื่อท่านฉันข้าวแบบไม่มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในรสชาติอร่อยเช่นนี้ ปัญญาเรื่องอาหารการขบฉันจึงเป็นเรื่องไม่สำคัญ มีก็ฉัน ไม่มีก็ไม่ฉัน ไม่เดือดร้อนอะไร เพราะจิตใจมีความสุขชื่นฉ่ำสำราญในสมาธิอยู่แล้ว ทุกอิริยาบถ เพ่งเพียรภาวนาเดิน ยืน นั่ง และหลับในสมาธิเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ และถูกต้องตามหลักผู้มีสติไม่ประมาท อันได้แก่การเจริญสติปัฏฐาน ๔ หรือ กรรมฐานนั่นเอง ย้อนกลับไปในระหว่างที่พระภิกษุหนุ่มแหวนท่องเที่ยวธุดงควัตรอยู่แถวอีสาน แถบถิ่นอุบลราชธานีเข้าสู่จังหวัดเลย ได้พบปะกับพระธุดงค์ในป่าอยู่บ่อยๆ บ้างก็มาจากถิ่นไกล ข้ามมาจากฝั่งลาวก็มี แต่แล้วพระภิกษุแหวนก็ได้พบกับพระธุดงค์องค์สำคัญ รูปร่างสูงใหญ่ เป็นพระภิกษุที่อยู่ในวัย ๖๒ ปี ผู้เคร่งครัดในพระวินัย มีปฏิปทาสูง ลักษณะเป็นผู้มากบุญ จิตเมตตา นั่งปฏิบัติธรรมอยู่บนหน้าผาบนหุบเขาในป่าจังหวัดเลย ในเย็นวันนั้น พระภิกษุแหวนจึงได้มีโอกาสเข้าไปกราบพระภิกษุผู้เคร่งปฏิบัติธรรม เพราะตลอดระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร ท่านนั่งปฏิบัติอยู่ พระภิกษุแหวนก็มิได้เข้าไปรบกวน จวบจนพระภิกษุผู้เคร่งปฏิบัติท่านออกจากฌาน หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านเพ่งมองอยู่ชั่วครู่ แล้วจึงเอ่ยถามพระภิกษุแหวน “ท่านมาจากไหน?” “ผมมาจากจังหวัดเลยครับ ผมเข้าป่ามาตั้งใจจะแสวงหาที่วิเวกปฏิบัติธรรม” พระแหวนตอบ “..อือม..ตั้งใจดี หมั่นภาวนานะ” เป็นคำพูดสั้นๆ แต่ได้ใจความ ในวันต่อมาหลวงปู่สีได้สอนกรรมฐาน โดยย้ำว่าการภาวนาเป็นพื้นฐาน จงมีสติเป็นเพื่อนอยู่เสมอ การเรียนรู้ปฏิบัติธรรมอยู่ด้วย หลวงปู่แหวนได้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็วมีความเพลิดเพลินในการปฏิบัติ เมื่อติดขัดอะไรก็เข้าไปเรียนถามหลวงปู่สี หลวงปู่ก็แนะนำให้เป็นอย่างดี และแจกแจงข้อธรรมอย่างละเอียด อย่างเช่นท่านสอนให้รักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเราให้ดี จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ทุกอย่างต้องน้อมเข้ามาหากาย น้อมเข้าหาใจ พระธรรมทั้งหลายให้ยกใจขึ้นเป็นหัวหน้า ชำระใจให้บริสุทธิ์ รักษาตา หู จมูก ลิ้น กาย ไว้ รักษาธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ไว้ หมั่นภาวนา พิจารณาให้ดีนะ...ดั่งคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า “ละในสิ่งที่ควรละ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละคือทางดำเนินไปสู่มรรคผลนิพพาน” หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ พิจารณาเห็นว่า พระภิกษุแหวน เป็นผู้ตั้งใจในการปฏิบัติธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ อย่างสม่ำเสมอ วันหนึ่งข้างหน้าจะเป็นผู้สืบสานพระพุทธศาสนาต่อไปได้ดี หลวงปู่ และพระภิกษุแหวน อาจารย์ และศิษย์ได้ออกธุดงค์ บำเพ็ญเพียรเสาะแสวงหาสัจธรรม ร่วมอยู่ในป่าจังหวัดเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๓-๒๔๕๔ พระภิกษุแหวนติดตามหลวงปู่อยู่ ๒ ปี หลวงปู่สีท่านก็ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้พระภิกษุแหวน สุจิณโณ หลายประการ ก่อนแยกย้าย หลวงปู่ก็เน้นสั่งสอนในข้อปฏิบัติของการออกธุดงค์...คือ - อย่าปักกลดที่ไหนเกิน ๗ วัน จะทำให้ติดที่ - ห้ามนอนปักกลดขวางทางสัตว์เดิน - ห้ามปักกลดริมน้ำ (นอน) เพราะธรรมชาติสัตว์จะต้องมากินน้ำริมลำธาร - ห้ามปักกลดนอนใต้ต้นไม้ใหญ่เกิน ๓ ราตรี เพราะต้นไม้ใหญ่มีรุกขเทวดาอยู่ จะทำให้รุกขเทวดาเดือดร้อน ไม่กล้าอยู่ จะเข้าออกขึ้นลงก็ลำบาก หากไม่จำเป็นห้ามนอนปักกลดใต้ต้นไม้ใหญ่ จงอย่าลืม ต้องหมั่นพิจารณากรรมฐาน ทุกเช้าจะต้องตื่นมาพิจารณารับอรุณ เดินจงกรม ทำอานาปานสติ ทำจิตให้เป็นสมาธิ ทุกย่างก้าวต้องมีสติเน้อ...


    http://uauction.uamulet.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...