ไฟล์ที่สิบสาม ศีลานุสติ-จริต6 (22 - มค - 47)

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 17 ตุลาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    [music]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2064[/music]
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    เราก็มาว่าเรื่องกรรมฐานของเราต่อ จริง ๆ การปฏิบัติกรรมฐานนั้น เราต้องเป็นคนจริงจัง สม่ำเสมอ และต้องมีปัญญาประกอบด้วย การที่เราจริงจังสม่ำเสมอ ผลของการปฏิบัติถึงจะมี เพราะว่าการที่เรามาปฏิบัติกรรมฐานกัน เป็นการฝีนกระแสโลกเหมือนกับการว่ายทวนน้ำ ถ้าหากว่าเราไม่พยายามว่ายเข้าไว้ให้ตลอดเวลาอย่างสม่ำเสมอ มันก็จะลอยตามกระแสไป คราวนี้การลอยตามกระแสไปนั้น ถ้าเรากำลังยังดีอยู่ ถึงเวลาตะเกียกตะกายว่ายขึ้นมาใหม่ มันยังมีกำลังที่จะว่าย แต่ระยะทางอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะว่าเราปล่อยไป สมมติว่าได้หนึ่งวัน แล้วเราก็ตั้งหน้าตั้งตากลับมา พยายามที่จะทำ พยายามที่จะว่ายเป็นเวลาหนึ่งวัน ระยะห่างอาจจะได้เท่าเดิม แล้วเราปล่อยลอยไปอีก ว่ายใหม่ก็จะได้แค่เดิม หรือถ้าหากว่ามันล้าเสียแล้ว เราเองก็อาจจะได้ระยะทางไม่เท่าเดิม น้อยกว่าเดิม ถ้าปล่อยให้มันลอยไปอีก คราวนี้ระยะทางมันก็จะยิ่งไกลมากขึ้น กลายเป็นว่าเราเป็นคนขยัน ทำงานทุกวัน แต่ผลงานไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่นิดเดียว พอทำไป ทำไป หลายท่านก็หมดกำลังใจ ท้อ และก็เลิกทำไปโดยปริยาย บรรดากรรมฐานต่าง ๆ นั้น ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้ถึง สี่สิบเอ็ดแบบ คือสมถกรรมฐาน 40 กอง แล้วก็มีมหาสติปัณฐาน4 อีกแบบหนึ่ง เพื่อให้ มีกรรมฐานที่เหมาะกับจริต นิสัยของแต่ละคน ซึ่งมันแตกต่างกันไป จริตคือความเป็นไปของจิต จริตมันมีหกอย่างด้วยกัน คือ พุทธิจริต ประกอบไปด้วยความฉลาดเป็นปกติ ศรัทธาจริต ประกอบไปด้วยน้อมใจเชื่อเป็นปกติ โทสะจริต เป็นคนมักโกรธเป็นปกติ วิตกจริต เป็นคนที่คิดไม่ได้ตรองไม่ตก ละล้าละลังเป็นปกติ โมหะจริต เป็นบุคคลที่มีกำลังใจมืดมนเป็นปกติ
    ราคะจริต เป็นบุคคลที่มีความรักสวยรักงามเป็นปกติ คราวนี้ในแต่ละจริตนั้น
    มันล้วนแล้วแต่มีอยู่ในใจของเราครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง 6 ประการ เพียงแต่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งที่มันจะเด่นขึ้นมา อันนี้ต้องสังเกตเอง เราเป็นคนฉลาดฟังอะไรครั้งเดียวจำได้ สามารถที่จะทำอะไรได้คล่องตัว มีความเข้าใจแตกฉานในสิ่งต่าง ๆหรือไม่ ถ้าใช่เราก็เป็นพุทธิจริต เรามีความรักสวยรักงามเป็นปกติหรือไม่ ถ้าหากว่ามีความรักสวยรักงามเป็นปกติ จิตมีความปราณีตละเอียดทำอะไรทำแล้วทำอีก ถ้าหากว่าไม่ดีไม่เลิก อันนี้เราประกอบไปด้วยราคะจริต ถ้าหากว่าเขาว่าอะไรดี ที่ไหนดี เราก็เชื่อ และต้องการไปยังสถานที่นั้น ไปกระทำสิ่งนั้น ๆ อันนี้เป็นศรัทธาจริต ถ้าเป็นคนมักโกรธ ฟังอะไร กระทบอะไร เห็นอะไรไม่ได้ เกิดโทสะขึ้นมาโดยพลัน อันนี้เป็นโทสะจริต เราเป็นคนที่คิดไม่ตก ตรองไม่ตก กังวลอยู่เสมอหรือไม่ ถ้าเป็นอันนี้ก็จัดเป็นวิตกจริต หรือว่าเป็นคนที่หาปัญญาไม่ได้ คนอื่นเขามองเห็นช่องทางง่าย ๆ ของเราเองทำแล้วทำอีก ควานแล้วควานอีก ไม่ตรงเป้าเสียที อันนี้ก็จัดเป็นโมหะจริต คราวนี้ในแต่ละจริตวิสัยนั้น ท่านกำหนดกองกรรมฐานเอาไว้ สำหรับปฏิบัติให้ตรงกับกำลังใจของตน เพื่อจะได้เกิดความคล่องตัว ทำให้ถูกต้องตรงกับจริต เพื่อจะได้ผลเร็ว เรื่องของพุทธิจริตนั้น ท่านให้ใช้พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ คือการระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กายะคตาสติ มรณานุสสติ คือการระลึกถึงความเป็นจริงของร่างกายนี้ ตลอดจนกระทั่งความตาย และอุปมานุสสติ คือการระลึกถึงพระนิพพานอยู่เสมอ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เหมาะแก่ท่านผู้ที่เป็นพุทธิจริต เพราะว่าปัญญาท่านมาก สิ่งที่คนอื่นมองเห็นได้ยาก ท่านก็เห็น บุคคลที่ประกอบไปด้วยศรัทธาจริต ท่านให้ระลึกใน พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นปกติว่ามีคุณความดีอย่างไร ในเสลานุสสติ จาคานุสสติ ให้ระลึกถึงคุณของการรักษาศีล การบริจาคเป็นปกติ บุคคลที่เป็นราคะจริต ท่านให้ใช้อสุภกรรมฐานทั้ง 10 กอง พิจารณาให้เห็นว่าสภาพร่างกายของเราที่แท้จริง มันมีความไม่สวยไม่งามอย่างไร คนอื่นมันมีความไม่สวยไม่งามอย่างไร และให้ใช้กายคตานุสสติกรรมฐาน คือให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ ว่ามันไม่สวยไม่งาม มีแต่ความสกปรกเป็นปกติ ประกอบไปด้วยอวัยวะภายนอก ภายในใหญ่น้อยทั้งปวง ไม่ดูแล ไม่รักษา ไม่ขัดสีฉวีวรรณมันแค่วันสองวัน กลิ่นมันก็เหม็นจนทนไม่ได้ ท่านที่เป็นโทสะจริต ท่านให้ใช้เมตตา พรหมวิหารทั้ง 4 ข้อ คือให้มีความรัก ความสงสาร ความยินดี และเมื่อไม่สามารถที่จะทำอะไรตามกำลังความสามารถได้แล้วก็ให้ปล่อยวาง หรือใช้วรรณกสิณทั้ง 4 คือเพ่งสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาวเป็นปกติ เพื่อที่จะรักษาอารมณ์ทรงตัว ต่อต้านอารมณ์ของโทสะได้ ท่านที่เป็นวิตกจริตกับโมหะจริต ท่านให้ใช้อาณาปณสติกรรมฐาน คือดูลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว เพราะว่าสองจริตนี้ถ้าให้ทำอย่างอื่น กำลังใจของท่านจะก้าวไม่ถึงจุดนั้น เราเองก็มาพิจารณาดูว่าตัวเราเหมาะกับจริตไหน สมควรแก่กรรมฐานกองไหน เพราะว่าจริตทั้งหกนี้มันมีครบถ้วน แต่ว่าอันไหนที่มันเด่นออกมา เมื่อพิจารณาเห็นแล้ว ถ้ามีกรรมฐานหลายกองที่เหมาะกับจริตของเรา เราก็เลือกกองที่เราชอบใจที่สุด รักมากที่สุด แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำกองนั้นไป มันก็จะได้ผล

    คราวนี้จากการที่เรากล่าวเอาไว้ข้างต้นว่า ส่วนใหญ่แล้วพวกเราจะอยู่ในลักษณะทำทำ ทิ้งทิ้ง ไม่สม่ำเสมอ เปรียบเหมือนกับการขุดบ่อเพื่อจะหาน้ำ
    พอขุดลงไปได้สักสองวาสามวา ยังไม่ถึงน้ำเสียที คนอื่นบอกตรงโน้นดี ก็เปลี่ยนที่ไปขุดตรงโน้น ลงไปได้สักวาสองวา คนอื่นบอกว่าตรงโน้นดี ก็เปลี่ยนที่ไปอีก การที่เราขาดความจริงจังสม่ำเสมอในทำการกรรมฐาน ทำให้มันไม่เกิดผล ดังนั้นเมื่อมันไม่เกิดผล หรือว่าเกิดผลน้อย เหมือนกับขุดบ่อแล้วไม่ได้น้ำเสียที เราอาจจะท้อ แล้วก็เลิกขุด เพราะฉะนั้น เมื่อท่านทรงอารมณ์กรรมฐานได้แล้ว ทรงตัวแล้วให้พยายามประคับประคองอารมณ์นั้น ให้อยู่กับเรา ให้นานที่สุดให้ยาวที่สุด เพื่อความเคยชินของกำลังใจ มันจะได้ยอมรับอารมณ์นั้น ๆ ต่อไปมันก็จะทรงอารมณ์นั้นได้ยาวนานยิ่งกว่าเดิม และถ้ามีความคล่องตัวจริง ๆ ก็จะทรงได้ตลอดเวลาที่ต้องการ

    การปฏิบัติกรรมฐานของเรานั้น สิ่งที่มาขวางก็คือมารทั้งหลายเขามีความฉลาด จะทำให้เราเกิดอารมณ์กระทบ ไม่พอตา ไม่พอใจก็ดี ชอบอกชอบใจก็ดี แล้วเราก็จะพลาดไปจากจุดที่เราปรารถนา ที่เราต้องการ ให้ทุกคนสังเกตว่าเมื่อเราปฏิบัติไปถึงจุดหนึ่ง รู้สึกว่ามันดีเหลือเกิน ทาน ศีล ภาวนาของเรามีความก้าวหน้ามาก มีความคล่องตัวมาก แล้วอยู่ๆ มันก็พังไปเฉย ๆ ถ้าเราสังเกตตรงจุดนี้ หมั่นจับตรงจุดนี้บ่อย ๆ จะเห็นได้ว่าทันทีที่เราปฏิบัติแล้ว ความดีเริ่มทรงตัวแล้ว อยู่ ๆ มันก็จะพังไปทุกที มันจะเอาโลภะ โทสะ โมหะ เข้ามาอยู่ในใจแทน ก่อนกรรมฐานนั้น ๆ นี่คือฝีมือของมาร คือผู้ขวาง ขอให้ทุกท่านทราบไว้ว่า ขณะที่กำลังใจท่านฟุ้งซ่านที่สุด ความจริงแล้วเป็นเวลาที่ท่านใกล้ความดีที่สุด มารเขารู้ว่าเราจะพ้นจากมือเขาแล้ว เขาก็พยายามที่จะดึงเรา ให้เป๋ไปจากจุดที่เรามุ่งไป มันเหมือนกับเรายืนอยู่หน้าประตูแล้ว แค่เอื้อมมือไปเปิดประตู เราก็ก้าวพ้นแล้ว แต่ว่าทุกครั้งเขาสามารถหลอกให้เราสนใจสิ่งอื่นได้ แล้วก็เลี้ยวตามเขาไป จนกระทั่งพอรู้ตัวขึ้นมา เอ๊ะ ก่อนหน้านี้ทำไมเราทำแล้วรู้สึกดีเหลือเกิน ทำไมตอนนี้กำลังใจมันถึงแย่ขนาดนี้ ทำไมมันถึงเลวขนาดนี้ ถ้าท่านรู้จักตรอง โดยการคิดย้อนกลับไป ให้รู้ว่าตัวเองตอนนั้นคิดอย่างไร พูดอย่างไร ทำอย่างไร อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน กำลังใจเราถึงได้ดี ถึงได้ทรงตัว ก็ให้คิดแบบนั้น พูดแบบนั้น ทำแบบนั้น สร้างสิ่งแวดล้อมแบบนั้นขึ้นมา เราก็จะก้าวไปสู่จุดที่เคยทำได้อีก แล้วคราวนี้ใช้สติระมัดระวัง ควบคุมเอาไว้ อย่าให้คล้อยตามกำลังของมารที่มาหลอกลวงและดึงเราไปอีก ถ้ารู้จักพินิจพิจารณาลักษณะนี้บ่อย ๆ เราก็จะเริ่มชนะบ้าง แล้วหลังจากนั้นก็จะชนะมากขึ้น มาอยู่ในลักษณะก้ำกึ่งกัน ตอนนี้จะเป็นตอนที่สนุกที่สุดของการปฏิบัติคือมันจะคอยช่วงชิงไหวชิงพริบก้น ว่าคะแนนต่อไปจะเป็นของเราหรือของเขา ถ้ามาถึงตรงจุดนี้ไม่ว่าจะหนัง ดูละคร จะสิ่งใดก็ตาม ไม่มีความน่าสนใจไปกว่าการดูใจตัวเอง การสร้างกำลังใจตัวเอง ต่อสู้กับกิเลส แล้วถ้าเรายิ่งใช้สติ ใช้ปัญญา ควบคุมมันให้มากขึ้น หมั่นพินิจพิจารณา สร้างกำลังของตนให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น เราก็จะชนะมากกว่าแพ้ แล้วในที่สุดก็จะก้าวไปสู่จุดที่ไม่แพ้อีก สิ่งต่างๆ รอบข้างมันล่อลวงเราอยู่ตลอดเวลา เรื่องของราคะ มันเห็นรูปสวย มันก็พลอยยินดีด้วย ไปคลุกคลีตีโมง ไปฟุ้งซ่านอยุ่ตรงจุดนั้น กำลังใจเราก็เสีย มันได้ยินเสียงเพราะ มันก็พลอยยินดีด้วยมันก็ใฝ่ฝันที่อยากจะฟัง พยายามที่จะเสาะหามา หรือไปอยู่ใกล้สิ่งนั้น ก็เสียผลการปฏิบัติ มันได้กลิ่นหอมมันก็พลอยยินดีด้วย มันได้รสอร่อยมันก็พลอยยินดีด้วย มันได้สัมผัสที่นุ่มนวลชอบใจมันก็พลอยยินดีด้วย ทำให้เราไปหลง ไปยึด ไปติดอยู่ตรงจุดนั้น สิ่งที่เราปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นมันก็พังไป หรือว่าเราเห็น เราได้ยิน เราได้กลิ่น เราได้รส เราสัมผัส ไม่ชอบใจสักอย่างเดียว โทสะมันก็เกิด ในเมื่อความชั่วมันเกิด ความดีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าความชั่วมันมาอาศัยอยู่แทนเสียแล้ว เราก็เสียผลการปฏิบัติเช่นกัน ดังนั้นการปฏิบัติกรรมฐาน นอกจากจะทำอย่างสม่ำเสมอจริงจังแล้ว ยังต้องมีสติสัมปชัญญะ ยังต้องมีปัญญา ต้องคอยตามดูตามรู้ ตามระมัดระวัง อย่าให้กิเลสมันมาชักจูงเราไปได้

    สำหรับวันนี้เราก็มาศึกษาเรื่องของศีลานุสสติกรรมฐาน เราจะมาดูว่าศีลมีคุณสมบัติอย่างไร มีความดีอย่างไร ที่เราต้องทำอีก ศีลก็คือความเป็นปกติ
    ปกติ ของปุถุชนทั่วๆ ไป ต้องมีศีลอย่างน้อย 5 ข้อ เรียกว่ามนุษยธรรม คือจะต้องเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักขโมย เว้นจากการละเมิดคนที่มีเจ้าของ เว้นจากการพูดปด เว้นจากการดื่มสุราเมรัย หรือสิ่งของที่ทำให้เมามายขาดสติสัมปชัญญะ ถ้าเราละเมิดข้อใดข้อหนึ่งก็ตาม อบายภูมิจะรอเราอยู่ข้างหน้า ตายเมื่อไหร่ได้ไปแน่ ๆ ดังนั้นศีลเป็นเครื่องกั้นเราจากอบายภูมิ กั้นไม่ให้เราเป็นสัตว์นรก ไม่ให้เป็นเปรต ไม่ให้เป็นอสูรกาย ไม่ให้เป็นสัตว์เดรัจฉาน นี่คือทุนของศีลขั้นต้น รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปสู่ทางที่ชั่ว ถ้าเราตกลงไปในทางที่ชั่ว คือลงสู่อบายภูมิแล้ว เมื่อสิ้นกรรมอันนั้นมาเกิดเป็นคน เศษกรรมอันนั้นก็ยังมาทำอันตรายเราได้อีก ถ้าเคยฆ่าคน ฆ่าสัตว์ไว้เป็นปกติ ก็จะอายุสั้น ทันตายหรือถ้าหากว่ายังดำรงชีวิตอยู่ก็จะมีแต่ความเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เสมอ ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้นกับตน เพราะเศษของกรรมมันตามมา ถ้าหากว่าเคยลักขโมยเขาเอาไว้ เกิดมาทรัพย์สินก็จะเสียหาย จะโดนไฟไหม้บ้าง โดนทำลายด้วยลม ด้วยน้ำบ้าง เกิดแผ่นดินไหวบ้าง ทรัพย์สมบัติทั้งหมดจะสลายตัวไป ทรงตัวอยู่ไม่ได้เพราะเศษกรรมมันเกิดขึ้น มันตามมาสนอง ถ้าหากว่าเคยละเมิดลูกเขา เมียใคร คนที่เขารักเขาหวง เกิดมาชาติใหม่ เศษกรรมก็จะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ บังคับบัญชาคนอื่นไม่ได้ เป็นคนไม่มีอำนาจ พูดจาไม่มีใครฟัง ถ้าโกหกคนอื่นเป็นปกติ เกิดเป็นมนุษย์เศษกรรมก็จะทำให้เราไม่มีโอกาสจะได้ฟังความเป็นจริง พูดอะไรคนก็ไม่เชื่อ ถ้าเราไม่ต้องการให้เศษกรรมข้อนี้สร้างความลำบากให้กับเรา เราก็อย่าพูดปด ถ้าเราดื่มสุราเมรัยหรือว่าเครื่องดองของเมาอะไรที่ทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ ทำแต่น้อย เกิดเป็นมนุษย์เศษกรรมก็จะทำให้มีโรคปวดศรีษะเป็นปกติ ถ้าหากว่าปานกลาง ก็จะเป็นโรคประสาท สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ถ้าหากว่าทำมากเป็นปกติ ทุกวัน ๆ เศษกรรมตัวนี้ก็จะทำให้ทำให้เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็จัดอยู่ในลักษณะไม่มีสติสัมปชัญญะ คือกลายเป็นคนบ้า ถ้าเรารักษาศีลได้บริสุทธิ์สมบูรณ์ อบายภูมิทั้งหลายไม่สามารถจะนำเราไปได้ อย่างน้อยเกิดเป็นมนุษย์
    ก็มีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ มีรูปร่างหน้าตาสวยงามเป็นที่ชอบใจ และเศษกรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่เรา นี่คือคุณของศีลขั้นต้น และกำลังของศีลยังจะส่งผลให้เราเกิดเป็นเทวดาได้ เกิดเป็นพรหมได้ ไปสู่พระนิพพานได้ ถ้าเรามีศีลเป็นปกติ ตายจากมนุษย์ ก็จะเป็นเทวดาชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือถ้าหากว่าศีลของเราทรงตัวอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าทรงศีลเป็นฌาน เราก็จะเกิดเป็นพรหมตามกำลังของฌานที่เราทรงอยู่ หรือถ้าเราตั้งใจรักษาศีล เพราะจะไปพระนิพพาน ถ้าจิตไม่ยึดไม่เกาะร่างกายจริง ๆ เราก็จะสามารถเข้าสู่พระนิพพานได้ ดังนั้นในแต่ละวันให้ทุกคนใคร่ครวญศีลของตนตามสภาพ เป็นฆราวาสก็ศีล 5 เป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็ศีล 8 หรือถ้ารักษากรรมบท 10ได้ก็ยิ่งดี เป็นสามเณรก็ศีล10 เป็นพระก็ศีล227 ข้อพร้อมอภิสมาจารย์ หากว่าเราสร้างสติสัมปชัญญะของเราใด้สมบูรณ์ เพียงแค่ขยับตัวเราก็รู้แล้วว่าศีลจะขาดจะพร่องหรือไม่ ให้เราทบทวนศีลตามสภาพของตนอยู่ทุกวัน อาจจะประเภทว่าตื่นเช้าขึ้นมาก็เริ่มใครครวญทบทวนไปเลย มีสิกขาบทไหนที่ยังพร่องไม่สมบูรณ์ให้ตั้งใจว่าตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไปศีลทุกสิกขาบทของเราจะสมบูรณ์บริบูรณ์ แล้วตั้งหน้าตั้งตารักษา ในขณะที่สติสัมปชัญญะยังไม่สมบูรณ์ การพร่องในศีลย่อมมีเป็นปกติ แต่ว่าอย่าให้พร่องโดยเจตนาของเรา เพราะว่าเจตนานั้นเป็นตัวกรรมใหญ่ที่จะพาเราไปสู่อบายภูมิหรือไปสู่สุขคติ ถ้าเจตนาของเราละเว้น ไม่ละเมิดศีลเป็นปกติ เราก็ไปสู่สุขคติแน่นอน แต่ถ้าหากว่าเจตนาของเราตั้งใจละเมิด อบายภูมิก็เป็นที่ไปของเราแน่นอนเช่นกัน เมื่อเราใครครวญในศีลเป็นปกติแล้ว มั่นใจแล้วว่าวินาทีนี้เป็นต้นไป ศีลทุกข้อของเราจะสมบูรณ์ บริบูรณ์ ก็ให้เราจับลมหายใจเข้าออก ภาวนาต่อไปเลย จะเป็นการจับภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมลมหายใจเข้าออกก็ได้ใช้คำภาวนาว่าพุทธโธ ธรรมโม สังโฆก็ได้ แล้วแต่เราถนัด เมื่ออารมณ์ใจของท่านตั้งมั่น ก็แปลว่าท่านทรงฌานในศีลากรรมฐาน ให้ท่านตั้งใจว่า เรารักษาศีลเพราะเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรารักษาศีลเพราะเราต้องการไปพระนิพพาน พอกำลังใจทรงตัว ก็ประคับประคองรักษาเอาไว้ มีใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับภาพองค์ ตั้งใจว่าพระพุทธเจ้าไม่อยู่ที่หนึ่งที่ใดเลย นอกจากพระนิพพาน เราเห็นท่านคือเราอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน ตั้งใจว่าอนิสงค์ของศีลที่เราตั้งใจพิจารณานี้ ที่เราตั้งใจปฏิบัติด้วยการงดเว้นนี้ขอให้เป็นปัจจัย ส่งผลให้เราเข้าสู่พระนิพพานแห่งเดียว หายใจเข้าศีลทุกข้อของเราก็สมบูรณ์บริบูรณ์ หายใจออกศีลของเราก็สมบูรณ์บริบูรณ์ ให้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเราอยู่กับศีล ให้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ของเราอยู่กับพระ ให้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเราอยู่กับนิพพาน พยายามทรงกำลังใจแบบนี้ให้เป็นปกติ จึงจะชื่อว่าท่านปฏิบัติในศีลานุสสติกรรมฐานได้ทรงตัว

    การปฏิบัติกรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ตาม ถ้าเราทำได้แล้ว ก่อนที่จะขึ้นกรรมฐานกองอื่น ให้เราทวนของเก่าเสียก่อน ถ้าเราทำในพุทธานุสสติ ก็จับภาพพระพร้อมกับคำภาวนา ให้ทรงตัว แจ่มใส ถ้าเราปฏิบัติในธรรมานุสสติ ก็จับภาพของดอกมะลิแก้ว หรือดอกมะลิทองคำ ที่เราใช้แทนธรรมนุสสติกรรมฐานให้เป็นปกติ ทรงตัว แจ่มใน ถ้าปฏิบัติในสังฆานุสสติ ก็จับภาพหลวงปู่หลวงพ่อองค์ใดองค์หนึ่งที่เราเคารพท่าน จนภาพปรากฏชัดเจนแจ่มใสอย่างนี้เป็นต้น พอกำลังใจทรงตัวเต็มที่แล้ว ค่อยถอยกำลังใจออกมา เริ่มต้นปฏิบัติกรรมฐานกองใหม่ เราต้องมีการย้อนทวนหน้า ทวนหลังซักซ้อมเพื่อความคล่องตัวอย่างนี้อยู่เสมอ เพื่อว่าถึงวาระ ถึงเวลา กำลังใจมันมีจริตไหนปรากฏขึ้น จะได้ใช้กรรมฐานกองนั้น ๆ ต่อสู้กับมันได้ทันท่วงที ดังนั้นเมื่อทำได้แล้วของเก่าห้ามทิ้ง ต้องทบทวนไว้ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันเมื่อกำลังใจทรงตัวแล้ว ก็ทำกองใหม่ต่อไป หรือถ้าเราไม่มีความจำเป็นต้องศึกษามันให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เราชอบใจกองไหน ให้เรายึดมั่นกองนั้นของเราไป ให้ทำดังนี้อยู่เป็นปกติทุกวัน ๆ ถือเป็นภาระเป็นหน้าที่ ที่เราจะต้องทรงกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง
    ให้ได้ในแต่ละวัน อย่าให้จิตของเราไปฟุ้งซ่านกับความรัก โลภ โกรธ หลง เพื่อรักษาอารมณ์แจ่มในของจิตให้เป็นปกติ ถ้าทำดังนี้ได้ถึงเวลาเราตาย เราก็ไปสู่สุขคติ ถ้าเราไม่ต้องการการเกิด ไม่มีความปรารถนาในร่างกายนี้ ไม่มีความปรารถนาในโลกนี้ เราก็จะไปสู่พระนิพพานตามความต้องการของตน

    ตอนนี้ก็ให้ทุกคนรักษากำลังใจให้ทรงตัวอยู่กับอารมณ์ที่เราทำได้ แล้วแบ่งกำลังใจส่วนหนึ่งออกมาควบคุมร่างกายไว้ตามปกติ เพื่อจะได้สวดมนต์ทำวัตรของเราต่อไป

    ** จบ ไฟล์ที่สิบสาม**
     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    เราก็มาว่าเรื่องกรรมฐานของเราต่อ จริง ๆ "การปฏิบัติกรรมฐาน" นั้น เราต้องเป็นคนจริงจัง สม่ำเสมอ และต้องมีปัญญาประกอบด้วย การที่เราจริงจังสม่ำเสมอ ผลของการปฏิบัติถึงจะมี

    เพราะว่าการที่เรามาปฏิบัติกรรมฐานกัน เป็นการฝีนกระแสโลกเหมือนกับการว่ายทวนน้ำ ถ้าหากว่าเราไม่พยายามว่ายเข้าไว้ให้ตลอดเวลาอย่างสม่ำเสมอ มันก็จะลอยตามกระแสไป คราวนี้การลอยตามกระแสไปนั้น ถ้าเรากำลังยังดีอยู่ ถึงเวลาตะเกียกตะกายว่ายขึ้นมาใหม่ มันยังมีกำลังที่จะว่าย แต่ระยะทางอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะว่าเราปล่อยไป สมมติว่าได้หนึ่งวัน แล้วเราก็ตั้งหน้าตั้งตากลับมา พยายามที่จะทำ พยายามที่จะว่ายเป็นเวลาหนึ่งวัน ระยะห่างอาจจะได้เท่าเดิม แล้วเราปล่อยลอยไปอีก ว่ายใหม่ก็จะได้แค่เดิม หรือถ้าหากว่ามันล้าเสียแล้ว เราเองก็อาจจะได้ระยะทางไม่เท่าเดิม น้อยกว่าเดิม ถ้าปล่อยให้มันลอยไปอีก คราวนี้ระยะทางมันก็จะยิ่งไกลมากขึ้น กลายเป็นว่าเราเป็นคนขยัน ทำงานทุกวัน แต่ผลงานไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่นิดเดียว พอทำไป ทำไป หลายท่านก็หมดกำลังใจ ท้อ และก็เลิกทำไปโดยปริยาย

    บรรดากรรมฐานต่าง ๆ นั้น ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้ถึง สี่สิบเอ็ดแบบ คือ สมถกรรมฐาน 40 กองแล้วก็มี มหาสติปัณฐาน 4 อีกแบบหนึ่ง เพื่อให้ มีกรรมฐานที่เหมาะกับจริต นิสัยของแต่ละคน ซึ่งมันแตกต่างกันไป

    *จริต* คือ ความเป็นไปของจิต จริตมันมีหกอย่างด้วยกัน คือ
    -พุทธิจริต ประกอบไปด้วยความฉลาดเป็นปกติ
    -ศรัทธาจริต ประกอบไปด้วยน้อมใจเชื่อเป็นปกติ
    -โทสะจริต เป็นคนมักโกรธเป็นปกติ
    -วิตกจริต เป็นคนที่คิดไม่ได้ตรองไม่ตก ละล้าละลังเป็นปกติ
    -โมหะจริต เป็นบุคคลที่มีกำลังใจมืดมนเป็นปกติ

    -ราคะจริต เป็นบุคคลที่มีความรักสวยรักงามเป็นปกติ

    คราวนี้ในแต่ละจริตนั้นมันล้วนแล้วแต่มีอยู่ในใจ ของเราครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง 6 ประการ เพียงแต่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งที่มันจะเด่นขึ้นมา อันนี้ต้องสังเกตเอง เราเป็นคนฉลาดฟังอะไรครั้งเดียวจำได้ สามารถที่จะทำอะไรได้คล่องตัว มีความเข้าใจแตกฉานในสิ่งต่าง ๆหรือไม่ ถ้าใช่เราก็เป็น พุทธิจริต เรามีความรักสวยรักงามเป็นปกติหรือไม่ ถ้าหากว่ามีความรักสวยรักงามเป็นปกติ จิตมีความปราณีตละเอียดทำอะไรทำแล้วทำอีก ถ้าหากว่าไม่ดีไม่เลิก อันนี้เราประกอบไปด้วยราคะจริต
    กระทบอะไร เห็นอะไรไม่ได้ถ้าหากว่าเขาว่าอะไรดี ที่ไหนดี เราก็เชื่อ และต้องการไปยังสถานที่นั้น ไปกระทำสิ่งนั้น ๆ อันนี้เป็นศรัทธาจริต ถ้าเป็นคนมักโกรธ ฟังอะไร เกิดโทสะขึ้นมาโดยพลัน อันนี้เป็น โทสะจริต
    เราเป็นคนที่คิดไม่ตก ตรองไม่ตก กังวลอยู่เสมอหรือไม่ ถ้าเป็นอันนี้ก็จัดเป็น วิตกจริต หรือว่าเป็นคนที่หาปัญญาไม่ได้ คนอื่นเขามองเห็นช่องทางง่าย ๆ ของเราเองทำแล้วทำอีกควานแล้วควานอีก ไม่ตรงเป้าเสียที อันนี้ก็จัดเป็น โมหะจริต

    คราวนี้ในแต่ละจริตวิสัยนั้น ท่านกำหนดกองกรรมฐานเอาไว้ สำหรับปฏิบัติให้ตรงกับกำลังใจของตน เพื่อจะได้เกิดความคล่องตัว ทำให้ถูกต้องตรงกับจริต เพื่อจะได้ผลเร็ว

    เรื่องของพุทธิจริตนั้น ท่านให้ใช้พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ คือการระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กายะคตาสติ มรณานุสสติ คือการระลึกถึงความเป็นจริงของร่างกายนี้ ตลอดจนกระทั่งความตาย และอุปมานุสสติ คือการระลึกถึงพระนิพพานอยู่เสมอ
    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เหมาะแก่ท่านผู้ที่เป็นพุทธิจริต เพราะว่าปัญญาท่านมากสิ่งที่คนอื่นมองเห็นได้ยาก ท่านก็เห็น
    บุคคลที่ประกอบไปด้วย*ศรัทธาจริต* ท่านให้ระลึกใน พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นปกติว่ามีคุณความดีอย่างไรในเสลานุสสติ จาคานุสสติ ให้ระลึกถึงคุณของการรักษาศีลการบริจาคเป็นปกติ บุคคลที่เป็น *ราคะจริต*ท่านให้ใช้อสุภกรรมฐานทั้ง 10 กอง พิจารณาให้เห็นว่าสภาพร่างกายของเราที่แท้จริง มันมีความไม่สวยไม่งามอย่างไร คนอื่นมันมีความไม่สวยไม่งามอย่างไร และให้ใช้กายคตานุสสติกรรมฐานคือให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ ว่ามันไม่สวยไม่งาม มีแต่ความสกปรกเป็นปกติ ประกอบไปด้วยอวัยวะภายนอก ภายในใหญ่น้อยทั้งปวง ไม่ดูแล ไม่รักษา ไม่ขัดสีฉวีวรรณมันแค่วันสองวัน กลิ่นมันก็เหม็นจนทนไม่ได้
    ท่านที่เป็น*โทสะจริต* ท่านให้ใช้ เมตตา พรหมวิหารทั้ง 4 ข้อ คือให้มีความรัก ความสงสาร ความยินดี และเมื่อไม่สามารถที่จะทำอะไรตามกำลังความสามารถได้แล้วก็ให้ปล่อยวาง หรือใช้ วรรณกสิณทั้ง 4 คือเพ่งสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาวเป็นปกติ เพื่อที่จะรักษาอารมณ์ทรงตัว ต่อต้านอารมณ์ของโทสะได้
    ท่านที่เป็น *วิตกจริตกับโมหะจริต* ท่านให้ใช้อาณาปณสติกรรมฐาน คือดูลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว เพราะว่าสองจริตนี้ถ้าให้ทำอย่างอื่น กำลังใจของท่านจะก้าวไม่ถึงจุดนั้น

    เราเองก็มาพิจารณาดูว่าตัวเราเหมาะกับจริตไหน สมควรแก่กรรมฐานกองไหน เพราะว่าจริตทั้งหกนี้มันมีครบถ้วน แต่ว่าอันไหนที่มันเด่นออกมา
    เมื่อพิจารณาเห็นแล้ว ถ้ามีกรรมฐานหลายกองที่เหมาะกับจริตของเรา เราก็เลือกกองที่เราชอบใจที่สุด รักมากที่สุด แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำกองนั้นไป มันก็จะได้ผล

    คราวนี้จากการที่เรากล่าวเอาไว้ข้างต้นว่า ส่วนใหญ่แล้วพวกเราจะอยู่ในลักษณะทำทำ ทิ้งทิ้ง ไม่สม่ำเสมอ เปรียบเหมือนกับการขุดบ่อเพื่อจะหาน้ำ
    พอขุดลงไปได้สักสองวาสามวา ยังไม่ถึงน้ำเสียที คนอื่นบอกตรงโน้นดี ก็เปลี่ยนที่ไปขุดตรงโน้น ลงไปได้สักวาสองวา คนอื่นบอกว่าตรงโน้นดี ก็เปลี่ยนที่ไปอีก

    การที่เราขาดความจริงจังสม่ำเสมอในทำการกรรมฐาน ทำให้มันไม่เกิดผล ดังนั้นเมื่อมันไม่เกิดผล หรือว่าเกิดผลน้อย เหมือนกับขุดบ่อแล้วไม่ได้น้ำเสียที เราอาจจะท้อ แล้วก็เลิกขุด เพราะฉะนั้น เมื่อท่านทรงอารมณ์กรรมฐานได้แล้ว ทรงตัวแล้วให้พยายามประคับประคองอารมณ์นั้น ให้อยู่กับเรา ให้นานที่สุดให้ยาวที่สุด เพื่อความเคยชินของกำลังใจ มันจะได้ยอมรับอารมณ์นั้น ๆต่อไปมันก็จะทรงอารมณ์นั้นได้ยาวนานยิ่งกว่าเดิม และถ้ามีความคล่องตัวจริง ๆ ก็จะทรงได้ตลอดเวลาที่ต้องการ

    การปฏิบัติกรรมฐานของเรานั้น สิ่งที่มาขวางก็คือ "
    มาร" ทั้งหลายเขามีความฉลาด จะทำให้เราเกิดอารมณ์กระทบ ไม่พอตา ไม่พอใจก็ดี ชอบอกชอบใจก็ดี แล้วเราก็จะพลาดไปจากจุดที่เราปรารถนา ที่เราต้องการ ให้ทุกคนสังเกตว่าเมื่อเราปฏิบัติไปถึงจุดหนึ่ง รู้สึกว่ามันดีเหลือเกิน ทาน ศีล ภาวนาของเรามีความก้าวหน้ามาก มีความคล่องตัวมาก แล้วอยู่ๆ มันก็พังไปเฉย ๆ ถ้าเราสังเกตตรงจุดนี้ หมั่นจับตรงจุดนี้บ่อย ๆ จะเห็นได้ว่าทันทีที่เราปฏิบัติแล้ว ความดีเริ่มทรงตัวแล้ว อยู่ ๆ มันก็จะพังไปทุกที มันจะเอาโลภะ โทสะ โมหะ เข้ามาอยู่ในใจแทน ก่อนกรรมฐานนั้น ๆ นี่คือฝีมือของมาร คือผู้ขวาง

    ขอให้ทุกท่านทราบไว้ว่า ขณะที่กำลังใจท่านฟุ้งซ่านที่สุด ความจริงแล้วเป็นเวลาที่ท่านใกล้ความดีที่สุด มารเขารู้ว่าเราจะพ้นจากมือเขาแล้ว เขาก็พยายามที่จะดึงเรา ให้เป๋ไปจากจุดที่เรามุ่งไป มันเหมือนกับเรายืนอยู่หน้าประตูแล้ว แค่เอื้อมมือไปเปิดประตู เราก็ก้าวพ้นแล้ว

    แต่ว่าทุกครั้งเขาสามารถหลอกให้เราสนใจสิ่งอื่นได้ แล้วก็เลี้ยวตามเขาไป จนกระทั่งพอรู้ตัวขึ้นมา เอ๊ะ ก่อนหน้านี้ทำไมเราทำแล้วรู้สึกดีเหลือเกิน ทำไมตอนนี้กำลังใจมันถึงแย่ขนาดนี้ ทำไมมันถึงเลวขนาดนี้ ถ้าท่านรู้จักตรอง โดยการคิดย้อนกลับไป ให้รู้ว่าตัวเองตอนนั้นคิดอย่างไร พูดอย่างไร ทำอย่างไร อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน กำลังใจเราถึงได้ดี ถึงได้ทรงตัว ก็ให้คิดแบบนั้น พูดแบบนั้น ทำแบบนั้น สร้างสิ่งแวดล้อมแบบนั้นขึ้นมา เราก็จะก้าวไปสู่จุดที่เคยทำได้อีก แล้วคราวนี้ใช้สติระมัดระวัง ควบคุมเอาไว้ อย่าให้คล้อยตามกำลังของมารที่มาหลอกลวงและดึงเราไปอีก

    ถ้ารู้จักพินิจพิจารณาลักษณะนี้บ่อย ๆ เราก็จะเริ่มชนะบ้าง แล้วหลังจากนั้นก็จะชนะมากขึ้น มาอยู่ในลักษณะก้ำกึ่งกัน ตอนนี้จะเป็นตอนที่สนุกที่สุดของการปฏิบัติคือ มันจะคอยช่วงชิงไหวชิงพริบก้น ว่าคะแนนต่อไปจะเป็นของเราหรือของเขา ถ้ามาถึงตรงจุดนี้ไม่ว่าจะหนัง ดูละคร จะสิ่งใดก็ตาม ไม่มีความน่าสนใจไปกว่าการดูใจตัวเอง การสร้างกำลังใจตัวเอง ต่อสู้กับกิเลส แล้วถ้าเรายิ่งใช้สติ ใช้ปัญญา ควบคุมมันให้มากขึ้น หมั่นพินิจพิจารณา สร้างกำลังของตนให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น เราก็จะชนะมากกว่าแพ้ แล้วในที่สุดก็จะก้าวไปสู่จุดที่ไม่แพ้อีก สิ่งต่างๆ รอบข้างมันล่อลวงเราอยู่ตลอดเวลา

    เรื่องของราคะ มันเห็นรูปสวย มันก็พลอยยินดีด้วย ไปคลุกคลีตีโมงปฟุ้งซ่านอยุ่ตรงจุดนั้น กำลังใจเราก็เสีย
    มันได้ยินเสียงเพราะ มันก็พลอยยินดีด้วยมันก็ใฝ่ฝันที่อยากจะฟัง พยายามที่จะเสาะหามา หรือไปอยู่ใกล้สิ่งนั้น ก็เสียผลการปฏิบัติ
    มันได้กลิ่นหอมมันก็พลอยยินดีด้วย
    มันได้รสอร่อยมันก็พลอยยินดีด้วย
    มันได้สัมผัสที่นุ่มนวลชอบใจมันก็พลอยยินดีด้วย


    ทำให้เราไปหลง ไปยึด ไปติดอยู่ตรงจุดนั้น สิ่งที่เราปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นมันก็พังไป หรือว่าเราเห็น เราได้ยิน เราได้กลิ่น เราได้รส เราสัมผัส ไม่ชอบใจสักอย่างเดียว โทสะมันก็เกิด ในเมื่อความชั่วมันเกิด ความดีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าความชั่วมันมาอาศัยอยู่แทนเสียแล้ว เราก็เสียผลการปฏิบัติเช่นกัน ดังนั้น *การปฏิบัติกรรมฐาน* นอกจากจะทำอย่างสม่ำเสมอจริงจังแล้ว ยังต้องมีสติสัมปชัญญะ ยังต้องมีปัญญา ต้องคอยตามดูตามรู้ ตามระมัดระวัง อย่าให้กิเลสมันมาชักจูงเราไปได้

    สำหรับวันนี้เราก็มาศึกษาเรื่องของ "ศีลานุสสติกรรมฐาน" เราจะมาดูว่าศีลมีคุณสมบัติอย่างไร มีความดีอย่างไร ที่เราต้องทำอีก

    ศีล
    ก็คือความเป็นปกติ ปกติ ของปุถุชนทั่วๆ ไป
    ต้องมีศีลอย่างน้อย 5 ข้อ เรียกว่ามนุษยธรรม คือ จะต้อง
    -เว้นจากการฆ่าสัตว์
    -เว้นจากการลักขโมย
    -เว้นจากการละเมิดคนที่มีเจ้าของ
    -เว้นจากการพูดปด
    -เว้นจากการดื่มสุราเมรัย หรือสิ่งของที่ทำให้เมามายขาดสติสัมปชัญญะ

    ถ้าเราละเมิดข้อใดข้อหนึ่งก็ตาม อบายภูมิจะรอเราอยู่ข้างหน้า ตายเมื่อไหร่ได้ไปแน่ ๆ ดังนั้นศีลเป็นเครื่องกั้นเราจากอบายภูมิ กั้นไม่ให้เราเป็นสัตว์นรก ไม่ให้เป็นเปรต ไม่ให้เป็นอสูรกาย ไม่ให้เป็นสัตว์เดรัจฉาน นี่คือทุนของศีลขั้นต้น รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปสู่ทางที่ชั่ว ถ้าเราตกลงไปในทางที่ชั่ว คือลงสู่อบายภูมิแล้ว เมื่อสิ้นกรรมอันนั้นมาเกิดเป็นคน เศษกรรมอันนั้นก็ยังมาทำอันตรายเราได้อีก ถ้าเคยฆ่าคน ฆ่าสัตว์ไว้เป็นปกติ ก็จะอายุสั้น ทันตายหรือถ้าหากว่ายังดำรงชีวิตอยู่ก็จะมีแต่ความเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เสมอ ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้นกับตน เพราะเศษของกรรมมันตามมา ถ้าหากว่าเคยลักขโมยเขาเอาไว้ เกิดมาทรัพย์สินก็จะเสียหาย จะโดนไฟไหม้บ้าง โดนทำลายด้วยลม ด้วยน้ำบ้าง เกิดแผ่นดินไหวบ้าง ทรัพย์สมบัติทั้งหมดจะสลายตัวไป ทรงตัวอยู่ไม่ได้เพราะเศษกรรมมันเกิดขึ้น มันตามมาสนอง ถ้าหากว่าเคยละเมิดลูกเขา เมียใคร คนที่เขารักเขาหวง เกิดมาชาติใหม่ เศษกรรมก็จะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ บังคับบัญชาคนอื่นไม่ได้ เป็นคนไม่มีอำนาจ พูดจาไม่มีใครฟัง ถ้าโกหกคนอื่นเป็นปกติ เกิดเป็นมนุษย์เศษกรรมก็จะทำให้เราไม่มีโอกาสจะได้ฟังความเป็นจริง พูดอะไรคนก็ไม่เชื่อ ถ้าเราไม่ต้องการให้เศษกรรมข้อนี้สร้างความลำบากให้กับเรา เราก็อย่าพูดปด ถ้าเราดื่มสุราเมรัยหรือว่าเครื่องดองของเมาอะไรที่ทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ ทำแต่น้อย เกิดเป็นมนุษย์เศษกรรมก็จะทำให้มีโรคปวดศรีษะเป็นปกติ ถ้าหากว่าปานกลาง ก็จะเป็นโรคประสาท สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ถ้าหากว่าทำมากเป็นปกติ ทุกวัน ๆ เศษกรรมตัวนี้ก็จะทำให้ทำให้เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็จัดอยู่ในลักษณะไม่มีสติสัมปชัญญะ คือกลายเป็นคนบ้า

    ถ้าเรารักษาศีลได้บริสุทธิ์สมบูรณ์ อบายภูมิทั้งหลายไม่สามารถจะนำเราไปได้ อย่างน้อยเกิดเป็นมนุษย์
    ก็มีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ มีรูปร่างหน้าตาสวยงามเป็นที่ชอบใจ และเศษกรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่เรา นี่คือคุณของศีลขั้นต้น และกำลังของศีลยังจะส่งผลให้เราเกิดเป็นเทวดาได้ เกิดเป็นพรหมได้ ไปสู่พระนิพพานได้ ถ้าเรามีศีลเป็นปกติ ตายจากมนุษย์ ก็จะเป็นเทวดาชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือถ้าหากว่าศีลของเราทรงตัวอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าทรงศีลเป็นฌาน เราก็จะเกิดเป็นพรหมตามกำลังของฌานที่เราทรงอยู่ หรือถ้าเราตั้งใจรักษาศีล เพราะจะไปพระนิพพาน ถ้าจิตไม่ยึดไมเกาะร่างกายจริง ๆเราก็จะสามารถเข้าสู่พระนิพพานได้ ดังนั้นในแต่ละวันให้ทุกคนใคร่ครวญศีลของตนตามสภาพ เป็นฆราวาสก็ศีล 5 เป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็ศีล 8 หรือถ้ารักษากรรมบท 10ได้ก็ยิ่งดี เป็นสามเณรก็ศีล10 เป็นพระก็ศีล227 ข้อพร้อมอภิสมาจารย์

    หากว่าเราสร้างสติสัมปชัญญะของเราใด้สมบูรณ์ เพียงแค่ขยับตัวเราก็รู้แล้วว่าศีลจะขาดจะพร่องหรือไม่ ให้เราทบทวนศีลตามสภาพของตนอยู่ทุกวัน อาจจะประเภทว่าตื่นเช้าขึ้นมาก็เริ่มใครครวญทบทวนไปเลย มีสิกขาบทไหนที่ยังพร่องไม่สมบูรณ์ให้ตั้งใจว่าตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไปศีลทุกสิกขาบทของเราจะสมบูรณ์บริบูรณ์ แล้วตั้งหน้าตั้งตารักษา ในขณะที่สติสัมปชัญญะยังไม่สมบูรณ์ การพร่องในศีลย่อมมีเป็นปกติ แต่ว่าอย่าให้พร่องโดยเจตนาของเรา *เพราะว่าเจตนานั้นเป็นตัวกรรมใหญ่ที่จะพาเราไปสู่อบายภูมิหรือไปสู่สุขคติ* ถ้าเจตนาของเราละเว้น ไม่ละเมิดศีลเป็นปกติ เราก็ไปสู่สุขคติแน่นอน แต่ถ้าหากว่าเจตนาของเราตั้งใจละเมิด อบายภูมิก็เป็นที่ไปของเราแน่นอนเช่นกัน เมื่อเราใครครวญในศีลเป็นปกติแล้ว มั่นใจแล้วว่าวินาทีนี้เป็นต้นไป ศีลทุกข้อของเราจะสมบูรณ์ บริบูรณ์ ก็ให้เราจับลมหายใจเข้าออก ภาวนาต่อไปเลย จะเป็นการจับภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมลมหายใจเข้าออกก็ได้ใช้คำภาวนาว่าพุทธโธ ธรรมโม สังโฆก็ได้ แล้วแต่เราถนัด

    เมื่ออารมณ์ใจของท่านตั้งมั่น ก็แปลว่าท่านทรงฌานในศีลากรรมฐาน ให้ท่านตั้งใจว่า เรารักษาศีลเพราะเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรารักษาศีลเพราะเราต้องการไปพระนิพพาน พอกำลังใจทรงตัว ก็ประคับประคองรักษาเอาไว้ มีใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับภาพองค์ ตั้งใจว่าพระพุทธเจ้าไม่อยู่ที่หนึ่งที่ใดเลย นอกจากพระนิพพาน เราเห็นท่านคือเราอยู่กับท่านเราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน ตั้งใจว่าอนิสงค์ของศีลที่เราตั้งใจพิจารณานี้ ที่เราตั้งใจปฏิบัติด้วยการงดเว้นนี้ขอให้เป็นปัจจัย ส่งผลให้เราเข้าสู่พระนิพพานแห่งเดียว หายใจเข้าศีลทุกข้อของเราก็สมบูรณ์บริบูรณ์ หายใจออกศีลของเราก็สมบูรณ์บริบูรณ์ ให้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเราอยู่กับศีล ให้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ของเราอยู่กับพระ ให้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเราอยู่กับนิพพานพยายามทรงกำลังใจแบบนี้ให้เป็นปกติ จึงจะชื่อว่าท่านปฏิบัติในศีลานุสสติกรรมฐานได้ทรงตัว

    การปฏิบัติกรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ตาม ถ้าเราทำได้แล้ว ก่อนที่จะขึ้นกรรมฐานกองอื่น ให้เราทวนของเก่าเสียก่อน ถ้าเราทำในพุทธานุสสติ ก็จับภาพพระพร้อมกับคำภาวนา ให้ทรงตัว แจ่มใส ถ้าเราปฏิบัติในธรรมานุสสติ ก็จับภาพของดอกมะลิแก้ว หรือดอกมะลิทองคำ ที่เราใช้แทนธรรมนุสสติกรรมฐานให้เป็นปกติ ทรงตัว แจ่มใน ถ้าปฏิบัติในสังฆานุสสติ ก็จับภาพหลวงปู่หลวงพ่อองค์ใดองค์หนึ่งที่เราเคารพท่าน จนภาพปรากฏชัดเจนแจ่มใสอย่างนี้เป็นต้น พอกำลังใจทรงตัวเต็มที่แล้ว ค่อยถอยกำลังใจออกมา เริ่มต้นปฏิบัติกรรมฐานกองใหม่ เราต้องมีการย้อนทวนหน้า ทวนหลังซักซ้อมเพื่อความคล่องตัวอย่างนี้อยู่เสมอ เพื่อว่าถึงวาระ ถึงเวลา กำลังใจมันมีจริตไหนปรากฏขึ้น จะได้ใช้กรรมฐานกองนั้น ๆ ต่อสู้กับมันได้ทันท่วงที ดังนั้นเมื่อทำได้แล้วของเก่าห้ามทิ้ง ต้องทบทวนไว้ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันเมื่อกำลังใจทรงตัวแล้ว ก็ทำกองใหม่ต่อไป หรือถ้าเราไม่มีความจำเป็นต้องศึกษามันให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เราชอบใจกองไหน ให้เรายึดมั่นกองนั้นของเราไป ให้ทำดังนี้อยู่เป็นปกติทุกวัน ๆ ถือเป็นภาระเป็นหน้าที่ ที่เราจะต้องทรงกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง
    ให้ได้ในแต่ละวัน อย่าให้จิตของเราไปฟุ้งซ่านกับความรัก โลภ โกรธ หลง เพื่อรักษาอารมณ์แจ่มในของจิตให้เป็นปกติ ถ้าทำดังนี้ได้ถึงเวลาเราตาย เราก็ไปสู่สุขคติ ถ้าเราไม่ต้องการการเกิด ไม่มีความปรารถนาในร่างกายนี้ ไม่มีความปรารถนาในโลกนี้ เราก็จะไปสู่พระนิพพานตามความต้องการของตน

    ตอนนี้ก็ให้ทุกคนรักษากำลังใจให้ทรงตัวอยู่กับอารมณ์ที่เราทำได้ แล้วแบ่งกำลังใจส่วนหนึ่งออกมาควบคุมร่างกายไว้ตามปกติ เพื่อจะได้สวดมนต์ทำวัตรของเราต่อไป

    ** จบ ไฟล์ที่สิบสาม**
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...