คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube Harold Melvin & The Blue Notes
    If You Don't Know Me by Now (Official Audio)
    www.youtube.com/watch?v=WSwg59g84Rw

    images?q=tbn:ANd9GcQpH0p7Z_9TNKVuMYRTpnC_VKg_KYnCDwGZuw&usqp=CAU.jpg
    รู้จักฉันดีพอหรือยางงงงงงงง...สวัสดีวันฝนปรอย ๆ
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    upload_2022-10-12_21-44-53.jpeg
    ฮิฮิ..แฮ่ะแฮ่ะ โอ๊ย....ฉันละฮา พรุ่งนี้ทำงาน... ราตรีสวัสดิ์
     
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
     
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ความทรงจำแห่งรัก ในหลวงรัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระบรมราชชนนี พันปีหลวง
    “พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันก็จะสร้างป่า...” พระราชดำรัสดังกล่าวของ “สมเด็จพระบรมราชชนนี พันปีหลวง” สะท้อนได้เป็นอย่างดีถึงพระราชหฤทัยที่ผูกพันลึกล้ำยิ่งกับ “พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร” และความสมัครสมานที่ทรงมีต่อกันและกันในการทุ่มเทรักนั้นจนกลายเป็นพลังแห่งรักเพื่อประชาชน

    PZnhTOtr5D3rd9oc9RFtDcOEcxZDafF4njXjkV2SzNbBovh.jpg
    ย้อนความทรงจำแห่งรักไปถึงวันวานอันแสนหวาน “แรกสบเนตร” จุดกำเนิดของการสร้างตำนาน “รักแรกพบ” อันลือลั่น ณ บริเวณชานเมืองในกรุงปารีส พุทธศักราช 2490 “หม่อมเจ้านักขัตรมงคล” เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศส พร้อมด้วยคณะบุคคลจากสถานทูตไทยฯ ขบวนรถอารักขา ตลอดจนเหล่านักเรียนไทย ต่างตั้งใจเฝ้าฯรับเสด็จ “พระมหากษัตริย์องค์ใหม่” ด้วยความปีติยินดียิ่ง ในช่วงเวลานั้น “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” (ขณะนั้นยังไม่มีการตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี) ประทับ ณ พระตำหนักวิลล่าวัฒนา เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ การเสด็จฯจากเมืองโลซานน์มายังกรุงปารีสในครั้งนี้ ก็เนื่องด้วยมีพระราชประสงค์จะเลือกซื้อรถยนต์พระที่นั่งแทนคันเดิมที่มีสภาพทรุดโทรมมากแล้ว โดยทรงยืนยันว่าจะประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศส เฉกเช่นเดียวกับนักเรียนไทยในยุคนั้น


    Dtbezn3nNUxytg04ac0PQy4qts37bPRZjAKSTM9fryY247.jpg
    ยิ่งใกล้จะถึงเวลา 4 โมงเย็น ซึ่งเป็นเวลาตามหมายกำหนดการ ผู้คนที่มาเฝ้าฯรับเสด็จ ต่างก็ตื่นเต้นยินดีที่จะได้มีโอกาสชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด ซึ่งรวมถึง “หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร” คุณหญิง วัย 15 ปี ผู้เป็นธิดาองค์ใหญ่ของ “หม่อมเจ้านักขัตร มงคล” ที่ได้รับอนุญาตให้มาร่วมรับเสด็จด้วย

    Dtbezn3nNUxytg04ac0PQy4qts37bPRZYKjeN7tWXTnpNx.jpg
    “หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์” แต่งกายเรียบร้อยในชุดสูทสีเนื้อ เส้นเกศาสีดำขลับเป็นเงางามถูกถักเปียเดี่ยวยาวไปจนถึงกลางหลัง ดวงเนตรสีนิลคู่สวยทอประกายระยับบ่งบอกถึงความตื่นเต้น เพราะเท่าที่ผ่านมา สิ่งที่คุณหญิงเคยแสดงออกถึงความจงรักภักดี ก็เพียงแค่การได้ปักดอกไม้ถวายแจกันที่พระบรมฉายาลักษณ์ แต่วันนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตที่จะมีโอกาสเข้าเฝ้าฯชื่นชมพระบารมีของ “ในหลวง” อย่างใกล้ชิด ระหว่างที่กำลังรอคอยอย่างจดจ่อ คุณหญิงจึงตั้งอกตั้งใจซักซ้อมถอนสายบัวด้วยความอดทน แต่จนแล้วจนรอด 4 โมงเย็นผ่านไป กระทั่งฟ้ามืด ก็ยังไร้วี่แววว่ารถยนต์พระที่นั่งจะมาถึง

    Dtbezn3nNUxytg04ac0PQy4qts37bPRZog47JRAch73jDl.jpg
    ถึงตอนนี้ ผู้ใหญ่ที่มาเฝ้าฯรับเสด็จตั้งแต่บ่าย เริ่มมีท่าทีกระวนกระวายอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” ทรงตรงต่อเวลาเสมอ การผิดเวลาอย่างมากในครั้งนี้ จึงทำให้เหล่าผู้ใหญ่รู้สึกแปลกใจระคนห่วงกังวลใจ

    Dtbezn3nNUxytg04ac0PQy4qts37bPRZVUzde6nW0apiEp.jpg
    ด้าน “หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์” ดวงหน้าที่กระจ่างด้วยรอยยิ้ม เริ่มจะแสดงอาการ “หน้ามุ่ย” ขึ้นมาบ้าง เพราะขณะนั้นเวลาล่วงเลยไปจนเกือบหนึ่งทุ่มแล้ว แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังไม่เสด็จฯ ดังนั้น สำหรับคุณหญิงวัยแรกแย้ม การพบกันครั้งแรกจึงไม่สร้างความประทับใจสักเท่าไหร่

    Dtbezn3nNUxytg04ac0PQy4qts37bPRZHwa48LEAyvWZoX.jpg
    อย่างไรก็ตาม ในที่สุด “ในหลวง” ก็เสด็จฯมาถึง ท่ามกลางความโล่งอกของทุกคน โดยสาเหตุที่ทรงมาถึงล่าช้ากว่ากำหนดมาก เป็นเพราะรถยนต์พระราชพาหนะเครื่องเสียและน้ำมันหมดกลางทาง ทำให้ต้องใช้เวลาแก้ไขนานพอควร

    ระหว่างที่ทรงทักทายคณะบุคคลผู้เฝ้าฯรับเสด็จ สายพระเนตรของกษัตริย์หนุ่มก็สบเข้ากับดวงเนตรคมสวยของหม่อมราชวงศ์สาว ที่แม้ยังเจือด้วยแววเคืองขุ่น แต่ก็ไม่อาจลดทอนเสน่ห์ความงามในดวงพักตร์อันผุดผาด

    Dtbezn3nNUxytg04ac0PQy4qts37bPRZNiS2swRrJu96m8.jpg
    ก่อนหน้านี้ “สมเด็จพระราชชนนี” (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ซึ่งประทับอยู่ด้วย ณ พระตำหนักวิลล่าวัฒนา เมืองโลซานน์ ได้รับสั่งถึง “ความน่ารัก” ของ “หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์” ให้พระราชโอรสทรงทราบบ้างแล้ว กระทั่งในการเสด็จฯเยือนปารีสครั้งนี้ ก็ทรงกำชับว่า ให้ไปทอดพระเนตรธิดาของท่านทูตไทยว่าสวยและน่ารักไหม “ถึงปารีสแล้ว โทร.บอกแม่ด้วย”

    ขณะนั้นไม่มีผู้ใดล่วงรู้ถึงความในพระราชหฤทัยของกษัตริย์หนุ่ม กระทั่งเมื่อทรงโทรศัพท์กลับไปยังเมืองโลซานน์ และ “สมเด็จพระราชชนนี” รับสั่งถามถึง “ธิดาของท่านนักขัตรมงคล” มีเพียงคำตอบสั้นๆว่า “เห็นแล้ว น่ารักมาก” เป็นเครื่องยืนยันว่าทรงถูกศรกามเทพเล็งปักอกเข้าให้แล้ว

    PZnhTOtr5D3rd9oc9RFtDcOEcxZDafF4nzAPlAOiYvSQaeG.jpg
    หลังจากนั้นก็ได้เสด็จฯ ไปยังโรงงานทำรถยนต์ในกรุงปารีสอีกหลายครั้ง และทุกครั้งจะทรงพำนักอยู่ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสเสมอ พร้อมพระราชทานโอกาสให้เหล่านักเรียนไทยจัดหาเครื่องเล่นมาร่วมวงบรรเลงดนตรีอย่างครึกครื้นเป็นกันเอง โดยไม่ทรงลืมเชื้อเชิญ “หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์” เข้าร่วมวงด้วย ในฐานะนักเปียโนฝีมือดี และมิตรคู่พระทัย

    Dtbezn3nNUxytg04ac0PQy4qts37bPRae6KO83JBz608ZF.jpg
    ท่ามกลางความโรแมนติกงดงามของปารีส มนต์เสน่ห์อันเพราะ-พริ้งของดนตรี และท่วงทำนองไพเราะแห่งคีตศิลป์ ได้ก่อเกิดเป็นความรักความทรงจำอันแสนหวานซึ้ง นำความชุ่มชื่นหัวใจมาสู่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศในเวลาต่อมา

    ภายหลังล่วงไปจนปี 2521 “สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” ได้พระราชทานสัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์ในความทรงจำครั้งนั้นว่า “สำหรับข้าพเจ้าเป็นการ “เกลียดแรกพบ” มากกว่า “รักแรกพบ” เนื่องเพราะพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รับสั่งว่า จะเสด็จฯถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงแล้วเสด็จฯมาถึง 1 ทุ่ม ช้ากว่านัดหมายตั้ง 3 ชั่วโมง ทรงทำให้ข้าพเจ้าต้องซ้อมถอนสายบัวอยู่ จนแล้วจนเล่า จึงเป็นการเกลียดเมื่อแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ”

    Dtbezn3nNUxytg04ac0PQy4qts37bPRanAecyDkhoTL2Zs.jpg
    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนแรกพบนี่เอง กลายเป็นเรื่องที่ “พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว” ทรงนำมาล้อ “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” ในภายหลังเสมอว่า “เดินตุปัดตุเป๋ หน้างอ คอยถอนสายบัว” ขณะที่ “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” ก็ทรงตอบโต้ว่า “ที่หน้างอ เพราะให้แต่ผู้ใหญ่ร่วมโต๊ะเสวย เด็กกลับไล่ไปกินที่อื่น” ถือเป็นหนึ่งในความทรงจำแห่งรักอันงดงามโรแมนติก ที่ทำให้ทั้งสองพระองค์ทรงพระสรวลทุกครั้งเมื่อตรัสถึง.

    PZnhTOtr5D3rd9oc9RFtDcOEcxZDafF4nsat9NxZZEQQrpO.jpg
    ที่มา :
     
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

    upload_2022-10-15_12-17-1.jpeg images?q=tbn:ANd9GcSFepoNwHIwmv5booAuJQ3QMwHTudIEN30kAg&usqp=CAU.jpg

    ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ / ผู้เขียน

    “เดิมทีเป็นพระมหาธาตุเจดียที่ด้านล่างถูกปล่อยว่าง พอสร้างเสร็จ พื้นที่ด้านล่างไม่ได้ใช้ประโยชน์ ชุมชนคิดว่าน่าจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ เราคิดว่าเรื่องราวของหลวงพ่อเดิม ศิลปวัฒนธรรมในบ้านหนองโพ น่าจะได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่คนหนองโพจะได้ทราบถึงที่มาของความเป็นหนองโพ และทราบบรรพชน หลวงพ่อเดิม

    ทั้งเจ้าอาวาส ครู กรรมการ เห็นพ้องกัน เราเริ่มทำพิพิธภัณฑ์หลังนี้ตั้งแต่ปี 53 เริ่มทำ วัตถุประสงค์ต้องการให้เป็นสถานที่เพื่อการเผยแพร่กิตติคุณหลวงพ่อเดิม เพราะอยู่ในเขตวัดและท่านมีคุณานุคุณให้กับวัดต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์ และนอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่รวบรวมศิลปวัฒนธรรมของหนองโพ ความสำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากบ้านหนองโพเป็นบริเวณของโบราณคดี ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ จึงต้องการให้พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเดิมได้รวบรวมโบราณวัตถุไว้ด้วย”

    อาจารย์เอมอร คำนวณวิทย์บอกเล่าถึงประวัติความเป็นของพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเดิมอย่างแม่นมั่น น้ำเสียงของอาจารย์สะท้อนให้เห็นความศรัทธาของชาวหนองโพที่มีต่อหลวงพ่อเดิม แม้ท่านจะมรณภาพมานานแล้ว หัวใจของการบอกเล่าเรื่องราวของหลวงพ่อเดิมนั้น คงปรารถนาให้สาธุชนที่เวียนเข้ามาสักการะหลวงพ่อเดิม มิใช่เพียงตามความเชื่อต่อพลังหรืออำนาจของวัตถุมงคลต่างๆ ของหลวงพ่อตามที่มักจะทราบกันทั่วไป แต่การได้เข้ามาเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ของหลวงพ่อเดิม โดยเฉพาะคุณูปการในการหลวงในการพัฒนาบ้านหนองพ่อ การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาตามวัดวาอารามในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงการพัฒนาด้านการศึกษาโดยการจัดตั้งโรงเรียนและใช้เงินจากศรัทธาของชาวบ้านเพื่อจ้างครูสอนแก่ลูกหลานของชาวหนองโพ

    เนื้อหาจัดแสดงในสี่ห้องนิทรรศการประกอบด้วย (1) มาตุภูมิบ้านหนองโพ ถ่ายทอดเรื่องราวโบราณคดีตำบลหนองโพ โดยจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบในบริเวณบ้านหนองโพ อายุราว 4000-800 ปีก่อน และการตั้งถิ่นฐานของชาวหนองโพ ที่แสดงให้เห็นการตั้งถิ่นฐานและประเพณีที่สืบทอดต่อกันมากว่า 200 ปี (2) ห้องพุทฺธสโร หลลวงพ่อเดิม จัดแสดงชีวประวัติ วัตรปฏิบัติ บารมีหลวงพ่อเดิมในด้านต่างๆ เช่น การสร้างและการบูรณะเสนาสนะให้แก่วัดต่างๆ การสงเคราะห์ประโยชน์แก่ส่วนรวม (3) ห้องเพิ่มพูนศรัทธา นำเสนอความศรัทธาของชาวบ้านหนองโพและศิษยานุศิษย์ วัตถุมงคลที่ได้รับการถวายจากศิษยานุศษย์แสดงให้เห็นความศรัทธาต่อหลวงพ่อเดิม เพื่อทำให้การบอกเล่าถึงความเข้มขลังของหลวงพ่อเดิมมีความเข้มข้นยิ่งขึ้น (4) ห้องกถาคัมภีร์ แสดงให้เห็นคัมภีร์ในวัดหนองโพจำนวนหนึ่ง ที่ได้รับการจารไว้ในสมุดไทยดำ สมุดฝรั่ง ทั้งที่เป็นคัมภีร์วรรณคดี ตำราเรียน การปกครอง พระพุทธศาสนา กฎหมายฉบับราษฎร์

    เนื้อหาทั้งหมดได้รับการจัดแบ่งไว้เป็นสัดส่วน และนำเสนอด้วยภาพ กราฟิก และข้อความที่ช่วยให้ผู้ชมติดตามเรื่องราวได้ตามลำดับได้อย่างง่ายดาย แต่เสน่ห์สำคัญคงอยู่ที่การถ่ายทอดความรู้ด้วยมัคคุเทศก์ มัลลิกา เส็งเอี่ยม ภัณฑารักษ์ ผู้ใช้ทวงทีและน้ำเสียงหนักเบาแสดงให้เห็นบรรยากาศของเหตุการณ์สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบรรยายถึงเหตุการณ์มรณภาพของหลวงพ่อเดิม ประกอบการนำชมจิตรกรรมฝาผนัง

    “ตรงนี้เป็นภาพประวัติ หลวงพ่อเดิมท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2403 นามเดิม ‘นายเดิม ภูมณี’เมื่อ พ.ศ. 2423 ครบบวช ท่านอุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดเขาแก้ว และใช้เวลาศึกษาความรู้เป็นเวลาเจ็ดปี จากนั้น หลวงพ่อเดิมเป็นปราชญ์นักเทศน์ จนกระทั่งท่านตัดสินใจเลิกเทศน์ เพราะเห็นว่า ‘มัวแต่สอนคนอื่น ไม่ได้สอนตัวเอง’
    พ.ศ. 2435 ออกเดินทางจนมาจำวัดและต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองโพ โดยมีพระสมุห์ชุ่มทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย เมื่อท่านออกเดินทางไปร่วมสงเคราะห์ประโยชน์แก่ส่วนร่วมในแห่งหนตำบลอื่น” เหตุการณ์สำคัญที่คุณมัลลิกาได้ชี้ชวนให้ดูคือเมื่อครั้นทหารจะออกรบ และมีจำนวนทหารมาขอผ้าจากรอยประทับของเท้าหลวงพ่อเดิม จึงมีการใช้หมึกทาที่เท้าและตบลงบนชิ้นผ้าซ้อนกันหลายชั้น

    ในช่วงท้าย เมื่อท่านพระครูได้รับพัดยศเป็น ‘พระครูนิวาสธรรมขันธ์’แต่ท่านไม่ได้เดินทางมารับด้วยตนเอง ชาวบ้านแห่มาให้ แต่หลวงพ่อคงให้ชาวบ้านคงเรียกว่าหลวงพ่อเดิมเหมือนเดิม เหตุการณ์เมื่อครั้งท่านมรณภาพ พ.ศ. 2494 ท่านอาพาธในกุฏิ แต่แลเห็นระดับน้ำในสระเหลือเท่าไรแล้ว แล้วบอกว่าพระคนช่วยครองผ้า และตั้งภาวนา ฝนตกราวหนึ่งชั่วโมง จากนั้นไม่กี่ชั่วโมง หลวงพ่อเดิมมรณภาพ เวลานั้นช้างคู้บารมีทั้งสองเชือกไม่ยอมมาทำงานตามปกติ ได้แต่เอาหัวไปถูกุฏิไปมา เสมือนเป็นการลาหลวงพ่อเดิมเป็นครั้งสุดท้าย งานพระราชทานเพลิงศพจัดขึ้นในปีถัดมา พ.ศ. 2495”

    ความวิจิตรของพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเดิมคงเป็นผลรวมของการจัดแสดง บรรยากาศของห้อง วัตถุทั้งจริงและจำลองเพื่อทำให้ประวัติศาสตร์กลับมามีชีวิต และการถ่ายทอดเรื่องราวจากมัคคุเทศก์ที่ผสานความตั้งใจเข้ากับสาระที่ต้องการสื่อสารเพื่อให้ผู้คนได้เห็นและซาบซึ้งกับคุณานุคุณของหลวงพ่อเดิมอยู่เป็นทุน
    การจัดการพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเดิมยังนับว่าเป็นปัจจัยบวกอีกประการหนึ่งที่ทำให้พิพิธภัณฑ์แหล่งนี้ควรค่าแก่การเดินทางไปสักการะหลวงพ่อเดิมและปูชนียวัตถุอื่นๆ ในวัด และการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ การทำงานร่วมกันระหว่างวัดหนองโพ ชาวบ้านหนองโพ และบุคลากโรงเรียนหนองโพพิทยา สานพลังเข้าสู่การสร้างสรรรค์พิพิธภัณฑ์ในระดับท้องถิ่น ให้ทั้งคนหนองโพและผู้มาเยือนได้เข้าใจว่าเหตุใดวัดหนองโพ จึงต้องนำเสนอเรื่องราวของหลวงพ่อเดิมแม้ท่านมรณภาพเกินกว่ากึ่งศตวรรษ


    เนื้อหาที่มา : https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/1446
     
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    images?q=tbn:ANd9GcQoZDntpwu8wKftmFaLOAUbDLBFkh4y2mACQw&usqp=CAU.jpg
    ฮืม!!!! ใครกันนะ
     
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    images?q=tbn:ANd9GcSMtCLLoUt-Tlqe0TJqb02DO-qFVbcr9KGEXw&usqp=CAU.jpg
    อะไรนะ!! ว่าแต่แมวไม่ดูตัวเอง:mad:
     
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    images?q=tbn:ANd9GcQGX2SdaY_lqFBP9IFo0EU72YD7XumZo5xSjQ&usqp=CAU.jpg
    ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เอ๊ะทำไมมืดๆ
     
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    upload_2022-10-18_20-27-46.jpeg
    หึหึ นี่พวกเธอ นี่ก็จะปีใหม่อีกแล้วนะ หญิงจะบอกอะไรให้นะ ไปฟังคลิปนี้ซะ แล้วพิจารณาสะด้วยนะว่าปริศนาธรรมที่พระอาจารย์กล่าว คืออะไร? เมื่อรู้แล้วยังไงน่ะเหรอ ก็มาบอกหญิงด้วยน่ะสิ ปัถโธ่ อุ๊ย! หลุดคาแรคเตอร์ เชิดหยิ่งต่อ

    ปล. ทราบแล้วไม่ต้องเปลี่ยน แต่มาบอกกันด้วย แยกย้าย
     
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
     
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ภูมิศาสตร์ไทย
    250px-Thailand_map_CIA.png
    แผนที่ประเทศไทย

    ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศได้มีอิทธิพลต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย ประเทศไทยยังเป็นเส้นทางทางบกเพียงทางเดียวจากทวีปเอเชียไปยังประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์

    พิกัดภูมิศาสตร์
    ประเทศไทยตั้งอยู่ในช่วงพิกัด 5°37′N - 20°27′N และ 97°22′E - 105°37′E

    ด้วยสภาพพื้นที่ราบซึ่งน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ทำให้ประเทศไทยภาคกลางมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรมการทำนา และดึงดูดผู้ตั้งถิ่นฐานมายังใจกลางดินแดนมากกว่าพื้นที่สูงและภูเขาในภาคเหนือและที่ราบสูงโคราชในทางตะวันออกเฉียงเหนือ

    ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 รัฐจำนวนหนึ่งซึ่งติดต่อกันอย่างหลวม ๆ โดยการปลูกข้าวและการค้าได้เกิดขึ้นในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 รัฐเหล่านี้ค่อย ๆ ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ใต้สุดของที่ราบลุ่มแห่งนี้ เมืองหลวงในอดีตของไทยซึ่งตั้งอยู่บนหลายจุดตามแม่น้ำเจ้าพระยา กลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรคนไทยซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการปลูกข้าวและการค้าระหว่างประเทศ ไทยได้มุ่งหน้าค้าขายกับเมืองท่าต่างชาติโดยอาศัยอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

    ในขณะที่ลัทธิจักรวรรดินิยมยุโรปนำมาซึ่งช่วงเวลาใหม่ของการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1800 ประเทศไทย (หรือในขณะนั้นยังเรียกว่า "สยาม") เป็นประเทศเดียวที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกในฐานะเป็นรัฐกันชนระหว่างพม่าซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษและอินโดจีนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส อันได้แก่ ลาวและกัมพูชา

    รูปร่าง
    ระเทศไทยมีลักษณะคล้ายขวาน โดยภาคใต้เป็นด้ามขวาน แนวด้านตะวันตกเป็นสันขวาน ภาคเหนือเป็นหัวขวาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเป็นคมขวาน จากลักษณะดังกล่าว ความยาวจากเหนือสุดถึงใต้สุด วัดจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายไปจนถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีความยาว 1,650 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างสุดจากตะวันออกไปตะวันตก วัดจากอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ไปยังด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นระยะทาง 800 กิโลเมตร บริเวณแผ่นดินส่วนที่แคบที่สุดของประเทศตั้งอยู่ระหว่างแนวชายแดนกัมพูชากับพื้นที่บ้านโขดทราย ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีระยะทางเพียง 450 เมตร และส่วนพื้นที่บ้านวังด้วน ตำบลห้วยทราย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วัดจากชายแดนประเทศพม่าจนถึงทะเลอ่าวไทย มีระยะทาง 10.6 กิโลเมตร สำหรับส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู (แผ่นดินระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน) อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดชุมพรและระนอง มีระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เรียกส่วนนี้ว่า "คอคอดกระ"

    อาณาเขตและพรมแดน
    พรมแดนทางบก[แก้]
    รวมระยะทางทั้งหมด 4,863 กิโลเมตร

    ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย[1]

    มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย ผ่านจังหวัดพะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,754 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ชายแดนที่เป็นทั้งภูเขา แม่น้ำ ที่ราบ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญระหว่างไทยกับลาว มีการสัญจรติดต่อกันโดยใช้เรือ จึงมีท่าเรือสำคัญทั้งสองประเทศ เส้นทางเชื่อมระหว่างสองประเทศนี้ได้แก่ สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 แห่งที่ 2 แห่งที่ 3 และแห่งที่ 4 ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบเข้าเมือง การลำเลียงยาเสพติด การขนสินค้าหนีภาษี เป็นต้น
    มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผ่านชายแดนที่เป็นทั้งภูเขาและแม่น้ำ ผ่านจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,800 กิโลเมตร การแบ่งเขตแดนจะแบ่งโดย ถ้าเป็นภูเขาจะใช้สันปันน้ำเป็นแนวเขต แต่ถ้าเป็นแม่น้ำจะใช้ร่องน้ำลึกเป็นแนวเขต เนื่องจากชายแดนด้านนี้มีชนกลุ่มน้อยของพม่าตั้งถิ่นฐานอยู่หลายเผ่า เช่น ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ เป็นต้น อาศัยอยู่จึงมีการอพยพแรงงานเข้ามาในไทย มีการลักลอบค้าของหนีภาษี ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้สัก บ่อนการพนัน การลักลอบขนยาเสพติด เป็นต้น
    มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยนับตั้งแต่ช่องบก (สามเหลี่ยมมรกต) ในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด รวมระยะทางทั้งสิ้น 803 กิโลเมตร บริเวณชายแดนที่ติดกับตอนล่างของภาคอีสานจะใช้ทิวเขาพนมดงรักเป็นเส้นแบ่งเขตแดน แถบจังหวัดสระแก้วเป็นที่ราบและคลอง จึงเป็นเส้นทางเดินติดต่อกันสะดวก พื้นที่แถบนี้เรียกว่า "ฉนวนไทย" โดยบริเวณอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว มีตลาดการค้าขนาดใหญ่เรียกว่า "ตลาดโรงเกลือ" ชาวกัมพูชามักจะมาซื้อสินค้าประเภทอาหาร และวัสดุก่อสร้าง ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบค้าของหนีภาษี บ่อนการพนัน และการโจรกรรมรถยนต์จากไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น

    มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวมระยะทางเขตแดน 506 กิโลเมตร ที่จังหวัดสตูลมีรั้วคอนกรีตกั้นแบ่ง แต่ส่วนใหญ่จะใช้แนวทิวเขาสันกาลาคีรีและแม่น้ำโกลกแบ่งเขตแดน ชายแดนด้านนี้มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกทั้งทางรถยนต์และรถไฟ ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบขนของหนีภาษี ปัญหาการทำประมง การนับถือศาสนาและความแตกต่างทางวัฒนธรรมเฉพาะพื้นที่ เป็นต้น

    แนวชายฝั่ง[แก้]

    • รวม: 3,219 กม.
    การอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทางทะเล[แก้]
    • ทะเลอาณาเขต: 12 ไมล์ทะเล (22.8 กม.)
    • เขตเศรษฐกิจเฉพาะ: 200 ไมล์ทะเล (370.4 กม.)
    • ไหล่ทวีป: ความลึก 200 ม. หรือที่ระดับของการแสวงหาผลประโยชน์
    ภูมิลักษณ์และทางน้ำ[แก้]
    ข้อมูลเพิ่มเติม: รายชื่อแม่น้ำในประเทศไทย

    250px-Thailand_Topography.png
    แผนที่ภูมิลักษณ์ของประเทศไทย
    ลักษณะภูมิประเทศที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของประเทศไทย คือ ภูเขาสูง ที่ราบลุ่มตอนกลาง และที่ราบสูง ภาคเหนือของไทยมีภูเขาทอดผ่านเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ชายแดนพม่าผ่านคอคอดกระและคาบสมุทรมลายู ที่ราบตอนกลางเป็นพื้นที่ลุ่มซึ่งระบายน้ำโดยแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสายย่อย ทั้งนี้ แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นระบบแม่น้ำที่สำคัญของประเทศ โดยไหล่ผ่านไปสู่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งอยู่ที่หัวอ่าวกรุงเทพ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านพื้นที่กว่าหนึ่งในสามของประเทศ ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเป็นที่ราบสูงโคราช พื้นที่มีเนินลาดและทะเลสาบตื้นเขิน มีแม่น้ำมูลไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำโขง ซึ่งไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ โดยมีคลองและเขื่อนเป็นจำนวนมาก

    แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงถือได้ว่าค้ำจุนเศรษฐกิจเกษตรกรรมของไทย โดยเป็นพื้นที่ปลูกข้าวและเป็นทางน้ำสำหรับขนส่งสินค้าและผู้คน ในทางกลับกัน ลักษณะทางธรรมชาติของคาบสมุทรในทางภาคใต้ คือ ชายฝั่งทะเลที่ยาว เกาะนอกฝั่ง และบึงพรรณไม้ป่าชายเลนที่กำลังลดจำนวนลง

    พื้นที่

    • รวม: 513,115 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 321 ล้านไร่)เดล
    ภูมิภาค
    สภาวิจัยแห่งชาติได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภูมิภาค ตามลักษณะธรรมชาติ รวมไปถึงธรณีสัณฐานและทางน้ำ รวมไปถึงรูปแบบวัฒนธรรมมนุษย์ โดยภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะตั้งอยู่บนที่ราบตอนกลางของประเทศ แต่เนื่องจากเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด เขตมหานครแห่งนี้จึงอาจพิจารณาได้ว่าเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งของประเทศ ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ทั้งหกนี้มีความแตกต่างกันโดยมีเอกลักษณ์ของตนเองในด้านประชากร ทรัพยากรพื้นฐาน ลักษณะธรรมชาติ และระดับของพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ ความหลากหลายในภูมิภาคต่าง ๆ เหล่านี้ได้เป็นส่วนสำคัญต่อลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย

    ภาคเหนือ

    220px-Nan_z_doi_phuka_2006_1003.jpg
    ดอยภูคา จังหวัดน่าน
    220px-Chiang_Mai_province_pine_forest.jpg
    ป่าสนในจังหวัดเชียงใหม่
    ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศแบบภูเขาสูงสลับกับหุบเขาและพื้นที่สูงซึ่งติดต่อกับเขตที่ราบลุ่มตอนกลางของประเทศ มีทิวเขาที่วางตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้ ระหว่างทิวเขาจะมีหุบเขาและแอ่งที่ราบระหว่างภูเขาเป็นที่ตั้งของตัวจังหวัด เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน และแพร่ ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาแดนลาว ทิวเขาขุนตาน ทิวเขาผีปันน้ำ และทิวเขาหลวงพระบาง[1] ช่วงฤดูหนาวในเขตภูเขาของภาค อุณหภูมิต่ำเพียงพอต่อการปลูกไม้ผล อาทิ ลิ้นจี่และสตรอเบอรี่ แม่น้ำในภาคเหนือหลายสาย รวมไปถึงแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ไหลมาบรรจบกันและก่อให้เกิดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีต ลักษณะทางธรรมชาติเหล่านี้ทำให้ภาคเหนือสามารถทำการเกษตรได้หลายประเภท รวมไปถึงการทำนาในหุบเขาและการปลูกพืชหมุนเวียนในเขตพื้นที่สูง นอกจากนี้ เขตภูเขาซึ่งมีป่าปกคลุมยังได้ทำให้ภาคเหนือมีจิตวิญญาณต่างจากภาคอื่น ๆ ของประเทศ ป่าไม้ รวมไปถึงไม้สักและไม้เนื้อแข็งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจอื่น ๆ เคยปกคลุมทั่วทั้งภาคเหนือและบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ได้ลดจำนวนลงอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 จนเหลือพื้นที่เพียง 130,000 ตารางกิโลเมตร และทั่วประเทศมีป่าไม้เหลือเพียงไม่ถึง 30% ของพื้นที่ประเทศไทย ทั้ง ๆ ที่ในปี ค.ศ. 1961 ป่าไม้เคยปกคลุมพื้นที่กว่า 56% ของประเทศ

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ประกอบด้วยจังหวัด 20 จังหวัดมีเนื้อที่ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้เท่ากับหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย มีดินไม่ดีซึ่งไม่ค่อยเอื้อต่อเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม ข้าวเหนียว ซึ่งเป็นอาหารสำคัญสำหรับประชากรในภูมิภาค จำเป็นต้องอาศัยทุ่งนาที่น้ำท่วมถึงและระบายน้ำได้น้อยในการเจริญเติบโต และที่ซึ่งแหล่งน้ำใกล้เคียงสามารถท่วมถึงได้ มักจะเก็บเกี่ยวสองครั้งต่อปี พืชค้า อย่างเช่น อ้อยและมันสำปะหลังมีการเพาะปลูกกันในบริเวณมหาศาล และยาง ในปริมาณที่น้อยกว่าพืชสองชนิดแรก การผลิตไหมเป็นอุตสาหกรรมแถบชนบทและมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ ภาคอีสานมีฤดูมรสุมสั้น ๆ นำมาซึ่งอุทกภัยในแถบหุบเขาแม่น้ำ ไม่เหมือนกับพื้นที่ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์กว่าของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฤดูแล้งที่ยาวนาน และพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหญ้าหรอมแหรม ภูเขาขนาบภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งทางตะวันตกและทางใต้ และแม่น้ำโขงไหลกั้นที่ราบสูงโคราชทางเหนือและทางตะวันออก พืชสมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล Curcuma และพืชวงศ์ขิง เป็นพืชท้องถิ่นของภาค ภาคอีสานแบ่งลักษณะภูมิประเทศเป็น 5 เขต ได้แก่

    ภาคกลาง[แก้]
    220px-Phetchabun_mountains.jpg
    ทิวเขาเพชรบูรณ์
    ภาคกลาง เป็นแอ่งที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ จนได้รับการขนานนามว่า "อู่ข้าวอู่น้ำ" ระบบชลประทานซึ่งได้พัฒนาสำหรับเกษตรกรรมทำนาในภาคกลางซึ่งได้ให้การสนับสนุนทางเศรษฐกิจและได้พัฒนารัฐไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัยในคริสต์ศตวรรษที่ 13 มาจนถึงกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ภูมิประเทศที่ค่อนข้างแบนราบเป็นส่วนใหญ่ได้อำนวยความสะดวกต่อแหล่งน้ำที่ดอนและการขนส่งทางถนน พื้นที่อันอุดมสมบูรณ์นี้สามารถรองรับประชากรอันหนาแน่นได้ โดยภาคกลางมีความหนาแน่นของประชากรคิดเป็น 422 คนต่อตารางกิโลเมตรในปี ค.ศ. 1987 เมื่อเทียบกับความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยของประเทศที่ 98 คนต่อตารางกิโลเมตร แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาย่อยมีความสำคัญต่อภาคกลางในเกษตรกรรมทำนา กรุงเทพมหานคร ศูนย์กลางการค้า การขนส่ง และกิจกรรมทางอุตสาหกรรม ตั้งอยู่บริเวณขอบด้านใต้ของภาคกลาง บริเวณหัวของอ่าวไทย

    220px-View_from_Lebua%2C_State_Tower%2C_bangkok.jpg
    แม่น้ำเจ้าพระยา ในกรุงเทพมหานคร
    ภาคกลางมีแนวภูเขาเป็นขอบด้านตะวันออกและตะวันตก ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ และทิวเขาถนนธงชัย ลักษณะทางภูมิศาสตร์บริเวณภาคกลางตอนบนเป็นที่ราบเชิงเขา ลานตะพักลำน้ำ และเนินตะกอนรูปพัด ส่วนด้านตะวันออกเป็นที่ราบลาดเนินตะกอนเชิงเขาและภูเขาโดดเตี้ยๆ ซึ่งเป็นภูเขาไฟเก่า พบทั้งหินบะซอลต์ หินไรโอไลต์ และหินกรวดภูเขาไฟ มีพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน และแม่น้ำป่าสัก ส่วนภาคกลางตอนล่างมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยตลอด มีลานตะพักลำน้ำ และที่ราบน้ำท่วมถึง และคันดินธรรมชาติยาวขนานตามแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน ที่ราบภาคกลางตอนกลางมีชื่อเรียกว่า "ทุ่งราบเจ้าพระยา" เริ่มตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ไปจนสุดอ่าวไทย

    ภาคตะวันออก

    220px-Khao_Yai_national_park_-_Heo_Suwat_waterfall.jpg
    น้ำตกเหวสุวัตในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
    ภาคตะวันออกประกอบด้วย 7 จังหวัด มีอาณาเขตติดกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางทิศเหนือ ประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทยทางทิศใต้ ติดกับภาคกลางด้านตะวันตก มีเนื้อที่ 34,380 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศของภาคตะวันออกแบ่งได้ 4 ลักษณะ คือ ภูมิประเทศส่วนทิวเขา มีทิวเขาสันกำแพง ทิวเขาจันทบุรี และทิวเขาบรรทัด ภูมิประเทศส่วนที่เป็นที่ราบลุ่มน้ำ คือที่ราบลุ่มน้ำบางปะกง ที่ราบชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกงไปจนสุดเขตแดนที่แหลมสารพัดพิษ จังหวัดตราด ส่วนใหญ่ชายฝั่งทะเลจะมีหาดทรายสวยงาม และส่วนเกาะและหมู่เกาะ เช่น เกาะสีชัง เกาะเสม็ด หมู่เกาะช้าง และเกาะกูด และมีท่าเรือพานิชย์ที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย อยู่ที่แหลมฉบัง

    650px-Pattaya_Bay_Panorama.jpg
    เมืองพัทยา
    ภาคตะวันตก
    220px-Phraya_Nakhon_Cave.jpg
    ถ้ำพระยานครในอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    ภาคตะวันตกประกอบด้วย 5 จังหวัด มีเนื้อที่ 53,679 ไร่ มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเทือกเขายาวตั้งแต่ภาคเหนือมาถึงภาคตะวันตกของประเทศ และเป็นพรมแดนทางธรรมชาติระหว่างไทยกับพม่า สภาพภูมิประเทศของภาคตะวันตกมีลักษณะเช่นเดียวกับภาคเหนือ โดยมีภูเขาสูงสลับกับหุบเขาซึ่งมีแม่น้ำไหลผ่าน มีที่ราบลุ่มน้ำสำคัญได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง-วัง ที่ราบลุ่มน้ำแม่กลอง และที่ราบลุ่มน้ำเพชรบุรี ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าซึ่งยังไม่ถูกรบกวนเป็นจำนวนมาก ทรัพยากรน้ำและแร่ธาตุเป็นทรัพยากรที่สำคัญของภาค โดยอุตสาหกรรมเหมืองแร่ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมหลัก นอกจากนี้ ภาคตะวันตกยังเป็นที่ตั้งของเขื่อนที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์

    ภาคใต้

    220px-Kho_Pippi-Maya_Beach.jpg
    หาดมาหยา ในหมู่เกาะพีพี
    220px-Beach_7.jpg
    อ่าวสำโรง ในเกาะสมุย
    220px-DSC00095.jpg
    ทะเลสาบสงขลา
    ภาคใต้ เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรแคบ มีความแตกต่างกับภาคอื่น ๆ ของไทยทั้งในด้านสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และทรัพยากร ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้แบ่งเป็น 4 แบบ ได้แก่
    • ทิวเขา ประกอบด้วยทิวเขาสำคัญ ได้แก่ ทิวเขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราช และทิวเขาสันกาลาคีรี
    • ที่ราบฝั่งอ่าวไทยและที่ราบฝั่งอันดามัน โดยที่ราบฝั่งอ่าวไทยจะตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาค มีลักษณะเป็นอ่าวขนาดใหญ่กระจัดกระจาย ชายฝั่งค่อนข้างเรียบตรงและมีหาดทรายสวยงาม และยังมีส่วนที่เป็นหาดเลนและโคลน จะเป็นป่าชายเลน มีลักษณะเด่นคือมีแหลมที่เกิดจากการทับถมของทรายและโคลน 2 แห่ง ได้แก่ แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช และแหลมตาชี จังหวัดปัตตานี และมีทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่เกิดจากคลื่นและกระแสน้ำพัดพาตะกอนทรายไปทับถมเป็นแนวสันทราย ส่วนที่ราบฝั่งทะเลอันดามัน จะอยู่ด้านตะวันตกของภาค มีลักษณะเป็นชายฝั่งแบบยุบตัว มีที่ราบแคบเนื่องจากมีชายเขาและหน้าผาติดชายฝั่ง นอกจากนี้ยังมีชายฝั่งที่เว้าแหว่งมากและนอกฝั่งออกไปพื้นน้ำจะลาดลึกลงไปอย่างรวดเร็ว จะมีหาดทรายขาวแคบ ๆ
    • เกาะ ภาคใต้มีเกาะและหมู่เกาะมากมาย โดยฝั่งอ่าวไทยมีเกาะสำคัญเช่น เกาะสมุย เกาะพงัน หมู่เกาะอ่างทอง เป็นต้น ส่วนฝั่งอันดามันมี เกาะภูเก็ต ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะสิมิลัน เกาะตะรุเตา
    เศรษฐกิจของภาคใต้ขึ้นอยู่กับการทำนาเพื่อยังชีพเป็นหลักและการผลิตยางสำหรับอุตสาหกรรม แหล่งรายได้อื่น ๆ รวมไปถึงการปลูกมะพร้าว การทำเหมืองแร่ดีบุก และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก ภูมิประเทศแบบม้วนตัวกับภูเขาและการขาดแม่น้ำสายใหญ่ ๆ เป็นลักษณะเด่นของภาคใต้ แนวภูเขาซึ่งเรียงตัวกันในแนวเหนือ-ใต้ และป่าฝนเขตร้อนอันลึกลับได้ทำให้เกิดการโดดเดี่ยวในยุคเริ่มต้นและการพัฒนาทางการเมืองแยกต่างหากกับส่วนอื่น ๆ ของประเทศ การเข้าถึงทะเลอันดามันและอ่าวไทยทำให้ภาคใต้เป็นทางผ่านของทั้งพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และศาสนาอิสลาม โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่อดีตอาณาจักรปัตตานีซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย

    ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ภูมิศาสตร์ไทย
     
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    upload_2022-10-22_6-53-54.jpeg upload_2022-10-22_6-52-32.jpeg

    สุดดินคือถิ่นน้ำ เขตคามไทยสุดแนว
    เราถอยไปไม่ได้อีกแล้ว ผืนถิ่นสิ้นแนว ทะเลกว้างใหญ่
    ชาติไทยในเก่ากาล ถูกเขารานย่ำใจ
    เคยเสียน้ำตามากเพียงไหน เสียเนื้อเลือดเท่าไร ชาวไทยจำได้ดี
    เราถอยมาอยู่แสนไกล รวมเผ่าไทยอยู่อย่างเสรี
    พระสยามทรงนำโชคดี ผืนดินถิ่นนี้คือแผ่นดินทอง
    ไม่มีที่แห่งไหน ให้ไทยจับจอง
    เราถอยไปไม่ได้พี่น้อง ใครคิดมาแย่งครอง ผองไทยจงสู้ตาย
     
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    images?q=tbn:ANd9GcTpOt5S51I6RMh-WIF2JMKsg-Xn3FWMDX_2Qg&usqp=CAU.jpg

    นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีพระนามเดิมคือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์


    คาถาบูชากรมหลวงชุมพร

    ( บทยาว ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)
    ชุมพรจุติ อิทธิกะระณัง สุโข นะโมพุทธายะ มะอะอุ อิสะวาสุ สุสะวาอิ
    อิทธิฤทธิ อิทธิฤทธัง อรหังพุทโธ พุทธมหาลาโภ มหาเทโว พุทโธโลกะนาถัง
    พุทธอรหังอะ นะมะพะทะ จะพะกะสะ หุลุ หุลู สวาหายะ ภวันตุ เต (เม)

    ( บทสั้น ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)

    ชุมพรจุติ อิทธิกะระณัง สุโข นะโมพุทธายะ
     
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293

แชร์หน้านี้

Loading...