เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๕

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 25 กันยายน 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,245
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,604
    ค่าพลัง:
    +26,455
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๕


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2022
  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,245
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,604
    ค่าพลัง:
    +26,455
    วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ กระผม/อาตมภาพวิ่งจากอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์กลับมาถึงที่วัดนี่ ก็ประมาณ ๕ ชั่วโมง ตัวเองหมดสภาพไม่พอ คนขับรถก็หมดสภาพไปด้วย..!

    งานออกนิโรธกรรมของครูบาวิฑูรย์ จะว่าไปแล้วก็ต้องบอกว่า ได้รับการอนุเคราะห์สงเคราะห์จากครูบาอาจารย์ หรือพรหมเทวดาท่านหยุดฝนเอาไว้ก่อน ไม่อย่างนั้นเละเป็นโจ๊กทั้งงานแน่นอน..! เพียงแต่ว่ามีเรื่องตลก ก็คือช่วงที่เริ่มพิธีสืบชะตา ปกติแล้วพระเถราจารย์ที่รับหน้าที่นั่งปรกคุม ๔ ทิศ เขาก็จะมีขันน้ำมนต์ให้ ปรากฏว่าน้องแนน ซึ่งอยู่รับใช้ครูบาวิฑูรย์ท่าน ย่องมาบอกว่า "ครูบาขอให้เหลือเทียนชัยไว้ให้ด้วย"

    เพราะว่าโดยปกติแล้ว ในพิธีที่มีการพุทธาภิเษกวัตถุมงคล กระผม/อาตมภาพจะเอาเศษเทียนชัยที่เหลือปั้นเป็นลูกอมเทียนชัยไว้ ก็แปลว่างานหนึ่งก็ได้แค่หนึ่งองค์เท่านั้น ถ้าถามว่าดีตรงไหน ? คำว่า "ชัย" ก็คือ "ชนะ" อยากจะชนะเรื่องอะไรก็ว่าไป โบราณท่านถือเป็นเคล็ดลับอย่างหนึ่ง

    ที่กระผม/อาตมภาพทำเอาไว้ก็เพราะว่าเวลาที่พระ หรือครูบาอาจารย์ท่านสงเคราะห์ลงมา ถ้าหากว่าจะทิ้งไปเฉย ๆ ก็เสียดาย แล้วงานหนึ่งก็ได้แค่ลูกเดียวเท่านั้น ก็ทำเก็บเผื่อ ๆ ไว้ แต่ส่วนใหญ่โดนไอ้ตัวเล็กล้วงไปขายหมด..! ถ้าหากว่าคนที่บูชาไป จะติดตัวเอาไว้ก็ดี แต่ส่วนที่น่าทำก็คือเอาไว้เป็นชนวนเกี่ยวกับการสร้างวัตถุมงคลต่าง ๆ ได้ก็จะดีมาก

    ปกติแล้วกระผม/อาตมภาพทำแล้วก็ไม่ได้มอบให้ใคร แต่ว่ามอบได้ให้กับพลเอกเจษฎา เปรมนิรันดร ไปลูกหนึ่ง เพราะว่าท่านรับอาสาดูแลเรื่องงานบูรณปฏิสังขรณ์วัดราษฎร์ประชุมชนาราม หรือว่าวัดท่ามะขามให้ ตั้งแต่ท่านมาช่วยงานเกี่ยวกับทางด้านนี้ ก็เลื่อนจากรองเจ้ากรม ยศพลตรี ขึ้นมาเป็นเจ้ากรม ยศพลโท ปัจจุบันนี้ขึ้นมาถึงพลเอกแล้ว ก็ต้องบอกว่าเทียนก็คือตัวแทนของความสว่างรุ่งเรือง แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือตัวแทนของปัญญา คำว่าชัยก็คือชนะ จึงมี "นกรู้" อยากจะได้ไว้บ้าง..!

    โดยเฉพาะครูบาวิฑูรย์ ท่านแอบสังเกตตอนไหนก็ไม่รู้ ว่าแต่ละงานส่วนใหญ่แล้ว
    กระผม/อาตมภาพจะอมเอาเศษเทียนที่เหลือกลับไป งานนี้ท่านจึงได้ขอเอาไว้ กลายเป็นงานที่กระผม/อาตมภาพกลับมามือเปล่า ไม่มีของติดมือมาเหมือนกับทุกงาน ตรงนั้นก็แล้วแต่ว่าท่านจะเอาใช้งานอะไร
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,245
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,604
    ค่าพลัง:
    +26,455
    เรื่องของปรียานันท์ธรรมสถาน จะว่าไปแล้ว ต้องนับว่ายังเป็นที่พักสงฆ์อยู่ ตรงจุดนี้ทางด้านสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้พยายามชี้แจงให้พระภิกษุสามเณรของเราได้เข้าใจ เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วถ้าไม่ใช่วัดที่ได้รับวิสุงคามสีมา ส่วนใหญ่เราก็จะไปเรียกว่า สำนักสงฆ์

    แต่ว่าสำนักสงฆ์ในที่นี้ ถ้าตามกฎหมายก็คือ ที่พักสงฆ์ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว และตัวเจ้าอาวาสมีนิตยภัตเหมือนกับวัดทั่วไป ดังนั้น..ที่พักสงฆ์ที่ยังไม่ได้รับการสำรวจถึงความถูกต้อง ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ต้องเรียกว่าที่พักสงฆ์ทั้งหมด

    ดังนั้น..ที่พักสงฆ์ปรียานันท์ธรรมสถานก็ดี ที่พักสงฆ์อาศรมศรีชัยรัตนโคตรก็ตาม ก็ยังคงจัดเป็นแค่ที่พักสงฆ์ รออยู่ในระหว่างดำเนินการ ตัวผู้เป็นหัวหน้าดูแลรักษาพื้นที่ ให้ใช้คำว่า ประธานที่พักสงฆ์ ถ้าเป็นสำนักสงฆ์ก็ใช้ว่าประธานสำนักสงฆ์ ยกเว้นว่าเป็นวัด ถ้าไม่มียศ ไม่มีสมณศักดิ์ ก็เรียกว่าพระอธิการ ถ้ามียศ มีฐานานุกรม มีสมณศักดิ์ ก็เรียกตามสมณศักดิ์นั้น ไม่ต้องใช้คำว่าพระอธิการ

    ในส่วนที่
    กระผม/อาตมภาพขอชื่อมหาไบท์ (พระมหาจักรพงษ์ ปญฺญาทีโป ป.ธ.๖) ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธบริษัท ของมหาไบท์นี่ "มหาเปรียญ" เป็นสมณศักดิ์สำคัญที่ในหลวงพระราชทานให้มาตั้งแต่โบร่ำโบราณ โดยเฉพาะยิ่งประโยคสูงเท่าไร ฐานานุศักดิ์ยิ่งสูงเท่านั้น แค่มหาเปรียญประโยค ๓ ก็ต้องนั่งสูงกว่าฐานานุกรมระดับ พระครูรองคู่สวด พระครูสังฆรักษ์ พระครูสมุห์ พระครูใบฎีกา พระสมุห์ พระใบฎีกา พระพิธีธรรมไปแล้ว

    ในส่วนนี้ "มหาเปรียญ" ถึงเวลาถ้ามีคนจะตั้งฐานานุกรมให้ ก็ต้องพิจารณาให้ดีว่าเป็นเปรียญธรรมประโยคไหน เพราะว่าจะต่ำกว่าฐานานุศักดิ์ของตนเองไม่ได้ ยิ่งถ้าหากว่าเปรียญธรรม ๖ ประโยค นั่งเหนือพระครูฐานานุกรมระดับพระครูปลัดชั้นเทพไปเลย มีอย่างเดียว ต้องเป็นพระครูปลัดของเจ้าคุณชั้นธรรมขึ้นไป ต่ำกว่านั้นไม่ได้

    บรรดามหาเปรียญนี่เท่ากับว่าสร้างฐานานุศักดิ์ของตนเองขึ้นมา เพราะว่าศึกษาเล่าเรียนด้วยตัวเอง เหนือกว่าพระฐานานุกรมจำนวนมากต่อมากด้วยกัน ตามแต่ความสูงต่ำในประโยคของบาลีของตัวเอง
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,245
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,604
    ค่าพลัง:
    +26,455
    สำหรับปีนี้ที่กระผม/อาตมภาพขอให้นักเรียนบาลีวัดท่าขนุนของเราไปทดลองสอบดู ไม่ทราบว่าพวกท่านมีความสามารถเหมือนกระผม/อาตมภาพหรือเปล่า ? ก็คือถ้าได้สอบสักครั้งหนึ่ง จะเข้าใจว่าเขาจะมีแนวการออกข้อสอบแบบไหน ต่อให้ครั้งนี้ตก ครั้งหน้าก็สอบได้อย่างแน่นอน แต่เกรงว่าพวกท่านทั้งหลายจะไม่มีความสามารถตรงนี้ ก็เลยจำเป็นที่พวกเราจะต้องซักซ้อมในการทำข้อสอบให้เคยชินไว้ ถ้าหากว่าบังเอิญไปตรงกับข้อสอบที่ออกได้เลยก็ยิ่งดี

    โดยเฉพาะในเรื่องของบาลีไวยากรณ์ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะว่าเป็นพื้นฐานที่เราต้องใช้ตั้งแต่ประโยค ๑ - ๒ ไปถึงประโยค ๙ เลย ยิ่งมีความเชี่ยวชาญในไวยากรณ์มากเท่าไร การเรียนประโยคสูงก็ยิ่งง่ายเท่านั้น

    คราวนี้ถ้าเราสอบติดไวยากรณ์ได้ ๑ วิชา ที่เหลือก็รอซ่อมรอบสอง ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ตกแล้วตกเลย จบกันไป รอปีหน้าค่อยสอบใหม่ ช่วงระหว่างรอซ่อม เราจะมีเวลาซักซ้อมประมาณ ๒ เดือน ตอนนั้นค่อยมาซ้อมแปลกัน น่าจะช่วยได้ พวกท่านก็จะเห็นว่ารุ่นพี่ ๆ เขามีการสอบโดยการซ่อมผ่านมาเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นรุ่น
    กระผม/อาตมภาพนี่ตกแล้วตกเลย..หมดสิทธิ์ด้วยประการทั้งปวง

    การเรียนบาลีเป็นเรื่องยาก พระผู้ใหญ่ท่านจึงออกความคิดว่า ถ้าหากว่ามีการซ่อมได้ ก็จะช่วยให้คนได้ประโยคบาลีมากขึ้น แต่ความจริงแล้ว กระผม/อาตมภาพเคยเสนอความคิดไปแล้ว แต่ว่าไม่ได้รับความเห็นชอบ ก็คือให้เรียนบาลีลักษณะของการเก็บหน่วยกิต เรียนขึ้นหน้าไปเรื่อย ๆ ถ้าเก็บหน่วยกิตครบเท่านี้จะได้ประโยค ๑ - ๒ เก็บได้เท่านั้นจะได้ประโยค ๓ ไล่ขึ้นไปเรื่อย ผ่านไปแล้วจบเลย ไม่ต้องเหลียวกลับหลังมาอีก ให้เรียนขึ้นหน้าอย่างเดียว

    ถ้าลักษณะนี้ การเรียนบาลีก็จะง่ายขึ้น แต่พระผู้ใหญ่ท่านท้วง โดยใช้คำว่า "ถ้าทำแบบนี้แล้วจะไม่ศักดิ์สิทธิ์" ซึ่งกระผม/อาตมภาพเอง ไม่เห็นความสำคัญตรงคำว่า "ศักดิ์สิทธิ์" ของการเรียนบาลี

    ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? ก็เพราะว่าบาลีนั้น แนวการให้คะแนน แนวการตรวจข้อสอบ ไม่เหมือนกับวิชาการทั่วไป วิชาทั่วไปตรวจว่าคุณทำถูกเท่าไร แล้วก็รับคะแนนไปตามนั้น แต่วิชาบาลีตรวจว่าคุณทำผิดเท่าไรถึงจะปรับตก แล้วก็ผิดได้เต็มที่แค่ ๑๒ แห่ง สมมติว่าคุณผิด ๑๒ แห่งที่เหลือทำถูกหมด ถ้าคิดคะแนนเต็ม ๑๐๐ คุณก็ได้ตั้ง ๘๘ คะแนน แต่ตก..! ก็เลยทำให้บรรดาผู้ที่จบประโยค ๙ ทั้งหลาย กลายเป็นพวกแปลกแยกจากสังคม..!
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,245
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,604
    ค่าพลัง:
    +26,455
    โดยเฉพาะบ้านเราจบแล้วจบเลย ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรต่อ ยกเว้นท่านที่ไปเป็นครูสอนบาลีต่อ ก็จะมีความชำนาญแตกฉานมากขึ้น แต่ก็ไปด้วนเอาเฉย ๆ ตรงนั้น ไม่เหมือนกับทางพม่าที่เขามีไปเรียนบาลีปารคู ไปเรียนผู้ทรงพระไตรปิฎก

    ในเมื่อพระผู้ใหญ่ท่านยังเห็นว่าจำเป็นต้องพึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของบาลี เราก็จะมีบรรดาผู้แปลกแยกจากสังคมเพิ่มขึ้นปีละไม่กี่รูป เท่าที่พบมา ปีที่ได้มากที่สุดน่าจะประมาณ ๕๐ รูปเศษ แล้วลองคิดดูว่าพระทั้งประเทศไปสอบ แต่ได้แค่ ๕๐ รูปเศษ หรือว่าบางปีได้แค่ไม่กี่รูป บางวัดส่งสอบอยู่ปีแล้วปีเล่า ไม่เคยได้เลยสักรูป..!

    แม้กระทั่งอาจารย์ใหญ่ของบางสำนักบาลีที่สนิทสนมคุ้นเคยกับผม ปกติแล้วอาจารย์ใหญ่สำนักเรียนบาลีต้องประโยค ๙ แต่ว่ารายนั้นท่านได้แค่ประโยค ๗ เพียงแต่ว่าศึกษาส่วนที่เหลือจนปรุแล้ว แต่ดวงไม่ดี สอบเมื่อไรก็ตกเมื่อนั้น สอนลูกศิษย์ได้ประโยค ๙ ไปมากมาย อาจารย์ยังอยู่แค่ประโยค ๗ ก็เลยกลายเป็นอะไรที่ว่า ถ้าต้องการความศักดิ์สิทธิ์ ก็จะอยู่ในลักษณะอย่างนี้ไปเรื่อย

    คราวนี้บาลีนั้นตั้งแต่โบราณมา ที่ศักดิ์สิทธิ์ก็เพราะว่าการตั้งหน้าตั้งตาท่องบาลีนั้นได้สมาธิง่ายมาก คล้าย ๆ กับการสวดมนต์เหมือนกัน หลวงปู่พุธ ฐานิโย (พระราชสังวรญาณ ป.ธ.๔) วัดป่าสาลวัน ท่านเล่าให้กระผม/อาตมภาพฟังว่า ท่านท่องบาลี..ท่องบาลีอยู่ รู้สึกว่าตัวเองลอยอยู่กลางอากาศ..! แล้วไอ้ที่หน้าตาเหมือนกับตัวเองที่กำลังนั่งท่องบาลีอยู่นั่นใครวะ ? ก็คือท่านว่าไปจนกระทั่งกายในหลุดออกไปไม่รู้ตัว ท่องบาลีจนเป็นสมาธิ พอกำลังถึง พื้นฐานอภิญญาเก่ากลับมา เลยได้อภิญญาเอาง่าย ๆ แล้วสมัยก่อนความศรัทธา ความเชื่อมั่นมีมาก ขนาดตัวหนังสือหรือว่าหนังสือ เขาจะไม่ข้ามกัน ถึงขนาดให้กราบหนังสือทุกครั้งที่เรียน

    ดังนั้น..ในเมื่อความศรัทธามีมาก ความเชื่อมั่นมีมาก สมัยก่อนเวลาลบกระดานเขาถึงได้เก็บผงชอล์กเอาไว้สำหรับสร้างวัตถุมงคลด้วย เพราะถือว่าอักขระทุกตัวสามารถทดแทนธรรมะของพระพุทธเจ้าได้ทั้งนั้น มารุ่นของเราไม่ค่อยได้ใช้ แต่เปิดเพาเวอร์พ้อยต์สอนแทน แล้วจะไปลบผงกันอีท่าไหน ? จึงเล่าถวายเอาไว้สำหรับพวกเราเพื่อเป็นแนวทาง

    วันนี้ก็ขอบอกกล่าวแก่พระภิกษุสามเณรของเรา และญาติโยมที่ฟังอยู่แต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันจันทร์ที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...