สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ?temp_hash=69ee59e1bbe2160ccd0c28aecfc461ee.jpg



    y12686467-1-jpg.jpg


    ?temp_hash=c8d2b0f20c11a3fea42daf4af8296123.jpg


    ภิกษุรูปใดเดินหรือจงกรมนานแล้ว ในกาลต่อมา ยืนพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า
    รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้วในเวลาจงกรมก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการเดิน.
    ************
    [๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ กระทำความรู้สึกตัวในการเหลียว การแล
    กระทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้าและเหยียดออก กระทำการรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร กระทำการรู้สึกตัวในการกิน การดื่ม การลิ้ม กระทำการรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ
    ปัสสาวะ กระทำการรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับ
    เธอทั้งหลาย.
    .......
    ข้อความบางตอนใน สติสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ (ฉบับหลวง)
    http://www.84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=3882

    สติสูตร (ภาษาบาลี) http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php…
    ....................
    พึงทราบอธิบายในบทว่า คต ศัพท์เป็นต้น.

    บทว่า คเต คือ ในการเดิน. บทว่า ฐิเต คือ ในการยืน. บทว่า นิสินฺเน คือ ในการนั่ง.

    บทว่า สุตฺเต คือ ในการนอน. บทว่า ชาคริเต คือ ในการตื่น.

    บทว่า ภาสิเต คือ ในการพูด. บทว่า ตุณฺหีภาเว คือ ในการไม่พูด.

    ก็ในอิริยาบถนี้ ภิกษุรูปใดเดินหรือจงกรมนานแล้ว ในกาลต่อมา ยืนพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้วในเวลาจงกรมก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการเดิน.

    ภิกษุรูปใด เมื่อทำการสาธยาย ตอบปัญหา หรือมนสิการถึงกัมมัฏฐาน ยืนนานแล้ว ในกาลต่อมานั่งพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้วในเวลายืนก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการยืน.

    ภิกษุรูปใดนั่งนานด้วยสามารถแห่งการทำสาธยายเป็นต้น ในกาลต่อมา นั่งพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้วในเวลานั่งก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการนั่ง.

    ส่วนภิกษุรูปใด เมื่อนอนทำการสาธยาย หรือมนสิการถึงกัมมัฏฐานหลับไป ในกาลต่อมา ลุกขึ้นพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้ว ในเวลานอนก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้ นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการหลับและการตื่น. ด้วยว่า ความไม่เป็นไปแห่งจิตที่สำเร็จด้วยกิริยา ชื่อว่าหลับ ที่เป็นไปชื่อว่าตื่น ด้วยประการฉะนี้.

    ส่วนภิกษุรูปใด เมื่อพูด ย่อมพูดมีสติสัมปชัญญะว่า ชื่อว่าเสียงนี้ ย่อมเกิดเพราะอาศัยริมฝีปาก เพราะอาศัยฟัน ลิ้นและเพดาน และเพราะอาศัยความประกอบแห่งจิตอันสมควรแก่เสียงนั้น ก็หรือทำการสาธยายหรือกล่าวธรรม ให้เปลี่ยนกัมมัฏฐานหรือตอบปัญหาตลอดกาลนานแล้ว ในกาลต่อมาก็นิ่งพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเกิดขึ้นแล้วในเวลาพูดก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการพูด.

    ภิกษุรูปใดนิ่งทำในใจถึงธรรม หรือกัมมัฏฐานแล้วตลอดกาลนาน ในกาลต่อมาย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้ว ในเวลานิ่งก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. เมื่อความเป็นไปแห่งอุปาทารูปมีอยู่ ชื่อว่าพูด. เมื่อไม่มีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้นิ่ง ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในความนิ่งด้วยประการฉะนี้.

    ในข้อนี้เป็นอสัมโมหสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว พึงทราบด้วยสามารถแห่งอสัมโมหสัมปชัญญะนั้นแล.

    ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัมปชัญญะคลุกเคล้าด้วยสติปัฏฐานว่า เป็นบุพภาค ดังนี้.
    ......
    ข้อความบางตอนในอรรถกถาสติสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    https://www.facebook.com/TipitakaStudies/?tn-str=k*F
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

    [​IMG]
    ๙. จังกมสูตร

    [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้
    ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
    ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ อาหารที่กิน
    ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑ สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้ง
    อยู่ได้นาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๙
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    สารีปุตตเถรคาถา



    คาถาสุภาษิตของพระสารีบุตรเถระ
    พระสารีบุตรเถระ ครั้นสำเร็จแห่งสาวกบารมีญาณ ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรมเสนาบดี
    อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทำประโยชน์แก่หมู่สัตว์ วันหนึ่งเมื่อพยากรณ์อรหัตผลโดยมุขะ คือ
    ประกาศความประพฤติของตนแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคาถาความว่า
    [๓๙๖] ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล สงบระงับ มีสติ มีความดำริชอบ ไม่ประมาท
    ยินดีแต่เฉพาะกรรมฐานภาวนาอันเป็นธรรมภายใน มีใจมั่นคงอย่างยิ่ง
    อยู่ผู้เดียว ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่าภิกษุ
    ภิกษุเมื่อบริโภคอาหารจะเป็นของสดหรือของแห้งก็ตาม ไม่ควรติดใจจน
    เกินไป ควรเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ มีสติอยู่ การ
    บริโภคอาหารยังอีก ๔-๕ คำจะอิ่ม ควรงดเสีย แล้วดื่มน้ำเป็นการ
    สมควรเพื่ออยู่สบายของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว อนึ่งการนุ่งห่มจีวรอันเป็น
    กัปปิยะ นับว่าเป็นประโยชน์ จัดว่าพอ เป็นการอยู่สบายของภิกษุผู้มีใจ
    เด็ดเดี่ยว การนั่งขัดสมาธินับว่าพอ เป็นการอยู่สบายของภิกษุ ผู้มีใจเด็ด
    เดี่ยว ภิกษุรูปใดพิจารณาเห็นสุข โดยความเป็นทุกข์ พิจารณาเห็น
    ทุกข์โดยความเป็นลูกศรปักอยู่ที่ร่าง ความถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนใน
    อทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้มีแก่ภิกษุนั้น จะพึงติดอยู่ในโลกอย่างใด
    ด้วยกิเลสอะไร ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกเกียจคร้าน มีความเพียร
    เลวทราม ได้สดับน้อย ไม่เอื้อเฟื้อ อย่าได้มาในสำนักของเราแม้ใน
    กาลไหนๆ เลย จะมีประโยชน์อะไรด้วยการให้โอวาทบุคคลเช่นนั้นใน
    หมู่สัตว์โลกนี้ ....


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๘๐๔๙ - ๘๑๓๓. หน้าที่ ๓๔๖ - ๓๔๙.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=8049&Z=8133&pagebreak=0
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต




    [​IMG]
    โมคคัลลานสูตร



    ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่
    ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็น
    เหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณา
    ถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละ
    ความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้ว
    ได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละ
    ไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละ
    ความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดู
    ทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
    ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึงอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญในกลางวัน
    ว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจ
    เปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด ข้อนี้จะเป็นเหตุให้
    เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนด
    หมายเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก ข้อนี้จะเป็น
    เหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
    ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือ
    นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายใน
    อันจะลุกขึ้น พอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขใน
    การนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ ดูกรโมคคัลลานะ
    เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ



    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=1873&Z=1938
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ที่จงกรมอันไม่มีโทษ
    ...............
    ก็ที่จงกรมขนาดเล็ก (อนุจงฺกมํ) โดยส่วนกว้างหนึ่งศอกหนึ่งคืบ ที่ข้างทั้งสองประมาณหนึ่งศอก ด้านยาวประมาณ ๖๐ ศอก
    มีพื้นอ่อนเกลี่ยทรายไว้เรียบเหมาะสม

    เพราะฉะนั้น ที่นั้นเช่นนั้น ได้เป็นเหมือนที่จงกรมของพระมหามหินทเถระผู้ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ชาวเกาะในเจติยคีรี
    ด้วยเหตุนั้น สุเมธบัณฑิตจึงกล่าวว่า เราสร้างที่จงกรมเว้นโทษ ๕ อย่าง ที่อาศรมบทนั้นดังนี้.
    ..................
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ มาติกา ติกมาติกา
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34.0&i=1&p=2
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    การสร้างที่จงกรม
    ***********
    [๒๘] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อธรรมิกะ เราสร้างอาศรมอย่างดี สร้างบรรณศาลาอย่างดีไว้

    [๒๙] ในที่นั้น เราสร้างที่จงกรมซึ่งเว้นโทษ ๕ ประการ
    เป็นที่นำมาซึ่งอภิญญาพละประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ
    .............
    ข้อความบางตอนใน สุเมธกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=193

    โทษ ๕ ประการ คือ (๑) ที่แข็งกระด้างขรุขระ (๒) มีต้นไม้อยู่ภายใน (๓) มีกอไม้ปกคลุม (๔) แคบเกินไป (๕) กว้างเกินไป

    ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ หมายถึงประกอบด้วยสุขของสมณะ ๘ ประการ (๑) มีจิตเป็นสมาธิ (๒) บริสุทธิ์ (๓) ผุดผ่อง (๔) ไม่มีกิเลสยียวน (๕) ปราศจากกิเลส ที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง (๖) อ่อนโยน (๗) ควรแก่การงาน (๘) ตั้งขึ้นไม่หวั่นไหว
    ……….
    ดูรายละเอียดใน อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ รัตนะจงกรมกัณฑ์
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.2&i=1&p=9#โทษแห่งที่จงกรม_๕_ประการ


    ?temp_hash=05dcedc82456763dc22cd8860cbef494.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ที่จงกรมที่แคบเกินไป
    ...............
    เมื่อเดินจงกรมในที่จงกรมแคบเกินไป โดยกว้างหนึ่งศอก หรือครึ่งศอก
    เล็บก็ดี นิ้วเท้าก็ดี ย่อมแตก เพราะลื่นไปในที่จำกัด
    เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมแคบเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่สี่.
    ..................
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ มาติกา ติกมาติกา
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34.0&i=1&p=2


    ?temp_hash=05dcedc82456763dc22cd8860cbef494.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ที่จงกรมเป็นที่แข็งและขรุขระ
    ...............
    จริงอยู่ ที่จงกรมที่มีภูมิภาคแข็งขรุขระ เท้าทั้งสองของผู้จงกรมย่อมเจ็บ เท้าย่อมบวม จิตย่อมไม่ได้เอกัคคตา กรรมฐานย่อมวิบัติ.

    แต่ในพื้นที่อ่อนสม่ำเสมอกัน โยคีอาศัยที่อาศัยอยู่อันผาสุกแล้ว ก็ทำกรรมฐานให้สมบูรณ์ได้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบที่จงกรม เพราะเป็นภูมิภาคแข็งและขรุขระ ว่าเป็นโทษที่หนึ่ง.
    ..................
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ มาติกา ติกมาติกา
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34.0&i=1&p=2


    ?temp_hash=05dcedc82456763dc22cd8860cbef494.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ที่จงกรมที่กว้างเกินไป
    ...............
    เมื่อจงกรมในที่จงกรมกว้างเกินไป จิตย่อมพล่าน ย่อมไม่ได้เอกัคคตา
    เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมกว้างเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่ห้า.
    ..................
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ มาติกา ติกมาติกา
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34.0&i=1&p=2


    ?temp_hash=05dcedc82456763dc22cd8860cbef494.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ผลแห่งการถวายที่จงกรม
    ************
    (พระจังกมทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
    [๙๓] ข้าพเจ้าให้สร้างที่จงกรมก่อด้วยอิฐ
    ถวายพระมุนีพระนามว่าอัตถทัสสี
    ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
    [๙๔] ที่จงกรมสร้างสำเร็จดีแล้ว สูง ๕ ศอก ยาว ๑๐๐ ศอก ควรเป็นที่เจริญภาวนา น่ารื่นรมย์ใจ
    [๙๕] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี
    ทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน ทรงรับแล้ว
    ทรงใช้พระหัตถ์กอบทรายแล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
    [๙๖] ด้วยการถวายทรายนี้ และด้วยการสร้างที่จงกรมถวายดีแล้ว
    ผู้นั้นจักได้ครองทรายที่สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ
    [๙๗] เขาจักครองเทวสมบัติ มีเหล่านางเทพอัปสรแวดล้อม
    เสวยสมบัติในเทวดาทั้งหลายถึง ๓ กัป
    [๙๘] เขามาเกิดยังมนุษยโลกแล้ว
    จักเป็นพระราชาในแว่นแคว้น
    และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในแผ่นดิน ๓ ชาติ
    [๙๙] ในกัปที่ ๑๑๘ (นับจากกัปนี้ไป)
    ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
    จึงไม่รู้จักทุคติเลย
    นี้เป็นผลแห่งการถวายที่จงกรม
    [๑๐๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
    และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
    คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
    ได้ทราบว่า ท่านพระจังกมทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
    ………….
    จังกมทายกเถราปทาน ขุททกนิกาย อปทาน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=50

    ศึกษาเพิ่มเติมในอรรถกถาจังกมนทายกเถราปทาน http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=50

    mu78T1DQoGngW6PBSGBnyFp3-bqC18_QgkwM76yjXT3J&_nc_ohc=YP9DPbzmDTcAX9mdeGN&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    1183457055-jpg.jpg

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก พุทธวงศ์

    รัตนะจงกรมกัณฑ์
    ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงเนรมิตที่จงกรมแก้ว

    [๑] ก็ท้าวสหัมบดีพรหมผู้เป็นใหญ่ในโลกได้ประนมอัญชลีทูล
    อาราธนาพระผู้มีพระภาคว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลี
    ในนัยน์ตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระองค์ได้ทรงโปรด
    อนุเคราะห์แสดงธรรมแก่หมู่สัตว์นี้เถิด (พระผู้มี-
    พระภาคผู้เป็นใหญ่กว่าโลกอุดมกว่านรชน อันหมู่พรหม
    ผู้ประนมอัญชลีทูลอาราธนาว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลี
    ในนัยน์ตาน้อยมีอยู่ในโลกนี้ ขอพระองค์ได้ทรงโปรด
    อนุเคราะห์แสดงธรรมแก่หมู่สัตว์นี้ ขอพระสุคตเจ้าทรง
    โปรดแสดงธรรม ขอทรงแสดงอมตบท ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนายก
    ขอจงทรงโปรดอนุเคราะห์แสดงธรรมแก่สัตว์โลก) พระตถาคผู้ไม่มี
    บุคคลเปรียบเสมอ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ผู้คงที่ ผู้ทรง
    ความรุ่งเรือง ทรงไว้ซึ่งพระกายครั้งสุดท้าย ทรงเกิดความกรุณา
    ในสัตว์ทั้งปวง
    พระผู้มีพระภาคผู้ศาสดา ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว ได้
    ตรัสว่า สัตว์เหล่าใดเงี่ยโสตลงฟัง ปล่อยศรัทธาเราจะ
    เปิดประตูอมตนิพพานแก่สัตว์เหล่านั้น ดูกรพรหม เรา
    สำคัญไปว่าจะลำบากเปล่า จึงไม่กล่าวธรรมมีคุณอัน
    ละเอียดประณีตในหมู่มนุษย์.
    (สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐกว่ามุนีจะทรงอนุเคราะห์
    เวไนยสัตว์ เสด็จจากไม้อัชปาลนิโครธ เสด็จถึงพระนครพาราณสี
    โดยเสด็จดำเนินไปตามลำดับ ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ
    บนบัลลังก์อันประเสริฐนั้น และทรงประกาศธรรมจักร คือ ทุกข์
    เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ มรรคอันสูงสุดแก่ปัญจวัคคีย์ พระ-
    ผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรนั้นแล้ว ฤาษีปัญจวัคคีย์เหล่านั้น
    คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ พร้อม
    ด้วยหมู่เทวดาและพรหม ๑๘ โกฏิ ได้ธรรมาภิสมัยในสันติบาต
    ครั้งแรก ในกาลนั้น พระองค์ทรงแนะนำปัญจวัคคีย์แม้ทั้งหมด
    พร้อมด้วยหมู่พรหมและเทวดา ๑๘ โกฏิ ให้วิเศษตามลำดับ ด้วย
    พระธรรมเทศนาอย่างอื่น ทรงยังหมู่พรหมและเทวดาให้ได้โสดา
    ปัตติผลในสันติบาตนั้น แล้วเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ โดยเสด็จ
    ดำเนินไปตามลำดับ พระองค์ผู้ประเสริฐกว่ามุนี ประทับอยู่ ณ
    พระเวฬุวันมหาวิหาร ก็พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับดังนั้น ได้เสด็จ
    ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค มีบริวารเป็นอันมากประมาณ ๑๑ นหุต
    พระเจ้าพิมพิสารทรงบูชาพระผู้มีพระภาค ด้วยประทีป ของหอม
    ธูปและดอกไม้เป็นต้น ในสมาคมนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
    กามาทีนวกถา ในเวลาจบเทศนา ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์
    ๘๔,๐๐๐ มีพระราชาเป็นประมุขพระพุทธบิดาได้ทรงสดับข่าวนั้น
    ทรงส่งทูตไป ๙ นายทูตเหล่านั้นพร้อมด้วยบริวาร ๙,๐๐๐ ทูลขอ
    บรรพชากะพระมุนี ทูตเหล่านั้นและบริวาร ๙,๐๐๐ ได้บรรลุอรหัต
    ครั้งสุดท้ายกาฬุทายีอำมาตย์กับบริวาร ๑,๐๐๐ ถือเพศภิกษุแล้ว
    กราบทูลเชิญพระผู้มีพระภาค พระศากยมุนีผู้ประเสริฐ ทรงรับ
    นิมนต์แล้ว เสด็จดำเนินไปตามทางใหญ่ เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุ
    สองหมื่น พระองค์เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์โดยการเสด็จดำเนินไป
    ตามลำดับ ได้ทรงกระทำปาฏิหาริย์ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำโรหิณี ประทับนั่ง
    ณ ท่ามกลางบัลลังก์นั้น ทรงแสดงมหาเวสสันตรชาดกธรรมเทศนา
    แก่พระพุทธบิดา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐).
    พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า
    พรหมเหล่านี้ พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์ไม่รู้ว่า พระ-
    พุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชนนี้เป็นเช่นไร ทรงมีกำลังฤทธิ์
    และกำลังปัญญาเช่นไร ทรงมีกำลังพุทธเจ้าอันเป็น
    ประโยชน์แก่โลกเช่นไร พรหมเหล่านี้พร้อมด้วยเทวดา
    และมนุษย์ไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชนนี้เป็น
    เช่นนี้ทรงมีกำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเช่นนี้ทรงมีกำลัง
    พระพุทธเจ้าอันเป็นประโยชน์แก่โลกเช่นนี้.
    เอาละ เราจักแสดงกำลังพระพุทธเจ้าอันยอดเยี่ยม เราจักนิรมิต
    ที่จงกรมอันประดับด้วยรัตนะในนภากาศ.
    ภุมมเทวดา เทวดาชั้นมหาราชิกา ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา
    ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตสวัตดี และ
    เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ต่างก็ยินดี ได้พากัน
    ส่งเสียงอื้ออึง แผ่นดินพร้อมด้วยเทวโลกสว่างไสว
    ที่อันมีในระหว่างโลกอันหนาแน่นไม่มีอะไรปิด และ
    ความมืดทึบได้หายไป ในกาลนั้น พรหมพร้อมทั้งเทวดา
    คนธรรพ์มนุษย์และรากษส ได้เห็นปาฏิหาริย์อันอัศจรรย์
    แล้ว กล่าวว่ารัศมีอันสว่างจ้า ได้เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้
    และในโลกอื่น ทั้งเบื้องล่างเบื้องบน และเบื้องขวาง
    ส่วนกว้าง พระศาสดาผู้อุดมกว่าสัตว์ไม่มีใครประเสริฐ
    ยิ่งไปกว่า เป็นนายกชั้นพิเศษ อันเทวดาและมนุษย์บูชา
    ทรงมีอานุภาพมาก มีลักษณะบุญนับด้วยร้อย ทรงแสดง
    ปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์ ฯ
    (ในสมาคมนั้น พระศาสดาผู้พิชิตมารเสด็จเหาะขึ้นในนภาดลแล้ว
    ทรงนิรมิตขุนเขาสิเนรุให้เป็นที่จงกรมอันน่ารื่นรมย์ ทวยเทพใน
    หมื่นโลกธาตุ มาประชุมกันในสำนักพระพิชิตมารถวายนมัสการ
    พระตถาคตแล้ว กระทำพุทธบูชา)
    ในกาลนั้น พระศาสดาผู้มีพระจักษุอุดมกว่านรชน เป็น
    นายกของโลกอันท้าวสหัมบดี ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา
    ทูลอาราธนาแล้ว ทรงพิจารณาเห็นประโยชน์ดีแล้ว จึง
    ทรงนิรมิตที่จงกรมเรียบร้อยสวยงามประดับด้วยรัตนะ
    ทั่วไป พระผู้มีพระภาคผู้เป็นนายกของโลก ทรงมีความ
    ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง คือ อิทธิปาฏิหาริย์
    อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ทรงนิรมิต
    ที่จงกรมเรียบร้อยสวยงามประดับด้วยรัตนะทั่วไป
    ทรงแสดงขุนเขาสิเนรุอันสูงสุดในหมื่นโลกธาตุ เป็นเสาเรียงตาม
    ลำดับ ในที่จงกรมอันสำเร็จด้วยรัตนะ พระพิชิตมารทรงนิรมิต
    ที่จงกรมเกินกว่าพันที่ ล้วนแต่สำเร็จด้วยทองคำไว้รอบข้างรัตนะ
    จงกรม ทรงนิรมิตแผ่นกระดานทองคำติดอยู่ตามขื่อและเต้า ทรง-
    นิรมิตไพรทีล้วนแต่ทองคำไว้ที่ข้างทั้งสอง รัตนะจงกรมที่ทรงนิรมิต
    เกลื่อนไปด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทรายสว่างไสวไปทั่วทิศเหมือน
    พระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น พระชินสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์ มี
    ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ทรงเปล่งพระรัศมีรุ่งเรือง เสด็จ
    จงกรมอยู่บนรัตนะจงกรมนั้น ทวยเทพทั้งปวงที่มาประชุมกันต่างก็
    โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริชาตทิพย์ลงในที่
    จงกรม หมู่เทพในหมื่นจักรวาลได้เห็นเช่นนั้นจึงมาประชุมกัน
    ต่างก็ยินดีร่าเริง เบิกบานใจหมอบลงถวายนมัสการ ทวยเทพชั้น
    ดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
    ได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก ต่างก็มีจิตเบิกบานโสมนัส.
    พวกนาค ครุฑ หรือแม้กินนร พร้อมด้วยเทวดาคนธรรพ์
    มนุษย์และรากษส ต่างก็ได้เห็นพระศาสดาผู้ทรงเกื้อกูล
    อนุเคราะห์โลก เหมือนดวงจันทร์ที่ขึ้นไปในนภากาศ
    ฉะนั้น.
    อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหมและอกนิฏฐพรหม
    ต่างก็นุ่งผ้าขาวล้วนๆ ยืนประนมอัญชลี.
    ต่างก็โปรยดอกมณฑารพ ๕ สี อันเจือด้วยกระแจะจันทน์
    และพากันโบกผ้าอยู่ในอัมพรในกาลนั้นต่างก็เปล่งเสียง
    ว่า โอ พระพิชิตมารทรงเกื้อกูลอนุเคราะห์โลก.
    พระองค์ผู้อุดมกว่าสัตว์ เป็นศาสดา เป็นยอด เป็นธง เป็นหลักไชย
    เป็นที่พึ่งอาศัย และเป็นประทีปของสัตว์ทั้งหลาย ทวยเทพผู้มี
    ฤทธิ์มากในหมื่นโลกธาตุ ต่างก็ยินดีร่าเริง เบิกบานใจ พากัน
    แวดล้อมถวายนมัสการ เทพบุตรและเทพกัญญา ต่างก็เลื่อมใสมีใจ
    ยินดีพากันบูชาพระนราสภด้วยดอกไม้ ๕ สี หมู่เทพเจ้าได้เห็น
    พระศาสดา ต่างก็เลื่อมใสมีใจยินดีพากันบูชาพระนราสภด้วยดอก
    ไม้ ๕ สี เปล่งเสียงว่า ความอัศจรรย์ โอ ขนพองสยองเกล้าไม่
    เคยมีในโลก ความอัศจรรย์ขนพองสยองเกล้าเช่นนี้ ไม่เคยเป็น
    เทพเจ้าเหล่านี้ อยู่ในภพของตนๆ ได้เห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ
    แล้ว พากันร่าเริงเป็นอันมาก เทพเจ้าที่อยู่ในนภากาศ พื้นดิน
    ป่าหญ้าและที่ประจำดวงดาว ต่างก็ยินดีร่าเริงเบิกบานใจ พากัน
    ประนมอัญชลีนมัสการ แม้พวกนาคที่มีอายุยืน มีบุญ มีฤทธิ์มาก
    ได้เห็นอัศจรรย์ในนภากาศแล้วต่างก็ยินดีมีจิตเบิกบาน ถวายนมัส-
    การบูชาพระศาสดาผู้อุดมกว่านรชน บรรเลงสังคีต ตีกลองกันอยู่
    ในอากาศกลางหาวได้เห็นอัศจรรย์ในนภากาศแล้ว ต่างก็ประโคม-
    สังข์ บัณเฑาะว์และมโหรทึกอยู่ในอากาศเปล่งเสียงว่า วันนี้ ความ
    อัศจรรย์ไม่เคยมี ขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่เรา เราได้ความสำเร็จ
    ประโยชน์ยั่งยืน ขณะปรากฏแก่เราแล้วเพราะได้ฟังว่าพุทโธ นาค
    เหล่านั้นเกิดปีติในขณะนั้น ต่างก็ยืนประนมอัญชลีเปล่งเสียงว่า
    พุทโธ พุทโธ หมู่สัตว์ต่างๆ ในท้องฟ้าต่างก็ประนมอัญชลีเปล่ง
    เสียงหึ่งๆ เสียงสาธุการและเสียงโห่กึกก้อง
    นาคทั้งหลายต่างก็เปล่งเสียงประสานขับร้องประโคมปรบ
    มือ ฟ้อนรำและต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ๕ สี
    อันเจือด้วยกระแจะจันทน์ ลงมาบูชาเปล่งเสียงประกาศว่า
    ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ลายจักรที่พระบาทยุคลของพระองค์ฉันใด
    ธงไชย ธงปฏากวิเชียรก็ลอยเด่นอยู่ ฉันนั้นไม่มีใครเสมอด้วย
    พระรูป ศีล สมาธิ และปัญญาของพระองค์ในการประกาศธรรมจักร
    ไม่มีใครเสมอด้วยวิมุตติ กำลังกายของนาค ๑๐ นาค เป็นพระ
    กำลังกายปกติของพระองค์ในการประกาศธรรมจักรไม่มีใครเสมอ
    ด้วยกำลังพระฤทธิ์ของพระองค์ ท่านทั้งหลายจงนมัสการพระมหามุนี
    ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง ทรงประกอบด้วยองคคุณทั้งปวง
    มีพระกรุณา เป็นนาถะของโลก พระองค์ย่อมควรแก่การอภิวาท
    การชมเชย การไหว้ การสรรเสริญ การนมัสการ และการบูชา
    ทุกอย่าง ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์เป็นผู้ประเสริฐที่สุดกว่า
    บุคคลผู้ไหว้ และผู้ควรไหว้ในโลกไม่มีใครเสมอกับพระองค์ พระ-
    สารีบุตรผู้มีปัญญามาก เป็นผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน สถิต ณ เขา
    คิชฌกูฏ ได้เห็นพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก มองดูพระนราสภงาม
    เหมือนพระยารังมีดอกบานสะพรั่ง เหมือนพระจันทร์ในท้องฟ้า
    และเหมือนพระอาทิตย์ในเวลาเที่ยง เห็นพระองค์ผู้นายกของโลก
    ผู้แวดล้อมด้วยรัศมีด้านละวา งามดังต้นไม้ประจำทวีปอันรุ่งเรือง
    เหมือนพระอาทิตย์อุทัยส่องแสงอ่อนๆ พระสารีบุตรได้นิมนต์พระ-
    ภิกษุขีณาสพ ๕๐๐ รูป ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ผู้คงที่ ผู้ปราศจากมลทิน
    ให้มาประชุมกันในขณะนั้น กล่าวว่า พระพิชิตมารทรงแสดง
    ปาฏิหาริย์อันจะยังโลกให้เลื่อมใส แม้เราทั้งหลาย ก็จักไปถวาย
    บังคมพระองค์ในที่นั้น มาเถิด เราทั้งปวงจักไป จักทูลถามพระองค์
    เราจักไปเฝ้าพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก ให้พระองค์บรรเทาความ
    สงสัยให้ พระภิกษุผู้มีปัญญาสำรวมอินทรีย์เหล่านั้น รับว่าสาธุแล้ว
    ต่างก็ถือบาตรและจีวร พากันรีบร้อนเข้าไปเฝ้าพระสารีบุตรผู้มี
    ปัญญามาก พร้อมด้วยพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้ฝึกตนด้วย
    การฝึกอันอุตมพากันไปเฝ้าด้วยฤทธิ์ พระสารีบุตรผู้เป็นเจ้าคณะใหญ่
    แวดล้อมด้วยภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าด้วยฤทธิ์ เปรียบเหมือนเทวดา
    ลอยมาในอากาศ ฉะนั้น พระภิกษุเหล่านั้นผู้มีวัตรอันงาม มีความ
    เคารพยำเกรง ไม่ไอ ไม่จาม พากันเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า
    ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ได้เห็นพระสยัมภูวีรเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ลอย
    เด่นอยู่ในนภากาศ เหมือนพระจันทร์ในท้องฟ้า ได้เห็นพระพุทธเจ้า
    ผู้เป็นนายกของโลกดังต้นไม้ประจำทวีปอันรุ่งเรืองเหมือนสายฟ้าใน
    อากาศ ดุจพระอาทิตย์ในเวลาเที่ยง พระภิกษุทั้ง ๕๐๐ องค์ ได้เห็น
    พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ดังห้วงน้ำอันใสแจ๋ว ดังดอก
    บัวบาน ต่างก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ ประนมอัญชลีหมอบลงถวาย
    นมัสการแทบพระบาทพระศาสดา พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก เสมอ
    เหมือนโลกพิภพ ฉลาดในสมาธิและฌาน ถวายบังคมพระศาสดา
    ผู้เป็นนายกของโลกพระโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก ไม่มีใครเสมอ
    ด้วยกำลังฤทธิ์เปรียบด้วยดอกนิลุบล เหมือนอกาลเมฆกระหึ่ม
    ฉะนั้นแม้พระมหากัสสปเถระ ผู้เปรียบด้วยทองคำสีรุ่งเรืองพระ-
    ศาสดาทรงชมเชยสรรญเสริญตั้งไว้ว่าเป็นยอดในธุดงคคุณพระอนุรุทธ
    เถระผู้เป็นเจ้าคณะใหญ่ เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มีจักษุทิพย์เป็นพระ-
    ญาติผู้ประเสริฐของพระผู้มีพระภาคสถิตอยู่ไม่ไกล พระอุบาลีเถระ
    ผู้ฉลาดในอาบัติ อานาบัติ สเตกิจฉา พระศาสดาทรงสรรเสริญตั้งไว้
    ว่าเป็นผู้เลิศในฝ่ายวินัย พระเถระผู้เป็นบุตรของนางมันตานี ปรากฏ
    ว่าชื่อปุณณะ ผู้แทงตลอดอรรถธรรมอันสุขุมละเอียดประเสริฐกว่า
    ภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก พระมุนีมหาวีรเจ้าผู้ทรงฉลาดในอุปมา ผู้ตัด
    ความสงสัย ทรงทราบวาระจิตของท่านเหล่านั้นแล้วจึงตรัสพระคุณ
    ของพระองค์ว่า ชนเหล่าใดไม่รู้สัตตนิกาย โอกาสและจักรวาล
    อันไม่มีที่สิ้นสุด ในสี่อสงไขยโกฏิได้ ชนเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะ
    รู้ พระพุทธญาณ อันไม่มีเปรียบได้การแผลงฤทธิ์ของเรานี้ จะ
    อัศจรรย์อะไรในโลกเล่า ความอัศจรรย์อันไม่เคยมี น่าขนพองสยอง
    เกล้าอย่างอื่นมีอีกมากในกาลใด เราอยู่ในชั้นดุสิต ในกาลนั้น เรา
    ชื่อว่าสันดุสิตเทวดาในหมื่นจักรวาฬมาประนมอัญชลีเชิญเราว่า ข้าแต่
    ท่านผู้มีเพียรใหญ่ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่ท่านจะเกิดในครรภ์พระ-
    มารดา ของเชิญตรัสรู้อมตบทช่วยรื้อขนสัตว์พร้อมด้วยเทวดาให้
    ข้ามเถิด ขณะเมื่อเราจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่ครรภ์นั้นแผ่นดินใน
    หมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหว ขณะเมื่อเรามีความรู้สึกตัวประสูติ
    จากครรภ์พระมารดานั้น ทวยเทพในหมื่นโลกธาตุเปล่งเสียงสาธุการ
    หวั่นไหว ในการลงสู่ครรภ์ประสูติและออกบวชไม่มีใครเสมอด้วย
    เรา เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในกาลตรัสรู้และในการประกาศธรรมจักร
    โอ ความอัศจรรย์มีในโลกเพราะพระพุทธเจ้ามีคุณมาก หมื่นโลก
    ธาตุหวั่นไหว ๖ ครั้งมีรัศมีสว่างจ้า น่าอัศจรรย์ขนพองสยองเกล้า
    ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้พิชิตมาร เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ
    กว่านรชน ทรงจงกรมด้วยฤทธิ์ แสดงให้โลกพร้อมทั้งเทวโลกเห็น
    พระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก เสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่จงกรมนั่นเอง
    ตรัสตอบ ไม่เสด็จกลับในระหว่างเหมือนดังเสด็จจงกรมอยู่ในที่จง
    กรม ๕ ศอก พระสารีบุตรผู้มีปัญญามากในสมาธิและฌาน ถึงความ
    บริบูรณ์ด้วยปัญญาได้ทูลถามพระศาสดาผู้เป็นนายกของโลกว่า ข้า-
    แต่พระมหาวีรเจ้าผู้อุดมกว่านรชน อภินิหารของพระองค์เช่นไร
    พระองค์ทรงปรารถนาพระโพธิญาณอันอุดมในกาลไร ทาน ศีล เนก-
    ขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตาและอุเบกขา
    เป็นเช่นไร ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก บารมี ๑๐
    เป็นอย่างไร อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ บริบูรณ์อย่างไร
    (เพราะทรงอธิษฐานกรรมอะไร จึงเป็นอธิบดีเช่นไร เป็นบารมีได้
    เช่นไร นักปราชญ์เช่นไรมีในโลก เมตตา กรุณา มุทิตา และ
    อุเบกขาเป็นเช่นไร พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรมให้บริบูรณ์
    เช่นไร) พระศาสดาผู้มีพระสุรเสียงไพเราะดังนกการะเวกอันพระ-
    สารีบุตรทูลถามแล้ว ทรงพยากรณ์ให้เย็นใจ และทรงยังโลกพร้อม
    ทั้งเทวโลกให้ยินดี.
    พระศาสดาทรงประกาศประโยชน์แก่โลก ที่พระพุทธเจ้า
    ในอดีตทรงแสดงไว้ ทรงชมเชย อันพระพุทธเจ้าทรงนำ
    สืบๆ กันมา ด้วยพระพุทธญาณที่ไปตามปุพเพนิวาส-
    ญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
    ว่าท่านทั้งหลายจงทำจิตให้เกิดปีติและปราโมทย์ให้บรรเทาลูกศร คือความโศก ให้ได้สมบัติทั้งปวงแล้ว จงฟังเราท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามมรรคอันเป็นเครื่องย่ำยีมีความเมาบรรเทาความโศก เปลื้องตนจากสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวงโดยความเคารพเถิด.
    จบรัตนะจงกรมกัณฑ์

    ?temp_hash=3a481caf9b92a05139b27287fc29131a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    W0gUVlOghE-pSBy4h1ALtr9YOKu3xNons3Xt01ZdwVWC&_nc_ohc=32gt-s0Pbx8AX_69zlG&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    เวลาเดินจงกรมในที่มืดแต่ให้มันมองเห็น สมมุติว่ามีงูผ่านมากลางคืน มันจะมองเห็นผิดปกติมันจะเป็นเงาดำ ๆ เพราะเคยเจองูเสมอที่ทางเดินจงกรมตอนกลางคืน ไม่มีไฟ เราเดินไปเวลางูมันออกมาเราจะเห็นทั้ง ๆ ที่เดือนมืดนะ เพราะอากาศมันโล่งพอมองเห็น นี่สำหรับเดินจงกรมกลางคืน คือจะเดินกี่ชั่วโมงไม่มีกำหนด ถ้านักภาวนาไปหาคอยกำหนดเวล่ำเวลาอยู่แล้วมันก็ไม่ทันกับกิเลสซึ่งไม่มีเวลา กิเลสเหยียบอยู่บนหัวใจคนหัวใจสัตว์โลกมีกำหนดเวลาเมื่อไร ท่านจึงเรียกว่า อกาลิโก เช่นเดียวกันกับธรรม ธรรมก็ อกาลิโก หาเวล่ำเวลาไม่ได้

    กิเลสที่เหยียบย่ำทำลายอยู่บนหัวใจสัตว์โลกก็ไม่มีเวล่ำเวลา ไม่มีคำว่าสั้นว่ายาว ถ้าว่าทางก็ไม่สามารถจะคำนวณได้ว่ายาวเท่าไร มันเหมือนขอบด้ง เราไปวัดดูซิขอบด้งเป็นอย่างไร ความยาวมันยาวไปถึงไหน ก็มันวนอยู่นี่ ขอบด้งเป็นวงกลม วัฏฏะแปลว่าอะไร แปลว่าเครื่องหมุน หมุนอยู่นี้เหมือนกัน มันก็หมุนกลมละซี วัฏจักรวัฏวนมันหมุน ทีนี้ก็เลยไม่ทราบว่ามันสั้นมันยาว ทางเดินของวัฏจักรวัฏจิตที่มีกิเลสอยู่บนหัวใจนั่นพาให้หมุนๆ ไม่ให้ออกนอกโลกไปได้

    ก็เหมือนกับสิ่งต่างๆ ที่ถูกโลกดึงดูดนั่นเอง มันก็อยู่ในนี้ออกไปไม่ได้ ถ้าอันไหนที่มันกระเด็นออกไปโน้น ออกไปอวกาศแล้วก็ไม่มีอะไรกดถ่วงมันได้ นี่เป็นข้อเทียบเคียง เพราะฉะนั้นที่บอกไว้ในหนังสืออวกาศของจิตของธรรมก็เทียบกันอย่างนี้เอง คือจิตถ้าอยู่ในความดึงดูดของธรรมชาตินี้แล้ว มันก็อยู่ในสามภพนี่แหละ เพราะเป็นสถานที่ดึงดูดจิตไม่ว่าจิตวิญญาณดวงใด ฟังให้ดีนะผู้มาฟัง นี่เทศน์ตั้งใจเทศน์จริงๆ ไม่ได้เทศน์เล่นๆ นะ

    ทั้งสามโลกธาตุนี่เป็นที่อยู่ของสัตว์โลกที่มีธรรมชาตินี้เป็นเครื่องดึงดูด หรือเป็นเครื่องบังคับอยู่ตลอดหมดทุกดวงวิญญาณ เว้นเฉพาะวิญญาณของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่อยู่ในความดึงดูด วิญญาณนั้นออกอวกาศแล้วไม่เข้ามาอยู่ในวงดึงดูด เวลาจิตจะถอนตัวจากกิเลสความดึงดูดนี้ มันก็เหมือนกับวัตถุต่างๆ ที่จะให้ออกนอกโลกอันนี้นั่นแล

    วิญญาณทุกดวงๆ ไม่มีคำว่าว่างจากสิ่งเหล่านี้ที่จะไม่กดขี่ไม่มีเลย ต้องมี มีมากมีน้อยต่างกัน คำว่ามีมากมีน้อยก็เพราะผู้ได้ทำการชำระมามากน้อยต่างกัน เจ้าของจะรู้ไม่รู้ จำได้ไม่ได้ก็ตาม คือการสร้างความดีนั้นแหละเป็นการชำระซักฟอกสิ่งที่หุ้มห่อจิตใจให้เบาบางลง ธรรมชาตินี้หุ้มห่อมากเท่าไรก็ยิ่งมีน้ำหนักมาก เป็นธรรมชาติที่กดถ่วงได้มาก ดังพระพุทธเจ้าท่านทรงเล็งญาณดูสัตวโลก ท่านเล็งจริงๆ ญาณคือความหยั่งทราบ หมายถึงความรู้ที่ละเอียดสุดหยั่งทราบตลอดทั่วถึง การเล็งญาณดูสัตวโลกในบาลีท่านว่า ภพฺพาภพฺเพ วิโลกานํ ทรงเล็งตอนปัจฉิมยามว่า สัตว์โลกผู้ใดจะมีอุปนิสัยข้องตาข่ายแห่งญาณของพระองค์ และจะมีชีวิตไปไม่ยั่งยืนนาน ก็เสด็จไปโปรดคนนั้นก่อน นี่เรียกว่าผู้มีความเบาบาง

    จิตของสัตว์โลกย่อมมีความหนาบางต่างกัน คนเราจึงมีหยาบมีละเอียดต่างกัน มีความดีหนักเบา มีความชั่วหนักเบาต่างกัน ท่านจึงไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามวาสนาของกันและกัน อันนี้เป็นแต่เพียงร่างอันหนึ่งที่แสดงผลของกรรมของตัวเองออกมาเป็นครั้งเป็นคราว ระยะนี้ได้เสวยผลเป็นอันนี้ออกมา เป็นคนเป็นสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นไปตามวาระๆ หมดวาระนี้ก็เข้าสู่วาระนั้น ออกจากนี้ไปสู่วาระนั้น ตามอำนาจแห่งวิบากกรรมดีชั่วที่ทำมามากน้อยต่างกัน ถ้าจิตได้เคยชำระได้เคยอบรมมาก็ค่อยเบาบางๆ เบาบางมากน้อยเพียงไรก็ย่นวัฏวน คือการเกิดตายของตัวเองให้สั้นเข้ามาๆ เช่น จะเกิดอีกหมื่นชาติก็จะลดหมื่นชาติเข้ามาถึง ๙,๙๙๙ ชาติ ย่นลงมาเป็น ๙๘... ๙๗... ๙๖... เข้ามาเรื่อยๆ จนกระทั่งเข้าถึงความแน่นอน

    ดังท่านแสดงไว้ผู้สำเร็จขั้นอริยภูมิแล้วตั้งแต่พระโสดาขึ้นไป นั่นเป็นขั้นแห่งความแน่นอนของภพชาติแล้ว คือย่นเข้ามาสู่กฎแห่งความแน่นอนแล้ว ทีนี้จะไม่เปลี่ยนเป็นอื่นไปได้ โสตะๆ แปลว่ากระแส ที่ว่าสำเร็จพระโสดาบันคือผ่านเข้ากระแสแห่งพระนิพพานหรือเข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้ว และเข้าถึงความแน่นอนแล้ว จะเกิดอีกเพียง ๗ ชาติเป็นอย่างมาก คือ ผู้สำเร็จพระโสดาบันแล้วอย่างมากการเกิดตายไม่เลย ๗ ชาติ

    หลวงปู่ใหญ่พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
    ๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๙
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    UBfLA-ygWkec35zWGIh66MwO4W2wJG4D4k7vIn_t8qA8&_nc_ohc=BmwLmyoKp28AX_wVc9o&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    เมื่อ 'หลวงปู่มั่น' เกิดความสงสัยในข้อวัตรปฏิบัติ 'พระพุทธเจ้าหรือพระสาวก' มาแสดงให้ดู


    ?temp_hash=7266095a698ebad229b302166e209035.jpg



    ฉะนั้นเวลาท่าน (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) เกิดความสงสัยเกี่ยวกับระเบียบขนบประเพณีดั้งเดิม เช่น การเดินจงกรม นั่งสมาธิ ความเคารพต่อกันระหว่างผู้อาวุโสกับภันเต และการครองผ้าเวลานั่งสมาธิ หรือเดินจงกรมจำเป็นทุกครั้งไปหรือไม่อย่างไร ขณะนั่งภาวนาท่านนึกวิตก อยากทราบความจริงที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกพาดำเนินมาก่อนท่านทำกันอย่างไรดังนี้

    ถ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้าเสด็จมาแสดงวิธีให้ดูเอง ก็เป็นพระสาวกองค์ใดองค์หนึ่งมาแสดงให้ดูตัวอย่างจนได้ เช่น การเดินจงกรมจะควรปฏิบัติตัวอย่างไรในขณะเดินถึงจะถูกต้อง และเป็นความเคารพธรรมตามหน้าที่ของผู้สนใจเคารพธรรมในเวลาเช่นนั้น ท่านก็เสด็จมาแสดงวิธีวางมือ วิธีก้าวเดิน วิธีสำรวมตนในเวลาเดินให้ดูอย่างละเอียด บางครั้งก็ประทานพระโอวาทประกอบกับวิธีแสดงด้วย บางครั้งก็แสดงเพียงวิธีต่าง ๆ ให้ดู

    แม้พระสาวกอรหันต์มาแสดงให้ดูก็ทำในลักษณะเดียวกัน การนั่งทำสมาธิทำอย่างไร ควรหันหน้าไปทางทิศใดเป็นการเหมาะกว่าทิศอื่น ๆ ท่านั่งจะตั้งตัวอย่างไรเป็นการเหมาะสมในขณะนั้น ท่านแสดงให้ดูทุกวิธี

    ความเคารพต่อกันระหว่างอาวุโสกับภันเต

    ตอนนี้ท่านเล่าแปลกอยู่บ้าง คือขณะที่ท่านนึกวิตกอยากทราบว่า ครั้งพุทธกาลท่านปฏิบัติต่อกันอย่างไรที่เป็นสามีจิกรรมต่อกันโดยชอบธรรม พอวิตกไม่นาน ก็ปรากฏมีพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหนุ่มทั้งแก่และแก่จนหง่อมศีรษะหงอกขาวไปหมด ตลอดสามเณรเล็ก ๆ และโตพอประมาณ ซึ่งล้วนอยู่ในวัยที่น่ารักตามเสด็จมามากมาย

    แต่การเสด็จมาของพระพุทธเจ้ากับการมาของพระสาวกทั้งหลายมิได้มาพร้อมกัน ต่างองค์ต่างมา องค์ใดมาถึงก่อนองค์นั้นก็นั่งอาสนะข้างหน้า องค์มาที่สองที่สามก็นั่งรองกันลงมาตามลำดับที่มาถึง ไม่นิยมวัยและอาวุโสภันเต แม้สามเณรมาถึงก่อนก็นั่งข้างหน้าพระ จนถึงองค์สุดท้าย องค์แก่ ๆ รุ่นปู่รุ่นทวดสามเณร มาถึงทีหลังก็ต้องนั่งอาสนะสุดท้าย โดยมิได้มีองค์ใดแสดงกิริยาขวยเขินกระดากอายต่อกันเลย แม้องค์พระพุทธเจ้าเองเสด็จมาถึงลำดับใดก็ประทับอาสนะนั้นที่ควรแก่ผู้มาถึงทีหลัง

    ท่านเห็นอาการอย่างนั้นจึงเกิดความสงสัยว่า พระครั้งพุทธกาลไม่มีการเคารพกันบ้างหรืออย่างไรถึงได้ทำอย่างนี้ ดูไม่มีระเบียบงามตาบ้างเลย แล้วพระพุทธเจ้าและพระสาวกทรงประกาศพระศาสนาให้ประชาชนเคารพนับถือได้อย่างไร เมื่อพระศาสนาและผู้นำของพระศาสนาตลอดผู้ปฏิบัติศาสนาอย่างใกล้ชิด ประพฤติต่อกันอย่างไม่มีระเบียบเช่นนั้น

    สักประเดี๋ยวธรรมก็ผุดขึ้นมาในใจท่านเอง โดยพระพุทธเจ้าและสาวกยังมิได้ประทานโอวาทแต่อย่างใด ว่านี่คือวิสุทธิธรรมล้วน ๆ ไม่มีสมมุติเข้าเจือปนเลย จึงไม่มีกฎข้อบังคับหรือระเบียบใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ที่แสดงอย่างนี้แสดงเรื่องวิสุทธิธรรมที่เป็นความเสมอภาคทั่วกันไม่นิยมว่าอ่อน ว่าแก่ ว่าสูง ว่าต่ำ อันเป็นเรื่องของสมมุติ นับแต่พระพุทธเจ้าลงมาถึงสาวกอรหันต์องค์สุดท้าย จะเป็นพระหรือเณรไม่จำกัด แต่มีความเสมอภาคกันด้วยความบริสุทธิ์ ท่านแสดงบุคคลาธิษฐานในลักษณะนี้ เป็นเครื่องบอกถึงความบริสุทธิ์ของกันและกันว่า ไม่มีใครยิ่งหย่อนกว่ากันบรรดาพระและเณรที่เป็นอรหันต์ด้วยกัน

    พอธรรมที่แสดงขึ้นสงบลง ท่านนึกวิตกอีกว่า... ท่านเคารพกันตามสมมุตินั้นเคารพกันอย่างไรบ้างหนอ

    พอความคิดวิตกระงับลง ภาพของพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายที่ประทับนั่ง และนั่งกันอย่างไม่มีระเบียบอยู่ขณะนั้นก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนท่าประทับและท่านั่งใหม่ทันที คราวนี้ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าประทับนั่งเป็นประมุขอยู่ข้างหน้าสงฆ์ สามเณรองค์เล็ก ๆ ที่มาถึงก่อนและเคยนั่งอยู่ข้างหน้าก็ได้เปลี่ยนเป็นนั่งอยู่สุดท้ายอย่างมีระเบียบงามตาน่าเคารพเลื่อมใสมาก

    ขณะนั้นธรรมผุดขึ้นในใจท่านว่า นี่คือระเบียบและขนบประเพณีของพระครั้งพุทธกาลเคารพกัน ท่านเคารพกันอย่างนี้ แม้เป็นพระอรหันต์แล้วแต่ยังอ่อนพรรษาอยู่ ก็จำต้องเคารพพระอาวุโสที่ปฏิบัติดีทั้งที่ยังมีกิเลสภายในใจอยู่

    ต่อลำดับนั้นพระองค์ประทานพระโอวาทว่า... พระของเราตถาคตต้องมีความเคารพและสนิทสนมกันประหนึ่งอวัยวะอันเดียวกัน แต่มิได้สนิทกันแบบโลก หากแต่สนิทกันตามแบบของธรรม ซึ่งเป็นความเสมอภาคไม่ลำเอียง พระของเราตถาคตอยู่ด้วยกัน แม้จำนวนมากก็ไม่ทะเลาะกัน ไม่มีการเผยอเย่อหยิ่งต่อกัน พระที่ไม่เคารพกันตามหลักธรรมวินัยที่เป็นองค์ศาสดาแทนเราตถาคต มิใช่พระของตถาคต แม้จะเลียนแบบของลูกศิษย์ตถาคตก็คือพระที่เลียน ๆ อยู่นั่นแล ไม่จริงดังคำประกาศอวดอ้าง ถ้าพระยังมีความเคารพกันตามหลักธรรมวินัย คือตถาคต และเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อธรรมวินัยไม่ฝ่าฝืน พระนั้นจะอยู่ที่ใด บวชเมื่อไร เป็นชาติชั้นวรรณะและออกมาจากสกุลใด ก็คือพระลูกศิษย์เราตถาคตอยู่นั่นแล ชื่อว่าผู้เดินตามเราตถาคต ต้องปรากฏความสิ้นสุดทุกข์ในวันหนึ่งแน่นอน

    พอประทานพระโอวาทย่อจบลง นับแต่พระพุทธเจ้าลงมาต่างองค์ต่างหายไปในขณะนั้น ท่านอาจารย์เองก็สิ้นสงสัยลงในขณะที่นิมิตมาแสดงบอกอย่างชัดเจนนั้นเช่นกัน

    แม้การครองผ้าในเวลานั่งสมาธิหรือเดินจงกรม พระสาวกก็ได้มาแสดงให้ดูตามลำดับที่เกิดความสงสัยไม่แน่ใจ ว่าไม่จำเป็นต้องครองผ้าทุกครั้งไป โดยท่านมาแสดงการนั่งสมาธิและเดินจงกรมในท่าครองผ้าและไม่ครองผ้าให้ดูจนสิ้นความสงสัยทุกกรณีไป ตลอดสีผ้าสบง จีวร สังฆาฏิอันเป็นเครื่องนุ่งห่มของพระ ท่านก็แสดงให้ดู โดยแสดงผ้าสีกรัก คือสีแก่นขนุนออกเป็นสามสี คือ สีกรักอ่อน สีกรักขนาดกลาง และสีกรักแก่ให้โดยละเอียด

    เท่าที่พิจารณาตามท่านเล่าให้ฟังแล้วก็พอทราบได้ว่า ท่านทำอะไรลงไปมักมีแบบฉบับมาเป็นเครื่องยืนยันรับรองความแน่ใจในการทำเสมอ มิได้ทำแบบสุ่มเดาที่เรียกว่าเอาตนเข้าไปเสี่ยงต่อกิจการที่ไม่แน่ใจ ฉะนั้นปฏิปทาท่านจึงราบรื่นสม่ำเสมอตลอดมา ไม่มีข้อที่น่าตำหนิและกระทบกระเทือนใด ๆ มาแต่ต้นจนอวสาน ซึ่งจะหาผู้เสมอได้ยากในสมัยปัจจุบัน

    บรรดาสานุศิษย์ที่ยึดเอาปฏิปทาท่านไปปฏิบัติ ย่อมเป็นความงามเสมอต้นเสมอปลายแบบลูกศิษย์มีครู นอกจากที่ชอบแหวกแนวแบบผีไม่มีป่าช้า ลูกไม่มีพ่อแม่ ศิษย์ไม่มีอาจารย์ซึ่งอาจมีได้เท่านั้น ปฏิปทาที่ท่านพาดำเนินมาจึงอาจถูกดัดแปลงไปตามความคิดเห็น นอกนั้นปฏิปทาท่านนับว่าราบเรียบมาก ทั้งนี้ท่านรู้สึกมีอะไร ๆ ที่พูดไม่ออกบอกไม่ถูกอยู่ภายในอย่างลึกลับ เป็นเข็มทิศพาดำเนิน ซึ่งผู้ปฏิบัติทั้งหลายไม่อาจมีได้อย่างท่าน

    .......................................

    คัดลอกจากประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ตอนที่ ๑ โดยท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี "เมื่อท่านเกิดความสงสัยในข้อวัตรปฏิบัติ พระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมาแสดงให้ดู" ใน http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-mun/lp-mun-hist-12-05.htm

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • starcross.jpg
      starcross.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.6 KB
      เปิดดู:
      298
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

    [​IMG]
    ๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)

    [๒๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันกลับจาก
    บิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อ
    สนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่า
    เป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ-
    *อรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามี
    ผลมาก มีอานิสงส์มากนี้ ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่
    เพียงเท่านี้แล ฯ
    [๒๙๓] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสถานที่ทรงหลีกเร้นอยู่
    ในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น ครั้นแล้วจึงประทับนั่ง ณ อาสนะ
    ที่เขาแต่งตั้งไว้ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ
    นั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไรกัน และพวกเธอสนทนาเรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสนี้ พวกข้าพระองค์
    กลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา
    เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง
    ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามี
    ผลมาก มีอานิสงส์มากนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อสนทนากันในระหว่างของ
    พวกข้าพระองค์ได้ค้างอยู่เพียงเท่านี้ พอดีพระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง ฯ
    [๒๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอัน
    ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่าง
    ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก
    มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจ
    เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
    เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกาย
    สังขาร หายใจเข้า เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
    อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้น
    ได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



    [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริ
    พล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลา เดิน ยืน นั่ง
    นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



    [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้
    แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
    เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
    ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ
    มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้ง ๒ ข้าง เต็มด้วยธัญญชาติต่างๆ ชนิด คือ ข้าวสาลี
    ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง งา และข้าวสาร บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้ว
    พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วทอง นี้งา นี้ข้าวสาร
    ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล
    ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วย
    ของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่
    ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น
    น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความ
    เพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
    เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญ
    กายคตาสติ ฯ
    [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้
    แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ
    ธาตุไฟ ธาตุลม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคน
    ฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่
    ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ
    ธาตุลม เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอัน
    เป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน
    ป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มี
    น้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็น
    ธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มี
    ความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสีย
    ได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
    แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า
    เจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน
    ป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง
    หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆ
    ชนิดฟอนกินอยู่บ้าง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือน
    อย่างนี้ เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่
    ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่
    อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น
    ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
    ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน
    ป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างอยู่ด้วยกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือด เส้นเอ็นผูกรัดไว้...
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ไม่มีเนื้อ มีแต่
    เลือดเปรอะเปื้อนอยู่ เส้นเอ็นยังผูกรัดไว้...
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ปราศจากเนื้อ
    และเลือดแล้ว แต่เส้นเอ็นยังผูกรัดอยู่...
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องผูก
    รัดแล้ว กระจัดกระจายไปทั่วทิศต่างๆ คือ กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้า
    อยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอว
    อยู่ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง กระดูก
    หน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคอ
    อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่
    ทางหนึ่ง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็น
    ธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มี
    ความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสีย
    ได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
    แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า
    เจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน
    ป่าช้า เป็นแต่กระดูก สีขาวเปรียบดังสีสังข์...
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก เรี่ยราดเป็นกองๆ มีอายุเกิน
    ปีหนึ่ง...
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูก ผุเป็นจุณ จึงนำเข้ามาเปรียบ
    เทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่
    ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
    อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
    จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุสงัดจากกาม สงัด
    จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอ
    ยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มี
    เอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรง-
    *สนานผู้ฉลาด โรยจุณสำหรับสรงสนานลงในภาชนะสำริดแล้ว เคล้าด้วยน้ำให้
    เป็นก้อนๆ ก้อนจุณสำหรับสรงสนานนั้น มียางซึม เคลือบ จึงจับกันทั้งข้างใน
    ข้างนอก และกลายเป็นผลึกด้วยยาง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือน
    กันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข
    เกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
    จะไม่ถูกต้อง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอัน
    เป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน มี
    ความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุก
    เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่ง
    กายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เปรียบเหมือนห้วงน้ำพุ ไม่มีทางระบายน้ำทั้งในทิศตะวันออก ทั้งในทิศตะวันตก
    ทั้งในทิศเหนือ ทั้งในทิศใต้เลย และฝนก็ยังไม่หลั่งสายน้ำโดยชอบตามฤดูกาล
    ขณะนั้นแล ธารน้ำเย็นจะพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้วทำห้วงน้ำนั้นเอง ให้คลุก
    เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งห้วงน้ำทุกส่วนนั้นที่
    น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อม
    ยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
    ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
    ดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภาย
    ในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะ
    หน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าตติยฌานที่
    พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้
    คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกาย
    ทุกส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
    ดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว แต่ละชนิด ในกอบัวขาบ
    หรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เนื่องอยู่ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ
    จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซึมซาบด้วยน้ำเย็นจนถึงยอด
    และเหง้า ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว
    ทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
    ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ
    ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เมื่อ
    ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริ
    พล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายใน
    เท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้
    อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน
    อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
    มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธอย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องแผ่ไปทั่ว
    กายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่
    ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนั่งเอาผ้าขาวคลุมตลอดทั้งศีรษะ
    ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของบุรุษนั้นที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง
    แผ่ไปทั่วกายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์
    ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
    อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้น
    ได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว
    ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มากซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง
    อันรวมอยู่ในภายในด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลไรๆ ก็ตาม
    นึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยที่ไหลมาสู่สมุทรสายใดสาย
    หนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
    ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้
    มาก ซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฯ
    [๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก
    ซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
    เหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่กองดินเปียก ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะ
    สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนศิลาหนักนั้น จะพึงได้ช่องในกองดินเปียกหรือ
    หนอ ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ
    ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ
    [๓๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ ทันใดนั้น มี
    บุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักก่อไฟทำเตโชธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งเกราะโน้นเป็นไม้สี
    ไฟแล้วสีกันไป จะพึงก่อไฟ ทำเตโชธาตุได้หรือหนอ ฯ
    ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ
    ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำว่างเปล่า อัน
    เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้หรือ
    หนอ ฯ
    ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ
    ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้วทำ
    ให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
    บุรุษโยนกลุ่มด้ายเบาๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วน ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กลุ่มด้ายเบาๆ นั้นจะพึงได้
    ช่องบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วนหรือหนอ ฯ
    ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญ
    กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้สดมียาง ทันใดนั้น มี-
    *บุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักก่อไฟ ทำเตโชธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้สดมียางโน้นเป็นไม้สีไฟ
    แล้วสีกันไป จะพึงก่อไฟทำเตโชธาตุได้หรือหนอ ฯ
    ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญ
    กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยม
    เสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ทันใดนั้น มีบุรุษ
    มาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้หรือหนอ ฯ
    ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกาย-
    *คตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำ
    ให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง
    อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไป โดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อ
    มีสติเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยม
    เสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง บุรุษมีกำลังมายัง
    หม้อกรองน้ำนั้นโดยทางใดๆ จะพึงถึงน้ำได้โดยทางนั้นๆ หรือ ฯ
    ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญ
    กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำ
    ให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง
    นั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ
    [๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ใน
    ภูมิภาคที่ราบ เขาพูนคันไว้ มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้
    บุรุษมีกำลังเจาะคันสระโบกขรณีนั้นทางด้านใดๆ จะพึงถึงน้ำทางด้านนั้นๆ ได้
    หรือ ฯ
    ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญ
    กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำ
    ให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความ
    รู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ
    [๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถม้าอาชาไนยเขาเทียมม้า
    แล้ว มีแส้เสียบไว้ในที่ระหว่างม้าทั้ง ๒ จอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔
    แยก นายสารถีผู้ฝึกม้า เป็นอาจารย์ขับขี่ผู้ฉลาด ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้ายจับสาย
    บังเหียน มือขวาจับแส้ ขับรถไปยังที่ปรารถนาได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอ
    ย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตน
    น้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ
    [๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญ
    แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่
    เนืองๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการ
    นี้ คือ
    (๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดี
    ครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
    (๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัว
    ครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
    (๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
    ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือกคลาน ต่อ
    ทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็น
    ทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
    (๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน
    ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ
    (๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
    หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอก
    ภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน
    เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
    โดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพ
    มากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
    (๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและ
    ที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
    (๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ จิต
    มีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็
    รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่า
    จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่
    จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็น
    มหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า
    หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือ
    จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่
    หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ
    (๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ
    ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ
    บ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง
    พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏ-
    *วิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้
    มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจาก
    ชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
    มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้
    เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติ
    ก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
    (๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณ
    ดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
    ฯลฯ ๑- ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
    มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อม
    ทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
    (๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
    อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำ
    ให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว
    อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ กายคตาสติสูตร ที่ ๙
    -----------------------------------------------------
    @๑. ดูข้อ ๒๕
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ?temp_hash=3515dbe66690fd3f4a4b62b03f1e08bb.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    -ดูวัดดูพระดูที่ทางจงกรม ความเจริญของพระหรือของวัดไม่ได้อยู่ที่สิ่งก่อสร้างภายในวัดยิ่งเป็นวัดกรรมฐานด้วยแล้วยิ่งไม่เน้นสร้างสิ่งหรูหราหรืออำนวยความสะดวกสบายนัก เพราะสบายเกินไปใจก็ไม่เบื่อหน่ายในวัฏวน ยิ่งทำให้กิเลสกำเริบเสิบสานต่อไป ดังนั้นวัดป่าจึงไม่เน้นสิ่งก่อสร้าง ปลูกแต่เพียงเพื่อบำบัดความเย็นร้อนอ่อนแข็ง แสงแดด สายลม และลมฝนเท่านั้น จึงขึ้นชื่อว่าวัดป่ากรรมฐาน ที่มีครูบาอาจารย์เป็นแบบอย่างแนวทาง แต่ก็มีหลายวัดที่ให้ชื่อว่าเป็นวัดกรรมฐาน แต่มองดูแล้วก็ยังขัดกับปฏิปทาของท่านพระอาจารย์มั่นโดยสิ้นเชิง (บางคนก็จะแย้งว่าสมัยมันเปลี่ยนแล้วต้องเปลี่ยนกันไป อันนี้ฟังไม่ขึ้นเลยครับ และถ้าคิดแบบนี้เราก็จะไม่พูดกันต่อไป)
    - วัดไหนมีทางเดินจงกรมภายในวัด จนเป็นโสกเป็นเหว ถือว่าวัดนั้นมีปฏิปทา วัตรปฏิบัติเป็นไปเพื่อพ้นทุกข์เพราะถือว่ายังเป็นผู้มุ่งหวังที่ยังจะอยากขัดเกลาตัวเองอยู่ เจ้าสำนักผู้ปกครองวัดนั้นก็แสดงว่าเอาใจใส่เป็นอย่างดี มีเวลากำกับดูแลชัดเจน พอเพียงต่อเหล่าพระเณรในปกครอง จึงมีระเบียบวินัยกวดขันเข้ม จึงน่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง
    -วัดไหนไม่มีทางเดินจงกรม เราเข้าวัดก็อย่าเข้าเฉยๆให้หัดมองดูรอบๆวัดว่า ทางเดินจงกรมมีไหม ถ้ามีแล้วเป็นรอยเดินไหม หรือมีเฉยๆ เพราะสามารถบ่งบอกถึงอุปนิสัยข้อวัตรปฏิบัติปฏิปทาของสมภารและเหล่าลูกศิษย์ลูกหาในวัดได้เป็นอย่างดี ...หลายวัดขึ้นชื่อว่าวัดป่ากรรมฐานในสายท่านอาจารย์มั่น แต่พอไปแล้วกลับไม่มีทางเดินจงกรมเอาเสียเลยก็ไม่รู้ว่าท่านจะไปเดินที่ไหนบ้าง หรือว่ากอนแล้วก็นิน...
    -โดยที่ท่านอาจารย์มั่นเน้นนักเน้นหนาเรื่องเดินจงกรม...วัดป่านั้นกลับไม่มีทางจงกรมอยู่เอาเสียเลยแต่วัดขึ้นชื่อว่า "วัดป่าสายท่านอาจารย์มั่น" ถ้าหลวงปู่มั่นอยู่ ท่านคงสมเพทยิ่งเสียกระไร เพราะท่านเห็นบรรดาเหล่าพระเณรไม่พากันประพฤติปฏิบัติแม้จงกรมก็ไม่เดิน แล้วยังเอาชื่อท่านมาอ้าง
    - มองวัดมองพระมองง่ายๆ ข้อวัตรปฏิบัติปฏิปทา สิ่งของเครื่องใช้เป็นไปเพื่อขัดเกลาหรือสะสม เข้าไปวัดแล้วบึ่งไปดูห้องน้ำวัดนั้นได้ว่าสะอาดไหม (อันนี้สามรถบ่งบอกถึงท่านเจ้าอาวาสว่าเข้มงวดกวดขันเพียงไรต่อพระเณรในวัด)
    ดังนั้นวัดจึงเป็นสถานที่บำเพ็ญภาวนาของพระป่ากรรมฐานโดยแท้ จึงไม่น่าแปลกว่าทำไมบรรดาพระเณรที่มุ่งต่อการหลุดพ้นจึงดั้นด้นไป
    วัดถ้ำสหาย วัดป่าดานวิเวก วัดป่านาคนิมิตต์
    โดยเฉพาะวัดถ้ำสหาย ไม่แปลกที่เหล่าบรรดาพระเณรเกือบ 100 รูปอยากเข้าจำพรรษา เพราะเจ้าอาวาสท่านเข้มงวดกวดขัน ชึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของพระโดยแท้จริง
    -พระที่บวชเล่นๆ ตรงกันข้ามจะไม่กล้าเข้าไปยังสำนักเหล่านี้เลยเพราะถือว่าตนเองทำไม่ได้และทนไม่ได้ต่อการกระทำความเพียร จึงอยู่ไปกินไปตามยถากรรมไปวันๆ ชึ่งก็ไม่น่าจะได้ประโยชน์ เข้าข่ายบวชเพื่อ
    1.บวชหนีสงสาร
    2.บวชผลาญ ข้าวสุก
    3.บวชสนุกตามเพื่อน
    qreioorEREa3cYvW6yS2F_g7KNdoYPW6sp8SlBKFEQT4&_nc_ohc=ViaYjiY4USAAX-fzTyI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    vIN_7zLqpDOo-AnFwtnt0TnAxGlJlnAhAxyEOi_QoRnT&_nc_ohc=PPMA9grNhCoAX9dROil&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    FPZIKIDTEnPBHRKhDL4zDb5q15CU9DfJcd43mWotZ9JX&_nc_ohc=R_lgxTDnB5cAX_4WRTq&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...