เห็นทุกข์ เมื่อใดก็เห็นธรรม/ รักแบบพุทธ

ในห้อง 'ทุกข์และปัญหาชีวิต' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 28 พฤษภาคม 2018.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    seeDhamseeBuddha.jpg
    เห็นทุกข์ เมื่อใดก็เห็นธรรม

    พฤษภาคม 23, 2018 โดย ธ. ธรรมรักษ์
    เห็นทุกข์ เมื่อใดก็เห็นธรรม
    บุญนั้นคือที่พึ่งได้จริง

    33109018_2349802441700241_4821556910991867904_n.jpg
    เป็นเรื่องเรื่องธรรมดาของโลก
    หากไม่ทุกข์ ไม่เจอผลกรรมไม่ดีส่งผล
    อาจประมาท

    ทุกข์ทำให้เราเข้าใจชีวิต
    ทุกข์ทำให้เราเห็นทางออก
    ทุกข์ทำให้เรารู้จักตัวเองที่แท้จริง

    การปฏิบัติธรรมไม่ได้ทำให้วิเศษวิโสกว่าสรรพสัตว์อื่น
    แต่ทำให้เรามีใจวิเศษ
    เข้าใจทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต

    ทุกข์บ่อยๆ จนรู้ว่า
    อ้อ ทุกข์แท้ไม่มีจริง
    เดี๋ยวมา ก็ผ่านไป

    ถ้าเรามีใจวิเศษ
    เปรียบดัง เรามีกำลังมาก
    เจอหินโสโครก เราก็ยกออกไปได้

    แรกๆ อาจจะหนักหน่อยเพราะไม่เคยเจอ ไม่เคยยก
    พอเจอบ่อยๆ ก็ยกออกง่ายดาย
    เรื่องขี้หมาเท่านี้

    ใจเราใหญ่กว่าทุกข์เยอะ

    สุขแท้ล่ะมีจริงไหม
    ตอบเลยว่า…มี
    แต่อาจจะไกลโพ้น ในดินแดนพระนิพพาน

    แต่เอาแค่ภพนี้ สุขที่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เช่นกัน
    สุขมาเราก็รับ ทุกข์มาเราก็พร้อม

    ข้อสำคัญอย่าประมาทในบุญ ในกรรมดี
    เพราะบุญนั้นนำมาความสุข
    เพราะบุญนั้นทำให้เราต้านทุกข์ได้
    เพราะบุญเป็นที่พึ่งได้จริง
    มีชีวิตอยู่ด้วยธรรมกำกับ
    เรียบง่าย อยู่ร่วมกับสุขและทุกข์
    เพราะรู้ทัน…

    ขอให้พิจารณาด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยภูมิธรรม
    ขอบุญรักษา
    ธ.ธรรมรักษ์
    ขอบคุณที่มา :- https://torthammarak.wordpress.com/2018/05/23/เห็นทุกข์-เมื่อใดก็เห็น/
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    เหตุใดการร้องไห้จึงส่งผลดีต่อสุขภาพของคนเรา
    ในฐานะไลฟ์โค้ชหรือโค้ชชีวิตและพยาบาล บางครั้งฉันต้องให้คำปรึกษาผู้คนในเรื่องที่ค่อนข้างหนักซึ่งบ่อยครั้งอีกฝ่ายก็มักจะมีน้ำตาและตามมาด้วยคำพูดต่างๆที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น “ฉันขอโทษที่อ่อนไหวง่าย” หรือ “ขอโทษที่ร้องไห้” ข้อความเหล่านี้ทำให้หัวใจของฉันแตกสลายเนื่องจากพวกเขาพูดเป็นนัยว่าการร้องไห้เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม น่าอาย หรือไม่มีเหตุผล แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้วการร้องไห้นั้นดีสำหรับเราทุกคนมาก และนี่คือข้อดีของการร้องไห้

    สารเคมีที่อยู่เบื้องหลังการร้องไห้ของคุณ
    ปี 1970 ดร. วิลเลี่ยม เฟรย์ ศาสตราจารย์สาขาเภสัชกรรม ณ มหาวิทยาลัยมินนิโซตาได้วิเคราะห์สารเคมีในน้ำตาที่เกิดจากปฏิกิริยาตอบสนอง (การร้องไห้ขณะที่คุณหั่นหัวหอม) กับน้ำตาที่เกิดจากอารมณ์ (การร้องไห้ขณะที่คุณดูหนังเศร้า) โดยผลลัพธ์ที่ออกมาน่าสนใจมาก น้ำตาที่เกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองจะทำหน้าที่ปกป้องดวงตาโดยการชะล้างและทำให้หล่อลื่น ส่วนหน้าที่หลักของน้ำตาที่เกิดจากอารมณ์คือการขับฮอร์โมนส่วนเกินและโปรตีนอื่นๆ

    เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากเหตุการณ์ตึงเครียด เมื่อเรารู้สึกเครียดสารที่ชื่อว่าฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรปิก (ACTH) จะถูกหลั่งเข้าไปในร่างกาย จากนั้นก็จะกระตุ้นการหลั่งสารคอร์ติซอลหรือ “ฮอร์โมนความเครียด” ออกมา แต่หลังจากที่ร้องไห้อย่างเต็มที่แล้วคนส่วนใหญ่จะรู้สึกสงบและผ่อนคลายมากขึ้นเนื่องจากน้ำตาได้ช่วยระบายฮอร์โมนความเครียดออกไปจากร่างกาย ยิ่งร้องไห้ ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรปิกก็ยิ่งน้อยลง ความเครียดก็จะยิ่งน้อยลง เจ๋งไหมล่ะ?!

    นอกจากนี้การร้องไห้ยังช่วยป้องกันจากอาการเจ็บป่วยได้ น้ำตาประกอบไปด้วยไลโซไซม์ซึ่งเป็นสารต้านเชื้อแบคทีเรียตามธรรมชาติและสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียที่เข้ามาสัมผัสกับดวงตาของเราได้ถึงร้อยละ 95 ภายใน 10 นาที ดังนั้นเมื่อไหร่ที่ดวงตาของคุณเอ่อไปด้วยน้ำตาก็แสดงว่าพวกมันกำลังทำความสะอาดอยู่ น้ำตาที่เกิดจากอารมณ์ยังประกอบไปด้วยลูซีน เอนเคฟาลิน ซึ่งเป็นสารเอ็นโดรฟินที่ช่วยลดอาการปวดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น ดังนั้นการร้องไห้จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นโดยการหลั่งยาแก้ปวดตามธรรมชาติออกมา!

    .jpg

    การตอบสนองทางกายภาพของร่างกาย
    การตอบสนองทางกายภาพของการร้องไห้จะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น กลุ่มนักวิจัยกล่าวว่าการเคลื่อนไหวซ้ำๆเป็นจังหวะบวกกับเสียงที่เราทำตอนร้องไห้จะทำให้ตัวเองรู้สึกสงบลง เช่นเดียวกับการกล่อมเด็กโดยการโยก การตบเบาๆ การกระซิบกระซาบ หรือการเคลื่อนไหวซ้ำๆและเสียงปลอบเด็กทารกให้เงียบ กลุ่มนักวิจัยชาวดัทช์ยังพบอีกว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพกับผู้ที่กำลังร้องไห้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ร้อง ไม่ว่าจะเป็นการกอดหรือแม้แต่การแตะมือเบาๆเพื่อทำให้อารมณ์ดีขึ้นและบรรเทาความตึงเครียด

    ประโยชน์ทางอารมณ์และจิตวิญญาณ
    คาร์ลา แมคลาเรน ซึ่งเป็นนักเขียนแนะนำว่าความเศร้าจะมาพร้อมกับการรู้จักปลดปล่อย การร้องไห้ การผ่อนคลาย และการฟื้นฟู การหลั่งน้ำตาแห่งความโศกเศร้าคือวิธีธรรมชาติสำหรับร่างกาย จิตใจ และวิญญาณเพื่อย่นระยะเวลาของการสูญเสียและการเปลี่ยนแปลง เมื่อน้ำตาไหล แมคลาเรนกล่าวว่าได้เวลาแล้วที่จะถามตัวเองว่า “คุณเตรียมพร้อมที่จะปลดปล่อยออกมาแล้วหรือยัง? การปล่อยให้ตัวเองร้องไห้จะทำให้คุณหลุดพ้นจาก “ความฟุ้งซ่าน” และ “ลืม” ทุกอย่างเร็วขึ้น ทั้งนี้การร้องไห้คือการยอมจำนนและการยอมรับความรู้สึกของตัวเอง ไม่ว่าพวกมันจะเข้ามาในรูปแบบไหนก็จงอย่าไปสกัดกั้นมันไว้ คุณควรปล่อยให้น้ำตาไหลออกมาและคุณจะพบว่าตัวเองมีจิตใจสงบขึ้น แข็งแกร่งขึ้น ที่สำคัญคุณต้องรู้จักเชื่อมต่อกับตัวเองรวมถึงผู้คนที่อยู่รอบตัวคุณด้วย

    Blogger : Jude Temple

    Source : mindbodygreen.com
    :- http://issue247.com/health/in-defense-of-tears/

     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    12 คำถามที่คุณควรตอบให้ได้ก่อนกลับไปคืนดีกับแฟนเก่า
    จากข้อมูลล่าสุดของ eHarmony เว็บหาคู่รายใหญ่พบว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจบอกเลิกและ “กลับไปคืนดี” กับแฟนเก่ามากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้พวกเธอก็ยังรู้สึกว่าตัวเองสามารถเปลี่ยนแปลงอดีตคนรักได้ แต่ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่าควรต้อนรับถ่านไฟเก่ากลับเข้ามาในชีวิตอีกหรือไม่ เราขอแนะนำให้คุณพิจารณาคำถาม 12 ข้อดังต่อไปนี้โดยแบ่งเป็นถามตัวเอง 6 ข้อและถามแฟนเก่าอีก 6 ข้อเพื่อช่วยในการตัดสินใจ

    6 คำถามที่ควรถามตัวเอง
    1. “สาเหตุที่เลิกกันในตอนแรกคืออะไร? แล้วฉันควรกลับไปเดินบนถนนสายเก่าอีกหรือ?” คุณควรคิดให้ดีๆก่อนที่จะให้โอกาสในการสร้างความสัมพันธ์อีกครั้ง แม้ว่าจะเจ็บปวดแต่คุณก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปไม่ได้ คุณควรถามตัวเองว่าคุณพร้อมที่จะกลับไปเผชิญสถานการณ์เดิมๆอีกหรือไม่? หากเคยเกิดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วมันก็สามารถเกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นเราจึงอยากให้คุณเตรียมรับมือให้ดี
    2. “ฉันแค่เหงาหรือเปล่า?” อย่าปล่อยให้ความเหงาหรือความเศร้ามาเป็นเหตุผลแรกที่ทำให้คุณกับอดีตคนรักกลับมาคืนดีกันอีกครั้ง อย่าลืมว่าความเหงาเกิดขึ้นแค่ชั่วคราวแต่ความสัมพันธ์แย่ๆจะคงอยู่ไปตลอดกาล
    3. “ฉันยังชอบอะไรในตัวคนรักเก่าอีกหรือ?” จากการเลิกกันในตอนแรกคุณหวังว่าจะได้เห็นสิ่งใหม่ๆที่ดีกว่าเดิมของคนรักเก่า ลองจดรายการว่าคุณชอบ (หรือรัก!) อะไรในตัวผู้ชายคนนี้ จากนั้นก็คิดว่าพฤติกรรมในอดีตของเขาสอดคล้องกับคุณลักษณะเหล่านั้นหรือไม่ หากไม่ใช่คุณอาจต้องไตร่ตรองมากขึ้นอีกหน่อยก่อนที่คุณจะตัดสินใจกลับไปคบกันอีกครั้งอย่างเป็นทางการ
    4. “คราวนี้ฉันจะเปลี่ยนแปลงอะไรหากเราได้กลับไปคบกัน?” เห็นได้ชัดว่าความสัมพันธ์ที่ผ่านมาระหว่างคุณกับคนรักเก่าไปด้วยกันไม่รอด ดังนั้นถ้าคุณตั้งใจจะกลับมาคบกันอีกก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพื่อให้ความรักในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ทางที่ดีคุณควรตั้งเงื่อนไขเพื่อมาตกลงกับอีกฝ่าย
    5. “ความสัมพันธ์แบบไหนที่ฉันต้องการ?” ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนรักเก่าคือบทเรียนสำคัญเกี่ยวกับการมองหาคนรักในอนาคตและความสัมพันธ์ในอุดมคติของคุณ ซึ่งคนรักเก่าของคุณสามารถตอบโจทย์นี้ให้คุณได้ไหม?
    6. “มีคนอื่นที่ฉันต้องพิจารณาก่อนการตัดสินใจครั้งนี้หรือไม่?” หากคุณมีเพื่อนหรือคนในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเลิกราของคุณ คุณจำเป็นต้องพิจารณาว่าจะเป็นอย่างไรถ้าคุณถอยหลังกลับไป ยิ่งถ้ามีลูกๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยคุณก็ยิ่งต้องถามตัวเอง
    6 คำถามที่ควรถามอดีตคนรัก
    1. “ทำไมถึงอยากกลับมาคืนดีกันอีกครั้ง?” อย่ากลับไปเพียงเพราะว่าคุณเหงาหรืออีกฝ่ายรู้สึกโดดเดี่ยว ถ่านไฟเก่าสามารถลุกโชนอีกครั้งได้แต่ต้องมีเหตุผลดีๆรองรับ
    2. “ทำไมก่อนหน้านี้ถึงคิดว่าความสัมพันธ์ล้มเหลว?” ก่อนที่จะเดินหน้าต่อไปคุณต้องทำความเข้าใจทัศนคติของอีกฝ่ายก่อน นี่เป็นโอกาสดีที่คุณจะได้เรียนรู้ว่าควรทำอย่างไรจึงจะเป็นคู่ที่ดีกว่าเดิมในอนาคต (ต่อให้เปลี่ยนคนรักใหม่ก็ตาม) แต่จงระวังหากทัศนคติของแฟนเก่าไม่ตรงกับคุณ
    3. “คุณเต็มใจที่จะสร้างความสัมพันธ์นี้ให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกันหรือไม่?” การกลับมาคืนดีกันเฉยๆยังไม่พอหรอก ทั้งคู่ต้องพร้อมที่จะสร้างไปด้วยกันด้วย
    4. “คุณว่าความสัมพันธ์ครั้งนี้จะไปได้ถึงไหน?” หากการอยู่คนเดียวทำให้คุณรู้ว่าเขาเป็นคนเดียวที่คุณต้องการใช้ชีวิตร่วมด้วย คุณต้องแน่ใจด้วยนะว่าเขาก็รู้สึกเช่นเดียวกับคุณมิฉะนั้นคุณคงได้อกหักซ้ำสองแน่
    5. “เราจะเปิดอกคุยกันและจริงใจต่อกันหรือไม่?” การสื่อสารเป็นองค์ประกอบสำคัญโดยเฉพาะในความสัมพันธ์ที่ประสบกับปัญหาแล้ว หากคุณกับอดีตคนรักต้องการจุดถ่านไฟเก่าให้กลับมาติดอีกครั้งคุณต้องพร้อมที่จะจับเข่าคุยกันถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
    6. “เราจะปรับปรุงวิธีสื่อสารของเราได้อย่างไร?” หาคำตอบว่าคนรักเก่าของคุณจะทำอย่างไรเพื่อปรับปรุงวิธีสื่อสารและสร้างแผนการขึ้นมาปฏิบัติร่วมกันเพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
    Blogger : Alli Hoff Kosik

    Source : brit.co
    :- http://issue247.com/relationship/qu...-you-get-back-together-with-ex/?ref=recommend
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    รั ก แ บ บ พุ ท ธ
    พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
    สถานพำนักสงฆ์บ้านบุญ บ้านไร่ทอสี จ.นครราชสีมา

    “...คนเราจะอยู่ในโลกนี้อย่างผู้มีปัญญา
    เราต้องเรียนรู้ธรรมชาติของความรัก
    และพยายามลดสัดส่วนที่เกิดจากตัณหาเท่าที่จะลดได้

    ควรจะพัฒนาความรู้สึกของเรา
    ให้เป็นไปในทางเมตตาเท่าที่เราจะทำได้

    ถ้าเทียบเป็นระดับ (spectrum)
    ก็มีตั้งแต่ความรักตาบอด
    หรือความรักที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว
    เรียกว่าความรักที่มืด
    ที่นำไปสู่ความทุกข์ ความเดือดร้อนมากที่สุด
    จนถึงความรักระดับสูงสุด สว่างที่สุด
    ก็คือ เมตตาธรรมที่ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ
    ไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง

    ทำอย่างไรเราจึงพัฒนาความรักให้สว่างขึ้น
    ให้เป็นเหตุให้ต้องทุกข์ต้องทรมานใจน้อยลง
    อารมณ์ของคนเราส่วนมากมันอยู่ได้หรือเข้มข้นได้
    เพราะเราหลับหูหลับตาต่อความจริงบางประการ
    อารมณ์นั้นไม่ใช่ทางไปสู่ความพ้นทุกข์แน่นอน

    เพราะอาศัยอวิชชาจึงอยู่ได้
    อวิชชาอยู่ที่ไหน ตัณหาต้องอยู่ที่นั่น
    เพราะแยกออกจากกันไม่ได้ อวิชชากับตัณหาไปด้วยกัน
    เหมือนกับวิชาความรู้ ความเข้าใจตามความเป็นจริง
    ต้องอยู่กับฉันทะ หรือกุศลฉันทะ
    เป็นความอยากที่ปราศจากโทษ”

    “...บางครั้งคนแสวงหาความรักเพื่อดับทุกข์อย่างตาบอด
    คือว่ารู้ว่าตัวเองเป็นทุกข์
    แล้วเชื่อว่าความรักจะดับความทุกข์ของตนได้

    ถ้าเป็นอย่างนั้นก็น่าจะมีปัญหา
    เพราะความทุกข์ไม่เคยดับไปด้วยความรัก
    ความทุกข์ดับไปด้วยการดับอวิชชา
    ทุกข์ดับเพราะอวิชชาดับ เพราะตัณหาดับ
    ไม่ใช่เพราะความรัก
    ถ้าเราหวังความดับทุกข์จากความรักนั้น
    คือการตั้งต้นไว้ผิด และจะต้องผิดหวัง…

    มีละคร หนังสือ เพลง หลายสิ่งหลายอย่าง
    ที่จะชวนให้เราเข้าใจว่าความรักดับทุกข์ได้
    แต่ชีวิตของเราแต่ละคนฟ้องขึ้นมาว่า ไม่ใช่ !

    พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

    อวิชชาปรากฏอยู่ในลักษณะตัณหา
    อยากได้ อยากมี อยากเป็น
    แต่แก่นแท้ของอวิชชา
    คือการมองว่าชีวิตมีสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง
    เป็นสิ่งที่ตัวของตัว สิ่งที่ท่านเรียกว่าอัตตา
    คือตัวเราศูนย์กลางของชีวิต

    พระพุทธองค์ท้าทายว่า
    ถ้ามีจริง มันอยู่ตรงไหน
    อยู่ในกายไหม อยู่ในความรู้สึกไหม อยู่ในความจำได้ไหม
    อยู่ในความคิด อยู่ในการรับรู้ทางประสาทไหม มีอยู่ตรงไหน

    แต่ส่วนมากคนก็ไม่ได้สนใจวิเคราะห์อย่างนี้
    แต่เชื่อว่ามีตัวเราที่เป็นของเที่ยงแท้ถาวร
    เกิดความเชื่องมงายเกี่ยวกับธรรมชาติของตัวเอง
    สิ่งที่เกิดตามมาก็คือ
    หนึ่ง ความกลัว สอง ความเหงา
    กิเลสทั้งหลายทั้งปวง มันจะเกิดขึ้น
    เพราะมีตัวเราที่แปลกแยกจากคนอื่น
    แปลกแยกจากสิ่งอื่นโดยสิ้นเชิง

    แต่พอเราไม่ได้ดูตัวเองดีๆ
    ก็ไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงคืออะไร
    คืออวิชชา การไม่รู้ ไม่เข้าใจตัวเอง รู้แต่ว่าเหงา
    รู้แต่ว่าแปลกแยก รู้แต่ว่ากลัว...

    ผู้มีอวิชชามักจะแสวงหาความรัก
    เพื่อจะไม่ต้องเหงา ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องรู้สึกแปลกแยก
    แต่นี่ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่แท้จริง…

    ถ้าเรากล้าดูตัวเอง
    กล้าพิจารณาความเหงา กล้าพิจารณาความกลัว
    ความกังวลต่างๆ กล้าดูสิ่งต่างๆ ที่เป็นทุกข์อยู่ในใจ
    ความหิวโหย ความหวังจากคนอื่นก็จะน้อยลงไปเอง
    จะเริ่มเห็นว่าสิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่ของจริงของจังอะไร
    มันเป็นแค่อารมณ์ มีเกิด มีดับ

    ผู้ที่เห็นแก่ตัวมาก เพราะเชื่อในอัตตาตัวตนมาก
    และเป็นผู้ที่บำรุงเลี้ยงความคิดผิด
    ที่เราให้ชื่อว่าอัตตาอยู่ตลอดเวลา
    ยิ่งเห็นแก่ตัว ก็ยิ่งจะต้องเจอความเหงา
    ยิ่งต้องเจอความกลัว ความกังวล

    ความกลัวบางทีก็ปลอมตัว...
    มันจะออกในรูปแบบความก้าวร้าว
    ความก้าวร้าวนี้มักจะเป็นอาการของความกลัว”

    “...ถ้าจะรู้สึกว่า เราขาดอะไรสักอย่าง
    และก็หวังว่าคนอื่นเขาจะเสริมส่วนที่ขาด
    ก็จะทำให้ความสัมพันธ์กับคนอื่น
    แปรไปในทางที่ต้องการอะไรสักอย่างจากเขา
    เมื่อเราต้องการอะไรสักอย่างจากคนอื่น
    และเชื่อว่าถ้าไม่ได้สิ่งนั้นชีวิตเราจะแย่ ก็ต้องเครียด
    และความหึงหวงก็จะต้องรุนแรงมาก

    เพราะถ้าเราฝากความหวังในความสุขใจ
    ความมั่นคงของชีวิตไว้กับคนใดคนหนึ่ง
    เราก็ต้องกลัวว่า เราต้องพลัดพรากจากคนนั้น

    สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้จักธรรมชาติของชีวิต
    และผู้ที่มีความหวังในคนรักมากเกินไป
    ต้องการสิ่งที่คนอื่นให้เราไม่ได้...”

    “...ส่วนมากคนแต่งงานกัน เท่าที่สังเกต
    เมื่อเกิดปัญหา ไม่ใช่เพราะไม่รักกัน
    ที่จริงก็รักกันอยู่ แต่ไม่เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน

    คนสองคนรักกันได้โดยไม่ค่อยเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน
    พอคนสองคนเกิดมีปัญหา
    ก็จะเข้าใจว่า ไม่รักกันจริง
    หรือมีปัญหาเรื่องความรัก
    ที่จริงก็รักกันอยู่แต่ไม่เข้าใจกัน
    มีความคิดผิดบางอย่างที่ยังปล่อยวางไม่ได้

    ถ้าเราไม่ฝึกหัดตัวเอง
    ความรักก็จะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาชีวิตและกิเลสต่างๆ
    ก็จะทำให้ความรักเศร้าหมองได้
    โดยไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาให้สูงขึ้นได้เลย

    เรื่องความรัก แรกๆ คนรักกัน
    ก็อยากจะสบตากันนานๆ
    อยากจะมองแต่หน้าและดวงตานานๆ
    อันนั้นก็เป็นวาระของมัน
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (มีต่อ)
    แต่ว่าเสร็จแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ
    ทั้งสองคนมองที่เป้าเดียวกัน
    มองข้างหน้าที่เป้าเดียวกัน จะอยู่ได้นาน
    แต่มองตาซึ่งกันและกัน นี่ไม่แน่นอน

    ถ้ามองข้างหน้า มองที่เดียวกัน เป้าหมายเดียวกัน
    ก็มีทางไปด้วยกันได้ คือ มองว่าต้องเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน
    ความรักเป็นอารมณ์เป็นสังขาร ความหวานก็เป็นอารมณ์
    ความหวานก็เปลี่ยนเป็นความเปรี้ยวได้

    แต่การเป็นมิตรที่ดีต่อกัน
    พึ่งธรรมะในการดำเนินชีวิตก็มีความสดชื่นได้ตลอด
    ผู้เป็นกัลยาณมิตรต่อกันมีความไว้วางใจต่อกัน
    สามารถให้กำลังใจ ในเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกำลังท้อแท้ใจ
    เป็นที่ปรึกษา เป็นผู้เข้าใจ เป็นผู้ให้อภัยทุกสิ่งทุกอย่าง
    ไม่คิดจะชนะกัน ไม่คิดจะต่อสู้กัน
    ต่างคนต่างอยู่ด้วยการยอมรับว่า

    ต่างเป็นปุถุชน ยังมีกิเลส
    แต่ว่าต่างคนต่างอยากพ้นจากกิเลส
    อยากจะช่วยกันแก้กิเลส
    พร้อมที่จะรับฟังข้อคิด ข้อวิพากษ์วิจารณ์
    ข้อตักเตือนจากอีกฝ่ายหนึ่ง
    ถ้าเป็นอย่างนั้นความรักก็จะไปในทางเมตตามากขึ้น

    เมตตา คือ ความรักที่ไม่มีเงื่อนไข
    ความรักที่ทำให้คนตกนรก คือ ความรักที่มีเงื่อนไขมาก

    ความรักที่มีเงื่อนไขมากที่สุด
    ก็คือ ฉันรักเธอเฉพาะช่วงที่เธอทำตามใจฉัน
    ถ้าเธอให้ความสุขแก่ฉันได้ ฉันจะรักเธอ
    เธอให้ความสุขแก่ฉันไม่ได้เมื่อไหร่ ฉันก็จะไม่รัก
    ก็กลายเป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง

    ฉันรักเธอแต่ถ้าเธอเบื่อฉันเมื่อไหร่ ฉันก็ไม่รัก
    คือ ไม่ได้เป็นมิตร ไม่ได้มีความจริงใจต่อกัน
    เอาอารมณ์ เอากามเป็นที่ตั้ง

    การอยู่ในเพศฆราวาส
    เรื่องกามก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
    แต่เป็นส่วนที่ควรควบคุม
    และไม่ควรจะหวังอะไรมากเกินไปจากความรัก

    พูดถึงการรักษาศีลข้อสาม สังเกตว่า
    ผู้ชายผิดศีลข้อสาม
    ถือว่าเป็นธรรมชาติของผู้ชาย
    อ้างร่างกาย อ้างความต้องการของร่างกาย
    ผู้หญิงผิดศีลข้อสาม ก็จะอ้างความรัก
    ช่วยตัวเองไม่ได้ รักเขาเหลือเกิน...

    การจะอยู่ในโลก แต่งงานแล้ว จะไม่เกิดความรู้สึกว่า
    ชอบหรือรักคนอื่น ก็คงเป็นไปได้ยาก...
    แต่ที่สำคัญอยู่ที่การควบคุมกาย วาจา
    เมื่อเกิดความรู้สึกต่อคนอื่น ทำอย่างไร
    ถ้ายินดีในความรู้สึกนั้น แล้วมีการกระทำอันใด
    ไม่ว่าด้วยกาย ด้วยวาจา มันก็ผิดแล้ว

    และเราถือว่า เราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
    ถือว่ากามารมณ์เป็นไฟ เผาลนจิตใจของคน
    ทำให้คนทำบาปกรรมได้สารพัด เราควรระมัดระวัง
    ไม่ทำสิ่งใดที่จะทำให้คนที่เรารักต้องทุกข์ ต้องเดือดร้อน
    ไม่ทำสิ่งใดลับหลังคนที่เรารัก
    เพียงเพราะว่าอยากได้รสชาติแห่งกาม มันไม่คุ้มค่า
    เราต้องพยายามดูจิตใจของตัวเอง
    แล้วมาแก้ที่จิตใจตัวเอง อย่าไปแก้ที่อื่น

    “...เราจะรัก ก็รักได้
    แต่ควรจะเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า
    เราจะอยู่ด้วยกันก็เป็นเรื่องชั่วคราว
    จะเป็นชั่วคราวสั้นๆ เป็นเดือน เป็นปี
    หรือจะเป็น ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๕๐ ปี
    (มีต่อ)
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นเรื่องชั่วคราว
    ถ้าเราระลึกอยู่ในความไม่เที่ยง
    ความไม่แน่นอนของการอยู่ด้วยกัน
    เราน่าจะปล่อยวางได้ง่ายขึ้น ให้อภัยได้ง่ายขึ้น
    ไม่ทะเลาะเบาะแว้งเรื่องเล็กเรื่องน้อย
    เพราะเราอยู่ด้วยกันอย่างชั่วคราว

    ถ้าเราเป็นเทวบุตร เทวธิดา อยู่บนสวรรค์
    อยู่ด้วยกันล้านๆปี ทะเลาะเบาะแว้งกัน เรื่องเล็กเรื่องน้อย
    คงไม่เป็นไร คงมีเวลาแก้ไข
    แต่มนุษย์ไม่มีเวลามากขนาดนั้น

    การระลึกถึงความจริงก็มีผลต่อความรัก
    ทำให้เป็นความรักที่ฉลาดขึ้น ประกอบด้วยปัญญา
    การรู้เท่าทันชีวิตในโลกตามความเป็นจริงมากขึ้น เป็นสิ่งที่ดี

    เรามีความตาย เรามีความพลัดพรากจากกันแน่นอน
    ระลึกอยู่เสมอ ชีวิตไม่แน่นอนจริงๆ วันใดวันหนึ่ง
    เราต้องพลัดพรากจากกัน

    ถ้าไม่คิดบ่อยๆ ไม่ซ้อมบ่อยๆ
    พอเราพลัดพรากจากคนที่เรารักจริงๆ
    เราก็ทำใจไม่ได้เหมือนกัน
    ฟังเทศน์ ฟังธรรม กี่ร้อยกัณฑ์ กี่พันกัณฑ์
    ก็ไม่เกิดประโยชน์ทางจิตใจเรา

    บางคนครวญครางว่าไม่เคยคาดคิดว่า เขาจะเป็นอย่างนี้…
    ทำไมจึงไม่คาดคิด ควรจะคิดทุกวัน...”

    “...พระพุทธองค์ให้เราสังเกตว่า
    ความรักสามัญมีโทษบางอย่าง
    ความรักสามัญมีโทษอย่างไร
    พอเรารักใครแล้ว ใครที่เป็นศัตรูกับคนที่เรารัก
    ก็กลายเป็นศัตรูของเราไปด้วย
    ยากที่จะหวังดีต่อคนเหล่านี้
    หรือคนอื่นที่รักศัตรูของคนรักของเรา
    เราก็ไม่ค่อยชอบ มันมีการแบ่งแยกเกิดขึ้น”

    “...ขอให้เราเรียนรู้เรื่องความรัก
    รักอย่างไรเศร้าหมอง รักอย่างไรผ่องใส
    รักอย่างไรทำให้เราอ่อนแอ
    รักอย่างไรทำให้เราเข้มแข็ง
    รักอย่างไรทำให้มีความสุขชั่วแวบเท่านั้น

    ความรักอย่างไรทำให้มีความสุขระยะยาว
    และสามารถให้ความสุขแก่คนอื่น
    ทำอย่างไร เราจะได้ขัดเกลาพัฒนาความสุขความรักของเรา
    ให้มีลักษณะของเมตตามากขึ้นๆ ทุกวัน
    นี่ก็คือข้อวัตรปฏิบัติในชีวิตประจำวันของเรา”.

    (ที่มา : รักแบบพุทธ โดย ชยสาโร ภิกขุ , คัดลอกจากหนังสือ “ยุวพุทธสัมพันธ์ : จากรักสู่เมตตา”
    รวบรวมในหนังสือ “ความจริงเกี่ยวกับความรัก ความโกรธ และ ความเมตตา เล่ม ๓”)
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ประโยชน์ของการบริหารจิต
    การฝึกบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน

    สติ ปัฏฐาน 4 หมายถึง ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติหรือข้อปฏิบัติที่ใช้สติเป็นหลักในการคิดพิจารณา สิ่งทั้งหลาย แบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ

    1. กายานุปัสสนา การใช้สติพิจารณากายให้เห็นตามความเป็นจริงของกาย นั้น ๆ การฝึกโดยใช้สติพิจารณากายและองค์ประกอบในกาย อาจฝึกได้ คือ 1 อานาปานสติ 2 อิริยาบถ 3 สัมปชัญญะ 4 ปฏิกูลมนสิการ 5 ธาตุมนสิการ 6 นวสีถิกา

    2. เวทนานุปัสสนา คือ การใช้สติกำหนดรู้อารมณ์ของเราเองที่เกิดขึ้น 3 อย่าง คือ ความรู้สึกทุกข์(ทุกขเวทนา) ดีใจเป็นสุข (สุขเป็นเวทนา) และ ไม่ได้ดีใจไม่เสียใจ (อุเบกขาเวทนา) และมองเป็นเพียงอารมณ์ที่รับรู้และไม่ยินดีไปกับอารมณ์เหล่านั้น

    3. จิตตานุปัสสนา คือ การมีสติพิจารณาจิต (ความคิด) ที่เกิดเศร้าหมอง หรือยินดีหรือการใช้จิตตัวเองกำหนดรู้และไม่ยินดีไปกับอารมณ์เหล่านั้น

    4. ธัมมานุปัสสนา คือ การใช้สติกำหนดพิจารณาธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจิต เป็นการพิจารณาธรรมเพื่อให้รู้ ใช้เป็นเครื่องระลึกไม่ให้เราผู้ปฏิบัติไปยึดมั่นถือมั่น

    ฝึก บริหารจิตและเจริญปัญญาแบบอานาปานสติ

    อานาปานสติ แปลว่า การระลึกถึงลมหายใจเข้าออก คือ การฝึกใช้สติกำหนดลมขณะเข้าและออกในแบบต่าง ๆ รวม ทั้งมีสติเห็นถึงการเกิดและดับของลมหายใจ โดยมีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้

    1. เลือกสถานที่ให้เหมาะสม สงบเงียบ เหมาะต่อการปฏิบัติ
    2. เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติต้องกำหนดให้เหมาะสม
    3. สมาทานศีล รับศีลจากพระ หรือสมาทานงดเว้นด้วยตนเอง เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติ
    4. นมัสการพระรัตนตรัย สวดมนต์รำลึกถึงคุณ ของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
    5. ตัดปลิโพธ คือ ความห่วงกังวลทุกอย่างให้หมดสิ้น ให้กำหนดเฉพาะการฝึกการบริหารจิตและเจริญปัญญาเท่านั้น โดยนั่งขัดสมาธิเหมือนพระพุทธรูปปางสมาธิแล้วกำหนดลมหายใจเข้าออก

    วิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญา สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ คุณภาพชีวิตและสังคม โดยสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างดี เช่น

    ด้านการควบคุมจิต เพื่อสุขภาพจิตที่ดี คนเราถ้าได้รับการอบรมจิตจนเป็นสมาธิแล้ว จิตจะไม่ฟุ้งซ่านสงบดีและทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี เมื่อเรามีสุขภาพจิตดีแล้วก็ย่อมส่งผลทำให้มีร่างกายและสติปัญญาดี

    ด้านการศึกษาเล่าเรียน การนำการบริหารจิตไปใช้ในการศึกษา คือ เวลาที่เราเรียนหนังสือ อ่านหนังสือ หรือฟังครูสอนในชั้นเรียน ควรมีสติ มีสมาธิ จะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจในการเรียนได้ดีขึ้น

    ด้านการทำงาน หากทำงานอะไรก็ตาม ถ้ามีสติอยู่ตลอดเวลาจะช่วยป้องกันอันตรายได้เป็นอย่างดีเพราะเมื่อผู้ ปฏิบัติงานมีจิตใจที่สงบ ม่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้ปฏิบัติงานก็จะตั้งใจทำงานเหล่านั้นอบย่างเต็มกำลังจนงานสำเร็จไม่มีข้อ ผิดพลาด และงานนั้นก็ออกมาอย่างมีคุณภาพ
    ผลดีของการบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐาน

    การบริหารจิต คือการฝึกอบรมจิตให้อยู่กับกรอบที่ดีงาม ไม่ฟุ้งซ่าน สงบนิ่ง มุ่งมั่นไปในทางเดียว การฝึกอบรมจิตให้อยู่ในกรอบได้ด้วยการใช้สมาธิ สมาธิจะทำให้จิตสงบเป็นพลังทำให้เกิดปัญญาซึ่งมีคุณค่ายิ่งต่อชีวิต เพราะผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้มีสิ่งประเสริฐอยู่กับตนเอง

    พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการ กระทำทุกอย่าง จะต้องมีการพิจารณา คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน การฝึกจิตหรือการบริหารจิต จึงเป็นการกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา

    การบริหารจิตในทางพุทธศาสนามี 2 อย่าง
    1. สมถกรรมฐานหรือสมาธิภาวนา คือการฝึกจิตให้เกิดความสงบ เรียกว่า สมาธิ
    2. วิปัสสนากรรมฐาน คือการฝึกอบรมจิตให้เกิดปัญญา เป็นความรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาพที่เป็นจริง

    ข้อดีของการฝึกบริหารจิตคือ ทำให้เป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี มีความรู้ความเข้าใจโลกและชีวิตได้ถูกต้อง คนเช่นนี้ไม่ว่าจะทำอะไรย่อมประสบความสำเร็จ อยู่ที่ใดก็ได้รับความสุขสงบแห่งจิตใจ เมื่อเผชิญกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ก็สามารถเอาตัวรอดได้ ไม่คิดสั้น
    การฝึกบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐาน
    จะเกิดผลดีต่อผู้ปฏิบัติและผลดีต่อสังคม ดังนี้

    1. ช่วยให้ความจำดี และเรียนหนังสือได้ผลดี คนที่ฝึกจิตจนเกิดสมาธิ มีสติรู้ตัวตัวอยู่เสมอไม่คิดฟุ้งซ่าน และใจจดจ่อกับสิ่งที่กำลังอ่าน เขียน หรือฟัง จะส่งผลให้เกิดความจำดี เข้าใจเรื่องที่เรียนได้อย่างรวดเร็ว และทำให้มีผลการเรียนดี

    2. ช่วยให้มีชีวิตที่สงบสุข คนที่ฝึกจิตจนเกิดสมาธิ ให้สติควบคุมคนเองให้อยู่ในกรอบ ศีลธรรมอันดีงาม จะมีความพอใจในสภาวะเป็นอยู่ของตนหรือพอใจในสิ่งที่ตนมี ไม่คิดโลภอยากได้วัตถุกิเลสต่าง ๆ ตามแต่จิตจะนำพาไป ทำให้ชีวิตมีความสงบสุข

    3. ช่วยให้มีบุคลิกภาพดี มีความมั่นคง หนักแน่น และมีสุขภาพจิตดี ไม่หวั่นไหวไป กับสิ่งเร้าภายนอกที่มากระทบ เมื่อไม่สมหวังในสิ่งที่ปรารถนาก็ใช้สติควบคุมอารมณ์เศร้าโศกและความทุกข์ได้

    4. ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความสุขความเจริญ คนที่ผ่านการฝึกการบริหารจิตอย่างดีแล้วย่อมเป็นคนมีคุณภาพ มีจิตใจงดงาม และมีสุขภาพจิตดี ยิ่งถ้ามีจำนวนมากเพียงใดก็ย่อมจะเกิดผลดีต่อสังคมส่วนรวม บุคคลเหล่านี้ จะช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความสุขความเจริญและก้าวหน้ายิ่งขึ้น
    วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

    โยนิโสมนสิการ หมายถึง การทำในใจโดยแยบคาย การคิดพิจารณาอย่างละเอียด ถี่ถ้วนและลึกซึ้ง หรือการคิดที่ถูกวิธี มีระเบียบ มีเหตุผล และสร้างสรรค์ มี 10 วิธี ดังนี้

    1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ คิดแบบมีเหตุผล เช่นพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยใช้วิธีการคิดแบบสืบสาวหาเหตุจากปัจจัย พระองค์ตั้งคำถามขึ้นมาเกี่ยวกับเวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุขทุกข์ โดยทรงพิจารณาว่าเวทนาที่เป็นสุขเป็นทุกข์นี้เกิดขึ้นโดยมีอะไรเป็นปัจจัย แล้วพระองค์ก็สืบสาวไปก็ทรงค้นพบว่า มีผัสสะ เป็นต้น
    2. วิธีคิดแบบแยกแยะ ส่วนประกอบ คือ การคิดจำแนกแยกแยะองค์รวมของสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นองค์ย่อย ๆ ทำให้มองเห็นความและความสมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยเหล่านั้นว่ามีความเกี่ยว กับเนื่องกัน เป็นเหตุเป็นผลและพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร จึงประสานสอดคล้องกันเป็นองค์รวม วิธีคิดแบบนี้จะทำให้เรารู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ตามสภาพความเป็นจริง
    3. วิธีแบบสามัญลักษณะ คือ คิดแบบไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คือคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ชีวิตของคนเราก็เป็นเช่นนี้เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้ ทุกขังมีแต่ความทุกข์อนัตตาไม่มีตัวตนที่แน่นอน
    4. วิธีคิดแบบอริยสัจ หรือ วิธีคิดแบบแก้ปัญหา คือ การพิจารณาปัญหามีอะไรบ้าง (ทุกข์) สาเหตุอยู่ที่ใด (สมุทัย) แนวทางและเป้าหมายของการแก้ปัญหาที่ตั้งไว้ (นิโรธ) พิจารณาวีการ ดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย (มรรค) ซึ่งเราสามารถใช้เป็นหลักยึดในการพิจารณาถึงความเป็นจริงและนำไปสู่การคิด ตามกระบวนการนี้
    5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คิดตามหลักการและความมุ่งหมาย เป็นการคิดแบบสุตบุรุษ หรือสัปปุริสธรรมอันเป็นคุณสมบัติของคนดี คือ รู้จักเหตุ รู้จักผลรู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักบุคคล รู้จักชุมชน
    6. วิธีคิดแบบเห็นคุณ – โทษและทางออก คือ มองในเชิงคุณค่าว่าสิ่งนั้น ๆ มีคุณในแง่ไหน มีโทษในแง่ไหน มองทั้งคุณและโทษ แล้วก็หาทางออกที่จะแก้ไข
    7. คิดแบบคุณค่าแท้- คุณค่าเทียม รู้จักแยกแยะสิ่งดีชั่วได้อย่างมีเหตุผล
    8. วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม คิดแบบปลุกเร้าคุณธรรมหรือชุดความดี หมายถึง การบำเพ็ญความดี ซึ่งจะต้องกระทำให้ถึงที่สุด
    9. วีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน คือ คิดอยู่ในปัจจุบัน แนวนี้ต้องบมีวิปัสสนากรรฐานเป็นเครื่องมือ
    10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท (แบบจำแนก) คือ คิดแบบรอบด้าน แยกแยะ มองสิ่งต่าง ๆในหลาย ๆ มุมอย่างละเอียดรอบคอบ

    การคิดทั้ง 10 ข้อที่กล่าวมาสรุปได้สั้น ๆ 4 ข้อ คือ

    1. คิดเป็นระเบียบ
    2. คิดถูกวิธี
    3. คิดเป็นเหตุเป็นผล
    4. คิดให้เกิดการกระทำที่เป็นกุศล

     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ประโยชน์ของการบริหารจิต

    คำว่า ประโยชน์ หมายถึงสิ่งที่ดีที่ถูกและที่ควร สิ่งใดก็ตามเป็นสิ่งที่ดีที่ถูกที่ควร สิ่งนั้นเรียกว่าสิ่งมีประโยชน์
    การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามเป็นการกระทำที่ดีที่ถูกที่ควร การกระทำสิ่งนั้นเป็นการกระทำเป็นประโยชน์
    คำพูดใดเป็นคำพูดที่ดีที่ถูกที่ควร คำพูดนั้นเป็นคำพูดมีประโยชน์ ความคิดใดเป็นความคิดไม่ดีไม่ถูกไม่ควร ความคิดนั้นเป็นความคิดไม่เป็นประโยชน์
    ในทางตรงกันข้าม สิ่งใดก็ตาม การกระทำใดก็ตาม การพูดใดก็ตาม ความคิดใดก็ตาม เป็นไปในทางไม่ดี ไม่ถูกไม่ควร สิ่งนั้นเป็นต้น
    เรียกว่าไร้ประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ สิ่งของบางอย่างมีประโยชน์มากเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดีที่ถูกที่ควร
    แต่ถ้านำไปใช้ในทางไม่ดีไม่ถูกไม่ควรก็มีโทษมหาศาล พอจะเข้าใจคำว่า ประโยชน์กันแล้วซึ่งได้กล่าวในวงกว้างๆ
    ต่อไปคำว่า “บริหาร” หมายถึงกระบวนการการฝึก อบรม แนะนำ สั่งสอน ตักเตือน ตัวอย่างเช่น บริหารตน คน เวลา เงิน เป็นต้น
    ตลอดจนถึงบริหารบ้านเมือง ผู้บริหารต้องรู้เรื่องที่บริหาร รู้หลักการบริหาร รู้ประโยชน์ของการบริหาร ตลอดถึงรู้จักปรับปรุงยืดหยุ่นการบริหาร เช่น
    การบริหารตนต้องมีหลักธรรม โดยนิยมหลักคือพระบรมราโชวาท ๔ เป็นต้น การบริหารบ้านเมืองต้องอาศัยหลักการปกครอง หลักเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น พอจะเข้าใจคำว่าบริหารกันแล้ว แล้วก็คำว่า “จิต” ที่จะกล่าวต่อไป
    คำว่า “จิต” นี้เข้าใจยากหน่อย เป็นธรรมชาตินึกคิดและรับอารมณ์ มีหลายชื่อ เช่น วิญญาณ มโน มนัส หทัย
    คนเราเกิดมาทุกคนมีขันธ์ ๕ ด้วยกันทั้งนั้น
    คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, รูป หมายถึง สิ่งที่เห็นได้คลำสัมผัสได้ เคลื่อนไหวไปมาได้ ยืน เดิน นั่ง นอนได้ รูปนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาย
    ส่วนเวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำได้หมายรู้ สังขาร ความปรุงแต่ง วิญญาณ ความรับรู้ ส่วนเหล่านี้เรียกว่าจิต
    รวมทั้งสองอย่างเรียกว่า “กาย กับ จิต” คนเราทุกคนต้องมีกายและต้องมีจิต ใครไม่มีทั้งสองนี้ไม่เรียกว่าคน
    คำว่าคนในที่นี้ หมายถึงต้องมีกายกับจิต กายมองเห็นได้ง่าย จิตมองเห็นได้ยาก แม้คำว่าสมองก็รวมลงในกาย

    ประโยชน์ของการบริหารจิต
    ทำให้เกิดความรับผิดชอบขึ้น มีสติ สมาธิ ปัญญา รู้เห็นตามความเป็นจริง ทันต่อเหตุการณ์ ทันต่อโลก เกิดคุณธรรมประจำใจ เช่น บ้านเมืองต้องการให้ประหยัดเพราะน้ำมันแพงก็ต้องช่วยกันประหยัดทุกรูปแบบ จะมีสติระลึกได้อยู่เสมอ ไม่เป็นคนประมาท ไม่เป็นมักได้ ไม่ถือโอกาส

    ผู้บริหารจิตดีแล้ว ย่อมได้รับความสุข ดังนี้
    1. ทำให้ผ่อนคลายความเครียด
    2. ทำให้เกิดความผ่องใสทั้งกายและจิตใจ มีความสงบเย็น
    3. ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการศึกษาเล่าเรียนจำได้เร็ว เข้าใจได้เร็ว
    4. ทำให้มีความเมตตากรุณาเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
    5. ทำให้มีสติ สมาธิ ปัญญา อยู่กับตัวตลอดเวลา
    6. ทำให้มีสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่เสมอ
    7. ทำให้มีจิตตั้งมั่น
    8. ทำให้มีปัญญารอบรู้ รู้จักเหตุ ผล ตน ประมาณ กาล บุคคล ชุมชน
    9. ช่วยให้ตนเองเกิดความมั่นคง
    10.ช่วยให้สำนึกในหน้าที่ ใครอยู่ในหน้าที่ใดก็ทำหน้าที่นั้นได้สมบูรณ์
    11.ช่วยให้ไม่ประมาทในชีวิต
    :- https://sites.google.com/site/junji...it-laea-kar-ceriy-payya-tam-hlak-sti-pat-than
     

แชร์หน้านี้

Loading...