เรื่องเด่น อิทธิปาฏิหาริย์,อาเทศนาปาฏิหาริย์,อนุสาสนีปาฏิหาริย์ตามคัมภีร์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 20 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ปาฏิหาริย์
    หมายความว่า ถึงแม้ว่า อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์จะมีจริง แต่การปฏิบัติตามหลักการ และการเข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นไปได้ โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งเหนือสามัญวิสัยนั้น แต่ประการใดเลย

    เปิดโลก.jpg

    สำหรับเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ มีพุทธพจน์ว่าดังนี้

    พระพุทธเจ้า: นี่แน่ะสุนักขัตต์ เธอเข้าใจว่าอย่างไร ? เมื่อเราทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมของมนุษย์ยิ่งยวดก็ตาม ไม่ทำก็ตาม ธรรมที่เราได้แสดงแล้วเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายใด จะนำออกไปเพื่อ (ประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น คือ) ความหมดสิ้นทุกข์โดยชอบ ได้หรือไม่ ?


    สุนักขัตต์: พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมของมนุษย์ยิ่งยวดก็ตาม ไม่ทำก็ตาม ธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายใด ก็ย่อมจะนำออกไปเพื่อ (ประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น คือ) ความหมดสิ้นทุกข์โดยชอบได้


    พระพุทธเจ้า: นี่แน่ะสุนักขัตต์ เธอเข้าใจว่าอย่างไร ? เมื่อเราบัญญัติสิ่งที่ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของโลกก็ตาม ไม่บัญญัติก็ตาม ธรรมที่เราได้แสดงไว้แล้วเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายใด จะนำออกไปเพื่อ (ประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น คือ) ความหมดสิ้นทุกข์โดยชอบ ได้หรือไม่ ?


    สุนักขัตต์: พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ทรงบัญญัติสิ่งที่ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของโลกก็ตาม ไม่บัญญัติก็ตาม ธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้แสดงแล้วเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายใด จะนำออกไปเพื่อ (ประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น คือ) ความหมดสิ้นทุกข์โดยชอบได้ (ที.ปา.11/2-3/3-4)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มิถุนายน 2017
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อิทธิปาฏิหาริย์ คืออะไร ? และแค่ไหน?

    อิทธิปาฏิหาริย์เป็นอภิญญา คือความรู้ความสามารถพิเศษยวดยิ่งอย่างหนึ่ง มีชื่อเฉพาะว่า อิทธิวิธิ หรือ อิทธิวิธา (การแสดงฤทธิ์ต่างๆ) แต่เป็นโลกิยอภิญญา คืออภิญญาระดับโลกีย์ ซึ่งพัวพันเกี่ยวเนื่องอยู่ในโลก เป็นวิสัยของปุถุชน ยังอยู่ในอำนาจของกิเลส เช่นเดียวกับโลกิยอภิญญาอื่นๆทั้งหลาย คือ หูทิพย์ ตาทิพย์ การรู้ใจคนอื่น และระลึกชาติได้

    โลกิยอภิญญาทั้ง ๕ อย่างนี้ มีคนทำได้ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ไม่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม โลกิยอภิญญาเหล่านี้ก็เกิดมีได้
    พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา และไม่จำเป็นสำหรับการเข้าถึงพระพุทธศาสนา

    สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา และเป็นตัวพระพุทธศาสนา คือ ความรู้ที่ทำให้ดับกิเลสดับทุกข์ได้ เรียกชื่ออย่างหนึ่งว่า อาสวักขยญาณ แปลว่า ญาณที่ทำอาสวะให้สิ้นไป จัดเป็นอภิญญาข้อสุดท้าย คือ ข้อ ๖ เป็นโลกุตรอภิญญา คือ อภิญญาระดับโลกุตระ ซึงทำให้มีจิตใจเป็นอิสระ ปลอดโปร่งผ่องใส พ้นจากอำนาจครอบงำของเรื่องโลกๆ หรือสิ่งที่เป็นวิสัยของโลก ทำให้ปุถุชนกลายเป็นอริยชนโดยสมบูรณ์

    โลกิยอภิญญาทั้งหลายเสื่อมถอยได้ แต่โลกุตรอภิญญาไม่กลับกลาย ได้โลกุตรอภิญญาอย่างเดียวประเสริฐกว่าได้โลกิยอภิญญาทั้ง ๕ อย่างรวมกัน
    แต่ถ้าได้โลกุตรอภิญญา โดยได้โลกิยอภิญญาด้วย ก็เป็นคุณสมบัติส่วนพิเศษเสริมให้ดีพร้อมยิ่งขึ้น

    โลกุตรอภิญญาเท่านั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่ดีงามของมนุษย์ซึ่งทุกคนควรได้ควรถึง ส่วนโลกิยอภิญญาทั้งหลาย มิใช่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่ดีงาม เป็นเพียงเครื่องประกอบเสริมคุณสมบัติดังได้กล่าวแล้ว
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แค่ฤทธิ์ แต่มีถึง ๓ อย่าง


    อิทธิปาฏิหาริย์นี้ พระพุทธเจ้าจัดเป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง ใน ๓ อย่าง คือ (ที.สี.9/339-342/273-6 ที.ปา.11/228/232 องฺ.ติก.20/500/217 ขุ.ปฏิ.31/718-721/616-8)

    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ การแสดงฤทธิ์ต่างๆ

    ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ การทายใจคนอื่นได้

    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ คำสอนที่เป็นจริง สอนให้เห็นจริง และนำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง


    ความหมายตามบาลี ดังนี้

    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์: "บางท่านประกอบฤทธิ์ต่างๆ ได้มากมายหลายอย่าง คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ใช้มือจับต้องลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีกำลังฤทธิ์เดชมากมายถึงเพียงนี้ก็ได้ ใช้อำนาจทางกายจนถึงพรหมโลกก็ได้"
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ "ภิกษุย่อมทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความนึกคิด ทายความไตร่ตรองของสัตว์อื่น บุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้"

    อย่างนี้ ว่าตามเกวัฏฏสูตรในทีฆนิกาย แต่ใน ที.ปา.11/78/112 ในอังคุตตรนิกาย และในปฏิสัมภิทามัคค์ที่อ้างแล้ว ให้ความหมายละเอียดออกไปอีกว่า

    ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ "บางท่าน ทายใจได้ด้วยสิ่งที่กำหนดเป็นเครื่องหมาย (นิมิต) ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงหากเธอจะทายเป็นอันมาก ก็ตรงอย่างนั้น ไม่พลาดเป็นอื่น; บางท่าน ไม่ทายด้วยสิ่งที่กำหนดเป็นเครื่องหมายเลย แต่พอได้ฟังเสียงของมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาแล้ว ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ..." บางท่าน ไม่ทายด้วยนิมิต ไม่ฟังเสียง .... แล้วจึงทาย แต่ฟังเสียงวิตกวิจาร ของคนที่กำลังตรึกกำลังตรองอยู่ ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ..." บางท่าน ไม่ทายด้วยนิมิต ไม่ฟังเสียง....แล้วจึงทาย แต่ใช้จิตกำหนดใจของคนที่เข้าสมาธิ ซึ่งไม่มีวิตกไม่มีวิจารแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขาร (ความคิดปรุงแต่งในใจ) ไว้อย่างไร ต่อจากความคิดนี้แล้ว ก็จะคิดความคิดโน้น ถึงหากเธอจะทายมากมาย ก็ตรงอย่างนั้น ไม่พลาดเป็นอื่น"

    (อาเทศนาปาฏิหาริย์นี้ ดูคล้ายเจโตปริยญาณ หรือปรจิตตวิชานน์ คือการหยั่งรู้ใจผู้อื่น แต่ไม่ตรงกันทีเดียว เพราะยังอยู่ในขั้นทาย ยังไม่เป็นญาณ)
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์: "บางท่านย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด"

    (เฉพาะในเกวัฏฏสูตร ในทีฆนิกาย อธิบายเพิ่มเติม โดยยกเอาการที่พระพุทธเจ้าอุบัติในโลกแล้ว ทรงสั่งสอนธรรม ทำให้คนมีศรัทธา ออกบวช บำเพ็ญศีล สำรวมอินทรีย์ มีสติสัมปชัญญะ สันโดษ เจริญฌาน บรรลุอภิญญาทั้ง ๖ ซึ่งจบลงด้วยอาสวักขัย เป็นพระอรหันต์ ว่าการสอนได้สำเร็จผลอย่างนั้นๆ ล้วนเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์)
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เมื่อว่าตามรูปศัพท์

    ปฏิหาริย์ แปลว่า การกระทำที่ตีกลับ ขับไล่ หรือกำจัดเสียได้ซึ่งปฏิปักษ์

    อิทธิ หรือ ฤทธิ์ แปลว่า ความสำเร็จ

    อาเทศนา แปลว่า ระบุ อ้าง สำแดง ชี้บ่ง จะแปลว่า ปรากฏชัด ก็พอได้

    อนุสาสนี แปลว่า คำพร่ำสอน


    โดยถือความหมายอย่างนี้ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ ได้แปล ความหมายปาฏิหาริย์ทั้งสามนั้นออกไป ให้เห็นเพิ่มขึ้นอีกแนวหนึ่ง คือกล่าวว่า คุณธรรมต่างๆ เช่น เนกขัมมะ เมตตา ฌาน อนัตตานุปัสสนา ตลอดจนถึงอรหัตมรรค เรียกว่าเป็น อิทธิปาฏิหาริย์ ได้ทั้งนั้น โดยความหมายว่า สำเร็จตามหน้าที่ และกำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ของมัน คือ กามฉันท์ พยาบาท ตลอดจนกิเลสทั้งปวงได้ เรียกว่าเป็น อาเทศนาปาฏิหาริย์ ได้ โดยความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ทุกคน ย่อมมีจิตบริสุทธิ์ มีความคิดไม่ขุ่นมัว เรียกว่าเป็น อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ได้ โดยความหมายของการสั่งสอนว่า ธรรมข้อนั้นๆ ควรปฏิบัติ ควรฝึกอบรม ควรเพิ่มพูน ควรตั้งสติให้เหมาะอย่างไร เป็นต้น (ขุ.ปฏิ.31/718-722/616-620) คำอธิบายอย่างนี้ แม้จะไม่ใช่ความหมายอย่างที่ใช้ทั่วไป แต่ก็เป็นความรู้ประกอบที่น่าสนใจ


    ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า อิทธิปาฏิหาริย์เป็นโลกิยอภิญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนเสริมคุณสมบัติของผู้ที่ได้โลกุตรอภิญญาเป็นหลักอยู่แล้ว ให้พร้อมบริบูรณ์ยิ่งขึ้นสำหรับการบำเพ็ญกิจเกื้อกูลแก่ชาวโลก จึงมีพุทธพจน์บางแห่งเรียกภิกษุผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ครบทั้ง ๓ ประการ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ว่าเป็นผู้สำเร็จสิ้นเชิง จบหรือถึงจุดหมายสิ้นเชิง เป็นต้น และเป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (องฺ.ติก.20/584/375 องฺ.ทสก.24/217/353)

    แต่ทั้งนี้ ย้ำว่า ต้องมีอนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นหลัก หรือเป็นข้อยืนตัวแน่นอน และมีปาฏิหาริย์ ๒ ต้นเป็นเครื่องเสริม

    แม้ในการใช้ปาฏิหาริย์ ก็ถือหลักอย่างเดียวกัน คือ ต้องใช้อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นหลักอยู่เสมอ หากจะต้อใช้อิทธิปาฏิหาริย์ หรืออาเทศนาปาฏิหาริย์บ้าง ในเมื่อมีเหตุผลสมควร ก็ใช้เพียงเพื่อเป็นเครื่องประกอบเบื้องต้น เพื่อนำเข้าสู่อนุสาสนีปาฏิหาริย์ มีอนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นเป้าหมาย และจบลงด้วยอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ดังจะกล่าวต่อไป
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อิทธิฤทธิ์ ชนิดอริยะ และอนารยะ

    บาลีแห่งหนึ่ง ชี้แจงเรื่องอิทธิวิธี (การแสดงฤทธิ์ต่างๆ) ว่ามี ๒ ประเภท คือ

    ๑. ฤทธิ์ ที่มิใช่อริยะ คือ ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ยังมีอุปธิ (มีกิเลสและทำให้เกิดทุกข์ได้) ได้แก่ ฤทธิ์อย่างที่เข้าใจกันทั่วๆ ไป ดังได้อธิบายมาข้างต้น คือ การที่สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งบำเพ็ญจนได้เจโตสมาธิ แล้วแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ เช่น แปลงตัวเป็นหลายคน ไปไหนก็แหวกทะลุฝากำแพงไป เหินฟ้า ดำดิน เดินบนน้ำ เป็นต้น


    ๒. ฤทธิ์ ที่เป็นอริยะ คือ ฤทธิ์ที่ไม่ประกอบด้วยอาสวะ ไม่มีอุปธิ (ไม่มีกิเลส ไม่ทำให้เกิดทุกข์) ได้แก่ การที่ภิกษุสามารถทำใจกำหนดหมายได้ตามต้องการ บังคับความรู้สึกของตนได้ จะให้มองเห็นสิ่งที่น่าเกลียด เป็นไม่น่าเกลียดก็ได้ เช่น เห็นคนหน้าตาน่าเกลียดชัง ก็วางจิตเมตตาทำใจให้รักใคร่มีไม่ตรีได้

    เห็นสิ่งไม่น่าเกลียด เป็นน่าเกลียดก็ได้ เช่น เห็นคนรูปร่างน่ารักยั่วยวนให้เกิดราคะ จะมองเป็นอสุภะไป ก็ได้ หรือจะวางใจเป็นกลาง เฉยเสีย ปล่อยวาทั้งสิ่งที่น่าเกลียดและไม่น่าเกลียด ก็ได้ * (ที.ปา.11/90/122 อธิบายใน ขุ.ปฏิ.31/690/599) เช่นในกรณีที่จะใช้ความคิดพิจารณาอย่างเที่ยงธรรม ให้เห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง เป็นต้น


    เรื่องฤทธิ์ ๒ ประเภทนี้ ย่อมย้ำความที่กล่าวไว้ข้างต้น ให้เห็นว่า อิทธิปาฏิหาริย์ จำพวกฤทธิ์ที่เข้าใจกันทั่วไป ซึ่งทำอะไรได้ผาดแผลงพิสดารเป็นที่น่าอัศจรรย์นั้น ไม่ได้รับความยกย่องในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่หลักการที่แท้ของพระพุทธศาสนา

    ฤทธิ์ที่สูงที่ดีตามหลักพระพุทธศาสนา ได้แก่ ความสามารถบังคับความรู้สึกของตนเองได้ หรือบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจของตนได้ เป็นฤทธิ์ที่ไม่มีพิษมีภัยแก่ใครๆ ซึ่งผู้ได้ฤทธิ์อย่างต้นอาจทำไม่ได้ แถมบางครั้งผู้มีฤทธิ์อย่างต้นนั้น ยังเอาฤทธิ์ของตนไปใช้เป็นเครื่องมือสนองกิเลส ตรงข้ามกับฤทธิ์อย่างที่สองที่เป็นเครื่องมือสร้างคุณธรรม กำจัดกิเลส มิให้จิตใจถูกล่อไปในอำนาจของราคะ โทสะ หรือโมหะ * (ดูวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติเช่นนี้ใน องฺ.ปญฺจก.22/144/189 ฤทธิ์ประเภทนี้เป็นพวกเมตตาเจโตวิมุตติ ซึ่งถึงขั้นเป็นสุภวิโมกข์ เกิดจากเจริญโพชฌงค์ประกอบด้วยเมตตา ก็ได้ (สํ.ม.19/597/164) เป็นผลจากการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็ได้ (สํ.ม.19/1253-1262/376-9) เป็นผลของการเจริญสมาธิก็ได้ (สํ.ม.19/1332-6/401-3) บางแห่งเรียกผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ว่า อริยชนผู้เจริญอินทรีย์แล้ว (ม.อุ.14/863/546)

    การที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่ชาวบ้าน ย่อมเป็นหลักฐานยืนยันถึงการที่ไม่ทรงสนับสนุนการใช้อิทธิปาฏิหาริย์ * (วินย.7/33/16)
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อิทธิปาฏิหาริย์ ไม่ใช่ธรรมที่เป็นแก่นสาร

    ในสมัยพุทธกาล เคยมีบุตรคฤหบดีผู้หนึ่ง ทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ เขากราบทูลว่า

    “ข้าพระองค์ผู้เจริญ เมืองนาลันทานี้ เจริญรุ่งเรือง มีประชาชนมาก มีผู้คนกระจายอยู่ทั่ว ต่างเลื่อมใสนักในองค์พระผู้มีพระภาค ขออัญเชิญพระผู้มีพระภาค ได้โปรดรับสั่งพระภิกษุไว้สักรูปหนึ่ง ที่จะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์ โดยกระทำเช่นนี้ ชาวเมืองนาลันทานี้ ก็จักเลื่อมใสยิ่งนัก ในพระผู้มีพระภาคเจ้า สุดที่จะประมาณ

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบบุตรคฤหบดีผู้นั้นว่า

    “นี่แน่ะเกวัฏฏ์ เรามิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์ แก่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์ทั้งหลาย


    พระองค์ได้ตรัสแสดงเหตุผลต่อไปว่า ในบรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนั้น ทรงรังเกียจ ไม่โปรด ไม่โปร่งพระทัยต่ออิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์ เพราะทรงเห็นโทษว่า คนที่เชื่อ ก็เห็นจริงตามไป

    ส่วนคนที่ไม่เชื่อ ได้ฟังแล้ว ก็หาช่องขัดแย้งคัดค้านเอาได้ว่า ภิกษุที่ทำปาฏิหาริย์นั้น คงใช้คันธารีวิทยา และมณีกาวิทยา ทำให้คนมัวทุ่มเถียงทะเลาะกัน และได้ทรงชี้แจงความหมายและคุณค่าของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ให้เห็นว่า เอามาใช้ปฏิบัติเป็นประโยชน์ ประจักษ์ได้ภายในตนเอง จนบรรลุถึงอาสวักขัย อันเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา


    นอกจากนั้น ยังได้ทรงยกตัวอย่าง ภิกษุรูปหนึ่งมีฤทธิ์มาก อยากรู้ความจริงเกี่ยวกับจุดดับสิ้นของโลกวัตถุธาตุ จึงเหาะเที่ยวไปในสวรรค์ ดั้นด้นไปแสวงหาคำตอบจนถึงพระพรหม ก็หาคำเฉลยที่ถูกต้องไม่ได้ ในที่สุด ต้องเหาะกลับลงมา แล้วเดินดินไปทูลถามพระองค์ เพื่อความรู้จักโลกตามความเป็นจริง แสดงถึงความที่อิทธิปาฏิหาริย์มีขอบเขตจำกัด อับจน และมิใช่แก่นธรรม * (ดู เกวัฏฏสูตร ที.สี.9/338-350/273-283)
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อีกคราวหนึ่ง เมื่อสังคารวพราหมณ์ กราบทูลถึงเรื่องแทรก ซึ่งที่ประชุมราชบริษัท ได้ยกขึ้นมาสนทนากันในราชสำนักว่า

    “สมัยก่อนมีพระภิกษุจำนวนน้อยกว่า แต่มีภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์ได้มากกว่า สมัยนี้ มีพระภิกษุจำนวนมากกว่า แต่ภิกษุผู้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์กลับมีน้อยกว่า”


    พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ แล้วทรงแสดงความหมายของปาฏิหาริย์ทั้งสามอย่างนั้น ในที่สุด ได้ตรัสถามพราหมณ์ว่า ชอบใจปาฏิหาริย์อย่างไหน ปาฏิหาริย์ใดดีกว่า ประณีตกว่า


    พราหมณ์ได้ทูลตอบว่า อิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์ คนใดทำ คนนั้นจึงรู้เรื่อง คนใดทำ ก็เป็นของคนนั้นเท่านั้น มองดูเหมือนเป็นมายากล อนุสาสนีปาฏิหาริย์ จึงดีกว่า ประณีตกว่า (องฺ.ติก.20/500/217-220) (คนอื่นพิจารณารู้เข้าใจ มองเห็นความจริงด้วย และนำไปปฏิบัติได้ แก้ทุกข์แก้ปัญหาได้)
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    โทษแก่ปุถุชน ในการเกี่ยวข้องกับเรื่องฤทธิ์

    สำหรับปุถุชน ฤทธิ์อาจเป็นโทษได้ ทั้งแก่ผู้มีฤทธิ์เอง และแก่คนที่มาเกี่ยวข้องกับผู้มีฤทธิ์ ปุถุชนผู้มีฤทธิ์ อาจจะเกิดความเมาฤทธิ์ (อิทธิมทะ - เป็นพวกเดียวกับเมาความรู้ เมาศีล เมาฌาน เป็นต้น ดู อภิ.วิ.35/849/468) ในลักษณะต่างๆ เช่น เกิดมานะว่าเราทำได้ในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ คนอื่นทำไม่ได้อย่างเรา มีความรู้สึกยกตนข่มผู้อื่น กลายเป็นอสัตบุรุษไป หรืออาจเกิดความหลงใหลมัวเมาในลาภสักการะที่เกิดจากฤทธิ์นั้น นำฤทธิ์ไปใช้เพื่อก่อความชั่วความเสียหายอย่างพระเทวทัต เป็นต้น


    อย่างน้อย การติดใจเพลินอยู่ในฤทธิ์นั้น ก็ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติเพื่อบรรลุคุณธรรมที่สูงขึ้นไป ไม่อาจชำระกิเลสทำจิตใจให้บริสุทธิ์ได้ และเพราะฤทธิ์ของปุถุชนเป็นของเสื่อมได้ แม้แต่ความห่วงกังวลมัวยุ่งกับการรักษาฤทธิ์ ก็กลายเป็นปลิโพธ คือ อุปสรรค ที่ทำให้ไม่สามารถใช้ปัญญาพินิจพิจารณาตามวิธีของวิปัสสนาอย่างได้ผลดี ท่านจึงจัดเอาฤทธิ์เป็นปลิโพธอย่างหนึ่งของวิปัสสนา (เรียกว่าอิทธิปลิโพธ) ซึ่งผู้จะฝึกอบรมปัญญาพึงตัดเสียให้ได้ (วิสุทฺธิ.1/112,112)


    ส่วนปุถุชนที่มาเกี่ยวข้องกับผู้มีฤทธิ์ ก็มีทางประกอบผลเสียจากฤทธิ์ได้เป็นอันมาก ผลเสียข้อแรกทีเดียว ก็คือ คนที่มาเกี่ยวข้อง อาจตกไปเป็นเหยื่อของผู้มีฤทธิ์ หรือหลอกลวงว่ามีฤทธิ์ ซึ่งมีอกุศลเจตนา นำเอาฤทธิ์มาเอ่ยอ้างเพื่อแสวงหาลาภสักการะ


    อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ มีข้อสังเกตว่า ตามปกติ ผู้มีฤทธิ์ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติชอบ จะใช้ฤทธิ์ในกรณีเดียว เมื่อมีเหตุผลอันสมควร เพื่อเป็นสื่อนำไปสู่การแนะนำสั่งสอนสิ่งที่ถูกต้อง คืออนุสาสนีปาฏิหาริย์

    ถ้าไม่มีเหตุผลเกี่ยวกับการแนะนำสั่งสอนธรรมแล้ว ผู้มีฤทธิ์จะใช้ฤทธิ์ทำไม นอกจากเพื่อผูกคนไว้กับตนเป็นสะพานทอดไปสู่ชื่อเสียงและลาภผล * (แต่อย่าลืมว่า การตั้งใจใช้ความประพฤติศีลและวัตรเป็นเครื่องชักจูงผูกหมู่ชนไว้กับตน เพื่อผลในทางชื่อเสียง ความยกย่อง สรรเสริญ หรือลาภ ก็เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า)


    ดังนั้น จึงควรยึดถือเป็นหลักไว้ทีเดียวว่า การใช้อิทธิปาฏิหาริย์ จะต้องมีอนุสาสนีปาฏิหาริย์ตามมาด้วย ถ้าผู้ใดอ้างหรือใช้อิทธิปาฏิหาริย์โดยมิใช่เป็นเพียงบันใดที่จะนำไปสู่อนุสาสนีปาฏิหาริย์ พึงถือไว้ก่อนว่า ผู้นั้น ปฏิบัติผิดในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เขาอาจมีอกุศลเจตนาหลอกลวง มุ่งแสวงหาลาภสักการะ หรืออย่างน้อยก็เป็นผู้มัวเมาหลงใหลเข้าใจผิดในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์นั้น

    ฯลฯ

    (พุทธธรรมแต่หน้า 941 ไป ... เรื่องนียาว ที่นี้ตัดเอาแต่ปาฏิหาริย์ 3 อย่างมาพอเห็นเค้า)
     
  11. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,044
    โดยความรวมก็คือ ถ้าเราจะปลอดภัย
    คือ มีโอกาสพ้นได้...
    อย่าไปอุปโลกน์จิตขึ้นมาใช้งานเพราะจิตติดวิบากทางจิต
    และอย่าไปอุปโลกน์กายใช้งานพิเศษต่างๆร่วมกับจิต
    ถ้าเราทิ้งไปเป็น แล้วๆไปไม่เป็น
    เพราะจะกายเป็นเวทนาร่วมกับจิต

    ให้มาเดินปัญญา ลดละ คลาย กิเลส
    สิ่งยึดเกาะต่างๆ ที่ทำให้จิตเกิด
    เช่น โลภะ โทสะ โมหะ อย่าให้มัน
    ไปดึง ลาภ ยศ สุข สรรเสริญเข้ามา
    ร่วมกับการเดินปัญญา ลด ละกิเลส
    เพื่อเป็นแนวทางให้จิตคลายตัว

    พอจิตคลายตัว การจะมีอะไรพิเศษ
    ก็จะเป็นไปตามธรรมชาติของจิต
    ขึ้นมาใช้งานจากความว่าง.....

    กายกับจิตเรา ก็จะปลอดภัย
    กับเชื้อต่างๆ ที่คนมองว่าวิเศษ
    ที่มันทำให้จิตดวงนั้น ต้องเวียนว่ายตายเกิดได้...

    ปล.แค่เล่าให้ฟัง...
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เขาเล่าถึงตัวเขาเองไว้ เขาเป็นอะไร

    ตอนแรก ดิฉันมีอาการผิดปกติทางกายแล้วไปถามผู้สอน
    แล้วได้คำตอบที่ไม่สมเหตุผลมากเลย จึงขาดความไว้ใจในตัวผู้สอน
    คราวนี้พอเกิดอย่างอื่นตามมาก็ไม่ได้ถามอีก

    ต่อมา ทั้งตาฝาด หูแว่ว ได้ยินอะไรแบบพิเศษจากปกติ ก็คิดว่าตัวเองวิเศษ ไม่ไปถามผู้ฝึกสอนอีก เพราะขาดความไว้วางใจ แถมหลงในสิ่งลวงนั้นแล้วด้วย

    เป็นหนักจนต้องไปอยู่โรงพยาบาล และก็รักษาจนรู้ตัวและเข้าใจแล้วว่าเป็นเรื่องไม่จริง
    แต่ยังมีอาการอย่างนึงที่ยังไม่หายคือใจแว่ว (ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรดีค่ะ เพราะมันคล้ายหูแว่ว แต่เสียงเหมือนมีคนอื่นพูดมาจากใจเรา)

    กินยาตามหมอสั่งมาก็หลายเดือนก็ยังไม่หาย ยังงงอยู่ว่าเป็นไปได้อย่างไร
    เสียงที่ได้ยินบอกว่า ไม่หายหรอกต้องเป็นคนจิตผิดปกติไปตลอดบ้างละ ต้องไปฝึกสมาธิต่อให้หายบ้างละ
    ฟังไปก็งงไปเรื่อยค่ะ เข้าใจว่ามันเป็นอาการจิตเภทแบบที่หมอบอก
    แต่ไม่รู้ว่าต้องเดินทางไปสุดวิธีรักษาแบบคนเป็นโรคจิต หรือควรกลับมาทางทำสมาธิแทน
    แต่กลัวตอนที่ร่างกายผิดปกติ กลัวเป็นอีกแล้วจะไม่หายคราวนี้

    (เต็มๆที่)

    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/10/Y9785609/Y9785609.html
     
  13. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,044
    กิริยาของคนที่พูดข้างบน
    คือตัวจิตไม่ปล่อยวางกับสัมผัสที่เกิดขึ้น
    ซึ่งสัมผัสที่เล่ามานั้น ในทางปฏิบัติ
    ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดแสนจะธรรมดามาก
    และก็จะธรรมดาถึงธรรมดามากที่สุด
    เหตุเพราะไม่เข้าใจ และปล่อยวางไม่เป็น
    จึงได้นำมาเล่าและยึดติดอย่างนั้น....


    *** ส่วนนี้เล่าให้ฟังเล่นๆ ความสามารถทางหู
    ในระดับใช้งานได้ คือ ต้องได้ยินเสียงนามธรรม
    คุยกันเหมือนเราคุยกับคนทั่วไปครับ...


    เกี่ยวกับเสียง
    ๑.ได้ยังเสียงสัตว์เอาอวัยวะกระทบกันและเราฟังมันรู้เรื่อง
    ๒.เสียงดังฟังชัด ไม่ว่า สูงทางด้านศรีษะขวา หูขวา หรือระดับหู
    ๓.เสียงต่างๆทุกกรณี ไม่ว่า กลางลิ้นปี่ กลางหน้าอก
    กลางกระโหลกศรีษะ หรือเยื้องขวา กลางกระโหลกศรีษะ
    ๔.เสียงเรียก ด้านซ้ายไม่ดัง
    ๕ เสียงเรียกด้านหลังศรีษะ
    ๖.เสียงแว่ว อะไรต่างๆ ก็ตาม
    ๗.เสียงดังจังหวะเดียว
    ๘.เสียงวัตถุกระทบไกล้ๆแต่เราได้ยินใกล้ๆ...
    ๙.เสียงระเบิดดังกึกก้องกัมปนาทในศรีษะ

    พวกกริยาที่ เล่ามาพวกนี้ เป็นเพียงแค่ กิริยาระหว่างทาง
    เปรียบเหมือน กิริยาที่เกิดในขณะยกระดับฌานนั้นหละครับ
    ถ้าติด ข้อใดข้อหนึ่งที่เล่ามา
    การปฏิบัติ จะแป๊ก หรือ ติดขัด และไม่พัฒนาทันที
    ซึ่งต้องระวัง โดยเฉพาะบุคคลที่ พอสัมผัสอะไรได้เล็กน้อย
    แล้วไปสนใจมัน ไปอยากรู้ อยากค้นคำตอบด้วยตัวเอง
    แต่ไม่รู้จักสร้างเครื่องมือไปรู้มัน คือกำลังสติทางธรรม
    ด้วยการเจริญสติในชีวิตประจำวันให้ต่อเนื่อง
    จะยิ่งทำให้ช้า

    พอช้า ก็ทำให้ ความเข้าใจในกิริยาทางธรรมต่างๆไม่ดี
    เจออะไรเล็กๆน้อยๆก็สงสัย ไคร่รู้คำตอบ
    ไม่เข้าใจมันว่า มันเป็นเรื่องปกติ เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา
    เป็นแค่เพียงมายาจิต ระหว่างทางเท่านั้น

    และกิริยาอย่างคนข้างบนคือ
    ชอบไปย้อนดึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาแล้วทั้งนั้น
    ไม่ว่าสัมผัส หรือสิ่งที่ตนเองได้รับรู้มา
    และนำมาคิดวกวนเวียนในหัวสมองของตัวเอง
    แถมยังเป็นบุคคลที่วาจาไม่เอื้อในการปล่อยวาง
    คือวาจาออกไปในทางสร้าง แต่อกุศลกรรม
    ต่อให้หาหมอ ทานยา ไปหาผู้วิเศษยังไงก็ไม่หายหรอกครับ
    รับประกันได้เลย และถ้าวาจายังเป็นอกุศกรรม
    ต่อไปสมองส่วนกลางจะพัง และจะวิปลาสได้ในอนาคต
    ต้องแก้ด้วยการเจริญสติให้มันต่อเนื่อง
    เพื่อสร้างสติทางธรรมให้มันได้ก่อน
    จะได้มีตัวควบคุมความคิดและควบคุมพฤติกรรมของจิต

    ปล. แก้ได้ด้วยการสร้างสติทางธรรมให้มันเกิดมีก่อน จบ...
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขอบคุณนะขอรับที่ว่ามา แล้วนี่ล่ะครับ จิตมันบอกให้หยุดหายใจ

    ผู้รู้ช่วยบอกหน่อยค่ะ เป็นอันตรายหรือปฏิบัติผิดทางไหมค่ะ เพราะฝึกทำเองโดยไม่มีครูบาอาจารย์สอนค่ะ หนูฝึกดูจิตมาประมาณ2เดือนแล้วค่ะ แรกๆก็เห็นจิตฟุ้งซ่านมากช่วงหลังๆจิตเริ่มสงบ ไม่ไหลออกไปตามอารมณ์ข้างนอก แต่เริ่มเห็นจิต เฉยๆบ้าง สุขบ้าง บางครั้งรู้สึกหดหู่เป็นทุกข์เบื่อโลกมากๆเลยค่ะ มันเป็นของมันเองควบคุมอารมณ์นี้ไม่ได้ ได้แต่ตามดูเฉยๆรู้สึกว่ามันไม่ใช่ของเราเหมือนเราไม่มีตัวตนเลยค่ะ บางครั้งก็นอนดูจิตไปเรื่อยๆแล้วเหมือนว่าตัวเองจะเคลิ้มๆไป
    แต่ยังมีสติรู้สึกตัวค่ะ อยู่ดีๆจิตก็พูดว่า ลองหยุดหายใจตายดูหน่อยสิ แล้วหนูก็หยุดหายใจตามไปด้วยบังคับร่างกายไม่ได้เลยค่ะ ตอนนั้นขยับร่างกายไม่ได้ด้วยค่ะ รู้สึกเริ่มกลัว ก็เลยพยายามฝืนจนหายใจได้ ตอนนั้นรู้สึกอึดอัดและรีบสูดลมหายใจเข้าปอดค่ะ
    ถ้าปล่อยไปนานกว่านี้คิดว่าตัวเองต้องตายจริงแน่ๆเลยค่ะ เกิดจากอะไรค่ะ หนูทำผิดทางไหมค่ะ ถ้าเกิดเป็นอีกจะทำอย่างไรดีค่ะ
     
  15. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,044
    กิริยาข้างบน สายทางพลังงานเค้าเรียกว่า
    ไม่ทันกระแสแหย่ กระแสแหย่คือ กระแสจร
    ที่มาจากภายนอก เพื่อดูว่าเราจะเล่นกับมันไหม
    ถ้าเราไปเล่นด้วย ในความหมายก็คือ เราเสร็จมันครับ...
    คือ มักจะมาในรูป ที่โน้มให้เรา ยึดติด ในลาภ ยศ สุข
    สรรเสริญอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือดลให้เราเกิด
    โลภะ โทสะ โมหะอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง
    กรณีข้างบน เป็นกรณีดวงจิต พอมีสัมผัสบ้าง
    มันก็จะแหย่ในลักษณะให้ยึดติด ในเชิงสัมผัส
    ต่างๆนาๆนั่นหละ เพราะมันจะรู้อนุสัย จริต ของจิตดวงนั้นๆ

    กระแสแบบนี้ มักจะมา โดยเฉพาะกับนักปฏิบัติ
    ที่มีสัมผัสนามธรรมได้บ้างเล็กๆน้อยๆ
    จะ เป็นที่โปรดปราณนักแล...
    กิริยาคล้ายๆผีหลอกในขณะนั่งสมาธิ
    แต่พวกนี้จะมาหลอกอีกแบบ....

    พวกนี้แก้ไม่ยาก ถ้าทั่วๆไป คือ ฝึกให้มีสติทางธรรมขึ้นมาก่อน
    จะสามารถเห็นและรู้ทันพวกนี้ได้เอง...

    แต่ถ้ากรณีข้างบนที่ถาม ให้เลิกไปตามดูจิตก่อน
    เพราะไปตามดูจิตแล้วมีการไปแทรกแซง และซึมเข้าไปกับมัน
    โดยไม่รู้ตัว จนกลายเป็นการปรุงแต่ง
    (แบบจิตยกตัวเองขึ้นมาปรุงเอง)
    เพราะไปตั้งเจตนาในการที่จะไปดูจิตตั้งแต่เริ่มต้น
    เมื่อเจตนาไปดู ก็กลายเป็นว่า ตัวจิตสร้างตัวเอง
    เข้าไปกระทำเรื่อยๆตามอนุสัย จริต วิสัยในจิต
    เรียกง่ายๆว่า มีตัวตั้ง มีตัวไปกระทำนั่นเอง
    ไม่ใช่ลักษณะการดูจิต ในเชิงให้เกิดปัญญาทางธรรม
    คือ ปล่อยให้จิตปล่อยๆ ว่างๆ และปล่อยให้จิตว่าง
    รับรู้อยู่ภายในด้วยความเป็นกลาง(คือไม่ตั้งใจทำ ไปตั้งท่า
    ไปสร้างตัวไปกระทำ ไม่ปรุงร่วมกับมัน)

    ให้เลิกตั้งใจที่จะไปดู การตั้งใจไม่ใช่ไม่ดี
    แต่มันจะปิดกันตัวเราเอง คือปิดใจเราเอง
    เนื่องจากมีตัวใจเราเองไปกระทำนั่นเอง...

    ให้เปลี่ยนมาเจริญสติให้ต่อเนื่อง
    เพื่อควบคุมความคิด ควบคุมพฤติกรรมของจิต
    ให้จิตคลายจากความคิด คลายจากความคิดที่ผุด
    ขึ้นมาอย่างไม่ได้ตั้งใจให้ได้ก่อน

    เมื่อมีตรงนี้แล้ว จะทราบได้เองว่า ไอ้ที่มันเหมือน
    หรือเสียงที่มันผุดขึ้นมานั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่เรา
    เป็นเพียงกระแสภายนอก....ที่ทำให้คนหลง คนยึด
    มามากต่อมากแล้ว หากว่าไม่รู้เท่าทันมัน....


    ปล. ฟังหูไว้หู กรรมฐานที่ได้จากทางภพภูมิส่งเสริมนั้น...
    ปกติไม่มีมาบอกตรงๆแน่นอนครับ
    ถ้าบอกตรงๆคือ มาจากภายในจิตเรายกขึ้นมาเองทั้นนั้น
    (จิตหลอกจิต)...
    แต่กรรมฐานจากครูบาร์อาจารย์ท่านต่างๆ
    จะมาในลักษณะที่เป็นกุศโลบาย
    ซึ่งต้องใช้กำลังสติทางธรรมในการทำความเข้าใจครับ
    และเมื่อผ่านแล้วเราจะก้าวข้ามสภาวะนั้นได้อย่างรวดเร็ว
    หรือในระดับใช้งานได้ จะยกระดับการใช้งานได้ทันที

    และจะมาหลังจากที่เราได้เพียรพยายามที่จะก้าวข้ามจุดนั้นแล้ว
    หรือมาต่อยอดให้ในกรณีที่เราตั้งเป้าเพื่อประโยชน์ทางธรรม
    หรือเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม...
    เข้าใจที่พูดนะครับ..

    ต้องระวัง มายาจิต เป็นแค่เพียงกลจิตชนิดหนึ่ง
    ปรุงจิตติดภพ ปลงตกหมดภัย

    นึกอะไรไม่ออก ให้พึ่งระลึกว่า พุทธศาสนา
    เน้นเรื่องอะไรเป็นสำคัญ
    จะปลอดภัยทั้งกายและจิต
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขอบคุณนะขอรับ ที่ว่ามา อีกตัวอย่าง เขาเป็นอะไร

    ดิฉันฝึกหัดนั่งสมาธิวิปัสสนาแนวทาง (...) คือนั่งดูลมหายใจเข้าออกเฉยๆ ไม่บริกรรม และให้ดูเวทนาที่เกิดในร่างกายแล้วให้มีอุเบกขา

    คอร์สแรกที่ดิฉันไปศึกษาเรียนรู้เป็นเวลา10 วัน และหลังจากนั้นดิฉันก็กลับมาปฎิบัติที่บ้าน สม่ำเสมอ วันละหลายครั้ง บางทีก็หลายชั่วโมงติดต่อกัน

    ล่วงเข้ามาประมาณเดือนที่ 3 ดิฉันมีอาการร้อนที่ร่างกายทุกส่วน และเกิดอาการปวดศีรษะเหมือนมีเข็มเป็น ร้อยๆเล่มอยู่ในหัว บางที แข็ง ตึง มึน ทึบอยู่ในหัว จนยากที่จะอธิบาย จนขนาดต้องไปเอกซ์เรย์แต่ไม่มีอะไรผิดปรกติ

    อาการมันลงมาที่มือข้างซ้าย และ กรามบน ขมับ 2 ข้าง เหมือนมีกระแสไฟฟ้าวิ่งอยู่ตลอดเวลาเป็นที่ทรมานมาก

    ระยะ หลังมาดิฉันก็เลยนั่งบ้างไม่นั่งบ้าง เพราะปวดหัวเหลือเกิน บางอาการไม่สามารถบอกมาเป็นตัวอักษรได้ว่ารู้สึกอย่างไร อาการเป็นตลอด เวลา 2 - 4 ชั่วโมง ทั้งหลับทั้งตื่น ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ไปหาหมอฝังเข็ม ฝังมา 9 ครั้ง ไม่มีทีท่าว่าจะทุเลา อาการยังมี ตลอด ดิฉันก็ได้แต่อุเบกขา ทำใจไป คิดไปต่างๆนานา เวลานั่งก็ขออุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง

    ตอนนี้นับระยะเวลาเป็นมากว่า 2 ปี ได้แต่หวังว่าผู้รู้ทั้งหลายคงช่วยอนุเคราะห์คนมีกรรมคนนี้ด้วย ขอได้โปรดเมตตาช่วยด้วยนะคะ
     
  17. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,044
    สั้นๆเลยนะครับ ก็คือ ไปมีตัวตั้ง ตัวกระทำให้กับ
    จิตของตัวเอง ไอ้ตัวจ้องไปดู จ้องตั้งใจทำนั้นหละ
    พอมีตัวตั้ง ตัวกระทำ มันเลยเป็น
    การสร้างวิบากให้กับจิตของตัวเอง.....
    วิบากจิต คือ มีตัวกระทำให้จิตเกิดอยู่ตลอดเวลา
    แบบตั้งท่าเกิดแบบไม่รู้ตัว....
    พอเกิดบ่อยๆแล้ว จิตไม่คลาย...ก็เลยทำให้จิตตึง
    จิตเครียด พอตึงพอเครียดแล้ว
    ก็เลยส่งผลต่อทางกาย เกิดเป็นเวทนาต่างๆนาๆ
    อย่างที่เป็นอยู่นั่นหละครับ....

    ลมหายใจเค้าไม่ให้ไปตามดูมัน
    ตามดูลม ฝึกอีกร้อยปี ก็สำเร็จไม่เกิน ปฐมฌานครับ
    เค้าให้ทำความรู้ว่ามีลมหายใจเข้า
    หยุดที่ปลายจมูก และหายใจจนท้องป่อง
    และหายใจออกลมก็หยุดที่ปลายจมูกและท้องแบน
    และไม่ต้องไปตามลมหายใจ
    เพราะการตามลมจะทำให้จิตมันเกิด
    เมื่อจิตมันเกิดแล้ว คือ มันออกไปเที่ยวอยู่กับลม
    มันก็จะไม่ได้ ทั้งสมาธิสะสม และสติทางธรรม
    ถึงบอกว่า ฝึกอีกร้อยปีก็ไม่เกินปฐมฌาน
    และไม่ได้กำลังสติทางธรรมที่จะทำให้เข้าใจนามธรรมต่างๆ...

    ส่วนการดูเวทนาแล้วให้อุเบกขาแบบนั้นมันไม่ใช่วิปัสสนา
    มันเป็นวิปัสสนึก.......การที่จิตดวงใดก็ตามจะพิจารณา
    กาย เวทนา จิต หรือธรรมได้นั้น....

    ตัวจิตจะต้องแยกรูปธรรมกับนามธรรมได้ก่อน
    ซึ่งมาจากการเจริญสติชีวิตประจำวันให้ต่อเนื่อง
    จนสามารถ แยกความคิดได้ แยกอารมย์ได้
    แยกความคิดที่ผุดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจได้ก่อนเป็นทุน
    หลังจากนั้น คือ จิตต้องเห็นพวกนี้แยกกันชัดเจนก่อน
    และจะเห็นกิริยา รู้กิริยาที่จิตมันเกิดได้
    จิตเกิดคือ จิตรวมกับ ที่พูดมาข้างบนอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง


    พอแยกได้แล้ว และไม่ไปปรุงร่วมกับจิตได้แล้ว
    เข้าใจกิริยาที่จิตเป็นกลางแล้ว (คือ ไม่ปรุงร่วมกับความคิด
    ไม่ปรุงร่วมกับอารมย์ได้แล้ว)

    ถึงจะมาพิจารณาได้ครับ
    เรียกว่า จะพิจารณาอะไร ก็ปล่อย
    ให้จิตว่างรับรู้อยู่ภายใน
    ไม่ว่าจะ กาย เวทนา จิต หรือธรรม
    ไม่ใช่แบบไปตั้งท่าพิจารณาแบบตัวอย่างที่เอามาลง
    เพราะจิตไม่เป็นกลาง ยังมีความคิดจากจิตปรุงร่วม
    พิจาณาอย่างไร มันก็เป็นปัญญา หรือเห็นกิริยาแบบ
    ทางโลกๆอยู่ ไม่ใช่วิปัสสนาแน่น ล้านเปอร์เซนต์

    ส่วนเวทนาที่เกิดกับกาย ตอนนี้พอบรรเทาได้
    ให้ไปเหยียบดิน เหยียบหญ้าด้วยเท้าเปล่า
    หรือหาน้ำเกลือมาแช่เท้าซะ...

    ไม่งั้นจะเป็นโรคที่หมอแผนปัจจุบัน
    รักษายังไงก็ไม่หาย....จบ.....

    ปล.รีบเอาไปให้เจ้าตัวอ่านซะ
    เด่วป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายมา
    จะพาลซวยกันใหญ่...
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขอบพระคุณนะขอรับ อีกครับ นี่เขาใช้ทั้งลมหายใจเข้า-ออก + พุทโธ ทั้งกาย เวทนา จิต ธรรม แต่...เขาเป็นอะไร ดูครับ



    ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

    วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

    เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

    จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

    จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

    คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

    ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

    คำถามครับ

    1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

    2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน
     
  19. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,044
    ปล.การปฏิบัติและการฝึกสมาธิ
    เราจะทิ้งทุกอย่างทางโลก
    วางตำราทางโลกทุกอย่าง
    แล้วมาปฏิบัติให้เข้าถึง พอเข้าถึงได้แล้วก็วาง...
    โดยเริ่มต้นใหม่จากศูนย์เหมือนกันทุกๆดวงจิต
    ดังนั้น ต่อให้ทางโลก ไม่ว่าคุณจะเป็นนักบินอวกาศ
    จากองค์การนาซ่า หรือจะเก่งมีความรู้
    ระดับมนุษย์ต่างดาวเรียกพี่.
    หรือเป็นชาวนาที่ไม่ได้เรียนอะไรมาเลย
    ก็ตาม การเริ่มต้นจะเหมือนๆกันทุกคนครับ
    ให้เข้าใจประเด็นนี้เอาไว้ด้วยครับ
    จะได้ไม่ไปเผลอปล่อยความฉลาดน้อย
    โดยหมายว่าตนเรียนดี เรียนสูง แล้วเอามาข้ออ้าง
    (มีอัตตาตัวตนล้วนๆ ถึงไม่แปลกโม้ว่า
    เข้าใจสรีระ แต่คุณภาพทางจิตไม่มีการพัฒนา)
    ให้ชาวโลกเค้าได้รับรู้ว่า ฉลาดน้อยจริงๆ
    แบบไม่รู้ตัวในอนาคตนะครับ...




    กิริยาอย่าง ช ข้างบน ในข้อ แรก...จริงๆพื้นฐานมากๆ
    ป่านนั้นอ้างว่าเรียน......... ขำกลิ้ง
    ถ้าจิตเข้าใจเรื่องสรีระได้จริงๆ
    ดังที่ตาเห็น หรือสภาวะจิตเข้าถึงได้
    ป่านนี้ไม่ติดเพียงแค่กิริยา
    พื้นๆระดับไม่เกินปฐมฌานหรอกครับ
    ที่จิตตนเองเข้าใจ มันแค่เป็นปัญญาทางสมมุติเท่านั้น

    และกิริยาหมุนๆเป็นกิริยาที่เกิดขึ้นได้ระหว่างทางปกติ
    ในระดับสมาธิไม่เกินปฐมฌาน
    เป็นหนึ่งในกิริยาที่ทางตำราเรียกว่า ปิติ
    นอกจาก ตัวใหญ่ ลอยได้ ตัวโยกได้ ฯลฯ
    ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นได้ ร้อยแปดพันเก้ากิริยา...
    ถ้าหากว่า จิตยังอยู่ในสภาวะนี้อยู่
    แสดงว่า จิตยังไม่นิ่ง ไม่ว่าง เพราะมันเกิดอยู่
    มันสร้างสภาวะบางอย่างอยู่
    ดังนั้น ต่อให้พิจารณาอะไรไปก็ไม่ได้ผล
    เสียเวลาเฉยๆครับ เพราะไม่มีผลอะไร
    ต่อการพัฒนาจิตเลย....

    นอกจากว่า ไม่ว่าจะเกิดกิริยาอะไรก็ตาม
    ให้ปล่อยมันไปให้สุดๆไปเลย รับประกันได้
    ว่าไม่ตายแน่นอน ยกเว้นละเมอไปโดดหน้าต่าง
    โดดหน้าฝา ตรงนี้ช่วยไม่ได้ครับ....

    และถ้าผ่านกิริยานี้ไปได้ ต่อไปจิตจะเป็นกลางได้เอง
    ซึ่งจะมีกิริยา ที่จิตรู้สึก โปร่งๆ โล่งๆ คลาย
    และจะรู้สึกเย็นไม่มากร่วมด้วยเล็กน้อย....

    ถึงจะพิจารณาได้ครับ..........แต่ถ้าไม่วางอารมย์ไว้ก่อน
    ก็รับประกันได้อีกว่า....ไม่ว่าจะนึกพิจารณาเรื่องอะไรก็ตามได้
    ในขณะนั้น จะเป็นเพียงแค่วิปัสสนึก พิจารณาไป
    ก็ไม่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพจิตครับ
    (พูดง่าย ฝึกไป๑๐ ยี่สิบปีก็ไม่ได้ผลครับ
    นอกจากจะหลงตัวเองเล่นๆไปวันๆ)

    ขยายความคำว่า วางอารมย์ไว้ก่อน
    คือ การรู้ว่าเราจะต้องพิจารณาอะไร
    คือเราพลาดเรื่องอะไร และเราจะรู้ได้
    ด้วยกำลังสติทางธรรมของเราเองว่าเราพลาดอะไร
    กิเลสตัวไหนที่เราพลาด อย่าง ช ใน บทความข้างบน
    คือพลาดเรื่อง โทสะ ให้ระลึกไว้ว่า วันนี้เราพลาดเรื่องนี้นะ
    คือสติ พอให้ ช ผู้นี้รู้ว่า เอ่อวันนี้มีหลุดบ้างอะไรบ้างนั่นหละ
    แต่ยังไม่รู้จักวางอารมย์เรื่องนี้ไว้....

    การวางอารมย์คือ รู้ว่าเรื่องนี้พลาด แล้วก็ให้ลืมๆมันไปซะ...
    เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น.....

    และพอผ่านกิริยา ปิติได้แบบสุดๆแล้ว หลังจากที่จิต
    มันวางได้แล้ว เรื่องที่วางอารมย์ไว้ มันจะผุดขึ้นมาได้
    ของมันเองครับ ย้ำว่าขึ้นมาได้ของมันเองอัตโนมัติ
    ถ้าวางอารมย์ได้กี่เรื่อง มันก็จะขึ้นมาเองตามลำดับ
    มาตรงนี้ได้ มันถึงจะเป็นวิปัสสนาครับ...

    ทำทำอยู่ถือว่า จิตยกตัวเองขึ้นมาพิจารณาเอง
    ยังถือว่าเป็นวิปัสสนึกครับ....


    ข้อ ๒ วิปัสสนาเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้จิตมันยึด
    ทุกอย่างมีเกิดดับนะใช่ ปัญหาคือมันมาจากตัวจิต
    จริงๆ หรือมันมาจากความรู้จากทางโลกที่ได้ยิน
    ได้ฟังได้รับรู้มา...ตัวสติทางธรรม ทำให้รู้ทันเท่านั้น
    ตัวปัญญาทางธรรม ทำให้ตัดเรื่องราวนั้นๆได้เท่านั้น
    แต่มันยังไม่เพียงพอที่จะทำให้จิตมัน ละ มันคลาย
    ได้จริงๆหรอกครับ ถ้าหากว่า ยังไม่รู้ตนตอหรือสาเหตุ
    ของการเกิด ไม่รู้ว่ามันเกิดเพราะอะไร
    ไม่รู้ว่ามันดับเพราะอะไร หรือไม่รู้ว่ามันดับไปตอนไหน

    อย่าง ช เจ้าปัญหาข้าง บน แค่พอสติรู้อารมย์ที่เกิดเฉยๆ
    แต่ผลของอารมย์ยังมีอยู่ และก็พอสติรู้ทันก็ข่มไว้ ห้ามไว้
    ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติธรรมดา ของคนที่เจริญสติในชีวิตประจำวัน
    จะทำได้ถ้าฝึกเพียงในเวลาไม่กี่วัน กิริยาเท่านี้
    เป็นกันได้ปกติสำหรับมนุษย์ ที่ฝึกเจริญสติทั่วโลกครับ...
    ไม่ได้มีอะไรเลยยยย

    ถ้าจะแก้ อันดับแรก ให้สงบปากสงบคำไว้ซะ
    แล้วอย่าไปเผลอคุยอวดฉลาดว่า ตนเรียนโน้นนี่มา อายแทน
    โน้นให้ไปฝึกเจริญสติให้มันต่อเนื่องกว่านี้อีก....
    จนกว่าตัวจิต จะแยกรูปธรรม แยกนามธรรมได้ก่อนโน้น
    ถึงจะเข้าใจ กริยาของจิต เข้าใจว่าอะไรคือความคิดจากสมอง
    อะไรคือความคิดที่ผุดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ...

    มีสติทางธรรมตรงนี้ก่อน เห็นที่บอกข้างบนแยกกันเป็นส่วนๆก่อน
    อย่างชัดเจน ถึงจะเข้าใจกิริยาที่จิตเป็นกลาง(คือไม่ปรุงร่วมกับอะไร). ถึงค่อยมาพูดเรื่องวิปัสสนา ไม่งั้น ๒๐ ปีฝึกไปเสียเวลา

    จิตมันถึงจะรู้จักคำว่า พิจารณา
    คือจะพิจาณาอะไร ก็ปล่อยให้จิตว่างรับรู้อยู่อย่างนั้น
    แยกรูปธรรมไม่ได้ แยกนามธรรมไม่ได้
    ไม่รู้กิริยาของจิตเป็นกลาง ไม่รู้อะไรคือความคิด
    อะไรเป็นความคิดที่ผุดไม่ได้ตั้งใจที่มันเป็นเรื่องราวในอดีต
    แล้วมันจะไปวิปัสสนาได้อย่างไรหละครับ ชาตินี้...

    แยกได้แล้ว พอมีข้างบนแล้ว
    ค่อยมาฝึกเพิ่มกำลังสติทางธรรม
    ให้รู้ว่า มันเกิดตอนไหน มันดับตอนไหน
    ให้รู้ว่ามันเกิดเพราะอะไร ดับเพราะอะไรก่อน

    จิตถึงจะเริ่ม เกิดเป็นปัญญาญาน
    ที่ไม่ใช่รู้แบบทางโลกๆว่ามีเกิดมีดับ(มันเกิดดับทุกวันอยู่แล้ว
    วันละหลายพันรอบไม่แปลก พูดเพื่อ?)
    จิตถึงจะเริ่มรู้ ถึงสาเหตุของการเกิดสิ่งนั้นๆ
    จิตถึงจะเริ่มรู้ว่า มันเกิดเพราะอะไร มันดับเพราะอะไร
    หลังจากนั้นจิตถึงจะเห็นว่า มันเกิดดับเป็นปกติ
    เมื่อเห็นว่าเกิดดับเป็นปกติ บ่อยๆ
    จนจิตเกิดเวทนาขึ้นโน้นหละ

    จิตมันถึงจะรู้ว่าการเกิดเป็นทุกข์
    จิตมันถึงจะไม่ยากเกิด
    ในเวลาปกติ จิตมันถึงจะคลายตัวเองได้
    แม้ว่า อยู่ในสภาวะแวดล้อมปกติ ทางโลก...

    พวกนี้ มันมีลำดับ มีขั้นมีตอน อย่าไปยึดตำรา
    ไปอ่านตำรามาก ให้ทิ้งให้หมด แล้วปฏิบัติเอา
    ให้เข้าถึง พูดให้น้อย วิจารณ์ให้น้อยถ้าปฏิบัติ
    ยังเข้าไม่ถึง จะทำให้พัฒนาได้เร็วไปได้เร็วครับ

    ปล.กิริยา ช ข้างบน ทางปฏิบัติเรียกว่า
    ยังไม่ได้เริ่มคลานเลย คือยังเดินปัญญาไม่ได้เลย
    ..แต่พูดเหมือนตัวเอง
    เก่งมาก. ปลาตายน้ำตื่น...

    ได้อ่านแล้วก็อย่าเป็นกันนะครับ
    ถือว่า เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งครับ
    อ่านแล้วจบไป..นะครับ
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขอบคุณนะขอรับที่ว่ามา มีอีกด้านหนึ่ง เป็นไงครับ

    แฟนเป็นคนที่เสเพลมาก กินเหล้า แบบว่าไม่ได้เรื่องน่ะค่ะ
    แต่มีหมอดูหลายท่านทักว่าถ้าแฟนได้ศึกษาธรรมะอย่างจริงจังจะบวชไม่สึกตลอดชีวิต
    ตอนแรกดิฉันคบกับแฟนก็ไม่ทราบหรอกนะคะว่ามีหมอดูเคยทักไว้กับพ่อแม่แฟน

    ดิฉันเป็นคนชอบทำบุญทำทาน นั่งสมาธิและสวดมนต์ แฟนก็ทำตามดิฉันเพราะดิฉันบังคับแรกๆเมื่อไม่กี่วันนี้ พาแฟนไปนั่งสมาธิมา (แบบยุบหนอพองหนอ) แค่ไม่กี่ชั่วโมง แฟนดิฉันก็ผิดปกติไปค่ะ

    เค้าตื่นมาจากสมาธิ เค้าถามดิฉันว่า รู้สึกถึงลมหายใจที่ชัดเห็น เค้ารู้สึกว่าส่วนท้องเค้ามันยุบลงไปแค่ไหนอย่างไรเวลาหายใจเข้าออก เวลา เดินจงกรม เค้ารู้สึกถึงเท้าที่ย่ำลงพื้นว่าส่วนไหนที่กระทบพื้นชัดเจน

    เค้าถามดิฉันว่ามันคืออะไรดิฉันได้แต่นั่งไม่เคยเป็นแบบนี้เลยค่ะ

    กลับมาจากวัดเค้าพูดว่า เค้าสดชื่น จับพวงมาลัยรถรู้ว่า มือเค้าจับพวงมาลัย รู้สึกชัดเจนมากๆ มีสติ
    เค้าบอกเค้าเข้าใจถึงคำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานว่ามันมีจริงๆ เหมือนคนใส่เเว่นมัวๆมาแล้วเช็ดจนมันใสชัดเจน

    เค้าพูดแต่เรื่องนั่งสมาธิ กลับมาเค้าไม่ดื่มเหล้า สวดมนต์ นั่งสมาธิ ยิ้ม ใจเย็นและดูจะอิ่มบุญมากมาหลายวันแล้วค่ะ

    ดิฉันดีใจค่ะที่เค้าเป็นแบบนี้ เค้าบอกเค้ากลัวที่ไปสูบบุหรี่ หรือ กินเหล้าอีก ความรู้สึกแบบนี้จะหายไป
    เค้ากำลังเข้าถึงสมาธิใช่ไหมคะ ดิฉันจะพาเค้าไปนั่งบ่อยๆเค้าจะได้เป็นคนดี

    ดิฉันอยากนั่งได้แบบเค้าจังเลยค่ะ ทำมาตั้งนานก็ยังไม่เป็นเหมือนเค้า เค้านั่งแป๊บเดียวเองไม่เคยสนใจเรื่องนี้ด้วย

    มันน่าน้อยใจนัก!!
     

แชร์หน้านี้

Loading...