ฝึกกรรมฐานแบบไหนถึงจะตรงกับเรามากที่สุด โดย หลวงพี่เล็ก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Phanudet, 23 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    [​IMG]



    ถาม : เราจะทราบได้ยังไงว่าเราต้องฝึกกรรมฐานแบบไหนถึงจะตรงกับเรามากที่สุด ? ​

    ตอบ : เอาคู่มือปฏิบัติกรรมฐานบูชาหน้าหิ้งพระเลย จุดธูปอธิษฐานชอบอันไหนเอาอันนั้น ถ้าชอบเยอะก็เอาอันที่ชอบที่สุด เพราะอันที่ชอบที่สุดก็คือ เราเคยทำมามากที่สุดแล้วก็เริ่มลุยเลย ​

    ถาม : ตอนนี้ที่ทำอยู่ก็คือวาโยกสิณ ? ​

    ตอบ : วาโยกสิณ ก็ง่ายดีจับลมหายใจเข้าออกตัวเอง เพียงแต่นึกภาพให้เห็นเท่านั้น ​

    ถาม : แล้วภาพนี่ต้องเป็นภาพเดียวกันตลอดมั้ยคะ ? ​

    ตอบ : ไม่จำเป็น เพราะว่าขึ้นอยู่กับกำลังใจของเรา บางทีมันก็ชัดเจน บางทีมันก็ไม่ชัด บางทีก็มัว บางทีก็ใส ตอนไหนกำลังใจกิเลสเกาะเยอะ มัวๆ ก็ช่างมัน เรามีหน้าที่ประคับประคองไว้ มันจะมั่วก็เอาทั้งมั่ว นั่นแหละ พอกำลังใจทรงตัวมันก็ดีขึ้นเอง​

    เรื่องของกสิณเรื่องเป็นเรื่องของคนที่ฝึกแรกเริ่ม มโนมยิทธิข้ามมาถึงตรงจุดนี้ใช้ผลของกสิณแล้ว กสิณทั้งหมดมันก็กลายเป็นของเด็กเล่นไปคือ เรารู้จักนิพพานแล้วมันก็ผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว ไม่ต้องไปเล่นของเด็กๆ เกาะนิพพานเอาไว้ดีกว่า

    ถาม : จะไปฝึกเขาบอกว่าไม่ต้องฝึก ? ​

    ตอบ : ไม่ต้องหรอก อาตมาก็ยืนยันว่าไม่ต้อง ถ้าหากว่าเราทำกำลังใจของเราในด้านมโนมยิทธิไปเรื่อย เกาะพระไปเรื่อยๆ เดี๋ยวพอเวลากำลังใจมันทรงตัวของเก่ามันมาทั้งหมดเอง ตอนนี้ที่เราไม่สามารถจะใช้อภิญญาเต็มที่ได้ทั้งๆ ที่อดีตเราเคยทำมาแล้วเพราะว่า เรายังไม่ยอมรับกฎของกรรมอย่างจริงจัง อภิญญานี่ถ้าเต็มสภาพเต็มกำลังของมันนี่มันฝืนกฎของกรรมได้ เห็นคนเจ็บไข้ได้ป่วยมาคิดให้เขาหายเขาก็หาย เห็นคนเป็นง่อยมา แขนขาดขาขาด คิดให้เขามีแขนมีขาให้มันหายง่อยมันหายเดี๋ยวนั้นเลย เพราะเป็นการอธิษฐานอำนาจของกสิณโดยเฉพาะธาตุ ๔ ​

    คราวนี้พวกเราถ้าไม่ยอมรับกฎของกรรม เห็นปั๊บสงสารช่วยเขา จะทำเอากฎของกรรมอลเวงไปหมด เพราะว่าเราลืมดูไปว่าเขาเป็นอย่างนั้น เพราะอดีตทำอะไรมา เขาก็มีกรรมที่จำเป็นที่เขาจะต้องรับ ดังนั้นว่า ถ้าตราบใดที่เรายังไม่ยอมรับกฎของกรรมอย่างจริงจังนี่ โอกาสจะใช้อำนาจอภิญญาได้เต็มที่อย่างอภิญญาใหญ่นั้นอย่าหวังเลย โดนล๊อคหมด จะได้โล่งใจซะที ไม่งั้นมัวจะคิดอยู่นั่นล่ะ เอ๊ะ...ทำได้ขนาดนี้อภิญญาไม่เกิดซะที เกิดเมื่อไหร่บรรลัยเมื่อนั้นล่ะ โดยเฉพาะพวกเรา พวกเรามันเชื้อสายพุทธภูมิเก่า พุทธภูมิคือผู้ที่ตั้งใจจะเป็นพระพุทธเจ้า คนที่ตั้งใจจะเป็นพระพุทธเจ้านี่ คนอื่นลำบากแค่ไหนตัวเองก็ยอมช่วยเขา ช่วยเขาโดยไม่เห็นแก่ความลำบากของตัวเอง​

    ในเมื่อทำในลักษณะนั้นมันจะเผลอไปฝืนกฎของกรรม ลองดูซิพอได้แล้วลองไปช่วยใครเข้าซักยกหนึ่งซิเดี๋ยวมันก็เสื่อม นี่ไม่ใช่กำลังใจเราเสียเอง บางทีท่านตัดผลมันไปดื้อๆ ต่อให้จับภาพกสิณได้ชัดเจนแจ่มใสโตเต็มฟ้าเลย ขยายให้ใหญ่ก็ได้ ให้เล็กก็ได้ ให้มาเมื่อไหร่ก็ได้ ให้หายไปเมื่อไหร่ก็ได้ ใช้อะไรไม่ได้หรอก ถ้าหากไปฝืนกฎของกรรม ​

    ถาม : หมายความว่าต้องมีกำลังใจมั่นคงใช่มั้ยคะ ? ​

    ตอบ : ถ้ากำลังใจไม่มั่นคงนี่ไม่ได้รับประทานหรอก ถ้ายิ่งปฏิสัมภิทาญาณ นี่ยิ่งหนักเลย เพราะว่าอำนาจของปฏิสัมภิทาญาณนี่ สามารถคุมได้ทั้งสุกขวิปัสสโก คือผู้ที่ปฏิบัติเรียบๆ แล้วบรรลุมรรคผลไป เตวิชโช คืิอผู้ที่ปฏิบัติแล้วมีความสามารถพิเศษ ๓ อย่าง ฉฬภิญโญ คือผู้ที่ปฏิบัติแล้วได้อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทาญาณจะคลุมได้หมด ความสามารถเหมือนเขาหมด เก่งกว่าเขาด้วย แล้วมีความสามารถเหนือขึ้นไปอีก ๔ อย่างคือ ธัมมาปฏิปทาสัมภิทา คือรู้เหตุทุกอย่าง อัตถปฏิสัมภิทา รู้ผลทุกอย่าง แล้วก็ ปฏิภาณปฏิสัมภิทามีปฏิภาณว่องไวมากไม่ว่าใครเขาจะไล่ต้อนจะถามท่าไหนไม่เคยจนแต้ม นิรุกติปฏิสัมภิทา รู้ทุกภาษาทั้งในโลกนี้และโลกอื่น​

    เพราะฉะนั้นว่ายิ่งมาก็ยิ่งใช้ยากขึ้นๆ น่ะ แต่ถ้าเรารู้จักควบคุมกำลังใจของเราให้ยอมรับกฎของกรรมมันก็จะใช้ได้บ้างไม่มาก สมัยที่อยู่วัดท่าซุง ครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอริยเจ้าโดยเฉพาะพระอรหันต์วัดท่าซุงนี่ตั้งแต่ตั้งวัดมาสมัยหลวงปู่ใหญ่จนกระทั่งถึงปัจจุบัน สมัยหลวงพ่อเล่ง หลวงพ่อไล้ ยังไม่นับหลวงพ่อของเรามีพระอรหันต์ต่อเนื่องกันมา ๗๒ องค์ด้วยกัน ระยะเวลา ๒๐๐ กว่าปีมีพระอรหันต์ต่อเนื่องกันมา ๗๒ องค์ไม่เคยขาดเลย ​

    ในเมื่อเป็นในลักษณะดังนี้เวลาพระปฏิบัติก็จะมีท่านทั้งหลายเหล่านี้มาช่วย อย่างของอาตมานี่ หลวงปู่ขนมจีน ท่านคุมแจเลย เพราะว่าโดนท่านเฉ่งก่อนถือว่าเป็นลูกคนโต ท่านเลยตามเฆี่ยนตามตีตลอด เมื่อฝึกมโนมยิทธิก็ดี ฝึกกรรมฐานอื่นๆ ก็ดี เสร็จแล้วเราจะไปคุยผลกัน ​





    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนมีนาคม ๒๕๔๕
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

     

แชร์หน้านี้

Loading...