พระสารีบุตร "ไม่เชื่อใคร" และ พระอานนท์ "ไม่เห็นด้วยกับใคร"

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย pantham phuakph, 17 มิถุนายน 2010.

  1. pantham phuakph

    pantham phuakph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +444
    เมื่อ “พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า” และ “พระอานนท์ไม่เห็นด้วยกับพระเถระทั้งหลาย”
    <!--[endif]-->
    <!--[endif]-->
    [​IMG]

    พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม(มหามกุฏฯ)
    พระ ไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    ปุ พพโกฏฐกสูตร


    พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า
    [๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น
    แล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า

    [๙๘๔] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
    แล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
    ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็น
    ที่ สุด.

    [๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่
    ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคว่า
    สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
    มาก แล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด

    ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น

    ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด

    ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา
    ชนเหล่านั้นหมด ความเคลือบแคลงสงสัย

    ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้วพิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา

    ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่าสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

    [๙๘๖] พ. ดีละๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ
    ไม่ กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น
    ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่ง
    ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แล อมตะนั้น

    ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้วทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา

    ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรียอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

    จบ สูตรที่ ๔

    ที่มา
    เนื้อความพระ ไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๕๗๖๗ - ๕๗๙๖. หน้าที่ ๒๔๐ - ๒๔๑.
    ����ûԮ������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ������� ��
    ศึกษา อรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    ��ö��� �ѧ�ص��ԡ�� ��������ä �Թ�����ѧ�ص�� �����ä��� � �. �ؾ�⡯���ٵ� ˹�ҵ�ҧ��� � � �

    ---------------------------------------------------------


    [​IMG]

    พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม (มหามกุฏฯ)
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
    จุลวรรค ภาค ๒


    ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์
    [๖๒๒] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า
    ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านไม่ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็สิกขาบท
    เหล่า ไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย นี่เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ
    ทุก กฏนั้น

    ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เพราะระลึกไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงมิได้
    ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบท
    เล็กน้อย

    ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ไม่ได้ทูลถามนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อ
    ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น

    พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านเหยียบผ้าวัสสิก-
    *สาฎก ของพระผู้มีพระภาคเย็บ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ
    ทุก กฏนั้น

    ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าเหยียบผ้าวัสสิกสาฎกของ
    พระผู้มีพระภาคเย็บโดยมิได้เคารพก็หามิได้

    ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่เหยียบนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย
    ข้าพเจ้า ยอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น


    พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านให้มาตุคามถวาย
    บังคม พระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเปื้อนน้ำตา
    ของ พวกนางผู้ร้องไห้อยู่ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ
    ทุก กฏนั้น

    ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคิดว่ามาตุคามเหล่านี้อย่าได้
    อยู่จนเวลาพลบค่ำ จึงให้พวกมาตุคามถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน

    ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ให้มาตุคามถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัตินั้น

    พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่เมื่อพระผู้มีพระภาค
    ทรง ทำนิมิตอันหยาบ กระทำโอภาสอันหยาบอยู่ ท่านไม่ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาค
    ว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงดำรงอยู่ ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่
    ตลอด กัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์
    สัตว์ โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์
    ทั้ง หลาย แม้นี้ ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น

    ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกมารดลใจ จึงไม่ได้ทูล
    อ้อน วอนพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระ-
    *สุคต จงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก
    เพื่อ อนุเคราะห์แก่สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา
    และ มนุษย์ทั้งหลาย

    ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย
    ข้าพเจ้า ยอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น


    พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านได้ทำการขวนขวาย
    ให้ มาตุคามบวชในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว แม้นี้ก็เป็น
    อาบัติ ทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น

    ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทำการขวนขวายให้มาตุ-
    *คาม บวชในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วด้วยคิดว่าพระนางมหาปชา-
    *บดี โคตมีนี้ เป็นพระเจ้าแม่น้ำของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ประคับประคอง เลี้ยงดู
    ทรง ประทานขีรธาราแก่พระผู้มีพระภาคเมื่อพระพุทธมารดาทิวงคต ได้ยังพระ-
    *ผู้ มีพระภาคให้เสวยถัญญธารา

    ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย
    ข้าพเจ้า ยอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น ฯ


    ที่มา
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๗๔๙๒ - ๗๕๓๕. หน้าที่ ๓๑๐ - ๓๑๒.
    ����ûԮ������� � - ����Թ�»Ԯ������� �


    อธิบาย ศัพท์
    ผ้าวัสสิ กสาฎก คือ ผ้าอาบน้ำฝน
    มาตุคาม คือ ผู้หญิง
    ขีรธารา และถัญญธารา หมายถึง หยาดน้ำนม


    ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)
    พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

    ---------------------------------------------------

    ผมนำพระสูตรที่กล่าวว่า “พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า”
    และนำพระวินัย ที่กล่าวถึงการ “ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์”
    มาให้ทุกท่านได้พิจารณา แบบเต็มๆเวอร์ชั่น ไม่มีการตัดต่อ ดัดแปลง
    แก้ไข หรือเรียบเรียงใหม่แต่ประการใด

    จุดประสงค์ก็เพื่อให้เปรียบเทียบ
    ศรัทธาของพระสารีบุตรที่มีต่อพระพุทธเจ้า
    กับศรัทธาของพระอานนท์ที่มีต่อ พระเถระทั้งหลาย

    ถึงตรงนี้ขออนุญาตอธิบายศัพท์สักเล็กน้อย


    ศรัทธา ความเชื่อ, ความเชื่อถือ; ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ดู สัทธา
    สัทธา ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตาม เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา


    ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)



    กรณีของพระสารีบุตร

    พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระพุทธเจ้ายกย่องว่าเป็น “ผู้เลิศด้วยปัญญา”
    พระสารีบุตรอยู่ทิศไหน เหมือนมีพระพุทธเจ้าอยู่ทิศนั้น
    อีกทั้ง พระสารีบุตรยังเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ของพระราหุลอีกด้วย

    พระสูตรที่ผม นำมาให้อ่าน เพื่อนๆสมาชิกอ่านแล้วมีความเห็นอย่างไรครับ
    เหตุใดพระสารี บุตร จึงไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ส่วนตัวผมเห็นว่า
    พระสารีบุตรมีจริตที่ไม่ เชื่อใครง่ายๆชอบพิสูจน์ค้นคว้า ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีปัญญามาก
    ไม่ ใช่ว่าพระสารีบุตรจะไม่เคารพพระพุทธเจ้า ท่านเคารพแน่นอน
    ท่านเคารพในคำ สั่งสอน แต่การที่จะเชื่อนั้น ท่านต้องพิสูจน์ โดยการปฏิบัติให้เห็นแจ้งเสียก่อน
    หลักการอันนี้ตรงกับหลักของกาลามสูตร พอดี ข้อที่ว่า


    มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา)
    ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น


    ถึงตรงผมขอสรุปเลยว่า ศรัทธาของพระสารีบุตรที่มีต่อพระพุทธเจ้านั้น
    เป็นไปโดยการใช้เหตุผล ไตร่ตรอง



    กรณี ของพระอานนท์

    พระอานนท์ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นพหูสูตร(รู้ดีทุกเรื่อง)
    เป็นกำลังสำคัญในการทำปฐมสังคายนาพระ ไตรปิฎก ถ้าไม่มีพระอานนท์
    เราอาจต้องอ่านพระไตรปิฎกของมหายาน

    ใน คราวปฐมสังคายนา พระเถระทั้งหลาย ได้ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์
    จำนวน ๕ ข้อด้วยกัน (ตามรายละเอียดในพระวินัยที่ได้เสนอมาข้างต้น)
    แต่พระอานนท์ ไม่เห็นด้วยเลยสักข้อ ที่ยอมแสดงอาบัติ เพราะศรัทธาในพระเถระทั้งหลาย


    เพื่อนๆ สมาชิกสังเกตไหมว่า เหตุผลที่พระอานนท์ใช้โต้แย้งเป็นเรื่องที่ฟังขึ้น
    เนื่อง จากในช่วงเวลาที่เกิดต่างๆทั้งห้าข้อนั้น พระอานนท์เป็นเพียงโสดาบันธรรมดาๆ
    ที่ ไม่มีอิทธิฤทธิ์ใดๆ บางข้อก็เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุพการี(นางปชาบดีฯ)
    บาง ข้อก็เป็นเรื่องที่คนทั่วไปสมควรทำอย่างยิ่ง

    ถึงแม้พระอานนท์ จะไม่เห็นด้วย และได้แสดงออกมาด้วยวาจาแล้วก็ตาม
    แต่เพราะ ศรัทธา(เชื่อ)ในพระเถระทั้งหลาย ทำให้พระอานนท์ยอมทำตาม

    ผมเห็นว่าศรัทธาของพระอานนท์ที่มี
    ต่อพระเถระทั้งหลาย สามารถลดความขัดแย้งได้
    อีกนัยหนึ่งก้คือ พระอานนท์ อาจจะให้ความเคารพต่อเสียงส่วนใหญ่ก็ได้
    เนื่องจากพระอานนท์เป็นเสียง ข้างน้อย

    แล้วเพื่อนๆมีความเห็นอย่างไรครับ

    เพื่อนร่วมทุกข์ทุกท่านครับ
    เราควรแยกคำว่า “เคารพ” กับ “ศรัทธา” ออกจากกัน
    และหาวิธีเคารพและศรัทธา โดยแยบคาย

    ขอให้ธรรมคุ้มครอง


    คัดลอกมาจาก
    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CUSER%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} a:link, span.MsoHyperlink {color:blue; text-decoration:underline; text-underline:single;} a:visited, span.MsoHyperlinkFollowed {color:purple; text-decoration:underline; text-underline:single;} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->[FONT=&quot]เมื่อ “พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า” และ “พระอานนท์ไม่เห็นด้วยกับพระเถระ"
    www.madchima.org


    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2010
  2. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852

    ผู้มีปัญญา เป็นของตนเองแล้ว อย่างพระสารีบุตรย่อมไม่เชื่อไปเสียทั้งหมด แม้จะเป็นคำตรัสออกมาจากพระพุทธเจ้า

    พระอานนท์ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย จึงยอมละมานะทิฐิ แม้ท่านจะละได้แล้วก็ตาม เป็นแบบอย่างที่ดีผู้มีปัญญา เป็นของตนเองแล้ว ที่ไม่ต่อต้าน เป็นการขุดมูลเหตุของการทะเลาะวิวาทเสียได้ทั้งหมด
     
  3. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ใน คราวปฐมสังคายนา พระเถระทั้งหลาย ได้ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์
    จำนวน ๕ ข้อด้วยกัน (ตามรายละเอียดในพระวินัยที่ได้เสนอมาข้างต้น)
    แต่พระอานนท์ ไม่เห็นด้วยเลยสักข้อ ที่ยอมแสดงอาบัติ เพราะศรัทธาในพระเถระทั้งหลาย

    ที่พระเถระทั้งหลายได้ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์เพราะต้องการให้เป็นตัวอย่างแก่สงฆ์ทั้งหลายต่อไปในอนาคต ว่าต้องเคารพคำตัดสินของคณะสงฆ์ เพราะแม้ขนาดพระอานนท์ ท่านเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า เป็นผู้อุปฐากรับใช้ไกล้ชิดพระพุทธเจ้า(พูดง่ายๆก็คือพระอานนท์เส้นไหญ่) และเรื่องที่ท่านถูกปรับอาบัติ เหตุผลที่พระอานนท์ใช้โต้แย้งก็เป็นเรื่องที่ฟังขึ้น..
    แต่ท่านก็ยังเคารพ ยอมรับการตัดสินของคณะสงฆ์ก็เพื่อเป็นตัวอย่าง
    เป็นบรรทัดฐานแสดงให้เห็นว่าต้องเคารพคณะสงฆ์เป็นสำคัญ อันที่จริงแม้คณะพระเถระที่ปรับอาบัติพระอานนท์ท่านก็รู้ว่าเรื่องที่ปรับอาบัติพระอานนท์นั้นก็ไม่ได้เป็นเหตุให้ต้องพระอานนท์ต้องแสดงอาบัติเลย
    แต่ที่ต้องปรับอาบัติพระอานนท์นั้นก็เพราะว่าต้องการให้เป็นตัวอย่างแก่สงฆ์ทั้งหลายต่อไป
    เป็นพระอรหันต์กันทั้งหมดแล้ว พระอรหันต์ ยังต้องอาบัติอีกหรือไม่
     
  4. pantham phuakph

    pantham phuakph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +444
    แสดงธรรมได้น่าฟัง :cool:;ปรบมือ ขออนุโมทนา
     
  5. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ขยายความ พระอานนท์ได้เป็นแบบอย่างดีเลิศในการที่ไม่มีทิฐิมานะ ท่านยอมรับความเห็นของสงฆ์ส่วนรวม ทั้ง ๆ ที่ท่านไม่เห็นว่าจะเป็นความผิด แต่เมื่อเป็นมติสงฆ์ส่วนรวมท่านก็ยอมปลงอาบัติ
    ชาวพุทธทั้งหลาย ถ้าถือเอาแบบท่านพระอานนท์เป็นตัวอย่าง ความวุ่นวายในหมู่คณะก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
     
  6. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    "ศรัทธาของพระสารีบุตรที่มีต่อพระพุทธเจ้านั้นเป็นไปโดยการใช้เหตุผลไตร่ตรอง "

    "เราควรแยกคำว่า “เคารพ” กับ “ศรัทธา” ออกจากกัน
    และหาวิธีเคารพและศรัทธา โดยแยบคาย"


    กราบอนุโมทนาเป็นอย่างสูงค่ะ
     
  7. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ขอบคุณค่ะ..................
     
  8. พระปิยสีโร

    พระปิยสีโร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +59
    เฉพาะเรื่อง ต้องอาบัติ ของพระอรหันต์ เท่านั้น

    เคยฟังนิทาน (จำชื่อไม่ได้)

    เรื่องพระอรหันต์ นั่งเรือในทะเล ไหม

    เกิดหิวจนอดทนไม่ได้ ในเวลาเลยเที่ยงวันไปแล้ว

    ได้เอาตะไคร้น้ำ ขึ้นมาฉัน เพื่อประทังความหิว

    และแล้วก็ลืมปลงอาบัติจนถึงวาระสุดท้ายในชีวิต

    นึกขึ้นได้ว่ามิได้ปลงอาบัติ ที่ตนได้ต้องไปแล้วในครั้งนั้น แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้

    สุดท้าย ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิด มาชดใช้กรรม นั้นไม่รู้กี่ร้อยชาติ


    สุดท้าย พระอรหันต์ ยังต้องอาบัติอีกหรือไม่ โปรดตรองกันดูเองเถิด


    ไม่ได้โต้แย้งกับผู้ใด เพียงแต่เอาเรื่องที่เคยสดับรับรู้มา ให้ได้ลองตรองดู


    จักเป็นประโยชน์กว่า หากเราระดมสติปัญญา เพื่อความรู้

    มิใช่โต้เถียงกัน เพื่อใครถูก ผิด

    เจริญพร
     
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    สัทธินทรีย์ การประคองน้อมใจระวังกิเลสทั้งปวง ด้วยอบรมเจริญปัญญาเพื่อบรรลุมรรคผล

    [​IMG]


    ธรรมสวัสดี :) อนุโมทนา สาธุการค่ะ

    ด้วยเหตุ ธรรมจัดสรรได้ฟังเทศนาธรรมเรื่อง "อมตะธรรม" จึงสนใจค้นหาพระสูตรเกี่ยวเนื่องเพื่อศึกษา ทำความเข้าใจเรื่องความละเอียดของ หลักธรรมอินทรีย์ ๕ แล้วนำมาอ่าน ตั้งใจเป็นธรรมทาน เพื่อท่านผู้อื่นได้ศึกษาบ้าง ...เจริญพระธรรมด้วยกันนะคะ สาธุค่ะ :)

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1463946/[/MUSIC]​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2011
  10. อาโลกธรรม

    อาโลกธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +138
    อนุโมทนาด้วยครับ ขอให้เจริญในธรรมะ ยิ่งๆขึ้นไป จนถึงที่สุดแห่งการดับทุกข์ครับ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...