เคล็ดวิชาดูจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 8 กันยายน 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    เคล็ดวิชาดูจิต
    ให้รู้สิ่งที่ปรากฎด้วยจิตที่เป็นกลาง.....คุณสันตินันท์



    จิตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส

    เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ

    ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด

    พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ
    23 ก.ค. 2549

    สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน

    การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง
    22 ต.ค. 2548

    การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ

    สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิด

    พอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา
    4 พ.ค. 2548

    ทางลัด

    จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเอง

    หากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทาง ของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้ การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเอง

    เช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุด การปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคม

    หากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน
    4 ธ.ค. 2544

    ของฝากจากสวนโพธิ์

    1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง
    2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น
    3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ
    4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน
    29 พ.ย. 2544

    แก่นสารของการปฏิบัติธรรม

    การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้

    จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว
    29 พ.ค. 2544

    รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้

    "รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเอง

    ที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ"
    หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ
    30 มิ.ย. 2543

    ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม

    (1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ
    (2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า
    (3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง
    (4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก
    (5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ
    9 พ.ย. 2543

    วันวานที่ผ่านมา

    วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีก

    ผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัว

    ดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
    18 ธ.ค. 2543

    http://larndham.net/index.php?showtopic=26782
     
  2. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    จิต ที่ไม่ถูกปรุงแต่งจากภายในตัว (อนุสัย) และจากสิ่งยั่วยุภายนอก (อายตนะ) จิตนั้นก็ผ่องใส ลัดขั้นตอนง่าย ๆ คือ
    1.สงบจิตให้มีความผ่องใส (ทรงอารมณ์) ประคองอยู่อย่างนั้นให้นานเท่านาน ตลอดทั้งวัน
    2.ระวังความคิด อย่าให้สอดส่ายไปในอารมณ์อดีต - อนาคต
    3.มีสติตั้งมั่น

    เท่านี้ท่านก็จะได้พบความสงบ และเป็นสุขได้ เมื่อจะพิจารณาธรรมใด ขอให้เป็นเรื่องสติปัญญาในทางที่จะพ้นไปจากความทุกข์ให้ได้ สิ่งที่ยากก็คือ วิถีการดำเนินชีวิตในประจำวันของเราไม่เอื้ออำนวยให้เราทรงอารมณ์อย่างนี้ได้ตลอดไปทุกขณะจิต แต่มิใช่ปัญหาที่แก้ไม่ได้ ถ้าวิธีการนี้คือ ทาง

    เราก็ต้องเดินไปเรื่อย ๆ สักวันหนึ่งคงถึงที่หมาย ขออย่าแวะข้างทางบ่อยนัก มันจะทำให้ช้า หรืออาจติดจนไม่อยากไปต่อ ขอให้มีกุศลกรรมบทเป็นเกราะป้องกัน ไม่สร้างเหตุให้เกิดปัญหาใหม่ การเดินทางก็เร็วขึ้น เมื่อท่านเข้าใจ (มีเป้าหมาย) ก็จะสร้างวิถีชีวิตของตนเอง (การปฏิบัติ) เพื่อบรรลุสู่เป้าหมาย ดังกล่าว.
     
  3. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    การดูจิตหรือการมาทางสายสุขวิปัสโก......ทางครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านยกไว้ว่าใช้ปัญญามากแสดงว่าเป็นผู้มีปัญญามาก....หากการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับบางท่านที่การงานไม่ยุ่งต้องพูดคนนั้นติดต่อคนนี้และอาศัยความคล่องตัวมากๆหากยึดอุปจารสมาธิได้มากที่สุดในตลอดทั้งวัน......คือมีสติหรือตั้งสติครองสติอยู่ปฐมณานอยู่แล้วจะพิจารณาได้ดีมากกับสิ่งที่เกิดและทันเหตุเพราะเราตั้งรับตลอดเวลาด้วยสติระลึกรู้......คำว่ารู้ตัวนี้ผมพิจารณาแล้วไม่เฉยๆ.....มีพระอาจารย์ท่านหนึ่งท่านเน้นคำนี้มากรู้เฉยๆ.....คือรู้แล้วเฉยเสีย....รู้ตามเหตุที่เกิด....รู้จนมันดับแล้วเฉยๆ.....หากจิตรู้เท่าทันมันอย่างที่ผมเรียนเสนอเหตุเกิดยังไม่ทันจะงอกเรารู้แล้วว่ามันจะจบจะดับอย่างไร.....จะดีจะชั่วจะบาปจะบุญ.....ปัญญาจะตามมาเอง....แล้วเฉยๆเสียเพราะมันต้องเป็นไปตามนั้นตามเหตุที่มันเกิดและตามผลที่มันจะตามมาและผลของเหตุต้องเป็นไปอย่างนั้นทุกครั้งหากเกิดเหตุและปัจจัยองค์ประกอบที่เหมือนกันอย่างนี้(คำว่ารู้เฉยๆในทัศนคติส่วนตัวของกระผมเองนะครับ).....แล้วมีอีกคำหนึ่งที่ผมได้มา.....สมมุติบัญัติ.....ท่านเอ่ยไว้บ่อยมาก.....คนปัญญาไม่มากเหมือนกระผมนี่เอาเลยสิ่งที่เรารู้เฉยๆตรงนั้นทุกเหตุที่เกิดแม้ขณะที่ท่านอ่านอยู่นี่มันเป็นสมมุติว่าท่านอ่าน....คือทุกอย่างมันจริงบนไม่จริง.....ที่เรารู้เราเห็นเหตุ.....เหตุนี้มันเกิดมาแล้วและมันต้องมีต่อจากเหตุที่เกิดคือผลของเหตุไปอีกไปจนถึงจบแล้วก็เท่านั้น.....ไม่มีดีไม่มีเลวไม่มีชั่วไม่มีดำไม่มีขาว....มีเพียงมันผ่านมาแล้วมันผ่านไปบางทีมันมาบ่อยๆไปบ่อยๆเราไม่สนใจไม่เห็นมีอะไรมาข้องจิตข้องใจแต่เมื่อใดเราเอาจิตไปสนมันไปเกาะมัน.....เอาแล้วเป็นเรื่อง....ใช่ว่าเรื่องไหนๆก็ไม่เอามาพิจารณา.....ปัญญาจะคิดเองเรื่องใดควรไม่ควร.....ผมสรุปนะครับ......สติมีอยู่แล้วด้วยอุปจารสมาธิทุกขณะพวกเราดูจิตบางครั้งลืมครับกำหนดดูนี่แหละ.....เหตุเจอแล้ว(จะเอามาพิจารณาหรือไม่....หากเอามาก็พิจารณาจนรู้แล้วเฉยๆเสียหากไม่เอามาก็เฉยๆเสีย)และเหตุนี่มันสมมุติ.....ไอ้ที่เราไปกำหนดว่าจริง-เท็จ...ดำ-ขาว....ดี-ชั่วเราไปสมมุติหรือกำหนดมันขึ้นมาเองมันต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้วผ่านมาแล้วผ่านไปๆๆๆๆๆๆๆ.....ความสงบเกิดพอเห็นเหตุมันอาจจะกลัวเรามันแอบย่องๆๆมาเรายิ้มแล้ว....หายสงสัยหรือยังครับคนดูจิตนี่ชอบยิ้ม.....สติ....เหตุ.....สมมุติ....รู้เฉยๆ....ผ่านมาแล้วผ่านไป.....สงบ....แล้วอย่าลืมยิ้มนะครับ...เจริญในธรรมครับ
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อ้าว มะหน่อ ไปทักอย่าลืมยิ้มทำไมอะ

    เลยแหม่งๆ เลย ที่กล่าวมาทั้งหมดดีหมดเลย แต่มาแหม่งๆเอาตอนท้ายจิ๊ดเดียว

    ขออภัยนะ หากทำให้ขัดใจ ตรงอย่าลืมยิ้มนี่ไม่ต้องทัก

    หากจิตมันยิ้มของมัน กายมันยิ้มตามเอง โดยรู้ตัวด้วยนะ

    ไม่ใช่ยิ้มอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว หากยิ้มแบบไม่ได้มาจากจิตมันจะเด๋อๆ

    * * * *

    แต่สำหรับคนที่จิตยังไม่ได้ยิ้มเอง อันนี้ก็ให้เจตนายิ้มไปก่อน ทำใจให้เบิก
    บานนั่นเอง

    * * * *

    แต่ไม่ว่า ยิ้มแบบไหน ก็หมั่นสังเหตดูผู้รับสารแถวๆนั้นด้วย เขาไม่รู้ว่าเรายิ้ม
    ทำไมเดี๋ยวก็คิดร้ายกลายเป็นไปทำให้เขามีอกุศลจิต หากเป็นเขตที่มีสัมมา
    ทิฏฐิก็ยิ้มไปไม่ว่ากัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2008
  5. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ขอบคุณครับท่านนิวรณ์....
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    รูป นาม ก็ต้องเห็นสภาวะต่างๆ ละเอียดขึ้่นไป ก็ต้อง ทำจิตให้นิ่ง ก็ไม่ได้เอาแต่รู้
    สภาวะเห็นการเกิดดับ ต้อง เห็นด้วยญาณ คือ เข้าใจจนอิ่มตัว ในสรรพสิ่งทั้งปวงว่า เกิดดับ คนเราเห็น การเกิด ดับ ก็ยังไม่อิ่ม เรียกว่า กตญาณ ยังไม่เกิด
    นิพพิทาญาณ เกิดขึ้นเนื่องจากเห็นความจริงโดยรอบ ก็ไม่ใช่ เอาแต่รู้ คือ เห็นสัจธรรม จนเกิดความรุ้สึก หน่ายจริงๆ นี่ก็ไม่ได้เอาแต่รู้

    ลำดับแห่งวิปัสสนาญาณ จะต้อง เอาให้เข้าถึงใจ เรียกว่า เห็นตามสภาพความจริง ค้นหาสภาพความจริงโดยรอบ และ ยิ่งกว่านั้น เพื่อให้ จิตยอมรับตามนั้นจริง เรียกว่า
    อริยมรรค

    ทีนี้ คนที่บอกว่า รู้อย่างเดียว แบบนั้นยังไม่ได้อริยมรรค ก็เพราะว่าติดใน อุเบกขา คือรู้แล้วปล่อยไป เท่านั้นพอ เรียกว่า ติด วิปัสสนูกิเลส

    ก็พิจารณากันเอาเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2010
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ใครจะมาบอกว่า ดูเฉยๆ แล้ววางเองอย่าไปเชื่อ

    เพราะว่า ตามธรรมดา จิตนี้ เคยชินมากับ อวิชชา เป็นอสงไขย

    อย่างไรก็ตาม มันจะติดในภพเดิม เช่น คนเคยติด ราคะในอาหาร

    ไหนลองดูเฉยๆ ซิ มีกำลังที่จะถอนอาสวะ ราคะตัวนี้ได้ไหม

    ยิ่งเวลาหิวขึ้นมา มันหลงไหลในอาหาร มันอยากจะกิน

    ทีนี้ คนที่ยังไม่เข้าใจในวิปัสสนาอันแท้จริง ก็บอกว่า มันดับไปเอง นี่เรียกว่า ยังหลง
    เพราะว่า ในอริยมรรค จะต้องเห็นภัย ในภพที่ครองอยู่ แล้วหาวิธีอย่างไรก็ได้ให้หลุึดออกจากภพขณะนั้น ทันที ก็ให้ดูลำดับของจิตที่จะออกจากภพนั้นคือ
    1 เห็นภัย
    2 เกิดความเบื่อหน่ายกับสภาวะที่เป็นเหมือนเดิมอันหาสาระไม่ได้
    3 เดินออก ด้วยปัญญา
    4 วางลง ด้วยปัญญา

    นี่คือ อริยมรรค แต่หากว่า วิปัสสนาที่แท้จริงคือ รู้เฉยๆ นั้น ผิด
    นี่พูดเอาไว้เลยว่า ผิด และ เป็นการดึงคุณธรรมแห่ง วิปัสสนาญาณ ลงเหลือเพียง การรู้เฉย แบบนี้ ทำลาย มรรควิถี ของคนไปมาก ให้ตกอยู่แค่ อุเบกขา อันเป็นคุณธรรมเบื้องต้นเท่านั้น อันไม่ใช่แม้ คุณธรรมในฌาณ 4

    ก็ลองพิจารณาหลายๆ รอบกันหน่อย ว่า อะไรมีเหตุมีผล อย่าให้ความเชื่อ ความเคยชิน และ ผลแห่งความดับไปนิดๆหน่อยๆ หลอกให้เราเชื่อว่า วิธีการนั้น รวมสุดยอด
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    จะเล่านิทานให้ฟัง

    มีผู้หญิงคนหนึ่งบอกว่า อิฉัน นี่เบื่อชีวิตมนุษย์จะแย่แล้ว ขอนิพพานแล้วไม่เอาแล้วไม่มาเกิดแล้ว แต่ ผู้หญิงคนนี้ ยังชอบเพชร พลอย ยังโลภมาก ยังอยากได้เงิน ยังทำอะไรเพื่อตนเองหลายๆ อย่าง ยังชอบทานอาหารอร่อย ยังโมโห ยังเบียดบังคนอื่น
    ก็ ถามว่า อิฉัน คนนี้ เกิดนิพพิทาญาณหรือไม่ เบื่อหน่ายใน วัฎฎะสงสารหรือไม่ นอกจากนี้ อิฉัน คนนี้นะฮะ ยังอัตตามาก เถียงอีกว่า ก็โลภเกิดขึ้น เห็นแล้ว ดับไป มัน
    โทสะ เกิดขึ้นรู้แล้วดับไป ชอบทานอาหารอร่อย กินไปแล้วสักแต่ว่ารู้ แล้วดับไป
    พอเบียดเบียนคนอื่น สักแต่ว่ารู้ แล้วดับไป
    อิฉันคนนี้ สังเกตุได้แค่เพียง เสี้ยวหนึ่งของจิต อีกทั้งโดนมายาหลอกลวงอีกว่า ตนเองนั้นปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง

    นิพพิทาญาณ คือ เดินออกจากความเคยชิน เพราะเห็นภัย เช่นว่า เคยพูดจาไม่ดี ไม่ตรงกับความรู้สึก ก็เห็นภัยว่า นี่มันไม่ดี มันทำให้คลุมเครือ ทั้งคนฟังและเรา และไม่มีประโยชน์ ต่อไปนี้เราจะฝืน เราจะไม่่ปฏิบัติแบบเดิมอีก นี่เรียกว่า มรรค เพราะขัดเกลาให้เข้าสู้ สัมมาวาจา

    แต่ทีนี้ มันจะขัดเกลาได้ มันไม่ใช่ว่าจะเห็นภัยกันได้ง่ายๆ มันต้องเห็น จริงจัง จนใจนี้ เกิดอาการ เกิดความตื่นขึ้นว่า ที่เราทำอยู่นี่มันเป็นภัยต่อตัว ต่อจิตจริงๆ อันจะต้องสังเกตุเห็นความโง่ของตน อย่างแท้จริงแล้ว

    ก็เล่าให้ฟังสำหรับคนดูจิต จะได้ตื่นขึ้นมาหน่อยว่า ยังมีวิถีจิตที่เราต้องขัดเกลา ให้มากอีกเยอะ ตาม อริยมรรคมีองค์แปด นั่นแหละ
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การรู้ ขณะที่จิตออกรู้ หรือ เกิดสภาวะธรรมที่เรียกว่า สงสัย แล้วรู้ทัน จะดีกว่า
    ส่วนเรื่องการภาวนาพุท-โธ จะเป็นเรื่องเด็กเล่น

    คนที่ทำได้ หรือ ยังทำไม่ได้ ก็รู้เข้ามาที่สภาวะ สงสัย ไปตรงๆ คนทำได้มี
    และคนทำได้ทุกคนก็กล่าวว่า ดีกว่า ส่วนอย่างอื่นเป็นเพียงของเล่น

    คนที่ทำได้เขามี......คนที่สอนได้เขาก็มี ...ไม่เรือหายหรอก

    http://203.130.131.118/sound/tmp/sense_outlet.mp3

    จากไฟล์เสียง
    "หลังผู้รู้ คือ ตัวจิต ปึ๊ก!!"

    อธิบาย :
    จิตคือสิ่งที่ถูกรู้ โดยรู้จิตอีกดวงหนึ่งที่อยู่หลังผู้รู้ ผู้รู้ กับ จิตที่ถูกรู้ จึงเป็นคนละดวงกัน
    (พูดออกมาว่า มีหลัง ก็แปลว่า มีหน้า -- ก็เท่ากับ มีหน้า มีหลัง มีจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นดับไป(ผู้รู้ดับ)
    แล้วมีอีกดวง มารู้เห็นดวงที่ดับไปนั้น(จิตบริสุทธิที่กำลังขึ้นวิถีรู้) -- เนียะ การดูจิต ภาษาโบราณ
    ใช้คำว่า กำหนดดูที่จิต -- พระชั้นหลังๆท่านเกรงว่าคนจะไปเผลอใช้เจตนาดู จึงตัดคำว่า
    กำหนดออก เลยเหลือแต่คำว่า ดูจิต ภาษาตามปริยัติใช้คำว่า จิตตานุปัสสนา )
    ซึ่งก็แค่ระลึกสภาวะธรรมที่จิตกำลังคิด รู้ทันสภาวะคิดอันเกิดจากสงสัย ก็เป็นอันใช้ได้
    สามารถเข้าถึงธรรมได้

    ส่วนคนที่ดูจิตออกยังไม่เป็น หรือดูได้ แต่สอนไม่เป็น ก็จะพูดว่า สอนไม่ได้ ทำไม่ได้

    แต่จริงๆ ก็คือ สอนไม่เป็น ไม่ใช่สอนไม่ได้

    * * **

    แต่สำหรับคนที่บอกว่า ใช้แค่รู้ ใช้ไม่ได้ ไม่พอ ก็เรียกว่า ภาวนาไม่เป็นนั้นแหละ

    ถ้ายังขึ้น จิตตานุปัสสานไม่ได้ ไม่รู้ว่าใช้รู้ ก็อย่าไปพูดเลยว่า มีปัญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2010
  10. 1000lert

    1000lert เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +143
    พระที่ท่านเทศน์ท่านพูดอย่างนี้นะ
    "รู้คือออกรู้ หลักผู้รู้คือตัวจิต"

    นิวรณ์นี่...นิสัยจับผิดคนอื่นไม่เคยเปลี่ยน
    เมื่อเห็นจุดที่ตนเองคิดว่าผิดพลาดก็นำมาโจมตี

    จ้องให้ร้ายคนอื่นก็เท่ากับให้ร้ายตนเองนั่นล่ะนิวรณ์
    จำเอาไว้นะ

    เดี๋ยววันนี้จะไปต่างจังหวัดไม่มีเวลาคุยด้วย
    กลับมาพรุ่งนี้จะอธิบายให้ฟังว่า "ปึ้ก" นี่คืออะไร

    ไปธุระต่างจังหวัดก่อน
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    โถ่ คุณ พระท่านพูดคำว่า หลัง แล้วเว้นวรรคให้ฟังอีกนะ เพื่อให้ชัด

    ใครที่เขาหูดีๆ ผมว่า เขาได้ยินกันนะว่า พระท่านพูดคำว่า หลัง.....ง

    * * * *

    แล้วในนี้ มีการกล่าวว่าร้ายใครเหรอ ผมยังไม่เห็นว่า มีการกล่าวว่าร้าย
    ใครเลย แค่บอกว่า "ผู้รู้จริงเขามี" ซึ่งก็เป็นคำที่หลวงตาพูดกับพระ
    นั่นแหละ

    แล้วที่พระท่านบอกว่า พระท่านไม่ได้ใช้พุทโธเลยนะ ไม่ได้ใช้อะไรเลย(ว่างๆ ๆ )

    ก็การภาวนาแบบไม่ได้ใช้อะไรเลยที่พระท่านทำได้นั่นแหละ ที่พระอีกท่าน
    เขาสอนให้คนเป็นหมื่นๆ นับไม่ได้แล้วมั้ง ให้เขาภาวนาได้แบบนั้น แบบที่
    พระท่านนั้นใช้ทำแทนการพุทโธ....

    คนที่เขาฟังธรรมได้ ฟังเป็นหนะ เขาฟังไม่กี่ที ก็ภาวนาแบบไม่ใช้อะไรเลย
    แบบหลวงพ่อท่านนี้บอกนี่แหละ ดังนั้นก็อย่าไปแปลกใจเลยที่เขาจะไม่
    ไปใช้ภาวนาพุทโธอีก ก็ทำแบบหลวงพ่อเจ้าของเสียงนั่นแหละ ต่อยอด
    เข้าทางไปเลย ติดค่อยว่ากันไป เพราะได้ตรงนี้ ก็ยังอีกไกล ยังอีกไกล
    นะถึงจะพูดได้ว่า มีปัญญา หมายถึงคนที่กำลังต่อยอดนะ ไมได้หมาย
    ถึงพระท่าน เพราะพระท่านที่สอนพุทโธ ท่านกล่าวงานของท่านจบแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2010
  12. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ถ้าคนที่เค้าชำนาญในวสีแล้ว เค้ากำหนดหรือน้อมก็เข้าถึงสภาวะได้ สลัดอารมณ์ก็หลุดแล้ว

    แต่ถ้าผู้ไม่เคยรู้จักสภาวะนั้นหละ จะสอนอย่างไร
    ใจคนที่มีหลักกับ คนที่ไม่มีหลักของใจมันต่างห่างกันไกล

    แค่อารมณ์ที่ถูกรู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ แยกสองสิ่งนี้ออกจากกันมันไม่ง่าย จิตตั้งมั่นแยกขาดจากอารมณ์ ไม่ง่าย
    ส่วนใหญ่ที่ทำได้มันก็ติดอยู่ในสัญญาอารมณ์ทั้งนั้น
    คนที่แม่นแล้วชำนาญแยกออกหลุดร่อนจากอารมณ์แล้วก็ มันง่ายอย่างนั้นได้
    แต่คนที่ยังไม่เคยแยกอารมณ์ที่ถูกรู้กับสิ่งที่รู้อารมณ์ได้หละ ชิป...???
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ถูกต้องแล้ว ท่านเสขะ

    มีแต่พรานที่ยังไม่ชำนาญป่า เท่านั้นที่จะดูถูกว่าป่านี้ ไม่มีอะไร
    แต่พรานที่ชำนาญป่า ย่อมระแวดระวังภัยทุกด้าน

    เช่นเดียวกัน ครูบาอาจารย์ที่ชำนาญทางแล้ว ย่อมไม่ประมาท ในสิ่งเล็กน้อย
    แต่ คนประมาทมักจะมองข้าม
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    พระที่เขาชำนาญแล้ว เขาก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ชำนาญแล้วก็ยังไม่สุด

    พอสงสัย ก็เที่ยวออกธุดงค์

    ออกธุดงค์ก็แล้ว อดอาหารก็แล้ว ตั้งมั่นเด่นดวงก็แล้ว

    ตั้งมั่นแล้ว แล้วนำออกรู้ก็ทำแล้ว แต่ก็ยังไม่สุด

    ทำไมหละ ก็เพราะลืมดู ควรตบหน้าผากเปรี้ยงใหญ่ๆ เพราะลืมดู

    ก็อะไรเล่าที่มันผ่องใสก็แล้ว ฐีติก็แล้ว เอาฐีติออกรู้ก็แล้ว แต่กลับ
    ลืมไปว่า ผ่องใสได้ก็ด้วยอวิชชา ออกรู้ได้ก็ด้วยอวิชชา

    ตบหน้าฝาก เปรี้ยงใหญ่ๆใส่แมลงวัน มันถึงได้รู้ว่า ตั้งก็เพราะอวิชชา
    ออกรู้ออกเห็นก็ด้วยอวิชชา เพราะ อวิชชามันตั้งอยู่ที่จิต ตอนจิตตั้ง
    ก็มีฐีติ มีที่ตั้ง พอนำออกรู้ รู้ไปก็เท่านั้น มีเข้ามีออก ออกจากที่ตั้งไป
    นั่นแหละ ตั้งไว้เด่นดวงนั้นแหละ ที่ลืมดูว่ามันจุดและต่อม แล้วอะไร
    หละที่เป็นที่ตั้งที่แท้

    ก็ระลึกกลับมาดูที่จิตเข้าไปนั่นแหละ ดูจิตนั่นแหละ "มาดูจิตได้ ดูจิต
    ไปเลย(หลวงปู่มั่น)" รู้ทันสงสัยที่พาออกไปลำบาก ไปทุกขาแต่แรก
    ก็ก้าวต่อได้ถูกแล้ว ไม่ต้องออกไปไหน ไม่ต้องอดอะไร แต่ใครจะต้อง
    ออก ต้องอด ก็เป็นเรื่องของคน วาสนามันต่างกัน

    คนเป็นหมื่นเป็นแสนเขาเลยไปไหนถึงไหนแล้ว มัวสาละวนอยู่สัญญาอารมณ์
    หมายมั่นในจิต ก็สาละวนอยู่กับที่ตั้ง เอาแต่ตั้งผู้รู้ ตอนไม่ออกรู้ดันไม่ดู ผู้รู้
    มีออกไปรู้ กลับมีอยู่ ณ ที่ตั้ง ผู้รู้ไม่ได้เกิดตลอดเวลา ลืมเสียสนิท

    พบจิตให้ทำลายจิต(จิตก่อนออกรู้) พบผู้รู้ทำลายผู้รู้(จิตที่ออกรู้) คืออะไร
    ก็ไม่มีวันรู้หลอก

    จิตวางจิต ละจากรู้ ไม่ยึดถือในรู้แม้โดยจิต ตัวเองก็ยังไม่รู้ ทำเป็นพูดว่ารู้การรู้พ้นสัญญา

    คนที่เขาภาวนา ละจากรู้แม้โดยจิต เขายังรู้เลยว่า ยังพ้นสัญญาไปไม่ได้

    แต่พวกยึดอยู่ในการตั้งจิต มีสมาธิแบบมีตั้งมั่น กระโดดเกาะหลัก มีไม่ตั้งมั่น(หลักลอย)
    อวดรู้เสียแล้วว่า รู้สมาธิแบบไม่มีที่ตั้ง(อัปปณิหิตสมาธิ) อวดเสียแล้วว่าปัญญาเกิด
    แล้วขยันยกคำ "รู้พ้นสัญญา" ทั้งๆที่ ยังอีกไกลกว่า ปัญญาจะเกิด ปัญญาเกิดแล้วก็ยัง
    รู้การวางลงอีก ถึงจะเรียกว่า มีปัญญาจริง รู้พ้นสัญญาได้จริง จนพอจะอวดอ้างได้บ้าง

    .......????หาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2010
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    คุณ นิวรณ์ ผมจะบอกอะไรให้ฟัง กรุณาค่อยๆ พินิจพิเคราะห์ให้ดี

    ญาณ ทั้งหมด มี 3 ญาณ

    สัจญาณ กิจญาณ และ กตญาณ

    พูดง่ายๆ ก็คือ

    1 เห็นความจริงจนเกิดความรู้เต็มแล้วว่า ไม่ว่าสิ่งใดๆ ก็มีสัจธรรมแบบนั้นประจักษ์ใจ
    2 ก็เห็น ว่าสัจธรรมแบบนั้นมีอยู่จริงแล้ว เราควรประพฤติตนอย่างไรดี
    3 เมื่อประพฤติตนแล้ว เราได้ผลอะไร มันย่อมรู้ย่อมเห็น

    ทีนี้ ที่ว่า พระต่างๆ ท่านวางลง แล้ว รู้อย่างเดียว ไม่ต้องทำอะไร นั่นเพราะว่า สัจญาณ กิจจญาณ เกิดขึ้นแล้ว ทำให้ใจประจักษ์แล้ว สุดท้าย กตญาณเกิดแล้ว จึงวาง

    คือ จะต้องทำให้ญาณเกิดแล้ว จึงวางลงได้

    ทีนี้ คนทั่วไป ญาณเกิดแล้วหรือ และที่สำคัญ ญาณเหล่านั้น เกิดจากการพินิจพิเคราะห์ จนเต็มภูมิแล้ว วางได้แล้ว เป็นเรื่องของพระอริยะ

    คนทั่วไป อาจจะเข้าใจได้ แต่นั่นเป็นเพียง ทัสนะ หรือ เข้าใจในสัจธรรมอันเป็นที่สุด
    แต่ไม่ได้หมายความว่า จิตใจเขาถูกฟอกชำระให้บริสุทธิ์ไปด้วย

    สันตติบัง สุขเวทนาบัง

    เลิกดื้อได้แล้ว นิวรณ์
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    เรื่อง ปัญญา ญาณ ทั้งสาม นั้น มีในพระอริยะทุกองค์
    คือ รู้ในความจริง รู้ว่าต้องทำอะไร และ รู้ว่าผลนั้นได้อะไร อันตรงเข้าสู่พระนิพพานทุกเป้า

    ดังนั้น ใครที่มีแค่สัจญาณ คือ รู้ตามสภาพความเป็นจริง ก็เรียกว่า ได้เพียงชั้นต้น คือ สัจญาณ คือ เห็นสภาพความเป็นจริงเท่านั้น

    ปัญญา ที่จะบอกว่า ตนเองต้องทำอะไรนั้น ยังไม่ได้
    เพราะว่า ไปติดสัญญา ที่สอนกันมาว่า ไม่ต้องทำอะไร

    ญาณปัญญา ที่รู้ได้ด้วยตนเอง จึงไม่ออกทำงาน เพราะอวิชชามันบัง

    สันทิฎฐิโก ไม่ปรากฎ ในส่วนนี้

    นี่ พูดขนาดนี้แล้ว ไม่ต้องเถียงแล้วนะ นิวรณ์
     
  17. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ยังไม่รู้จักจิตตั้งมั่น ก็ มั่วกันไป
    คนยังไม่รู้ถึงฐีติภูตัง ก็ มั่วไปอีก

    สรุปว่า มั่วไปเรื่อยเลย
    ที่ว่าวางน่ะมันไม่มีตั้งแต่แรกแล้วที่ว่ารู้แล้ววางเพราะมันดับไปตามธรรมชาติของมัน
    แต่ที่มีอยู่ไม่เห็น เลยบอกว่าไม่มี สรุปว่า ไม่ฉลาดแล้วอวดโง่

    อาสวะมีอยู่ อวิชชามีอยู่ไม่เห็น ละแค่สัญญาอารมณ์ที่มันดับไปตามเหตุปัจจัย มันก็คลอดลูกออกหลายมาให้ปัดๆๆๆ มันไปเรื่อย มันก็นั่งปัดไปทุกวี่วัน

    สมาธิมากก็พิจารณาลงไปได้ลึกหน่อยหาต้นตอที่ฝุ่นมันเข้ามา สมาธิมันน้อยก็นั่งปัดขี้ฝุ่นทุกวี่วัน สะอาดๆสบายๆ ยังสกปรกอยู่ไม๊ ยังมีอยู่ไม๊ มี
    ทำไมถึงมี อ้าว ก็ข้าไม่รู้นี่นา มันมีเองโดยอัตโนมัติ รู้เท่าทันปัดออกไปเด๋ยวก็หมดไปเองสะอาดเอง เป็นไปได้ไม๊ ก็คงไม่มั๊ง

    ความคิดโง่ๆส่วนตัว ผิดพลาดไม่ถูกใจใครก็ขอโทษขออภัย เผื่อเป็นแง่คิดมุมมองแปลกๆใหม่ๆโง่ๆให้ใครเอะใจได้บ้าง
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    จะอธิบายให้ฟัง อีกสักหน่อย

    ตามธรรมดา เกิดความรู้ ในความเป็นจริงขึ้นมาว่า สัจธรรมมีเกิดแก่เจ็บตาย

    ยังไม่ถึงใจ ก็พิจารณาไปเห็นรูปนาม ก็เข้าใจแต่ยังไม่ถึงใจ จนพิจารณามากๆ เข้า เกิดซึ้งว่า นี่ อะไรๆ ก็เกิด ดับ แล้วหายไปจริงๆ
    สภาพทุกข์ที่มันตั้งอยู่ในใจเรามันก็จะเป็นเช่นนี้แน่ นี่เรียกว่า สัจญาณเกิด

    จากนั้น จิตจะหาทางว่า แล้ว สภาพทุกข์ที่มันตั้งอยู่ในใจเราตอนนี้ ทำไมมันตั้งอยู่ได้หนอ
    มันต้องมีเหตุที่เป็นเชื้อให้มันตั้ง ก็สอดส่ายหาสมุทัย พิจารณา จนเกิด ญาณรู้ว่า ก็ด้วยความหลงไปนี่เอง หลงนี้คือ ไม่ตื่น ตามๆ กันไป ตามแบบเดิม แบบนี้ เรียกว่า กิจญาณเกิด คือ รู้หนทางว่า มีแต่ทางแบบนี้ เท่านั้น

    จนนำไปสู่ การพิจารณาในวิถีชีวิตทั้งหมด ว่า เราควรมีวิถีชีวิติอย่างไร ที่จะนำไปสู่ นิพพาน อันบริสุทธิ์หมดจรด นี่แหละ เรียกว่า มรรคญาณ ได้เกิดขึ้น และ จะต้องสะสม องค์ความรู้จนเต็ม ไม่ใช่ ว่า มองเฉยๆ แบบที่เข้าใจกัน

    องค์ความรู้ต่างๆ ต้องเกิดเป็น สันทิฎฐิโก เป็นปัจจัตตัง คือ รู้ขึ้นเองในญาณวิถีของตน อันเกิดจาก การปฏิบัติตามแนวทางแห่งพระพุทธองค์วางไว้ให้ ทุกกระเบียด
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    รู้จักจิตตั้งมั่นกันดีนะ ก็ ฉลาดกันไป
    คนที่ขนาดรู้ถึงฐีติภูตัง ก็ ยังฉลาดถามได้อีก

    สรุปว่า ยังรู้ความตามเขาไปได้เรื่อย
    ที่ว่าไม่วางน่ะ มันมีตั้งแต่แรกแล้ว ที่ว่ารู้แล้วไม่ต้องวางเพราะมันตั้งอยู่ตามสำนึกของมัน
    แต่ที่ไม่มีอยู่ยังถามอยู่ แต่บอกว่ามี สรุปว่า ฉลาดแล้วอวดถามหาดี

    อาสวะไม่มีอยู่ อวิชชาไม่มีอยู่ จ้าวรู้จ้าวเห็น ก็แค่สัญญาอารมณ์ที่สดับไปตามเหตุปัจจัย มันก็คลอดลูกออกหลานมาให้เก็บๆๆๆ มันไปเรื่อย มันก็นั่งเก็บไปทุกวี่วัน

    สมาธิมีน้อย กลับพิจารณาได้ลึกถึงขนาดหาต้นตอที่ฝุ่นมันเข้ามาได้ สมาธิมีมากก็เห็นมา
    นั่งเก็บขี้ปากทุกวี่วัน กระจ่างๆสบายๆ ยังสกปรกอยู่ไม๊ ยังมีอยู่ไม๊ มี

    ทำไมถึงมี อ้าว ก็ข้าถามเขาอยู่นี่นา มันไม่มีเองโดยอัตโนมัติ ไม่รู้เท่าทันเก็บ
    เข้าเดี๋ยวก็พูลไปเองสะอาดเอง เป็นไปได้ไม๊ ก็คงได้

    ความคิดโง่ๆส่วนตัว ฉลาดเป็นก็อภัยเป็น เผื่อเป็นแง่คิดมุมมองแปลกๆ ให้ใครเอะใจได้บ้าง
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2010
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    มีใครในโลกนี้ บ้างที่ไม่รู้ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกคนต้องมี

    มีใครในโลกนี้บ้าง ที่ไม่รุ้ว่า โกรธ โลภ หลง เป็นสิ่งไม่ดี

    แค่ รู้ว่า เราโกรธ แล้วดับลง แค่รู้ว่าโลภ แล้วดับลง

    ถามว่า คุณธรรมแค่นี้ ดีใจกัน แทบจะฉลองรอบเมือง ก็กิเลสตนอีกนั่นแหละ ที่มันดีใจ นึกว่าตนรู้มากกว่าคนอื่น

    ถ้ามีปัญญาจริง เขาไม่ได้มองแค่ โกรธ และ โลภ แต่ มันต้องพิจารณาในทุกๆด้าน ว่า ชีวิตเราดำเนินถูกทางหรือยัง ญาณปัญญา ปรากฎกับเราหรือยัง

    ทีนี้ ถ้ามันยังไม่ปรากฎ มันยังพร่องต่อ สมาธิ เราก็ยอมรับสิว่า เราพร่องเรื่องสมาธิ
    หลักใจ ยังไม่ได้ ทำไม่เป็น ก็ต้องเพียร ให้มันมีมันเป็นขึ้นมา

    ทีนี้ ในส่วนของสัจธรรมก็ ต้องศึกษากันไป เจริญ สติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา เจริญศีล จึงจะ พัฒนาบุคคลเข้าสู่ ภูมิที่สูงขึ้น จะไปขาดตัวใดไม่ได้ จะบอกว่าสมาธิเอาแค่ พื้นๆ พอ มันก็ไม่ได้ เพราะว่า ของละเอียดก็ต้องมีสมาธิ ดับนิวรณ์ จนจิตละเอียดจึงจะมองเห็น

    ในส่วนของปัญญา ก็ต้องเห็นละเอียดแล้ว ปัญญาจึงละเอียดตามได้

    ปัญญา ก็คือ มองเห็นตามความจริง จะไปรู้ละเอียดได้อย่างไร ถ้าจิตไม่ละเอียด

    ก็ทั้งหมด ต้องฝึก ต้องศึกษา ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
     

แชร์หน้านี้

Loading...