ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    อยากรู้ตัวว่าตัวเองนั่งสมาธิ หรือปฏิบัติธรรมมาพอสมควรแล้วเจ๋งขนาดไหน ดีเลวประการใด ลองอ่านดู หลวงพ่อฤาษีท่านเทียบเคียงให้เราได้ศึกษากันพอเป็นอุปมา อุปมัย

    หลวงพ่อเล่าเรื่อง เครื่องวัดบารมี

    (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    ทานบารมี

    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้มาเริ่มเรื่องบารมีต้นกัน บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทราบแล้วนี่ว่าบารมีคือ อะไร ขอย้อนกันสักหน่อยดีไหม เผื่อว่าจะลืมไป
    บารมีก็คือกำลังใจ ไงล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัท อย่าลืมความดีในพุทธศาสนานี่ขึ้นอยู่กับกำลังใจอย่างเดียวเพราะท่านทั้งหลายยังคงจำได้ว่าคนเราถ้าตายไปแล้ว ที่เขาบอกว่าไปตกนรก ไปขึ้นสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปนิพพาน เขาไม่ได้ไปกันอย่างอื่น เขาเอาใจไปด้วย เขาไปด้วยกำลังใจ
    ทีนี้สำหรับบารมีที่เราจะสร้างขึ้นไว้ เราจะสร้างเพื่อไปไหนล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัท ก็ไปสวรรค์ ไปพรหม ไปนิพพาน ไปส่งเดชที่เราพึงไป ถ้าเราสร้างความดีไว้ เราก็ไปใช้ในส่วนดี คำว่าเรา ในที่นี้ คือ จิต ไม่ใช่กาย
    องค์สมเด็จพระทศพลทรงกล่าวว่า บารมีคือกำลังใจนี่บรรดาท่านทั้งหลายเห็นความโง่ของอาตมาไหม ท่านทั้งหลายจงอย่าคิดว่าคนที่เป็นครูท่านอยู่เวลานี้เป็นคนฉลาด แต่ที่แท้แล้วองค์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถท่านบอกว่า จอมโง่ โง่เพราะอะไร โง่เพราะไม่รู้จักคำว่าบารมีมันคืออะไร เหมือนกับคนที่ขี่ควาย คนที่ขี่ช้าง ไม่รู้จักควายเป็นยังไง ช้างเป็นยังไง ขี่ได้ใช้งานได้ แต่ไม่รู้จักชื่อ อันนี้ได้แก่อาตมาเอง บรรดาท่านพุทธบริษัท
    ทานบารมีเป็นบารมีต้น ที่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าเรายังไม่ไปนิพพาน จะเกิดเป็นมนุษย์ก็ยังได้ จะเกิดเป็นเทวดาก็ได้ จะเกิดเป็นพรหมก็ได้ หรือจะไปนิพพาน ตามใจท่านพุทธบริษัท ให้เลือกเอา ประเดี๋ยวจะมาหาว่ามานั่งเกณฑ์กันเข้าไปนิพพานไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าไปได้ก็ไปได้ ถ้าไปไม่ได้ก็อย่าเพิ่งไป จะไปหรือไม่ได้ก็ตามใจบรรดาท่านทั้งหลาย
    ทานบารมีเป็นบารมีต้น ที่องค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าทานบารมีเต็มแล้วองค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงรับรองว่ามีหวังไปนิพพานได้คราวนี้เราก็นั่งพิจารณาถึงคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรถึงรากเหง้าของกิเลส อันถือเป็นแม่บทของกิเลสบรรดาท่านพุทธบริษัท หรือว่าเป็นสีหลักผสมกับสีอื่นๆ เขาเรียกกันว่าแม่สี ทีนี้แม่ของกิเลสก็คือรากเหง้าของกิเลสนั้นเอง หรือจะเรียกว่าจอมกิเลสก็ได้
    จอมบงการของกิเลสก้ได้แก่กิเลส ๓ การ คือ
    โลภะ ความโลภ
    โทสะ ความโกรธ
    โมหะ ความหลง
    สำหรับคำว่าโลภะ ความโลภ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ทำลายด้วยการให้ทาน เพราะการให้ทานเป็นการสงเคราะห์ เป็นการให้ ส่วนโลภเป็นตัวดึงเข้ามา นี่เป็นศัตรูกัน
    ทีนี้ว่ากันถึงกิเลสทั้ง ๓ ประการ มันเหมือนกับโต๊ะ ๓ ขา หากเราทำลายเสียขาใดขาหนึ่งได้ ที่เหลืออีก ๒ ขามันก็ทรงไม่ไหว มันต้องสลายไปด้วย
    ทีนี้เรามาดูการให้ทานที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่า ทำลายความโลภ การให้ทานนี้น่ากลัวจะแบ่งเป็นหลายระดับด้วยกัน มิฉะนั้นการให้ทานก็จะไม่สมบูรณ์แบบ การให้บรรดาพุทธบริษัทเป็นปัจจัยในกามาวจสวรรค์


    เครื่องวัดกำลังใจ

    องค์สมเด็จพระพิชิตมารกล่าวว่า การให้ทานนี้จัดเป็น ๓ ระดับด้วยกัน นี่แบบหนึ่งนะ อันที่จริงมันมีอีกหลายแบบ
    ทาน ๓ ระดับคือ
    ๑. ทาสทาน เวลาที่เราจะให้ทาน เราก็ให้ของเลวกว่าของที่เรากินเราใช้
    ๒. สหายทาน เวลาที่เราให้เราก็ให้ของเสมอกับที่เรากินเราใช้
    ๓. สามีทาน เวลาที่เราจะให้เราให้ของดีกว่าที่เรากินเราใช้
    นี่เป็นเครื่องวัดกำลังใจของท่านพุทธบริษัท เราวัดกำลังใจของเองว่า เวลาที่เราจะให้ทานน่ะ การให้ทานนี้ต้องให้เพื่อการสงเคราะห์อย่างเดียว ไม่ให้หวังผลตอบแทน
    นี่อย่าลืมนะพุทธบริษัท หรือท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย ไม่ใช่ว่าเราให้ท่านแล้วก็มานั่งนึกทีหลังว่า เจ้าคนนี้เราให้ไปแล้ว นางคนนั้นเราให้ไปแล้ว แต่ให้ไปแล้วนั้นไม่รู้จักบุญคุณ ไม่รู้จักตอบแทนเราสักที
    ถ้าท่านทั้งหลายมีเจตนาในการให้ทานแบบนี้ องค์สมเด็จพระชินศรีกล่าวว่าเป็นการให้ทานที่มีกำลังใจไม่เต็มบารมีส่วนนี้ยังอ่อนอยู่ แล้วก็บารมีที่ดึงลงอบายภูมิได้ง่ายๆ
    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าเราให้ทานแล้วหวังผลในการตอบแทนในการตอบสนอง ถ้าเขาไม่ตอบสนองเรา เราเกิดความกลุ้มใจ ความไม่สบายใจมันก็เกิด ถ้าความไม่สบายใจมันเกิด จิตมันก็มัวหมอง พระพุทธเจ้าทรงกล่าว
    จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา
    ก่อนที่จะเราจะตาย ถ้าจิตเราเศร้าหมองละก็มีหวังทุคติ เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดียรัจฉาน เกิดเป็นคนก็หาความสุขไม่ได้ แบบนั้นเขาไม่ชื่อว่าเป็นการให้ ถือว่าเป็นการยืมไป


    บารมีต้น

    ถ้าให้ด้วยความเต็มใจ เราให้จริงๆ เพื่อเป็นการสงเคราะห์ ทานตัวนี้ต้องมีจิตเต็มเปี่ยมไปด้วยการสงเคราะห์ ปรารถนาให้เขามีความสุขจากวัตถุที่เราให้ หรือว่ากำลังใจที่เราให้ ถ้าเราให้ไปด้วยการสงเคราะห์จริงๆ แต่ทว่าเวลาให้นะบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง ถ้าเขามาขอเรา เรายังต้องแบ่งว่า ไอ้นี่ยังใช้ได้ ไม่ให้ นี่ดีเกิดไปเรายังไม่ได้ใช้ เรายัง ไม่ให้ ให้เฉพาะของที่เราไม่ต้องการจะกินไม่ต้องการจะใช้ของเลวๆ เราจึงจะให้ ถ้าถามว่าการให้แบบนี้ดีหรือไม่ได้อาตมาตอบว่าดี เพราะเกิดชาติหน้าเราก็เป็นมหาเศรษฐีได้ อย่างอาฬวีเศรษฐี เป็นต้น
    อาฬวีเศษฐีเกิดมาในสมัยพระชินศรีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามีชีวิตมีชีวิตอยู่ อาฬวีเศษฐีคนนี้ใช้ของไม่ดี ผ้าผ่อนท่อนสไบต้องเก่าต้องเก่าต้องช้ำเสียก่อนจึงจะใช้ได้
    ของที่จะกินเข้าไปถ้าเป็นของดีๆ เช่น ข้าวมธุปายาส แกก็กินไม่ได้ ข้าวเต็มเม็ดที่เรียกกันว่าข้าว ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ แก่ก็กินไม่ได้ ต้องกินข้าวหัก หรือปลายข้าว แต่ว่าแก่เป็นมหาเศรษฐีได้
    องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสกับพระอานนท์ว่า
    อานันทะ ดูก่อน อานนท์ อาฬเศรษฐีเป็นมหาเศรษฐีขึ้นมาได้เพราะอาศัยการให้ทานเป็นสำคัญ แต่ว่าการให้ทานของอาฬวีเศรษฐีนั้นให้ทานเป็น ทาสทาน คือของดีไม่ให้ ให้แต่ของเลว
    แต่ก็ยังมีผลบรรดาท่านศาสนิกชน เกิดมาเป็นคนยังมหาเศรษฐีได้ ก็เบ่งกับยาจกได้เหมือนกัน การให้ทานประเภทนี้องค์สมเด็จพระชินศรีถือว่าบารมีต่ำ นับเป็นบารมีต้น


    อุปบารมี

    องค์สมเด็จพระทศพลทรงเปรียบเทียบต่อไปว่า ถ้าเราให้ทานเป็น สหายทาน ให้เพื่อการสงเคราะห์ เวลาที่เราใช้ และก็ให้ด้วยความเต็มใจ ด้วยการสงเคราะห์ ไม่หวังผลตอบแทน ใดๆ ทั้งหมด อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมสุคตกล่าวว่า ทานของท่านเป็นอุปบารมี มีความแน่นแล้ว
    อุป แปลว่า เข้าไป ใกล้ นั้นแสดงว่าเดินเข้าไปหาพระนิพพาน ไม่ถอยหลังแล้ว เดินใกล้เข้าไปทุกทีๆ ไม่ถอยหลังแล้ว


    ปรมัตถบารมี

    ต่อไปถ้ากำลังใจของเรานี้ดีขึ้นไปกว่านั้น เวลาที่เราจะให้ทานก็ต้องดู ไอ้ของนี่มันช้ำแล้วให้กันไม่ดี เขาจะตำหนิเอาหรือประการหนึ่ง ไหนๆ เราจะให้ของดี เพราะว่าทุกคนต้องของดี
    ส่วนของบริโภคเหมือนกัน ปกติเรากินน้ำพริกผักต้มได้ แต่ เวลาเราจะทำบุญหรือเราจะให้ทาน ต้องใช้ของดีๆ ทำบุญด้วยของดีๆ อย่างนี้องค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาตรัสว่า เป็นปรมัตถบารมีในด้านวัตถุหรือกำลังใจ อย่าลืมว่าวัตถุที่มันจะไปได้ต้องอาศัยกำลังใจ อย่าลืมว่าวัตถุที่มันจะไปได้ต้องอาศัยกำลังใจบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย

    การให้ทานอย่างนี้เป็นทานเรียบง่ายๆ ให้บรรดาท่านพุทธบริษัทเข้าใจว่า มันอาศัยกำลังใจอย่างเดียว มันจะเต็มหรือไม่เต็ม ดูกำลังใจของเรา วัดที่วัตถุที่เราให้ แล้วก็ดูกำลังใจของเราว่าเรามีความห่วงใยในทานหรือไหม ให้แล้วหวังผลตอบแทนบ้างรึเปล่า
    บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าเราไม่หวังสิ่งตอบแทนให้ด้วยการต้ดขาด และให้ของดีได้ อย่างนี้เป็นอันเข้าใจขอลบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย แต่ว่ายังก่อน นี่มันแค่วัตถุ


    อภัยทาน
    แต่ทานที่มีความสำคัญยิ่งไปกว่านี้อีก ทานหนึ่ง นั้นคือ ทานที่ไม่ต้องลงทุน ทานจุดนี้เป็นทานอะไรบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย คืออภัยทาน ทานตัวนี้มีความสำคัญมากแต่ก็ต้องบวกกับวัตถุเหมือนกัน วัตถุทานเราต้องให้ แต่กำลังใจในว่าอภัยทาน ทานพวกนี้มีความสำคัญมากแต่ก็แต่ก็ต้องบวกกับวัตถุเหมือนกัน วัตถุทานเราต้องให้ แต่ว่ากำลังใจในการให้อภัยก็ควรจะมี เพราะทานประเภทนี้นอกจากว่าจะเป็นทานที่มีกำลังสูงส่งและไม่ต้องลงทุนแล้ว
    องค์สมเด็จพระประทีปแก้วบอกว่า บวกด้วยอำนาจเมตตาบารมี นี่เป็นอันว่าการให้ทานทั้งทีนะบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้ากำลังใจในทานของเราเต็ม ท่านทั้งหลาย
    จงอย่าพึงคิดว่าเราจะมีผลแต่เพียงทานบารมีเท่านั้น การให้ทานคราวเดียวบรรดาท่านพุทธบริษัท บารมี ๑๐ ประการล้อมรอบเข้ามาครบหมด นี่อธิบาย ให้ฟังเพื่อความเข้าใจง่ายของบรรดาท่านพุทธบริษัท
    คือว่าก่อนที่เราจะให้ทานก็ลองคิดดูว่า เราให้เพื่อการสงเคราะห์ ไม่ใช่ให้ทานเพื่อหวังผล ตอบแทน เป็นเพื่อตัดจริงๆ
    การให้ทานของจุดนี้เราต้องการตัดกิเลส คือโลภะ ความโลภ เพราะ ความโลภเป็นตัวดึงเข้า ทานเป็นตัวขยายออก นี่บรรดาพุทธบริษัทจำตัวนี้ไว้ให้ดี
    ไอ้การดึงเข้านี่มันเป็นตัวก่อศัตรูหนัก แต่ว่าการขยายออกนี่เป็นการสร้างมิตรอย่างหนัก คนให้ทานแล้วแต่จิตเป็นทรชน คือผู้ทรยศต่อบุคคลผู้ให้ก็มีอยู่ เช่นองค์สมเด็จบรมครูให้ พระเทวทัต ให้ทุกอย่าง ให้ทั้งวัตถุให้ทั้งกำลังใจ แต่ว่าคนจัญไรประเภทนั้นไม่รู้สึกในคุณของพระพุทธเจ้า
    การให้ทานนี่เราอย่าไปสนใจกับการตอบสนองการรู้คุณเราต้องการอย่างเดียวคือตัดกิเลส ได้แก่โลภะ ความโลภ
    อาตมาได้บอกกับบรรดาท่านพุทธบริษัทไว้ในตอนต้นแล้วว่า การให้ทานถ้าเราตัดความโลภได้ตัวเดียว ความโกรธกับความหลงอีกสองตัวมันก็พังไปด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่พังหมดแต่ทว่ากำลังของมันมีน้อยเกินไป จะเหลือแต่เพียงอนุวิสัยเท่านั้น มันเป็นยังไงล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัทถึงได้เป็นแบบนั้นได้จะอธิบายให้ฟังโดยย่อจะได้ไม่ยืดยาดนัก
    การให้ทานเพื่อหวังในการสงเคราะห์ หวังตัดความโลภจากจิต อันนี้จึงจะเป็นกำลังใจตามที่องค์สมเด็จพระธรรมสามิสรมีความประสงค์


    ความรักนำ

    ที่เรียกว่าบารมีหรือทานบารมี นี้ ในเมื่อเราให้ทานเพราะอาศัยมีความรัก มีความสงสารเป็นปัจจัย ถ้าเราเกลียดแล้วเราก็ไม่ให้เหมือนกัน เพราะเรายังไม่ใช่พระอรหันต์นี่ เวลานี้เราบำเพ็ญบารมีอยู่จะเอากำลังเท่าองค์สมเด็จพระบรมครูหรือว่ากำลังใจเท่าอรหันต์นั้นเป็นไปไม่ได้
    ทีนี้ลองคิดกันดูว่า ถ้าเรา เกลียด เราจะให้ได้ไหม ไม่ได้บรรดาท่านพุทธบริษัท อย่าว่าแต่สละวัตถุเลย แม้แต่กำลังใจที่คิดจะให้มันก็ไม่มี ทีนี้การให้ทานเราต้องบวกอะไรเข้ามาบ้างก่อนนะจะให้หวังในการสงเคราะห์ หวังในการเกื้อกูล อาศัยความรัก ความสงสารเป็นสำคัญความรักความสงสารเป็นอะไรบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เป็น เมตตาบารมี เห็นหรือยัง นี่เราจะให้ทานแล้วเมตตา มันเจ้าค่ำจุนอยู่ เข้ามาประคับประคอง นี่เป็นสองบารมี เข้าควบกันแล้ว
    ทีนี้คนในเมื่อเมตตาบารมีปรากฏ มีเมตตาแล้วอะไรมันตามมาอีกบรรดาท่านพุทธบริษัท ตัวเมตตาเกิดขึ้นแล้ว ศีล มันปรากฏ เพราะศีลจะมีกับใครได้นั้นต้องมีเมตตาทั้งกรุณาทั้ง ๒ ประการ คือรักและสงสารในเขา ศีลก็วิ่งเข้ามาช่วยประคับประคองในทานเข้าไปอีกจุดหนึ่ง
    การให้ทานของเรานี่บรรดาพุทธบริษัท เราต้องการตัดโลภะ ความโลภ เราหวังพระนิพพานเป็นปัจจัย เราไม่ได้หวังอะไรเป็นเครื่องตอบแทน จิตมันเป็นบริสุทธิ์ การให้ทานตัวนี้ไม่ใช่ว่าผู้ชายให้ทานแก่สตรี สตรีให้ทานแก่ผู้ชาย เพื่อหวังในการร่วมรักกันในกามารมณ์นะ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราให้เพื่อการสงเคราะห์ ไม่ใช่ซื้อความรักด้วยการให้ทานในวัตถุ
    คราวนี้ เนกขัมมบารมี คือ การถือบวชมันก็ปรากฏ เนกขัมมะ ที่เขาถือกันได้ในชั้นต้นก็โดยการตัด นิวรณ์ ๕ ประการ
    ๑. ความรัก ด้วยอำนาจกามารมณ์
    ๒. ความโกรธ เรามีเมตตาเสียแล้ว จะโกรธยังไงล่ะ
    ๓. ตัวง่วง เราไม่โกรธแล้วตั้งใจให้ทานมันจะง่วงตรงไหน
    ๔. อารมณ์จิตฟุ้งซ่าน เราตั้งใจไว้แล้วว่าเราทั้งรักทั้งสงสาร จิตมันตรงแน่ว มันจะฟุ้งว่านไปไหน
    ๕. ความสงสัย (ในเนกขัมมะ) มันก็ปรากฏ เพราะเราเชื่อองค์สมเด็จพระบรมสุคตว่า การให้ทานเป็นการตัดความโลภ เป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน กำลังใจเรามันให้เต็มเสียแล้ว ถ้าเราสงสัยเราจะได้ยังไง นี่เราไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตร
    เห็นไหมบรรดาพุทธบริษัท การให้ทานในคราวเดียวเนกขัมมบารมีวิ่งเข้ามาชนอีก เป็น ๔ บารมี แล้ว
    อีกบารมีหนึ่งที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วบอกว่า ปัญญาบารมี ลองมาคิดพิจารณากันดูให้ดี คนโง่น่ะจะมีใครให้ทานไหม คนโง่เขาไม่ให้ทานหรอกบรรดาพุทธบริษัท เขาเสียดายของ เพราะว่าของของเขามาได้โดยยาก ไม่มีใครเขาให้ ไม่มีกินไม่มีใช้ก็ช่างชี ตัวอยากไม่หาทำไม
    แต่คนที่จะให้ทานได้ต้องอาศัยเป็นมีปัญญา เอาปัญญาเข้าไปพิจารณาในตอนต้น เอาแบบต่ำๆ นะบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน เรียกกว่าต่ำมากที่สุด นั้นคือเรามาพิจารณาว่าการให้ทานเป็นการสงเคราะห์ เป็นการผูกมิตรทำจิตใจให้มีความสุข เราไปทางไหนก็ตามถ้าเรามีเพื่อนมาก มีคนเป็นที่รักมาก เราก็มีความสุข เพราะอันตรายมันมีน้อย กล่าวคือ ช่วยป้องกันอันตรายได้ ทำใจให้เป็นสุข ให้มีความเป็นอยู่เป็นสุข เพราะการให้ทานก็ด้วยอำนาจเมตตาบารมีนำแล้ว การให้ทานมีผลไม่ได้ ในเมื่อเรามีเมตตาจิตคนที่เค้าคิดประทุษร้ายก็น้อยเต็มที เว้นไว้แต่ผู้ร้ายขององค์สมเด็จพระชินศรีคือ พระเทวทัต หรือเผ่าพันธุ์ของเขาผู้นั้น นี่ปล่อยเขาไปบรรดาพุทธบริษัททุกท่าน
    ทีนี้มีปัญญาสูงไปกว่านั้น เขาก็คิดว่า การให้ทานนี่เป็นการทำลายความโลภ เป็นการทำลายการเกิดที่มาสู่คนให้รับผลความทุกข์ต่อไป นี่คนที่มีปัญญาใหญ่เขาก็พิจารณาอย่างนี้ ฉะนั้นการให้ทานสักทีก็ต้องอาศัยปัญญาเป็นเครื่องประกอบเอาละซีบรรดาท่านพุทธบริษัท ปัญญาบารมีก็มากับทานอีกแล้ว
    อีกบารมีหนึ่งที่องค์สมเด็จพระทีปแก้วบอกคือ วิริยบารมี วิริยะแปลว่าความเพียร คนที่จะให้ทานระยะแรกๆ ที่มีบารมียังอ่อน ถ้าไม่มีความเพียร คนที่จะให้ทานในระยะแรกๆที่มีบารมียังอ่อน ถ้าไม่มีความเพียรเข้าไปตัด มัจฉริยะ ความตระหนี่ หรือความขี้เหนียว ความหวงแหนในทรัพย์สินของตน อันนี้อาตมารับรองผลเลย ถ้าไม่มีความเพียรตัดไอ้ตัวนี้ให้ทานไม่ได้ ต้องใช้ความเพียรเข้าไปตัดมัจฉริยะ คือความตระหนี่เหนียวแน่นให้สลายตัวไป ไม่ยังงั้นทำไม่ได้หรอกบรรดาท่านพุทธบริษัท
    อีกประการหนึ่งคนที่ตั้งใจจะให้ทาน หวังผลในทานบารมี ถ้าเราจะให้ทานด้วยวัตถุ เราก็ต้องเพียรหาวัตถุเข้ามานี่วิริยบารมีก็ตามมา ถ้าหากว่าเราจะให้ทานเป็นอภัยทานคือกำลังใจไม่ประกาศเป็นศัตรูกับใคร เราต้อองมีความเพียรตัดความโกรธ ตัดความพยาบาท นี่เป็นอันว่าการให้ทานครั้งเดียว วิริยบารมี วิ่งตามเข้ามาอีกแล้ว
    ต่อไปบารมีที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่าขันติ คือความอดทน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ วัตถุทานที่เราจะได้มาบรรดาท่านบริษัททุกท่าน เราต้องหามาด้วยความเหนื่อยยาก เราหามาด้วยความลำบากอย่างยิ่ง กว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิงจะมีเงินจะมีของ ต้องเหน็ดเหนื่อยด้วยประการทั้งปวง ถ้าไม่อดทนในการหาละก็เราไม่มีวัตถุในการให้ทาน นี่เป็นเรื่องของทาน ขันติบารมี วิ่งเข้ามาอีกชั้นหนึ่งตานี้ขันติ ความอดทนที่ต้องเสียทรัพย์สินที่หามาได้โดยยาก นี่มันมีความสำคัญมากบรรดาพุทธบริษัท แต่ขาด ขันติบารมี แล้วหยิบอะไรไม่ได้ คิดว่าแหมของสิ่งนี้ซื้อมาแพง กว่าเราจะมีเงินซื้อก็มีความลำบากมีความยุ่งยากด้วยประการทั้งปวง จะให้เขาทำไมหนอ ใจไม่สบาย ตอนนี้ก็ต้องขัตติเข้าข่ม อดทนเข้าไว้
    ว่าเราอดเปรี้ยวเพื่อกินหวาน เราให้วัตถุทานเพื่อหวังพระนิพพาน ซึ่งเป็นความสุขในเบื้องหน้า หรือถ้ากล่าวกันโดยย่อก็คิดว่าให้ทานนี่หวังผลในความร่ำรวยอย่างอาฬวีเศรษฐี หรือ ทานัง สัคคโส ปาณัง เราให้ทานนี่เพื่อต้องการไปสวรรค์ เป็นเทวดาเป็นนางสวรรค์สบายๆ มีวิริยะความเพียรเข้ามาข่มขี่ ตัองมีปัญญาเข้ามาปลอม มีวิริยะความเพียรเข้ามาข่มชี่ ตัดมัจฉริยะความตระหนี่ให้มันพังพินาศไป
    ทีนี้บารมีต่อไป สัจจบารมี เราตั้งไว้แล้วนี่ ว่าเราจะให้ทาน เราทำกิจการงานทั้งหมดเพื่อนิพพาน เพื่อหวังสวรรรค์ เพื่อหวังพรหม เพื่อหวังความร่ารวย เราก็ต้องให้จนได้เราจะไม่ยอมเสียสัจจะความจริงใจ เอาเข้าแล้ว นี่ทานตัวเดียว ควบสัจจบารมีเข้าอีก
    ต่อไปอธิฐานบารมี ตัวนี้ตั้งใจไว้ว่า นี่เราจะต้องให้ทานเพื่อเป็นการทำลายความโลภให้หมดไปจากใจ คือว่าเราจะให้ทานเพื่อความอยู่เป็นสุขในชาติปัจจุบัน หรือว่าให้ทานเพื่อความปรารถนาว่า ผลของทานนี้นั้นสามารถจะส่งผลให้ไปสวรรค์ได้
    ตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงกล่าวว่า
    ทานัง สัคคโส ปาณัง
    ทานย่อมเป็นบันไดให้ไปสวรรค์
    นี่เราตั้งจิตอธิษฐานไว้แล้ว
    ว่าคุณธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ
    ๑. เกิดเป็นมนุษย์ที่มีความร่ำรวย
    ๒. เกิดเป็นเทวดา
    ๓. เข้าพระนิพพาน
    เราตั้งอธิฐานไว้แล้ว เกิดมาชาตินี้ต้องจับจุดเอาจุดนี้ให้ได้ จุดใดจุดหนึ่งที่เราต้องการ เมื่อจิตอธิฐานตั้งใจไว้จริงให้ได้ จุดใดจุดหนึ่งที่เราต้องการ เมื่ออธิฐานตั้งใจไว้จริงๆปักหลักให้ตรงเป๋ง อย่างนี้มันจึงจะให้ทานได้
    ถ้ากำลังของเราไม่มี คือคิดแล้วมันมีความโลเล ไม่ตั้งจิตตรงไว้ในกาลก่อนว่าปรารถนาในการให้ทาน ผลของทานมันก็จะกลายเป็นอะไรล่ะ เป็น ศรัทธาเต่า ผลุบเข้าผลุบออก ดึงออกมาแล้วก็กลับยัดเข้าไปใหม่ นี่แหละบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ทานตัวเดี่ยวอธิฐานบารมีวิ่งเข้ามาอีก เหลือตัวเดียวคือ อุเบกขาบารมี
    อุเบกขาบารมี ตัวนี้จะเข้ามาสนับสนุนตรงไหน ก็ตรงที่ให้ไปแล้วซิบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ถ้าความขัดข้องใจอะไรมันเกิดขึ้น เช่นเรามีอยู่ ๕๐๐ เราให้ทานไป เสีย ๒๐ บาท มันเหลือ ๔๘๐ บาท ทีนี้มีกิจที่จะพึงต้องทำมันเกิดขึ้นโดยไม่ได้คิดไว้ เกิดมีความจำเป็นต้องใช้เงินสัก ๕๐๐ บาท แต่ว่าจิตของเรานี้เชื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ ว่าทานเป็นผลของความสุข ความเดือดร้อนมันเกิดขึ้นแล้วซิ สตางค์ ๒๐ บาทนี่มันไม่พอดีนี่
    ถ้าเราให้ทานไปเสียเราก็มีจ่ายพอดี แต่นี่เราบังเอิญนี้มันมาทีหลัง คิดให้ทานไปเสียก่อน แต่เราเชื่อองค์สมเด็จพระชินวร คิดว่า ช่างมันเถอะ ความลำบากเพียงแค่ ๒๐ บาท ไม่เป็นไร ไหนๆๆเราก็ต้องใจไว้แล้ว ความทุกข์ร้อนนิดหน่อยมันจะเป็นไรไป เพราะผลที่เราให้ไปมันมีประโยชน์มากกว่านั้น
    คือถ้าเรามีบุญบารมีของเรายังอ่อน จะต้องเร่ร่อนไปในวัฏสงสาร เราก็จะเกิดเป็นมนุษย์ ที่มีความสมบูรณ์ได้ ถ้าบารมีของเรามีขึ้นหน่อยแล้วไซร้ เราก็สามารถจะเกิดบนสวรรค์ได้ เอาล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พูดเรื่องของทานวันนี้ก็ขอยุติแต่เพียงเท่านี้


    ถ้านั่งสมาธิ หรือปฏิบัติธรรมแล้ว ยังไม่รู้จักทานประเภทต่างๆ เช่นอภัยทาน ฯลฯ ท่านว่าไงล่ะ คิดว่าตัวเองอยู่ในระดับไหนแล้วจะนั่งสมาธิหรือปฏิบัติธรรมอย่างเดียวอีกรึเปล่า คิดดูเด้อ...

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    <TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR>มหาสติปัฏฐาน
    พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

    [​IMG] ปุจฉา[​IMG]

    ในมหาสติปัฏฐานบอกว่า
    ทางนี้เป็นทางสายเดียวเพื่อความหลุดพ้นทุกข์
    ก็ต้องมีพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

    ผู้ที่จะพ้นทุกข์จะต้องพิจารณาทั้ง ๔ อย่างรึเปล่า?

    [​IMG]วิสัชชนา[​IMG]

    กาย เวทนา จิต ธรรม น่ะ
    อันนี้มันของอย่างเดียวกัน
    รู้อันหนึ่งก็เหมือนรู้หมด


    เหมือนเรารู้คนๆหนึ่ง
    ก็รู้หมดทุกคนในโลก

    เหมือนเรารู้ลิงตัวหนึ่ง
    ก็รู้หมดตัวอื่นนอกนั้น เหมือนลิงตัวนี้เหมือนกัน

    นี่จะพูดง่ายๆ หลักใหญ่ของสติปัฏฐานมันเป็นอย่างนี้

    อันนั้นเป็นลักษณะของมัน
    เมื่อรู้ กาย เวทนาจิต ธรรม
    สักแต่ว่ากาย สักแต่ว่าเวทนา สักแต่ว่าจิต สักแต่ว่าธรรม
    มันเป็นสักว่าทั้งนั้นแหละ

    ทั้งสี่นั่นน่ะ มันก็พอแล้วนะ
    ถึงแม้ว่ามันจะรู้อันเดียวมันก็ได้




    (ที่มา : วิสัชชนาธรรม : หลวงพ่อชา สุภัทโท หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หน้า ๑๘)
     
  3. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    คราวนี้มาถึงรูปชุดสุดท้ายของ Trip นี้กันครับ
    ตอน...พบพระอาจารย์ อุทัย สิริธโร

    ต่อจากเมื่อวานหลังจากเดินทางกลับมาจากวัดมกุฏคีรีวันทางคณะทุนนิธิได้ไปรอพบกับพระอาจารย์อุทัย สิริธโร
    ประมาณบ่ายสองกว่า ๆ ท่านก็ได้ออกพบญาติโยมที่มารอในวันนั้นก็มีคณะจากทางโคราชซึ่งมารอท่านตั้งแต่ ๕ โมงเช้า

    เมื่อพระอาจารย์อุทัยมาถึงพวกเราก็มองท่านกราบพระประธาน ท่านกราบแบบเรียบร้อยและบรรจงมาก
    (พอดีกระผมไม่้ได้ถ่ายรูปมาครับเสียดายมัวแต่มองดู)


    อริยาบทแบบสบาย ๆ ของพระอาจารย์อุทัย

    [​IMG]

    และในครั้งนี้ทางทุนนิธิฯ ได้ร่วมกันถวาย ยารักษาโรค เครื่องครัว อาหารแห้ง และปัจจัยส่วนหนึ่งซึ่งได้รวบรวมกันมา **หมายเหตุ อาหารแห้งและเครื่องปรุงต่าง ๆ ได้นำไปให้ที่โรงครัวเลย ไม่ได้ถวายพระอาจารย์อุทัย เนื่องจากเป็นเวลาหลังเพลแล้วเราจะถวายไม่ได้ครับ เพราะว่าผิดพระวินัย**
    [​IMG]


    [​IMG]


    และท่านประธานทุนนิธิืได้นำ "พระเครื่องลาง" (คำเต็ม ๆ ของคำว่า"พระเครื่อง") ให้ท่านพระอาจารย์อุทัยได้อธิษฐานจิต ส่วนรูปพระเครื่องลางนั้นพอดีว่ายังไม่ได้ถ่ายมาให้ชม
    [​IMG]

    [​IMG]


    และได้รวมกันถ่ายรูปหมู่ร่วมกับพระอาจารย์อุทัยอีกครั้งหนึ่งก่อนกลับครับ

    [​IMG]

    **ภาพชุดนี้อาจเบลอไปบ้างเพราะว่าห้ามใช้ flash แสงภายในน้อย และกล้อง compact แบบธรรมดา กระผมได้พยายามแต่งภาพให้เต็มที่แล้วนะครับรูปใครไม่สวยอย่าว่ากันนะ**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2009
  4. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    วันนี้ผมได้ร่วมทำบุญ 100 บาทสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ ขอผลบุญนี้จงส่งถึงมดและแมลงสาปตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ข้าพเจ้าเคยล่วงเกิน ขอให้ท่านจงรับและอโหสิกรรมและอนุโมทนาบุญกับข้าพเจ้าด้วยอำนาจแห่งผลบุญนี้ด้วยเทอญ
     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    การฟังธรรม...(หลวงปู่ชา สุภัทโท)


    [​IMG]


    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    การเจริญกรรมฐานต้องการให้เกิดความอบอุ่น...(หลวงพ่อจรัญฯ)



    [​IMG]


    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    การภาวนา คือ การลดความโง่ของตนเอง...(ท่านพุทธทาสภิกขุ)

    [​IMG]



    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)




    ต้องขอขอบคุณทั้งบทความธรรมะและรูปประกอบสวยๆ จากคุณลูกโป่งในเวบ
    หน้าหลัก
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105

    ขอบคุณน้องกวงมากครับ หากมีเวลาสักครั้งหนึ่งมาทำบุญด้วยกันที่ รพ.สงฆ์เน๊อะ มาเจอเพื่อนใหม่ๆ บ้าง เผื่อจะได้แนะนำให้ไปทำบุญกับน้องกวงตามกระแสธรรมที่แตกต่างกัน...ใครที่สนใจลองไปทำบุญกับน้องกวงบ้างก็เชิญด้วยครับ

    [​IMG]



     
  9. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    มีโอกาสต้องไปร่วมบุญแน่ครับ
    อนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    ธรรมะจาก


    หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด



    [​IMG]

    หลวงปู่ทวด

    วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ท่านเป็นพระมหาเถระที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในนาม " หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด "
    คาถาบูชาท่าน คือ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา

    คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด

    ธรรมประจำใจ
    พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์

    ละได้ย่อมสงบ
    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ

    สันดาน
    " ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้ แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก

    ชีวิตทุกข์
    การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราจะออกจากบ้านก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย

    บรรเทาทุกข์
    การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเองและเราจะต้องวินิจฉัย ในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่าส่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ

    ยากกว่าการเกิด
    ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย

    ไม่สิ้นสุด
    แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น

    ยึดจึงเดือดร้อน
    ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโนน่ ยึดนี่ ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรม สากลจักรวาลโลกมนุษย์นี้ ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ

    อยู่ให้สบาย
    ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์ เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ เหนือรัก เหนือชัง

    ธรรมารมณ์
    การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน คือรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่างๆแล้ว ถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์

    กรรม
    ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง

    มารยาทของผู้เป็นใหญ่
    " ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง " มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ

    โลกิยะหรือโลกุตระ
    คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้ คนที่เดินทางโลกิยะย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ? ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ? แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน เราต้องตัดสินใจ ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง

    ศิษย์แท้
    พิจารณากาย ในกาย พิจารณาธรรม ในธรรม พิจารณาวิญญาณ ในวิญญาณ นั่นแหละ คือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    รู้ซึ้ง
    ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา

    ใจสำคัญ
    การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ จะต้องทำด้วยความศรัทธา ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้น เกินความคาดหมาย

    หยุดพิจารณา
    คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน และถ้าภาวะนั้นตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือหยุดพิจารณาแล้วค้นสัจจะของ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้

    บริจาค
    ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอน การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ การบริจาคภายในย่อมได้กุศล มากว่า การบริจาคภายนอน นี่คือเรื่องของนามธรรม

    ทำด้วยใจสงบ
    เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น มันจะพาเราไปสู่หายนะ เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้วปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก

    มีสติพร้อม
    จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผลมาอยู่เหนือความจริง

    เตือนมนุษย์
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีงานทำในไม่ช้า
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า

    พิจารณาตัวเอง
    คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ ว่าที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง

    [​IMG]

    [​IMG]

    คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ หลวงปู่ทวด
    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม<!--IBF.ATTACHMENT_161113--><!-- THE POST --><O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2009
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>กรรมฐานจุดสุดท้าย...หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    <!-- Main --><CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <CENTER>พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)</CENTER>

    ร่างกายมีสภาพไม่ทนทานถาวร ที่เรียกว่า ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา นี่แหละ

    เราอาจจะมองไม่เห็นนะ ท่านบอกว่าร่างกายมีสภาพไม่ทนทานถาวร
    แล้วก็ถ้าเราจะมีร่างกายอย่างนี้ต่อไปอีก มันก็จะพบกับสภาพอย่างนี้
    ในเมื่อมันไม่ทนทาน ไม่ถาวร ไม่ทรงตัว
    เราก็จะไปดึงให้มันทรง มันไม่ทรง เราก็จะมีอาการเป็นทุกข์
    ยิ่งแก่ลงเท่าไร ทุกข์มันก็มากขึ้น เพราะว่าร่างกายไม่คล่องตัว

    เป็นอันว่า ร่างกายประเภทนี้ เราจะไม่คบมันอีกต่อไป
    ถ้าคิดแค่นี้ ท่านบอกให้แค่นี้ คิดสั้น ๆ แต่มันเป็นวิปัสสนาญาณ ตัวปลายนะตัวนี้
    ตัวนิพพานเลยนะ ตัวตัด ตัวนี้จำให้ดี เป็น "ตัวนิพพาน"

    แต่ว่าแทนที่จะบอกว่า
    ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา

    ท่านบอกพูดอย่างนี้เข้าใจยาก ให้แนะนำเพียงว่า
    ร่างกายมีสภาพไม่ทนทาน เดี๋ยวมันก็พัง
    ถ้ามันจะพังอย่างนี้เรื่อย ๆ ไป เราจะมีมันทำไมอีก เราไม่ต้องการมันอีก
    ให้คิดไว้อย่างนี้เป็นปกติ แล้วจิตของบรรดาทุกท่านจะพยายามแจ่มใสขึ้นทีละน้อย ๆ

    เที่ยวหลังเดือนหน้าจะมาใหม่ จะดูว่าใจใครหมองลงไปหรือจะสว่างขึ้น ใช่ไหม ระวังนะ
    ทีนี้ต้องเก็บสตางค์ ถ้าใจใครอยู่ในสภาพคงเดิม เก็บคนละพันบาทใช่ไหม
    ถ้าใจใครดีขึ้นจะแถมสตางค์ให้
    แต่ความจริงไม่ให้สตางค์ จะปลูกบ้านให้หนึ่งหลังใช่ไหม ให้เครื่องแต่งกายครบ
    ชุดเงินทองทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ใช่ไหม เท่าที่ญาติโยมมีอยู่ให้หมด ทำไม
    ใครเช่าบ้านอยู่ก็จะให้เช่าหลังนั้นแหละ ใครปลูกบ้านอยู่แล้วก็ยกบ้านหลังนั้นให้ ดีไหม

    เอ…..เราเป็นคนรวย เราแจกดะ

    อีแบบนี้เคยโดนเขาเล่นมาทีแล้ว
    วันนั้นยกช่อฟ้าศาลาหน้าวัด นิมนต์ไปสวดมนต์ นิมนต์พระทั้งวัดสวดมนต์เย็น
    พอสวดมนต์เสร็จ ฉันเช้าเสร็จ อ้าว พระทุกองค์นี่ ฉันถวายไตรองค์ละไตร
    เงินทองตามอัธยาศัยที่จะมีอยู่ ข้าให้หมดเสร็จ เราสวดเกือบตายไม่ได้เลย
    ไอ้ของที่มีอยู่ท่านให้เรา นี่วันนี้ก็เหมือนกัน

    เป็นอันว่า ขอให้ตั้งใจจำไว้ให้ดีนะ วันนี้ท่านบอกว่าให้คิดว่า
    ร่างกายนี่มีสภาพไม่ทนทานถาวร มันจะพังไปในที่สุด
    แล้วจงอย่าติดใจในร่างกายต่อไป
    แต่ว่าเมื่อคิดอย่างนี้แล้ว ก็จงอย่าท้อถอยในการทำงาน
    ทุกอย่างหน้าที่ของตนทำให้ครบถ้วน

    แล้วทุกคนคิดไว้อย่างนี้วันละเล็กละน้อย คิดไว้เป็นปกติ
    ต่อไปนี้จิตจะเข้าถึง สังขารุเปกขาญาณ แบบง่าย

    แต่ความจริงเข้ามาเยอะแล้ว ของเรานี่ตื่นเต็มที่ อัตราเกือบจะเต็มหมด มันเหลือนิดหน่อย
    อันนี้ไม่ใช่ยอกันนะ ไม่ใช่ยก ไม่ใช่ย่อง ไม่ใช่หวังผลประโยชน์

    แต่ว่ามีคนสงสัยไหมที่นั่งนี่ ที่สงสัยก็ไปใคร่ครวญให้ดี
    ความจริงคนสงสัยนี่ รู้ตอนต้นน่ะ ลงมาก็รู้

    ถ้าสงสัยนี่ไม่ว่าอะไร เป็นเรื่องธรรมดาของการสงสัย
    คนสงสัยนี่ต้องเป็นคนมีปัญญา แล้วจึงใช้ปัญญาใคร่ครวญให้มีความสำคัญ
    หาความเป็นจริงว่าที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อัตภาพร่างกายนี่มันไม่เที่ยง จริงไหม
    ถ้าเรายึดถือความไม่เที่ยงว่าให้มันเที่ยง จิตเราเป็นทุกข์หรือเปล่า
    หรือในที่สุดเราสลายตัวไหม

    ไอ้ คนเราที่ต้องเกิดมา เพราะอาศัย กิเลส คือ

    ๑. ความรัก ในระหว่างเพศเป็นเครื่องดึงใจ
    ประการที่ ๒ ความโลภ เป็นเครื่องดึง
    ประการที่ ๓ ความโกรธ ความพยาบาท เป็นเครื่องดึงให้เกิด
    ประการที่ ๔ ตัวจิตที่คิดว่าเราจะยังไม่ตาย นี่เป็นเรื่องสำคัญ เป็น ตัวหลง

    อาการ ๔ ประการนี่เป็น ปัจจัยให้เราเกิด

    ที่เราเกิดมานี่มันทุกข์ ถ้าเราไม่ทุกข์ก็ไม่ต้องกินข้าวใช่ไหม
    ไอ้ที่กินข้าวเพราะมันทุกข์ ทุกข์ตัวไหน ทุกข์เพราะหิว
    ชิฆัจฉา ปรมา โรคา ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง มันเสียดแทง

    นี่ถ้าหากว่าถ้ามันไม่หิว มันไม่ทุกข์ เราก็ไม่ต้องกินข้าวมัน
    ที่เรากินข้าวเพราะอาศัยความทุกข์
    แล้วความทุกข์ที่เรากินข้าวเข้าไปอิ่ม มันหมดทุกข์แล้วหรือยัง
    กินเช้า กลางวันมันก็หิวอีก กินกลางวันแล้วตอนเย็นมันก็จะกินอีก
    เราก็ต้องหาให้มันกิน นี่มันทุกข์
    บางทีกินตอนเย็นไม่พอ กลางคืนยังกินอีก กินหรือเปล่า
    บางทีไอ้ตอนเช้าล่อข้าวแล้ว ล่อขนมจุ๊บจิ๊บ

    พวกผู้หญิงน่ะสำคัญนัก แหม…ไปไหนด้วยกัน พอจอดรถพรืด…
    ตลอดละก็ลงเป็นแถว สตางค์มันร้อนไม่จ่ายแล้วมันปวดท้องใช่ไหม

    ไอ้นี่เป็นเรื่องธรรมดาของขันธ์ ๕ ไม่ได้ตำหนิ คือว่าขันธ์ ๕ มันเร่งรัดเราอย่างนี้
    ที่เราต้องเหนื่อยยากก็เพราะว่าไอ้ความปรารถนาของมัน จะต้องเลี้ยงมัน
    แต่ว่าเลี้ยงมันเท่าไร มันก็ไม่มีอาการทรงตัว

    ในเมื่ออาการทรงตัวมันไม่มี เป็นทุกข์อย่างนี้ เราจะมีมันไปทำไม
    คิดเพียงเท่านี้ คิดไว้เป็นปกติ แล้วก็ ระมัดระวังใจ ไว้
    อย่าให้ ความโลภ มันเข้ามา ครองใจ
    อย่าให้ ความโกรธ มันเข้ามา ครองใจ
    อย่าให้ ความหลง มันเข้ามา ครองใจ

    ไอ้หลงนี่หมายถึงไม่อยากจะตาย ฉันยังไม่ตาย ฉันยังไม่แก่
    ฉันแก่แล้วก็ฉันยังไม่ตาย อะไรพวกนี้มันไม่ถูก

    ความตายไม่มีนิมิตเครื่องหมาย
    จำไว้เสมอว่าคนที่เกิดทีหลังเรา เขาตายก่อนเราไปเยอะแล้ว
    คนที่เกิดก่อนเราเขาก็ตายไปก่อนเรา นี่ไม่สำคัญ
    สำคัญที่ว่าคนที่เกิดทีหลังเราเขาตายไปก่อนเรา ไอ้เราจะแน่หรือว่าจะอยู่อายุเท่าไร

    ถ้าก่อนที่จะตาย จำไว้ ให้มันตายชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ชาติต่อไปไม่ต้องตายกันอีก
    คือ เราไม่ต้องการขันธ์ ๕ เท่านี้ ท่านบอกคิดไว้เท่านี้นะ นี่ท่านบอกจุดจบไว้เลย

    แล้วก็ถามท่านว่ามีผลไหม มีผล บอกว่าถ้าไม่สงสัยมีผลร้อยเปอร์เซ็นต์
    เออ…อย่าลืมนะว่าตั้งใจคิดไว้อย่างนี้ ใช้ปัญญาพิจารณาจริง ๆ ให้เห็นด้วยปัญญา
    จะเชื่อคำพูดที่อาตมาพูดมานี่ อย่าเชื่อ
    เพราะถ้าเชื่อเสียเลยทีเดียว โดยไม่ใช้ปัญญานี่มันเป็นสัญญา มันไม่เกิดผล

    พอพูดไปแล้วก็ต้องนำไปคิด นำไปใคร่ครวญว่าร่างกายนี่มันไม่ทนทานถาวรนี่จริง
    ไปแล้วดู ถ้ามันทนจริง มันทรงตัวจริงๆ ไม่มีใครอยากแก่
    เพราะร่างกายก็ต้องไม่ป่วย ร่างกายก็ต้องไม่ทรุดโทรม
    ในที่สุดมันก็ต้องไม่ตาย นี่มันก็ต้องตาย

    อย่าง คุณอ๋อย นี่ อยู่คุยกันแจ๋วๆ แกก็ตายไปแล้ว นี่เป็นตัวอย่าง
    เราก็ต้องมีสภาพตายต่อไปเบื้องหน้า นี่จงจำไว้ว่าร่างกายมีสภาพไม่ทนทาน

    นี่ท่านพูดสั้น ๆ นะ
    ร่างกายมีสภาพไม่ทนทานอย่างนี้ เราไม่ต้องการมันอีก พูดสั้นแค่นี้
    ให้คิดไว้เป็นปกติ แล้วก็ล้อมวงไว้ด้วยการไม่โลภ การไม่โกรธ การไม่หลง
    ให้ระมัดระวังใจ
    แต่นี่ที่แถม

    แต่ที่ท่านสั่งไว้จริง ๆ สั่งให้บอก ถามท่านว่าคิดเท่านี้พอ
    ท่านบอกว่ามันเป็นวิปัสสนาญาณตัวปลายคือ…..ตัวนิพพาน

    ถ้าคิดไปทุก ๆ วัน คิดไปได้บ้าง ลืมบ้าง ไม่ลืมบ้าง ต่อไปอารมณ์มันจะชิน
    ชินมันก็เป็นฌาน ถ้าฌานตัวนี้เป็น สังขารุเปกขาญาณ
    แล้วเป็น สัจจานุโลมิกญาณ ก็นิพพานกันเท่านั้นแหละ

    ทีนี้สำหรับฆราวาสนี่จะเป็นอรหันต์ก่อน แล้วก็เดินท้งเท้งๆ ไปหลายวันไม่มีทางหรอก
    ถ้าจะเป็นก็เป็นคืนนี้ พรุ่งนี้ตายแหง….ใช่ไหม
    ถ้าเป็นอรหันต์คืนนี้ พรุ่งนี้ไม่สิ้นแสงอาทิตย์ตาย
    นี่ใครไม่อยากจะตายเร็ว ก็อย่าเพิ่งเป็นอรหันต์ ดีไหม ป้า อ้าว นี่เป็นเรื่องจริงๆ นะ
    แต่ถ้าหากจะถามว่าทำไมพระจึงอยู่ได้นาน ฆราวาสเป็นอรหันต์จะต้องตายเร็ว

    นี่อาตมาไม่ใช่พระอรหันต์ เป็นพระกังหัง หมุนรอบหมด แย่ เหนื่อย….
    ถ้าไปถามพระอรหันต์ทุกองค์ ที่ท่านได้พระอรหันต์แล้ว
    ถามว่าอยากอยู่สักกี่ปี พระประเภทนี้จะตอบเหมือนกันหมดทุกองค์ว่า
    แม้แต่หนึ่งเสี้ยววินาทีก็ไม่อยากอยู่ แต่มันตายไม่ได้ ไม่รู้จะทำอย่างไร

    ถ้าจะเชือดคอตายก็เป็น อัตวินิบาตกรรม พระพุทธเจ้าทรงห้าม
    แต่ว่าจิตของพระอรหันต์ท่านไม่มีทุกข์ ท่านจะอยู่ขนาดไหนก็ได้
    อยู่ขั้นตะบันน้ำกิน ท่านก็ไม่ทุกข์
    ไอ้คนลองตะบันน้ำกินมันหยุดไม่ไหว ก็เลยไม่ต้องตะบันใช่ไหม

    นี่เป็นอันว่าจำให้ดีนะ วันนี้เป็นวันสำคัญที่ท่านมาบอก กรรรมฐานจุดสุดท้าย
    การที่จะบอก กรรมฐานจุดสุดท้าย ถ้าไม่เห็นกำลังใจของพวกเรา
    นี่ท่านไม่บอกหรอก ท่านไม่บอกง่าย ๆ

    กรรมฐานตัวนี้จุดง่ายนิดเดียวว่า
    ร่างกายมีสภาพไม่ทนทาน เราไม่ต้องการมันอีก เท่านี้

    แล้วหลังจากนั้นก็ใช้ปัญญาใคร่ครวญเองว่าจริงหรือไม่
    ถ้ามันจริงเราก็เชื่อ เชื่อแล้วเราก็ไม่ต้องการมัน

    แต่งานในหน้าที่ต้องทำกัน
    ความเป็นทุกข์ คือ ทุกข์เพราะความบกพร่องในการงาน นี่ต้องระวัง
    ไม่ใช่ว่าร่างกายไม่ทนทาน ไม่ทำอะไรหมด ขี้เกียจ
    ไม่ใช่ขี้เกียจ มือเท้าอ่อนหมดเรี่ยวหมดแรง นอนตายดีกว่าว่ะ
    อย่างนี้ไม่เป็นเรื่อง แบบนี้เจ๊ง ไปไม่รอด

    มันต้องมีกำลังใจเป็นปกติ หน้าที่เป็นหน้าที่ทำด้วยความเข้มแข็ง
    ต่อสู้กับอารมณ์ที่มันจะเป็นเครื่องขัดเคือง
    เราไม่ขัดเคืองในอารมณ์ที่จะต้องขัดเคือง
    เราไม่เศร้าโศกในอารมณ์ที่ควรจะเศร้าโศก

    อย่างใครเขาตาย แทนที่เราจะเสียใจ ถือว่านี่เป็นเรื่องธรรมดา
    ใครเขาด่า ก็โอ๋…ธรรมดาของคนบ้ามันเป็นอย่างนั้น
    เราขี้เกียจบ้าตามมัน จะบ้าก็บ้าไปเถอะ ใช่ไหม
    หรือไม่อย่างนั้นใครเขาด่าเราก็นอน

    อย่างอาจารย์อ่างทอง หรืออาจารย์สรรคบุรี ก็ว่าไปพั้ง ๆ นะ นอนยิ้มเสียเรื่อย
    มันก็ขี้เกียจด่าไปเอง ก็หมดเรื่องไป อ้าว…..ต่อไปนี้โปรดตั้งใจถวายสังฆทาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    Bloggang.com : zeedhama
     
  12. natta_pea

    natta_pea เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,515
    วันนี้ เวลา 13.07 น. ผมโอนเงินร่วมทำบุญ
    จำนวน 200.-บาท ขอโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105


    [​IMG]

    คู่มือมนุษย์ เรื่องอำนาจของความยึดติด (อุปทาน) รจนาโดย ท่านพุทธทาส
    <!-- Main -->ศุกรวารสิริสวัสดิ์-มัยมนัสรมณีย์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ค่ะ


    บล็อกนี้ต่อเนื่องมาจาก บล็อกมูรธารสณหทัยค่ะ

    (๑)

    เราจะปลีกตัวถอนตัวออกมาเสียจากสิ่งทั้งหลายที่เป็น อนิจจัง ทุกขังอนัตตา ได้อย่างไร ? คำตอบก็คือจะต้องศึกษาว่า อะไรเป็นเหตุให้เราอยาก จนเข้าไปยึดติดในสิ่งนั้น ? เมื่อรู้ต้นเหตุ เราอาจจะตัดความยึดติดเสียได้ กิเลสซึ่งเป็นความยึดถือในสิ่งทั้งปวงนั้น ในพุทธศาสนาเรียก
    "อุปาทาน" แปลว่า ความยึดติด จำแนกเป็น ๔ ประการด้วยกัน

    ๑. กามุปาทาน (ยึดมั่นโดยความเป็นกามหรือของรักใคร่ทั่วไป) เห็นได้จากการที่คนเราตามธรรมดามีความติดพันในสิ่งที่น่ารักที่น่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส

    สัญชาตญาณของคนเราย่อมรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเอร็ดอร่อยในกามคุณ ๕ อย่างนี้ ตามหลักธรรมในพุทธศาสนา ขยายออกไปเป็น ๖ คือมี "ธรรมารมณ์" เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง

    หมายถึงสิ่งที่ผุดขึ้นในใจ จะเป็นอดีตปัจจุบันหรืออนาคตก็ได้ เกี่ยวกับวัตถุภายนอกหรือภายในก็ได้ เป็นเพียงคิดฝันไปก็ได้ แต่ทำให้เกิดความเอร็ดอร่อยเพลิดเพลินทางจิตใจในขณะที่รู้สึก

    พอคนเราเกิดมา ได้รู้รสของกามารมณ์ทั้ง ๖ นี้ ก็ยึดติดในอารมณ์นั้น และยึดติดยิ่งขึ้นเป็นลำดับๆ อย่างแน่นแฟ้น เหลือวิสัยที่คนธรรมดาจะสอนได้

    ฉะนั้น จึงเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจให้ถูกต้องและประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องต่อสิ่งเหล่านั้น มิฉะนั้นความยึดติดนี่แหละจะนำไปสู่ความวินาศฉิบหาย

    ขอให้เราพิจารณาดูความวินาศฉิบหายของคนทั่วๆไป ตามปกติจะเห็นได้ว่า มีมูลมาจากความยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่น่ารักอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวแล้ว ทุกอย่างที่มนุษย์ปุถุชนทำกันอยู่ไม่ว่าอะไร ล้วนแต่มีมูลค่าจากกามารมณ์ทั้งนั้น

    คนเราจะรักกัน โกรธกัน เกลียดกัน อิจฉาริษยาฆ่าฟันกัน หรือฆ่าตัวเองตายก็ตาม ก็จะต้องมีมูลมาจากกามารมณ์

    การที่มนุษย์ต้องทำงาน ขวนขวายหรือทำอะไรก็ตาม เราอาจจะสืบสาวราวเรื่องไป แล้วจะพบว่า เขามีความอยากใคร่จะได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่เขาอุตส่าห์เล่าเรียน ประกอบอาชีพก็เพื่อให้ได้ผลมาจากอาชีพ แล้วก็ไปแสวงหาความสบายใจในทางรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มาบำรุงบำเรอตน

    แม้แต่เรื่องทำบุญ อธิษฐานได้ให้ไปสวรรค์ ก็มีมูลมาจากความหวังในทางกามารมณ์ทั้งสิ้น รวมความแล้ว ความยุ่งยากปั่นป่วนของโลกทั้งสิ้น มีมูลมาจากกามารมณ์นั่นเอง

    กามารมณ์มีอำนาจร้ายกาจถึงเพียงนี้ ก็เพราะอำนาจของกามุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่นอย่างเหนียวแน่นในกามตัวนี้เอง พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้เป็นอุปาทานขั้นต้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับโลกโดยตรง โลกจะวินาศฉิบหายหรือจะเป็นอะไรก็ตาม ย่อมมีผลมาจากกามุปาทานนี้โดยเฉพาะ

    เราควรจะพิจารณาตัวเราเองว่า เรามีความติดในกามอย่างไร เหนียวแน่นเพียงไร จะเหลือวิสัยที่เราจะละได้จริงๆหรือไม่

    ถ้าว่ากันทางคดีโลกแล้วการติดกามกลับจะเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงเพราะจะทำให้รักครอบครัว ทั้งยังทำให้ขยันขันแข็งในการแสวงหาทรัพย์และชื่อเสียง ฯลฯ

    แต่ถ้ามองกันในแง่ของธรรมะ จะรู้สึกว่า เป็นทางมาแห่งความทุกข์ทรมานอันเร้นลับ เพราะฉะนั้นในทางธรรมะ ความติดกามจึงเป็นสิ่งที่ต้องละกันให้หมดสิ้นในที่สุด จึงจะดับความทุกข์ทั้งปวงได้.


    ขอขอบคุณบทความทีดีจาก

    BlogGang.com : : sirivinit :
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    สืบหาพระสงฆ์ปฏิบัติดี และพระเครื่องดี ประจำวันศุกร์นี้ แนะนำของหายากสักหน่อยมาให้ดูกัน หากพบเจออย่าปล่อยให้หลุดมือไปก็ละกัน..

    ทันตธาตุพระอาจารย์มั่น


    [​IMG]

    ทันตธาตุพระอาจารย์มั่น คุณหมอท่านหนึ่ง ได้ขออนุญาติจัดสร้างกับหลวงปู่เจี๊ยะโดยใช้ทันตธาตุ
    หลวงปู่มั่นที่มอบให้หลวงปู่เจี้ยะเก็บรักษาไว้เป็นองค์ต้นแบบ เริ่มดำเนินงานสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ.2542
    หลังจากสร้างเสร็จได้นำไปขอเมตตาจาก
    ...หลวงปู่เจี๊ย
    ...หลวงปู่บุญมี
    ...หลวงปู่เพียร
    ...หลวงปู่ลี
    ...ท่านพระอาจารย์เปลี่ยน
    ...ท่านพระอาจารย์เลื่อม
    ...ท่านพระอาจารย์ฟิลิป
    ...หลวงพ่อทุย วัดป่าดานวิเวก ตลอดทั้งพรรษา
    ระหว่าง นั้นได้นำพระเข้าพิธีต่างๆที่วัดหลวงปู่เจี๊ยะ ตลอดเวลาที่ทางวัดจัดงาน และได้นำพระทั้งหมดเข้าพิธีงานบุญข้าวเปลือกที่วัดป่าบ้านตาดปี2545 กับพิธีเททองหล่อรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ที่สวนแสงธรรม ในวันที่23ธ.ค45 เป็นวาระสุดท้าย จึงเริ่มแจกโดยถวาย
    ...หลวงปู่เจี๊ยะบรรจุในเจดีย์ท่านประมาณ 500 องค์
    ...หลวงพ่อทุยแจกและบรรจุเจดีย์ อีกประมาณ 700-800องค์
    ที่เหลือถวายครูบาอาจารย์ หลายท่านและแจกจ่ายกันในหมู่ศิษย์


    [​IMG]

    จำนวนจัดสร้าง
    เนื้อทองคำ 35 องค์ปัจจุบันที่ทราบมีผู้ถวายหลวงพ่อทุยบรรจเจดีย์ไปแล้วไม่น้อยกว่า11 องค์
    เนื้อเงิน 85 องค์
    เนื้อโลหะ 2545 องค์
    ลองพิมพ์ 55 องค์ จะมีแต่รูปฟันยังไม่มีองค์หลวงปู่มั่น


    [​IMG]

    หลังจากได้จัดสร้างพระชุดแรกเสร็จแล้ว ขณะที่นำพระไปกราบครูบาอาจารย์ท่านเมตตา
    หลวงพ่อทุยมีความประสงค์ให้สร้างเนื้อพิเศษขึ้นมาอีกจำนวนหนึ่งโดยมีมวลสาร5ชนิด
    ...ทองคำ5บาท
    ...นาค
    ...เงิน
    ...เหล็กเปียก
    ...ฝาบาตรหลวงปู่คำตัน
    นำมาหลอมรวมกัน ในการสร้าง ผู้สร้างจึงมากราบขออนุญาติหลวงปู่เจี๊ยะ อีกครั้ง ใน
    ครั้งนี้เทพระได้จำนวน ประมาณ 200 องค์เท่านั้น

    หลังวันงานเททอง23ธันวาคม2545 ชนวนที่เทเหลือ
    หลวงปู่ลี ใด้เมตตาสั่งให้เก็บ ทางผู้สร้างทันตธาตุได้นำไปเทพระทันตธาตุโดยใช้
    ทองชนวนล้วนๆ เทเป็นองค์พระได้พระจำนวน 42 องค์ โดยนำขึ้นขอเมตตาจาก
    หลวงปู่ลีและถวายท่านแจก เป็น2วาระ ที่ผาแดง22องค์ ที่สวนแสงธรรม 20 องค์
    ลักษณะพระจะมีสีออกเหลือง เพราะเป็นเนื้อทองเหลืองไม่ออกแดง เหมือนแบบแรก


    รูปพระทันตธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น ถ่ายมาจากหนังสือ อัตตชีวะประวัติ ท่านหลวงปู่เจี๊ยะ

    [​IMG]
    [​IMG]

    บทความนี้นำมาจาก
    เชียงใหม่ - หน้าแรก


     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    มนุษย์ทุกคนที่ เกิดมาย่อมมีความดีอยู่ในตัวอยู่แล้ว อย่างน้อยก็ต้องยึดมั่นในศีล 5 ในชาติก่อน ชาตินี้จึงเกิดมาเป็นมนุษย์ได้ ส่วนจะบกพร่องในข้อไหน ก็เห็นได้จากกรรมในชาตินี้ เช่นเคยฆ่าสัตว์มามากก็จะเจ็บป่วยบ่อยๆ เป็นต้น การทำสมถะกรรมฐาน ก็เป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ในการฝึกจิตใจให้นิ่ง สงบ ซึ่งเมื่อท่านนั่งลงทำสมาธิเพื่อตั้งใจปฏิบัติในสมถะกรรมฐานแล้ว จิตตรงนั้นของท่านย่อมมีความตั้งใจเป็นตัวตั้ง และท่านก็ไม่ได้ละเมิดศีลข้อใด ก็เลยทำให้ศีลในเวลานั้นบริสุทธิ์ไปด้วย ทีนี้เพื่อให้สมกับคำว่า "มนุษย์" ซึ่งแปลว่าผู้มีใจสูง เรามาลองฝึกเพ่งกสิณเพื่อทำจิตใจเราให้นิ่งโดยการเพ่ง ดีกว่า ลองตามนี้ครับ

    โครงการผู้ก่อการบุญได้จัดทำภาพกสิณในแบบต่างๆ และภาพพระพุทธเพื่อใช้ในการฝึกสมาธิอย่างง่าย บนจอคอมพิวเตอร์
    การฝึกทำสมาธิมีหลายรูปแบบ แล้วแต่ผู้สอนจะนำมาแนะนำ ทางโครงการผู้ก่อการบุญ จะแนะนำการทำสมาธิพอ ปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้

    • การฝึกหายใจให้สมบูรณ์ คือการฝึกหายใจให้ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนอย่างเต็มที่ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง และจิตใจแจ่มใส การอยู่ในอริยาบทที่สบาย ถ้านั่งก็นั่งแบบสบายๆ แต่ไม่ต้องเอนไปเอนมา เป็นมนุษย์ไร้สันหลังนะครับ ค่อยๆหายใจเข้าลึกๆ จนลมหายใจไปถึงกระบังลม ที่เรียกว่าหายใจเข้าท้องป่อง หลังจากนั้นก็หยุดหายใจสัก ๒-๔ วินาที เพื่อให้ปอดได้รับอ็อกซิเจนอย่างเต็มที่ แล้วจึงค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออกอย่างช้าๆ จนท้องแฟ่บ ซึ่งข้อมูลการหายใจแบบนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก หนังสือ วิทยาศาสตร์การหายใจ ของเจ้าคุณนรฯ ซึ่งได้แปลและเรียบเรียงค้นคว้าขึ้นมา ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งตอนนี้หนังสือเป็นลิขสิทธิ์ ของมูลนิธิเจ้าคุณนรฯ
    • เมื่อหายใจอย่างสมบูรณ์แล้วก็มาเริ่มฝึกสมาธิกัน โดยท่านสามารถเลือกได้ว่าจะฝึกสมาธิกับอะไร เช่น การเพ่งกสิณ การมองพระพุทธรูป และที่นิยมคือการติดตามลมหายใจของตนเองในขณะนั่ง และติดตามการเดินของตนเอง ในขณะเดินจงกลม ซึ่งถือว่าเป็นการฝึกสมาธิที่ได้ผลดีชนิดหนึ่ง ในบางตำรา และบางสำนัก นิยมให้ฝึกสมาธิแบบเป็นชุด คือ เดินจงกลมส่วนหนึ่ง เสร็จแล้วมานั่งสมาธิอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้การฝึกสมาธิ พัฒนาไปได้เร็วยิ่งขึ้น บางตำราให้เพิ่มการนอนสมาธิ หลังจากการนั่งสมาธิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
    • ก่อนทำสมาธินั้นควรตั้งจิต อธิษฐานว่าจะทำสมาธิ รวมทั้งมนัสการคุณพระรัตนตรัยก่อน
    • สำหรับการจัดท่าทางการทำสมาธินั้น ขอให้ผ่อนคลายแต่อย่าสบายจนหลับแล้วกัน
    • ข้อควรระวังที่ทำให้สมาธิฟุ้งซ่าน และไม่พัฒนาก็คือ การติดอยู่กับทางโลก โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่อง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต่างๆ ชวนพาให้จิตใจฟุ้งซ่าน เตลิดเปิดเปิงไปได้ง่ายๆ ความง่วงเหงาหาวนอน ก็เป็นตัวบั้นทอนสมาธิที่ร้ายกาจ การปล่อยอารมณ์โกรธ อาฆาตพยาบาทก็เป็นตัวทำลายสมาธิ และความลังเลสงสัย ในผลของการปฏิบัติก็เป็นตัวปัญหาสำคัญที่ทำให้การฝึกสมาธิไม่เป็นผล ที่ทางธรรมเรียกสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้ว่า นิวรณ์ทั้ง ๕ ซึ่งจำเป็นต้องปล่อยวางก่อนจะเข้าสู่การทำสมาธิ
    • หลังการทำสมาธิ ควรอุทิศบุญที่สำเร็จแก่ ตนเอง มารดาบิดา ญาติ ครูอาจารย์ เทพเทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกรูปทุกปาง เจ้าบุญนายคุณ เจ้ากรรมนายเวร และแผ่เมตตาแก่สัตว์โลกทั้งหลาย
    ::: การฝึกการหายใจแบบสมบูรณ์ไปพร้อมๆ กับการฝึกสมาธิขั้นต้น ควรฝึกขั้นตอนนี้ให้ชำนาญก่อนฝึกขั้นตอนต่อไป
    ::: การฝึกสมาธิโดยการเพ่งกสิณการฝึกเพ่งกสิน เป็นวิธีการทำสมาธิ และทำวิปัสสนากรรมฐานขั้นพื้นฐาน การปฏิบัติ คือมีสมาธิจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ เพื่อฝึกให้จิตนิ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    การฝึกกับจอคอมพิวเตอร์ควรใช้เวลาไม่เกินครั้งละ 10 นาที และไม่ควรเพ่งสายตา ควรมองไปที่จุดกสิณเรื่อยๆ อย่างสงบ และใจเย็น และควรยกเลิกการตั้งค่า สกรีนเซฟเวอร์ เสียก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้สมาธิหลุดได้ เพราะการทำสมาธิอยู่นั้นจิตจะจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ หากมีการดับ หรือเปลี่ยนภาพ โดยไม่รู้ตัว อาจทำให้ตกใจได้
    การทำสมาธิหน้าคอมฯ มีให้เลือก ๓ แบบ คือแบบเงียบไม่มีเสียง เหมาะสำหรับการเพ่งกสิณด้วยใจสงบ ไม่ให้มีสิ่งอื่นใดมารบกวนสมาธิจากภาพกสิณ และแบบมีเสียงสวดมนต์ซึ่ง ใช้ใน 2 กรณีคือ สำหรับผู้ฝึกทำให้มีสมาธิดีแล้ว สมาธิรวบรวมสมาธิให้เท่าทันทั้ง การหายใจของตนเอง ภาพที่อยู่ตรงหน้า และเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีสมาธิมากนัก แบบมีเสียงสวดมนต์จะช่วยให้ผ่อนคลาย โปรดทำจิตใจให้สงบ และเปิดเสียงสวดมนต์อย่าเสียงดังมาก
    <table class="fontpolyboon" align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr align="center" valign="top"> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>ฝึกเพ่งกสิณกับเปลวเทียน
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ฝึกเพ่งกสิณกับจุดแสง รัศมีเปลี่ยนสี
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ฝึกเพ่งกสิณกับจุดแสง รัศมีสีแดง
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ฝึกเพ่งกสิณกับจุดแสง รัศมีสีน้ำเงิน
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>[​IMG]</td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>ฝึกเพ่งกสิณกับจุดสีเขียว
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> </tbody></table>
    :: การฝึกสมาธิโดยการเพ่งภาพพระพุทธรูป เพื่อระลึกถึงคุณพระพุทธอย่างมองจุดใดจุดหนึ่งขององค์พระพุทธรูป ให้มองภาพรวมแล้วค่อยๆ จดจำภาพจนติดอยู่ในใจ แม้หลับตาแล้วก็สามารถเรียกภาพองค์พระพุทธรูปปรากฏอยู่ในความรู้สึกได้ หากสมาธิสูงขึ้น ให้ระลึกถึงคุณพระพุทธ คุณพระธรรม จะยกระดับสมาธิ และจิตใจให้สูงขึ้นได้
    การฝึกกับจอคอมพิวเตอร์ควรใช้เวลาไม่เกินครั้งละ 10 นาที และไม่ควรเพ่งสายตา ควรมองไปที่ภาพพระพุทธรูปเรื่อยๆ อย่างสงบ และใจเย็น และควรยกเลิกการตั้งค่า สกรีนเซฟเวอร์ เสียก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้สมาธิหลุดได้ เพราะการทำสมาธิอยู่นั้นจิต จะจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ หากมีการดับ หรือเปลี่ยนภาพ โดยไม่รู้ตัว อาจทำให้ตกใจได้
    การทำสมาธิหน้าคอมฯ มีให้เลือก ๓ แบบ คือแบบเงียบไม่มีเสียง เหมาะสำหรับการเพ่งกสิณด้วยใจสงบ ไม่ให้มีสิ่งอื่นใดมารบกวนสมาธิจากภาพกสิณ และแบบมีเสียงสวดมนต์ซึ่ง ใช้ใน 2 กรณีคือ สำหรับผู้ฝึกทำให้มีสมาธิดีแล้ว สมาธิรวบรวมสมาธิให้เท่าทันทั้ง การหายใจของตนเอง ภาพที่อยู่ตรงหน้า และเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีสมาธิมากนัก แบบมีเสียงสวดมนต์จะช่วยให้ผ่อนคลาย โปรดทำจิตใจให้สงบ และเปิดเสียงสวดมนต์อย่าเสียงดังมาก
    <table class="fontpolyboon" align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr align="center" valign="top"> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>ภาพองค์จำลอง พระแก้วมรกต เนื้อแก้ว ทรงเครื่องทอง
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ภาพองค์จำลอง พระแก้วมรกต องค์ทอง
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ภาพองค์จำลอง พระแก้วมรกต องค์เงิน
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ภาพพระพุทธชินราช
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>[​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>ภาพองค์จำลอง พระพุทธชินราช
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ภาพพระพุทธโสธร
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td> ภาพพระพุทธสิหิงค์
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ภาพพระศรีสรรเพชญ์
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> </tr> </tbody></table>
    ::: การฝึกสมาธิโดยการเพ่งภาพพระอริยสงฆ์ เพื่อระลึกถึงคุณพระสงฆ์ อย่างมองจุดใดจุดหนึ่งขององค์พระ ให้มองภาพรวมแล้วค่อยๆ จดจำภาพจนติดอยู่ในใจ แม้หลับตาแล้วก็สามารถเรียกภาพองค์พระ ปรากฏอยู่ในความรู้สึกได้ หากสมาธิสูงขึ้น ให้ระลึกถึงคุณพระสงฆ์ จะยกระดับสมาธิ และจิตใจให้สูงขึ้นได้
    การฝึกกับจอคอมพิวเตอร์ควรใช้เวลาไม่เกินครั้งละ 10 นาที และไม่ควรเพ่งสายตา ควรมองไปที่ภาพพระ เรื่อยๆ อย่างสงบ และใจเย็น และควรยกเลิกการตั้งค่า สกรีนเซฟเวอร์ เสียก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้สมาธิหลุดได้ เพราะการทำสมาธิอยู่นั้นจิต จะจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ หากมีการดับ หรือเปลี่ยนภาพ โดยไม่รู้ตัว อาจทำให้ตกใจได้
    การทำสมาธิหน้าคอมฯ มีให้เลือก ๓ แบบ คือแบบเงียบไม่มีเสียง เหมาะสำหรับการเพ่งกสิณด้วยใจสงบ ไม่ให้มีสิ่งอื่นใดมารบกวนสมาธิจากภาพกสิณ และแบบมีเสียงสวดมนต์ซึ่ง ใช้ใน 2 กรณีคือ สำหรับผู้ฝึกทำให้มีสมาธิดีแล้ว สมาธิรวบรวมสมาธิให้เท่าทันทั้ง การหายใจของตนเอง ภาพที่อยู่ตรงหน้า และเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีสมาธิมากนัก แบบมีเสียงสวดมนต์จะช่วยให้ผ่อนคลาย โปรดทำจิตใจให้สงบ และเปิดเสียงสวดมนต์อย่าเสียงดังมาก
    <table class="fontpolyboon" align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr align="center" valign="top"> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>[​IMG]</td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>หลวงพ่อสด จันทสโร
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> </tbody></table>
    :: การฝึกสมาธิโดยการเพ่งภาพมหาเทพ อย่างมองจุดใดจุดหนึ่งขององค์มหาเทพ ให้มองภาพรวมแล้วค่อยๆ จดจำภาพจนติดอยู่ในใจ แม้หลับตาแล้วก็สามารถเรียกภาพองค์มหาเทพ ปรากฏอยู่ในความรู้สึกได้ หากสมาธิสูงขึ้น ให้ระลึกถึงคุณของมหาเทพ จะยกระดับสมาธิ และจิตใจให้สูงขึ้นได้
    การฝึกกับจอคอมพิวเตอร์ควรใช้เวลาไม่เกินครั้งละ 10 นาที และไม่ควรเพ่งสายตา ควรมองไปที่ภาพองค์มหาเทพ เรื่อยๆ อย่างสงบ และใจเย็น และควรยกเลิกการตั้งค่า สกรีนเซฟเวอร์ เสียก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้สมาธิหลุดได้ เพราะการทำสมาธิอยู่นั้นจิต จะจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ หากมีการดับ หรือเปลี่ยนภาพ โดยไม่รู้ตัว อาจทำให้ตกใจได้
    การทำสมาธิหน้าคอมฯ มีให้เลือก ๓ แบบ คือแบบเงียบไม่มีเสียง เหมาะสำหรับการเพ่งกสิณด้วยใจสงบ ไม่ให้มีสิ่งอื่นใดมารบกวนสมาธิจากภาพกสิณ และแบบมีเสียงสวดมนต์ซึ่ง ใช้ใน 2 กรณีคือ สำหรับผู้ฝึกทำให้มีสมาธิดีแล้ว สมาธิรวบรวมสมาธิให้เท่าทันทั้ง การหายใจของตนเอง ภาพที่อยู่ตรงหน้า และเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีสมาธิมากนัก แบบมีเสียงสวดมนต์จะช่วยให้ผ่อนคลาย โปรดทำจิตใจให้สงบ และเปิดเสียงสวดมนต์อย่าเสียงดังมาก
    <table class="fontpolyboon" align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr align="center" valign="top"> <td width="25%">[​IMG]</td> <td width="25%">[​IMG]</td> <td width="25%">[​IMG]</td> <td>
    </td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>พระพิฆเณศวร
    ( แบบเงียบ )
    </td> <td>ท้าวมหาพรหม
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>พระโพธิสัตว์ กวนอิม
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>
    </td> </tr> </tbody></table>
    โครงการผู้ก่อการบุญจะทำการเพิ่มเนื้อหา ภาพสำหรับการฝึกสมาธิให้มากขึ้นอีก
    ส่งความคิดเห็น ติชม มาได้ที่ polyboon@yahoo.com หรือ โทรศัพท์ 081 438 5895
    แถมให้อีกนิดนึง ทีนี้พอฝึกได้เข้าที่ ลองดูสักอาทิตย์นึง เอาให้สงบนิ่ง แบบหลับตาก็นึกถึงรูปกสิณ แล้วประคองเอาไว้ เมื่อคิดว่าพอใช้ได้แล้ว ลองหยิบพระพิมพ์ที่ท่านนับถือหรือที่ท่านแขวนประจำออกมา แล้วนำมาวางลงบนนิ้วชี้กับนิ้วกลาง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประคองไว้ ทำใจให้นิ่งๆ เบาๆ ลองทำไปเรื่อยๆ หากพระเครื่องท่านมีพลัีงอิทธิคุณสูง รับรองท่านสัมผัสได้แน่นอน ลองฝึกไปเรื่อยๆ ทุกวันก่อนนอน แล้วท่านจะรู้เองว่าท่านก็สามารถใช้กระแสจิตที่ฝึกแล้่วตรวจพระได้ในระดับหนึ่งเช่นกัน (ขอแนะนำให้นำพระของหลวงปู่หมุนฯลฯ หรือพระที่มีการเล่าขานทางด้านคงกระพันประเภทเนื้อโลหะมาตรวจก่อน เพราะพระพิมพ์กลุ่มนี้ พลัีงท่านจะมาแรงและไวกว่าพระพิมพ์ในกลุ่มเมตตามหานิยม ซึ่งจะทำให้เราสัมผัสได้เร็วกว่าและไม่ท้อใจในการฝึก)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2009
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105

    ขอขอบคุณ คุณnatta_pea หนึ่งในผู้ที่มีศรัทธามั่น และตั้งใจมั่น ในการบริจาคเข้าทุนนิธิฯ ไม่ขาดแม้แต่เดือนเดียว ผมและคณะกรรมการฯ ทุกคน ก็ขอสัญญาว่าจะนำเงินที่คุณหามาได้ด้วยแรงกาย แรงใจของคุณ ใช้เพื่อสงฆ์อาพาธ และการอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนา ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง อย่างสุดความสามารถที่จะทำได้ครับ

    [​IMG]


     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    จากบทความเรื่องกสิณข้างต้น ผมมีความตั้งใจที่จะนำมาลง ให้ได้ทดลองฝึกกัน เพราะผมเชื่อว่า ทุกคนล้วนมีบุญญฤทธิ์ของตัวเองอยู่แล้ว และสามารถฝึกได้ทุกคน ส่วนจะได้ขนาดไหน ต้องขึ้นอยู่กับการปฏิบัติในอิทธิบาท 4 ของแต่ละท่านเอง เพื่อเป็นการยืนยันในสิ่งที่ผมบอกข้างต้น มีบทความเรื่องนี้อยู่พอดี ลองอ่านกันครับ

    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Ckh%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><link rel="themeData" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Ckh%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_themedata.thmx"><link rel="colorSchemeMapping" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Ckh%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_colorschememapping.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cambria Math"; panose-1:2 4 5 3 5 4 6 3 2 4; mso-font-charset:1; mso-generic-font-family:roman; mso-font-format:eek:ther; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:0 0 0 0 0 0;} @font-face {font-family:Calibri; panose-1:2 15 5 2 2 2 4 3 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1610611985 1073750139 0 0 159 0;} @font-face {font-family:EucrosiaUPC; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:222; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777217 0 0 0 65536 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-unhide:no; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; margin-top:0cm; margin-right:0cm; margin-bottom:10.0pt; margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-fareast-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} .MsoChpDefault {mso-style-type:export-only; mso-default-props:yes; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-fareast-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} .MsoPapDefault {mso-style-type:export-only; margin-bottom:10.0pt; line-height:115%;} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 72.0pt 72.0pt 72.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin;} </style> <![endif]-->
    [FONT=&quot]ปรมัตถธรรมมีอยู่ในตน[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT]
    [FONT=&quot]การปฏิบัติสมาธิจะต้องรวมจิตรวมใจที่ศูนย์กลางของทุกกายให้เป็นจุดเดียว เป็นธรรมปฏิบัติซึ่งเป็นทางไปสู่มรรคผล จะรู้แจ้งกฎแห่งกรรม ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติผ่านกระบวนการที่ถูกและครบถ้วนแล้วจะอธิษฐานจิตสักกี่ครั้งก็จะไม่สัมฤทธิ์ผลเพราะมนุษย์ไม่มีสัจจะ ยังมีจิตใจที่ไม่บริสุทธิ์ เต็มไปด้วยกิเลส กลัวมนุษย์ด้วยกัน ทุกสิ่งที่มนุษย์ทำในโลกนี้เป็นการกระทำเพื่อความสบายใจและความชอบธรรมของมนุษย์ไปสู่ความสำเร็จแต่ฝ่ายตน ไม่ได้คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้อื่นทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ใช้แต่อำนาจหน้าที่ไม่หวั่นเกรงกฎแห่งกรรม หลงเชื่อแต่สิ่งที่ตนไม่เข้าใจ ปัดความรับผิดชอบให้กับคนอื่น เป็นที่น่าเสียดายที่มนุษย์ไม่พยายามเข้าให้ถึงหลักธรรมอย่างจริงจัง มันฝังลึกอยู่ในจิตใจของทุกคน จงหมั่นปฏิบัติจะเข้าใจด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่นมาชี้แนะเราอีก[FONT=&quot] ทุกอย่างมีอยู่ในตัวเรา มีให้ศึกษาได้ไม่จบสิ้น[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT][/FONT]


    [FONT=&quot]ธรรมะเป็นกฎธรรมชาติที่ละเอียดยิ่ง เป็นวิชาเบื้องสูงที่ทุกองค์ศาสดาได้ค้นพบและถ่ายทอดให้แก่ทุกสรรพสิ่งรับไปเป็นปฏิบัติบูชาให้เกิดพลังธาตุจิตรู้แจ้งเห็นจริง มีอยู่ในศูนย์กลางกายบังคับธรรมชาติของโลกธาตุและวิญญาณธาตุให้เปลี่ยนแปลงไปตามบุญบารมีของธรรมส่งผล คุณงามความดีของพระธรรมมีมาช้านานแล้ว แต่การสอนยังก้าวไปไม่ถึงไหนเท่าที่ควร ยังย่ำอยู่กับที่ ไม่มีใครกล้าผลักดันไปให้ไกลกว่านี้เพราะตนก็ไม่ได้ปฏิบัติรู้ด้วยตนเอง แต่ผู้สอนก็ได้รับอานิสงส์ตามที่ต้องการไปกันถ้วนหน้า อีกไม่ช้าจะถูกครอบงำด้วยวัตถุธาตุนิยมสมัยใหม่ อย่างเช่น การฉลองประเพณีสงกรานต์ในปัจจุบันได้ทำลายวัฒนธรรมไปหมดแล้ว ได้มอบหมายให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวเข้ามาดูแลแทนที่และจะเกิดขึ้นอีกหลายๆงานที่จะจัดขึ้นแบบเดียวกันนี้อีกต่อไปจะไม่มีที่สิ้นสุด ธรรมะมีส่วนดีอยู่บ้างในทุกศาสนาของโลกนี้แต่ไม่เต็มใบ กระจายออกไปทั่วทุกนิกายของความเชื่อแตกต่าง เมื่อรวมกันเข้าแล้วจะเป็นธรรมะที่สมบูรณ์แบบเป็นปริยัติธรรมได้[FONT=&quot]<o></o>[/FONT][/FONT]


    [FONT=&quot]พลัง ภายในกายเป็นจุดสร้างบุญ มีอำนาจแก้กรรมเก่า ดับทุกข์โศกโรคภัยของตนและของผู้อื่นในธาตุจิตอันเดียวกัน สร้างภพสร้างชาติ เปลี่ยนแปลงโลกธาตุและวิญญาณธาตุ มีปัญญารู้แจ้งสัจธรรมที่เที่ยงไม่ต้องศึกษาศีลธรรม บังคับภัยธรรมชาติและภัยบุคคลได้ด้วยตนเองอย่างเที่ยงธรรม ปรับความคิดของศัตรูที่จะมาปองร้ายหรือจะมาทำลายตน แก้เหตุการณ์ร้ายให้เป็นดีได้ จะไม่มีการประพฤติผิดศีลธรรมกลับรักษากฎแห่งกรรมได้เป็นอย่างดีโดยไม่มีการ ปรุงแต่งอย่างเช่นทางโลก มีวาจาสิทธิ์ ธาตุจิตบริสุทธิ์จะนำเราไปสู่ทางธรรมด้วยอำนาจบารมีธรรมและรักษาศีลได้ครบ ถ้วนโดยปริยาย เปลี่ยนพฤติกรรมและบุคลิกภาพของบุคคลไปด้วย ช่วยส่งเสริมให้ชีวิตและครอบครัวเจริญ คิดถูกทำถูก จะประสบแต่ความสำเร็จทุกประการ มีอำนาจสั่งการเป็นบุญฤทธิ์และมิใช่แบบพละการตามแต่อารมณ์นำพา การเรียนและความจำจะประเสริฐยิ่ง อ่านจิตอ่านใจผู้อื่นออกและบังคับสิ่งที่ไม่ปรารถนาได้ด้วย ผู้ที่ไม่มีบุตรขอให้มีบุตรได้ มีสังคมที่ดี คบหาสมาคมได้ง่าย จะหาคู่ครองก็ไม่ยาก สามารถรู้แจ้งแทงตลอดถึงหน้าที่การปฏิบัติธรรมของโลกีย และโลกุตตรธรรมส่งผลแตกต่างต่อชีวิตมนุษย์ไม่เหมือนกัน เคลื่อนย้ายทรัพยากรใต้ดินและปราบผีสางเทวดาเจ้าที่เจ้าทางและไสยศาสตร์ทุก แขนงให้หมดได้เป็นอย่างดี ทำลายธาตุล้วนธรรมล้วนจนถึงสุดละเอียดของรูปสีเสียงกลิ่นรส สลายสิ่งที่หยาบกว่าตนและอื่นๆอีกมากมาย ทั้งหมดเป็นผลจากการปฏิบัติสมาธิจิตทั้งสิ้นไม่ต้องสงสัย ถ้าไปยึดติดวัตถุอีกจิตจะหาความสว่างในทางธรรมไม่ได้ จิตก็จะถูกฝ่ายอธรรมครอบครอง จะไม่เป็นตัวของตนเองหมดอำนาจสั่งการทันที[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]<o>บทความจาก</o>[/FONT]
    [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    http://www.geocities.com/knowledge_meditation/139.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2009
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เรื่องของบุญญฤทธิ์
    โดยหลวงพี่เล็ก แห่งวัดท่าขนุน

    [​IMG]
    บุญ ญฤทธิ์ เป็นบุญที่เกิดจากกำลังบุญ ไม่ใช่ฤทธิ์ในลักษณะของอภิญญา มีอยู่ครั้งหนึ่งพระยามารแกล้งพระพุทธเจ้า รายนี้มีโอกาสเมื่อไหร่ก็แกล้ง ๆ จนถึงวาระสุดท้าย ทูลพระพุทธเจ้าอาราธนาให้นิพพาน พระพุทธเจ้าแสดงนิมิตให้พระอานนท์ ทราบ ถึง ๑๖ ครั้ง แต่ว่าด้วยกรรมบังและพระยามารตั้งใจแกล้งจริง ๆ พระอานนท์ก็ไม่เข้าใจที่พระพุทธเจ้าท่านเปรียบว่า ถ้าหากว่ามีเกวียนอยู่เล่มหนึ่ง เก่าคร่ำคร่าเต็มทีแล้ว ดุมก็หลวม กงก็คลอน พื้นก็ผุ ถ้าหากว่าเป็นพระอานนท์มีเกวียนอย่างนั้นอยู่จะเปลี่ยนใหม่ดีหรือว่าจะซ่อม เกวียนเก่าไว้ใช้ต่อไป

    พระอานนท์บอกว่าเปลี่ยนใหม่ดีกว่าพระ พุทธเจ้าข้า พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกครั้งเดียว ท่านแสดงนิมิตว่าท่านใกล้จะไปแล้วถึง ๑๖ ทีด้วยกัน ตั้งแต่ปาวาลเจดีย์ ไปจนกระทั่งถึงเมือง กุสินารา ๑๖ ระยะด้วยกัน พระอานนท์ถูกมารดลใจด้วย ขณะเดียวกันเขาตั้งใจแกล้ง จากคนที่ฉลาดที่สุดก็เลยกลายเป็นว่านึกไม่ถึงขึ้นมา พระพุทธเจ้าท่านก็เลยตัดสินใจปลงอายุสังขาร พอพระพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร แผ่นดินก็ไหว พระอานนท์แปลกใจทูลถาม ว่า ทำไมแผ่นดินถึงไหว

    พระพุทธเจ้าตรัสว่าแผ่นดินไหวด้วยสาเหตุ ๘ ประการด้วยกัน

    ประการที่ ๑ : เกิดจากลมกำเริบ คือใต้โลกของเรานี้เป็นหินเดือด ๆ พอเดือดมาก ๆ ไอร้อนมารวมตัวกันเกิดเป็นความดันสูง พอความดันได้ที่ก็ผลักพื้นโลกข้างบนให้โยกคลอนได้ เขาใช้คำว่า ลมกำเริบ

    ประการที่ ๒ : เกิดจากผู้มีฤทธิ์บันดาล ผู้ได้ฤทธิ์ได้อภิญญาบันดาลให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างไรก็ได้

    ประการที่ ๓ : พระโพธิสัตว์ในชาติที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตเข้าสู่ครรภ์พุทธมารดา

    ประการที่ ๔ : พระโพธิสัตว์ประสูติ

    ประการที่ ๕ : ตรัสรู้

    ประการที่ ๖ : แสดงปฐมธรรมเทศนา

    ประการที่ ๗ : ปลงสังขาร

    ประการที่ ๘ : ปรินิพพาน

    พอ พระอานนท์ได้ยินใจหายแวบเลยรู้แล้ว แต่ตอนนี้ไม่ทันแล้ว เลยทูลพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่าบุคคลผู้ทรงอิทธิบาท ๔ สามารถอธิษฐานร่างกายให้อยู่ได้ถึง ๑ กัป ขออาราธนาพระพุทธเจ้าอยู่ต่อในลักษณะนั้น พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าไม่ทันแล้ว ท่านรับคำอาราธนาของมารปลงอายุสังขารไปแล้วว่า แต่นี้ไปอีก ๓ เดือนเราจะนิพพานที่ระหว่างนางรังทั้งคู่ของเมืองกุสินารา แล้วท่านก็ตั้งหน้าตั้งตาเดินทางไปเมืองกุสินาราเลย

    [​IMG]

    เพราะฉะนั้นเรื่องมารแกล้งเป็นเรื่องปกติ ท่านแกล้งตั้งแต่วันแรกที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จออกบวช พระพุทธเจ้านั่งอยู่หลังม้ากัณฐกะพร้อมทั้งนายฉันนะมหาดเล็ก เรื่องนี้เป็นเรื่องอัศจรรย์ เป็นเรื่องของกำลังบุญ ๆ ที่บอกว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า พระอานนท์ก็ดี นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ดี นางบุญทาสีก็ ดี มีกำลังได้ ๗ ช้างสารนับว่าเป็นกำลังบุญ มาเห็นได้ชัดตอนที่พระพุทธเจ้าท่านเสด็จออกบวช (ถ้าใครอ่านรายละเอียดตรงนั้น) พระพุทธเจ้าพอทราบว่าพระราหุลประสูติ ถ้าขืนอยู่ต่อไปเห็นหน้าลูกแล้ว ตัดใจออกบวชไม่ได้แน่ เลยตัดใจหนีคืนนั้นเลย

    เสด็จ ออกกลางดึกปลุกนายฉันนะ มหาดเล็กขึ้นมาให้ไปผูกม้า บอกว่าเราจะออกมหาภิเนษกรมณ์ นายฉันนะก็ดีใจรอเวลานี้มานานแล้วก็ไปเตรียมม้า ม้ากัณฐกะคอดำ เขาบอกว่าเป็นพญาม้าอาชาไนยตัวประเสริฐ กายขาวปลอดเหมือนดังสีสังข์ ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายหาง วัดได้ ๑๘ ศอก มีศีรษะอันดำประดุจขนนกกาน้ำ เขาเรียก กัณฐกะ (ดำแต่คอ) ม้ากัณฐกะเป็นหนี่งในเจ็ดสหชาติที่เกิดพร้อมพระพุทธเจ้า และอยู่ ๆ มาผูกม้ากลางดึกด้วยสัญชาตญาณรู้ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จออกบวชแน่แล้ว เลยร้องเสียงลั่นด้วยความดีใจ แต่อรรถกถาบอกว่าเทวดาตั้งใจปิดเสียงไว้ เสียงเลยไม่ได้ยินไปถึงมนุษย์ทั้งหลาย ไม่เช่นนั้นไม่ได้บวชแน่

    เมื่อ พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นม้าตรงไปถึงประตูเมือง ปรากฏว่าประตูเมืองปิดอยู่ (อย่าลืมว่ากำแพงเมืองสมัยก่อนทั้งสูงทั้งใหญ่ ถึงจะกันศึกเสือเหนือใต้ได้) พระพุทธเจ้าคิดว่าถ้าประตูเมืองไม่เปิดเราจะใช้เท้าหนีบม้ากัณฐกะ พร้อมกับจับมือนายฉันนะกระโดดข้ามกำแพงไป เป็นเรื่องหมู ๆ ของท่าน ไปถึงพันธุรเสนาตอนที่แสดงศิลปศาสตร์ที่เรียนมาจากเมืองตักศิลา ไผ่หนึ่งพันลำวางต่อกันแล้วกระโดดฟันทีเดียวขาดหมด กำลังขนาดไหน และไม่ใช่ฟันไม้ไผ่ธรรมดา เพราะคนจะแกล้งเอาเหล็กสอดไว้ในปล้องไม้ไผ่ด้วย พอท่านฟันแล้วเสียงดังผิดปกติท่านก็ถามว่ามีอะไรอยู่ เขาก็บอกให้ว่ามีเหล็กสอดอยู่ข้างใน พันธุรเสนาบอกว่าถ้าบอกให้รู้ก่อนว่ามีเหล็ก จะฟันให้ขาดโดยไม่มีเสียงเลย พระพุทธเจ้าท่านคิดอย่างนั้น นายฉันนะมหาดเล็กก็คิดว่าถ้าหากว่าประตูเมืองปิด เราจะให้พระลูกเจ้าขี่คอแล้วก็จูงม้ากัณฐกะกระโดดข้ามไป

    ส่วนม้า กัณฐกะคิดว่าถ้าประตูเมืองปิดอยู่ เราที่มีพระลูกเจ้าอยู่ข้างหลังและมีนายฉันนะเกาะหางอยู่เราจะกระโดดข้ามไป ทุกคนคิดเหมือนกันหมด ปรากฏว่าเรื่องมันยุ่งมาก เทวดาก็เลยช่วยกันเปิดประตูให้

    เราลองมาคิดดูว่าตัวคน ๆ หนึ่งปกติจะกระโดดข้ามกำแพงก็แย่แล้ว คราวนี้ยังหนีบม้าอีกตัว และก็จูงบริวารอีกคน กำลังของท่านจะขนาดไหน ส่วนนายฉันนะท่านก็ตั้งใจให้พระพุทธเจ้าขี่คอและจูงม้ากระโดดข้ามไป ม้าท่านก็ว่าถ้าหากว่าประตูเมืองปิดอยู่ จะจัดการกระโดดข้ามไปเองพร้อมกับเจ้านายและคนรับใช้ เมื่อออกไปจากกำแพงเมืองแล้ว ก็ด้วยธรรมดาของคนที่เคยอยู่ เคยผูกพันกันมานาน ท่านต้องการดูเป็นครั้งสุดท้าย ในอรรถกถากล่าวว่า แผ่นดินหมุนเหมือนกับกงล้อ

    พระพุทธเจ้าท่านก็เลยหันไปเพื่อจะดู บ้านเมือง พอหันไปก็เจอพระยามาราธิราชโผล่ออกมาและบอกว่า สิทธัตถะราชกุมาร อีกเจ็ดวันจักรรัตนะคือ จักรแก้ว อันเป็นเครื่องหมายของพระเจ้าจักรพรรดิ์นี้ จะปรากฏแก่เธอแล้วอย่าออกบวชเลย ถ้าจักรแก้วปรากฏขึ้นเมื่อไหร่เธอจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ปกครองโลกทั้งโลก สิทธัตถะราชกุมารหรือพระพุทธเจ้ากล่าวว่า ปาปิมะ ดูก่อนมารผู้มีบาป เราก็ทราบว่าอีก ๗ วัน จักรรัตนะ จะปรากฏขึ้น แต่เราตั้งใจเสียแล้วจะออกบวช เธอจงหลีกไป พระยามาร ไม่อาจจะทานความดีของพระพุทธเจ้าได้ ก็ต้องถอยไป ตั้งแต่วินาทีนั้นพระยามารตามติดเลย มีโอกาสเมื่อไหร่กูเอาแน่

    คราว นี้กล่าวถึงเรื่องของบุญคน พระเจ้าจักรพรรดิ์จะต้องปกครองโลกทั้งโลก ปราบได้ทวีปทั้ง ๔ คืออย่างน้อย ๆ ดาวอีก ๓ ดวงที่มีคนอยู่ ท่านต้องปราบได้ ในจักกวัตติสูตร อังคุตตรนิกาย กล่าวถึง สัตตรัตนะ แก้วทั้ง ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ์ มี...

    ปริณายกรัตนะ (ขุนพลแก้ว) ทำหน้าที่แทนทุกอย่าง รบที่ไหน ไม่เคยแพ้ ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิ์สละราชสมบัติออกบวช ขุนพลแก้วจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์แทน

    คหปติรัตนะ (ขุนคลังแก้ว) มีทิพจักขุญาณที่แจ่มใส สามารถเห็นขุมทรัพย์ทุกแห่งที่อยู่ใต้พื้นดินได้ มีหน้าที่ขนมาใส่ท้องพระคลัง เพื่อให้พระเจ้าจักรพรรดิ์เลี้ยงดูคนทั้งโลก

    หัตถิรัตนะ (ช้างแก้ว) เป็นช้างเผือกตัวประเสริฐจากป่าหิมพานต์ แม่ช้างเมื่อตกลูกแล้วจะพาลูกมาอยู่ในโรงช้างเอง รู้ว่าตัวเองเกิดมาเพื่อทำอะไร

    อัสสะรัตนะ (ม้าแก้ว) เป็นม้าอาชาไนยตัวประเสริฐจากลุ่มแม่น้ำสินธุ มีกำลังวิ่งได้ถึงวันละ ๑,๐๐๐ โยชน์ เป็นผู้ไม่มีความกลัวเกรงในสิ่งใด ๆ ถึงแม้ศึกเสือเหนือใต้ เสียงมันจะดังขนาดไหนก็ตาม ฆ่าแกงกันขนาดไหนก็ตาม ม้าอาชาไนยจะไม่มีความหวั่นไหว พระพุทธเจ้าท่านเคยบอกเอาไว้ว่าบุคคลที่ไร้ความกลัว เช่น 1)พระพุทธเจ้า 2)พระอรหันต์ สองอย่างนี้เรารู้ว่าท่านไม่กลัวตายแน่นอน เพราะว่าท่านหลุดพ้นแล้ว 3)พระเจ้าจักรพรรดิ์ ท่านไม่กลัวอะไรเพราะรู้ว่าท่านปกครองคนทั้งโลก ทั้งโลกนี้และโลกอื่นทั้ง ๔ ทวีป ไม่มีศัตรูก็เลยไม่ต้องกลัวใคร 4)ม้าอาชาไนย ไม่กลัวอะไรเหมือนกัน

    อิตถีรัตนะ (นางแก้ว) ส่วนใหญ่จะเป็นนางที่มาจากอุตตรกุรุทวีป ดาวพลูโตโน่น ประกอบไปด้วยเบญจกัลยาณี อิตถีลักษณะครบถ้วนทุกประการ เนื้ออุ่นในหน้าหนาว เนื้อเย็นในหน้าร้อน

    มณีรัตน (มณีแก้ว) เป็นดวงแก้วมณีโชติคู่บารมี จะผุดขึ้นกลางพระลานหลวงแล้วก็เลื่อนไปอยู่ในท้องพระคลังเอง มณีรัตนะอยู่ที่ใดก็ตาม ทรัพย์สมบัติจะปรากฏในที่นั้นตลอดกาล เหมือนอย่างกับแม่เหล็ก แต่เป็นแม่เหล็กดูดสตางค์

    จักกรัตนะ (จักรแก้ว) เป็นการประกาศความดีของพระเจ้าจักรพรรดิ์ว่า สมควรที่จะปกครองในทวีปทั้ง ๔ ท่านบอกว่าปกติจะอยู่ที่สะดือทะเล เป็นจุดที่ต่ำที่สุดของแผ่นดิน อยู่ใต้น้ำ ถึงเวลาจะลอยขึ้นมา พร้อมกับดึงดูดเอาสมบัติที่อยู่ในจุดนั้นมาทั้งหมด ท่านบอกว่า ด้วยอานุภาพของจักรแก้ว พระเจ้าจักรพรรดิต้องการบรรทุกคนไปสักเท่าไร่ก็ได้ สามารถไปทวีปอื่น ๆ ได้ในชั่วพริบตาเดียว ดีกว่าจานบินสมัยนี้เยอะ ท่านบอกว่าถ้าพระเจ้าจักรพรรดิ์ต้องการจะออกตรวจตราความสงบเรียบร้อย ความสุขความทุกข์ของประชาชนในทวีปทั้ง ๔ จักรแก้วอาจจะพาออกไปได้ ในขณะที่พ่อครัวเริ่มทำอาหารและกลับมาทันกิน เร็วไหม ดาว ๔ ดวงไปอีท่าไหนไม่รู้ไปทั่วเลย
    <!--test-->
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    วันนี้ขอนำเรื่องเก่ามารีเทริ์นอีกครั้งหนึ่ง เพราะได้ประสบพบเจอความมหัศจรรย์หรือบุญญฤทธิ์แห่งท่านในทางที่ดี ในช่วงระยะเวลาขวบเดือนที่ผ่านมาเป็นอย่างยิ่ง หลังจากที่ได้กราบไหว้ บูชา และอุทิศผลบุญให้ท่านหลังจากนั่งสมาธิทุกครั้งมาโดยตลอด

    <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#ffffff"><td class="tablerow" valign="top"><table align="center" border="1" bordercolor="#dedddd" cellpadding="2" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td bgcolor="#efefef"> <center> ความรู้เรื่อง "ศาลพระภูมิ" ตามที่มีผู้นำไปโพสต์ตามเว็บต่างๆ



    </center>
    www.ranthong.com/smf/index.php?topic=7225.0;wap2
    www.banfun.com/buddha/phume-angel1.html
    //g5.buildboard.com/viewtopic.php/955/2352/7562/0/ โพสต์โดย..Max Webmaster


    <dd>เรื่อง "ศาลพระภูมิ" นี้ เว็บส่วนใหญ่อ้างว่าคัดจากหนังสือ " สมบัติพ่อให้ " แต่ในหนังสือเล่มนี้ก็คัดมาจากหนังสือ "หลวงพ่อตอบปัญหา" เล่มที่ ๕ บ้าง แต่มีการคัดลอกไม่ละเอียด มีการคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องเครื่องบวงสรวง จึงขอนำเรื่องนี้มาจาก หนังสือตอบปัญหา เล่มที่ ๕ โดยตรง

    </dd><dd>พร้อมกันนี้ก็ได้สอบถามพระเจ้าหน้าที่พิธีการเรื่องนี้โดยเฉพาะ แล้ว เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการกระทำพิธี จะได้ไม่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงกันต่อไป คิดว่าน่าจะเป็นความรู้และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับชีวิตของคนเรา หากตั้งศาลผิดทิศผิดทาง หรือทำพิธีกรรมไม่ถูกต้อง อาจจะสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินไปในที่สุด บางคนก็พลาดไปใช้พระภูมิ เพราะไม่รู้ว่าบางองค์ท่านก็เป็นอริยเจ้าอย่างนี้ เป็นต้น จึงควรน่าจะศึกษาหาความรู้ไว้ดีกว่า หากผิดพลาดไปก็จะเสียใจไปจนวันตาย... </dd>


    <hr>
    <dd>สารบัญ

    </dd>ปัญหาเรื่อง "ศาลพระภูมิ"
    ความเป็นมาของการตั้งศาลพระภูมิ
    การตั้งศาลพระภูมิ
    ตั้งศาลบนดาดฟ้า
    ตั้งศาลพระภูมิเอง
    วันเวลาที่เป็นมงคล
    ตั้งศาลไว้ในบ้าน
    เจ้าที่
    เทวดาต้องการ 4 เสา
    เจ้าที่เจ้าทาง
    ตั้งศาลพระภูมิไว้ในใจ
    ตั้งศาลพระภูมิสองหลัง
    เครื่องบรวงสรวงแบบย่อ
    เครื่องบรวงสรวงสำหรับตั้งศาลพระภูมิ และศาลอากาศเทวดา
    ผู้ที่บนแล้วจำไม่ได้
    แก้บนท้าวมหาราช
    การบนหลวงพ่อ ๕ พระองค์ที่วัดท่าซุง


    <hr>

    <center>ปัญหาเรื่อง "ศาลพระภูมิ"


    <big>ผู้ถาม..อ.วีระ (ยกทรง) งามขำ
    ผู้ตอบ..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี </big>

    จาก..หนังสือตอบปัญหาธรรม เล่มที่ ๕

    รวบรวมโดย..พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต


    [​IMG]
    </center>
    <dd>สำหรับ พระภูมิในปัจจุบัน ก็มีหลายท่านที่โจมตีพระภูมิ หาว่าการตั้งศาลพระภูมิไม่เป็นเรื่องเป็นราว แต่ก็มีอนุศาสนาจารย์ ของกองทัพบกท่านหนึ่ง ท่านเคยออกอากาศเมื่อสมัยเป็นร้อยตรี เคยโจมตีพระภูมิเหมือนกัน แล้วต่อมาเห็นค่าของศาลพระภูมิ เวลานี้เลยเป็นหมอตั้งศาลพระภูมิไป อันนี้ผลอย่างนี้จะปรากฏขึ้นเพียงใด ก็เป็นเรื่องของท่านผู้อ่าน หรือท่านผู้ฟัง ให้ค่อยๆพิจารณากันไปเอง

    </dd><dd>สำหรับพระภูมินี้ อาตมาเองผู้พูด แรกเริ่มเดิมทีก็ไม่ค่อยจะเชื่อเหมือนกันแล้วก็เป็นเอามากๆด้วย ทีนี้พระภูมิก็มาประสบ เข้ากับตนเอง คือสมัยเมื่อปี พ.ศ. 2492 ปีนั้น ไปรับตำแหน่งเจ้าอาวาสบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    </dd><dd> ในตอนต้นที่อาตมาไปถึง กุฏิของหลวงพ่อปานไม่มีพระอยู่ ก็ไปเรียนถามว่า "อาจารย์ฉัตร" ในสมัยนั้นที่เป็นพระอาวุโส และทรงพระกรรมฐานอย่างเลิศ คำว่าเลิศนี่..เลิศในคณะ ไม่ใช่เลิศสำหรับคนอื่น ในกลุ่มนั้นท่านเลิศถามว่า ไม่อยู่กุฏิหลวงพ่อปาน นิมนต์ท่านไปอยู่ ท่านบอกว่าท่านไม่รับรอง ท่านไม่ไปอยู่ ถ้าหากว่าท่านไปอยู่ ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น ใครจะช่วยเหลือท่าน เมื่อหาพระไปอยู่ไม่ได้ อาตมาเคยเป็นลูกศิษย์มา ก็เลยบอกว่า ถ้ายังงั้น ถ้าไม่มีคนอยู่ผมจะอยู่เอง

    </dd><dd> ตอนเย็นก็หอบเสื่อหอบหมอนเข้าไปไม่มีอะไรมาก แบบเจ๊กมาจากเมืองจีน มีหมอนลูกเสื่อผืนมุ้งหลัง พออีตอนที่จะเข้าไปหลวงพ่อเล็กเห็นเข้าบอกว่า ทำไมไม่บวงสรวง ขออนุญาตเสียก่อน ก็เลยบอกว่าสมัยก่อนผมนอน ผมไม่ได้บวง สรวงผมก็นอนได้ มาอีตอนนี้ ผมไปนอนอีกจะต้องบวงสรวง ก็เห็นจะไม่เป็นเรื่องละ ไม่ยอมบวงสรวง มันจะเป็นไร ก็อยากรู้กันสักที วัดนี้เขามีความสำคัญ มากแค่ไหน ผมไม่เคยรู้ รู้บ้างก็ไม่หนักนัก เป็นแต่เพียงผีหลอก ถือกันสมัยก่อนก็ไม่เห็น เป็นเรื่องหนัก

    </dd><dd> หลวงพ่อเล็ก ท่านก็ไม่ว่าอะไร ก็ไอ้คนมันบ้าๆบอๆ เสียแล้วนี่ จะไปว่าอะไรกันได้ ท่านก็นิ่งเมื่อท่านนิ่งก็เลยเดินเข้าไปทำความสะอาดพอสมควร มันไม่สะอาดนักแหวกๆที่นอนเอา จัดที่นอนภายในห้องในกุฏินั้นเป็นกุฏิฝาเฟี้ยมปิดตลอดแต่มีกั้นอยู่ 1 ห้อง คือห้องที่หลวงพ่อปานเคยจำวัด เดินเข้าไปจัดสถานที่เรียบร้อยแล้ว ประมาณ 2 ทุ่ม ก็ออกมาบูชาพระที่หน้าพระ ก็อยู่ภายในประตูปิดเหมือนกัน ขณะที่บูชาพระตั้ง "นะโม" ปรากฏว่ากุฏิห้องที่นอนอยู่นั้นแหละทั้งๆ ที่ไม่มีใครก็มีลูกกรงเหล็ก เข้าไม่ได้เสียงประตูเปิดอ๊าดดังสนั่น แล้วก็มีคนเดินขย่มไม้หนามากนะ

    </dd><dd> ความจริงคนเดินยังไม่ค่อยจะยุบตัวเลยคนเดินไม้ สะเทือนกุฏิหวั่น แสดงว่ามีน้ำหนักมาก ขณะนั้นกำลังตั้งใจบูชาพระหลับตาอยู่ เห็นนุ่งขาวห่มขาวมือสีแดง มือขวามีสีแดง จัด ยืนอยู่ข้างหน้า ก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร ลืมตาขึ้นมา ทั้งๆที่เทียนจุดสว่างอยู่หลายเล่มก็เห็นเป็นคน หลับตาก็เห็น ก็นึกใน ใจว่า เอ๊ะ..มันคนอะไรของมัน ไอ้คนตามธรรมดาลืมตาเห็นได้ หลับตาไม่เห็น แต่อีตาคนนี้ลืมตาก็เห็นหลับตาก็เห็น

    </dd><dd>ก็เลยถามว่า แกเป็นใคร เขาก็รายงานบอกว่า ผมคือ "ภูมิเทวดา" หรือพระภูมิรักษาพื้นที่ของวัดนี้ ถามว่า มาทำไม แกก็บอกว่าจะมา เตือนท่านท่านเป็นเจ้าอาวาสทำไมจึงไม่ตั้งศาล "ศาลพระภูมิ" ก็เลยบอกแกว่าศาลหน้าวัดข้างศาลาน่ะเยอะแยะใครเขาเป็น เจ้าอาวาสคนนั้นเขาก็ตั้งศาลกัน ทีนี้วัดนี้โดยมากเจ้าอาวาสมีชีวิตไม่ยืนยาว หลายองค์มาแล้วเป็น 2-3 ปีก็ตายไม่ทราบว่า เป็นเพราะอะไร

    </dd><dd> หลวงพ่อปานเองท่านไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส ตอนหลังท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาส 2 ปีก็มรณภาพ ก็ถามว่าไม่ไปอยู่ล่ะ ศาลน่ะเยอะแยะไป เลือกเอาตามใจชอบ แกบอกว่าไม่ได้หรอก ท่านเป็นเจ้าอาวาสท่านต้องตั้งใหม่ ถามว่า ศาลเก่าน่ะอยู่ไม่ได้เรอะ แกก็เลยบอกว่า

    </dd><dd>ไอ้เรื่องตั้งศาลนี่ไม่ใช่ให้เป็นที่อยู่นะ ภูมิเทวดาเขามีวิมานเป็นที่อยู่การตั้งศาลนี่นะ เป็นการแสดงว่า ยอมรับนับถือกันและกันเท่านั้นนะ หมายความว่า เป็นสักการะบูชา เมื่อแกบอกอย่างนั้นก็เลยนึกในใจ ว่าแปลก เลยบอกกับแกว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ยังไม่ตั้งหรอก ถ้าไม่ตั้งศาลจะเกิดอะไรขึ้น แกบอกว่า

    </dd><dd> หลวงพ่อปานน่ะเป็นอาจารย์ท่านนะยังเคารพในผม แล้วท่านทำไมไม่เคารพล่ะ เราเกรงใจกันนะ ผมไม่ใช่บังคับให้ท่านเคารพผมหรอก แต่ว่าเราเกรงใจกันอาศัยซึ่งกันและกัน ก็เลยบอกแกยัง ยังไม่เกรงใจหรอก เพราะว่ายังไม่เห็นฤทธิ์เห็นเดชนี่ ไม่เก่งจริงก็เกรง ใจกันไม่ได้ คนที่จะเกรงใจ ต้องเป็นคนเก่ง แสดงคุณค่าอย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏ แกก็เลยบอกได้ ถ้าต้องการอย่างนั้น ละก็ได้

    </dd><dd> เอาอย่างงี้ก็แล้วกันนะ วันพรุ่งนี้เวลา 5 โมงเย็น หากว่าท่านไม่ยัดสินใจตั้งศาล จมูกข้างซ้ายจะหายใจไม่ออก วันมะ รืนนี้ 5 โมงเย็น ถ้าหากว่า ท่านยังไม่ตัดสินใจที่จะตั้งศาล จมูกข้างขวา จะหายใจไม่ออกอีกข้างหนึ่ง ต่อไปต้องหายใจทางปาก พอวันต่อไปวันมะเรื่อง ถ้าหากว่า ท่านยังไม่คิดตั้งศาล หลอดลมจะใช้ไม่ได้ ลมจะไม่มีออกได้เลย ก็เลยบอกว่า ตกลง ให้ความจริงปรากฏเสียก่อน ถ้ามีความจริงจะยกศาลเรื่องเล็ก แต่ว่าถ้ายังไม่จริง ไม่ทำ

    </dd><dd> พอวันรุ่งขึ้นเวลาฉันเช้าหลวงพ่อเล็กถามว่า มื่อคืนพระภูมิไปหาใช่ไหม แหมท่านรู้เสียด้วย แบบหลวงพ่อปาน ก็บอกว่าใช่ ตกลงกับเขาว่าอย่างไรก็เล่าให้ท่านฟัง ท่านบอกว่า เขาเอาจริงนะ หลวงพ่อปานก็เกรงใจเขา ฉันเองก็เกรงใจเขา เขามีอานุภาพมาก มือขวาเขาแดงจัด ก็เลยกราบเรียนถามว่า พระภูมิมีมือแดงทุกองค์

    </dd><dd> ท่านตอบว่ามี แต่ว่าองค์ไหนมีมือแดง จัดองค์นั้นมีอานุภาพมาก มีสีแดงน้อยมีอานุภาพน้อย ก็เลยบอกว่า ลองก่อน ผมอยากจะลองดีเขา ถ้าเขามีดีจริงก็เคารพ พอเวลา 5 โมงเย็นท่านผู้ฟัง หายใจไม่ออกจริงๆตามธรรมดาเป็นหวัด ถ้าเราปิดข้างหนึ่งดันลมอีกข้างหนึ่งมันออกง่ายแต่ ตอนนี้ไม่ยอมออกทั้งหมดแน่นจริงๆพอรุ่งขึ้นวันที่ 2 ข้างขวาล่อเข้าอีก

    </dd><dd> ตอนนี้เป็นยังไงกลายเป็นหนุมานไปเลย..อ้าปากหวอ หายใจทางปากยอมแพ้ เลยใช้เด็กให้ไปบอกตาโต๊ะ เขาบอกแล้วนี่ว่าคนยกศาลต้องตาโต๊ะคนเดียว คนอื่นยกไม่ได้เขาไม่ ยอมรับนับถือ เพราะกินเหล้าเมายา ก็จดหมายไปบอกตาโต๊ะให้ยกศาล แต่พอเด็กไปเรียกตาโต๊ะ แกอยู่บ้านไกลประมาณสักกิโล ไปเรียกบอกว่า ท่านมหาให้เอาจดหมายมาให้

    </dd><dd>แกก็ร้องบอกมาไม่ต้องหรอกรู้แล้ว จะตั้งศาลรึรู้แล้วไปบอกท่านมหาเถอะว่า ศาลนี้กำลังทำ พรุ่งนี้จะเอาไป ให้ไปรับรองเขาเมื่อจะตั้งก็แล้วกัน เมื่อคืนนี้เขามาบอกแล้วว่า แพ้เขาน่ะ เป็นอันว่า รู้เรื่องกัน พอรุ่งขึ้นเช้าโยมโต๊ะก็มาตั้งศาลให้ตามพิธีกรรมที่หลวงพ่อปานสอน เรื่องก็เป็นอันว่าเสร็จกันไป</dd>


    <<< กลับสู่สารบัญ


    <center>ความเป็นมาของการตั้งศาลพระภูมิ</center>
    ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ เทวดาที่สิงสถิตย์อยู่ที่ศาลพระภูมิ เป็นเทวดาชั้นไหนครับ?

    หลวงพ่อ : ไม่มี..ที่ศาลนี่ไม่มีจริงๆ นะ ศาลเป็นที่สักการะเฉยๆ ใช่ไหม.. แต่วิมานเขามีอยู่ และการยกศาลเป็นการแสดงยอมรับนับถือ จะให้เข้าไปนั่งในศาลพระภูมิต้องทำตัวเล็กซินะ (หัวเราะ) อันนี้เป็นการแสดงการยอมรับนับถือ ยอมรับนับถือซึ่งกันและกันจึงตั้งศาลขึ้น

    <dd>เรื่องนี้เคยถามภูมิเทวดาท่าน เมื่อก่อนนี้เคยยกศาลบ่อยๆ สงสัยก็เชิญท่านมา ท่านก็มาจึงถามว่า

    </dd><dd>"..ความเป็นมาของการตั้งศาลพระภูมิเป็นมาอย่างไร ท่านบอกว่า จริงๆ มันไม่มีแบบ เดิมทีชาวบ้านยังไม่มีพุทธศาสนา ใช่ไหม.. ก็นับถือเจ้าที่เจ้าทาง เทวดาประจำถิ่นบ้าง.. อะไรบ้าง.. การแสดงความเคารพก็ไม่มีอะไรมาก เอาไม้กระบอกปักเข้าจูดธูปบอก ต่อมาก็คิดว่าเราอาศัยเทวดามาก ก็ควรจะมีอะไรถวายเทวดาบ้าง ก็ทำเป็นศาลเพียงตาขึ้นมา เอาของวางข้างล่าง ก็คิดว่าเทวดานั่งข้างบน

    </dd><dd>ต่อมาก็เห็นใจเทวดานั่งตากแดดนั่งตาฝนก็ทำร่มให้ แล้วต่อมาก็ทำเป็นแล้ว แล้วต่อมาก็ทำเป็นตึก เวลานี้เป็นปราสาทนะ สวยงามมาก แสดงว่าพระภูมินี่ร่ำรวยขึ้น คือบ้านสวย อันนี้เป็นภุมิเทวดา แต่ว่าถ้าเป็นศาลสี่เสา หรือ หกเสา เป็น "อากาศเทวดา" นะ

    </dd><dd> แต่ถ้าถามว่าในสถานที่ไหน..ควรจะใช้สี่เสาหรือหกเสาก็ต้องดูก่อนว่า ที่นั่นมีอากาศเทวดารักษาหรือเปล่า..เพราะอากาศเทวดาก้เป็นเทวดาชั้นจาตุ มหาราช องค์หนึ่งก็คิมพระภูมิหลายสิบองค์ เหมือนกับเจ้าเมืองนะ เจ้าเมืองก็มีคนเดียวใช่ไหม.. นอกนั้นก็มีกำนันผู้ใหญ่บ้านเยอะ นี่ตามที่ถามท่านมานะ ที่พูดนี่ไม่มีตำรานะ เป็นเพียงถามภูมิเทวดาท่าน ตำรามถามนี้ดีเหมือนกันนะ ไม่ต้องเขียน..! </dd>


    <<< กลับสู่สารบัญ


    <center>การตั้งศาลพระภูมิ</center>
    ผู้ถาม : เรื่องตั้งศาลพระภูมิขอให้หลวงพ่อแนะนำหน่อยค่ะ

    หลวงพ่อ : เวลาจะตั้งศาลพระภูมินะ อันดับแรกขุดหลุมก่อน แล้วเอาเสาแหย่ลงไป..

    ผู้ถาม : (หัวเราะ)
    หลวงพ่อ : พิธีกรรมฉันไม่มีกับเขาหรอก เพราะเรื่องนี้ฉันไม่ได้ศึกษากับใครเขา ถ้าเมื่อก่อนฉันตั้งให้ ฉันใช้เชิญท้าวมหาราช เพราะท้าวมหาราชท่านเป็นนายพระภูมิ เมื่อเชิญมาแล้ว ท่านก็สั่งให้ลูกศิษย์ท่านรักษา ดีกว่าเราขอร้อง ฉันทำแบบนี้ไม่เกี่ยวกับคำถามนะ สตางค์..หวานคอแน่ ก็ตั้งใจปล้นนะ

    <dd>ก่อนหน้านั้นบังเอิญอาตมาไปธุระ เห็นบอกว่ามีข่าวไม่ดีมีคนมาบอก ฉันก็ไม่รู้จะทำยังไง ก็เลยให้เขาใช้เครื่องบวงสรวงเชิญท้าวมหาราช ถ้าหากว่าท่านช่วยก็พ้น ถ้าท่านไม่ช่วยก็แล้วไปหมูเสียกินเอง พอทำเข้าไปแล้วปรากฏว่า ๑ ปีผ่านไปขโมยไม่ได้เข้าบ้าน พวกโจรพวกนั้นแหละเขาไปคุยในร้านเหล้าว่า

    </dd><dd>"อีรอดนี่...มันมีสองคนเท่านั้นกับลูกสาวเวลากลางวัน แต่เวลาจะเข้าไปทีไร มันเอาผู้ชายที่ไหนมา ๑๐ คนตัวใหญ่ๆ เต็มไปหมด" เข้าไม่ได้ พอเข้าใกล้เขตบ้าน พวกนั้นจะมาเล่นงาน ไอ้พวกนี้ก็ถอย

    </dd><dd>ทีนี้บ้านน้องสาวแกอีกคนหนึ่ง อยู่ฝั่งตรงข้าม เขาเป็นเจ้าของปั๊มน้ำมัน เขาถามพี่สาวว่าทำยังไง...แกก็บอกไม่รู้ หลวงพ่อท่านมา ท่านให้บูชา ฉันก็บูชาตามท่านว่า รายนั้นก็เอาบ้างขอคำบูชาไป พอบูชาได้ ๒ วันนอนไม่ได้เลย พวกขว้างบ้านปังๆ ตลอดคืนเข้าก็เข้าใจว่าคนอ่นมาขว้าง พวกผู้ชายเขาก็เอาปืนไปนอนในบ้านบ้าง นอนนอกบ้านบ้าง ถ้าใครมาขว้าง ถ้าไม่ยิงก็ไล่จับกันก่อน ถ้าสู้ก็๖้องยิงกันละนะ

    </dd><dd>ปรากฏว่าก็ยังมีคนขว้างอีกแต่ก็ไม่เห็นตัว ไปๆ มาๆ ก็เอาคำบูชามาคืนให้ยายรอดตามเดิม จึงได้เลิกขว้าง ไอ้ที่ขว้างปังๆ น่ะ เช้าขึ้นไปดูวัตถุเป็นหินเป็นกรวด เป็นไม้ไม่มีเลยนะ ไอ้ฝาสังกะสีหน้าบ้านหลังคารั่วแต่ไม่มีวัตถุ นี่เรื่องท้าวมหาราชต้องทำให้ถูกนะ ถ้าทำไม่ถูกมีเรื่องแน่</dd>


    <<< กลับสู่สารบัญ


    <center>ตั้งศาลบนดาดฟ้า</center>
    ผู้ถาม : แล้วการตั้งนี่ ถ้าคนที่จะตั้งบนดาดฟ้านี่ สมควรไหมครับ ?

    หลวงพ่อ : คนตั้งไม่แน่ แต่พระตั้งได้ เพราะฉันเคยไปตั้งได้ไม่เป็นไรนะ ฉันเคยไปตั้งเมื่อก่อน ยังตั้งศาลอยู่ ก็ไปที่จังหวัดชัยนาท มันหาที่ไม่ได้ ที่ข้างๆ ที่ติดกับตึก ตึกเขาเป็นดาดฟ้านะ ไล่ไปไล่มาก็ถามเทวดา (ไปเชิญเทวดาชั้นจาตุฯ เป็นศาล สี่เสา) หาที่ไม่เหมาะก็ถามท่านเวสสุวัณว่าเอาตรงไหนดี ท่านก็บอกว่า เอาบนหลังคาก็แล้วกัน ก็ให้เขาย้ายขึ้นหลังคา เป็นอันว่าพอเชิญท่านเสร็จ เขาหุ้นกับพวกตึกแถวนะ แถวเดียวกันนี่ เข้าหุ้นกันได้

    <dd>ขณะอัญเชิญท่านมา ท่านก็บอกว่า ที่นี่จะมีไฟนะ ไฟจะไหม้ บอกเจ้าของบ้านเขาด้วยนะ ประเดี๋ยวจะหาว่าผมไม่พูด ถ้าเป็นปกติแบบนี้ ก็ช่วยไม่ได้ ถามท่านอีกที วิธีช่วยได้เป็นอย่างไร ต้องถามท่าน ท่านบอกให้เขาทำอีกครั้งหนึ่ง ศาลไม่ต้องทำใหม่แต่ของเชิญทำอีกครั้ง วันหลังก็ได้หมู ใช้สีแดงทา ไก่ก็เหมือนกันแล้วใช้กระดาษแดงใส่ถาดรองหมูไก่ เขาก็ตามนั้น

    </dd><dd>เมื่อเชิญท่านเสร็จ ท่านก็บอกว่า ไฟนี้ต้องไหม้นะ..แล้วกัน! ถามว่าไหม้ที่ไหน .. ท่านบอก ไหม้ที่โรงแรม ถามว่าไหม้มาก ไหม ไหม้ผ้าขี้ริ้ว แต่ไม่ติดฝา แต่ต้องไหม้ ไงๆ ก็ต้องไหม้ จะลดเลยไม่ได้ ทีแรกจะต้องไหม้ทั้งหมดเลยนะ ไหม้หมดแถว เขาก็ทำตามนั้น ฉันเลยให้เขาระวังกัน เป็นจริงตามนั้นไม่ถึง ๑๐ วัน ชั้นสองของโรงแรมมีไฟขึ้นมา เขาวิ่งไปดูกันไหม้ผ้า ขี้ริ้วจริงๆ แบบขโมยเข้าบ้านแล้วต้องเอาหน่อยใช่ไหม .. ไม่งั้นเสียศักดิ์ศรีขโมย</dd>


    <<< กลับสู่สารบัญ


    <center> ตั้งศาลพระภูมิเอง</center>
    ผู้ถาม : พวกลูกๆ จะตั้งกันบ้างนี่ ขอบารมีหลวงพ่อช่วยแนะนำบ้างครับ

    หลวงพ่อ : พวกนี้ช่วยเก็บบารมีไว้ซิ ทำไง.. เอายังงี้วิธีง่ายๆ ใช้ "เทปบวงสรวง" ใช้ได้นึกเอาตามนั้นนะ

    <dd>อันดับแรกจุดธูปเทียน อาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าก่อน ทีหลังก็เปิดเทปแล้วน้อมใจไปตามเสียงนั้นนะ ในเทปนั้นเขาอัญเชิญ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มี ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ ท้าวเวสสุวัณ พร้อมด้วยอินทกะและบริวาร ขอมาช่วยคุ้มครองว่า เรื่อยเฉื่อยไป ก็แล้วกัน แต่ว่าถ้าจะตั้งแบบนั้นยังมี ปลาแป๊ะซะ เติมนะ เรื่องของพระภูมิพอจะใช้ได้นะ ตั้งไว้เยอะแล้ว
    </dd>

    ผู้ถาม : หลวงพ่อครับหลังจากวันตั้งแล้วนี่นะครับ ปลาแป๊ะซะจะมีถวายอีกไหมครับ?

    หลวงพ่อ : ท่านไม่ว่าหรอก เอาอย่างนี้ดีกว่า เวลาตรุษสารทนะ ถวายให้ครบถ้วนดีกว่านะ เพื่อความสบายใจของเรา คือว่า - ท่านไม่ทวงเราแน่ แต่เพื่อความสบายใจของเราเอง เพราะเราทำครบแล้วใช่ไหม .. เอายังงั้นดีกว่านะ



    ผู้ถาม : ของคาวและเหล้า ก็หมายถึงว่าสมควรตั้งอย่างเดียว อย่างหลังไม่ต้องตั้งใช่ไหมครับ?

    หลวงพ่อ : ถมเถิดไป ฉันก็เคยใช้ เทวดาไม่เคยต่อว่า เหล้านะของคาวนะมีได้แต่เหล้าไม่ควรจะมี เทวดาเขาเลิกแล้ว ไอ้ที่ ต้องใช้เหล้าน่ะ เทวโด่ไม่ใช่เทวดา จริงๆนะฉันไม่ใช้เลยนะ


    ผู้ถาม : ถ้าสมมติจะตั้ง ควรจะหันหน้าศาลไปทางทิศไหนครับ?

    หลวงพ่อ : หน้าศาลเขาไม่จำกัด เอาแค่เราเข้าบูชาสะดวกแต่ว่าทิศที่ตั้งศาลนี่จำกัด ที่ว่าพระภูมิก็ไม่ควรตั้งทิศตะวันตกถ้า ตั้งทิศตะวันตกเอาจริงๆ หลวงพ่อปานท่านเคยบอกว่า ทิศนี้ฉิบหายแล้วตายโหง ฉันเคยไปพบที่จังหวัดอุทัยธานี กับจังหวัดชัยนาท เป็นความจริงตามนั้น เศรษฐีนะพังไป ๒ รายและพังไปในเหตุไม่ควรจะพัง ไม่น่าจะพัง และอีกทิศหนึ่งก็ทิศใต้ ไม่ควรตั้งนะ

    <dd>ทิศใต้นี่ก็เป็นแต่เพียงท่านบอกว่า จะเก็บสตางค์ไว้ไม่อยู่ ทิศที่ควรตั้งคือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือทิศเหนือ หรือทิศตะ วันออก ๓ ทิศนี้นะ แต่ว่าถ้าบ้านมีดาดฟ้า ตั้งดาดฟ้าเลยดีกว่า สบายใจนะ
    </dd>

    ผู้ถาม : หมายถึงส่วนของดาดฟ้านี่นะครับเราก็ตั้งช่วงที่อยู่ด้านทางทิศตะวันออก

    หลวงพ่อ : ใช่ๆ ให้ถูกทิศ


    ผู้ถาม : หันหน้าไปทางไหนก็ได้ ใช่ไหมครับ?

    หลวงพ่อ : หันหน้าไม่จำเป็น หันหน้าแค่เราบูชาได้สบายนะ แต่ว่านึกถึงตำราแต่ก็ไม่มีตำราเขียน หลวงพ่อปานท่านเคยสั่ง ก็เลยบอกคนเขาเขียนไว้ พอถึงปีจริง มีเรื่องตัวเองก็ต้องตาย เงินทองก็เสียหายมากเสียอย่างมากเลยนะ ไม่ใช่อย่างน้อย

    <<< กลับสู่สารบัญ


    <center> วันเวลาที่เป็นมงคล</center>
    ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ เวลาเช้าจะยกศาลดีไหมครับ

    หลวงพ่อ : ตั้งศาลก็อย่าให้ถึงเที่ยงนะตั้งแต่เวลาเช้าอย่าให้ถึงเที่ยง ใช้เวลาตั้งแต่เช้าไปถึงสายดีกว่า ถ้าถึงเที่ยงเทวดาไป ประชุมหมด ความจริงภูมิเทวดาตั้งก็มีผล คำว่า "มีผล" เขามีกันมาแล้วนะ

    ผู้ถาม : วันที่เป็นมงคล ควรจะเป็นวันไหนครับ?
    หลวงพ่อ : วันที่มีหมูมีไก่ มีบายศรี มีไข่ มีข้าว มีกล้วย มีมะพร้าวอ่อน มีขนมต้มแดงต้มขาว ข้าวตอกดอกไม้.. เสร็จมีศาล มีคนตั้ง วันนี้เป็นมงคล เอายังงี้ซิ เอาฤกษ์พรหมประสิทธิ์ ต้องหาประจำปี เอาฤกษ์หลวงพ่อปานก็ได้ ต้องนั่งไล่เบี้ย ไม่ได้
    ทำตารางไว้นี่ เอางี้ดีกว่า ฤกษ์ไหนที่เขาว่าดี ที่เราชอบใจ เราชอบใจ ฤกษ์ที่เขามีอยู่ วันไหนเขาว่าดี ทำวันนั้นนะ จะไม่ลำ บากใจ

    ผู้ถาม : ดูตามตำราใช่ไหมครับ?

    หลวงพ่อ : ใช่ .. ดูตามตำรา คือว่าถ้าเราฝืนตำรา เดี๋ยวคนโน้นพูด คนนี้พูดฝืนตำรา ไม่ทำตามตำรา วันนี้ไม่ดีไม่เป็นมงคล บ้าง .. อะไรนี่ ยุ่งไปใจไม่สบาย



    <center>ตั้งศาลไว้ในบ้าน</center>
    ผู้ถาม : ถ้าตั้งไว้ในบ้านเลยได้ไหมครับ?

    หลวงพ่อ : ไม่เป็นไรๆ คุณนี่ถามดี มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ฉันยังตั้งศาลอยู่นะ เจ๊กที่จังหวัดอุทัยธานี แกก็นิมนต์ไปตั้งศาล พอไปถึง บ้านแล้วก็หาที่ตั้งไม่ได้ ร้านค้าในตลาดนี่นะ ด้านหลังมันชนกัน เรียกว่าเป็นห้องแถวทั้งสองด้านนะสมัยก่อนเขามุงจากมุง สังกะสีชนกัน ข้างหลังก็มีหลังคาปิด ด้านหน้าเป็นฟุตบาทก็ตั้งไม่ได้

    <dd>พอไปถึงเข้าแล้วก็ปรากฏว่าฉันก็อั้นเหมือนกัน แกถามว่าตั้งที่ไหน .. ฉันก็นิ่งเขาถามว่าที่นั่นได้ไหม ... ที่นี่ได้ไหม .. มันก็ไม่ได้ ไปๆ มาๆ ก็ไม่มีตำราจะพลิก ก็ถามพระภูมิที่นั่นว่า จะตั้งไหนดี .. นี่เขาเคารพนับถือ เขาจะตั้งศาลเป็นเครื่องบูชา แล้วก็สถานที่มันไม่เหมาะสม ท่านจะเอาตรงไหน ท่านตัดสินใจเอาหัวนอนก็แล้วกัน ได้เรื่องเลย ก็ตั้งศาลที่หัวนอน

    </dd><dd> เมื่อเชิญเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเจ๊กคนนี้ ก็ถูกนินทา เจ๊กคนนั้นบ้า ไม่มีใครเขาตั้งศาลในบ้าน ใช่ไหม .. ตั้งไว้บนที่นอน พระภูมิโมโห งวดนั้นเลยให้ตานั่น ถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่สอง แหม..น่าโมโหบ่อยๆนะ เจ๊กคนนั้นแกขายหมู ต่อมาเวลาบวง สรวงหัวหมูกี่หัวก็ตามแกเอาให้ฟรีหมด เวลานี้แกตายไปแล้ว ลูกชายแกทำต่อได้ผลแล้วก็รวยขึ้นนะ ก็เป็นอันว่า ถ้าจะเป็นที่ไหนก็ได้นะใช่ไหม เป็นการแสดงความยอมรับนับถือกัน..ใช้ได้</dd>


    <<< กลับสู่สารบัญ


    <center>เจ้าที่</center>
    ผู้ถาม : เจ้าที่กับภูมิเทวดาต่างกันไหมครับ?

    หลวงพ่อ : เจ้าที่ต่างกับพระภูมิแน่ เพราะเจ้าที่เป็นคนก็ได้ เป็นสัตว์ก็ได้ เพราะเป็นเจ้าของที่ ใช่ไหม .. คำว่า เจ้าที่ หมาย ถึง อากาศเทวดา หมายถึงเทวดาชั้นจาตุมหาราช ถ้าอากาศเทวดาต้องใช้ศาล ๔ เสา หรือ ๖ เสา ภูมิเทวดาเขาใช้ศาลเสา เดียว ถ้าถามว่ากำลังอำนาจแตกต่างกันไหม ก็ต้องตอบว่า เจ้าที่คือเทวดาชั้นจาตุมหาราช คุมพระภูมิ พระภูมิหลายสิบจุด ขึ้นกับจาตุมหาราชจุดหนึ่ง เหมือนกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน เอาตามนั้นนะ

    <dd> เมื่อตะกี้ตอนอุทิศส่วนกุศล ท่านลุงพระยายม มาบอกว่า เวลาที่เราเลิกบูชาพระ ตอนอุทิศส่วนกุศล ให้พระภูมิเขาบ้าง ท่าน อารักขาอยู่ ควรให้ท่านโมทนาบ้าง ท่านบอกว่า ภูมิเทวดา ท่านอยู่ใกล้ที่สุด ตามคอยอารักขา ช่วยเหลืออยู่ ไม่บอกให้ท่าน ท่านก็โมทนาไม่ได้</dd>


    <<< กลับสู่สารบัญ


    <center>เทวดาต้องการ ๔ เสา</center>
    ผู้ถาม : คือ ลูกตั้งใจจะตั้งศาลพระภูมิที่บ้าน พอตั้งใจปุ๊บปรากฏว่า ตอนกลางคืนมีเทวดามาบอกว่า ข้าคือเจ้าพ่อพระภูมิ ถ้า เอ็งไม่เชื่อให้ไปถามหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง ที่จะเรียนถามก็คือว่าพระภูมิท่านสั่งว่า "ศาลของฉันให้เอาเสา ๔ ต้น" แต่เห็น ที่อื่นมีต้นเดียว จะทำอย่างไรดีเจ้าคะ?

    หลวงพ่อ : นั่นไม่ใช่ภูมิเทวดาแล้วเป็นอากาศเทวดาดินแดนตรงไหนถ้าท่านพวกนี้อยู่นะ ถ้าเราไม่รับรองท่าน ๒ ปีแรกท่าน ให้คุณ ถ้าปีที่ ๓ ไม่รับรองเริ่มเจี๊ยะแล้ว แต่ถ้ารับรองแล้วจะดีมาก เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าตามแบบฉบับฉันมี ๖ เสาเพราะ บางแห่งเขากลัวล้มลงมา เขาใส่ ๖ เสาแต่แบบ ๔ เสานี่เป็นอากาศเทวดานี่สำคัญมากนะ เคยเจอหลายรายการแล้ว

    <dd>บางทีไปนั่งๆ คุยๆ แกก็ย่องมา เขาบอกว่าแกทำมาหากินดีมาก แล้วเทวดาท่านก็มาบอกผมอยู่ที่นี่ครับ เขตนี้เป็นเทวดาชั้นจาตุ มหาราช ทีนี้เจ้าของบ้านกับเรา ไม่ได้ชอบพอกันมา ไปแนะนำให้เขาตั้งศาล เขาจะหาว่า บ้าๆ บวมๆ น่ะซิ พูดไปพูดมา ก็ ถามว่า โยมตั้งศาลรับเขาบ้างหรือเปล่า .. เขาบอกเจ้าเจ้อวไม่สำคัญ พอปีที่ ๓ ชักเริ่มแล้วขายของขาดทุน ไปๆ มาๆ ของ เก่าขาดด้วย ตรงกันข้ามบ้านอีกหลังหนึ่งมีสภาพเช่นเดียวกันเขาก็ถาม จึงบอกว่า
    "ไอ้หนู..อากาศเทวดาที่คุมพระภูมิท่าน อยู่ตั้งศาลรับท่านเสีย" บ้านนั้นรับเดี๋ยวนี้รวยใหญ่
    </dd>

    ผู้ถาม : ฉะนั้นรายนี้เขาบอก ๔ เสาก็ต้อง ๔ เสาตามเขานะครับ

    หลวงพ่อ : ต้องตามเขา ไม่แน่นะรายการนี้ดุมาก ถ้าเฮี้ยวขึ้นมาละน่าดู ใครยั้งไม่อยู่หรอก นั่นท่านตั้งใจช่วยอยู่แล้วนะ ถ้าเขาไม่ตั้งใจช่วยเขาไม่บอกหรอก เธอรับฉันฉันก็ช่วยเธอ เธอไม่รับฉันฉันก็ไม่ช่วย แต่สงสัยว่าเทวดาองค์นี้กับคนที่พบใน อดีต คงจะเป็นพวกกัน ไม่ยังงั้นไม่บอก

    ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ ถ้าจะตั้งศาลพระภูมิที่บ้าน จะตั้ง ๔ เสา ได้ไหมเจ้าคะ ?

    หลวงพ่อ : ตั้งศาล ๔ เสาก็อากาศเทวดา จะตั้งก็ได้

    ผู้ถาม : แล้วศาลเสาเดียวสำหรับภูมิเทวดา จะตั้งด้วยได้ไหมเจ้าคะ

    หลวงพ่อ : ได้...เพราะบางทีท่านอาจเกรงๆ เหมือนกัน


    <<< กลับสู่สารบัญ


    <center>เจ้าที่เจ้าทาง</center>
    ผู้ถาม : มีคนบอกว่าบ้านลูก สาเหตุที่วุ่นวายและมีตายไม่ดีเกิดขึ้น เขาบอกว่ามาจากเจ้าที่ไม่ตั้งศาลให้ ไม่ทราบว่า เจ้าที่มี อิทธิพลกับเจ้าของบ้านด้วยหรือคะ?

    หลวงพ่อ : ไม่ยาก .. โทษผีนี่ไม่ยาก ไม่เห็นตัว โทษเจ้าที่ท่านแน่หรือไม่แน่ดูก่อน ! เจ้าที่ความจริงเขาไม่ทำใครถึงตายถ้าเอาจริงๆ นะ จะเอาแค่ป่วยหนาวๆ ร้อนๆ ผิวเนื้อผิวตัวจะร้อนเทวดาทำคนตายไม่ได้ เจ้าที่เขาเป็นเทวดาย่อมมีลูกน้องเป็น สัมภเวสี คนที่ลงโทษเราต้องเป็นสัมภเวสีไม่ใช่เทวดา รายการนี้มันผิดที่ไม่ใช่เจ้าที่ แต่เป็นเจ้าทาง



    <center>ตั้งศาลพระภูมิไว้ในใจ</center>
    ผู้ถาม : ลูก ฟังเรื่องศาลพระภูมิจากหลวงพ่อก็มีความศรัทธาอยากจะตั้งบ้าง ก็บังเอิญที่บ้านเป็นที่ทรัพย์สิน บอกสามี สามีก็ บอกว่า ที่ทรัพย์สินในหลวงท่านเป็นพระภูมิใหญ่อยู่แล้ว ลูกก็เลยตั้งไม่ได้ เพราะความขัดคอกัน อยากเรียนถามว่า ถ้าหาก ตั้งไม่ได้แต่จิตระลึกดีอยู่เสมอ และอยากจะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เทวดาที่เป็นพระภูมิที่นั่นจะทำได้ไหมคะ?

    หลวงพ่อ : (หัวเราะ) เอาอย่างนี้ซิ เวลาบูชาพระก็ตาม หรือกราบพระก็ตาม จิตใจยอมรับนับถือใช้ได้เลย



    <center>ตั้งศาลพระภูมิสองหลัง</center>
    ผู้ถาม : คือว่ากระผมมีความจำเป็นต้องตั้งศาลพระภูมิและศาลอากาศเทวดา ในที่ใกล้เขตกันจึงอยากเรียนถามว่าความสูง ต่ำระหว่างศาลพระภูมิและอากาศเทวดานี้ จะต้องจัดการอย่างไร

    หลวงพ่อ : สูง .. ต่ำ .. จะเสมอกันไม่ได้นะ ต่ำตั้งแต่ ๑ เซ็นต์ลงมาใช้ได้ เพราะภูมิเทวดาเป็นลูกศิษย์อากาศเทวดาอยู่แล้ว


    <<< กลับสู่สารบัญ


    <center>เครื่องบวงสรวงแบบย่อ</center>
    ผู้ถาม : หลวงพ่อเจ้าขา..เครื่องบวงสรวงแบบย่อๆ พอสมควรแก่ฐานะของลูก จะใช้อะไรบ้างเจ้าค่ะ ?

    หลวงพ่อ : ถ้าหัวหมูกับไก่ ๑ ตัว เขาใช้กับวัด, สถานที่ราชการ, บริษัทห้างร้าน, หรือโรงงาน ถ้าชาวบ้านเขาใช้หมูชิ้น แต่อย่าให้ต่ำกว่าครึ่งกิโล เพราะเคยไปพบที่ตำบลมะขามเฒ่า เขานิมนต์ไปบวงสรวง ท้าวเวสสุวัณมาถึงท่านถามว่า "หมูแบบนี้นะหรือที่เขาเชิญเทวดา" ถาม "ทำไม?"

    <dd>ท่านบอก "หมูเซ่นผีแบบนี้อย่าทำให้เขาเลย" ไม่เอาเลย..เปิดฉิบ... ก็ถามว่าต้องการเท่าไหร่ ท่านบอก "อย่างต่ำต้องไม่น้อยกว่าครึ่งกิโล" ไม่แพงนี่นะ </dd>


    <dd>สำหรับเครื่องบวงสรวงแบบครบถ้วน ซึ่งใช้กับ วัด สถานที่ราชการ, บริษัทห้างร้าน, หรือโรงงาน หรือบ้านที่มีฐานะพอทำได้ หลวงพ่อท่านแนะนำไว้ดังนี้

    <center>[​IMG]

    <dd>(สมัยก่อนที่หลวงพ่อเริ่มสร้างวัด ประมาณปี 2519 จะเห็นว่าเครื่องบวงสรวงมีแค่นี้เอง
    ภาพนี้ท่านกำลังบวงสรวงหน้าพระอุโบสถ ด้านหลังคือศาลาจตุรมุข หรือพลับพลาอนุสรณ์
    ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยประทับ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินครั้งแรก ปี 2518)</dd>



    เครื่องบรวงสรวงสำหรับตั้งศาลพระภูมิ และศาลอากาศเทวดา
    </center></dd>
    ๑. จัดโต๊ะแล้วปูผ้าขาวตั้งไว้กลางแจ้ง (จะมีรูปหลวงปู่ปานและหลวงพ่อด้วยก็ดี) พร้อมกระถางธูปเทียนด้วย
    ๒. บายศรีปากชาม (ทำเป็นชั้นๆ ต้องไม่น้อยกว่า ๑ ชั้น) มีไข่ต้มเสียบยอดบายศรีด้วย
    ๓. ไก้ต้ม ๑ ตัว (วางไว้ด้านทิศเหนือ)
    ๔. หัวหมู ๓ หัว (วางทางทิศตะวันออก, ทิศตะวันตก, ทิศใต้)
    ๕. ขนมต้มแดง และ ขนมต้มขาว(จัดวางไว้ทั้ง ๔ ทิศ)
    ๖. ข้าวปากหม้อ (ตักใส่ในกรวยยอดบายศรี)
    ๗. กล้วยน้ำว้าสุก ๔ หวี (จะเพิ่มส้มโอไปด้วยก็ได้)
    ๘. มะพร้าวอ่อน ๔ ลูก เปิดฝา (ผลไม้จัดวางรวมกันไว้ในถาด ๔ ทิศ)
    ๙. ถั่วเขียวคั่ว (ใส่กระทงเล็กๆ วางไว้ ๔ ทิศ)
    ๑๐. ถ้าเป็นบ้านก็ควรจะมี ปลาแป๊ะซะอีก ๑ ตัว เพื่อพระภูมิเจ้าที่
    ๑๑. ดอกไม้ ๔ สี วางใส่กระทงเล็กๆ ละ ๕ กระทงทั้ง ๔ ทิศ (ทิศเหนือสีแดง ทิศใต้สีม่วง ทิศตะวันออกสีเหลือ ทิศตะวันตกสีขาว)
    ๑๒. ข้าวตอก (ใส่กระทงเล็กๆ ละ ๕ กระทง ไว้ ๔ ทิศเช่นกัน)
    ๑๓. สัปทน ๕ อัน สำหรับท้าวมหาราช ๔ อัน (วางที่มุมโต๊ะบวงสรวงตามสีของดอกไม้) และหลวงพ่ออีก 1 อัน
    ๑๔. หมากพลู, ยานัตถ์ (จะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้)
    ๑๕ ครื่องเปิดซีดี "หลวงพ่อบวงสรวง"


    (หมายเหตุ : เมื่อจุดธูปเทียนเสร็จแล้ว ขอให้อธิษฐานตามความปรารถนา แต่ถ้าต้องการให้ท่านช่วยเรื่อง "ไฟไหม้" และ "ฟ้าผ่า" ให้ทาสีแดง (สีที่ใช้กับอาหาร) ที่ไก่และหัวหมู และใช้กระดาษสีแดงรองไก่และหัวหมูด้วย)

    <center>[​IMG]</center>
    <dd>(ปัจ ุบันผู้ทำบายศรีนิยมทำกันสูงใหญ่ ๕ ชั้นบ้าง ๙ ชั้นบ้างเป็นต้น แต่ความจริงหลวงพ่อบอกว่า สมัยหลวงปู่ปานทำแค่บายศรีปากชามก็พอ เขานับเป็นชั้นๆ นั่นหมายถึงนับกลีบบายศรี ไม่ใช่นับชั้นแบบสูงๆ อย่างสมัยนี้ ทำให้ทำยากและลงทุนลงแรงสูง ต้องอดหลับอดนอนกันทั้งคืน แต่จริงๆ แล้วได้บุญพอๆ กัน แต่ถ้าทำหนักแรงเกินไปใจไม่สบาย บุญอาจหดตัวไปเหมือนกันนะ)

    แล้วหลวงพ่อก็บอกต่อไปอีกว่า..
    </dd><dd>แต่ถ้าชาวบ้านธรรมดา มีฐานะพอสมควรตั้งแต่จนถึงปานกลางนะ ใช้หมูชิ้นหนึ่ง แต่ชิ้นหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าครึ่งกิโล อย่าลืมนะ ต้องมีปลาแป๊ะซะอีกตัวนะ เพื่อพระภูมิเจ้าที่ เพราะพิธีตั้งเป็นเรื่องท่านท้าวมหาราชท่าน

    ผู้ถาม : ทีนี้ก็มีคำถามต่อไปว่า เวลาทำพิธี จะยืนหันทั้ง ๔ ทิศก็ไม่สะดวก ก็หันไปทางทิศตะวันออกทิศเดียว แต่ว่าทั้ง ๔ ท่าน เหมารวบยอดเลย จะมาครบไหมเจ้าคะ ?

    หลวงพ่อ : ได้ๆ ไม่เป็นไร ตามที่เดินรอบๆ ไป นั่นทำตามพิธีกรรม บางทีก็ไม่เชื่อ เคยถามหลวงพ่อปานว่ามีความจำเป็นไหม ท่านบอกไม่จำเป็น แต่เป็นพิธีกรรม ฉันก็เคยหันหน้าทิศเดียว ถ้ามีความจำเป็นนะ


    ผู้ถาม : เดี๋ยวนี้รู้สึกว่าการบวงสรวงสะดวกขึ้น ใช้เทปหลวงพ่อแทน

    หลวงพ่อ : สบายมาก.. เทวดามาหรือเปล่าก็ไม่รู้ ไม่ใช่ได้ยินเสียงฉัน เทวดาเปิดไปวัดท่าซุง นึกว่าฉันเรียก..!
    (หัวเราะ)

    </dd><<< กลับสู่สารบัญ



    <center> ผู้ที่บนแล้วจำไม่ได้</center>
    <dd> เมื่อวันวิสาขบูชาที่ผ่านมานี้ (๘ พ.ค. ๓๓) หลวงพ่อได้ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ ท่านได้เตือนผู้ที่เคยบนไว้แต่ลืมแก้บน และจำไม่ได้ว่าบนอะไรไว้บ้าง ต่อมามีผู้มาถามกันมากว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร หลวงพ่อท่านได้แนะนำไว้ว่า ให้จัดแก้บนดังนี้

    ๑. บายศรีปากชาม ๗ ชั้น (ยอดเสียบด้วยไข่ต้ม)
    ๒. ข้าวปากหม้อ (ใส่ในกรวยยอดบายศรี)
    ๓. ไก่ต้ม ๑ ตัว
    ๔. หัวหมู ๑ หัว


    </dd><dd>ท่านให้ปูผ้าขาวตั้งเครื่องสังเวยเหล่านี้บนโต๊ะกลางแจ้ง จุดธูปเทียนอธิษฐานว่า
    </dd><dd>"ขอให้ท่านผู้มีพระคุณได้โปรดรับเครื่องสังเวยที่ข้าพเจ้าได้เคยบนไว้ และขอให้อดโทษแก่ข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเถิด"

    <center>((( โปรดติดตามตอนต่อไป ตอนวิธีแก้บนท้าวมหาราช )))

    <<< กลับสู่สารบัญ

    </center></dd>
    </td></tr></tbody></table> <table bgcolor="#cccccc" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="smalltxt"> [ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ] </td> <td align="right">
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr><tr bgcolor="#ffffff"> <td class="tablerow" valign="top"> <table bgcolor="#d1e5ef" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="smalltxt" valign="top">[​IMG] posted on 20/1/09 at 14:55</td> <td class="smalltxt" align="right" valign="top"> [ QUOTE ] </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="1" bordercolor="#dedddd" cellpadding="2" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#efefef"> <center>

    </center>
    <center>(Update 20/01/09)


    แก้บนท้าวมหาราช

    [​IMG]
    </center>

    ผู้ถาม : หลวงพ่อเจ้าคะ วิธีที่จะแก้บนท้าวมหาราชทั้ง ๔ ให้ถูกต้องนั้นจะทำอย่างไรดีคะ...?

    หลวงพ่อ : แก้บนหรือ...ก็สังเกตเวลาท่านโพกผ้า ก็ไปแก้ผ้าที่โพกออก คือแก้บนผ้าที่โพกออก คือแก้บน ถ้าแก้ล่างก็แก้กางเกงออก!


    ผู้ถาม : (หัวเราะ)

    หลวงพ่อ : ไปบนอะไรท่านไว้ล่ะ ฉันไม่เคยบนท่านนี่ ถ้าเราบนอะไรท่านไว้ เราก็แก้ถวายท่านตาปกติ ตั้งโต๊ะกลางแจ้งใช่ไหม จุดธูปเท่ากับบูชาพระนะ เพราะท้าวมหาราชทั้ง ๔ นี่เป็นพระอริยเจ้าทั้งหมด และเทวดาชั้นนี้เป็นพระอริยเจ้ามาก ก็ต้องบูชาเหมือนพระ เพราะท่านเป็นพระจริงๆบนอะไรไว้ ถ้าบนหัวหมูก็ต้องเอาหัวหมูจริงๆ ไม่ใช่เอาหมูมาทำเถือๆ ให้หน้าตาคล้ายหมู โกงเขาเอาแน่ ตัวท่านไม่เอา แต่บริวารเขาเอาแน่ มีคนเขาเคยโกงมันมี


    ผู้ถาม : โกงแก้บนนี่หรือครับ..?

    หลวงพ่อ : โกงแก้บนน่ะซิ..!

    ผู้ถาม : แล้วให้โทษภายหลังไหมครับ..?

    หลวงพ่อ : สบายมาก...ป่วยไม่หาย อีตอนจะบนไม่กลัวเสีย เสร็จเรียบร้อยแล้ว แหม...กลัวเสียทุกอย่าง พยายามจะลดนั่นลดนี่ ใช่ไหม...แบบนี้ดีมาก ต่อไปต้องเพิ่มหลายเท่า

    ผู้ถาม : ทีนี้เวลาจะบนอะไร ต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อน

    หลวงพ่อ : คิดเสียก่อนว่า ถ้าเราจะบนไก่ท่าน ก็ต้องบอกตรงๆ ว่าไก่เนื้อ หรือไก่พลาสติก หรือไก่กระดาษ บอกให้ชัดๆ อย่างเจ้าแม่ทับทิมเขาแก้บนละคร ๑ โรง เป็นละครกระดาษ ทีนี้เวลาเขาบน เขาก็บอกอย่างนั้นนะ เขาจึงถวายละครเป็นโรงๆ คือละครกระดาษที่เขามีอยู่ นี่เขาบอกตรงไปตรงมา คือ เทวดานี่ไม่โกงไปโกงมา ว่าอะไร...คำเดียว อย่างนี้แปรไม่ได้

    ผู้ถาม : ทีนี้ตอนเช้าถึงตอนเที่ยงไม่สะดวกในการแก้บน เพราะไม่ว่าง อยากจะให้ตอนบ่าย หรือตอนเย็น หรือตอนค่ำ พอจะได้บ้างไหมครับ..?

    หลวงพ่อ : เอาอย่างนี้ดีกว่า..ก่อนนอนนิดหนึ่งจะดีไหม..?

    ผู้ถาม : เอ๊ะ..ทำไมครับ..?

    หลวงพ่อ : ตอนนั้นว่างอยู่แล้ว จะว่าไปการแก้บนก็แล้วแต่ แต่ที่เขาต้องการตามเวลาเขาสั่งนะ ถ้าเวลาเขาสั่งเขารับบนเวลานั้น ถ้าเกินเวลาเขาไม่รับ เรื่องของเทวดาและผีนะ ต้องปฏิบัติตามเขา ไม่ยังงั้นจะไม่มีผล อย่างเรื่องของ กรมหลวงชุมพรฯ เรื่องนี้ท่านเคยสั่ง ท่านบอกว่า

    <dd>"..ถ้าใครจะแก้บนให้ผม ต้องก่อน ๒ โมงเช้า ๑๐ นาที (ระหว่าง ๐๗.๕๐ - ๐๘.๐๐ น.) ถ้าตอนเย็นก็เป็นก่อนบ่าย ๓ โมง ๑๐ นาที (ระหว่าง ๑๔.๕๐ - ๑๕.๐๐ น.)</dd>

    <dd>ถามว่า..ทำไม ท่านบอกว่า ถ้าใช้เวลาไม่ตรง ไอ้ไปล่..เพื่อนกันมันมาเอาไปหมด มีเพื่อนกันขัดคอกันขนาดเดียวกันสมัยนั้น คือต้องเป็นไปตามเวลา ถ้าเขาสั่งนะ ถ้าเขาไม่สั่งว่าเวลาไหน เราก็ทำเวลาไหนก็ได้ เขาไม่มีจำกัด </dd>


    <dd>(สำหรับเครื่องบวงสรวงของท่านมีดังนี้ คือ ข้าวปากหม้อ, หมูต้ม ๑ ชิ้น, ไก่ต้ม ๑ ตัว, ทองหยิบฝอยทอง และขนมจีนน้ำพริก ก่อนจะบนต้องตั้งเครื่องบวงสรวงครั้งหนึ่ง เมื่อได้ผลแล้วจะต้องตั้งเครื่องบวงสรวงอีกครั้งหนึ่ง)</dd>

    <center>เพิ่มเติมข้อมูล </center>
    <dd>สำหรับเรื่อง "การบนท้าวมหาราช" นี้ ต่อมาภายหลังมีการอุปสมบท (หมู่) ก่อนหลวงพ่อมรณภาพ ในขณะที่ทำพิธีบวงสรวง ณ มณฑปท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ท่านได้มาสั่งหลวงพ่อว่า

    </dd><dd> "..ถ้าลูกหลานต้องการจะบนให้พวกผมช่วย จะต้องบนด้วยการปฏิบัติเป็น "พระโสดาบัน" คือ

    ๑. นึกถึงความตายไว้เสมอ
    ๒. รักษาศีล ๕ บริสุทธิ์
    ๓. เคารพพระรัตนตรัยด้วยความจริงใจ
    ๔. มีพระนิพพานเป็นอารมณ์


    </dd><dd>ถ้าใครปฏิบัติแบบนี้ได้ ผมจะช่วยตลอดชีวิตเลย.."</dd>


    <<< กลับสู่สารบัญ


    </td></tr></tbody></table> <table bgcolor="#cccccc" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="smalltxt"> [ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ] </td> <td align="right">
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr><tr bgcolor="#ffffff"> <td class="tablerow" valign="top"> <table bgcolor="#d1e5ef" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="smalltxt" valign="top">[​IMG] posted on 21/1/09 at 17:32</td> <td class="smalltxt" align="right" valign="top"> [ QUOTE ] </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="1" bordercolor="#dedddd" cellpadding="2" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#efefef"> <center>

    </center>
    <center>(Update 21/01/09)


    การบนหลวงพ่อ ๕ พระองค์ที่วัดท่าซุง

    [​IMG]
    </center>

    <dd>เนื่องจากมีผู้สนใจในการบนท่านมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยมีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ต้องการจะทราบวิธีบนว่า ควรจะทำอย่างไรบ้าง หลวงพ่อท่านได้แนะนำไว้ดังนี้

    หลวงพ่อ : การบนจะมาบนที่วัด หรือจะบนที่บ้านก็ได้ ให้นึกถึงบารมี พระพุทธเจ้า, หลวงพ่อใหญ่ วัดท่าซุง, หลวงพ่อสุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค, (ปัจจุบันหลวงพ่อมรณภาพไปแล้ว จึงเพิ่ม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ไปด้วยอีกองค์หนึ่ง) ให้บนคราวเดียวทั้ง ๕ พระองค์

    </dd><dd> สำหรับการบนมีไว้ให้เลือก ๔ ข้อ จะต้องการแก้บนข้อหนึ่งข้อใดก็ได้ ตามกำลังที่จะกระทำได้ เมื่อได้ผลเป็นประการใดแล้ว ขอให้รักษาสัจจวาจาตามที่ตั้งใจไว้ ส่วนรายละเอียดมีดังนี้

    </dd><dd>๑. ถวายทองคำเปลว ๑๐๐ แผ่น และ ผ้าห่มสไบ องค์ละ ๑ ผืน (ไม่ต้องปิดทองที่องค์พระ ให้วางถวายไว้เท่านั้น)

    </dd><dd>๒. ถวายสังฆทานชุดใหญ่ (ใช้ชุดเดียวรว ๕ พระองค์)

    </dd><dd>๓. รักษาศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ตามความสามารถ จำนวน ๗ วัน และเจริญกรรมฐาน ๗ วัน (การแก้บนในข้อ ๓ นี้ ถ้าอยู่ปฏิบัติที่วัดไม่ครบ ๗ วัน จะอยู่รักษาศีลและเจริญกรรมฐานคราวละ ๒ - ๓ วัน แล้วกลับบ้าน เมื่อมีโอกาสมาปฏิบัติต่อให้ครบ ๗ วันก็ได้ หรือจะไปทำต่อที่บ้าน หรือที่วัดใกล้บ้านจนครบ ๗ วันก็ได้)

    </dd><dd>๔. ถ้าเรื่องที่จะบนเป็นเรื่องใหญ่ร้ายแรงากให้บนตามนี้ คือ บวชเณรเอง หรือจ้างให้คนอื่นบวชแทน ถ้าได้เณรหรือคนที่จะบวชเณรเจริญพระกรรมฐานได้มโนมยิทธิแจ่มใส จะมีผลรวดเร็ว ถ้าบวชเองขอให้ปฏิบัติตนให้เคร่งครัด เจริญพระกรรมฐานให้แจ่มใส ถ้าจ้างใหคนอื่นบวชแทน ขอให้บำรุงวันละ ๕๐ บาท ขึ้นไปหรือถวายภัตตาหาร เครื่องใช้สอยตามสมควรครบ ๗ วัน เวลาบนให้ใช้คำว่า

    </dd><dd>"...ถ้าไม่เกินวิสัยที่จะช่วยได้ ขอได้โปรดช่วยให้มีผลโดยเร็วพลัน.." ทั้งนี้เพราะว่ากรรมบางอย่าง พระก็แก้ไขไม่ได้นั้นมีอยู่. </dd>
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>

     
  20. ลูกปลาใหญ่

    ลูกปลาใหญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +577
    วันนี้ 01/08/52 เวลาประมาณ 20.50 น. ผมได้โอนเงินจำนวน 500 บาท เข้าบัญชีทุนนิธิฯ เพื่อร่วมทำบุญประจำเดือนสิงหาคมครับ

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...