เรื่องเด่น ทัศนะเรื่องพุทธแท้และการใช้ปาฏิหาริย์จากอ.ศิลป์ชัย นักศาสนวิทยา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 5 กรกฎาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8ade0b887e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b981e0b897e0b989e0b981e0b8a5e0b8b0e0b881.jpg


    ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ นักวิชาการศาสนวิทยา อธิบายเรื่องการใช้ปาฏิหาริย์เเละพุทธแท้


    เมื่อวันที่ 5 ก.ค. ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ นักวิชาการศาสนวิทยา โพสต์ภาพจากหนังเรื่อง “พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก” พร้อมกับเผยเเพร่ทัศนะเเละความรู้เรื่องการใช้ปาฏิหาริย์ในศาสนาพุทธประกอบ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ศาสนวิทยา dr.Sinchai Chaojaroenrat

    เนื้อหาทั้งหมดระบุว่า

    ก็อย่างที่เคยบอกไปแล้วว่า ผู้เขียนได้เห็นและได้รับภาพนี้มาก แต่ผู้เขียน “ไม่เชื่อ” และผู้เขียนเชื่อว่าคนพุทธส่วนใหญ่เข้าใจภาพนี้ผิด


    อย่างแรกที่ไม่เชื่อ คือภาพนี้มาจากหนังเรื่อง “พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก” ซึ่งแน่นอนว่าเป็นหนังเล่าชีวประวัติของศาสดาเรื่องหนึ่ง ผู้เขียนดูหนังประเภทนี้มามากจนเกินจะจำได้ ก็อยากให้เข้าใจว่า หนังชีวประวัติของศาสดานั้น ส่วนใหญ่เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นหนังที่สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกชูพระศาสดาและเพื่อเผยแผ่ศาสนา

    หรือพูดง่าย ๆ ว่า หนังชีวประวัติศาสดา เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นหนังเพื่อ “โฆษณาชวนเชื่อ” นั่นเอง (มีอยู่บ้างที่เป็นหนังที่มีการถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาของศาสดา หรือแม้แต่ด้านลบของศาสดา แต่หนังแบบนั้นมีน้อยมาก และส่วนมากฝรั่งสร้าง) หนังเรื่องนี้ก็เช่นกันที่สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูและเผยแผ่ศาสนา

    ทีนี้หนังแบบนี้สิ่งที่ต้องระวังในการดูก็คือ ตัวเรื่องจะผ่านการตีความมาอย่างน้อย 3 ชั้นก่อนจะมาถึงสายตาคุณ หนึ่งคือถูกตีคุวามจากคัมภีร์ศาสนาเอง สองถูกตีความจากนักบวชหรือนักวิชาการในศาสนา สาม ถูกตีความจากผู้กำกับ แล้วจึงมาถึงสายตาผู้ชม ผู้ชมจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายของ 3 พวกแรก จึงขอบอกเลยว่า ภาพและเรื่องที่คุณเห็นในหนังนั้น หลายอย่างถ้าคุณอ่านคัมภีร์เองคุณอาจจะไม่เห็นแบบนี้ หรือไม่รู้สึกแบบที่ดูจากในหนัง

    เรื่องที่สอง ผู้เขียนไม่เคยเชื่อว่าพระพุทธเจ้าไว้ผมทรงนี้ และถ้าไว้ผมทรงนี้จริงแล้วเหล่าสาวกยังติดตามท่านอยู่ก็ถือว่าเขลาเบาปัญญามาก แค่เรื่องนี้ก็เห็นได้ชัดว่า ผู้กำกับสร้างหนังเรื่องนี้โดยตัวเองตีความตามกลุ่มนักบวชแนวอนุรักษ์ที่เอาแต่ยึดตามจารีตนิยมซึ่งไม่ยอมรับการวิเคราะห์ของนักวิชาการรุ่นใหม่ ที่บอกแล้วว่า ทรงนี้มันผิดแน่ ๆ ดังที่เศียรพระพุทธรูปทั่วไปสร้างกันผิดข้อเท็จจริงอยู่นั่นแล

    เรื่องที่สาม คือถ้อยคำที่บอกว่าพระพุทธเจ้าบอกว่า “หากมีพระรูปใดแสดงปาฏิหารย์ใด ๆ อีก ถือว่าไม่ใช่สาวกเรา” คำพูดนี้คนเอาไปใช้กันมากว่า “พุทธแท้ต้องไม่มีการใช้ปาฎิหารย์”

    แล้วต่อมาก็พัฒนาแนวคิดจนกลายเป็น “พุทธแท้ต้องไม่เชื่อว่ามีปาฏิหารย์” ดังที่ทุกท่านคงเห็นกระแสกันอยู่

    ผู้เขียนขอบอกว่า คนที่เชื่อและรณรงค์อะไรแบบนี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดมาก คุณต้องตีความให้ถูกว่า หนึ่ง ถ้อยคำนี้พระพุทธเจ้าพูดจริงไหม? สอง พูดในบริบทหรือท้องเรื่องไหน? สาม ต้องดูคัมภีร์ตอนอื่นที่พูดเรื่องนี้มาเปรียบเทียบกัน? สี่ ต้องดูบริบทเบื้องหลังของสถานการณ์ทางสังคมยุคนั้น? ศึกษาทั้ง 4 เรื่องแล้วถึงจะเข้าใจว่า ความหมายแท้จริงคืออะไรแน่?

    e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8ade0b887e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b981e0b897e0b989e0b981e0b8a5e0b8b0e0b881.png

    เพื่อให้สั้น จึงขอเข้าประเด็นเลยว่า พระพุทธเจ้าหมายความว่าอย่างไรแน่? จริงหรือว่า พระพุทธเจ้าบอกว่า พุทธแท้ต้องไม่เชื่อเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ เหมือนกับที่พุทธทาสพยายามแพร่แนวคิดนี้ จนคน “หลงเชื่อ” กันมาก

    อย่างแรก ขอให้รู้ว่า คัมภีร์ไตรปิฎกเต็มด้วยเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ อย่างที่สอง พระพุทธเจ้าทรงตั้งศิษย์เอกซ้ายขวา พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร ซึ่งเก่งกันคนละด้าน ระบุชัดว่า พระโมคคัลลานะเก่งเรื่องอิทธิฤทธิ์ ส่วนพระสารีบุตรเก่งเรื่องสติปัญญา เรื่องนี้ถูกบันทึกในคัมภีร์ชัดเจน

    อย่างที่สาม พระพุทธเจ้าพูดถึงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ที่คนที่บรรลุธรรมขั้นต่าง ๆ จะสามารถมีได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอภิญญาต่าง ๆ เรื่องปาฏิหารย์ 3 อย่าง อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ เช่น แปลงกาย หายตัว ดำดิน เหาะ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ที่สามารถทายใจ รู้วาระจิต รู้ความคิดของคนอื่น และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนให้ประพฤติปฏิบัติธรรม ทำความดี ทั้งทาน ศีล ภาวนา จนหมดกิเลส

    ฉะนั้น ถ้าพูดให้ถูกต้องยอมรับก่อนว่า พระพุทธเจ้าเป็นคนหนึ่งที่เชื่อสุดหัวใจว่าเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์มีจริง

    หรือถ้าพูดในภาษาสมัยนี้ก็ต้องบอกว่า พระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งในพวกเชื่องมงายนี่แหละ

    ถ้ายอมรับตรงนี้แล้ว ทีนี้ก็ค่อยมาดูต่อว่า ที่ว่า “ห้ามแสดงปาฏิหารย์” น่ะ หมายความว่ายังไง? อันนี้ก็อาจตีความคลุมไปแบบง่าย ๆ ว่า “อาจ” หมายถึง ห้ามแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์เพื่อเป็นการโอ้อวดตัวสร้างบารมี ห้ามแสดงเพื่อหาผลประโยชน์ที่ขัดกับธรรมวินัย ห้ามแสดงเพื่อสร้างความบันเทิง ห้ามแสดงเพื่อไปทำให้คนยึดติดและไม่นำไปสู่หนทางแห่งการดับทุกข์ที่แท้จริง ฯลฯ

    อันนี้ก็แล้วแต่จะตีความกันไป แต่ก็น่าจะไม่ได้รวมถึงการห้ามแสดงเพื่อการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้คนที่มีความทุกข์ยากลำบาก

    แต่ที่แน่ ๆ ท่านเป็นพวกเชื่องมงายว่ามีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์เหนือธรรมชาติแน่ ๆ ซึ่งนั่นก็แปลว่า “พุทธแท้” ต้องเป็นพวกที่เชื่อว่ามีอิทธิฤทธิปาฏิหารย์ และนั่นก็แปลว่า ถ้าไม่เชื่อว่ามี คือ “พุทธไม่แท้”

    และนั่นก็คือ พุทธทาสคือพุทธไม่แท้ด้วย

    เรื่องนี้ยังพูดต่อได้อีกมาก แต่ขอหยุดเพียงเท่านี้ก่อน และอันนี้พูดไปก็เชื่อว่าจะถูกคนที่เชื่อว่าตัวเองเป็น “พุทธแท้” บริภาษเอาแน่ แต่ไม่เป็นไร จะโต้แย้งอะไรก็ได้ แต่ขออย่าหยาบคาย พูดกันด้วยเหตุผลดี ๆ ก็แล้วกัน



    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/social/general/556684

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2018
  2. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    แล้วอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ล่ะค่ะ
     
  3. WhiteBear55555

    WhiteBear55555 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +42
    คนบางคน ศึกษาพุทธมาชั่วชีวิตก็ยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งในพุทธศาสนา
    แล้วคนที่อ้างตนว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกศาสนา ท่านคิดว่า คนๆนั้นจะเชื่อถือได้หรือไม่
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,456
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    คำพูดในภาพยนตร์ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่ ไม่ได้แปลตรงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาที่เชื่อถือได้ หรือเข้าใจง่ายๆคือ เป็นบทละครที่เขียนขึ้นโดยอิงพุทธประวัติ

    ขนาดคำแปลที่แปลตรงจากพระไตรปิฎก คนยังเถียงกันได้หลายแง่มุม
    แต่ พระอริยะเจ้ากลับเข้าใจ ลงใจ กันด้วยรสของธรรมที่ได้เข้าถึง เกินกว่าคำพูดใดๆจะมาเสกสรรอธิบาย ให้หลงวนในถ้อยคำสมมุติอันมาจากการคิด การนึกที่ยังไม่ได้เสพรสธรรมที่เข้าถึงใจ
     
  5. zalievan

    zalievan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    3,268
    ค่าพลัง:
    +5,219
    ต้องดูบาลีว่าวรรคนี้ท่านใช้คำว่าอะไร ภาษาไทยจึงถอดมาว่าปาฏิหารย์ล่ะมั้งครับ
     
  6. ~หัตถ์oBuddha~

    ~หัตถ์oBuddha~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2017
    โพสต์:
    557
    ค่าพลัง:
    +398
    คนส่วนใหญ่ดูหนังก็ดูกันเเบบเอามันส์เข้าว่า คนสร้างหนังเขาเข้าใจจุดไหนขายได้ ขายง่าย ขายไว เค้าก็สร้างกันตามนั้น จุดขายหลักของหนังคือ entertainment ต้องมาก่อน/ การอิงประวัติศาสตร์ก็น่าจะมาเป็นรองฯ เพื่อให้เรื่องดำเนินเเบบมีที่มาที่ไป มีจุดหมาย มี climax of story หนังจึงเป็นการขายอารมณ์ซะมากกว่าสิ่งอื่นใด

    ส่วนการนำสาระมาใส่ในหนังคงทำได้เพียงบางส่วนเเต่ไม่ทั้งหมด เพราะไม่มีคนเกิดทัน จึงต้องอาศัยจินตการของคนเขียนบท,ผู้กำกับบวกความสามารถในการถ่ายทอดของนักเเสดง เเละทีมสร้างมาเสริมเติมเต็ม

    ธรรมที่องค์สมเด็จสอนเกิดที่ใจก็ต้องใช้ใจดู หากใช้เพียงตาเนื้อดูอย่างเดียว ก็จะพลาดสาระที่สำคัญ

    พระพุทธเจ้าท่านเป็นที่สุดไม่มีใครเสมอเหมือน ทั้งการสอนธรรม การรู้เรื่องราวของอดีตชาติ การนำคนออกจากการเวียนว่ายตายเกิด ท่านสอนในเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา
    สมาธิเป็นบ่อเกิดของความสงบที่จะนำมาสู่ปัญญาในการประหารกิเลสทั้งปวงให้พังพินาศสิ้น

    ณานเป็นทางเดินไปสู่สมาธิที่เเนบเเน่น อิทธิฤทธิ์จึงเป็นผลมาจากเหตุเเห่งณานวิสัย

    พระองค์ไม่ทรงต้องการให้พุทธสาวกยึดติดเเต่เพียงเรื่องฤทธิ์ เพราะมันไม่ใช่จุดหมายเเห่งการพ้นทุกข์

    การเข้าถึงการสร้างฤทธิ์ก็มีอยู่ในคำสอนอยู่เเล้ว เพียงเรื่องพุทธวิสัยเเละณานวิสัยเป็นเรื่องที่พระองค์ไม่ต้องการให้เหล่าพุทธสาวกนำไปพิจารณาต่ออย่างเป็นล่ำเป็นสันเพราะเป็นเรื่องอจินไตยเเละไม่ใช่สาระของสมาธิ

    เมื่อพิจารณาบริบทที่กล่าวมานี้ทั้งหมด ก็น่าจะได้คำตอบเเล้ว เมื่อใดที่เเยกสาระออกจากสิ่งที่ไร้สาระได้ ของดีฯก็จะตามมาเองครับอย่างไม่ต้องสงสัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2018
  7. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,634
    เหตุที่พระพุทธเจ้าท่านห้ามไม่ให้พระแสดงฤทธิ์
    เพราะถ้าปล่อยให้แสดงฤทธิ์เป็นสาธารณะ ศาสนาจะอยู่ไม่ถึง 5000 ปี
    เพราะคนจะให้ความสนใจแต่พระที่แสดงฤทธิ์ได้
    แต่ที่จริงแล้ว ถ้าเป็นพระอริยะเจ้าแล้ว
    แม้ว่าจะแสดงฤทธิ์ไม่ได้ก็ตาม
    คนที่ได้ทำบุญกับท่านก็จะได้อานิสงส์มากมายมหาศาลเช่นกัน

    และทานที่ได้อานิสงส์มากกว่านั้นก็คือ สังฆทาน
    สังฆทานนี้ ไม่ว่าจะทำบุญที่วัดไหนก็ได้อานิสงส์มากไม่มีประมาณเหมือนกัน
    มากกว่าการถวายแบบเจาะจงตัวบุคคลมากนัก

    เหตุนี้ท่านจึงไม่ได้เน้นให้พระแสดงฤทธิ์เป็นการทั่วไป
    หากแต่ให้ใช้ได้เฉพาะเป็นกรณี ๆ ไป เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น

    ถ้าหากใครที่บอกว่าเรื่อง อิทธิฤทธิ์ ไม่มีจริง
    มี 2 เหตุผลครับ

    1. เขาไม่เชื่ออย่างนั้นจริง ๆ
    2. เขาเชื่อว่ามีจริง แต่ไม่อยากจะให้คนอื่นทำได้ คือ ไม่อยากให้คนอื่นมีฤทธิ์นั่นแหละ ก็เลยหาเรื่องโจมตีแบบนี้

    ถ้ามีใครบอกว่าฤทธิ์ไม่มีจริง
    ก็ยกเรื่องคุณสมบัติของพระโมคคัลลานะ และ พระอุปคุต ขึ้นมาอ้างอิงเลยครับ
    เพราะทั้ง 2 ท่านนี้ มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์
    และทั้ง 2 ท่านก็มีชื่อเสียงในเรื่องของอิทธิฤทธิ์อยู่แล้ว
    เว้นจากพระพุทธเจ้าแล้ว เรียกได้ว่าทั้ง 2 ท่านนี้มีชื่อเสียงมากที่สุดแล้วในเรื่องของฤทธิ์
    นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของพระมาลัย ที่ท่านเด่นในเรื่องฤทธิ์เช่นกัน

    คนที่บอกว่าฤทธิ์ไม่มีจริงนั่นแหละที่ไม่รู้เรื่องอะไร
    ถ้าบอกว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่ปฏิเสธเรื่องฤทธิ์
    เชื่อเถอะว่าพวกนี้เขาไม่มีฌานแน่นอน
    ก็คนไม่มีฌาน แล้วจะให้มาเชื่อเรื่องฤทธิ์ได้ยังไง มืดบอดขนาดนั้น
    ถ้าบอกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ ต้องถามว่าเคยได้ฌานสูงสุดบ้างไหม
    ได้ฌานถึงขั้นไหน อาการของฌานแต่ละขั้นมีลักษณะแบบไหน
    ต้องอธิบายได้ ห้ามเอาตำรามาตอบ ต้องตอบด้วยประสบการณ์ของตนเองเท่านั้น

    ดูสิว่า บรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายที่บอกว่าตัวเองทรงภูมิ
    แต่ดันปฏิเสธเรื่องฤทธิ์จะสามารถอธิบายเรื่องของสมาธิได้มากแค่ไหน
    ไม่ต้องถึงเรื่องของมรรคผลของอริยะบุคคล เอาแค่เรื่องของสมาธิก็พอ
    ให้เขาตอบดู ถ้าตอบไม่ได้ก็แสดงว่าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจริง
     
  8. ไตรสิกขา

    ไตรสิกขา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +8
    เมื่อเขาเติบโตมาในศาสนา คริสต์ นิกาย Baptist และได้กลายมาเป็นผู้สอนศาสนาคริสต์ในนิกายBaptistนี้ ซึ่งแยกนิกายออกมาจากแคทอลิคส์และโปรแตสเแตนท์ ได้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เข้าใจพุทธไปแบบนั้น แม้พยายามจะเข้าใจพุทธเท่าใด ย่อมไม่สามารถจะเข้าใจได้อย่างแท้จริงได้ จึงได้สรุปแบบเท่าที่คิดได้

    ความเข้าใจหรือการแสวงหาความจริงอันเป็นปรมัตถ์
    ถ้าเขาปรารถนาแสวงหาคำตอบเพื่อการสรุปที่ถูกต้อง เขาต้องวางความเชื่อเดิม ทั้งหมดก่อน แล้วมาปฏิบัติจริงทางพุทธศาสนา จึงจะได้คำตอบที่เป็นข้อสรุปที่ถูกต้อง
    การเผยแพร่ความคิดที่ชี้ชวนให้เกิดความแตกแยกในหมู่คณะนั้นแม้จะเป็นคนละศาสนาก็ ไม่ใช่เรื่องที่คนเป็นผู้นำศาสนาควรจะทำเลย










     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2018
  9. ไตรสิกขา

    ไตรสิกขา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +8
    เรียนธรรมะ

    เรียนธรรมะ อย่าตะกละ ให้เกินเหตุ
    จะเป็นเปรต หิวปราชญ์ เกิดคาดหวัง

    อย่าเรียนอย่าง ปรัชญา มัวบ้าดัง
    เรียนกระทั่ง ตายเปล่า ไม่เข้ารอย

    เรียนธรรมะ ต้องเรียน อย่างธรรมะ
    เรียนเพื่อละ ทุกข์ใหญ่ ไม่ท้อถอย

    เรียนที่ทุกข์ ที่มีจริง ยิ่งเข้ารอย
    ไม่เลื่อนลอย มองให้เห็น ตามเป็นจริง

    ต้องตั้งตน การเรียน ที่หูตา ฯลฯ
    สัมผัสแล้ว เกิดเวทนา ตัณหาวิ่ง

    ขึ้นมาอยาก เกิดผู้อยาก เป็นปากปลิง
    “เรียนรู้ยิ่ง ตัณหาดับ นับว่าพอ” ฯ

    จากพุทธทาส.คอม
     
  10. ไตรสิกขา

    ไตรสิกขา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +8
    เรียนธรรมะ อย่าตะกละ ให้เกินเหตุ
    จะเป็นเปรต หิวปราชญ์ เกิดคาดหวัง

    อย่าเรียนอย่าง ปรัชญา มัวบ้าดัง
    เรียนกระทั่ง ตายเปล่า ไม่เข้ารอย
     
  11. สุดทางธรรม

    สุดทางธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2011
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +17
    สมัยนี้ดูนักมายากลเล่นกลแล้วเหมือนแสดงปารฎิหารย์ พระแสดงปาฎิหารย์ ก็ไม่ต่างอะไรกับนักมายากล พระองค์ทรงรู้แจ้งเห็นโดยตลอด
     

แชร์หน้านี้

Loading...