เรื่องเด่น วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สติจงมา, 9 พฤษภาคม 2017.

  1. สติจงมา

    สติจงมา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2017
    โพสต์:
    47
    กระทู้เรื่องเด่น:
    20
    ค่าพลัง:
    +191
    วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล



    CA6F089630914630894C19A1C72F4B51.jpg


    1. เริ่มต้นอิริยาบถที่สบาย

    ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่(รู้อยู่ในที) โดยไม่ต้องรู้อะไร หรือ รู้ตัว อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อย ๆ ให้ “รู้อยู่เฉย ๆ ” ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่าง ๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นตามธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้น ๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อย ๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอ รักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน “พฤติแห่งจิต” โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร

    ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อ ๆ ไป

    *ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า “พุทโธ” หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อย ๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้วจะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้นจะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดีก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อย ๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อย ๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง

    ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว “ศีล”

    การบริกรรม “พุทโธ” เปล่า ๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อ ๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่องถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของ พุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบ ที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลาและบั่นทอนความศรัทธา ตนเองเลย เมื่อจิตค่อย ๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าวก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเองเพราะคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อย ๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ “พฤติแห่งจิต” ที่ฐานนั้น ๆ

    “บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครบริกรรมพุทโธ”

    2. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว

    ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่ออารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไปมาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอ ๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบ ๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กริยาจิตใด ๆ ที่เกิดขึ้นเพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อย ๆ ก็จะค่อย ๆ เข้าใจกริยาหรือพฤติแห่จิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)

    “ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ”

    3. อย่าส่งจิตออกนอก

    กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลาย อย่าได้ใส่ใจกับมัน)

    “ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ 6”

    4. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป

    เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าถึงปัจจัยของอารมณ์ ความนึกคิดต่าง ๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่าง ๆ อารมณ์ความนึกคิดต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ดับไป เรื่อย ๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ

    “คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด”

    5. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต

    เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่ายังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามใช้สติสังเกตดูที่จิต ทำความสงบอยู่ในจิตไปเรื่อย ๆ จนสามารถเข้าใจพฤติของจิตได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอนเข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดนั่นเอง และความคิดมันออกไปจากจิตนั่นเอง ไปหาปรุง หาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อย ๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้

    “คำว่า แยกถอดรูป นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ”

    6. เหตุต้องละ ผลต้องละ

    เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่าง ๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใด ๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น

    “สมุจเฉทธรรมทั้งปวง”

    7. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด

    เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะกรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า “พ้นเหตุเกิด”

    8. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร

    เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่าธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่าไม่มีธรรมนั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)


    ocvpa57xfiw7tA5F47e-o.jpg
    bar-1s.jpg

    หลวงปู่ดุลย์::ตอบปัญหาจิตภาวนา



    bar-1s.jpg

    oct2rqp980vZqcRrbxh-o.gif
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2017
  2. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    549
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +707
    อนุโมทนาสาธุครับ
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    แปะไว้ด้วยเพื่อพิจารณา คือใครจะใช้คำกำกับลมว่ายังไงไม่ใช่ปัญหา ใช้พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรืออื่นๆ เช่น นับเลขคู่กับลมหายใจเข้า-ออก ก็ได้ บ่เป็นหยัง

    แต่ปัญหาคือเมื่อทำไปๆ แล้วจิตสงบบ้างแล้ว ปัญหาเกิด แล้วผู้สอนจะช่วยแก้ปัญหาเขาเหล่านั้นอย่างไร เช่น ตัวอย่างนี้ นี่คือปัญหาที่ผู้ปฏิบัติ ไม่ไม่เป็น หลุด หลง ตย. นี้ดูลมหายใจเข้า-ออกว่า พุทโธ


    ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

    วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

    เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

    จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

    จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

    คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

    ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

    คำถามครับ

    1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

    2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน
     
  4. เจี๊ยบ รักพ่อหลวงภูมิพล

    เจี๊ยบ รักพ่อหลวงภูมิพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,646
    ค่าพลัง:
    +4,272
    น้อมกราบหลวงปู่เจ้าค่ะ สาธุ
     
  5. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    จิตส่งออกเป็นสมุทัย ผลคือ เป็นทุกข์
    ...
    อีกมุม จิตไม่ส่งออก แต่จิตอุปทานหลงตัวเอง หลงอัตตาตัวตน หลงกองขันธ์ ยึดมั่นถือมั่นในความไม่รู้...ก็เป็น ทุกข์เหมือนกัน
    ...
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลคือนิโรธ
    ...
    อีกมุม จิตมันต้อง เห็น รูป กาย ผัสสะ อายตนะ เวทนา ด้วยสิ...ถึงจะครอบคลุม ว่าเป็นมรรคได้...จะมาเน้นตรงที่จิตเห็นจิตแต่เพียงอย่างเดียว
    มันจะมาครอบคลุม อริยะสัจสี่ ได้ไง
    รูป จิต เจตสิก นิพพาน....ไม่เอารูป..ได้ไง

    อิอิ
     
  6. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    อยากทราบว่า...เหตุผลที่ผม ยกมาแจกแจง....ฟังขึ้นมั้ยครับ

    พระธรรม คือ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าท่าน ...ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

    ใครตัดทอน? ใครบั่นทอน? ...
     
  7. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ไม่เห็นด้วย ก็ แสดงเหตุผลด้วยนะครับ..ท่านผู้เจริญ
    อิอิ
     
  8. ห้วงหิน

    ห้วงหิน สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2016
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +4
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ อือ... "ใช่"

    +++ แต่หลวงปู่กล่าวไว้ว่า "ให้ รู้อยู่เฉย ๆ"

    +++ ดังนั้น จึงไม่มี "อุปทานหลงตัวเอง หลงอัตตาตัวตน หลงกองขันธ์ ยึดมั่นถือมั่นในความไม่รู้"

    +++ สำคัญที่สุด คือ "ทำเป็นหรือป่าว" ถ้าทำเป็น "มันก็ไม่มีอะไรจะต้องพูดมาก"
    +++ ถ้า "ทำ" รู้เฉย ๆ เป็น ไอ้พวก "รูป กาย ผัสสะ อายตนะ เวทนา" ต่าง ๆเหล่านี้ มันก็จะ "เห็น" เอง

    +++ ดังนั้น "มันครอบคลุม อริยะสัจ 4 อยู่แล้ว"
    +++ ยังจะเอา "รูป" อยู่อีกเหรอ
    +++ การแสดงธรรม ไม่ใช่การละเล่น ไม่ควรมี "อิอิ"
    +++ จากคำถาม "มันจะมาครอบคลุม อริยะสัจสี่ ได้ไง"

    +++ แล้วเอามาเชื่อมกับ "รูป จิต เจตสิก นิพพาน....ไม่เอารูป..ได้ไง"

    +++ มันคนละเรื่องเดียวกันหรือป่าว...

    +++ แล้วมัน "ฟังขึ้นมั้ยล่ะ"
    +++ จะรู้ได้ว่า "ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าท่าน ...ได้ตรัสไว้ดีแล้ว" นั้น

    +++ จะต้อง "ปฏิบัติ" ให้รู้แจ้งเสียก่อน จนได้ Hard Copy คือ "อัฐิเป็นพระธาตุ"

    +++ ไม่ใช่กล่าวเลื่อนลอย โดยไม่ใส่ใจเลยว่า ผู้ที่เป็น "สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ" นั้น เมื่อ "ปฏิบัติจนถึงที่สุด" ย่อมมี "อัฐิเป็นพระธาตุ"

    +++ ส่วนผู้ที่ "ยังงัยก็ไม่เป็น พระธาตุ" ก็ยัง ไม่มีวันรู้ถึง ปรากฏการณ์ว่า "กาย หรือ ส่วนประกอบของกาย" แปรสภาพเป็น "พระธาตุ" ได้อย่างไร

    +++ อิทธิพลของ "รู้ หรือ สภาวะรู้ ที่ รู้เฉย ๆ" ส่งผลลัพธ์ต่อสิ่งที่เรียกว่า "กาย" ได้ในระดับใด


    +++ ไม่มี "อิอิ" เป็นองค์ประกอบ แน่นอน
    +++ นั่นซิ "มันเป็นใคร" ที่พยายาม "ยัดเยียด" เรื่อง "ใครตัดทอน? ใครบั่นทอน? ..." หือ...
    +++ "เหตุ VS ผล จากการ เชื่อมคำศัพท์ ต่างชนิด ต่างหมวดหมู่กัน" มันเป็นเรื่อง "มั่ว" ในจิตของ "ผู้เอามาเชื่อม" เอง

    +++ แล้วในที่สุด มันก็เป็นเรื่อง "ถ่มน้ำลายรดฟ้า มัน ย่อมตกกลับมารดหน้าผู้ถ่ม" นั่นเอง

    +++ อยากจะ "อวด" ชาวบ้านว่า "เก่งกว่าหลวงปู่ดูลย์ ที่ปฏิบัติจน อัฐิ เป็นพระธาตุแล้ว" เหรอ

    +++ มันกลายเป็นเรื่อง "น่าอนาถ" มากกว่านะ
    +++ การแสดงธรรม ไม่ใช่ "การละเล่น" ดังนั้น "ไม่มี อิอิ"
     
  10. ศิษย์โง๋

    ศิษย์โง๋ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +66
    มีพระโสดาบันประเภท "โกลังโกละ" ผู้หนึ่งได้กลับชาติมาเกิดในเมืองสารขัณฑ์ชื่อว่าโก
    1. ตอนเด็ก เด็กชายโก ดื้อซน ตามประสาเด็ก พ่อแม่ดุด่าว่ากล่าวไม่หวาดไม่ไหว "พ่อแม่เด็กชายโก ปรามาสพระโสดาบันหรือไม่? (ไม่นับไม้เรียวที่หวดโสดาบันไปแล้วหลายไม้)
    2. เด็กชายโก เติบใหญ่ขึ้นมากลายเป็น นายโก ทะลึ่งไปสมัครงานหาเลี้ยงชีพ นายโกได้ทำงานผิดพลาดหลายครั้ง ทั้งเจ้านาย และเพื่อนร่วมงานต่างพากันรุมตำหนิ นายโก เพื่อนร่วมงาน และเจ้านาย ของนายโก ปรามาสโสดาบันหรือไม่?
     
  11. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    549
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +707
    อสังขตธรรมหมายถึงอะไรครับ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สังขตะ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ได้แก่ สภาพที่เกิดแต่เหตุทั้งปวง,สังขตธรรม ตรงข้ามกับอสังขตะ

    อสังขตะ ธรรมที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง, ธรรมที่ไม่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ พระนิพพาน

    สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตรงกับสังขารในคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ตรงข้ามกับอสังขตธรรม

    อสังขตธรรม ธรรมอันมิได้ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพาน

    สังขตลักษณะ ลักษณะแห่งสังขตธรรม, ลักษณะของปรุงแต่ง มี ๓ อย่าง ๑. ความเกิดขึ้น ปรากฏ ๒. ความดับสลาย ปรากฏ ๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปร ปรากฏ
     
  13. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    549
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +707
    ไม่รู้ครับแล้วเขาเรียกว่าปรามาสไหมครับ
     
  14. ศิษย์โง๋

    ศิษย์โง๋ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +66
    ค่อยๆคิดไปครับ ธรรมะวิจัยะไปเรื่อยๆครับ^^
     
  15. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    549
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +707
    ตอบไห้หน่อยครับเผื่อผมจะได้ความรู้
     
  16. สมมุติทั้งสิ้น

    สมมุติทั้งสิ้น สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2017
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    คำคมโดนใจ /// ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง
     
  17. สมมุติทั้งสิ้น

    สมมุติทั้งสิ้น สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2017
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    รู้เห็นรูปนามก็เพื่อให้เข้าใจถึงความเป็นไตรลักษณ์ของธรรมชาติ เมื่อเข้าใจถึงธรรมชาติแท้จริงได้ก็เมื่อใด ปัญญาก็จะได้อิสระแท้จริงเมื่อนั้น
     
  18. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    คำคม....โคตรๆๆโดนจายกว่า...

    ผู้รู้.....ก็ไม่จริง
    สิ่งที่ถูกรู้.....ก็ไม่จริง
     
  19. Let it be

    Let it be สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +4
    สาธุ
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    มีดสองคม :)

    “ทุกข์นั่นแหละมีอยู่ แต่ผู้ทุกข์หามีไม่ การกระทำมีอยู่ แต่ผู้ทำไม่มี นิพพานมีอยู่ แต่คนผู้นิพพานไม่มี ทางมีอยู่ แต่ผู้เดินทางไม่มี” (วิสุทธิ.3/101)


    “ธรรมทั้งหลายยังธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้น โดยความประกอบพร้อมแห่งเหตุปัจจัย พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อความดับแห่งเหตุทั้งหลาย เมื่อเหตุทั้งหลายระงับไป วงจรขาด ก็ไม่หมุนอีกต่อไป ชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) ย่อมมีเพื่อการทำความจบสิ้นทุกข์อย่างนี้ เมื่อหาตัวสัตว์ไม่ได้ จึงไม่มีทั้งขาดสูญ ไม่มีทั้งเที่ยงแท้ยั่งยืน” (วิสุทธิ.ฎีกา.3/383)
     

แชร์หน้านี้

Loading...